เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 48362 จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 07:40

ประมาณปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า จะต้องขุดเปิดพื้นที่ตรงนี้เพื่อก่อสร้างกำแพงใต้ดินของตัวสถานี คุณพี่ visitna คงต้องรอหน่อยครับ

ยังไม่ทราบว่าจะพบอะไรบ้าง

ภาพถนนเจริญกรุง มองจากสี่แยก เอส เอ บี มาทางสะพานดำรงสถิต
แนวรถรางที่ห่างจากขอบทางเท้าและเสาไฟฟ้าที่ยังปักอยู่บนผิวจราจรถนนเจริญกรุง บ่งบอกเป็นหลักฐานการขยายถนนให้กว้างขึ้นได้เป็นอย่างดี ว่าการขยายถนนเจริญกรุงมีการขยายออกทางด้านทิศใต้
หรือทางด้านขวามือ หากมองตามทิศทางการจราจรปัจจุบัน




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 09:18

แนวตามภาพล่าสุด อาจจะเลยหลังที่แท็กซี่เหลืองไปนิด อยู่บนถนนไม่ใช่แนวบ้านคน  น่าจะใช่

ก็ควรเป็นเช่นนั้นครับ เนื่องจากเป็นแนวกำแพง ถูกรื้อออกก็กลายเป็นถนนในที่สุด ดังนั้นลุงไก่น่าจะกระเถิบไปอีกนิด ครับผม
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 12:09

แนวที่เปิดเห็นเป็นแผ่นอิฐ
อาจจะเป็นพื้นถนนครั้งแรกสุดที่เริ่มทำ(ถ้าผิวถนนตอนนั้นปูด้วยอิฐ)
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 12:38

ขอคุยเรื่องสะพานเหล็กบนหรือสะพานดำรงสถิตก่อนที่จะคุยกันถึงการก่อสร้างถนนเจริญกรุง
ก่อนที่จะมีการก่อสร้างสะพานเหล็กนั้น ผมเข้าใจว่าได้มีสะพานไม้ข้ามคลองที่ตรงนี้อยู่แล้ว ผมไปอ่านพบว่าสะพานเดิมเป็นสะพานไม้สำหรับคนเดินข้าม ลาดสะพานชันมาก เวลาที่รถลาก (คือรถเจ๊กที่เราเรียกกัน) จะข้ามสะพาน จะต้องออกแรงมาก บางครั้งก็ต้องช่วยกันดันท้ายรถกันขึ้นไป ถ้าเป็นรถเข็นบรรทุกของ ก็ต้องช่วยกันดันขึ้นสะพานกันอย่างทุลักทุเล

ลักษณะของสะพานไม้ข้ามคลอง ผมสันนิษฐานว่าน่าจะมีลักษณะเดียวกับสะพานไม้ข้ามคลองที่บริเวณป้อมที่ผ่านฟ้าใกล้ปากคลองมหานาค ดังในภาพบน

สะพานไม้นี้ได้รื้อทิ้งไปและก่อสร้างสะพานใหม่เป็นสะพานเหล็กแบบเปิดได้แทน เมื่อได้มีการตัดถนนเจริญกรุงทั้งด้านนอกและด้านในพระนครแล้ว

จากหนังสือ "เล่าเรื่องไทย เล่ม ๒" โดยเทพชู ทับทอง กล่าวถึงสะพานเหล็กบนว่า ... จากหนังสือพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กล่าวถึงรายละเอียดการสร้างสะพานเหล็กทั้ง ๒ ว่า ... การถนนแล้วยังไม่มีสะพาน ได้บอกบุญขุนนางและเจ๊สัวตามแต่ผู้ใดจะศรัทธาทำสะพานข้ามคลองที่ตรงถนนใหม่ข้าม ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม รับทำสะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุงริมวังเจ้าเขมรข้าม ติดตั้งเหล็กสะพาน ค่าจ้างไม้ ค่าอิฐ รวมเป็นเงิน ๑๖๐ ชั่ง ที่สะพานหันข้ามคลองรอบกรุงลงไปวัดจักรวรรดิ ทำสะพานเหล็กอีกสะพานหนึ่งเป็นของหลวง ราคาเครื่องเหล็กที่สั่งเข้ามาก็เหมือนกัน ..."

ถ้าจะอ้างข้อความในพระราชพงศาวดารนี้ ผมคิดว่าสะพานเหล็กบนที่ก่อสร้างครั้งแรกนี้น่าจะมีรูปร่างเดียวกับสะพานเหล็กที่สะพานหันนี้ ตามภาพล่าง

เพิ่มเติม - จากข้อเขียนของเทพชู ทับทอง ในหนังสือเล่มเดียวกัน กล่าวขยายความว่า สะพานเหล็กทั้งสามสะพานนี้ (หมายรวมถึงสะพานเหล็กล่างหรือสะพานทิพยเสถียรด้วย) เมื่อแรกสร้างได้ความว่าเสาและคานเป็นเครื่องไม้ เป็นเหล็ก แต่โครงส่วนที่พื้นสะพานมีล้ออยู่ข้างล่างและที่คานไม้มีรางเหล็ก เมื่อขึ้นจักร์สะพานก็จะแยกออกจากกันได้










บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 13:06

ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ สะพานเหล็กทั้ง ๓ จึงได้สร้างใหม่แทนสะพานเหล็กของเดิมอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนสะพานเหล็กที่สะพานหัน ต่อมาได้รื้อสร้างใหม่เป็นสะพานโค้ง มีร้านค้าอยู่บนสะพานแบบสะพานรีอัลโต ในประเทศอิตาลี




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 20:32

สวัสดีค่ะ เพิ่งเป็นสมาชิกเรือนไทยได้ไม่นานค่ะ ได้รับความรู้มากมายจากที่นี่ ยิงฟันยิ้ม
มีรูปร้านเซ่งซงมาร่วมโพสค่ะ ถ่ายไว้เมือปี2553 เพราะชอบที่บ้านเ็ป็นสีชมพู มีครุฑด้วย แต่เพิ่งรู้ว่าเป็นร้านทำรองเท้าก็วันนี้เอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 20:42

มาต้อนรับค่ะ   ถ้ามีรูปสวยๆแบบข้างบนนี้ ที่เคยถ่ายไว้ ก็ขอเชิญให้นำมาแบ่งปันกันดูบ้างนะคะ


บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 22:09

ขอบคุณค่ะ  คุณเทาชมพู  ยิ้มกว้างๆ ตอนนี้พยายามกลับไปหาดูรูปเก่าๆที่เคยได้่ถ่ายไว้ เพื่อนำมาแบ่งปันกันค่ะ เสียดายสถานที่ที่สำคัญหลายๆแห่ง ที่ได้สูญหายไป

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 07:19

ร้านเซ่งชงโดนเวนคืนไปทำสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเรียบร้อยแล้วครับ
ร้านนี้เดิมเป็นร้านขายอาภรณ์ภัณฑ์ลือชื่อแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ  ที่มีชื่อเสียงมากคือเครื่องม้าและรองเท้า
เจ้าของร้านได้ตัดเครื่องหนังถวายรัชกาลที่ ๖ สำหรับทรงใช้ในราชการเสือป่า  จึงได้รบพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
หลวงประดิษฐ์บาทุกา หรือล้อกันว่า "ประดิษฐ์บาทากู" ในวันเดียวกับจางวางศร  ศิลปบรรเลง
ได้รับพระาชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ

ครุฑทองที่หน้าร้านนั้นเป็นครุฑที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานไว้ในฐานะเป็นร้านหลวง
ต่อมาในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เปลี่ยนครุฑตราตั้งนี้เป็นครุฑแเงดังที่เห็นกันอยู่ตามหน้าตึกธนาคาร
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 17:45

วนเวียนอยู่ที่วังบูรพา ไม่ได้ไปตั้งต้นที่หัวลำโพงตามความตั้งใจสักที

ดูรูปแบบอาคารสถานีรถไฟฟ้าวังบูรพาในกระดาษไปพลางๆ ก่อน



บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 16 ส.ค. 12, 11:37

ไม่ปลื้มค่ะ

อุตส่าห์รื้อตึกดี ๆ ทิ้งไป สร้างใหม่ก็ไม่ได้ดีกว่าเดิม
ไม่มีระยะ setback ตาม กม.ควบคุม
ไม่ได้คิดสร้างอะไรที่รองรับ mass ของมวลชนที่จะโผล่จากใต้ดินขึ้นมาตรงนี้
ไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่า ทำศูนย์การค้า

 เศร้า  เศร้า  โกรธ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 16 ส.ค. 12, 13:49

น่าจะเริ่มต้นเรื่องราวที่หัวลำโพงได้สักที

สัปดาห์หน้าก็จะเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์อย่างเป็นทางการแล้ว









บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 16 ส.ค. 12, 20:09

คิดว่าเวนคืนที่ดินเกินความจำเป็น
ส่วนของสถานีเอาพื้นที่แค่สถานีน่าจะพอ
เมื่อเวนคืนควรห้ามเอาที่ดินไปเปิดร้านค้า
ใช้ทำได้เฉพาะเป็นส่วนของการบริการผู้โดยสาร
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 16 ส.ค. 12, 21:23

เรื่องเวนคืนที่ดินเกินความจำเป็นคงไม่เป็นไปตามนั้นหรอกครับ เพราะต้องจ่ายเงินค่าเวนคืนมากขึ้น ซึ่งก็เป็นต้นทุนค่าก่อสร้างเช่นกัน ถ้าทราบราคาค่าเวนคืนและค่าชดเชยอาคารที่จะต้องจ่ายแล้วก็อาจจะตกใจว่าทำไมมันแพงบรรลัยอย่างนั้น แต่ก็ทำไปตามกฎหมายเรื่องการชดเชยการเวนคืนทุกประการ

ส่วนการห้ามเอาที่ดินไปทำร้านค้า ในความเห็นของผมก็คงจะห้ามยาก เพราะมีการโอนกรรมสิทธิในที่ดินไปแล้ว ผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิทำอะไรที่เป็นการสร้างรายได้ของโครงการนอกเหนือจากค่าโดยสาร ซึ่งจะต้องนำกลับไปจ่ายคืนเงินกู้และดอกเบี้ย ไม่ใช่ได้เงินค่าก่อสร้างมาเปล่าๆ

และถ้าดูจากภาพหน้าตัดสถานีที่ผมนำมาเสนอนั้น ก็เป็นการใช้พื้นที่อย่างประหยัดที่สุดแล้ว ซึ่งการออกแบบก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลทุกเรื่อง โดยเฉพาะด้านความแข็งแรงของโครงสร้างและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ถ้าเปรียบเทียบกับของจริงในปัจจุบันว่าทำไม่ตัวสถานีถึงยาวกว่าขบวนรถนัก ก็ขอบอกว่าเป็นการออกแบบเผื่อไ้ว้ในอนาคตให้รับจำนวนตู้โดยสารได้ ๖ ตู้ต่อขบวน ซึ่งปัจจุบันยังมีเพียง ๓ ตู้ต่อขบวน

บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 10:28

คิดว่าเวนคืนที่ดินเกินความจำเป็น
ส่วนของสถานีเอาพื้นที่แค่สถานีน่าจะพอ
เมื่อเวนคืนควรห้ามเอาที่ดินไปเปิดร้านค้า
ใช้ทำได้เฉพาะเป็นส่วนของการบริการผู้โดยสาร

เท่าที่ทราบ ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของทรัพย์สินฯ ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง