เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102351 ก้าวย่างในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 30 ต.ค. 12, 19:04

เกือบจะเป็นการควงเดี่ยวกระทู้มานานแล้ว
คิดว่าคงจะมีข้อมูลและแนวคิดที่เป็นประโยชน์อยู่บ้างนะครับ
แล้วก็คิดว่าน่าจะถึงเวลาที่จะลงจากกระทู้ได้แล้วเช่นกันครับ

ขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ติดตามอ่านมาครับ   ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 30 ต.ค. 12, 20:50

ปิดกระทู้นี้เพื่อเริ่มกระทู้ใหม่หรือเปล่าคะ เส้นทางโสร่ง...น่าสนใจ การผจญภัยในป่ายังท้าทายคนกรุงให้ตามอ่านนะคะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่แบ่งปันคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 30 ต.ค. 12, 20:52

รอกระทู้ใหม่ค่ะ คุณตั้ง
ดิฉันก็อยากจะร่วมวงมากกว่านี้ แต่จนใจว่าไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย  เลยได้แต่ฟังอยู่หลังชั้นเฉยๆ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 04 ม.ค. 15, 13:37

มีปุจฉาจากกระทู้โน้นมาให้คุณตั้งวิสัชนา  ยิงฟันยิ้ม

เราจะยกเลิก AEC ได้ไหมครับ อยากให้มีการจำกัดจำนวนคน เดี๋ยวนี้ไปที่ไหมก็มีแต่ต่างด้าว ต่อไปจะเป็นปัญหาสังคมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ท่านนายกจะทำได้ไหมครับ

นโยบายของรัฐ ตรงกันข้ามกับความประสงค์ของคุณ hobo ค่ะ
เสียใจด้วย
เราคงจะต้องหาทางแก้ปัญหากันเอง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 04 ม.ค. 15, 19:45

AEC คงจะเลิกไม่ได้  เพราะ
  - เป็นความตกลงใจร่วมกันของทุกประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน (จะด้วยความเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความที่ยังไม่ค่อยพร้อมแต่คัดทานไม่ได้ หรือจะด้วยประการใดก็ตาม)     
  - แล้วก็เพราะเป็นสัญญาประชาคมที่รัฐที่เป็นสมาชิกอาเซียนได้ร่มกันประกาศเจตนาให้ประชาชนของตนและประชาคมโลกได้รับทราบว่า รัฐสมาชิกทั้งหลายประสงค์จะร่วมมือกันสร้างสรรโครงสร้างหรือระบบเศรษฐกิจในพื้นที่เขตอาณาของประเทศสมาชิก (แม้จะไม่มีผลบังคับในเชิงของกฎหมาย แต่ก็มีผลในเชิงของการแสดงความเป็นรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมวลประชาคมในโลก)
  - และก็การขายขี้หน้าประชาคมโลก  (ทำให้การดำเนินการจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ตาม ก็คงจะต้องช่วยกันด้นต่อไปเรื่อยๆ)
 
  - ฯลฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 05 ม.ค. 15, 18:00

ยกเลิกไม่ได้  แต่ทำให้มันไม่เกิดหรือไม่พร้อมที่จะเกิดอย่างสมบูรณ์ตามที่ฝันไว้ได้  ทั้งโดยวิธีการลากยาวช่วงเวลาก่อนที่จะต้องปฎิบัติ หรือการอู้เรื่องที่กำลังดำเนินการหรือการปฎิบัติตามข้อตกลง

ด้วยความรู้ปลายแถวแบบหางอึ่งของผม  ผมเห็นว่า ความตกลงระหว่างประเทศทั้งในแบบพหุภาคี (Multilateral) ทวิภาคี (Bilateral) และแบบกลุ่ม (Plurilateral) นั้น มันไปเกี่ยวกับเรื่องที่รัฐในความตกลงนั้นๆจะต้องดำเนินการใน 3 ประเด็น (มากน้อยต่างกัน และระดับต่างกันไปตามแต่ความตกลง) คือ ในระดับของการอำนวยความสะดวก (facilitation) ระดับของการให้สิทธิพิเศษบางเรื่อง (privilege) และระดับของการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายบางเรื่อง (immunity)

อืม์...แยกเป็นอีกกระทู้สั้นๆตามความรู้หางอึ่งของผมกับเรื่องพวกนี้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม จะเป็นประโยชน์ใหมหนอ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 05 ม.ค. 15, 18:13

เชิญแยกกระทู้เลยค่ะ  เป็นประโยชน์แน่นอน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 18:49

กลับมาห้อยท้ายกระทู้นี้ต่อไปอีกเล็กน้อยครับ

เคยสังเกตใหมครับว่า วิถีอิสานกำลังรุกคืบแทรกซึมเข้าไปในเกือบจะทุกหย่อมหญ้าในทุกภาคของประเทศไทยจนสัมผ้สได้อย่างเด่นชัดแล้ว  ซึ่งแท้จริงแล้ว วิถีอิสานนี้ได้ขยายไปไกลเกือบจะทั่วโลกเลยทีเดียว

ก็มี อาทิ
  - ข่าวพยากรณ์อากาศของเราใช้คำว่า "ยอดภู" แทนคำว่า "ยอดดอย" จนเกือบจะเป็นกลายเป็นคำมาตรฐานที่สื่อต่างๆรายงาน
  - ชื่อของสถานที่ๆประกอบธุรกิจสถานที่พักผ่อน/ท่องเที่ยว   ก็มักจะเริ่มต้นด้วยคำว่า "ภู"  ซึ่งพบกระจายคลุมไปทั้งภาคเหนือและขอบพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง   ไม่แน่ใจนักว่าภาคใต้จากกรุงเทพฯลงไป จะมีสถานที่ๆมีชื่อขึ้นต้นด้วย ภู อยู่มากน้อยเพียงใด
  - คำว่า ตำส้ม ที่ใช้กันในภาคเหนือ ถูกกลืนหายไปเป็นคำว่า ส้มตำ เรียบร้อยแล้ว  แม้ว่าแต่ดั้งเดิมนั้นจะมีความต่างกันอยู่บ้างในเรื่องของเรื่องของความหมายของลักษณะอาหาร ซึ่งใช้วัสดุและเครื่องปรุงบางอย่างต่างกัน
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 19:32

ประเพณี "รดน้ำดำหัว" ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 09 ม.ค. 15, 17:39

ครับผม

ทำให้ผมนึกไปถึงอีกเรื่องหนึ่ง คือ การเปลี่ยนความสำคัญของวันตรุษที่มีผลในทางเศรษฐกิจและการค้าขาย      แต่เดิมนานมาแล้ว เมื่อถึงวันตรุษสำคัญต่างๆของจีนหรือของชาติเจ้าของกิจการค้าใดๆ ความคึกคักทางการค้าจะลดลง ด้วยมีการมีการหยุดทำการบ้าง   แต่มิใช่ในลักษณะนั้นอีกแล้ว กลับกลายเป็นว่า ในช่วงตรุษเหล่านั้นเกือบจะไม่มีกิจการใดๆหยุดอีกต่อไป    แต่จะเป็นว่า ในช่วงวันสงกรานต์และวันหยุดทางราชการไทยที่มีการหยุดชดเชยต่อเนื่องหลายวัน แม้กิจการต่างๆในพื้นที่เมืองกลับมีความคึกคักลดลง แต่ไปขยายในพื้นที่นอกเขตเมืองและในต่างจังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท  ซึ่ง..ก็ด้วยเหตุจากที่คนเหนือและอิสานที่มาทำงานในที่ต่างๆเดินทางกลับบ้านเกิด

สภาพการณ์ลักษณะเช่นนี้ (ความคึกคักในภาคกิจการต้นน้ำลดลง อาทิ การก่อสร้าง) ก็เกิดขึ้นในต่างประเทศในภูมิภาคต่างๆอีกด้วย  ซึ่งต่างก็เป็นผลมาจากการเคลื่อนของแรงงานที่เป็นมวลชนชาวเหนือและอีสานของไทยเรานี้เอง

แม้ว่า ขณะปัจจุบันนี้ การเคลื่อนของมวลชนชาวเหนือและอิสานจะน้อยลงไป เพราะงานต่างๆถูกแทนที่โดยแรงงานจากรอบบ้านเรา  แต่หลักนิยมก็ยังคงมีอยู่ โดยในเฉพาะช่วงสงกรานต์   แถมหลายหมู่คณะบุคคลคนไทยเรายังช่วยกันกระจายความมั่งมีไปให้กับประเทศเพื่อนบ้านและโพ้นทะเล ด้วยการไปเที่ยวจับจ่ายใช้สอยกันอย่างถึงพริกถึงขิง อีกด้วย       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 09 ม.ค. 15, 18:11

หากมีโอกาสไปเที่ยว ตจว.  ลองใช้เส้นทางผ่านหมู่บ้านและชุมชนที่เคยคิดว่าห่างไกล  แวะเที่ยวตลาด คุยกับชาวบ้าน   เราจะเห็นว่า ขณะนี้ไทยเรากำลังอยู่ในช่วงของคนใน generation ที่ 3   หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ที่แต่ดังเดิมเล็กมาก เกือบจะไม่มีธุรกิจร้านค้าใดนั้น  ณ วันนี้จะได้เห็นแต่อาคารบ้านเรือนที่สร้างด้วยปูน ถนนไร้ฝุ่น มีร้านกาแฟสด มี ฯลฯ ที่เราเห็นในกันในกรุงเทพฯ  แล้วก็มีมากมายหลายแห่งที่มีร้านขายอาหารต่างชาติ ด้วยเพราะว่ามีสามีฝรั่งก็มี  และเพราะมีความรู้และประสบการณ์ของตนเองก็มีไม่น้อย

ครับ เด็กไทยรุ่นวัยเบญจเพศ กลับบ้านเกิดครับ     ปุ่ย่าตายายส่งพ่อแม่เรียนได้ในระดับหนึ่ง พ่อแม่ส่งลูกเรียนได้สูงขึ้นไปในอีกระดับหนึ่ง ลุูกหลานจบกันมา เขาคิดกลับบ้านกันครับ  กลับไปใช้ทรัพยากร (มรดก) ของตระกูลทำมาหากิน  เลยไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่จะพบว่า มีคนหนุ่มสาวกลับไปทำนา เริ่มระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ พยายามขายเป็นกิโลฯแทนการขายเหมาเป็นเกวียน  ขาย/ซ่อมคอมพิวเตอร์และมือถือ และ ฯลฯ  ก็เรียกว่ามีวิถีชิวิตที่ทันโลกไม่เบาเลยทีเดียว

เป็นภาพพื้นฐานบางประการของไทยที่จะเข้าสู่ยุค AEC  ครับ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 09 ม.ค. 15, 19:10

หากมีโอกาสไปเที่ยว ตจว.  ลองใช้เส้นทางผ่านหมู่บ้านและชุมชนที่เคยคิดว่าห่างไกล  แวะเที่ยวตลาด คุยกับชาวบ้าน   เราจะเห็นว่า ขณะนี้ไทยเรากำลังอยู่ในช่วงของคนใน generation ที่ 3   หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ที่แต่ดังเดิมเล็กมาก เกือบจะไม่มีธุรกิจร้านค้าใดนั้น  ณ วันนี้จะได้เห็นแต่อาคารบ้านเรือนที่สร้างด้วยปูน ถนนไร้ฝุ่น มีร้านกาแฟสด มี ฯลฯ ที่เราเห็นในกันในกรุงเทพฯ 

จริงอย่างที่คุณตั้งเล่าทุกประการ เพิ่งกลับมาจากการไปสำรวจในหมู่บ้านประมาณ ๕-๖ แห่ง ในจังหวัดแถวภาคอีสาน ทุกแห่งที่เข้าไปเป็นที่น่าแปลกใจอย่างยิ่ง เพราะจากประสบการณ์เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ ถนนในหมู่บ้านยังเป็นดินหรือลูกรังอยู่เลย ปัจจุบันทุกแห่งเป็นถนนคอนกรีตอย่างดี บ้านเรือนหลายหลังปลูกเป็นตึกทันสมัยแบบเดียวกับบ้านในเมือง แต่ก็ยังมีบ้านแบบเก่าที่มีใต้ถุนสูง เป็นคอกเลี้ยงโคกระบือ ยังเห็นฉางเก็บข้าวในบ้านทรงเก่าเกือบทุกแห่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 11 ม.ค. 15, 18:16

วิถีอิสานนั้น ได้แทรกเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียวครับ

ส้มตำ ไก่ย่าง ข้าวเหนียว เป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่มีของร้านอาหารไทยในระดับ street restaurant (ร้านเล็กและราคาไม่สูง) ที่แม้ว่าส่วนมากจะมิใช่เมนูประจำ กระนั้นก็ตาม เมื่อใดที่มีอาหารในเมนูนี้ฝรั่งก็จะสั่ง แล้วก็เฝ้าถามว่าเมื่อใดจะทำอีก 
ผมเคยพบฝรั่งคนหนึ่งในกรุงเวียนนา ที่มิใช่จะมาแต่เพียงกินอาหารไทยที่ร้านแห่งหนึ่งเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่เอาสมุดบันทึกมาเขียนบรรยายอาหารที่กินไปทุกครั้ง แล้วก็เฝ้ารอว่าเมื่อใดจะมีไก่ย่าง ส้มตำ ข้าวเหนียวอีก

เมื่อเร็วๆนี้ผมไปใต้และได้มีโอกาสไปแวะเที่ยวชุมชนเล็กๆตั้งอยู่บนปากคลองสายหนึ่งในเขตอ่าวพังงา ชื่อว่าบ้านบางพัฒน์  เป็นชุมชนมุสลิมเล็กๆขนาดต่ำกว่าร้อยหลังคาเรือน (คะเนว่าคงจะแถวๆ 50+/- หลังคา)  ในชุมชนนี้มีร้านอาหารอยู่สามสี่ร้านสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว  ผมได้เห็นหอยโข่งทะเลเป็นๆ ตัวขนาดย่อมกว่าชามก๋วยเตี๋ยวคว่ำเล็กน้อย ก็ถามเขาว่า เอามาทำอะไรกินดี  เขาตอบว่า จะทำอะไรก็ได้ จะลาบก็ได้ จะ...ก็ได้  ได้ฟังแล้วก็คิดได้เลยในทันทีว่าเรียบร้อยโรงเรียนอีสานไปแล้ว

นี่แหละครับ ความน่าทึ่งของวิถีอิสาน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 11 ม.ค. 15, 18:33

ก็มีอีกเรื่องหนึ่งที่ชวนให้คิด ซึ่งได้แก่ การที่วิถีชีวิตใทยที่กำลังกระจายไปครอบงำอยู่ในกลุ่มประเทศรอบบ้านเราผ่านทางเหล่าแรงงานทั้งหลาย  ทั้งในด้านหลักนิยมทางวัฒนธรรม (ผ่านทางกลุ่มคนงานบ้าน)  ลักษณะและรสของอาหาร (ผ่านทางกลุ่มคนงานครัวและร้านขายอาหาร) หรือในภาพรวมกว้างๆ ก็คือ Living & Life style (หลักคิด หลักนิยม และค่านิยมต่างๆ)

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 11 ม.ค. 15, 18:59

นอกจากวิถีไทย หรือ school of thought แบบไทย (Thainess) ที่กระจายผ่านไปทางแรงงานรับจ้างแล้ว   ก็ยังมีกระจายผ่านไปในระดับผู้มีการศึกษาระดับอุดมศึกษาอีกด้วย
     
ตัวอย่างที่ผมได้สัมผัส ก็มีอาทิ คนในอนุทวีปอินเดีย (อินเดีย ปากีฯ บังคลาเทศ ศรีลังกา ภูฐาน เนปาล) จำนวนมากมาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในระดับ post grad. ที่สถาบัน AIT   คนลาวและจีนจำนวนไม่น้อยมาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยในภาคเหนือของไทย  ในกรุงเทพฯเองก็มีนักศึกษาจากจีนจำนวนไม่น้อยมาอยู่เรียนในระดับ ป.ตรี 

ครับ ลองเดินท่อมๆในตลาดนัดชุมชน หรือ เดินในตรอกซอกซอยในบางพื้นที่ๆใกล้สถานศึกษาต่างๆ ก็จะได้พบเห็น แถมยังพูดภาษาไทยได้ไม่น้อยเลยทีเดียว   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.131 วินาที กับ 20 คำสั่ง