เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102361 ก้าวย่างในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 06 ต.ค. 12, 19:16

ขอต่อนะครับ

เล่ามาถึงว่า ราคาสินค้าที่ซื้อขายกันจึงไปอยู่ที่ท่าเรือ
นี่จะเป็นเพียงตัวอย่างที่พึงจะเป็นนะครับ    จะยกกรณีเรื่องข้าวและใช้ราคาหรือค่าใช้จ่ายต่างๆที่เป็นตัวเลขสมมุติเช่นกัน    สมมุติว่าชาวนาของ จ.ปทุมธานี ผลิตข้าวที่ต้นทุน 1,000 บาทต่อตัน ชาวนาที่ จ.สุรินทร์ ก็ผลิตได้ที่ต้นทุน 1,000 บาทต่อตันเช่นกัน กำไรที่ชาวนาต้องการคือ 30% ของต้นทุนที่ผลิตได้ เพราะฉะนั้น ชาวนาจึงต้องการจะขายข้าวที่ราคา 1,300 บาทต่อตัน พ่อค้าก็ยินดีจะซื้อที่ราคา 1,300 บาทต่อตัน เมื่อพ่อค้าซื้อแล้วก็จะขนมากองรวมกันที่โกดังในกรุงเทพฯ  ค่าขนส่งจากปทุมธานี คิด 100 บาทต่อตัน และค่าขนส่งจากสุรินทร์ คิด 300 บาทต่อตัน  เพราะฉะนั้นราคาต้นทุนของข้าวที่กองรวมกันอยู่กรุงเทพฯที่มาจากปทุมธานี คือ 1,400 บาทต่อตัน และของข้าวที่มาจากสุรินทร์ คือ 1,600 บาทต่อตัน เฉลี่ยราคาต้นทุนของพ่อค้าข้าวที่จะขายข้าวที่กองรวมกันอยู่ที่โกดังในกรุงเทพฯ คือ 1,400+1,600 หารด้วย 2 เท่ากับ 1,500 บาทต่อตัน  พ่อค้าข้าวต้องการกำไร 30% เพราะฉะนั้น ราคาที่พ่อค้าข้าวต้องการจะขายก็คือ 1,950 บาทต่อตัน
 
เว้นวรรคพักไว้ก่อนเรื่องหนึ่ง

ดังกล่าวมาแล้วว่า ราคาที่จะซื้อขายกันนั้นอยู่ที่ท่าเรือที่จะขนส่ง ซึ่งก็มีอยู่หลายท่าเรือ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณของสินค้าในแต่ละ lot  และความสามารถของท่าเรือที่จะรองรับขนาดระวางขับน้ำของเรือ 

ที่ท่าเรือคลองเตยของเรานั้น รับเรือขนาดระวางขับน้ำประมาณ 15,000 ตัน พูดง่ายๆก็คือ เรือเดินทะเลจะขนข้าวได้ไม่เกิน 15,000 ตัน ราคาของข้าวที่จะขาย ณ.ท่าเรือนี้ ก็อาจจะเป็นประมาณ 2,000 +/- บาทต่อตั้นขึ้นอยู่กับการต่อรอง หากเป็นที่ท่าเรือเกาะสีชัง ก็จะเป็นเรือขนาดประมาณ 20,000 ตัน ราคาสินค้าที่เสนอขายก็อาจจะต้องเพิ่มอีกนิดหน่อย    ราคาที่ท่าเรือในลักษณะนี้ คือ ราคา FOB (Free on Board) ที่ผู้ส่งออกเสนอขายพร้อมกับนำสินค้ามาส่งถึงท่าเรือที่กำหนด  คราวนี้ หากปริมาณสินค้า lot นั้นมีมากเกินกว่าที่เรือสามารถจะขนได้จากท่าเรือนั้นๆ ก็จะต้องไปใช้ท่าเรืออื่นๆ เช่น แหลมฉะบัง มาบตาพุด ฯลฯ ราคาก็จะต้องเปลี่ยนไปเพราะต้องบวกค่าขนสินค้าไปยังท่าเรือนั้นๆอีก ซึ่งเพื่อมิให้เป็นเรื่องรายละเอียดมากจนเกินไป ราคาที่เสนอขายจึงเรียกว่าเป็นราคาที่ท่าเรือกรุงเทพฯ (FOB ที่ท่าเรือกรุงเทพฯ) 

เมื่อสินค้ามีปริมาณมาก ก็ต้องใช้เรือเดินทะเลขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งเรือเหล่านี้สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรและเดินทางไปยังท่าเทียบเรือในประเทศต่างๆในลักษณะเป็นเส้นทางประจำ ข้าวจากไทยก็จะต้องทะยอยขน (ด้วยเรือขนาดเล็ก) ไปกองรวมเพื่อขนโดยเรือขนาดใหญ่ที่อีกท่าเรือหนึ่ง การขายข้าวก็จะกลายเป็นต้องไปเสนอขาย ณ.ที่อีกท่าเรือหนึ่ง ช่องว่างตรงนี้ทำให้เกิดพ่อค้าคนกลางอีกทอดหนึ่ง   ราคา FOB ที่ท่าเรือกรุงเทพฯที่พ่อค้าไทยเสนอก็จบไป มีคนซื้อไปแล้ว เอาไปรวมกองเพื่อส่งที่ท่าเรือของอีกประเทศหหนึ่ง (สิงคโปร์) ราคาสินค้าที่ท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งเป็นท่าเรือที่เปรียบได้กับศูนย์การขนส่งไปทั่วโลก ก็กลายไปเป็นราคากลางของตลาดการซื้อขายไป    ที่มันแย่ไปกว่านี้ก็คือ พ่อค้าคนกลางที่เสนอขายข้าวนั้น ก็ใช้ชื่อข้าวไทยเป็นหลัก ทั้งๆที่ข้าวที่เอามากองรวมกันเพื่อใส่ในเรือบรรทุกสินค้านั้น ก็มีมาจากหลายประเทศที่ผลิตข้าวเช่นกัน ข้าวหอมมะลิก็กลายเป็นแบรนด์ของโลกไป แต่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิแท้ๆของๆไทย ข้าวหอมมะลิจากแหล่งผลิตดีๆของเราก็กลายเป็นข้าวผสมไปในตลาดโลก  เกิดวิธีการผสมรวม (blending) จนเป็นมาตรฐานว่าข้าวหอมมะลิของไทยในตลาดโลกที่พ่อค้่ารายใหญ่ (นานาชาติ) ทำการค้าอยู่นั้น จะต้องมีข้าวหอมไทยอยู่อย่างน้อยกี่เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ 

คงจะพอได้ทราบเหตุบางส่วนแล้วว่า เพราะเหตุใดที่เราส่งออกข้าวชั้นดีมากที่สุดแต่มิใช่ผู้กำหนดราคาตลาด และกลับกลายเป็นว่าต้องเอาราคาตลาดดังที่เล่ามานี้ย้อนกลับมากำหนดเป็นราคาซื้อขายในท้องถิ่นของเรา   

เมื่อใดที่เห็นว่าเงินเป็นใหญ่ เห็นว่าเงินต้องทำหน้าที่ของมันเพื่อหาเงินเพิ่มเติม เมื่อนั้นคุณค่าในด้านต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ก็จะหมดไป
   
หากอยากจะเห็นว่าไทยเราควรจะต้องเป็นผู้กำหนดราคาในตลาดโลกในสินค้าหลักใดๆ ก็คงจะต้องดำเนินในด้านต่างๆมากกว่านี้ มิใช่พิจารณาผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และก็จะต้องคิดเป็น global มิใช่คิดแบบ local  แม้จะคิดแค่เพียงระดับ regional ก็ยังดี ใช่ใหมครับ       
   
บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 06 ต.ค. 12, 21:39

   
หากอยากจะเห็นว่าไทยเราควรจะต้องเป็นผู้กำหนดราคาในตลาดโลกในสินค้าหลักใดๆ ก็คงจะต้องดำเนินในด้านต่างๆมากกว่านี้ มิใช่พิจารณาผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และก็จะต้องคิดเป็น global มิใช่คิดแบบ local  แม้จะคิดแค่เพียงระดับ regional ก็ยังดี ใช่ใหมครับ       
   

บันทึกการเข้า
mrpzone
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 06 ต.ค. 12, 21:46

อ๋อย... ขออภัย อ.ตั้ง และผู้อ่านกระทู้ทุกท่านด้วยนะครับ ตะโกนเสียงดังไปนิดนึง  อายจัง

นึกว่าเป็นภาพนิ่งเฉยๆ กลายเป็นภาพเคลื่อนไหวไปซะงั้น แหะๆ
แบบว่า.. อ่านแล้วอินไปนิดนึงครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 19:02

ต่อเรื่องไปอีก

มันก็มีสินค้ามากมายหลายชนิดที่มีการค้าขายกันในตลาดกลางระดับโลก  ตลาดพวกนี้เขาก็ซื้อของโดยราคา FOB ที่ท่าเรือสำคัญของแผ่นดินใหญ่ของกลุ่มเขา (เช่น FOB ที่ท่าเรือ Anwerp ของเบลเยี่ยม)

ประเด็นอยู่ที่ สมมุติว่าประเทศใดผลิตสินค้าอย่างหนึ่งได้ในปริมาณมากเกินพอที่จะใช้ภายในประเทศ ต้องการส่งออกเพื่อขายไปในตลาดโลก ซึ่งสินค้านี้มีการค้าขายอยู่ในตลาดกลางระดับโลกเป็นปรกติมานานแล้ว  หรือการส่งเสริมให้มีการเข้ามาลงทุนใช้หรือผลิตด้วยทรัพยากรของประเทศของตนเพื่อผลผลิตต่างๆ  ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอ้างอิงใดๆก็ตาม     ข้อเท็จจริงก็คือ การผลิตของประเทศที่มีค่าครองชีพต่ำกว่า ย่อมมีต้นทุนต่ำกว่าต้นทุนของการผลิตของประเทศที่มีเศรษฐกิจดีกว่า    แล้วราคากำหนดควรจะเป็นอย่างไรดี    หากกำหนดราคาขายตามต้นทุน + กำไร ที่พึงมีที่แท้จริง  ราคาขายก็จะต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันในตลาดโลกมาก  ผู้ซื้อและประชาชนภายในประเทศจะได้ประโยชน์จากราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันในตลาดโลก     แต่ในโลกของความเป็นจริงที่เงินเป็นใหญ่และเงินมีหน้าที่ต้องหาเงินเพิ่มพูน เจ้าของจึงไม่กำหนดราคาที่สะท้อนถึงต้นทุน (บวกกำไร) ที่แท้จริง   วิธีการก็คือ เอาราคาสินค้า FOB ที่ท่าเรือแห่งใดแห่งหนึ่งในต่างประเทศที่เขาเสนอซื้อขายกัยในตลาดกลาง ลบค่าขนส่งจากท่าเรือของบ้านเราไปถึงท่าเรือนั้นๆที่ปลายทาง  ลบค่าขนส่งภายในจากแหล่งผลิตถึงท่าเรือที่จะขนส่งต่อไปถึงท่าเรือปลายทาง (ที่กำหนดเป็นราคา FOB) กลายเป็นราคาสินค้าที่ใช้เป็นต้นทุนจากแหล่งผลิตในประเทศของตน    ผลนั้นคงไม่ต้องเล่าต่อไปแล้วว่า คนของประเทศผู้ผลิตเองจึงต้องซื้อของนั้นในราคาตลาดโลกที่ทอนมาเป็นราคาท้องถิ่น  อีกผลหนึ่งก็คือเจ้าของได้กำไรมากกว่าที่พึงได้จากระบบการทำอุตสาหกรรมตามปรกติ    มิน่าเล่าแล้วใช่ใหมครับ ทำไมถึงมีแต่กิจการที่ต้องการจะเป็นรายใหญ่และผูกขาด กดราคาในท้องถิ่น เพิ่มกำไรโดยค้าในตลาดสากล    ทรัพยากรธรรมชาติที่ค้าขายกันทั้งหลายนั้นมักจะเป็นในรูปนี้   การลงทุนข้ามชาติในหลายกิจการ ส่วนหนึ่งก็เพราะเหตุผลนี้ โดยเฉพาะการไปลงทุนในประเทศที่ยังมีค่าครองชีพต่ำและในประเทศที่มีการคอรัปชั่นเป็น norm

ตัวอย่างที่กล่าวมาเป็นเพียงเรื่องที่ไม่มีความสลับซับซ้อนมากนัก ในความเป็นจริงนั้นเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนมากทีเดียวที่นักเศรษฐศาสตร์และนักการตลาดในระดับสากลรู้กลไกต่างๆกันเป็นอย่างดี ผมมิอาจก้าวล่วงไปในวงนี้ได้ 

สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นใน AEC ในวงแคบๆเพียงระดับ regional ก็คงมีเรื่องนี้เหมือนกัน

พอรู้มางูๆปลาๆ ก็เล่าสู่กันฟังครับ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 18:47

ร่ายยาวเดี่ยวต่อไปครับ

เข้ามาเรื่องของการเคลื่อนไหวของคน ภาษาและวัฒนธรรม
ในภาพรวมๆที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งผมคิดว่ากำลังเกิดอยู่ทั่วไปและทั่วประเทศ

ที่ผมได้พบ ได้เห็น ได้รู้ และได้สัมผัสหรือสนทนาด้วย ทั้งใน กทม.และในต่างจังหวัด ในขณะนี้ที่ยังไม่เกิด AEC เต็มตัว เป็นดังนี้ครับ

พี่เลี้ยงเด็ก ที่พ่อแม่ใช้การสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ เป็นคนมาจากเนปาลก็มี คนพม่าที่พอมีการศึกษาก็มี
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (ยามและคนดูแลการจอดรถ) ของห้างร้านต่างๆ เป็นคนเขมรเยอะแยะมากมายแทบจะทุกห้าง
เด็กเสิร์ฟร้านอาหารธรรมดา เป็นเขมรเป็นส่วนมาก กรณีที่เป็นร้านที่ชาวต่างชาติเข้ามากิน จะเป็นคนพม่า
คนขายอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว เป็นพม่า เขมร เป็นคนทำ
คนงานก่อสร้าง เป็นพม่าเกือบทั้งหมด
คนขายของกินประเภทรถเข็น เป็นเวียดนาม
ครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน หากเป็นเมืองใหญ่จะเป็นฝรั่งนักท่องเที่ยว หากเป็นโรงเรียนในระดับจังหวัด มีทั้งนักท่องเที่ยวหลากหลายชาติ และฟิลิปปินส์
รีสอร์ทที่รับฝรั่งเป็นหลัก เป็นชายพม่าที่มีการศึกษา (พุดอังกฤษได้ดี) เกือบทั้งหมด

คนไทยหาไปใหนหมด  ส่วนมากกลับบ้านเกิด ไปประกอบอาชีพอิสระ

จากสภาพจริงตามที่พบมานี้ หากรัฐยังไม่ทำอะไรมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เรื่องแรก ในเรื่องของภาษา  ผมคิดว่าอีกไม่นานเราคงได้ยินคนไทยใช้หรือพูดภาษาอังกฤษที่คล ะสำเนียงและการออกเสียงจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นไป
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 18:58

เข้ามาขอแบ่งไมค์ไปจากคุณตั้งด้วยคนค่ะ
- ในจังหวัดของดิฉัน   เด็กปั๊มเป็นพม่า
- คนงานประเภทใช้แรงงาน ไม่ใช้ฝีมือ เป็นพม่า  ตั้งแต่กิจการใหญ่ไปจนกิจการเล็ก
- หนุ่มสาวโรงงานในจังหวัดใกล้เคียง  พม่าทั้งเมือง
- ลูกจ้างทำงานบ้าน พม่าทุกบ้านเลย
   ถามตัวเองเหมือนกันว่าแรงงานไทยไปไหนหมด   ต่อไปเราจะมีชุมชนพม่ากระจายอยู่หนาตา ตามจังหวัดต่างๆทางตะวันตกของประเทศ   เด็กๆที่เกิดถ้าได้สัญชาติไทยตามสถานที่เกิด ต่อไปเขาก็ต้องเข้าร.ร.ไทย   เราจะเห็นวิถีชีวิตใหม่เข้ามาปะปนกับแบบเดิมภายในเวลาอีกไม่กี่ปี  
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 21:35

ถ้าเราเดินถนนไปซื้อของตามร้านค้าประเภทรถเข็น สังเกตให้ดีๆเถอะ ต่างชาติซะ 30เปอร์เซ็นต์
ไปตลาดอ.ต.ก. เกือบ 50 % พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ไม่มีตัวสะกด เขาใช้วิธีจำและเลียนเสียง
ถ้าถามอะไรที่ต่างไปจากที่เขารู้ในชีวิตค้าขายประจำวัน เราจะได้ยินเขาพูดภาษาที่เราไม่เข้าใจ

ถ้ามองในแง่ความปลอดภัยก็น่ากลัวมากที่คนต่างชาติที่มีวิถีชีวิต และความคิดที่แตกต่างกับเรา
มาเดินป้วนเปี้ยนเต็มไปหมด  คนไทยใจดีและไว้ใจคนง่าย ให้เกียรติคนอื่นมากมาย ทำให้เปิดช่อง
ให้คนเหล่านี้หนีความลำบากในบ้านเมืองเขา มาอยู่กันเต็มไปหมด ข้อดีคือคนเหล่านี้ไม่เกี่ยงงาน
หนักเบาทำหมดเพื่อความอยู่รอด

แต่คนไทย(ที่ใช้แรงงาน)ชอบเลือกงาน ของานสบายๆ เงินเดือนสูง สวัสดิการดีๆ มีหน้ามีตาในสังคม
อวดใครๆได้ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นก็ต้องผ่านการทดสอบของกาลเวลา และผลงาน
ต้องเป็นรูปธรรม ผลก็คือมักไปได้ไม่ถึงฝัน นั่นเป็นสิ่งที่น่ากังวลมาก

ทำอย่างไรเราถึงจะปลูกฝังค่านิยมในการทำงาน สร้างฐานะให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักว่า
อย่ากลัวความลำบาก  อดทน มุ่งมั่น ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม อดออม ประหยัด และพยายาม
พัฒนาฝีมือตัวเองยิ่งขึ้น มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและหน่วยงาน แล้วพยายามก้าวต่อไปไม่หยุดยั้ง
ไม่นานเกินรอเราต้องตั้งตัวได้...ประสบความสำเร็จได้
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 18:11

  ถามตัวเองเหมือนกันว่าแรงงานไทยไปไหนหมด   ต่อไปเราจะมีชุมชนพม่ากระจายอยู่หนาตา ตามจังหวัดต่างๆทางตะวันตกของประเทศ   เด็กๆที่เกิดถ้าได้สัญชาติไทยตามสถานที่เกิด ต่อไปเขาก็ต้องเข้าร.ร.ไทย   เราจะเห็นวิถีชีวิตใหม่เข้ามาปะปนกับแบบเดิมภายในเวลาอีกไม่กี่ปี  

ตามกฏหมายสัญชาติไทย เด็กๆ เหล่านี้แม้จะเกิดในไทยแต่จะไม่ได้สัญชาติไทยครับ เพราะพ่อแม่เป็นคนต่างด้าว ตามนี้เลยครับ

การได้มาซึ่งสัญชาติไทย
 1.2. หลักดินแดน เช่น ผู้ที่เกิดในประเทศไทยย่อมได้รับสัญชาติไทย เว้นแต่ผู้ที่เกิดในประเทศไทยโดยบิดา หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวและในขณะที่เกิดบิดา หรือมาดาของผู้นั้นเป็น
       1.2.1. ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยกรณีพิเศษเฉพาะราย
       1.2.2. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว
       1.2.3. ผู้ที่ได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
       1.2.4. หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางทูต
       1.2.5. หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุลหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางกงสุล
       1.2.6. พนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ
       1.2.7. คนในครอบครัวซึ่งเป็นญาติอยู่ในความอุปการะหรือคนใช้ซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศมาอยู่กับบุคคลใน 1.2.4 ถึง 1.2.7

http://koorungmu.blogspot.co.uk/2011/01/blog-post_7735.html

ถึงจะเกิดในไทย แต่พ่อแม่เป็นต่างด้าว ดังนั้นเด็กเหล่านี้จะไม่ได้รับสัญชาติไทย และมีสิทธิต่างๆ จำกัดกว่าเด็กไทยแท้ๆ มากครับ  ซึ่งในมุมมองของผมเนื่องจากผมมีโอกาสมาอยู่ ตปท แบบพลเมืองชั้นสอง ดังนั้นผมจะเข้าใจและเห็นใจคนเหล่านี้เป็นพิเศษ และมองว่าการให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและการรักษาพยาบาล เป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐไทยต้องจัดให้ไม่ว่าคนนั้นจะสัญชาติอะไรก็ตาม  เพราะคนเหล่านี้จำนวนไม่น้อยไม่มีที่ไป การพัฒนาคนโดยไม่ต้องเกี่ยงสัญชาติ สุดท้ายผลดีต่างๆ ในระยะยาวก็จะสะท้อนถึงประเทศเราเอง  ถ้าบ้านเมืองดี สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีคงไม่มีใครอยากจากบ้านจากเมืองมาทำงานใช้แรงงานเป็นพลเมืองชั้นสองที่บ้านเมืองอื่นหรอก  


เพียงแต่เราต้องมีการใช้มาตรการควบคุมที่ดีควบคู่ไปด้วย เช่นการกระจายการวางแผนครอบครัว ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดกันง่ายๆ มากเกินไป  การใช้ระบบสาธารณสุขเชิงป้องกัน ไม่ใช่รอให้เกิดโรคแล้วค่อยไปหาหมอ  จัดทำสำมะโนประชากรที่สามารถอ้างอิงหรือติดตามตัวคนต่างด้าวแต่ละคนได้  รวมถึงบังคับใช้กฏหมายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกับคนไทยด้วย  เพราะเมื่อเราไล่พวกเค้าออกไปไม่ได้  เราก็วางนโยบายพัฒนากลืนคนเหล่านี้ให้เป็นคนไทยที่ดีมีคุณภาพต่อไปในอนาคตแทน


ข้อดีอีกข้อที่เรามักไม่ค่อยมองกันคือการมีคนเยอะๆ ในประเทศเรา มันช่วยในการกระตุ้นตลาดภายในของเราเองด้วย เป็นกำลังซื้อจำนวนมหาศาล  ในอนาคตอันใกล้อีก 10 ปี 15 ปีข้างหน้า ประเทศโลกที่สามทั้งในเอเชียและแอฟริกาจะเปิดประเทศกันมากขึ้น ตลาดแรงงานราคาถูกจะย้ายไปประเทศเหล่านั้นมากขึ้น ประเทศเราที่เน้นรับจ้างผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลักอาจจะมีปัญหาในการแข่งขันในอนาคต การสร้างตลาดภายในที่มีกำลังซื้อมากพอจึงเป็นเรื่องจำเป็น
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 19:12

เรื่องคนต่างชาติที่กำลังเข้ามาอยู่ในประเทศอย่างมากมายนี้ คิดได้ในหลายๆมุมและทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ

ผมเห็นภาพในมุมกว้างว่า กำลังเกิดปรากฎการณ์คลื่นลูกที่สามสำหรับสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย  คลื่นลูกแรกเกิดมานานมากแล้ว เมื่อครั้งแรกเริ่มการสร้างความเป็นชาติไทยต่อเนื่องมาจนปลายยุคศรีอยุธยา คลื่นลูกที่สองเริ่มช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันหนักไปทางการเคลื่อนย้ายของคนจากโพ้นทะเลเข้ามา และคลื่นลูกที่สามที่กำลังจะเกิดขึ้น คือการเคลื่อนย้ายของคนจากรอบบ้านเข้ามา   ทั้งหมดเป็นผลให้เกิดสังคม วัฒนธรรม และโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไป สร้างให้เกิดมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีพัฒนาการของตนเองในแต่ละช่วงสมัย

ส่วนตัวมีความเห็นว่าน่าสนใจที่ ลักษณะของความเป็นอย่างไทยๆในแต่ละช่วงของระลอกคลื่นนี้ มีแต่กระจายออกไปครอบงำเพื่อนบ้านรอบๆ มากกว่าที่จะเป็นฝ่ายรับเข้ามาอย่างสิ้นเชิง เป็นลักษณะของการรับเข้ามา แล้วเปลี่ยน แล้วส่งย้อนกลับออกไป   ตัวอย่างที่ดีเรื่องหนึ่ง เช่น บรรดาอาหารของชาติอื่นที่เรารับมาปรับแต่งจนกลายเป็นอาหารที่โ่ด่งดังไปทั่วโลก จนเจ้าของต้นตำรับอาหารนั้นๆเองยังต้องยอมแบบแทบจะอ้างไม่ได้ว่าตนเองเป็นต้นตำรับ

เมื่อเกิด AEC  ดีไม่ดีบางทีอาจจะได้เห็นอะไรต่อมิอะไรในสังคม AEC เป็นแบบไทยๆไปหมดก็ได้ 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 12 ต.ค. 12, 09:09

ความเห็นที่263 ของคุณตั้ง กระตุ้นให้ต้องคิดต่ออีกมากมาย....

ขอเวลารวบรวมความคิดหน่อยนะคะ ... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 12 ต.ค. 12, 17:14

เรื่องอาหารไทยนั้นมีจุดแข็งจนทำให้อาหารต่างชาติต้องปรับตัวปรับรสตามเป็นส่วนใหญ่ไม่งั้นขายคนไทยไม่ได้นานก็ม้วนเสื่อกลับแน่
เช่นเชสเตอร์กิล แรกมาเปิดบู๊ทขายตามห้างสรรพสิ้นค้าใหญ่ๆจะเป็นไก่ย่าง เบอร์เกอร์ แลพพวกสปาเก็ตตี้ราดซอสต่างๆ
เวลาผ่านไปไม่กี่ปี กลายเป็นเมนูกระเดียดไปทางอาหารไทยซะแล้ว
อาหารญี่ปุ่นก็ปรับรสให้เข้มขึ้น...ฯลฯ

แต่พอถึงคนไทย กลับอยากเป็นเกาหลี เป็นฝรั่ง เป็นญี่ปุ่น เพราะมีทัศนะที่ฝั่งหัวว่าคนที่มาจากสังคมที่ประสบความสำเร็จทางวัตถุ
(อุตสาหกรรม)คือคนที่มาจากชาติที่เจริญกว่าเรา มีความรู้ทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนกว่าเราซึ่งก็ไม่ผิด
 แต่ภูมิปัญญาบางอย่างของเราก็ไม่ด้อยกว่าเขาเช่นเชิงช่าง ต่างๆ ปรัชญา หรือการเกษตร  การแลกเปลี่ยนความรู้เป็นสิ่งที่ดี

แต่ที่น่าเสียดายคือเราไม่ได้ยกภูมิปัญญาที่มีอยู่ของเราให้โดดเด่นควรแก่ความภาคภูมิใจสำหรับคนรุ่นใหม่
ความสำคัญผิดของคนรุ่นใหม่คือเห็นว่า อะไรที่เป็นไทยแล้วเชย...จึงมองข้ามความสำคัญ หรือคิดที่จะพัฒนาต่อยอดต่อไป

ถ้าคนรุ่นใหม่ไม่เห็นความสำคัญของตัวตนหรือจิตวิญาณของเราเอง ขณะเดียวกันคนต่างชาติก็ทะลักทลายเข้ามาอยู่ใจกลางเมืองหลวง
กระจายอยู่ทุกหย่อมย่า แต่คนไทยแท้ต้องหลบออกไปอยุ่ต่างจังหวัด ไกลแสนไกล ช่องว่างทางสังคมก็จะห่างออกไปอีก
โอกาสดีๆก็จะเป็นของคนที่อยู่ใกล้ความเจริญ ส่วนคนในชนบทก็จะเปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้า ดังที่เราเห็นความแตกต่างของ
คนกรุงเทพกับต่างจังหวัดอยู่ในขณะนี้

อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อคนที่อยู่ใกล้ศูนย์กลาง เป็นคนต่างชาติที่แตกต่างจากคนจีนที่เข้ามาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว
ในขณะที่ทรัพยากรของชาติก็ลดน้อยถอยลง และประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 12 ต.ค. 12, 18:50

ขออนุญาตยังไม่ต่อเรื่องนะครับ และจะขอเว้นวรรคไปประมาณ 15 วัน พาหลานเที่ยวช่วงปิดเทอมครับ

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 12 ต.ค. 12, 21:33

สงสัยไปไกล...ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพและสนุกมสนานกันทุกคนนะคะ
บันทึกการเข้า
cutenail
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 13 ต.ค. 12, 08:51

เชสเตอร์ กริลล์ เป็นกลุ่มบริษัทของคนไทยในอุตสาหกรรมอาหารใหญ่แห่งหนึ่ง ครับ เดิมในอดีตอาจจะ นำอาหารที่เคยส่งออก ในลักษณะรับจ้างทำ มาขายทดลองตลาดดู

แต่ในปัจจุบัน มีการสร้างตราสินค้าของตัวเองให้ แข็งแรงมากขึ้น รวมถึงการผลิตอาหารสำเร็จรูปที่เป็นอาหารไทยมากขึ้น เลยอาจจะนำสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งมาลองทำตลาด ที่เชสเตอร์ กริลล์ที่จีน ก็มีครับ อาหารก็คล้าย ๆ กัน

สำหรับพวก แม็ค เคเอฟซี โค้ก เป๊ปซี นั่นจุดแข็งน่าจะอยู่ที่การส่งออก วัฒนธรรมการบริโภค ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น ภาพยนต์ ทำให้สนับสนุนตัวสินค้าให้แข็งแรงมากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนเล็กน้อยตามประเทศที่ไปตั้งสาขา แต่สินค้าหลัก คือ แม็คดั้งเดิม โค้กดั้งเดิม เป็นต้น

อาหารไทยเอง ก็มีวัฒนธรรมการบริโภคแปลก ๆในต่างประเทศ เหมือนกัน เช่น ในบางประเทศที่ผ่านมา การเลี้ยงอาหารแขกหลังประชุม ถ้าจะให้เลิศหรู ต้องเป็นอาหารไทย และต้องมีรูปเชฟ คนไทยติดหน้าภัตตาคารด้วย รองลงมาคือ อาหารจีนในภัตตาคาร หรือ การหัดรับประทานทุเรียน ในบางประเทศ ถือว่ากินของแพง ต้องกินให้เป็น  เป็นต้น

ในอนาคต เกาหลี อาจจะแทรกเข้าในตลาดอาหาร แบบแม็ค หรือ เคเอฟซี ก็ได้ โดยผ่านการส่งออก วัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบัน ก็พบเห็นได้มากในวัฒนธรรมการแต่งตัว เพลง ภาพยนต์  ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับ การส่งออกวัฒนธรรมของ อเมริกัน ในรูปแบบสื่อต่าง ๆ  ทำให้มีผลต่อเนื่องของการบริโภค

ที่ผ่านมา ท่านทั้งหลายที่เป็นตัวแทนประเทศที่ประจำอยู่ที่ต่าง ๆ จึงถูกแนะนำให้เป็นนักธุรกิจ มีมุมมองแบบธุรกิจ ซึ่งก็ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้างตาม มีกระแสต่อต้านบ้าง
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 20 ต.ค. 12, 14:22

ขอบคุณคะที่บอกว่าเชสเตอร์กิลเป็นบริษัทของคนไทย ....ซึ่งดิฉันไม่ทราบมาก่อนต้องขออภัยที่ข้อมูลผิดพลาด

ที่สำคัญคือการที่เขาปรับอาหารจานด่วนให้มีบุคลิกเป็นไทยมากขึ้น ซึ่งก็น่าสนับสนุน ยิ่งถ้านำเสนอในต่างประเทศได้

ก็ต้องถือเป็นความก้าวหน้าที่น่าภูมิใจ...เรายังไม่มีอาวุธทางวัฒนธรรมที่จะไปสู่โลกกว้างอย่างคนอื่นเขาก็ใช้อาหารนำหน้า

ก็ไม่เลวนะคะ

ในปัจจุบัน มีการสร้างตราสินค้าของตัวเองให้ แข็งแรงมากขึ้น รวมถึงการผลิตอาหารสำเร็จรูปที่เป็นอาหารไทยมากขึ้น เลยอาจจะนำสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งมาลองทำตลาด ที่เชสเตอร์ กริลล์ที่จีน ก็มีครับ อาหารก็คล้าย ๆ กัน

ช่วยขยายความข้อความข้างบนนี้สักหน่อยๆได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง