เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102540 ก้าวย่างในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 19:36

ที่ผมได้กล่าวไว้ว่า ในยุค AEC นี้ ทางรอดของทุกคนคือ ตัวใครตัวมัน แล้วก็ตัดไปเล่าเรื่อง OTOP บ้าง OVOP บ้าง นั้น ก็เพื่อจะต่อเรื่องไปดังนี้

ตัวใครตัวมัน หมายถึง แต่ละบุคคล แต่ละชุมชน แต่ละ... เหล่านี้นั้น  ต่างก็มีของดีของตน ที่แม้จะก็อปกันได้ก็ไม่เหมือนกัน 100%    มีประเด็นอยู่ว่า เรารู้จักตนเองดีมากพอเพียงใด เรารู้จักและเข้าใจในผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งของ หรือสิ่งที่เราคิดเรากระทำมากน้อยเพียงใด  จากนั้นก็ต้องรู้ว่าเราไม่เหมือนเขาหรือเขาไม่เหมือนเราที่ตรงใหน เราต่างกับเขา หรือเขาต่างกับเราอย่างไร   หากเรารู้จักตัวตนของเราเป็นอย่างดีในด้านความคิด ด้านฝีมือ ด้าน.... โดยไม่เข้าข้างตนเอง เอาตนเองเป็นหลัก  เมื่อนั้นเราก็จะมีโอกาสที่จะยืนอยู่ได้อย่างเป็นหนึ่งในบุคคลบนเวทีที่ผู้ดูเห็นได้ว่าเรายืนอยู่บนเวทีนั้นๆ

ดูจะเป็นปรัชญาไปหน่อย  แท้จริงก็คือ เรากล้าที่จะแสดงฝีมือของเราในเรื่องต่างๆว่า เราก็มีความเป็นหนึ่ง เป็นยอดเหมือนกันภายใต้วงสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา หรือในวงกว้างขนาดใด  เรากล้าพอที่จะแสดงรูป แสดงสถานที่ติดต่อ โทรศัพท์และการสื่อสารอื่นๆของเราหรือไม่ เพื่อเป็นการแสดงว่ามีความเป็นจริง ไม่มีการหลอกลวงกัน    นอกจากนั้น หากเป็นสินค้าที่เราทำ เราก็คงต้องรู้ว่าสินค้านี้อยู่ในวงขนาดใด  หมู่บ้าน? ตำบล? อำเภอ? จังหวัด?  ไม่วาดฝันที่จะก้าวข้ามจากระดับชุมชน หรือระดับใดก็ตามไปเป็นระดับประเทศ หรือส่งออก ดังที่ส่วนราชการเขาสร้างฝันให้เรา    เป็นวิธีคิดและกระทำของญี่ปุ่นที่ประสบผลสำเร็จมากในการยกระดับความเป็นของคนในชุมชนเล็กๆห่างไกล   
 
สภาพที่เปิดเสรีในการเคลื่อนที่ของบุคคลในระยะแรกๆนั้น ผมเห็นว่าบุคคลไม่ว่าเราหรือเขาก็อยากจะท่องไปในประเทศต่างๆ ในสถานที่ต่างๆ เพื่อดูสภาพแวดล้อม ดูว่าต่างคนจะมีโอกาสแสวงประโยชน์ทางการค้าการลงทุนได้ในเรื่องใดและอย่างไรได้บ้าง ฝ่ายเราเองก็ทำได้ทั้งแสดงสินค้าและจุดขายของเรา และทำได้ทั้งเรียนรู้ว่าอะไรเป็นที่สนใจของเขา รวมทั้งอะไรที่จะสามารถทำร่วมกันลงทุนร่วมกันได้ และอื่นๆ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 20:13

ดิฉันเห็นด้วยกับคุณตั้ง   อยากเห็นแต่ละท้องถิ่นสร้างสินค้าของตัวเองขึ้นมา  อาจเป็นภูมิปัญญาแต่ดั้งเดิม หรือว่าค้นคิดขึ้นมาใหม่    ให้ผู้บริโภคปฏิเสธสินค้าเลียนแบบ ที่เป็นการฉุดสินค้าตัวจริงให้เสื่อมลงไปโดยปริยาย
อยากเห็นไก่ย่างโคราชอยู่ที่โคราช    ไก่ย่างวิเชียรบุรีอยู่ที่วิเชียรบุรี    ถ้าไปอยู่ที่อื่นก็เป็นสาขาหรือแฟรนไชส์อย่างถูกต้อง   ไม่ใช่จังหวัดไหนก็ขึ้นป้ายนี้  แต่พอไปกิน จะเหมือนหรือไม่เหมือนก็เป็นอีกเรื่อง

ตอบคุณ saimai
ดิฉันไม่ค่อยหวังนักกับขั้นตอนของระบบราชการในการเปลี่ยนหลักสูตร    บางทีท่านผู้รับผิดชอบอาจจะอยากทำ แต่ไปติดที่ต้องใช้เวลานานบ้าง  ติดที่มติกรรมการบ้าง  ทำให้กินเวลานานกว่าจะเห็นผล    นี่ยังไม่ต้องพูดถึงว่าท่านอาจจะเห็นแตกต่างไปจากความต้องการของพวกเราก็ได้
ขอเพิ่มข้อ 4
-  สอนกันในเรือนไทยนี่แหละค่ะ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 21:24

ติดตามคุณ naitang มาตลอดครับ
เห็นด้วยกับคุณประกอบ เรื่องการสอนประวัติศาสตร์ นี้ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ติดใจอยู่
หลายท่านเห็นตรงกัน คุณสุจิต ที่ศิลปวัฒนธรรมก็พูดอยู่เสมอๆ นานมาแล้ว
จนผมอยากจะถามท่านว่า จะให้อ่านหนังสือสักกี่เล่มอะไรบ้าง
จะได้สมใจท่าน
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 11:50

ที่ผมได้กล่าวไว้ว่า ในยุค AEC นี้ ทางรอดของทุกคนคือ ตัวใครตัวมัน แล้วก็ตัดไปเล่าเรื่อง OTOP บ้าง OVOP บ้าง นั้น ก็เพื่อจะต่อเรื่องไปดังนี้

ดีจังที่เอารูปมาลง ตรงกับเรื่องที่คุณตั้งกำลังจะพูดถึงพอดี....(แต่มาเร็วไปหน่อย...อิอิ ขออภัยคะ)

"ทางรอดของทุกคนคือ ตัวใครตัวมัน " นั้นพอเข้าใจ ทำให้นึกถึงคำเก่าๆที่ใช้ว่า "ทางใครทางมัน" ได้ไหมคะ

หมายถึงใครมีดีอะไรก็เอามาโชว์ให้เห็นกัน เช่นวงดนตรีที่เล่นเพลงเดียวกันแต่รายละเอียดต่างกัน ก็เรียกว่า คนละทางกัน

หรืออาหาร เช่น ขนมจีน (น้ำยา) แต่ละภาค แต่ละจังหวัดจะมีส่วนผสมต่างกัน คนที่ทานจะรู้ว่าในถิ่นนั้นจะเป็นแบบนั้น....

เรียกว่า แม้จะแตกต่างแต่ก็มีความเด่นในตัวเองโดยไม่ซ้ำแบบกันได้ไหมคะ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 19:03

"ทางรอดของทุกคนคือ ตัวใครตัวมัน " นั้นพอเข้าใจ ทำให้นึกถึงคำเก่าๆที่ใช้ว่า "ทางใครทางมัน" ได้ไหมคะ 

ก็คงจะไช้้ได้ทั้งสองวลีนี้ โดยไม่สื่อให้ผิดความหมายครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 19:05

แยกเป็นกระทู้ใหม่เรื่องเราจะเรียนจะสอนประวัติศาสตร์ยังไงดี  ได้สบายๆเลยนะคะ
ท่านทั้งหลาย เห็นว่ายังไงบ้างคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 19:45

อย่างหนึ่งที่ผมเห็นความแตกต่างระหว่างการขายของในร้านค้าของไทยกับต่างชาติโดยทั่วไป ซึ่งผมคิดว่ามีคนไทยได้เห็นกันเป็นจำนวนมาก ทั้งข้าราชการ นักท่องเที่ยวไทย ทัวร์ไทย และผู้บริหารระดับสูงทั้งหลายทั้งของเอกชนและราชการ แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครได้กล่าวถึงความแตกต่างนี้เลย หรือไม่ได้เคยได้สังเกตก็ไม่รู้ หรือผมเชยไป ก้าวไม่ทันโลกเขาขั้นหนักเลยทีเดียวก็เป็นได้  

ผมเห็นว่า ดูเหมือนว่าเราจะยังไม่มีการพัฒนาไปในทางใดเลย

เรายังคงจัดร้านแบบเก่าๆ ลักษณะแบบโชว์ห่วยที่เขาเรียกกัน ในลักษณะของการเอาของชนิดเิดียวกันมาวางรวมกันเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเลือกหยิบชิ้นที่ตนเองพอใจได้ตามที่ต้องการ ซึ่งโดยนัยประการหนึ่ง ก็คือ ของเหล่านั้นไม่มีมาตรฐานในการทำ แต่ละชิ้นไม่มีความเรียบร้อยเท่ากัน ทำให้ดูเป็นลักษณะของโหล เป็นของจากแรงงานไร้ฝีมือราคาถูกๆ  โดยนัยอีกประการหนึ่ง ก็คือ ไม่ได้แสดงความเป็น Specialists ในเรื่องใดๆเลย
  
ผมมีความเข้าใจดีถึงสภาพของการจัดร้านเช่นนี้ในต่างจังหวัด เพื่อเป็นการแสดงว่าร้านนี้มีสินค้าอะไรบ้าง และเข้าใจดีว่าร้านขายสินค้าบางประเภทก็ต้องจัดร้านเช่นนี้

ในที่นี้ผมจะพูดถึงร้านขายของประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนและการทำมาหากินในท้องถิ่น เครื่องแต่งเครื่องประดับบ้านเรือน และอะไรก็ตามในกลุ่มสินค้าที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะ (รูปทรง ฝีมือ สีสรร องค์ประกอบ ฯลฯ)

ขอต่อเรื่องในวันพรุ่งนี้ครับ (เช่นเคย  ยิงฟันยิ้ม)  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 19:56

แยกเป็นกระทู้ใหม่เรื่องเราจะเรียนจะสอนประวัติศาสตร์ยังไงดี  ได้สบายๆเลยนะคะ
ท่านทั้งหลาย เห็นว่ายังไงบ้างคะ

อ.เทาชมพูเป็นหัวเรือนะครับ ผมจะพยายามเป็นนักเรียนผู้เฒ่าที่มีความขยันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 20:08

แยกกระทู้แล้วค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5342.msg111802;topicseen#msg111802
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 03 ก.ย. 12, 20:05

^
ตามไปแล้วครับ สักพักก็คงจะยกมือ ลุกขึ้นยืนและขอแสดงความเห็นมั่งครับ

ขอกลับมาเรื่องการขายของที่ค้างใว้ครับ

ผมได้เห็นวิธีการจัดร้านเพื่อแสดงสินค้าที่จะขาย และได้เห็นแนวคิดที่กลายเป็นเรื่องปรกติในการขายของที่ต่างออกไปจากของเราในหลายๆประเทศ กล่าวคือ

เรื่องแรก ผู้ขายเขาคงจะเห็นว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่เอามากองให้เลือกซื้อ (คัดเอาตามความพอใจ) นั้น หากไม่ใช่สินค้าที่ใช้กันในชีวิตประจำวันแล้ว ผู้ซื้อก็คงจะนึกไม่ออกว่าจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง แทนที่จะต้องอยู่ในสภาพที่จะต้องถามจะต้องคอยเดินตามอธิบายกันไป ก็เอาแต่ละชิ้นมาจัดวางแสดงให้ดูเสียเลยว่า จะเอาไปใช้งาน ใช้แต่ง ใช้ประดับร่วมกับอะไรได้บ้าง  โดยเฉพาะกับสินค้าประเภททำด้วยมือ มีฝีมือ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น    ของที่ทำด้วยมือนั้นเป็นของที่มีค่าในตัวของมันเองอยู่แล้ว แม้ว่าราคาจะไม่สูงก็ตาม  ฝีมือในการทำสิ่งของนั้นๆ แม้ว่าจะเป็นของใช้ที่มีรูปร่างเกือบจะเหมือนกันก็ตาม ก็จะต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ในแต่ละประเทศ เพราะมันซ่อนไปด้วยทั้งภูมิปัญญาในการประดิษฐ์ ในการปรับแต่ง และความใส่ใจในรายละเอียด สำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น มันก็แฝงและปรากฎอยู่ในทุกรายละเอียดอยู่แล้ว
นักท่องเที่ยวนั้น อย่าคิดว่าเขาเป็นเพียงมาเที่ยวแล้วก็ซื้อของติดไม้ติดมือกลับไปเป็นที่ระลึกเท่านั้น แท้จริงแล้วแทบจะทุกคนดูจะมีการคิดในการทำธุรกิจแฝงอยู่ด้วย  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะีมีการสั่งซื้อของในระดับ 100 ชิ้นขึ้นไป นักท่องเที่ยวเขาไปมาหลายที่หลายประเทศ ของอย่างหนึ่ง สั่งจากเรา อีกอย่างหนึ่งสั่งจากอีกประเทศหนึ่ง แล้วเขาก็เอาไปวางรวมกันจัดแสดง ซึ่งก็ขายได้ดีทีเดียว ขายทาง internet ก็มีมากมาย   ผมเคยเห็นสินค้าและของใช้พื้นบ้านที่ขายกันในยุโรป กระด้งเอาไปจากเวียดนาม เก้าอี้ไม้ไผ่เอาไปจากอินโดนีเซีย ไม้แกะสลักใบต้นเบิร์ดเอาไปจากไทย ฯลฯ เอาไปจัดวางจนสวย เป็นที่สนใจและขายได้ดี เหล่านี้เป็นต้น

เรื่องที่สอง ปรากฎว่ามีร้านชื่อเดียวกัน อยู่บนถนน shopping street เดียวกัน มีอยู่สองสามร้าน แต่ละร้านขายเสื้อผ้าเหมือนกัน แต่คนละ model ซึ่งแต่ละ model ที่แขวนขายอยู่บนราวก็ยังไม่เหมือนกันในรายละเอียดอีกด้วย แนวคิดก็ง่ายๆ คือ ผู้ซื้อก็ต้องการมีเสื้อผ้าที่ไม่ซ้ำกับคนอื่นใด แล้วก็ทำง่ายๆ เช่น เพียงใช้กระดุมไม่เหมือนกัน ปักไม่เหมือนกัน สีด้ายเย็บไม่เหมือนกัน ฯลฯ ทำนองนี้

ยังมีเรื่องอีกเยอะครับ ที่อาจจะเป็นประโยชน์กับตัวเราเองหรือเอาไปช่วยกระตุ้นความนึกคิดของชาวบ้าน   

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 20:43

ได้เล่าเรื่องมาก็เพื่อจะบอกว่า แนวคิดในการขายของสมัยใหม่นั้น ไม่ได้มุ่งไปในด้านปริมาณแต่มุ่งไปในด้านคุณภาพ หรืออีกนัยหนึ่ง แนวคิดของฝ่ายผู้ซื้อได้เปลี่ยนไปจากการซื้อของโหล (mass products) ไปเป็นในลักษณะของการซื้อของที่ดูเหมือนกับการทำด้วยมือ (customized products)

ในกรณีสินค้าเสื้อผ้านี้ ไทยเราได้ก้าวพ้นอุตสาหกรรมเสื้อผ้าโหลไปแล้ว และต้นทุนของสินค้าโหลก็คงจะสู้เพื่อนบ้านรอบตัวเราไม่ได้แล้ว ซึ่งเราก็ได้พัฒนาไปเป็นสินค้าคุณภาพสูงแล้วเช่นกัน   สภาพจากเดิมที่แรงงานตัดเย็บต้องไปตัดเย็บอยู่ในโรงงาน ซึ่งได้พัฒนาไปเป็นชุมชนรับมาตัดเย็บ และซึ่งได้ล้มเลิกกันไปมากกมายแล้วนั้น ผมเห็นว่าคนเหล่านั้นยังคงมีความสามารถในการตัดเย็บอยู่ เพียงแต่อาจจะหันไปประกอบอาชีพอื่น
 
เมื่อพิจารณาในด้านอื่นๆ กล่าวคือ แต่เดิม เราต้องส่งสินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา สินค้าก็เป็นลักษณะของ mass production    ขีดความสามารถของเราก็มีข้อจำกัด เพราะในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นนั้น เขามีสี่ฤดู เปลี่ยนการใช้เสื้อผ้าทุกๆประมาณสี่เดือน เราจะต้องผลิตสินค้าส่งเข้าตลาดให้ทัน เราไม่มีการพาณิชนาวีของเราเอง ต้องพึ่งพาเรือของชาติอื่นๆในการขนของ กว่าจะขนสินค้าเข้าไปวางขายแข่งขันได้ ก็เสียเวลาไปประมาณหนึ่งเดือน เรียกว่าเข้าตลาดไม่ทัน   สินค้าประเภทแฟชั่นนี้ก็เปลี่ยนเร็วมาก แม้ว่าในวงการอุตสาหกรรมประเภทนี้ (นานาชาติ) เขาจะรู้ล่วงหน้าประมาณสองปี แต่ก็เป็นเรื่องของ trend และเป็นเรื่องของโทนสีเป็นหลัก

เมื่อเปิด AEC นั้น มิไช่เฉพาะจะมีแต่การเดินทางของคนในภูมิภาคนี้เท่านั้น มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอีกด้วย ซึ่งก็หมายความว่า แทนที่เราจะต้องเอาสินค้าไปเสนอขายถึงบ้านเขา มันกลับกลายเป็นว่าเขาย่างกายมาถึงสถานที่ผลิตสินค้าเสียเอง   

เมื่อเอานัยจากทั้งสามเรื่องนี้มาผนวกกัน ก็คงพอจะนึกออกนะครับว่า เราควรจะต้องทำอย่างไร   

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 20:04

มีเกร็ดเล็กๆที่คงไม่ได้ช่วยคำตอบคุณตั้ง แต่มาส่งเสียงให้รู้ว่าติดตามอยู่ค่ะ

เมื่อไม่กี่ปีก่อน มีเพื่อนอเมริกันมาพักที่บ้าน ก็พาเธอไปเที่ยวหัวหิน   และที่ท่องเที่ยวอื่นๆ    เธออยากจะซื้อเสื้อยืดไทยแลนด์กลับไปใส่ที่อเมริกา  ปรากฏว่าหาเสื้อยืดตามร้านที่ขายของให้นักท่องเที่ยวไม่ได้   ไม่มี size ของเธอ   เพราะน้ำหนักเธอประมาณธิดาช้าง  คือไม่ต่ำกว่า 120 ก.ก.     เธอก็ผิดหวังพอสมควร
ต่อไป เมื่อเปิด  AEC เสื้อผ้าไซส์ฝรั่งคงจะมีขายกันแพร่หลายขึ้นนะคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 19:55

^
ขอบพระคุณมากครับ พรุ่งนี้ก็จะไป ตจว. หายไปอีกสี่ห้้าวันครับ

เรื่องที่น่าคิดเรื่องหนึ่ง คือ ในความคิดของเรา ของถูกคือของที่มีปริมาณมากในราคานั้นๆ ปริมาณของที่ขายต่อหน่วยบรรจุจึงมาก ยกตัวอย่างเรื่องข้าว ข้าวถุงเล็กที่สุดของเรามักจะบรรจุถุงละหนึ่งกิโล มากเกินไปที่นักท่องเที่ยวจะเิ่พิ่มน้ำหนักในกระเป๋า นักท่องเที่ยวเพียงอยากจะลองซื้อไปหุงกินเพื่อดูความแตกต่าง หากเพียงบรรจุเป็นซองในขนาดพอกินสองคน ก็น่าจะพอขายได้ดี ซองก็ให้มีขนาดใหญ่พอที่จะตวงน้ำในปริมาณที่พอดีสำหรับหุงแบบไม่เช็ดน้ำ ผมเห็นว่าเล็กน้อยๆเช่นนี้ ก็น่าจะเป็นการโฆษณาขายข้าวจากนาในท้องถิ่นอย่างดี   เป็นข้าวหอมมะลิเหมือนกัน แต่ต่างกันในคุณภาพและความหอมเนื่องจากแหล่งและดินที่ปลูกเป็นต้น 

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 11:19

มีรูปการจัดหน้าร้านที่แสดงให้เห็นความตั้งใจของเจ้าของร้าน
และอีกรูปที่แสดงรายละเอียดของสิ้นค้าที่จะขายได้อย่างน่าสนใจ

มีดสวิส ที่ซ่อนอุปกรณ์ต่างๆมากมายไว้ในอันเดียวเป็นของที่นักท่องเที่ยวมักจะมีติดตัว
เพราะสะดวก และทนทาน ที่สำคัญมันมีความหลากหลายมากทั้งรูปแบบและราคา
จะอธิบายให้คนซื้อ ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วได้อย่างไร แต่ถ้ามองจากการจัดแสดง
สามารถตอบโจทก์ในใจได้ทันทีเลย....

นำรูปมาลงรอเจ้าของกระทู้กลับมาเล่าต่อคะ



บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 20:02

เรื่องการแบ่งสิ้นค้าประเภทอาหารให้มีขนาดพอบริโภค และสะดวกแก่การชั่งตวงวัด ก็เป็นสิ่งน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง

เมื่อเร็วๆนี่เพื่อนจากนอร์เวย์มาเยี่ยมบ้านเกิดแล้วกลับไป พร้อมของฝากที่ถูกใจจากเพื่อนๆคือ ตะกร้าบรรจุ
น้ำพริกหลายชนิด ในแพ็คขนาดเล็กๆ ทานหมดในมื้อเดียว มากมายพอให้เลือกทานจนจุใจ
นี่เป็นบรรจุภัณฑ์ ที่เข้ากับยุคสมัยได้ดีนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง