เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102354 ก้าวย่างในยุค AEC
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 24 ส.ค. 12, 20:36

ขอ drop ก่อนนะคุณเพ็ญ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 24 ส.ค. 12, 21:09

ครานี้ ก็ถึงเวลาที่จะต้องย้อนกลับไปเรื่อง Regional politics ที่ได้หยุดค้างไว้

ผมไปหยุดไว้ตรงที่ว่า (ความเห็นที่ 118) ญี่ปุ่นจะต้องย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศของตน และจะต้องปรับอุตสาหกรรมที่ออกมาลงทุนในประเทศอื่น (โดยเฉพาะในไทย) เพื่อเปิดช่องให้อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและที่มีนวัตกรรมเข้ามาประกอบการแทน

ในช่วงก่อนจะเข้าและช่วงหลังเมื่อเริ่มปี 2000 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้พบว่า การจะรื้อฟื้นการแข่งขันในตลาดโลกของภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและเพื่อชุบชีวิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นนั้น จะต้องเป็นการผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรมและจะต้้องเป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาก แต่มีปัญหาอยู่บางอย่าง คือ แหล่งทรัพยากรวัตถุดิบที่สำคัญ (Heavy rare earth elements) นั้นอยู่ในจีน ซึ่งที่เคยพึ่งพาแหล่งมีอยู่ในสหรัฐฯสองสามแห่งนั้น กำลังจะต้องยุติลงเนื่องจากหมด     หากจะพอจำกันได้ ในช่วง '00 นี้ จะมีสินค้าอิเล็กรอนิกส์ของจีนเริ่มมีการวางจำหน่ายมากขึ้น   ญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามเข้าไปเอาจากแคนาดา (แถบรัฐควีเบค) จนทำให้แคนดาต้องปรับปรุงระบบเส้นทางคมนาคมขนานใหญ่สำหรับรองรับกิจกรรม Logistics ที่จะต้องขนมาทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก (แถบรัฐแวนคูเวอร์)
นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังไปสนใจในมองโกเลียอีก (สังเกตได้จากข่าวเกี่ยวกับมองโกเลียที่มีมากผิดปรกติ)  

กำลังจะขยายวงไปไกลมากขึ้นอีก ขออภัยครับ จะต้องจำกัดวงไว้เพียงเท่านี้ (หากสนใจก็จะขยายความต่อครับ)

พยายามเล่าจากวงกว้างเพื่อช่วยทำให้เห็น พลวัติ ที่จะเกิดขึ้นในยุค AEC ในพื้นที่ของ ASEAN ครับ

แต่จะขอต่อวันพรุ่งนี้ครับ    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 26 ส.ค. 12, 19:31

ลองคิดตามในการประมวลข้อมูลของผมที่ได้มาจากการทำงานในบางมุมบางลักษณะงาน ผนวกกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และเรื่องราวสรุปที่ผมพอจะแสดงการเชื่อมโยงกันครับ แต่อย่าเชื่อผมนะครับ 

ตั้งแตปี 2000 เป็นต้นมา โลกรู้สึกกระฉับกระเฉงกับศตวรษใหม่ จึงเกิดการริเริ่มและการเปลี่ยนแปลงมากมาย     EU ก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนสกุลเงินเป็น EUR.   เศรษฐกิจจีนเบ่งบานอย่างต่อเนื่อง ขนาดของเศรษฐกิจจีนก้าวขึ้นแซงญี่ปุ่นจนเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐในเวลาต่อมา     ญี่ปุ่นปรับโครงสร้างการผลิต มุ่งเข้าไปแข่งขันในโลกของสินค้าที่มีนวัตกรรม สร้าง SMEs พันธุ์ใหม่     สหรัฐเริ่มเข้ายุคต้องต่อสู้กับการก่อการร้ายสากล    ฯลฯ

ภาพคร่าวๆที่เกิดในภูมิภาคอาเซียน  ไทยเกิด FTA กับจีน จีนได้พื้นที่ขยายกำลังตลาดลงมาในภูมิภาคนี้ สหรัฐต้องปรับยุทธศาสตร์เพื่อให้ยังคงมีอิทธิพลอยู่ในภูมิภาคนี้ ญี่ปุ่นต้องย้ายฐานการผลิตออกมาไปอยู่ในอาเซียน เนื่องจากค่อนข้างจะล้มเหลวที่จีน เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับอุตสามหกรรมใหม่ในประเทศของตน   APEC กำลังพัฒนาไปด้วยดี ทำให้ EU ถูกตัดขาดมากขึ้น จึงต้องเพิ่มช่องทางแทรกเข้ามาในตลาด APEC     โดยสรุป คือ การเมืองและเศรษฐกิจกำลังเกิดการพลวัติอยู่ในพื้นที่ของอาเซียน

สิ่งที่เกิดขึ้นมา คือ การพยายามรักษาอิทธิพลในพื้นที่ย่านอาเซียนของมหาอำนาจโลก โดยอาศัยการปรากฎตัวอย่างแข็งขันในกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ (สหรัฐและญี่ปุ่นช่วยกัน block จีน)   
ญี่ปุ่นพยายามปรับสร้างฐานการผลิตใหม่ ส่วนหนึ่งคือการย้ายบางการลงทุนไปอยู่ในเวียดนาม (พวกอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก..labor intensive industry) ทั้งในเวียดนามใต้ (เมืองท่า) ในเวียดนามเหนือ (เชื่อมกับจีนตอนใต้)  ไปสร้างฐานการผลิตรถยนต์บางประเภทในอินโดนีเซีย  เพิ่มความช่วยเหลือแบบ Official development assistance ให้กับอินโดนีเซียมากขึ้น ปรับไทยไปเป็นแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมพวก High technology  ใช้สิงค์โปร์เป็นศูนย์กลางธุรกรรมทางการเงิน
จีนพยายามขยายตลาดให้มากขึ้นโดยใช้ไทยในลักษณะเป็นศูนย์กระจายสินค้า จีนพยายามเป็นพี่เบิ้มในระบบการนส่งทางเรือจากไทย (ท่าเรือนำลึกในอ่าวไทยต่างๆ) และพม่า (ทวาย) เพื่อกระจายสินค้าไปทางมหาสมุทรอินเดียและยุโรป  เนื่องจากประเทศในอาเซียนอื่นๆรู้สึกไม่สนิทใจเต็มร้อยในการเป็นพันธมิตรกับจีน จากผลของเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างเชื้อชาติในอดีต
ยุโรปพยายามจะแทรกเข้ามาในพื้นที่อาเซียนโดยใช้ไทยเป็นฐานทำงาน ใช้มาเลเซียเป็นแหล่งลงทุน
สหรัฐฯพยายามจะเข้ามาปรากฎตัวให้มากกว่าเดิม รื้อฟื้นและเริ่มภารกิจของ USAID ให้เป็นเป็นที่ประจักษ์มากขึ้น

ว๊าว! ฝอยไปได้เป็นตุเป็นตะเลยนะครับ หากได้ย้อนกลับไปค้นคว้าหาอ่านติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ก็อาจจะเห็นภาพอย่างที่ผมเห็นที่เล่ามานี้ก็ได้ หรือเห็นเป็นภาพอื่นก็ได้ ไม่ว่ากัน เป็นเรื่องของการวิเคราะห์นะครับ
     
 ยิ้ม  อายจัง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 26 ส.ค. 12, 19:46

จดเลกเชอร์ยิกๆ     ได้ความเกี่ยวกับไทยตามนี้ค่ะ
-   ญี่ปุ่นปรับไทยไปเป็นแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมพวก High technology 
-   จีนพยายามขยายตลาดให้มากขึ้นโดยใช้ไทยในลักษณะเป็นศูนย์กระจายสินค้า
-   จีนพยายามเป็นพี่เบิ้มในระบบการนส่งทางเรือจากไทย (ท่าเรือนำลึกในอ่าวไทยต่างๆ)
-   ยุโรปพยายามจะแทรกเข้ามาในพื้นที่อาเซียนโดยใช้ไทยเป็นฐานทำงาน
-   สหรัฐฯพยายามจะเข้ามาปรากฎตัว(ในไทย?) ให้มากกว่าเดิม รื้อฟื้นและเริ่มภารกิจของ USAID ให้เป็นที่ประจักษ์มากขึ้น

USAID หมายถึงอะไรคะ  ยังไม่ได้ไปถามอินทรเนตร 
แต่เดาชื่อว่าเป็นความช่วยเหลือแบบไม่คิดกำไร (แต่อาจจะคิดการตอบแทนแบบอื่น)  เหมือนอย่างที่เคยมี SEATO หรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 27 ส.ค. 12, 10:54

หลังจากที่นักเรียนเริ่มหลับหลังห้อง  อาจารย์ตั้งเลยใส่ลูกเล่นในการบรรยายมากขึ้น ได้ผลคะ

นักเรียนเริ่มตื่นมาฟังและขยันจดเล็กเชอร์ พร้อมกับอยากถามว่า....(ตามประสานักเรียนที่พื้นอ่อน....อิอิ )

  1. แสดงว่าตอนนี้มหาอำนาจกำลังเล็งเป้ามาใช้ไทยเป็นฐาน เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการแสดงพลังเหนือภูมิภาคนี้ใช่ไหมคะ

  2. แล้วไทยเราจะรับมือกับการถูกยื้อจากมหาอำนาจเหล่านี้ได้ไหม  เรามีจุดแข็งอะไรที่จะประคองตัวให้ไม่ต้องลู่ตามลม จนเสียศูนย์

  3. ได้ยินนักวิเคาระห์ท่านหนึ่งเมื่อวันเสาร์นี้ ว่า ไทยเราส่งออกก๊าซ ด้วยหรือคะ

  4. เรามีแหล่งน้ำมันมหาศาล และนี่คือเป้าหมายที่ต่างชาติอาจจ้องมองอยู่ แต่ไม่เปิดปากและคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงข้อมูลนี้
     
     ถ้าไม่อยากตอบประเด็นไหนก็ไม่ว่ากันนะคะ...คุยกันสบายๆ

         
    อาจารย์เริ่มมีลูกเล่นในการบรรยาย ...น.ศ.ชาวอักษรฯ ชักสนุก กระทู้นี้คงอีกยาวคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 27 ส.ค. 12, 20:59

USAID หมายถึงอะไรคะ  ยังไม่ได้ไปถามอินทรเนตร 
แต่เดาชื่อว่าเป็นความช่วยเหลือแบบไม่คิดกำไร (แต่อาจจะคิดการตอบแทนแบบอื่น)  เหมือนอย่างที่เคยมี SEATO หรือเปล่า?

USAID คือ US Agency for International Development ครับ ค่อยๆลดบทบาทลงไปพร้อมๆกับการเพิ่มการสนับสนุน UNDP (UN Development Programme) ง่ายๆก็คือ ลดภาพตัวตนของสหรัฐฯลงไป ไปอยู่ในใต้ภาพของ UN   ตอนนี้กำลังจะขยายบทบาทใหม่ในไทยและภูมิภาคนี้    USAID คิดคนเดียวทำคนเดียว แต่ UNDP คิดหลายคนและต้องเห็นพ้องกันจึงจะทำได้  ความช่วยเหลือของ UNDP สำหรับประเทศไทยนั้นแทบจะไม่มีอะไรแล้วครับ ไทยเราเข้าขั้นเป็น advance developing country ไปแล้ว แม้จะมี UNDP อยู่ใน ESCAP ก็ตาม ก็ไปทำงานในที่อื่นๆรอบประเทศไทย

SEATO นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง อยู่ในเรื่องของความร่วมมือทางกำลังในยุทธศาสตร์และยุทธวิธี เพื่อความมั่นคงของภูมิภาคในยุคของการต่อสู้การแผ่ขยายลัทธิความเชื่อทางการเมืองในอดีต

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 27 ส.ค. 12, 21:46

ครับ คุณเทาชมพูและคุณพวงแก้ว ได้เห็นภาพพื้นฐานแล้ว

คำถามของคุณพวงแก้วเรื่องน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินั้น ผมคงจะไม่สามารถเล่าได้ในที่นี้ได้  แต่แน่นอนว่ามันมีในอ่าวไทย ลงไปถึงอินโดนีเซีย มหาอำนาจเขาต้องการแน่ๆ เขาต้องการกระจายความเสี่ยง ลดการต้องพึ่งพาแหล่งในตะวันออกกลางเป็นหลักครับ   

เอาเป็นว่า ไทยเราเป็นฐานที่สำคัญในการทำงานของภาครัฐและเอกชนต่างชาติและนานาชาติก็แล้วกัน    ขนาดของส่วนราชการ องค์กร และฐานปฏิบัติงานของหลายประเทศที่ตั้งอยู่ในไทย อยู่ในระดับต้นๆแรกๆของเขาเมื่อเปรียบเทียบกับที่อื่นๆในโลกเลยทีเดียว

ที่เล่ามาก็เพื่อจะให้เห็นภาพของอิทธิพลที่มีพลังในการกำหนดทิศทาง การเปลี่ยนแปลง และพลวัติในภูมิภาคอาเซียน  เฟืองจักรขนาดใหญ่ (มหาอำนาจ) เขาพยายามประสานการหมุนไปไม่ให้มีการขบเฟืองกัน เฟืองขนาดย่อมลงมา (ประเทศสมาชิกอาเซียน) ก็พยายามจะหมุนไปในทิศที่ไม่ให้ขบกันเองและขบกับเฟืองใหญ่ ฟันเฟืองในระดับที่กล่าวมานี้เขาหมุนกันไปได้ดีพอควรแล้ว เหลือก็แต่เฟืองเล็กๆในประเทศต่างๆจะหมุนกันอย่างไร ดูว่าหลายประเทศเขาปรับแล้วและกำลังได้รับการหยอดน้ำมันให้หมุนไปได้อย่างลื่นไหล   ผมไม่แน่ใจนักว่าสำหรับไทยเรานั้นกำลังอยู่ในสภาพใด ดูจะพอมีเฟืองที่หมุนไปได้บ้าง หลายเฟืองก็หมุนไปไม่สอดคล้องกัน ยังขบกันอยู่ก็มี ยังไม่เริ่มหมุนตามไปก็มี แถมบางเฟืองยังใส่ไม่ถูกที่หรือยังไม่ได้นำไปใส่ในระบบก็มี   

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 16:04

ขอบคุณสำหรับคำตอบที่น่าสนใจอย่างยิ่งคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 16:08

อ้างถึง
ผมไม่แน่ใจนักว่าสำหรับไทยเรานั้นกำลังอยู่ในสภาพใด ดูจะพอมีเฟืองที่หมุนไปได้บ้าง หลายเฟืองก็หมุนไปไม่สอดคล้องกัน ยังขบกันอยู่ก็มี ยังไม่เริ่มหมุนตามไปก็มี แถมบางเฟืองยังใส่ไม่ถูกที่หรือยังไม่ได้นำไปใส่ในระบบก็มี  

ก็หวังว่าจะจัดระเบียบเฟืองได้เรียบร้อย ให้หมุนคล่องตัวตามกันไป ทันปี 2558 นะคะ   ไม่งั้นเฟืองอื่นๆอาจจะกินเนื้อที่ระบบไปหมดเลยก็ได้
ประเทศเราเป็นประเทศที่ทำมาหากินค่อนข้างง่ายสำหรับเอกชนรายเล็กๆ    พูดอีกทีว่ามาขุดทองได้ไม่ยาก    จึงเป็นสถานที่ให้โอกาสสำหรับคนต่างถิ่นที่ขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้ มีหัวคิดที่จะเริ่มต้นงานเล็กโดยไม่รังเกียจ  แล้วต่อยอดไปเรื่อยๆจนเป็นงานใหญ่    แบบเดียวกับคนจีนในอดีตที่เข้ามาแบบเสื่อผืนหมอนใบหรือไม่มีทั้งเสื่อทั้งหมอน   แต่พอรุ่นลูกก็กลายเป็นเจ้าสัวกันไปเป็นส่วนใหญ่

ต่างกันแต่ว่าในอดีต  คนไทยยังมีเนื้อที่รกร้างว่างเปล่าอยู่แยะในประเทศ   พอจะให้คนต่างถิ่นเข้ามาทำมาหากินร่วมกันได้ไม่เบียดกัน   แต่เดี๋ยวนี้ประชากรเราจะล้นประเทศอยู่แล้ว   จะรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 18:41

^
ใช่แล้วครัีบ

ไทยเราเป็นดินแดนที่ค่อนข้างจะเสรี มีเสรีภาพมาก แถมติดอันดับคอรัปชั่นในระดับที่ดีทีเดียว คุณธรรมและจริยธรรมถดถอย ทำอะไรก็ไม่ผิดกฎหมายเป็นแต่เพียงทำในสิ่งที่กฎหมายได้ห้ามไว้   ขนาดต่างชาติยังต้องให้ความสนใจศึกษา Rule of Law ในเวอร์ชั่นที่พัฒนาขึ้นมาในไทย ซึ่งเป็นหลักพิงของธรรมาภิบาลโดยทั่วๆไป เป็นอาณาจักรของศรีธนชัย   อะไรจะเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีไปกว่านี้ในการเข้ามาแสวงประโยชน์ละครับ ฮืม
   

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 18:50

ก็นึกได้อยู่คำเดียวว่า "มือใครยาวสาวได้สาวเอา" ค่ะ
ไม่มีเรื่องของอาเซียน จะเล่าในทางดีๆ เป็นความหวังมากกว่านี้อีกหรือคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 20:07

อย่างที่คุณเทาชมพูว่าไว้ครับ
 
สภาพที่คนต่างถิ่นเข้ามาทำมาหากินได้ง่ายมากในเมืองไทย หากจะมองไปในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ เราได้พัฒนาเข้าไปสู่สังคมของอุตสาหกรรมบริการไปแล้ว ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่ มันเป็นเพียงภาพลวงตา  

ขอขยายความไปสักหน่อยครับ   อุตสาหกรรมบริการ (Service Industry) นั้น เป็นภาคการอุตสาหกรรมต่อเนื่องในเส้นทางของพัฒนาการที่ต่อมาจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ  ง่ายๆก็คือ เปลี่ยนจากภาคการใช้แรงผลิตไปเป็นภาคการใช้สมอง

เรื่องการเปิดให้มีเสรีในการประกอบวิชาชีพในประเทศสมาชิกอาเซียนได้นั้น จึงเป็นเรื่องน่ากลัว หากคนที่ประกอบวิชาชีพของเรายังไม่แน่จริงทั้งในเชิงของภาษา สังคม ความรอบรู้ (Intelligence มิใช่ Knowledge) และเทคโนโลยี    เชื่อว่าในด้านของความรู้ทางวิชาการนั้น อาจารย์ผู้สอนได้ให้ไว้แล้วอย่างเต็มที่ แต่ศิษย์นั้นจะรับ เข้าใจ จดจำ และประยุกต์ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้มากน้องเพียงใด  ผมเห็นว่า หากศิษย์ ซึ่งส่วนมากทางบ้านค่อนข้างจะมีฐานะ ยังขาดการติดตามอ่าน Journal  ยังหลงไหลอยู่ในแสงสี เมื่อนั้น ความรู้ที่ได้รับมาจาก Text book ก็คงไม่พอ   ความรู้ใน Text book เองก็ป็นความรู้ที่ประมวลมาจากความรู้เมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้วก่อนปีที่ Text book นั้นๆจะพิมพ์เสร็จและจำหน่าย  แถมอ่านแต่ Sheet หรือ Handout ที่อาจารย์แจก ยิ่งแย่ไปใหญ่เลย มีแต่ภาษาไทยที่อาจารย์แปลให้แล้ว แถมแปลทับศัพท์ภาษาอังกฤษอีกด้วย เลยทั้งเขียนไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ และยังถูกจำกัด School of thought ไปอีกด้วย  

ผมเห็นภาพว่า
จะมีการเคลื่อนของแรงงานฝีมือจากไทยออกไปอยู่ในประเทศต่างๆในอาเซียน  รวมทั้งพวกวิชาชีพที่มีปริญญาเฉพาะทาง ซึ่งหากคนพวกนี้เอาปริมาณรายได้เป็นตัวตั้ง ก็จะกลายไปเป็นแรงงานในระบบการผลิตของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งจะเท่ากับว่าเราไปช่วยเขายกระดับการอุตสาหกรรมของเขา   ตัวอย่างหนึ่งที่ประสบพบมากับตัวก็คือ เคยพยายามยกระดับงานเชื่อมโลหะของไทย จากเพียงเป็นช่างเชื่อมที่มีฝีมือซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ไปสู่คนที่มี Licence ตรวจปล่อยงาน  จะยกระดับบรรดาช่างเชื่อมซึ่งก็คือคนส่วนมากที่ไม่ได้เรียนมาอย่างเป็นกิจลักษณะ จะเป็นพวกที่จบ ปวส. ปวช. ก็ัยังมีความรู้ไม่ถึงระดับ จะเป็นวิศวกรปริญญาเขาก็ไม่้เอา ด้วยเห็นว่างานดูจะต่ำไป  คือ ไม่ได้รับการตอบสนองจากสถาบันใด ทั้งๆที่มีสถาบันมีชื่อของต่างประเทศเขาจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือ   แท้จริงแล้วงานแบบนี้อยู่ในภาคอุตสาหกรรมบริการ และเป็นงานที่มีรายได้ดีมาก  เราเลยต้องยังไปมีหัวหน้างานเป็นฝรั่งอยู่ พัฒนาขีดความสามารถยังไม่ขึ้น

จะมีการไหลเข้ามาของแรงงานไร้ฝีมือเข้ามาในไทยเพื่อเข้าสู่งานทางอุตสาหกรรมของเรา เนื่องจากเขาจะได้รายได้ที่ดีกว่า  เราก็เลยจะขาดความสามารถที่จะก้าวหน้าในเชิงของอุตสหกรรมของเรา พัฒนาการผลิตของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คิดเราแต่เพียงว่า ดีที่สามารถหาแรงงานถูกๆได้ ธุรกิจเราไม่เจ๊งหรือมีเงินพอจะใช้จ่ายอย่างสบายก็พอใจแล้ว

ฝนตกแล้วครับ เลยต้องขอพักก่อน
    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 20:25

ก็นึกได้อยู่คำเดียวว่า "มือใครยาวสาวได้สาวเอา" ค่ะ
ไม่มีเรื่องของอาเซียน จะเล่าในทางดีๆ เป็นความหวังมากกว่านี้อีกหรือคะ

ได้ครับ (แหะๆ)
   
ที่เล่ามาเป็นการปูพื้นแบบของ Negative approach (ดูหดหู่พิลึกนะครับ) เื่พื่อนำไปสู่เรื่องของ Niche market ที่เราน่าจะให้ความสนใจเข้าไปแสวงประโยชน์ครับ  ภาพในเชิงบวกนั้นมีการพูดกันค่อนมากในสื่ออยู่แล้ว แต่เป็นเรื่องของธุรกิจรายใหญ่ทั้งนั้น 
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 18:59

ท่านอาจารย์เทาอยากได้เรื่องดีๆ มีความหวัง   ในฐานะนักเรียนดื้อเหลวไหลจอมขวางโลก เลยเอาเรื่องไม่ดีมาฝากอีกซักเรื่องครับ
วันนี้ได้ไปอ่านบทความเรื่อง  "คุณรู้ไหม? ทำไมเพื่อนบ้านถึงชังเรา? ::มติชน"

http://datawantokeep.wordpress.com/2012/08/28/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2/


ปัญหาหนึ่งที่เราอาจจะประสบในประชาคมอาเซียน ทั้งจากเราเองและจากชาติอื่นๆ คือเรื่องความรักชาตินี่แหละครับ  เพราะเราปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็กๆ จนบางทีรักมากซะจนมองว่าเราเองเหนือกว่า ดีกว่า สุดยอดกว่า จนทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาและยากที่จะหลอมรวมกันได้ แทนที่จะมองประโยชน์ในภาพรวม กลับมองที่ผลประโยชน์ของชาติพันธุ์ก่อน ซึ่งอาจนำไปสู่ความแตกแยกในอนาคต หรือการไม่ร่วมมือร่วมใจกันอย่างแท้จริง คือรวมตัวกันก็จริงแต่รวมแบบกั๊กๆ พร้อมจะแทงข้างหลังกันเองตลอดเวลา


ทุกวันนี้ถ้าอ่านตามเว็บบอร์ดต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นคือถ้าใครซักคนยกวัฒนธรรมดีๆ เรื่องดีๆ ของต่างชาติ  จะต้องมีคนไทยที่ทนไม่ได้ยกเรื่องของชาติเราขึ้นมาข่มเสมอ เจอทุกครั้งทุกที่  ความรักชาติอย่างไร้เหตุผลจะเป็นอุปสรรคหลักอันหนึ่งของอาเซียนในอนาคตครับ


เราต้องเร่งปลูกฝังค่านิยมกันใหม่ ไม่เฉพาะในประเทศเราเอง แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วย ผมไม่เห็นประโยชน์ของลัทธิชาตินิยมนอกจากว่ามันนำความมั่นคงให้กับชนชั้นปกครองเท่านั้น และเป็นที่มาของสงครามตลอดมาด้วย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 19:16

^


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 20 คำสั่ง