เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102353 ก้าวย่างในยุค AEC
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 21:40

คุณตั้งคะ...ช่วยย่อยให้เป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย หรือให้เห็นเป็นภาพได้ไหมคะ...อิอิ

เพราะหลายคนอาจไม่มีพื้นความรู้ทางกฏหมายธุรกิจ เลยตามไม่ค่อยทันคะ

แต่ก็อยากอ่านประดับความรู้ หวังว่าจะไม่เป็นการรบกวนเกินไปนะคะ ขอบคุณคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 21:49


ในแนวคิดของระบบ Royalties นั้น เจ้าของทรัพย์สินและผู้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้ จะตกลงกันในเรื่องของมูลค่าพื้นฐานของทรัพย์สินนั้นๆ และเรียกเก็บเป็นอัตราร้อยละจากมูลค่าของทรัพย์สินนั้นๆ เมื่อตกลงกันแล้ว ส่วนของทรัพย์สิน (ปริมาณ) ในส่วนที่ตกลงกันนั้นๆจะตกเป็นของผู้ที่จะนำทรัพย์สินนั้นๆไปใช้             

ฯลฯ

เด็กปี 1 สายศิลป์สอบตกวิชานี้ตั้งแต่อ่านบรรทัดแรกค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 22:55

ค่าRoyaltyที่ผมเคยทำธุรกิจมาจริงๆก็คือ ค่าธรรมเนียมในการซื้อTechnical Know-howของเขามาทำการผลิตของเพื่อจำหน่ายในประเทศของเรา ซึ่งเขาคิดเป็นเปอร์เซนต์ที่คุณตั้งว่า5% ความจริงแล้วสูงไป มาตรฐานอยู่ที่3%ของราคาขาย คิดจากยอดขายตามรอบบัญชีที่ขายได้จริง

ปกติแล้ว การผลิตจะดำเนินการโดยบริษัทหนึ่ง และขายผูกขาดให้อีกบริษัทหนึ่ง(ในเครือเดียวกัน)เป็นผู้จัดจำหน่าย อันนี้เป็นสากลปฏิบัติ และค่าRoyaltyก็คิด3%ที่ตรงนี้ ส่วนบริษัทจัดจำหน่ายเมื่อลงทุนโฆษณาและทำการตลาดแล้ว จะไปบวกราคาขายให้เอเยต์เป็นเท่าไหร่ เอเยต์ไปขายปลีกให้ผู้บริโภคเป็นราคาเท่าไหร่ กำไร-ขาดทุนอย่างไร เจ้าของKnow-howจะไม่สนใจทั้งสิ้น

ถามว่าวิธีนี้ดีอย่างไร ตอบว่าดีที่เราไม่ต้องเสียเวลาลงทุนทำวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวนั้นๆเอง คือได้ของที่เมืองนอกเขาพิสูจน์ว่าดีและขายได้มาทำธุรกิจเลย และตลอดอายุสัญญา สมมติว่า10ปี เขาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างไร เขาก็จะถ่ายทอดความรู้นี้ให้เราด้วย
ส่วนข้อเสียก็คือ ถ้าไม่หัดคิดเองเสียบ้าง เราก็จะทำเองไม่เป็น ต้องซื้อKnow-howจากเขาร่ำไป แต่ส่วนใหญ่แล้ว กว่าจะครบ10ปีเราก็จะเรียนรู้จากเขาพอสมควร หากระหว่างสัญญา เราจะทำวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผู้บริโภคในประเทศของเราควบคู่กันไป วันหนึ่งก็ไม่ต้องเสียRoyalty Feeให้เขาอีก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 23:12

ถูกติวเข้มจากหลังห้อง  ค่อยกระดิกหูขึ้นมานิดหนึ่ง  แต่ไม่มากนัก  ส่วนคุณ sujittra เด็กวิทย์ประจำชั้นนี้หายไปไหนแล้วไม่ทราบ  เห็นเก้าอี้แถวหลังยังว่างอยู่ค่ะ

 
ค่าRoyaltyที่ผมเคยทำธุรกิจมาจริงๆก็คือ ค่าธรรมเนียมในการซื้อTechnical Know-howของเขามาทำการผลิตของเพื่อจำหน่ายในประเทศของเรา ซึ่งเขาคิดเป็นเปอร์เซนต์ที่คุณตั้งว่า5% ความจริงแล้วสูงไป มาตรฐานอยู่ที่3%ของราคาขาย คิดจากยอดขายตามรอบบัญชีที่ขายได้จริง

ฯลฯ

ถามว่าวิธีนี้ดีอย่างไร ตอบว่าดีที่เราไม่ต้องเสียเวลาลงทุนทำวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวนั้นๆเอง คือได้ของที่เมืองนอกเขาพิสูจน์ว่าดีและขายได้มาทำธุรกิจเลย และตลอดอายุสัญญา สมมติว่า10ปี เขาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างไร เขาก็จะถ่ายทอดความรู้นี้ให้เราด้วย
ส่วนข้อเสียก็คือ ถ้าไม่หัดคิดเองเสียบ้าง เราก็จะทำเองไม่เป็น ต้องซื้อKnow-howจากเขาร่ำไป แต่ส่วนใหญ่แล้ว กว่าจะครบ10ปีเราก็จะเรียนรู้จากเขาพอสมควร หากระหว่างสัญญา เราจะทำวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผู้บริโภคในประเทศของเราควบคู่กันไป วันหนึ่งก็ไม่ต้องเสียRoyalty Feeให้เขาอีก  

Know-how ที่ว่าคงหมายถึงกรรมวิธีทำผลิตภัณฑ์   ที่สามารถค้นคว้าวิจัย ดัดแปลง ปรับปรุงเป็นตัวใหม่ได้    พอได้ตัวใหม่ก็ไม่ต้องง้อตัวเก่าอีก    แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างพวกเพลง บทประพันธ์  งานศิลปะ คงไม่อยู่ในข่ายนี้มั้งคะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 21 ส.ค. 12, 21:24

ขอบคุณ คุณนวรัตน์มากครับ ที่ช่วยขยายความให้กระจ่าง กำลังยืนขาสั่นอยู่ว่าจะรอดใหมเนี่ย  ยิงฟันยิ้ม

หากจะสรุปให้สั้นๆ (อาจจะมีความชัดเจนมากขึ้นไปอีกสักหน่อย ฮืม) ก็คือ ปรัชญาพื้นฐานของ Royalties นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียไปในการที่เราไปเอาทรัพย์สิน (วัตถุ สิ่งของ ภูมิปัญญา ฯลฯ) ของเขามาใช้ (หรือเขาจะต้องเสียให้เราในการที่เขานำเอาภูมิปัญญาของเราไปใช้) ในขณะทีี่่ปรัชญาพื้นฐานของ PSC นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเขาอาสาเข้ามาเป็นผู้พัฒนาหรือทำประโยชน์ให้กับทรัพย์สินของเราด้วยทุนและเทคโนโลยีที่เขามี โดยขอแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาส่วนหนึ่งให้เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนของเขา และจะแบ่งทรัพย์สินที่เหลือเมื่อได้หักส่วนที่เป็นการลงทุนนั้นแล้วให้กับเราในสัดส่วนที่จะตกลงกัน

สินค้าจากรอบบ้านเรา (รวมทั้งจีน) ที่มีราคาถูกอย่างเหลือเชื่อ ที่มีขายกระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหงในบ้านเรานั้น ก็คงเป็นผลิตผลมาจากระบบ PSC นี้เอง     

หยิบยกเรื่องนี้ขึ้มาเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งว่า เราเข้าใจกันดีมากพอหรือยังในเรื่องของรูปธรรมที่จะเกิดขึ้นในระบบการทำการค้าที่เรียกกันว่า (ซึ่งดูเหมือนจะเป็นประโยคเดียวในภาษาไทยที่ใช้อธิบายความตกลงต่างๆที่มีความแตกต่างกันในพื้นฐานของปรัชญา หลักการ และแนวคิด เช่น APEC, FTA, AFTA, EPA) ว่า  "เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน"     

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 21 ส.ค. 12, 22:39

รอดแน่นอนคะ ถ้าคุณตั้งช่วยย่อยความยากให้ง่ายขึ้น (อย่างที่โพสวันนี้)

มิฉะนั้นคนอ่านไม่รอดแน่เลย  ขอบคุณค่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 08:08

อ้างถึง
Know-how ที่ว่าคงหมายถึงกรรมวิธีทำผลิตภัณฑ์   ที่สามารถค้นคว้าวิจัย ดัดแปลง ปรับปรุงเป็นตัวใหม่ได้    พอได้ตัวใหม่ก็ไม่ต้องง้อตัวเก่าอีก    แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างพวกเพลง บทประพันธ์  งานศิลปะ คงไม่อยู่ในข่ายนี้มั้งคะ

นั่นเป็นการซื้อลิขสิทธิ์ครับ จะเป็นการซื้อต่อครั้งที่ใช้ หรือต่อปีต่ออะไรสุดแล้วแต่ ค่าซื้อ ก็เรียกRoyalty Feeเหมือนกัน

แต่ก็ไม่มีอะไรจะห้ามได้นี่ครับว่า สำนักพิมพ์ หรือ Production Houseที่ซื้อไป จะพิมพ์ หรือ ทำเพลงของตนเองขึ้นมาใหม่ไม่ได้ แต่ถ้าเอาของๆเขาไปดัดแปลงดื้อๆ ถ้าตกลงกันว่าทำได้ก็ทำได้

ยกตัวอย่าง(โบราณหน่อย) หนังญี่ปุ่นชื่อไทยว่า เจ็ดเซียนซามูไร ถูกฮอลิวู๊ดขอซื้อไปทำหนังคาวบอยชื่อ เจ็ดสิงห์แดนเสือ ยังไงครับ
ตัวอย่างที่ทันสมัยหน่อย บทประพันธ์ของแก้วเก้าหลายเรื่องที่ถูกเอาไปทำหนังทีวี แต่โดนเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนในหนังสือ ก็ไม่ทราบว่าผู้ประพันธ์ท่านได้ตกลงกับผู้สร้างไว้ว่าอย่างไร ? ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 10:14

ตอนนี้ ยิ่งท่านทั้งสองช่วยกันอธิบายสองแรงแข็งขัน   ดิฉันก็เลยกลับไปสู่ F  ในชั้นเรียนนี้อีกแล้ว   ลังเล

ขอบคุณ คุณนวรัตน์มากครับ ที่ช่วยขยายความให้กระจ่าง กำลังยืนขาสั่นอยู่ว่าจะรอดใหมเนี่ย  ยิงฟันยิ้ม

หากจะสรุปให้สั้นๆ (อาจจะมีความชัดเจนมากขึ้นไปอีกสักหน่อย ฮืม) ก็คือ ปรัชญาพื้นฐานของ Royalties นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียไปในการที่เราไปเอาทรัพย์สิน (วัตถุ สิ่งของ ภูมิปัญญา ฯลฯ) ของเขามาใช้ (หรือเขาจะต้องเสียให้เราในการที่เขานำเอาภูมิปัญญาของเราไปใช้) ในขณะทีี่่ปรัชญาพื้นฐานของ PSC นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเขาอาสาเข้ามาเป็นผู้พัฒนาหรือทำประโยชน์ให้กับทรัพย์สินของเราด้วยทุนและเทคโนโลยีที่เขามี โดยขอแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาส่วนหนึ่งให้เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนของเขา และจะแบ่งทรัพย์สินที่เหลือเมื่อได้หักส่วนที่เป็นการลงทุนนั้นแล้วให้กับเราในสัดส่วนที่จะตกลงกัน

สินค้าจากรอบบ้านเรา (รวมทั้งจีน) ที่มีราคาถูกอย่างเหลือเชื่อ ที่มีขายกระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหงในบ้านเรานั้น ก็คงเป็นผลิตผลมาจากระบบ PSC นี้เอง    

หยิบยกเรื่องนี้ขึ้มาเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งว่า เราเข้าใจกันดีมากพอหรือยังในเรื่องของรูปธรรมที่จะเกิดขึ้นในระบบการทำการค้าที่เรียกกันว่า (ซึ่งดูเหมือนจะเป็นประโยคเดียวในภาษาไทยที่ใช้อธิบายความตกลงต่างๆที่มีความแตกต่างกันในพื้นฐานของปรัชญา หลักการ และแนวคิด เช่น APEC, FTA, AFTA, EPA) ว่า  "เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน"    



แต่ก็ไม่มีอะไรจะห้ามได้นี่ครับว่า สำนักพิมพ์ หรือ Production Houseที่ซื้อไป จะพิมพ์ หรือ ทำเพลงของตนเองขึ้นมาใหม่ไม่ได้ แต่ถ้าเอาของๆเขาไปดัดแปลงดื้อๆ ถ้าตกลงกันว่าทำได้ก็ทำได้

ยกตัวอย่าง(โบราณหน่อย) หนังญี่ปุ่นชื่อไทยว่า เจ็ดเซียนซามูไร ถูกฮอลิวู๊ดขอซื้อไปทำหนังคาวบอยชื่อ เจ็ดสิงห์แดนเสือ ยังไงครับ
ตัวอย่างที่ทันสมัยหน่อย บทประพันธ์ของแก้วเก้าหลายเรื่องที่ถูกเอาไปทำหนังทีวี แต่โดนเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนในหนังสือ ก็ไม่ทราบว่าผู้ประพันธ์ท่านได้ตกลงกับผู้สร้างไว้ว่าอย่างไร ? ยิงฟันยิ้ม

จะพยายามทำการบ้านอีกครั้งค่ะ
สินค้าบางตัวทำใหม่ได้   เหมือนสั่งหวายอาบน้ำยาจากนอกเข้ามาผลิตเฟอร์นิเจอร์  ต่อมาทำวิจัยพบว่าน้ำยาแบบนั้นมีส่วนผสมอะไรบ้าง   ก็ทดลองอาบกับหวายเมืองไทย  พบว่าทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ดีเท่ากัน   ก็พัฒนาสินค้าตัวนี้ขึ้นมาเอง  ไม่สั่งหวายเมืองนอก ก็ไม่ต้องเสียค่ารอยัลตี้ให้เขาอีก    
แต่ทรัพย์สินทางปัญญาทำใหม่แบบนั้นไม่ได้     แม้ว่าผู้ซื้อจะเปลี่ยนรูปแบบไป เช่นเปลี่ยนจากนวนิยายไปเป็นละครโทรทัศน์ แต่ความเป็นบทประพันธ์ไม่ได้เปลี่ยน   ผู้ซื้อจะทำเทียมบทประพันธ์ใหม่ขึ้นมา  เอาไปผลิตละครโทรทัศน์ต่อไปเรื่อยๆอีกก็ไม่ได้   ถ้าทำถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์  ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
ส่วนเรื่องดัดแปลงเป็นคนละประเด็นค่ะ  เพราะการดัดแปลงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว    เหตุผลข้อหนึ่งที่เห็นง่ายๆคือความยาวของนวนิยายกับละครโทรทัศน์ไม่เท่ากัน      ถ้าทำให้เหมือนเป๊ะ  ไม่กระดิกกระเดี้ยจากของเดิมเลย    ละครโทรทัศน์ยาว 15 ตอนอาจต้องยืดไปเป็น 150 ตอนถ้านวนิยายเรื่องนั้นยาวขนาดสามก๊กหรือเพชรพระอุมา   มันก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว  จึงต้องตัดบ้าง  เติมบ้าง  ให้ลงตัว
ส่วนเหตุผลอื่นๆที่เกิดการดัดแปลงมีอีกมาก   แต่ขี้เกียจอธิบาย  เพราะสมาชิกเรือนไทยส่วนใหญ่ไม่อ่านนวนิยายของแก้วเก้าอยู่แล้ว   รวมทั้งคุณนวรัตนและคุณตั้งด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 10:32

คือ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับข้อตกลงสัญญาครับ ส่วนใหญ่จะต้องระบุขอบเขตว่า อนุญาตให้ทำอะไรได้แค่ไหน ก็ทำได้เท่าที่สัญญากำหนด เกินจากนั้นถือว่าผิดสัญญาตามกฏหมาย แล้วไปว่ากันว่าจะชดเชยกันอย่างไร ถ้าตกลงตรงนี้ไม่ได้ก็ต้องพึ่งศาล

กฏหมายไม่ได้ห้าม เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาจะตกลงให้คู่สัญญาทำอย่างไรก็ได้ ไม่ได้กำหนดขอบเขตไว้
กฏหมายห้ามเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ตกลงอะไรกับเขา(โขมย) และผู้ที่ทำนอกข้อตกลง(ฉ้อโกง หรือฉ้อฉล) มีโทษระบุไว้ชัดเจน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 19:32

ยอมแพ้ค่ะ  เข็นตัวเองไม่ขึ้น
กลับไปนั่งหลังห้อง ฟังเลกเชอร์ต่อดีกว่า


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 20:47

นี่ก็เป็นกรณีตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงการเห็นภาพที่ต่างกันในเรื่องเดียวกัน  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

  



  

  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 21:09

คือ...วิชานี้มันหนักค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 21:18

^


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 21:39

แต่ก็ยังปักหลักอยู่ในชั้นนะคะ  ไม่ได้โดดเรียน
ขอส่งการบ้านชิ้นหนึ่งค่ะ   แทนแบบฝึกหัดที่ทำไม่ได้   แต่ไม่รู้ว่าจะยิ่งได้ FF   หรือเปล่า

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปราศรัยเนื่องในวันอาเซียน ประจำปี 2555 วันที่ 8 สิงหาคม 2555 ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทั้งหลาย

 วันนี้เป็นวันครบรอบ 45 ปี ของการก่อตั้ง “สมาคม ประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้” หรืออาเซียน ซึ่งถือกำเนิดขึ้นโดยวิสัยทัศน์ของผู้นำไทยในขณะนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก รวมทั้งการธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงในภูมิภาค และหลังจากนั้นเป็นต้นมา อาเซียนก็ได้ขยายสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 5 ประเทศ จนมีสมาชิกรวม 10 ประเทศในปัจจุบัน

 ความร่วมมือในกรอบอาเซียน ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นลำดับ จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ได้พัฒนามาเป็นความตกลงเขตการค้าเสรี  และกำลังพัฒนาต่อไปเป็นประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า  ซึ่งจะเน้นในการพัฒนา 3 ด้านด้วยกัน คือ ประชาคมด้านการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

 เพื่อที่จะก้าวไปสู่ศักราชใหม่ในการเป็นประชาคมอาเซียน  ประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จะมีฉันทามติร่วมกันในการรักษาสันติภาพในภูมิภาค และจะร่วมกันผลักดันให้อาเซียนเป็นพลังในการขับเคลื่อนสันติภาพ และความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก

 ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนจะรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ที่มีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน  ซึ่งอยู่ในระหว่างการขยายความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนกับประเทศอื่นๆ นอกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักสำคัญคือ การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน หรือที่เรามักเรียกทับศัพท์กันว่า “connectivity” ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ทั้งถนน รถไฟความเร็วสูง ทางเรือ ทางอากาศ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการลงทุน  และเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ในกลุ่มสมาชิกอาเซียนด้วยกัน

การเชื่อมโยงทั้งหมดนี้  จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มความน่าดึงดูดสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะเป็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการไทย  ซึ่งจะเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนไทยโดยรวม

 นอกจากนี้ หลักสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน จะเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศอาเซียน มีความรู้สึกเป็นชาวอาเซียนร่วมกัน ดังนั้น การดำเนินการใดๆ ของอาเซียน ก็จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง อาทิเช่น การที่ไทยผลักดันความร่วมมือด้านการต่อต้านยาเสพติด การค้ามนุษย์ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการสร้างความพร้อม และความเข้มแข็งในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ  เพื่อให้ทุกส่วนราชการได้เร่งดำเนิน การด้านต่างๆ ทั้งการปรับปรุงโครงสร้าง กฎระเบียบ การเพิ่มพูนทักษะกำลังคน การจัด ทำยุทธศาสตร์และแผนงาน รวมทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น ก่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อภูมิภาค  ประเทศไทยและพี่น้องชาวไทยทุกคน

 ดิฉันขอยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างความพร้อม เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์  และการที่ประเทศไทยมีที่ตั้งสำคัญเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และมีศักยภาพในการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาคนี้เข้าด้วยกัน รัฐบาลจึงได้เร่งผลักดันให้มีการร่วมมือด้านการค้าการลงทุน  และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะการส่งเสริมการสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค และการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศต่างๆ ในอาเซียน เพื่อให้ทุกประเทศในอาเซียนมีความเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน

 และในโอกาสวันอาเซียนนี้ ดิฉันขออวยพรให้พี่น้องชาวไทย และพี่น้องของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งถือว่าเป็นพี่น้องชาวอาเซียนร่วมกัน จงประสบแต่ความผาสุกสวัสดีโดยทั่วกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 23 ส.ค. 12, 05:58

?


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 20 คำสั่ง