เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102537 ก้าวย่างในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 19:18

เรื่องที่เล่ามานี้ ผมเห็นว่าเป็นเพียงบริบทหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อภาพของการก้าวย่างใน AEC    จะขอขยักเรื่อง regional politics ไว้ตรงนี้ก่อน เดี๋ยวจะเห็นว่าไม่เห็นเกี่ยวกับ ASEAN และ AEC เลย

ลองมาดูสภาพบางอย่างที่จะเกิดขึ้นในอาเซียน และที่คิดว่าจะเป็น norm ต่อไปใน AEC

เคยได้ยินและได้ทราบความตกลงทางการค้าการลงทุนของภาครัฐและของเอกชนบนพื้นฐานของระบบ Production Sharing Contract (PSC Contract) บ้างใหมครับ     ผมเห็นว่าระบบนี้จะกลายเป็นพื้นฐานของแนวคิดต่างๆในการทำความตกลงทางการค้าต่อๆไป ไม่ว่าจะเป็นระหว่างรัฐต่อรัฐ รัฐกับเอกชน และ เอกชนกับเอกชน   

ทิ้งท้ายไว้ตอนนี้ว่า ระบบ Royalty system ที่เราใช้ ต่างกับระบบ PSC system ที่เพื่อนบ้านในอาเซียนของเราใช้มากมาย    ท่านสมาชิกที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์จะช่วยขยายความทั้งสองระบบนี้เป็นวิทยาทานได้ก็ด้วยความยินดีครับ   

ผมเข้าขั้นเป็นห่วงเลยทีเดียวที่ยังไม่เห็นองค์กรและหน่วยงานทางเศรษฐกิจทั้งของภาครัฐและเอกชนของเราได้แย้มพูดถึงเรื่องระบบนี้เลย แล้วจะให้เอกชนไทยเราไปสู้กับเขาเมื่อเปิดเสรี AEC ได้อย่างไร หากยังไม่รู้ในปรัชญาความคิด ตับไตใส้พุงในเรื่องนี้     ที่ไปทำธุรกิจเจ้ง (คำไม่สุภาพอีกแล้วครับ) ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา ก็มิใช่บนพื้นฐานของความตกลงและสัญญาบนปรัชญา PSC นี้หรือ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 19:43

ยังไม่รู้ว่านักเศรษฐศาสตร์คนไหนจะเข้ามาขยายความให้อย่างที่คุณตั้งเชิญ  แต่นักอักษรศาสตร์ไม่รู้เรื่อง  regional politics /
Production Sharing Contract (PSC Contract) / Royalty system / PSC system เลยสักคำค่ะ
ช่วยติวก่อนได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 20:46

^
ตกลงครับ จะขยายความ

ของออกตัวเสียก่อนว่าผมห่างไกลจากเนื้อในที่ละเอียด เพียงแต่เข้าใจในทางปรัชญาความคิดพอที่จะทักท้วงได้ในระหว่างการเจรจาเท่านั้นครับ   ในปีจจุบันนี่มีการพัฒนาไปในรูปแบบอื่นๆอีกด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 20:55

ขอเลกเชอร์ระดับสอนเด็กปี 1 สายศิลป์ได้ไหมคะ   ไม่เคยลงเรียนเศรษฐศาสตร์แม้แต่ 1 หน่วยกิต


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 08:12

ขอเลกเชอร์ระดับสอนเด็กปี 1 สายศิลป์ได้ไหมคะ   ไม่เคยลงเรียนเศรษฐศาสตร์แม้แต่ 1 หน่วยกิต
เผื่อเด็กปี ๑ สายวิทย์ด้วยครับ
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 20:18

ผมเขียนว่า Royalty ตามที่มักจะเขียนกัน ที่จริงแล้วคำที่ถูกต้องจะเขียนว่า Royalties

Royalties โดยหลักก็คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากการอนุญาตให้นำทรัพย์สินของตนไปแสวงหาประโยชน์เพิ่มในรูปแบบอื่นๆ (เช่น เพลง ทรัพยากร ทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ)  อยู่บนพื้นฐานของความตกลงในลักษณะของสัญญาการอนุญาต   ค่าลิขสิทธิ์ ค่าใช้เครื่องหมายการค้า (Franchises) รวมถึงค่าการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ (แร่ธาตุ น้ำมัน ฯลฯ) เหล่านี้เป็น Royalties    อัตราที่เรียกเก็บคิดเป็นร้อยละบนฐานของราคาประเมินต่อหน่วยที่ผู้ทรงสิทธิคิดว่าน่าจะมีมูลค่าเช่นนั้น (ต่อแผ่น CD  ต่อตันแร่ ต่อครั้งที่เปิดเพลง ฯลฯ)    เนื่องจากระบบ Royalties นี้มีการใช้กันมานานมากในโลก จึงมีพัฒนาการมากมาย กลายเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขสลับซับซ้อนในปัจจุบัน

โดยสรุป ก็คือ ระบบรายได้ที่ได้มาจากมูลค่าเพิ่มอันเนื่องมาจากการที่ผู้อื่นนำเอาทรัพยากรของเราไปแสวงประโยชน์เพิ่มเติม  คล้ายกับว่าทรัพยากรนั้นไม่เสื่อมสลายไปใหน
Royalties ของไทย  ในทางราชการหมายถึง ค่าภาคหลวงและค่าสัมปทาน 

Production Sharing Contract (PSC) หรือ Production Sharing Arrangement (PSA)  โดยหลักแล้วเป็นเรื่องของความตกลงระหว่างฝ่ายรัฐกับฝ่ายเอกชนในการที่ฝ่ายรัฐอนุญาตให้เอกชนเข้ามาขุดค้นหาเอาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไปค้าขาย    เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบสัมปทาน (Concession) ซึ่งเป็นระบบอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิในการสำรวจหาและจำหน่ายทรัพยากรธรรมชาติบางอย่าง (ตามที่กำหนด) ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ปรกติคือ 30-35 ปี)
หลักการที่สำคัญของ PSC คือ ทรัพยากรเป็นของรัฐตลอดเวลา รัฐรู้อยู่ว่ารัฐมีทรัพยากรนั้นๆ เพียงแต่รัฐยังไม่ได้ใช้หรือยังไม่มีความสามารถที่จะไปลงทุนสำรวจ (คน เงิน และเทคโนโลยี) และนำมาใช้ประโยชน์   รัฐจึงเพียงอนุญาตให้มาสำรวจและขุดค้นเท่านั้น ทั้งนี้หากพบ รัฐก็ยินดีที่จะอนุญาตให้นำไปแสวงหารายได้ แต่ต้องอยู่ภายในกำกับของนโยบายของรัฐ   โดยนัยก็คือ รัฐไม่เข้าไปร่วมเสี่ยงด้วยและก็ไม่ปล่อยให้ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวในทุกสถานการณ์ที่เป็นคุณกับฝ่ายเอกชน

ปรัชญาของ PSC นี้ แตกต่างกับปรัชญาของ Royalties ในมุมหนึ่งที่สำคัญก็คือ  Royalties นั้น ไม่ไปยุ่มย่ามกับความสามารถของคู่สัญญา ในขณะที่ PSC นั้นบีบให้คู่สัญญาต้องทำเต็มกำลังความสามารถตามที่ตกลงกันไว้ตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่ง คือ Royalties นั้น เ็ป็นแบบ ชิลๆ ในขณะที่ PSC นั้นเป็นแบบเร่าร้อน

     




 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 20:20

ตั้งใจว่าจะเขียนให้มากกว่านี้ เพราะว่าผมจะไปต่างจังหวัดประมาณ 1 สัปดาห์

ขออนุญาตเว้นวรรคไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ

ขออภัยจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 20:48

นักเรียนปี 1 สายวิทย์กับสายศิลป์จะนั่งรออยู่หลังห้องนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 09:26

มาดึงกระทู้ไว้ก่อนตกหน้า
http://th.jobsdb.com/TH/th/Resources/JobSeekerArticle/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99?ID=5751
อาชีพหมอฟัน-นางพยาบาลน่าห่วงสุด หลังเปิดเสรีอาเซียน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยชี้อาชีพทันตแพทย์และพยาบาลเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง หลังการเปิดเสรีแรงงานในอาเซียน ขณะที่ประเมินว่าธุรกิจสปา ขนาดเล็ก จะปิดบริการมากกว่า 1 หมื่นแห่ง หลังมีการกำหนดมาตรฐานกลางของอาเซียน

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการวิเคราะห์เรื่องศักยภาพการแข่งขันของการเปิดเสรีแรงงานวิชาชีพไทยภายใต้ AEC ว่า ประเทศไทยยังไม่มีการเตรียมการเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมถึงภาคแรงงานยังไม่ทราบถึงผลกระทบและการเตรียมตัวในการเปิดเสรี อีกทั้งการเปิดเสรีแรงงานจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและบริการของไทยเพราะ ปัจจุบันยังขาดแรงงานที่มีฝีมือและยังมีความเสียเปรียบด้านภาษา และจากการทำการศึกษาในกลุ่มบริการวิชาชีพใน 6 สาขา ได้แก่ งานทันตแพทย์ งานแพทย์ งานพยาบาล งานบัญชี งานวิศวกรรม และงานสถาปัตยกรรม พบว่า กลุ่มวิชาชีพทันตแพทย์ พยาบาลและวิศวกร ส่วนใหญ่ไม่เห็นประโยชน์ของการเปิดเสรีอาเซียน เนื่องจากจะมีแรงงานวิชาชีพต่างชาติเข้ามาหางาน ในไทยมากขึ้น ทั้งนี้กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ทันตแพทย์และพยาบาล เนื่องจากจะมีทันตแพทย์โอนสัญชาติจากยุโรปเป็นสิงคโปร์ และจะมีพยาบาลจากฟิลิปปินส์เข้ามาใช้สิทธิ์เข้ามาประกอบวิชาชีพจำนวนมาก ซึ่งไทยยังเสียเปรียบด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก ถึงแม้แต่ละวิชาชีพของไทยอยู่ในระดับกลุ่มที่มีศักยภาพในอาเซียน

ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวด้วยว่า ภาครัฐควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์และผลกระทบของแต่ละวิชาชีพ ก่อนที่จะมีการตกลงเปิดเสรีแรงงานอาเซียน รวมถึงเพิ่มเรื่องทักษะภาษาต่างประเทศ พัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับภาคการผลิต ทั้งนี้ ในกลุ่มธุรกิจสปาขนาดเล็ก ที่เปิดตามตึกแถวหรือตามที่พักอาศัย อาจจะมีการปิดกิจการเป็นจำนวนมากกว่า 10,000 แห่ง หลังจากการเปิดอาเซียน เนื่องจากขณะนี้ได้มีการออกมาตรฐานสปาในอาเซียนแล้วตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งได้มีข้อบังคับและมาตรฐานของสถานที่และความปลอดภัยต่างๆ และจะมีหน่วยงานของอาเซียนเข้ามาตรวจด้วย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างรอการลงนามของกลุ่มประเทศในอาเซียน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 09:31

วิศวะไทยเสี่ยงตกงาน เมื่อเปิดเสรีอาเซียน

หลังจากมีข่าวเกี่ยวกับอาชีพที่จะเปิดเสรีให้ทำงานได้ทุกประเทศในอาเซียน 7 อาชีพเมื่อเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 นั้น ก็มีความเคลื่อนไหวจากทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ออกมาแสดงความเป็นห่วงวิศวกรของไทยว่ามีความเสี่ยงที่จะตกงาน เนื่องจากเมื่อเปิดเสรีอาเซียนจะมีวิศวกรต่างชาติไหลเข้าประเทศมาแย่งงานวิศวกรไทย ทำให้วิศวกรไทยหางานยากขึ้น ตกงานมากขึ้น เราเองจะไปทำงานต่างประเทศก็เสียเปรียบ เพราะหลักสูตรวิศวกรรมของไทยยังไม่ได้มาตรฐานอินเตอร์

รศ.ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างบรรยายในหัวข้อ "วิสัยทัศน์ในการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้เชิงบูรณาการของวงการวิศวกรรมศาสตร์ไทย เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558" ว่า ในด้านงานวิศวกรรมเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนปี 2558 จะได้สิทธิ์เคลื่อนย้ายอย่างเสรีตามข้อตกลงของประเทศสมาชิก ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นจริงก็จะมีวิศวกรทั้งในและต่างประเทศไหลเข้าและไหลออกประเทศอย่างมากจนเกิดการแย่งงาน ซึ่งหากวิชาชีพวิศวกรรมของไทยจะอยู่รอดได้ก็ต้องมีการเพิ่มคุณภาพและความหลากหลายในวิชาชีพ

ทางออกสำหรับรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว คือ เรามีความจำเป็นที่จะต้องยกคุณภาพหลักสูตร เพิ่มศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ และเพิ่มความหลากหลายของสาขาวิชาจึงจะสู้ต่างชาติได้  ประการแรก - หลักสูตรวิศวกรรมของจุฬาฯ ต้องเป็นที่ยอมรับจาก
สากล อย่างปัจจุบันหลักสูตรวิศวกรรมทั่วโลกที่จะได้รับการยอมรับจากสากลนั้นต้องผ่านการประเมินและรับรองจากคณะกรรมการรับรองหลักสูตรสำหรับวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี หรือเอเบ็ด จากประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนซึ่งในภูมิภาคอาเซียนมีมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์และมาเลเซียได้รับการรับรองกันหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เราจะมีสภาวิศวกรคอยรับรองหลักสูตรและควบคุมวิชาชีพกันเองในประเทศ แต่ก็ยังมีปัญหาตัวสภาวิศวกรเองก็ยังไม่ถูกยอมรับจากสากล ทำให้บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมของไทยทั้งหมดอาจเสียเปรียบตอนพิจารณาค่าแรงได้เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน เพราะบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์และมาเลเซียที่เรียนในหลักสูตรเอเบ็ดรับรอง ก็จะมีการกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำที่สูงกว่าหลักสูตรที่เอเบ็ดไม่รับรอง ทั้งนี้การจะให้เอเบ็ดมาประเมินและรับรองนั้นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และต้องรักษาสภาพการรับรองทุกปี ซึ่งคิดเป็นปีละ 3-4 ล้านบาท 
ดังนั้น จึงหาวิธีแก้ปัญหาโดยการไปจับมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของต่างประเทศทั้งจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฯลฯ เพื่อทำการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและแลกเปลี่ยนกันทางวิชาการ เพื่อทำให้หลักสูตรวิศวกรรมของจุฬาฯ เป็นที่ยอมรับจากสากล ถึงแม้เอเบ็ดจะยังไม่ได้รับรองหลักสูตรก็ตาม นอกจากนี้ ยังได้กำหนดจุดเน้นนักศึกษาให้ตรงกับการประเมินของเอเบ็ดด้วย อาทินศ.จบชั้นปีที่ 1 ต้องสร้างบ้านได้ นศ.จบชั้นปีที่ 2 ต้องสร้างสะพานข้ามแม่น้ำได้ นศ.จบชั้นปีที่ 3 ต้องสร้างตึกสูงได้ เป็นต้น
ประการที่สอง - เพิ่มศักยภาพทางภาษาให้กับนักศึกษา โดยคณะได้เพิ่มวิชาเรียนเป็นภาษาอังกฤษให้นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรภาษาไทยได้เลือกเรียน จัดห้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยให้สถาบันสอนภาษามาสนับสนุน และจูงใจให้นักศึกษาที่เข้ารับการอบรมภาษาอังกฤษดังกล่าวได้สอบโทเฟล ซึ่งหากสอบผ่านคณะก็จะคืนเงินค่าสอบให้ แต่หากสอบไม่ผ่านก็ต้องไปอบรมภาษาเพิ่ม นอกจากนี้ยังเพิ่มวิชาการเรียนรู้วัฒนธรรมเพื่อนบ้าน การปรับปรุงหลักสูตรและการเพิ่มศักยภาพนักศึกษาทั้งหมดได้เริ่มใช้แล้วในปีการศึกษา 2554 นี้

"ผมมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองมากหากทุกมหาวิทยาลัยในไทยจะเป็นสมาชิกเอเบ็ด ดังนั้นวิธีที่จะประหยัดงบได้คือต้องให้สภาวิศวกรได้รับการยอมรับจากเอเบ็ดอย่างเดียวก็พอ เพื่อมาประเมินกันเองในประเทศต่อไป แต่ปัจจุบันติดปัญหาว่าไม่มีผู้บริหารคนใดคอยผลักดันเรื่องดังกล่าวทั้ง ๆ คณบดีวิศวกรรมทุกแห่งก็เห็นด้วย แต่เพราะตัวสภาวิศวกรเองสำนักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษา (สกอ.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ไม่ช่วยผลักดัน ทำให้หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ในไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร และอาจเสียโอกาสได้ในเวทีอาเซียน" รศ.ดร.บุญสมกล่าว

ส่วนอนาคตของวิศวกรรมไทยโดยเฉพาะสาขาวิชาวิศวกรรมพื้นฐาน ตนมองว่าอาจไม่รอด เพราะวิศวกรรมพื้นฐานจะมีแรงงานจำนวนมาก ดังนั้นองค์ความรู้ต่อไปจะลงลึกไปมากกว่านี้ และจะผสมผสานข้ามไปยังศาสตร์อื่น ๆจนเกิดเป็นศาสตร์ใหม่ขึ้นมา อาทิ วิศวกรรมชีวเวช ซึ่งคณะก็เปิดสอนอยู่ในระดับ ป.โท โดยเป็นการนำสาขาวิชาวิศวกรรมไปเรียนร่วมกับวิชาแพทย์ เพื่อให้บัณฑิตสามารถคิดค้นทำเครื่องมือแพทย์ใหม่ ๆ ตามหลักวิศวกรรม วิศวกรรมบัญชีโดยเป็นการนำสาขาวิชาวิศวกรรมไปเรียนร่วมกับสาขาวิชาบัญชี เพื่อเป็นทางเลือกให้บัณฑิตได้ เป็นต้น
ที่มา : ไทยโพสต์ออนไลน์

http://th.jobsdb.com/th/th/Resources/JobSeekerArticle/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.htm?ID=4880
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 19:52

นักเรียนปี 1 สายวิทย์กับสายศิลป์จะนั่งรออยู่หลังห้องนะคะ
เอ้! แล้วถังขยะหลังห้องของผมหายไปไหนแล้วครับ
ปกติผมนั่งหลังห้องทีไร ติดขยะหลังห้องทุกที
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 20:23

ยกออกไปเองค่ะ   เดี๋ยวครูเผลอคุณ sujitra จะแอบกินขนม  ทิ้งกระดาษห่อขนมลงในนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 19:48

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 21:19

กลับมาแล้วครับ แต่จะขออนุญาตไปเิริ่มในวันพรุ่งครับ

จับประเด็นสั้นๆก่อนในเรื่อง สปา
จะขอสรุปว่าทำไมหลายๆประเทศในโลกจึงมีความกังวลในเรื่องของสปา ก็คือ วิธีการของสปานั้นก็เป็นลักษณะหนึ่งของ Physical therapy (กายภาพบำบัด) ในทางการแพทย์  ซึ่งสปาของไทยนั้นผนวกไปด้วยการนวดแบบจับเส้นและการดัดตน     ในระบบสากลของการสาธารณสุขแบบประกันสุขภาพนั้น การเจ็บป่วยต่างๆจะต้องบำบัดรักษาด้วยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่มีใบอนุญาตเท่านั้น  โดยหลักการแล้ว สปาแบบมีการนวดและสัมผัสตัวจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามหลักทางการแพทย์และทางกฎหมาย   ผู้ให้การประกันจึงไม่ประสงค์จะรับผิดชอบกับความเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นจากการที่ผู้เอาประกันสมัครใจเอาตัวเข้าไปเสี่ยงเอง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 21:25

ขอย้อนกลับไปต่อเรื่องแนวคิดของระบบ Royalties กับ PSC
ขอย้อนกลับไปขยายความสักเล็กน้อยครับ

ในแนวคิดของระบบ Royalties นั้น เจ้าของทรัพย์สินและผู้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้ จะตกลงกันในเรื่องของมูลค่าพื้นฐานของทรัพย์สินนั้นๆ และเรียกเก็บเป็นอัตราร้อยละจากมูลค่าของทรัพย์สินนั้นๆ เมื่อตกลงกันแล้ว ส่วนของทรัพย์สิน (ปริมาณ) ในส่วนที่ตกลงกันนั้นๆจะตกเป็นของผู้ที่จะนำทรัพย์สินนั้นๆไปใช้  ตัวอย่างเช่น
 
กรณีแรก เช่น นาย กอไก่ เจ้าของทรัพย์สินเห็นว่ารัพย์สิน A ของตนนั้นควรจะมีค่ามีราคา 100 บาทต่อหน่วย และเห็นว่าสมควรจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ที่สนใจจะนำไปผลิตขายแสวงประโยชน์เพิ่มเติมในอัตราร้อยละ 5 ซึ่งหมายความว่า นาย กอไก่ จะได้เงิน 5 บาทจากทุกๆหน่วยที่นาย กอไก่ ขายไปให้กับนาย ขอไข่  นาย ขอไข่ เห็นว่าเป็นไปได้ที่จะนำไปหากำไรเพิ่มเติมได้จากความสามารถของตนจึงตกลง ซึ่งหมายความว่า นาย ขอไข่ จะต้องสามารถนำทรัพย์สินนั้นๆไปหาเงินได้มากกว่า 105 บาทต่อหน่วย หรือหากตกลงกันเป็น lot เช่น lot ละ 10,000 หน่วย  นาย กอไก่ ก็ได้รับเงินค่า Royalties ในสัญญาครั้งนี้ 500 บาท  ส่วน นาย ขอไข่ อาจจะไปจำหน่ายได้เงินมาก เช่น เอาไปขายได้ในราคา 110 บาทต่อหน่วย ก็จะขายได้เงินถึง 1,100,000 หรือแม้กระทั่งขายในราคาที่ต่ำกว่ามาก ก็ยังจะได้กำไรมากอยู่ดี
       
กรณีที่สอง เป็นการเรียกเก็บค่า Royalties จากจำนวนหน่วยหรือจำนวนเงินที่ นาย ขอไข่ นำไปผลิตและจำหน่ายได้ เช่น การตกลงกันระหว่างนาย กอไก่ กับนาย ขอไข่ ว่าราคาพื้นฐาน (ต้นทุน) ของการผลิตน่าจะอยู่ที่ เช่น 50 บาท น่าจะจำหน่ายได้ในตลาดในราคา 100 บาท ซึ่งทุกๆหน่วย 100 บาท นี้ นาย กอไก่ จะเรียกเก็บร้อยละ 5 จากจำนวนที่นาย ขอไข่ ขายไป  จะหักต้นทุนก่อนก็ได้ หรือ ไม่มีการหักต้นทุนก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลง (โดยมีฐานอยู่ที่ราคา 100 บาท)  กรณีนี้ หากนาย ขอไข่ สามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่านี้ รายได้ส่วนเกิน (จาก 100 บาท) ก็จะตกเป็นของนาย ขอไข่ โดยไม่เกี่ยวกับค่า Royalties  ซึ่งหากนาย ขอไข่ ทำตลาดได้ดีหรือโชคช่วยกลายเป็นความต้องการของตลาดทำให้ราคาถีบตัวสูงขึ้นไปมากๆ (เช่น จาก 100 เป็น 200 บาท) กำไรจากโชคอันนี้ก็จะตกเป็นของนาย ขอไข่ อย่างเต็มๆ  (win fall profit) โดยที่ยังเสียค่า Royalties อยู่ที่ 5% ของฐาน 100 บาท

ความสลับซับซ้อนในเงื่อนไขและความตกลงต่างๆในโลกแห่งความเป็นจริงในปัจจุบันนี้มีมากกว่านี้มากนะครับ

ในแนวคิดของระบบ PSC คือ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นๆจะไม่เป็นผู้สร้าง (ทำการผลิต) ทรัพย์สินนั้นๆเพิ่มเติม ด้วยแน่ใจว่าทรัพย์สินนั้นๆมีค่าและเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างแน่นอน  อาจจะด้วยเห็นว่าไม่อยากลงทุนหรือไม่มีขีดความสามารถในการลงทุนทำการผลิตเพื่อจำหน่ายหรือจะด้วยเหตุใดๆก็ตาม ต้องการจะอนุญาตให้คนอื่นเข้ามาทำการผลิตและจำหน่ายแทน ทั้งนี้ ไม่ประสงค์จะให้ทรัพย์สินนั้นๆของตนไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใดถูกเปลี่ยนไปเป็นกรรมสิทธิของผู้อื่น  ระบบนี้เป็นระบบเรียกเก็บจากรายได้ในทุกรูปแบบจากที่ผู้ที่มารับทำการผลิตและจำหน่าย (ทั้งฐานของ royalties แบบ fixed rate และจากฐานของ win fall แบบขั้นบันได)
เพื่อการเปรียบเทียบสำหรับกรณีศึกษานี้ จะขอยกกรณ๊่ของวิธีการซึ่งใช้กันในระบบให้สัมปทานปิโตรเลียม  คือ ให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุนทำการสำรวจในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กำหนด เมื่อถึงเวลากำหนดก็จะต้องทำการพิสูจน์ทราบว่าจะสามารถดำเนินธุรกรรมต่อไปได้ใหม (กรณีของการสำรวจหาแหล่งน้ำมัน คือ การเจาะ)  หากพบว่ามีทรัพยากรในปริมาณที่สามารถจะขุดนำออกมาขายได้ ก็จะต้องทำการพัฒนาให้ไปถึงระดับที่จะผลิตขายได้ในระยะเวลาที่กำหนด การลงทุนทั้งหมดในขั้นตอนที่กล่าวมานี้ โดยนัย คือ เป็นช่วงปลอดค่าธรรมเนียมต่างๆ  เมื่อเิ่ริ่มมีผลผลิต ก็จะให้มีการหักค่าใช่จ่ายที่ได้ลงทุนมา โดยคิดหักเป็นจำนวน (ปริมาณ) ของทรัพยากรที่ได้มา ตามแต่จะตกลงกัน  สำหรับกรณีน้ำมันก็เรียกว่า Cost oil เป็นต้น  เช่น สามารถผลิตน้ำมันได้ 100 บาเรลต่อวัน ก็จะอนุญาตให้หักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคืนการลงทุนที่ผ่านมาจำนวน 50 บาเรล ที่เหลืออีก 50 บาเรลนั้น เอามาแบ่งกันในสัดส่วนที่ตกลงกัน    cost oil นี้อาจจะเท่าเดิมตลอดของอายุสัมปทาน แต่ส่วนทีเหลือนั้น ในช่วงปีแรกๆก็อาจจะแบ่งกันคนละ 25 บาเรล แต่ต่อๆมาก็จะมีการแบ่งส่วนให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นได้รับในสัดส่วนที่มากขึ้น จนในปีท้ายๆของสัมปทาน ผู้เป็นเจ้าของก็อาจจะได้รับส่วนแบ่งไปถึงระดับ 70-80% เลยทีเดียว   ในระบบนี้ผู้รับสัมปทานมีลักษณะเป็นผู้เข้ามาอาสาทำประโยชน์ให้กับเจ้าของทรัพย์สิน และในลักษณะที่การจะดำเนินการใดของผู้รับสัมปทานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าของ

อาจจะดูไม่เกี่ยวข้องมากนัก   เพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่า  เมื่อเปิด AEC จะเกิดการการเคลื่อนไหวของคนและสิ่งของมากขึ้น การทำสัญญาต่างๆในทุกระดับจะมีมากขึ้น  เราจึงควรจะต้องมีความรู้ในเชิงของปรัชญาในสัญญาและในความตกลงต่างๆอย่างพอเพียง

ในสัญญาตามรูปแบบที่ใช้ในสากล จะมีไม่มากคำที่จะต้องเข้าใจและต้องถกกันให้กระจ่าง เช่น  force majeure, include tax และ plus tax, juridical personality, legitimate..., arbitration  เป็นต้น   และรวมทั้งแนวการเขียนสัญญาในปรัชญาของ common law และ civil law

ดูจะฝอยมากไปแล้วครับ มีแต่ประสบการณ์เพียงหางอึ่งเท่านั้นเองครับ           

     
             
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง