เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102360 ก้าวย่างในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 19:14

ในระยะราว 5 ปีมานี้ ผ้าไหมไทยได้รับความนิยมในหมู่หน่วยงานราชการ ก็เลยได้ใช้กับเขาบ้าง และโชคดีตรงที่ได้พบช่างที่มีฝีมือการตัดเย็บที่ไม่เชย คือรูปทรงสมัยใหม่ ฝีมือดีและราคาพอจะอุดหนุนได้  เธอมีพื้นฐานเป็นคนโคราช ที่บ้านทอผ้าไหมเอง หลังจบจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯ เรียนมหาวิทยาลัย
ทำงานธนาคารได้สักระยะ ก้ออกมาทำร้านตัดเสื้อผ้าไหมสำเร็จรูปและ วัดตัวตัดด้วยจึงมีลูกค้าระดับอาจารย์มหาลัย  หมอ ลูกค้าธนาคาร มาอุดหนุนไม่ขาดสาย ....จนตั้งตัวได้ดีกว่าทำงานรับเงินเดือน
สังเกตว่าผ้าไหมที่ร้านเธอ...สวยด้วยเส้นไหม สีสัน และลวดลาย เฉพาะ ไม่เหมือนที่วางขายกันทั่วไป  แม้ในห้างใหญ่ ....น่าภูมิใจแทนเธออย่างยิ่ง 
ที่ไม่ชอบคือการติดผ้ากาวด้านในเพื่อให้เสื้อผ้าอยู่ทรง ดูแลง่าย แต่ก็ร้อน และแข็งไปหมด
ถ้าตัดเสื้อเชิ้ตก็จะเน้นว่าไม่เอาผ้ากาวนะ....
กิจการของเธอก้าวหน้าเป็นลำดับ ถึงขั้นไปเปิดสาขาที่สิงคโปร์ แต่ราคาในเมืองไทยก็ยังถูกกว่าในห้างแบบครึ่งต่อครึ่งคะ

การก้าวย่างใน AEC อย่างหนึ่งก็คือ การขยายธุรกิจของคนในประเทศประเทศหนึ่งไปยังประเทศสมาชิกอื่นๆ ดังที่คุณพวงแก้วเล่ามานี้ครับ เป็นธุรกิจในกลุ่ม SME ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นในระดับ micro เสียด้วยซ้ำไป

จะเห็นว่า เป็นธุรกิจในสาขาบริการ (Service sector) ที่เล่ามาก็จะมาต่อกันในเรื่องนี้แหละครับ
   
ธุรกิจในสาขาอื่นๆ แม้จะเป็นในระดับ SMEs ก็ตาม มักจะไปเิกี่ยวพันกับเรื่องของการลงทุนร่วม การค้าร่วม  กว่าจะเจรจาตกลงกันได้ แถมยังต้องมีเงื่อนไขและสัญญากันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอีก เป็นเรื่องที่ใช้เวลาพอสมควรทีเดียว  ธุรกิจในสาขาบริการจึงจะเป็นเรื่องแรกที่คนในแต่ละประเทศสมาชิกจะเริ่มดำเนินการและก็จะเป็นธุรกิจที่กระจายตัวไปทั่วทุกหนแห่งเร็วที่สุด

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 20:59

หลายปีแล้ว จำได้ว่ามีร้านตัดเสื้อในโรงแรมสี่ดาวห้าดาวที่รับตัดเสื้อวันเดียวได้ให้ลูกค้าชาวต่างประเทศ  แต่ไม่ทราบว่าปัจจุบันยังทำกันอีกไหม   เท่าที่เห็นตามถนนหนทางในกรุงเทพ ร้านตัดเสื้อแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว   ถูกเสื้อสำเร็จรูปตีตลาดหมด 
เสื้อไหมไทย หรือฝ้ายไทย ถ้าจะโกอินเตอร์ก็ต้องเลือกแบบที่ผู้หญิงฝรั่งใส่      เท่าที่เห็น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยทางรัฐตะวันตกมักสวมเสื้อสูททับเสื้อตัวใน นุ่งกระโปรงแคบหรือกางเกง ถือเป็นชุดสุภาพเป็นงานเป็นการ  แบบก็ไม่ค่อยจะเปลี่ยน
อย่างแบบเสื้อข้างล่างนี้ เป็นแบบที่สาวออฟฟิศชาวอเมริกันใส่กัน  แต่ต้องเลือกแบบและสีสันไม่ให้สะดุดตาเกินไป    ปัญหาต่อไปคือคุณภาพของผ้า คงทน และดูแลยากหรือง่าย สู้ของเขาได้ไหม เท่านั้นเอง

ร้านรับตัดเสื้อวันเดียวของผู้หญิงผมไม่ทราบว่ายังคงมีอยู่หรือไม่เช่นกัน แต่ของผู้ชายนั้นยังคงมีครับ เจ้าของร้านเกือบทั้งหมด (จะเรียกว่าทั้งหมดก็คงพอจะได้กระมัง) เป็นพวกแขกโพกผ้า พอทราบอยู่บ้างว่า (ไม่ยืนยัน) รับออเดอร์อย่างเดียว แล้วส่งไปให้พวกห้องแถวซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีนบ้าง คนอีสานบ้างเป็นผู้ตัดเย็บ บางส่วนของเสื้อผ้าที่เย็บจักรได้เนื่องจากไม่ใช่จุดที่จะทำการแก้ไข ก็เย็บเลย ส่วนที่เป็นจุดที่จะต้องแก้ไขปรับแต่งเมื่อลูกค้าลองแล้ว ก็เนาเอาไว้ ที่ร้านรับออเดอร์ก็จะทำการเย็บจักรให้สำเร็จเองในภายหลังเมื่อได้ปรับแต่งแล้ว

เสื้อผ้าของผู้หญิงที่เป็นชุด การตัดเย็บจะยุ่งยากมากว่า   ผมเห็นว่าในยุดโลกหมุนเร็ว ต้องการความคล่องแคล่วว่องไว สะดวก รวดเร็ว พอใช้ได้ ราคาพอเหมาะควรกับสินค้า ใช้ได้หลายโอกาส  ก็คงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ การแต่งกายไปทำงานของผู้หญิงเปลี่ยนไปเป็นตามลักษณะที่คุณเทาชมพูได้กล่าวไว้

ผมเห็นว่า หากคนในท้องถิ่นของเราได้รับรู้และเข้าใจลักษณะของสังคมภายนอก เขาก็คงมีโอกาสได้คิดว่าควรจะเลือกผ้าอะไร สีอย่างไร เอามาทำอะไร อย่างไร ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของคนค่างชาติ ต่างถิ่น เขาก็น่าจะมีธุรกิจที่ยั่งยืนได้พอควร โดยเฉพาะในกรณีที่คุณเทาชมพูได้บอกไว้ว่า เสื้อผ้าตัดสำเร็จรูปตีตลาดไปหมดแล้ว     
ที่จริงก็เป็นธุรกิจที่ทำกันอยู่แล้ว แต่ควรมีการพัฒนาในเรื่องพื้นฐานบางอย่าง  เช่น เิริ่มต้นด้วยเรื่องของขนาดเสื้อผ้า จะมีเฉพาะขนาด S M L XL XXL คงไม่พอ มาตรฐานนี้สำหรับคนเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ใหน    ถ้าจำไม่ผิด ทุกๆ 5 ปี เขาจะมีตัวเลขแสดงการเปลี่ยนแปลงขนาดของคนชาติพันธุ์หลักต่างๆในทุกสัดส่วน มาตรฐานด้านขนาดมันเปลี่ยนไปเหมือนกัน     น่าจะต้องมีขนาดที่เป็นตัวเลขด้วย ได้แก่ ขนาดที่เป็นตัวเลขหลักสิบ (37, 38 ฯลฯ) และขนาดที่เป็นตัวเลขหลักร้อย (100, 105 ฯลฯ) เป็นต้น   
ดูเหมือนจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต  ที่จริงแล้วทำให้มันอยู่ในด้านบริการก็ได้   

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 21:03

พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ เริ่มต้นที่ด้านเกษตรกรรม ต่อไปเป็นเกษตรอุตสาหกรรม ต่อไปเป็นอุตสาหกรรม (การผลิต) แล้วก็ต่อไปเป็นอุตสาหกรรมบริการ   หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เริ่มจากผลผลิตที่ผูกพันกับคนจำนวนมาก (หลายเจ้าของ) ไปสู่ผลผลิตที่ผูกพันกับคนจำนวนน้อย (มีเจ้าของน้อยลงไป) ไปสู่หลากหลายธุรกิจในระดับเล็กๆของประชากรที่หาเลี้ยงชีพด้วยสมอง ปัญญา และกำลังความสามารถของตนเอง (ธุรกิจในสาขาบริการ)     จากการผลิตเพื่อขายภายในประเทศ ไปสู่การผลิตเพื่อขายคนนอกประเทศ ไปสู่การผลิตเพื่อขายคนทั้งโลก    จากการผลิตที่ใช้แรงงานภายใน ไปสู่การผลิตที่อาศัยใช้แรงงานในนอกประเทศ ไปสู่การย้านฐานการผลิต     จากการคิดเองจ้างคนภายในประเทศทำเอง ไปสู่คิดเองแล้วจ้างให้คนนอกประเทศเขาทำให้ ซึ่งด้วยกลัวว่าคนอื่นนอกประเทศเขาจะขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ก็จ้างเขาทำแต่ละชิ้นส่วน แต่ละชิ้นชิ้นงานเล็กๆ แล้วนำเอามาประกอบกันเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าเพื่อการจำหน่ายด้วยตนเอง
 
ผมเห็นว่าเส้นทางเดินของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นดังที่กล่าวมานี้

ดังภาพที่กล่าวมา ความอยู่รอดของประชากรในระบบเศรษฐกิจที่ภาคการอุตสาหกรรมมีความมั่นคงแล้ว หากไม่เข้าไปอยู่ร่วมด้วยในระบบการผลิตทางอุตสาหกรรม (ลูกจ้าง ผู้รับช่วง_Subcontract and supply chain) ก็จะต้องเป็นการอยู่ได้ด้วยการหากินกับความสามารถสองและปัญญาของตนเอง ซึ่งเกือบทั้งหมดก็คือ ด้านการให้บริการที่ดี มีฝีมือ มีความแตกต่าง มีความเป็นอาชีพ มีคุณภาพ และมีความคุ้มค่าสมราคา    ผมกล่าวถึงเรื่องข้าวและผ้าไหม ก็ด้วยเหตุนี้ และก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างเท่านั้น
     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 21:55

ในเรื่องข้าว  ข้าวดีๆจากถิ่นที่ปลูกดีๆของเราในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ  เมื่อขายไปมันก็ไปรวมอยู่ที่ผู้ซื้อและโรงสีในระดับจังหวัด ระดับภาค จากนั้นมันก็ไปรวมอยู่ในโกดังที่ใดที่หนึ่ง ในเขตพื้นที่ระดับภาค และโดยเฉพาะในเขตภาคกลาง  ข้าวเหล่านี้ก็มีชื่อเดียวกัน จะเป็นหอมมะลิ หรือเจ็กเชย หรืออะไำรก็ตามแต่  ตามสภาพนี้ คุณภาพเด่นๆที่มีจากแต่ละแหล่งผลิตก็ถูกกลืนหายไปหมดแล้ว   มากไปกว่านั้นเมื่อรัฐหรือเอกชนต้องการระบายข้าว (ขายไปต่างประเทศ) ขายทีละเป็นล้านตัน ก็ต้องแน่นอนว่าต้องมีข้าวจากหลายแหล่งหลายภูมิภาคผสมปนเปกันอยู่ คุณภาพข้าวที่จัดว่าดีที่พอจะมีเหลืออยู่ของภาคต่างๆแทบจะไม่เหลือเลยเมื่อถูกนำมาคละกัน แล้วเราก็ส่งออกในนามข้าวหอมมะลิ ฯลฯ  ซึ่งในล็อตใหญ่กว่านั้นที่ผู้ค้าสินค้าเกษตรต่างชาติ (ได้ฟังมากับหูจากปากคนพ่อค้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ระดับโลก นั่งกินข้าวคุยกันในกรุงเวียนนา) ก็ยังเอาข้าวจากประเทศอื่นๆมาผสมโรงส่ง (ในนามของข้าวไทยบ้างหรือในชื่อของข้าวหอมมะลิบ้าง...ไม่ยืนยัน)  ข้าวที่มีชื่อของไทยก็ไม่เหลืออะไรที่จะเป็นคุณสมบัติพิเศษของตนอีกเลย เหลือแต่ชื่อคำว่าไทยกับคำว่าหอมมะลิ ดีไม่ดีเหลือแต่คำว่า Indica rice เท่านั้นเอง

ด้วยเหตุจากสภาพนี้ครับ ผมจึงเห็นว่าคนในท้องถิ่นก็น่าจะแสวงประโยชน์ได้จากเอกลักษณ์ของข้าวที่ปลูกในท้องถิ่นของตน

ก็ยังอดดีใจไม่ได้ว่า ในความเงียบนี้ ก็มีกลุ่มคนในบางองค์กรรวมหัวกันส่งเสริมการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ในบางท้องที่ ช่วยกันคนละไม้ละมือทั้งด้านสิ่งของ เงินทอง ให้ความรู้ เสียสละเวลาไปเยี่ยมเยียนพูดคุย ให้กำลังใจ พัฒนาทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่นนั้นๆโดยไม่คิดมูลค่าตอบแทน รับซื้อข้าวทั้งหมดจากชาวบ้านที่อยู่ในโครงการ เอามาขายกันในหมู่ กระจายขายไปในหมู่เพื่อนฝูงและญาติมิตร เอาเงินที่ขายได้กลับไปให้กับท้องถิ่นและชุมชนเพื่อการพัฒนาในเรื่องอื่นๆต่อไป จะเรียกว่าเป็น CSR ก็คงได้ แต่มิใช่การทำในนามขององค์กร  โครงการนี้ก็อยู่กันได้นานมาหลายปีแล้ว ไม่หดตัวลง มีแต่ขยายตัวมากขึ้น

ในเรื่องผ้าไหมก็เช่นกัน ผมคิดว่าคงมีคนรุ่นหลังไม่มากนักที่จะรู้ว่ามีการทำผ้าตีนจกดั้งเดิมอยู่ที่ใหนบ้าง เช่น ผ้าตีนจกของหาดเสี้ยวและคูบัว  หรือผ้ามัดหมี่ของกาญจนบุรี ลพบุรี และชัยนาท    ส่วนมากก็มักจะนึกถึงแหล่งผลิตในอิสานเท่านั้น

ไปถึงผ้าฝ้ายจากแหล่งดีๆเฉพาะถิ่น ก็คงมีคนรู้จักน้อยมาก เช่น บ้านน้ำอ่าง (อุตรดิตถ์) เวียงแก่น (เชียงราย) เกาะยอ (สงขลา) ฯลฯ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 22:19

ดีใจที่ทราบว่ามีโครงการดีๆที่ส่งเสริมการปลูกข้าวมีคุณภาพ    ส่วนโครงการใหญ่ที่มั่วข้าวกันเข้าไปเป็นข้าวจับฉ่ายนั้น ดิฉันไม่หวังอะไรมากกับการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐ  เพราะพอจะเดาได้ถึงความติดขัดต่างๆ ทั้งที่บอกกันได้และบอกกันไม่ได้

ก็เข้ามาติดตามคุณตั้งเล่าต่อไปค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 25 ก.ค. 12, 19:54

ก่อนเกิด AEC ภาคอุตสาหกรรมและการลุงทุนก็มีธุรกรรมทางการผลิต ทางการเงิน การลงทุน และตลาดระบายผลผลิต ข้ามกันไปข้ามกันมา ไขว้กันไปมาอยู่แล้ว เมื่อเกิด AEC ข้อจำกัดต่างๆก็ลดลงเป็นประโยชน์ให้กับธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้มากขึ้น เท่าที่เห็นคุยอ้างกันมาโดยหน่วยงานทางเศรษฐกิจของรัฐก็อยู่ในเรื่องของธุรกรรมในระดับนี้ นโยบายและการปรับกฎหมายต่างๆก็ดูจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของธุรกรรมในระดับนี้   ยังไม่เห็นที่จะมีเรื่องเกี่ยวข้องกับเรื่องของคน สังคม และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับที่ย่อมลงมาหรือในระดับเล็กๆเลย

ความเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้อย่างทันตาเห็น คือการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในกิจกรรมและธุรกรรมในสาขาการบริการ ซึ่งผลกระทบในทางบวกที่ชัดเจนที่จะ้ต้องมีการนำมากล่าวถึงในเชิงของผลงานและความสำเร็จก็คือ ภาพที่สัมผัสไม่ได้ (intangible) ในเชิงของความเบ่งบานในเรื่องต่างๆ (prosperity) แล้วพยายามสนับสนุนด้วยขอมูลเชิงปริมาณที่เปลี่ยนแปลงไปเพิ่มขึ้นเฉพาะบางจุดบางเรื่องและบางธุรกรรม (คน กิจการ รายได้ ฯลฯ)     ผลกระทบในทางลบซึ่งเป็นเรื่องจริงที่สัมผัสได้โดยคนหมู่มากจะถูกละเว้นที่จะกล่าวถึง  (ถูกแย่งงาน ของแพงขึ้น ฯลฯ)

เมื่อเกิด AEC ประชากรของอาเซียนจะเดินทางข้ามเขตแดนได้อย่างเสรีมากขึ้น คนก็จะมุ่งไปยังแหล่งที่สามารถแสวงหารายได้ อาชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   ถามหน่อยเถอะครับว่าประเทศใดใน 10 สมาชิอาเซียนที่คนจะเดินทางเข้ามาเพื่อจุดประสงค์ที่กล่าวมา    มิใช่ไทยหรือ      กฎระเบียบกฎหมายของเขาก็มีไม่ต่างไปจากของเรามากนัก แต่ของเรามันค่อนข้างจะมีข้อยกเว้น คิดและตีความแบบศร๊ธนนชัยได้ และยังง้างได้พอสมควร   

ตัวอย่าง
ด้านการแพทย์ ไทยก็เป็นหนึ่งและนำหน้าเขา เราสนับสนุนและส่งเสริมการเป็นฮับในเรื่องนี้  ความเป็นนานาชาติในด้านนี้ก็หมายความว่า บุคลากรในด้านนี้จะต้องสามารถสื่อสารได้กับคนไข้ได้  เมื่อผนวกกับสภาพการณ์ที่ไทยก็เป็นแหล่้งที่ผู้สูงอายุจากซีกโลกตะวันตกและแม้กระทั่งในเอเซียด้วยกันประสงค์จะมาใช้ชีวิตในบั้นปลายในไทย ฯลฯ    อาชีพแพทย์ พยาบาล บริบาร จะมิถูกเบียดเบียนกันไปบ้างหรือเมื่อต้องถูกคัดกรองกันในเชิงของคุณภาพ   

ผมเห็นว่ามีเรื่องน่าเป็นห่วงอยู่หลายเรื่องมาก เช่น ระหว่างค่าแรงที่จะต้องจ่ายให้คนไทยจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย กับค่าแรงของคนต่างชาติที่เข้ามาทำงานที่สามารถจะอ้างเรื่องต่างๆเพื่อให้จ่ายได้ในอัตราที่ต่ำกว่า  ขนาดยังไม่เปิด AEC ก็ยังมีสภาพนี้แล้ว  แล้วต่อไปคนไทยจะหางานและมีรายได้เพียงใด     ที่น่ากลัวไปกว่านั้นอีก คือ คนต่างชาติเหล่านี้มาแต่งงานกับคนไทย แล้วก็ขยันแต่งกันเสียด้วย ได้ลูกได้หลานเกิดเป็นคนสัญชาติไทย โดยหลักการก็คือมีโอกาสนำญาติโกโหติกาเข้ามาอยู่ร่วมด้วย    ฤๅกำลังเข้าสู่ยุคถ่ายโอนเผ่าพันธุ์และทรัพยากรของแผ่นดินไทย

ผมเห็นว่า ไม่ว่าภาพต่อไปมันจะเกิดเช่นใด คนและสังคมในหน่วยย่อยที่สุดของไทยจะต้องมีความแข็งแกร่งและมีความมั่นคง เพื่อรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพของชีวิตและสภาพของความเป็นไทย               

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 08:46

ถ้าหากว่าประเทศในอาเซียนประเทศใด มีค่าตอบแทนสูงกว่าประเทศใด  บุคลากรที่มีค่าอย่างแพทย์พยาบาลก็อาจจะออกไปทำงานในประเทศนั้นได้     ส่วนประเทศที่การงานเขาอิ่มตัวแล้ว  หรือมีนโยบายกระจายประชากร ส่งออกไปประเทศอื่น  ก็จะหลั่งไหลมาทำมาหากินในไทย
ส่วนคำถามของคุณตั้ง   ดิฉันลองเปรียบเทียบกับอดีต ในรัชกาลที่ 3  เราก็มีการหลั่งไหลของคนจีนเข้ามาในไทยกันมาก     แต่ว่าสมัยนั้นคนไทยยังมีจำนวนน้อย ต้องการแรงงานและฝีมือช่างเพิ่มเติม     แรงงานจีนทั้งงานฝีมือและไร้ฝีมือจึงตอบปัญหาคนไทยได้พอดี     ส่วนในปัจจุบัน  หลายปีมานี้   เราก็ขาดแรงงานตามบ้านเพราะแรงงานหนุ่มสาวของเราไปเข้าโรงงานอุตสาหกรรมกันหมด   ช่องว่างตรงนี้  แรงงานต่างด้าวจึงเข้ามาบรรจุแทน     อีกหน่อยพอแต่งงานกับคนไทยลูกเต้าก็จะเกิดมาเป็นไทย
ก็ต้องคอยดูว่า ในอดีตคนไทยสามารถ "ละลาย" คนจีนให้กลายเป็นไทยได้  มาอยู่เมืองไทยสัก 2-3 ชั่วคนก็กลายเป็นไทย  พูดจีนไม่ได้ ธรรมเนียมจีนในบ้านก็หดหายไปแทบไม่เหลือ       ในอนาคต คุณสมบัติของคนไทยในข้อนี้จะยังดำรงอยู่   สามารถ "ละลาย" คนชาติอื่นๆที่มาแต่งงานกับคนไทยไปได้มากน้อยแค่ไหน
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 12:36

การวางแผนตั้งรับ AEC  ของไทย ประชาชนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็น ดังนั้นจะคาดหวังการปรับตัวจากระดับล่างก็เป็นอันไม่ต้องพูด

เมื่อเร็วๆนี้ได้คุยกับบัณฑิตใหม่คนหนึ่ง เธอถามกลับมาว่า AEC คืออะไร เธอไม่รู้ (เธอจบทางด้านศิลปะ )

สงสัยว่าแม้แต่คนหนุ่มสาว ระดับมีการศึกษาของประเทศที่จะได้รับผลโดยตรงจาก AEC

 มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ ที่สนใจเรื่องนี้ ....ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวแล้ว


ภาครัฐก็ได้แต่ประชาสัมพันธ์แบบเลื่อนลอย  จับต้องไม่ค่อยได้ มองไม่เห็นภาพในภาคปฏิบัติ นอกจากเริ่มมีการพูดถึงการเรียนภาษามากขึ้น

 มีแต่พวก ร.ม.ต.ที่พูดผ่านสื่อบ้าง แต่คืออะไร ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง...


เรื่องคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทย เพราะมีช่องทางทำมาหากินสะดวก สบายกว่าในบ้านเขา อาหารการกินก็อุดมสมบูรณ์

คนไทยใจดี มีน้ำใจ มาทำงานบ้าน เลี้ยงลูกให้เจ้าของบ้าน ฯลฯ


การรักษาพยาบาล...การศึกษาของลูกหลาน การทำมาค้าขาย(มีแทบทุกตลาด แล้ว) เริ่มจากเป็นลูกน้องไปก่อน แต่อีก10 ปี 20 ปี

ก็อาจทำธุรกิจของตัวเอง...

รัฐได้ออกมาตราการปกป้องสิทธิของคนไทยในอาชีพต่างๆอย่างไรบ้างหรือไม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 20:00

กว่าจะเห็นผลดีผลเสียที่ฝ่ายไทยต้องปรับปรุงในการเปิดเสรีอาเซียน จะถึง 10 ปีไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 20:35

ถ้าหากว่าประเทศในอาเซียนประเทศใด มีค่าตอบแทนสูงกว่าประเทศใด  บุคลากรที่มีค่าอย่างแพทย์พยาบาลก็อาจจะออกไปทำงานในประเทศนั้นได้     ส่วนประเทศที่การงานเขาอิ่มตัวแล้ว  หรือมีนโยบายกระจายประชากร ส่งออกไปประเทศอื่น  ก็จะหลั่งไหลมาทำมาหากินในไทย
ส่วนคำถามของคุณตั้ง   ดิฉันลองเปรียบเทียบกับอดีต ในรัชกาลที่ 3  เราก็มีการหลั่งไหลของคนจีนเข้ามาในไทยกันมาก     แต่ว่าสมัยนั้นคนไทยยังมีจำนวนน้อย ต้องการแรงงานและฝีมือช่างเพิ่มเติม     แรงงานจีนทั้งงานฝีมือและไร้ฝีมือจึงตอบปัญหาคนไทยได้พอดี     ส่วนในปัจจุบัน  หลายปีมานี้   เราก็ขาดแรงงานตามบ้านเพราะแรงงานหนุ่มสาวของเราไปเข้าโรงงานอุตสาหกรรมกันหมด   ช่องว่างตรงนี้  แรงงานต่างด้าวจึงเข้ามาบรรจุแทน     อีกหน่อยพอแต่งงานกับคนไทยลูกเต้าก็จะเกิดมาเป็นไทย
ก็ต้องคอยดูว่า ในอดีตคนไทยสามารถ "ละลาย" คนจีนให้กลายเป็นไทยได้  มาอยู่เมืองไทยสัก 2-3 ชั่วคนก็กลายเป็นไทย  พูดจีนไม่ได้ ธรรมเนียมจีนในบ้านก็หดหายไปแทบไม่เหลือ       ในอนาคต คุณสมบัติของคนไทยในข้อนี้จะยังดำรงอยู่   สามารถ "ละลาย" คนชาติอื่นๆที่มาแต่งงานกับคนไทยไปได้มากน้อยแค่ไหน

ภาพนี้ถูกต้องครับ เป็นสภาพของพลวัติจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่เราคงจะต้องมีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่สลับซับซ้อนเพื่อการป้องกันอยู่บ้างก่อนที่จะละลายกลายมาเป็นเนื้อเดียวกันด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์เดิมในอดีตที่มีมา เช่น เรื่องของอั้งยี่ (__คนต่างถิ่น) และเรื่องของ corrupted entity (__คนในถิ่น)

    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 21:28

กว่าจะเห็นผลดีผลเสียที่ฝ่ายไทยต้องปรับปรุงในการเปิดเสรีอาเซียน จะถึง 10 ปีไหมคะ

ผมคิดว่าไม่ถึงสิบปีหรอกครับ คงจะเร็วกว่านั้้นมาก  มองในเรื่องธุรกิจเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นก็คิดว่าแย่แล้วครับ

ลองดูสภาพความเป็นจริงนี้ครับ ธุรกิจเล็กๆของเราที่ต้องอาศัย SME Bank เพื่อสร้างตัวและความแข็งแกร่ง เพียงซวนเซไปบ้างตามสภาพเศรษฐกิจภายในและภายนอก เขาก็ใช้เงื่อนไขแบบที่รัฐทำกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป พวก SME เหล่านี้ก็จบ แถมยังถูกยึดเครื่องมือหากินที่ได้ลงทุนไปอีกด้วย ผมไม่มีหลักฐานยืนยันว่าประเทศอื่นๆนอกจากญี่ปุ่นแล้วเขาทำเหมือนกันหรือไม่ ญี่ปุ่นนั้นเขาให้โอกาสอีกหนึ่งหรือสองครั้งแน่นอน (เขามีวิธีการครับ ยังหาช่องเล่าเรื่องนี้ไม่ได้ครับ)   ในกรณ๊หาก SME นั้นๆเิกิดรอดตัวสามารถหาตลาดภายนอกเพิ่มขึ้นได้ ส่งออกได้ จะไปกู้เงิน EXIM Bank เขาก็จะขอดูการสั่งซื้อสินค้าก่อนจึงจะให้กู้ ธุรกิจก็คงจะไม่มีทางเดินต่อไปได้ หมายความว่าเราจะต้องหรอกตัวเราเองและผู้ซื้อว่าเรามีความสามารถในการผลิตตามคำสั่งซื้อนั้นๆ แล้วจะขยายกิจการและกำลังผลิตได้อย่างไรให้ทันตามความตกลง    มากไปกว่านั้น BOI ของเราก็สนับสนุนการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ ชนิดที่เขาแทบจะได้รับการประเคนให้  เมื่อเกิด AEC เขามิเข้ามาแย่งธุรกิจประเภทเดียวกันของคนไทยหรือ  เราต้องเสียภาษี เขาได้รับการยกเว้นภาษี  เครื่องใช้และอะไหล่ต่างๆในการผลิตเขาก็ปลอดภาษี แต่เราต้องเสียภาษีทุกอย่าง โฆษณาอยู่ได้ตลอดมาว่าไห้สิทธิการลงทุนแก่บริษัทต่างชาติไปเท่าใด แต่ไม่เคยบอกเลยว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดเมื่อเปรียบเทียบกับการให้สิทธิกับบริษัทของคนไทย ธุรกิจไทยก็ต้องเรียกว่าถูกตอนมานานในช่วงระยะเวลาประมาณ 30 ปีมาแล้ว ต่างชาติมาลงทุนน้อยก็จะเป็นจะตาย เพิ่มขยายสิทธิประโยชน์ให้มากขึ้น ต่อระยะเวลาการปลอดภาษีเพิ่มขึ้น ฯลฯ  เหนื่อยครับสำหรับธุรกิจของคนไทย     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 19:03

เมื่อเกิด EU ขึ้นมาแรกๆนั้น กาีรเคลื่อนย้ายของคนและสินค้าผ่านแดนมิได้เปลี่ยนแปลงไปมากระหว่างประเทศคู่ค้าที่สำคัญจากที่มีการค้าขายกันอยู่แต่เดิม แต่ก็เริ่มมีการเคลื่อนย้ายของคนจากนอกเขตเข้ามาในเขต EU มากขึ้นมาก   ประเทศสมาชิกแรกเริ่มบางประเทศเิริ่มจะเห็นว่าหากไม่มีมาตรการป้องกันหรือจำกัดสิทธิบางประการ ผู้ที่จะเคลื่อนย้ายเข้่ามาเมื่อมีการขยายเขต EU ก็จะเข้ามาเบียดแข่งการให้บริการทางวิชาชีพและแรงงานฝีมือ จึงมีการออกกฎระเบียบบางอย่างเพิ่มเติม เช่น ผู้ที่จะเข้ามาทำงานได้จะต้องสามารถพูดและอ่านภาษาของตนได้ ต่อมาเมื่อมีการขยายเขตจริงๆ ก็มีการขยายกฎระเีบียบที่มีข้อจำกัดเพิ่มมากขึ้น เช่น ในเรื่องของภาษา จะต้องสามารถสอบผ่านเสียก่อน (เหมือนสอบ TOEFL) หรือในด้านความรู้ทางวิชาชีพที่จะเข้ามาทำงานหรือประกอบกิจการ ก็จะต้องสามารถสอบผ่านตามเกณฑ์ที่องค์กรที่ดูและวิชาชีพนั้นๆกำหนดไว้เสียก่อน จึงจะได้ใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพนั้นๆได้ในเขตอาณาของตนได้ ซึ่งใบสำคัญสำหรับการประกอบอาชีพนี้ก็ไม่สามารถใช้ในประเทศสมาชิกอื่นของ EU ได้ด้วย     

เรื่องใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพในเขตอาณานี้ เป็นเรื่องน่าสนใจ แท้จริงแล้วทุกประเทศในโลกมีมาตรการนี้อยู่แล้ว และก็มักจะมีความเข้มงวดอยู่ทีเดียว พร้อมๆไปกับการปิดตาข้่างหนึ่ง เพียงขอให้มีลายเซ็นของผู้ที่มีใบอนุญาตก็เพียงพอแล้ว ผู้ลงนามจะมีรับผิดชอบมาตรวจสอบติดตามบ้างหรือไม่ ก็ไม่มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง     ซึ่งความเข้มงวดนี้สามารถจะเพิ่มระดับขึ้นได้ เช่น ด้วย Log book เหมือนกับที่ระบบที่ใช้ในเรื่องของการบำรุงรักษาเครื่องบินที่มีการกระทำกัน     

ที่น่าสนใจคือ ในหลายๆสาขาวิชาชีพนั้น แทนที่จะต้องเคลื่อนย้ายตนเองมาหาเงินในอีกประเทศหนึ่ง ก็ทำธุรกิจอยู่ในเมืองบริเวณรอยต่อเขตแดนด้วยราคาที่ย่อมเยาว์กว่ามากๆ  จึงไม่เป็นเรื่องแปลกเลยครับสำหรับคนใน EU ที่อยู่ในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดีกว่าจะเดินทางไปใช้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพนอกชายแดนประเทศของตน เช่น ทำฟัน ทำศัลกรรมบางอย่าง ฯลฯ ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาก็จะเข้ามาใช้ระบบสวัสดิการที่ตนได้รับในเขตประเทศของตน   

ภาพหนึ่งที่จะเกิดขึ้นมาหลัง AEC ก็คงจะไม่หนีภาพนี้  คงไม่ต้องแสดงความเห็นต่อนะครับ  เราคงมีทั้งสภาพที่มีโอกาสและสภาพที่ถูกจำกัดโอกาส 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 19:57

สำหรับกรณี คนต่างถิ่นเข้ามาแต่งงานมีลูกมีหลานและได้สัญชาติของอีกประเทศหนึ่งนั้น  ผมเห็นว่าเขา (หลายประเทศ) ก็มีวิธีการแก้ที่แยบยล (แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับประเทศไทยก็ได้)   เด็กที่เกิดในประเทศเขา จะเป็นลูกผสมหรือโดยสถานที่เกิดก็ตาม เด็กเหล่านี้จะมีสิทธิได้รับการดูแลตามระบบของเขาเฉกเช่นพลเมืองของเขา เนื่องจากเด็กเหล่านี้ (ตามกฎหมาย) จะมีโอกาสเลือกและสละสัญชาติได้เมื่ออายุครบตามเกณฑ์กำหนด ดังนั้น เขาจึงใช้วิธีการหลอมให้เป็นพลเมืองที่ดีของเขาด้วยชีวิต จิตใจและปรัชญาแนวคิดตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆจนเติบใหญ่  ทำให้ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเลือกสัญชาติใดในเวลาต่อมา ก็จะกลายเป็นคนที่มีพื้นฐานความคิดแบบเขา อยู่ร่วมกับเขาได้โดยไม่มีปัญหาทางด้านลึกของจิตใจ

ประเทศใน EU เขาคิดมากและไปไกลถึงขนาด ในมุมหนึ่งเป็นการเสริมสร้างเกราะมิให้เด็กเหล่านั้นกลายมาเป็นปัญหาสำหรับเขาในอนาคต และในอีกมุมหนึ่งเป็นการฝังระบบคิดใต้จิตสำนึกให้เป็นคนที่มีปรัชญาแนวคิดแบบเขา     หลายประเทศที่มิใช่ EU ก็ทำเหมือนกัน   ที่เห็นมาคือ การฝังปรัชญาและจิตสำนึกด้วยการ์ตูน เช่น เยอรมันใช้หุ่นกระบอก อเมริกาใช้ Big bird  ญี่ปุ่นใช้การ์ตูน เป็นต้น
     
ตัวอย่างที่ดูจะเห็นชัดที่สุด คือ ในเรื่องเล่าและการ์ตูนของไทยทุกเรื่องจะตั้งอยู่บนปรัชญาว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม (หรือ ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว หรือ กรรมตามสนอง หรือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)     ในขณะที่การ์ตูนของญี่ปุ่นแทบจะทุกเรื่องจะตั้งอยู่บนปรัชญาว่า อย่าท้อถอย (สภาพของร่างกายและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องสำคัญ จิตใจต้องเข้มแข็ง สู้ต่อไป ความสำเร็จรออยู่เบื้องหน้า)     และในขณะที่ของฝรั่งโดยรวม คือ เชื่อมั่นด้วยการกระทำดี (ให้พระเจ้าได้เห็น ผลจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับพระเจ้าจะพิจารณา ซึ่งพระเจ้าไ่ม่เคยทอดทิ้งเรา)

ไม่รู้ว่านโยบายในองค์รวมของเรามีการคิดนอกกรอบไปจากในเรื่องของเศรษฐกิจ รายได้ และปริมาณของเงิน มากน้อยเพียงใด     

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 20:32

เคยเล่าถึงคนต่างถิ่นในเมืองที่ดิฉันอยู่มาหนหนึ่งแล้ว   ขอเล่าซ้ำอีกครั้ง   ในทศวรรษ 1970s พวกนี้เป็นคนอพยพเข้ามาเป็นลูกจ้างทำงานในฟาร์มนอกเมืองที่ต้องใช้แรงคน   ดิฉันไม่ค่อยเห็นพวกเขาบ่อยนัก    ลูกๆเขาเกิดที่นี่ก็ได้สัญชาติในฐานะคนเกิดที่นี่  ได้เรียนฟรี   พ่อแม่พวกนี้มีลูกกันหลายคน  ประชากรจึงเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
เมื่อดิฉันกลับไปอีกครั้ง  พวกนี้อยู่กันครึ่งเมืองแล้ว    บ้านช่องที่เขาซื้อต่อจากเจ้าของเดิมที่เป็นคุณตาคุณยายผู้สะอาดมีระเบียบแบบอเมริกันกลายเป็นบ้านโทรม  สนามรกไปด้วยของเก่าๆพังๆ ทิ้งไว้เกลื่อนกลาด    เทศบาลเองก็ดูเหมือนจนปัญญาจะตักเตือน   ยิ่งวันบ้านประเภทนี้ก็ยิ่งรุกคืบคลานเข้าไปตามถนนสายบ้านเก่า  สายแล้วสายเล่า   จนเมืองไม่สวยเหมือนเดิมอีกแล้ว
บ้านสวยๆคือบ้านใหม่สร้างขึ้นทางตะวันตกของตัวเมืองที่เคยเป็นไร่ข้าวโพดมาก่อน    กลายเป็นคนละถิ่นกันเห็นชัด    ถิ่นสวยกับถิ่นโทรม   
วันหนึ่งบ้านเราจะมองเห็นสภาพคนละถิ่นแบบนี้หรือเปล่าก็ไม่รู้     อาจจะไม่ใช่ถิ่นสวยกับถิ่นโทรม  แต่เป็นถิ่นคุ้นตากับถิ่นแปลกตา  ตามแบบวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 29 ก.ค. 12, 18:00

ครับ
แล้วก็ตามมาด้วยการคดโกง ลักเล็กขโมยน้อย จี้ ชิงทรัพย์  ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินลดน้อยลงไป
ช่วงที่ประจำการอยู่ในออสเตรียแรกๆนั้น  เวียนนาก็จัดว่าเป็นเมืองที่มีความปลอดภัยในระดับดีเยี่ยม คนมีระเบียบวินัยและซื่อสัตย์มากๆ ของที่ลืมทิ้งไว้ที่ใด กลับไปถึงบ้านแล้วย้อนกลับมาของก็ยังอยู่ที่เดิม ร่มลืมไว้ในรถใต้ดิน (U-Bahn) บอกเจ้าหน้าที่ก็ได้คืน หรือรอรถขวนนั้นกลับมาก็ไปเอาได้ วางตรงใหนอยู่อย่างไรก็อย่างนั้น

ในภาพเปรียบเทียบ ในฮังการีและเช็ก หายอย่างเดียว แม้กระทั่งรถ ในระดับที่ประกันรถยนต์ในเขตยุโรปตะวันตกมีข้อยกเว้นไม่คุ้มครองเลยทีเดียว

ไม่นานก่อนย้ายประจำการ ความปลอดภัยก็ลดระดับลง เมื่อเริ่มมีคนตุรกีและยุโรปตะวันออกเข้ามาทำงานมากขึ้น มีทั้งของหายและการทำร้ายร่างกาย แม้ว่าคนออสเตรียจะมีนิสัยที่เข้มข้นมากเป็นพิเศษในเรื่องของการช่วยกันสอดส่องดูแลสิ่งที่ผิดปรกติและความปลอดภัยของบ้านใกล้เรือนเคียงและชุมชนก็ตาม

เมื่อเกิด AEC เต็มที่ ภาพก็คงะไม่ต่างกันไปมากนัก   ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เราจะต้องเพิ่มความระมัดระวังตัวเองและชุมชนใ้ห้มากขึ้นเป็นทวีคูณ
 
   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง