เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102355 ก้าวย่างในยุค AEC
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 15:46

คุณตั็งพูดถึงข้าวหอมมะลิของไทย ทำให้นึกถึงเมื่อเร็วๆนี้ได้มีโอกาสพุดคุยกับเจ้าของร้านขายข้าวสารที่อยุธยา

บ่นกับเขาว่าทำไมข้าวสารที่เราสามารถซื้อหาได้ในซุปเปอร์ หรือตามร้านข้าวสาร จึงหุงแล้วไม่หอมเท่าที่ควร

แต่เวลาไปเที่ยวยุโรป ร้านอาหารจีนกลับมีข้าวหอมมาก หอมมาแต่ไกล  หอมเหมือนสมัยเด็กๆที่เราเคยทาน

เธออธิบายว่า ข้าวสารเกรดดีๆ ราคาจะสูงมาก เขามักจะส่งออก เพราะขายตลาดในประเทศได้ยาก จะมีก็แต่

คนที่รู้ ....วงในเท่านั้นที่จะเก็บไว้ทานกันในครอบครัว  ว่าแล้วเมื่อ2-3 วันมานี้เธอก็ส่งมาให้ได้ชิม 1 ถุงใหญ่

ข้าวหอมใหม่ที่ดีดูเหมือนจะมีที่เชียงราย กับ .....อีกสักแห่ง (จำไม่ได้) และจะได้ข้าวราวเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่

ดีที่สุด  เดี๋ยวนี้เราซื้อข้าวถุงที่มีขายตลอดปี  โดยไม่มีความรู้เรื่องข้าวเลย ข้าวหมดเมื่อไหร่ก็ไปซื้อมา  ก็เท่านั้น....


ในขณะที่ญี่ปุ่น คนหนุ่มสาวที่ทำงานจำเจในเมืองเริ่มเบื่อหน่าย แล้วออกไปเช่าที่นาเพื่อเริ่มทำนากันบ้างแล้ว

(โดยอาจทำบางช่วงเวลา )

หากเราคิดดูว่า คนหนุ่มสาวสมัยนี้สามารถศึกษาหาความรู้ได้จากหลายทาง ลองออกไปทำนาดูบ้าง ทำพอให้มีกิน

มีขายบ้างก็อาจทำให้การทำนาได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ภายใต้การเรียนรู้ และแก้ปัญหาของคนรุ่นใหม่

เมื่อไม่นานมานี้รายการทีวีรายการหนึ่งไปสัมภาษณ์เด็กหนุ่มลูกชาวนาไทย  เคยมาทำงานในกรุงเทพอยู่ระยะหนึ่ง เป็นมนุษย์เงินเดือน

แล้วพบว่า หามาได้เท่าไหร่ กิน ใช้ หมดไม่เหลือเก็บ แต่พอมาช่วยทางบ้านทำนา 100 ไร่ ใช้เวลาไม่กี่เดือน ก็มีรายได้ ปีละ 6 แสนบาท

อายุยี่สิบกว่าๆ แกค้นหาความรู้และลองผิดลองถูก พัฒนา จนเป็นผลสำเร็จ ลดต้นทุน ใช้ปุ๋ยธรรมชาติ

เห็นภาพนี้แล้วก้อดปลื้มใจไม่ได้



 

   
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 16:00

เราเป็นเมืองข้าวก็จริง แต่ความรู้เรื่องคุณภาพที่แตกต่างของข้าวแต่ละชนิดก็แทบไม่รู้เรื่องเลย

ดิฉันเคยขอให้นักเขียนคอลัมภ์ในนิตยสารฉบับหนึ่ง เขียนเรื่องข้าวว่าเรามีข้าวอะไรบ้าง

เพราะนักเขียนท่านนั้นเป็นคนอยุธยา  ท่านก้เขียนให้ตามคำขอ แต่หลายปีมาแล้วคะ

ส่วนการหุงข้าวเดี่ยวนี้มีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ช่วยได้มาก เมื่อเร็วๆนี้มีคนในครอบครัวไปอยู่ที่แคนาดา

เกือบ 2 เดือน โดยพักอยู่กับคนจีนที่ไปปักหลักอยู่ที่นั่นหลาย สิบปี  (บ้านหลังนั้นมีคนจีน 3 คน เกาหลีอีก 1 คน

และคนไทย 1 คน) แต่ทุกเย็นจะมีการหุงข้าว ทำกับข้าวแบบจีน 3-4 อย่าง แม่บ้านเป็นคนมีฝีมือในการปรุงอาหาร

ก็เลยอิ่มเอม เปรมปรีด์กลับมา  เสียดายแต่ไม่รู้ว่าข้าวนั้นไปจากประเทศอะไร จากไทยหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 16:31

ระบบมันไม่ควรจะเป็นเรื่องของการจัดประกวดเพื่อคัดเลือกและโฆษณา แต่มันควรจะเป็นเรื่องของนำเสนอให้ผู้คนทั่วไปได้รู้ว่ามีอะไรบ้างในถิ่นนี้ มีความแตกต่างอย่างไร อยู่ที่ใหน หมูบ้านใด ดำบลใด อำเภอใด แล้วให้ผู้คนทั่วไปได้ตัดสินเอง ทำในลักษณะนี้จะช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านอีกทางหนึ่งด้วย

ประเด็นอยู่ที่ว่า ชาวบ้านชาวนาทั้งหลายรวมทั้งเราเองด้วยน่าจะใช้สภาพดังที่เล่ามานี้จำแนกความต่างให้มีความเป็นเฉพาะและสุนทรีย์มากขึ้นเมื่อใช้บริโภคภายใน เราในฐานะคนไทยน่าจะลงไปเลือกซื้อกินถึงระดับว่าปลูกมาจากที่ใหน จังหวัดใด และเลือกซื้อกินข้าวที่เป็นหอมมะลิล้วนๆไม่มีปน   ข้าวก็มีสหกรณ์ มีโรงสีประจำถิ่น ปัจจุบันนี้จึงมีข้าวที่ใส่ถุงขายที่บอกแหล่งผลิตกันแล้ว ซึ่งบางแห่งก็ระบุชัดเลยว่าผสมหรือไม่ผสม เพียงแต่เราจะเลือกด้วยความสุนทรีย์นี้ มันก็จะส่งผลลงไปถึงชาวบ้านทั้งทางเศรษฐกิจและความภาคภูมิใจของเขาที่จะพัฒนาและมีกำลังใจในการผลิตของที่ดีๆ ปากของเราที่แนะนำกันต่อๆไปทั้งระหว่างเราด้วยกันเองหรือกับคนต่างชาติ คือตัวช่วยตัวหนึ่งสำหรับชาวนาชาวบ้านในท้องถิ่น

เมื่อคนตระหนักว่าสินค้าท้องถิ่นไหนดีอย่างไร คงต้องถึงเวลาไปขึ้นทะเบียนสินค้าตามพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 16:36

ในขณะที่ญี่ปุ่น คนหนุ่มสาวที่ทำงานจำเจในเมืองเริ่มเบื่อหน่าย แล้วออกไปเช่าที่นาเพื่อเริ่มทำนากันบ้างแล้ว

(โดยอาจทำบางช่วงเวลา )

หากเราคิดดูว่า คนหนุ่มสาวสมัยนี้สามารถศึกษาหาความรู้ได้จากหลายทาง ลองออกไปทำนาดูบ้าง ทำพอให้มีกิน

มีขายบ้างก็อาจทำให้การทำนาได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ภายใต้การเรียนรู้ และแก้ปัญหาของคนรุ่นใหม่

ที่ญี่ปุ่น ใคร ๆ ก็อยากเป็นชาวนา  



แต่ที่เมืองไทยมีสารพัดปัญหา อาชีพชาวนาไม่มีใครใคร่อยากเป็น

 เศร้า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 18:53

เราเป็นเมืองข้าวก็จริง แต่ความรู้เรื่องคุณภาพที่แตกต่างของข้าวแต่ละชนิดก็แทบไม่รู้เรื่องเลย

เป็นเรื่องจริง ที่เราไม่ค่อยจะรู้จักเรื่องข้าวของเราเอง คนต่างชาติที่ผมเคยพบมาเขายังมีความสนใจมากถึงขนาดบอกได้ว่านี่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลินี่ อย่างว่าแหละครับ เราอยู่กับมันจนเคยชิน สุนทรีย์ของเราเลยมีน้อย เอาเพียงว่าคนขายบอกว่าข้าวหอมก็ข้าวหอม เอามาหุงแล้วก็เพียงบ่นว่าแข็งไป อ่อนไป แฉะไป เอาความเคยชินเข้าว่าเคยซื้อตรานี้ดีก็ซื้อต่อไป เขาถามว่าจะเอาข้าวใหม่หรือข้าวเก่า เลือกไม่ถูกก็บอกว่าเอากลางเก่ากลางใหม่ ทั้งๆที่เราสามารถปรับปริมาณน้ำที่ใส่ลงไปแถมยังสามารถดงได้พอสมควร (แม้กระทั่งหม้อข้าวไฟฟ้าก็ตาม) เพื่อให้ข้าวออกมาเม็ดสวย แข็ง หรือนิ่ม ซึ่งทำการปรับได้ถึงขนาดจำนวนครั้งที่เราซาวข้าว    สุนทรีย์ยังมีได้ถึงขนาดเลือกข้าวที่จะกินได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะของกับข้าวที่เรากินตามปรกติอีกด้วย

การหุงด้วยหม้อข้าวไฟฟ้ารุ่นเก่าก็ต่างกับหม้อรุ่นใหม่ที่เราเลือกซื้อมาเพื่อความทันสมัย หม้อรุ่นเก่าใช้วิธีการหุงแบบต้มให้เดือดคล้ายการหุงข้าวแล้วดงแบบสมัยเก่า แต่หม้อรุ่นใหม่ใช้วิธีหุงแบบนึ่งให้ระอุ ข้าวสวยที่ได้ออกมาจึงไม่ค่อยจะเหมือนกัน  ผมยังนิยมใช้หม้อรุ่นเก่าอยู่ ได้ทั้งข้าวตามที่ต้องการและความเร็วในการหุงด้วย และก็ยังใช้วิธีวัดปริมาณนำด้วยข้อนิ้วมือประมาณเกือบๆองคุลีเป็นหลัก 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 20:15

...เมื่อคนตระหนักว่าสินค้าท้องถิ่นไหนดีอย่างไร คงต้องถึงเวลาไปขึ้นทะเบียนสินค้าตามพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖

ถูกต้องครับ ผมเคยกล่าวถึงเรื่องการขึ้นทะเบียนในลักษณะนี้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อครั้งยังไม่เกษียณ (ไม่ทราบว่าในปัจจุบันนี้มีการขึ้นทะเบียนไปกี่รายการ กี่เรื่องแล้ว)  เคยยกตัวอย่าง เช่น เรื่องของ Scotch Whisky และส้ม Sunkist ของ California      เรามีของเราตั้งเยอะแยะที่ควรมีการขึ้นทะเบียน เช่น ทุเรียนนนท์ (แทบจะไม่มีแล้ว) ทุเรียนระยอง (ส่งออกไปทั่วโลกแล้ว) เงาะโรงเรียน ลองกองตันหยงมัส ส้มบางมด (ไม่มีไปแล้ว) มวยไทย ฤๅษีดัดตน (นวดแผนไทย) ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท สัปะรสภูแล (แม่จัน) ข้าวเสาให้ (สระบุรี) ข้าวหอมมะลิ (สุรินทร์,ศรีสะเกษ)ข้าวสังข์หยดหรือหยอด (พัทลุง) ข้าวเหนียวเขี้ยวงู (แม่จัน) ฯลฯ

เรื่องของเรื่อง ผู้ที่จะต้องดำเนินการในเรื่องนี้ คงมิใช่ชาวบ้าน จะต้องเป็นส่วนราชการไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรหรือกระทรวงพาณิชย์  ชาวบ้านหรือชุมชนเขาไม่รู้วิธีการและความสลับซับซ้อนของกระบวนขึ้นทะเบียนการหรอก แถมไม่มีค่าใช้จ่ายอีกต่างหาก   จะอ้างว่าส่วนราชการทำเองไม่ได้ก็ใช่  ก็ Lobby ให้ใครยื่นขอก็ได้มิใช่หรือ

เกิด AEC แล้วจะเป็นเช่นไร หากเราไม่มีกระบวนการคุมเข้มในเรื่องเหล่านี้    ความตกลงพื้นฐานทั้งหลายที่เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางการค้าการลงทุน ก็คือ ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ซึ่งผลก็คงพอจะได้เห็นกันอยู่แล้ว ดังกรณ๊เช่น ชื่อข้าวหอมมะลิก็ไปแล้ว   ลิ่นจี่ในตลาดโลกก็ไปจากอัฟริกาแล้ว (แม้ต้นตอจะมาจากจีน แต่ไทยทำให้มันดังไปทั่วโลก)   มังคุดก็รู้เป็นเลาๆว่ามีการพัฒนาอยู่ในออสเตรเลีย  ข้าวเมล็ดป้อมสั้นที่ญี่ปุ่นเขากินกัน (สายพันธุ์ Japonica) ก็ไม่ต่างไปจากข้าวที่ปลุกกันโดยชาวเขาในบ้านเรา ที่เรียกกันว่าข้าวไร่ (ของดีอยู่ที่บ้านไร่ อุทัยธานี) ฯลฯ 

หากไม่ค้นให้รู้ว่าตนเองมีอะำไรดีบ้าง แล้วคนไทยและชาวบ้านจะเหลือให้ไปต่อสู้ในสังคมที่เปิดมากขึ้น         
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 20:55

ถูกต้องครับ ผมเคยกล่าวถึงเรื่องการขึ้นทะเบียนในลักษณะนี้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อครั้งยังไม่เกษียณ (ไม่ทราบว่าในปัจจุบันนี้มีการขึ้นทะเบียนไปกี่รายการ กี่เรื่องแล้ว)  เคยยกตัวอย่าง เช่น เรื่องของ Scotch Whisky และส้ม Sunkist ของ California      เรามีของเราตั้งเยอะแยะที่ควรมีการขึ้นทะเบียน เช่น ทุเรียนนนท์ (แทบจะไม่มีแล้ว) ทุเรียนระยอง (ส่งออกไปทั่วโลกแล้ว) เงาะโรงเรียน ลองกองตันหยงมัส ส้มบางมด (ไม่มีไปแล้ว) มวยไทย ฤๅษีดัดตน (นวดแผนไทย) ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท สัปะรสภูแล (แม่จัน) ข้าวเสาให้ (สระบุรี) ข้าวหอมมะลิ (สุรินทร์,ศรีสะเกษ)ข้าวสังข์หยดหรือหยอด (พัทลุง) ข้าวเหนียวเขี้ยวงู (แม่จัน) ฯลฯ

เปิด ข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทราบว่าขึ้นทะเบียนไว้จนถึงปัจจุบัน ๔๖ รายการ  รายการที่คุณตั้งเอ่ยถึงก็มีอยู่หลายรายการ

สินค้าต่างประเทศก็มีอยู่หลายรายการ แชมเปญ, คอนยัค, สก๊อตช์ วิสกี้, ตากีล่า มากันครบ  ยิ้มเท่ห์

ทุเรียนนนท์เพิ่งมีประกาศขึ้นทะเบียนล่าสุดต้นปีนี้เอง

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 21:23

^
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ    ดีใจที่ได้ทราบว่ามีการดำเนินการไปมากแล้ว

ทำให้นึกถึงผลไม้อีกอย่างหนึ่ง คือ ฝรั่งไทย    วันหนึ่งก็ไปเห็นในงาน Food Expo    เห็นเม็กซิโกเอาฝรั่งมาแสดงเพื่อขยายการส่งเสริมการส่งออก  เห็นรูปทรงและขนาดแล้วคล้ายฝรั่งพื้นบ้านของไทยไม่มีผิด  ลองชิดู อะฮ้า ก็ฝรั่งบ้านเรานี้เองไม่ผิดเพี้ยนเลย ทั้งความแข็งของเนื้อ รสชาติ และกลิ่น  ยังคิดเลยว่า เราเที่ยวไปเอาพันธุ์อะไรต่อมิอะไรมาปลูกกัน  แทนที่จะพัฒนาพันธุ์พื้นบ้านของเราเอง  ตัวผมเองยังนิยมฝรั่งพันธุ์พื้นบ้านไทยอยู่ ปลูกเองไว้เหมือนกัน  เช่นเดียวกับน้อยหน่า เท่าที่ประสบมา คนต่างชาติชอบน้อยหน่าพื้นบ้านของเรามาก หากยิ่งสามารถนำเสนอการทำแบบกาพย์ชมของคาวหวาน ก็คงจะยิ่งเป็นสิ่งสุดยอดจริงๆ     ไปตามตลาดต่างๆก็เห็นแต่คนถามหาซื้อน้อยหน่าเดิมของไทย แต่หายากชมัดเลย คงจะเหลือปลูกกันน้อยเต็มทีแล้วนะครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 20 ก.ค. 12, 18:56

ผ้าไหมของไทยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ผ้าไหมไทย (ตามความรู้เท่าที่มีของผม) มีลักษณะเด่นอยู่ในสามเรื่อง คือ มีปม มีวิธีการทำลวดลาย และมีลายเฉพาะที่สวยงาม เป็นที่ติดใจของคนต่างชาติมาก

ผู้ชายชาวต่างชาติที่ทำงานในระดับผู้บริหารในวงธุรกิจต่างๆ เมื่อมาเมืองไทย จะต้องหาเวลาตัดชุดสูทไหมไทยเก็บไว้เพื่อใช้ในงานที่เป็นพิเศษหนึ่งชุด สีที่เลือกใช้ก็มักจะเป็นสีในโทนสีอ่อน  ชุดสูทสีอ่อนนี้ในทางธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว เขาจะไม่ใส่ในงานที่เป็นพิธีการหรืองานทางธุรกิจที่สำคัญ จะใช้เฉพาะในงานที่เป็นเรื่องส่วนตัว และงานระหว่างเพื่อนฝูงญาติมิตรเท่านั้น และยังใช้เฉพาะในงานช่วงกลางวันหรือบ่ายก่อนที่ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า คือไม่ใช้ในงานกลางคืน

ผู้หญิงชาวต่างชาติ แน่นอนว่าหากเป็นไปได้ก็จะหาเวลาเลือกซื้อผ้าไหมไทย เท่าที่สังเกตเห็นมา ส่วนมากก็จะชอบผ้าทอที่มีลาย แต่จะซื้อจริงๆก็พวกผ้าพื้นสีต่างๆ และสาเหตุที่ไม่ซื้อกันมากก็เพราะเหตุผลเดียว คือ ดูและรักษายาก และกลัวผ้ามีตัว คือ ผ้าจะถูกแมลงตัวจิ๋วกัดกินเป็นรูโหว่ไปเอง ก็เช่นเดียวกัน จะนำออกมาใช้ก็เฉพาะในงานที่เป็นพิเศษจริงๆ   ชุดแต่งงานมักจะเป็นสีครีมหรือขาวเป็นธรรมดา แต่ชุดไปงานมักจะเป็นสีเข้มที่มีเหลือบสีซึ่งช่วยเปล่งความมันแวววาวออกมา 

ผ้าไหมไทยมีเอกลักษณ์มากพอที่เพียงแต่เห็นก็พอจะเดาได้เลยว่าเป็นผ้าไหมไทย  และดังมากพอที่ผู้สวมใส่จะบอกแบบอวดอย่างภาคภูมใจว่า นี่เป็นผ้าไหมไทย

เท่าที่พอรู้ เราไปกังวลว่าไหมเส้นยืนมันไม่ยาวพอ เลยต้องต่อเส้น ทำให้มันเป็นปม แล้วเราก็รู้สึกไปเองว่ามันไม่สวย (คนอื่นเขาเห็นว่าสวยแต่เราเห็นว่าไม่สวย ) เราก็เลยเอาพันธุ์ตัวไหม หรือสั่งไหมเส้นยืนมาจากต่างประเทศมาผลิตเส้นไหมหรือนำมาทอ  คุณภาพและความเด่นของผ้าไหมไทยก็จึงด้อยลงไป

ผมได้รู้จากเจ้าของพิพิธภัณฑ์ไหมที่โยโกฮามาในญี่ปุ่นว่า ท่าเรือของโยโกฮามานั้น เจริญงอกงามมาได้ก็เพราะการค้าไหมไทยนี้แหละ ตระกูลของเขาก็คือผู้ค้ารายสำคัญ  แม้พันธุ์ไหมของเขาที่พัฒนาตลอดมาจนมีอยูในขณะนี้ 32 พันธุ์ แต่ไหมไทยก็ยังครองความนิยมอยู่ไม่เสื่อมคลาย

เครื่องมันเริ่มรวน ขอตรวจสอบก่อนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 20 ก.ค. 12, 20:29

ชุดผ้าไหมในปัจจุบันมีกรรมวิธีให้คงทน และดูแลง่ายขึ้นกว่าเก่า   เช่นอัดผ้ากาวช่วยให้ไม่ยับ     แต่ยังไงมันก็ไม่เหมาะจะใส่สมบุกสมบันอยู่ดี   ต้องซักแห้ง และรีดให้เรียบ     ก็เลยยังเป็นผ้าสำหรับโอกาสพิเศษอยู่ดี   ดิฉันก็เลยชอบผ้าฝ้ายมากกว่า เพราะใช้ได้หลายโอกาสกว่า
ถ้าไปเดินทางท่องเที่ยวทางรัฐตะวันตกที่อเมริกาละก็  ไม่มีอะไรดีกว่าเสื้อยืดและกางเกงยีนส์   ไม่ต้องซักไม่ต้องรีดเลยละค่ะ จนกว่าจะกลับบ้าน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 21 ก.ค. 12, 19:25

ขออภัยครับ เมื่อวานนี้ต้องจบลงห้วนๆ เครื่องคอมพ์มันรวนครับ  ไวรัสก็ไม่มี สงสัยว่าพวกไฟล์สกุล .dll จะทะเลาะตีรวนกัน  พอจับเข้าแถวใหม่ก็หาย (คิดว่า)

ชุดผ้าไหมในปัจจุบันมีกรรมวิธีให้คงทน และดูแลง่ายขึ้นกว่าเก่า   เช่นอัดผ้ากาวช่วยให้ไม่ยับ     แต่ยังไงมันก็ไม่เหมาะจะใส่สมบุกสมบันอยู่ดี   ต้องซักแห้ง และรีดให้เรียบ     ก็เลยยังเป็นผ้าสำหรับโอกาสพิเศษอยู่ดี   ดิฉันก็เลยชอบผ้าฝ้ายมากกว่า เพราะใช้ได้หลายโอกาสกว่า
ถ้าไปเดินทางท่องเที่ยวทางรัฐตะวันตกที่อเมริกาละก็  ไม่มีอะไรดีกว่าเสื้อยืดและกางเกงยีนส์   ไม่ต้องซักไม่ต้องรีดเลยละค่ะ จนกว่าจะกลับบ้าน

ถูกต้องเลยครับ ผ้าไหมในปัจจุบันดูแลง่ายกว่าแต่ก่อนมาก แต่คนทั่วไปส่วนมากก็ยังคงเห็นว่ายากอยู่ดี      ผมไม่ทราบว่าวิธีการดูและรักษาผ้าไหมของจีนเป็นอย่างไร แต่ที่ญี่ปุ่นนั้น สำหรับชุดกิโมโนและผ้าคาดเอวซึ่งทำด้วยผ้าไหมนั้นมีราคาแพงมากๆ (ในปัจจุบันเป็นหลักล้านเยน เคยเห็นที่เขาขายหลัก 20 ล้านเยนก็มี) คนญี่ปุ่นสมัยก่อนเขาจึงไม่ซักกัน ขนาดเดินดูตามตลาดของเก่าเพื่อหาซื้อผ้าคาดเอว (โอบิ) เอามาเป็นผ็าปูตู้ ปูโต๊ะ กลิ่นนี้อบอวนเลยไปทั้งแผงเลยทีเดียว  นึกภาพไม่ออกเลยว่าสมัยนั้นในงานที่มีคนเดินสวนกันหนาแน่น กลิ่นจะขนาดใหน
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 21 ก.ค. 12, 20:57

ผมมาสนใจที่ผ้าไหมไทยมีการผลิตและการใช้กันมากในภาคอีสาน ผู้ชายก็มีโสร่งเป็นตาตะรางสีสดใสนุ่งกัน     มีแหล่งผลิตและเอกลักษณ์ประจำของวิธีการผลิตและของลายผ้าอยู่มากมาย อาทิ ตีนจก แพรวา ลายน้ำไหล มัดหมี่ ฯลฯ สารพัดมากมายจริงๆ  นอกจากนั้นยังเกือบจะเรียกได้ว่ามีการใช้ผ้าไหมกันอยู่เป็นประจำ มีการใส่กันจนเก่า ซึ่งก็ยอมต้องมีวิธีรักษาและทำความสะอาด จนทำให้ผ้าไหมเหล่านั้นยังคงมีความสวยงามอยู่ได้ตามสมควร

ประเด็นไปอยู่ที่ว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งหากมีการปรับกระบวนทัศน์และการประชาสัมพันธ์ทีดี  ก็ย่อมจะแปรเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สามารถจะแสวงประโยชน์ได้พอควรในสังคมเปิด AEC

การแปรสภาพจากผ้่าไหมผืนไปเป็นของใช้ต่างๆนั้น ผ้่าไหมท้องถิ่นของเราถูกเบียดบังไปด้วยผ้าไหมพิมพ์มากมาย  เครื่องใช้หลายอย่างได้ถูกออกแบบและทำขายในลักษณะเป็นของที่ระลึกในราคาที่สูงแต่ look cheap  เป็นลักษณะของฝากมากกว่าที่จะเป็นของใช้ที่มีราคาประจำตนหรือประจำบ้านจริงๆ    

ตัวอย่างหนึ่ง  กรณ๊สำหรับผู้ชาย เสื้อผ้าไหมก็เป็นเชิร์ตแบบลำลอง ทรงเสื้อแบบฟิลิปปินส์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ฝรั่งจะซื้อไปใช้ก็หางานที่จะใส่โชว์ได้ยาก จะผูกเน็คไทด์ก็ไม่ไปไหนด้วยกันเลย   เน็คไทด์ไหมไทยที่ผลิตขายกันก็สั้นมาก หากผูกแบบ full windsor อีกชายหนึ่งก็แทบจะไม่พ้นปมผูกที่คอ  สีสรรลวดลายที่สุภาพแบบไฮก็แทบจะไม่มี มีแต่ลายแบบที่ใส่ไปโชว์ในงานประจำปีของชุมชนได้ ฯลฯ ได้เคยมีโอกาสหลายครั้งพูดกับผู้ผลิตและส่วนราชการที่ดูแลและส่งเสริม มากกว่าสิบปีมาแล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย   ผ้าเช็ดหน้าสีอ่อนสวยๆที่ใช้เหน็บกระเป๋าเสื้อสูท ก็หายากและดูจะไม่ค่อยทำขาย  

กรณีสำหรับผู้หญิง  ปัญหาไปอีกแบบหนึ่ง คือมีเงินจะซื้อผ้าไหมผืนได้ แต่ไปมีปัญหาที่จะหาช่างตัดเมื่อกลับไปบ้าน ราคาค่าตัดนั้นสูงมากอยู่แล้ว ที่ทราบคือไม่มั่นใจว่าช่างคตัดเสื้อจะมีความสามารถในการตัดเย็บหรือไม่ ก็เลยไม่ค่อยจะซื้อกัน ยกเว้นจะเป็นพวกที่มีเงินจริงๆ  ที่จริงทางแก้ก็มีนะครับ เช่น การสะแกนตัว (ทรวดทรง) เป็นข้อมูลให้ช่างในเมืองไทยตัด หรือส่งมาให้ช่างไทยตัดแล้วส่งชุดที่ตัดกลับไปให้ ปัญหามีอยู่นิดเดียว ช่างไทยที่เป็นคนตัดเย็บจริงๆก็ไม่มีคอมพิวเตอร์และซอร์ฟแวร์ ในขณะที่ร้านขายผ้าแม้จะมีเครื่องก็ต้องแปลงข้อมูลนั้นไปเป็นข้อมูลที่ช่างตัดเย็บจะทำแพทเทิร์นได้  ไม่ทราบเหมือนกันว่าในปัจจุบันนี้ได้มีการทำกันแพร่หลายหรือยัง  

จะอยู่รอดกับการแข่งขันใน AEC อย่างน้อยก็คงต้องพัฒนาไปบ้างตามที่เล่ามานี้      

  
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 21 ก.ค. 12, 23:28

ในระยะราว 5 ปีมานี้ ผ้าไหมไทยได้รับความนิยมในหมู่หน่วยงานราชการ ก็เลยได้ใช้กับเขาบ้าง

และโชคดีตรงที่ได้พบช่างที่มีฝีมือการตัดเย็บที่ไม่เชย คือรูปทรงสมัยใหม่ ฝีมือดีและราคาพอจะอุดหนุนได้

เธอมีพื้นฐานเป็นคนโคราช ที่บ้านทอผ้าไหมเอง หลังจบจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯ เรียนมหาวิทยาลัย

ทำงานธนาคารได้สักระยะ ก้ออกมาทำร้านตัดเสื้อผ้าไหมสำเร็จรูปและ วัดตัวตัดด้วยจึงมีลูกค้าระดับอาจารย์มหาลัย

หมอ ลูกค้าธนาคาร มาอุดหนุนไม่ขาดสาย ....จนตั้งตัวได้ดีกว่าทำงานรับเงินเดือน

สังเกตว่าผ้าไหมที่ร้านเธอ...สวยด้วยเส้นไหม สีสัน และลวดลาย เฉพาะ ไม่เหมือนที่วางขายกันทั่วไป

แม้ในห้างใหญ่ ....น่าภูมิใจแทนเธออย่างยิ่ง 

ที่ไม่ชอบคือการติดผ้ากาวด้านในเพื่อให้เสื้อผ้าอยู่ทรง ดูแลง่าย แต่ก็ร้อน และแข็งไปหมด

ถ้าตัดเสื้อเชิ้ตก็จะเน้นว่าไม่เอาผ้ากาวนะ....

กิจการของเธอก้าวหน้าเป็นลำดับ ถึงขั้นไปเปิดสาขาที่สิงคโปร์ แต่ราคาในเมืองไทยก็ยังถูกกว่าในห้างแบบครึ่งต่อครึ่งคะ

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 21 ก.ค. 12, 23:39

ถ้าภาครัฐบาล สนับสนุนอย่างจริงจังเชื่อว่า ผ้าไหมของไทยยังพัฒนาไปได้อีกมาก

แต่ที่น่าเป็นห่วงกลับเป็นผ้าทอพื้นเมือง เช่นที่บ้านไร่ อุทัยธานีมีหมู่บ้านที่ทอผ้า เป็นพวกลาว....(อะไรสักอย่าง)

ลวดลายสีสันสดใส สะดุดตา แต่ก็ยากที่จะนำมาใช่ในชีวิตประจำวัน หมู่บ้านนี้ได้รับรางวัลใหญ่ๆระดับประเทศก็จริง

แต่การสร้างรูปทรงยังล้าหลังอยู่มาก เป็นลักษณะการเลียนแบบกันมากกว่าจะสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ จึงไม่โดดเด่นเท่าที่ควร

แถมไม่แน่ใจเรื่องสีตกอีกด้วย  ผ้าทอลวดลายเหล่านี้จึงเหมาะจะแขวนโชว์ลวดลายมากว่าคะ

นานมาแล้วดิฉันเคยได้รับผ้าฝ้ายทอมือจากชาวอิสาน สีขาวทั้งผืน พอสัมผัสก็รู้ว่าเป้ฯผ้าเนื้อดี ยิ่งใช้ ยิ่งซักก็ยิ่งนุ่ม

ก็เลยเก็บไว้เป็นผ้าคลุมไหล่บ้าง ผ้าพันคอบ้าง

เรื่องเนื้อผ้าฝ้าย ที่ให้สัมผัสที่นุ่มนวลเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 12:15

กรณีสำหรับผู้หญิง  ปัญหาไปอีกแบบหนึ่ง คือมีเงินจะซื้อผ้าไหมผืนได้ แต่ไปมีปัญหาที่จะหาช่างตัดเมื่อกลับไปบ้าน ราคาค่าตัดนั้นสูงมากอยู่แล้ว ที่ทราบคือไม่มั่นใจว่าช่างคตัดเสื้อจะมีความสามารถในการตัดเย็บหรือไม่ ก็เลยไม่ค่อยจะซื้อกัน ยกเว้นจะเป็นพวกที่มีเงินจริงๆ  ที่จริงทางแก้ก็มีนะครับ เช่น การสะแกนตัว (ทรวดทรง) เป็นข้อมูลให้ช่างในเมืองไทยตัด หรือส่งมาให้ช่างไทยตัดแล้วส่งชุดที่ตัดกลับไปให้ ปัญหามีอยู่นิดเดียว ช่างไทยที่เป็นคนตัดเย็บจริงๆก็ไม่มีคอมพิวเตอร์และซอร์ฟแวร์ ในขณะที่ร้านขายผ้าแม้จะมีเครื่องก็ต้องแปลงข้อมูลนั้นไปเป็นข้อมูลที่ช่างตัดเย็บจะทำแพทเทิร์นได้  ไม่ทราบเหมือนกันว่าในปัจจุบันนี้ได้มีการทำกันแพร่หลายหรือยัง 

จะอยู่รอดกับการแข่งขันใน AEC อย่างน้อยก็คงต้องพัฒนาไปบ้างตามที่เล่ามานี้     
หลายปีแล้ว จำได้ว่ามีร้านตัดเสื้อในโรงแรมสี่ดาวห้าดาวที่รับตัดเสื้อวันเดียวได้ให้ลูกค้าชาวต่างประเทศ  แต่ไม่ทราบว่าปัจจุบันยังทำกันอีกไหม   เท่าที่เห็นตามถนนหนทางในกรุงเทพ ร้านตัดเสื้อแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว   ถูกเสื้อสำเร็จรูปตีตลาดหมด 
เสื้อไหมไทย หรือฝ้ายไทย ถ้าจะโกอินเตอร์ก็ต้องเลือกแบบที่ผู้หญิงฝรั่งใส่      เท่าที่เห็น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยทางรัฐตะวันตกมักสวมเสื้อสูททับเสื้อตัวใน นุ่งกระโปรงแคบหรือกางเกง ถือเป็นชุดสุภาพเป็นงานเป็นการ  แบบก็ไม่ค่อยจะเปลี่ยน
อย่างแบบเสื้อข้างล่างนี้ เป็นแบบที่สาวออฟฟิศชาวอเมริกันใส่กัน  แต่ต้องเลือกแบบและสีสันไม่ให้สะดุดตาเกินไป    ปัญหาต่อไปคือคุณภาพของผ้า คงทน และดูแลยากหรือง่าย สู้ของเขาได้ไหม เท่านั้นเอง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง