เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102534 ก้าวย่างในยุค AEC
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 21:51

หากเราทำตัวเป็นม้าอารี ไม่รอบคอบรัดกุม ไม่อยากนึกเลยว่าอนาคตประเทศจะเป็นอย่างไร

แค่งบประมาณด้านสาธารณสุขที่ต้องจ่ายจากบริการขั้นพื้นฐาน ที่เฉลี่ยเป็นรายหัว

ก็น่าเป็นห่วงว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ถึงจะพอ คนต่างชาติที่รัฐบาลของเขาไม่สนใจ

หนีตายมาอยู่ มาให้คนไทยดูแล มากมายมหาศาล จะกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อมหรือไม่

คนไทยอีกมากมายที่อยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญ ยังต้องการการดูแลรักษาอีกมาก

แต่คนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในเมืองหลวงและปริมณฑล กลับเข้าถึงการรักษาง่ายกว่า

ถ้าเราเตรียมความพร้อมให้ดีก็พอจะทำใจได้ว่าคงไม่เสี่ยงเท่าไหร่ แต่นี่ก็มัวแต่เล่นเกมส์

นักเลงหัวไม้ ....ในขณะที่เพื่อนบ้านเขา เร่งเดินเครื่องกันเต็มที่ ก็น่าหวั่นใจนะคะ

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 22:02

ดีใจที่คุณตั้งเปิดกระทู้นี้ขึ้นมาคะ  มีเพื่อนที่ใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริการ่วม 30 ปีเพิ่งย้ายกลับมาอยู่เมืองไทย

เขาบอกว่าเขาเคยทำวิจัยเกี่ยวกับประเทศในภูมิภาคแถบนี้ เคยชวนเขาให้มาเล่าอะไรให้ฟังบ้าง

เขาบอกว่าถ้าให้พิมพ์ภาษาไทยตอนนี้ ยอมรับว่าพิมพ์ได้ช้ามาก  ก็เลยบอกว่าภาษาอังกฤษก็ได้

เขาก็บอกว่าขอเวลาหน่อย....แต่เขาเปรยว่า ประเทศรอบบ้านเราเขาเตรียมประชาชนของเขาแล้ว

แต่ไทยเขายังเงียบเชียบอยู่เลยเริ่มจากเรื่องภาษา เราก็สู้อีกหลายประเทศไม่ได้

แต่ตอนนี้ในมหาวิทยาลัยก็เปิดสอนภาษาของเพื่อนบ้านหลายประเทศพร้อมกันอย่างกับดอกเห็ด

บอกว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลคะ....

         เมื่อก่อนเคยสงสัยว่าทำไมยุโรปเขาเดินทางไปมาหาสู่กันได้ง่ายจัง (สะดวกสบาย )

ถ้าไปยุโรปก็อยากจะเดินทางไปหลายๆประเทศ ได้เห็นทั้งความเหมือนและความต่าง ดูมีเสน่ห์มากเลย

แต่ประเทศรอบบ้านเรากลับเหมือนต่างคนต่างอยู่ ด้วยความแตกต่างกันมีมากมายหลายด้าน

คงต้องใช้เวลาในการปรับตัวกันอีกมากเลยนะคะ
 

แต่ทุกวันนี้ ในชั้นมัธยมปลายของโรงเรียนรัฐเอง สายภาษา ยังต้องเรียนภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาเยอรมันอยู่ ถ้าจะเรียนภาษาจีน จะต้องไปเรียนพิเศษเอาเอง

ภาษาอื่นๆ ของประเทศเพื่อนบ้านรอบบ้านเรา เวียดนาม พม่า กัมพูชา มาเลเซีย ไม่ต้องเอ่ยถึง .. ไม่มีสอน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 22:37

สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒    ยุโรปประกอบด้วยประเทศมหาอำนาจ   ซึ่งสืบเนื่องมาจากยุคล่าอาณานิคม     ภาษาที่รองลงมาจากอังกฤษคือฝรั่งเศสและเยอรมันจึงถูกนับเป็นภาษาสำคัญสำหรับประเทศไทย  ที่จะพัฒนาให้เจริญไปในแนวของตะวันตก
ครั้งหนึ่งฝรั่งเศสเป็นภาษาของนักการทูต   พาสปอร์ตไทยก็เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส    อะไรที่หรูหราเช่นเมนูอาหารในภัตตาคารชั้นเลิศก็เป็นภาษาฝรั่งเศส
แต่มาถึงศตวรรษที่ 21    อิทธิพลในยุโรปน้อยลงไปมากสำหรับประเทศไทย   แต่อิทธิพลทางเอเชียเพิ่มมากกว่า    โดยเฉพาะทางด้านการติดต่อค้าขาย    หลักสูตรมัธยมน่าจะสอนภาษาจีนกับญี่ปุ่นได้แล้ว

ส่วน AEC ในไทยนั้น ถ้าหากว่าเรายังจัดระเบียบไม่รัดกุมมากพอ   ประโยชน์ที่ได้รับจาก AEC น่าจะน้อยกว่าที่ควรจะได้ และเสียมากกว่าที่ควรจะเสีย      จริงๆแล้วดิฉันไม่ค่อยหวังอะไรกับองคาพยพที่คุณตั้งเอ่ยถึงข้างบนนี้  (คำนี้เท่มากค่ะ  ไม่เคยใช้กะเขาเลย  เพิ่งมีโอกาสในกระทู้นี้แหละ)  แต่ยังมีความหวังอยู่กับภาคเอกชน ซึ่งเติบโตอย่างอิสระพอสมควร  จึงก้าวหน้าพอจะผลักดันประเทศมาได้จนทุกวันนี้

ว่าแล้วก็ถอยไปนั่งหลังห้อง  ฟังเลกเชอร์ต่อไปค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 20:21

ด้วยสภาพการก้าวย่างของไทยเข้าสู่ AEC เป็นอย่างที่คุณพวงแก้ว คุณลุงไก่ และคุณเทาชมพู บอกล่าวมา ซึ่งเป็นเพียงภาพส่วนหนึ่งเท่านั้น แล้วในเรื่องอื่นๆกับการก้าวย่างของไทยใน AEC จะเป็นอย่างไร  ผมเห็นว่าเป็นเรื่องน่ากลัวที่เราประชาชนคนไทยแทนที่จะได้รับประโยชน์ (ดังที่เขาฝัน) มากขึ้น จะกลับกลายเป็นเราดูแต่เขามาเอาประโยชน์ มาล้วงมาแย่งเอาสิ่งที่เราพอจะมีความสามารถพอจะทำมาหากินได้ไปหมด ได้แต่นั่งดูตาปริบๆรอคำหวานลด แลก แจก แถม แบบประชานิยมต่อไป


เขียนไว้ยืดยาว พอจะส่ง เวลาหมด ลืมติ๊กไว้ว่าคงสถานะการเชื่อมต่อตลอด
โกรธตัวเอง เลยจะขพักไว้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 22:39

ไม่น่าเล้ย...อย่าพักนานนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ก.ค. 12, 00:34

ถ้าเจอแบบนี้ ติ๊กลูกศรซ้ายบน  ให้ย้อนกลับไปหน้าเดิมนะคะ  ข้อความอาจจะกลับคืนมาได้ค่ะ

เวลาคุณตั้งล็อคอินเข้ามา ติ๊กให้ล็อคอินถาวรไว้ดีกว่าค่ะ  ได้ไม่ต้องล็อคอินใหม่บ่อยๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ก.ค. 12, 21:25

สภาพของเราและรอบๆ้บ้านเราก็ดูจะไม่แตกต่างไปจากสภาพของประเทศแกนหลักของ EU ก่อนที่จะขยายประเทศสมาชิก

ประชาชนประเทศรอบๆบ้านเราต่างก็ยอมรับเงินบาท จะว่าไปก็เกือบจะทุกประเทศสมาชิก ASEAN เลยทีเดียว เราสามารถใช้เงินบาทในประเทศเหล่านี้โดยไม่ต้องเสียเวลาไปแลกเปลี่ยสกุลเงิน สินค้าของเราจัดได้ว่าเป็นสินค้าชั้นดีที่มีคุณภาพในประเทศเหล่านี้ และมีตั้งแต่ข้าว ผลไม้ น้ำอัดลม ผ้าเย็น เครื่องมือทำมาหากิน (เช่น หัวจักรเย็บผ้า) รถจักรยาน เครื่องครัว เครื่องพลาสติคทั้งหลาย ฯลฯ มากจนจารนัยไม่หมด ไปจนถึงไม้จิ้มฟันเลยทีเดียว 

ที่ผมได้เห็นมาด้วยตนเองตั้งแต่สมัยที่ประเทศเหล่านี้เริ่มยอมรับระบบตลาดเปิดและเปิดประเทศมากขึ้น ผมก็ได้เห็นมีการเรียนภาษาไทย มีพจนานุกรมภาษาไทยกับภาษาของเขา มีกระทั้งถึงเทปเพื่อฝึกการพูดและการอ่านออกเสียงภาษาไทย ซึ่งพบตั้งแต่บริเวณชายแดนจนในเขตเมืองหลวงของเขา

และยังพบว่าเขาพยายามเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเองจากหนังสือและเทป  ผมยังเคยซื้อตำราเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเองของเขามาอ่านดูเลย หายไปหมดแล้ว  คิดว่ายังคงเหลือแต่ของอินโดนีเซียประเทศเดียว อ่านแล้วก็ครึกครื้นดี เป็นภาษาอังกฤษแบบตรงไปตรงมา ไม่มีสำนวนและไม่อ้อมค้อมเลย จึงอย่าไปแปลกใจเลยนะครับ หากจะได้ยินประโยคที่รู้สึกว่าไม่สุภาพหรือขวางหูเราไปสักหน่อย ที่น่าทึ่งก็คือ เขาคงมุมานะอย่างมากๆเลยทีเดียว ขนาดสื่อสารกับเราได้ความก็แล้วกัน

แล้วที่ผมสังเกตว่าน่าสนใจและน่าจะเป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ภาษาเรียนเองเหล่านี้ (ทั้งไทยและอังกฤษ) เป็นภาษาในลักษณะ demand และ สั่งการ  ไม่เหมือนกับเราที่ใช้สอนให้ใช้ภาษาคล้อยไปในทางคน subordinate     

ภาพนี้คงจะบอกอะไรได้ไม่มากไปกว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งขุดทองที่สำคัญของพวกเขา ซึ่งหากไม่ใช่ เขาก็คงจะไม่พยายามพูดภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษให้ได้ เพื่อจะได้หางานได้ง่ายๆ  เรื่องนี้เป็นจริง พบได้เป็นก๊วนเลยแลพบได้ไม่ยากตามรีสอร์ทต่างๆทั่วประเทศไทย

ยังไม่เริ่ม AEC เลย ยังถูกแย่งไปได้เพียงนี้ 
     
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ก.ค. 12, 21:42

เคยไปเวียตนาม พักที่บ้านทูตพาณิชย์ เมื่อ7-8 ปีมาแล้ว ได้พบคนเวียดนามที่มาทำงานที่สถานทูตไทย

อายุราว 25 ปี พูดภาษาไทยได้ดีมาก สำเนียงไม่มีเพี้ยนเลย ทั้งที่เรียนในเวียดนาม...และมีหลักสูตรสอนภาษาไทย

โดยอาจารย์ไทยไปสอนถึงเวียดนามเลย

แต่เมื่อ 4-5 ปีมานี้ ได้พบกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยกวางโจว เธอเรียนภาษาไทยที่เมืองจีน และมาแลกเปลี่ยนที่เมืองไทยอยู่ 1 ปี

แล้วกลับไปสอนภาษาไทยที่กวางโจว ทุกปีจะมีเด็กจีนมาพักและเรียน summer 1 เดือนในกรุงเทพ

ตอนนี้ทราบว่า มีเด็กน.ศ.จีนมาเรียนที่เมืองไทยแทบจะทุกสถาบันเลยคะ 


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 ก.ค. 12, 22:03

ใน EU โดยเฉพาะเยอรมันและออสเตรียก็คล้ายๆกันกับไทยเรา

เขตแดนของประเทศทั้งสองนี้ชนกับประเทศที่อยู่ในอาณัติและอิทธิพลของรัสเซียมาก่อน คือ โปแลนด์ เช็ค ฮังการี สโลวัก สโลวีเนีย
ที่แปลกอยู่ประการหนึ่ง คือ เมื่อระบบรัสเซียล่มลง ประชาชนทั้งหลายของประเทศในอานัติของรัสเซียเหล่านี้ หันมาเรียนพูดเรียนอ่านภาษาอังกฤษกันหมด ทั้งๆที่ชายแดนของตนติดอยู่กับประเทศที่พูดภาษาเยอรมัน  ก็คงจะมีพื้นเพมาจากการเกลียดเยอรมันมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกทั้งสองยุค ผนวกกับแนวคิดในการก้าวออกสู่ความเป็นนานาชาติของเขาที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะยุโรป (ผมได้มาสนทนากับเจ้าหน้าที่รัฐทางภาคอุตสาหกรรมของเขา)

นอกจากภาษาแล้ว ตามแนวชายแดนจะมีตลาดสินค้าที่ผลิตมาจากอดีตประเทศสังคมนิยมทั่วไป (รวมทั้งเวียดนาม เขมร) ที่มีราคาถูก แทบจะเหมือนตลาดละลายทรัพย์ทั้งหลายใน กทม. ทีเดียว   บางส่วนของสินค้าเหล่านี้ก็มีเล็ดลอดเข้าไปขายตามเมืองต่างๆในยุโรป

ประเทศนอกเขต EU เหล่านี้รับเงิน Deutsche Mark และ Austrian Schilling ก่อนที่จะเป็นเงินสกุลยูโร และรับเฉพาะเงินสกุลยูโรเมื่อมีการใช้เงินยูโรแล้ว

เมื่อมีการเข้าเมืองไปทำงานมากขึ้น ในที่สุดก็เริ่มต้นที่ประเทศเยอรมันและออสเตรียว่า จะต้องพูดภาษาเยอรมันได้จึงจะทำงานได้ และไปไกลถึงขนาดในบางกรณ๊จะต้องฟังภาษาเยอรมันได้ก่อนที่จะได้รับวีซ่า

      
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 00:49

การเรียนภาษาอังกฤษในบ้านเรา ถ้าสอนโดยภาครัฐล้วนๆอาจพูดได้ว่าไม่ได้ผล   เรียนมาตั้งแต่ม.ต้นจนม.ปลาย  เด็กยังพูดอังกฤษไม่ได้   หรือพูดก็ผิดๆถูกๆ ฝรั่งฟังไม่รู้เรื่อง   ต้องไปเรียนกวดวิชาเพิ่มเติม ให้ภาคเอกชนมาติวเข้มให้จึงจะพอรู้บ้าง   
พูดไม่ได้ เขียนก็ผิด  เรียนเหมือนไม่ได้เรียน   เสียดายเวลาหลายปีที่เปลืองไปจริงๆ  จะโทษครูก็ไม่ได้เพราะความรู้ของครูก็มีจำกัดอยู่เหมือนกัน  โดยเฉพาะครูในจังหวัดห่างไกล

เมื่อเริ่มยุค AEC  ดิฉันอดคิดไม่ได้ว่าเราน่าจะปรับปรุงหลักสูตรได้แล้ว  ยังไงความเปลี่ยนแปลงในสังคมก็เข้ามากำหนดทิศทางให้เอง  คือภาษาอังกฤษจะไม่เป็นภาษาสากลอย่างศตวรรษที่ 20    ภาษาในเอเชียที่สื่อสารกันง่ายและแพร่หลาย คือภาษาจีน  จริงอยู่ว่าจีนมีหลายสำเนียง  แต่ภาษาราชการคือจีนกลางที่พูดกันบนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันก็เป็นจีนที่ใช้กันมากที่สุด   ส่วนภาษาเขียนไม่มีปัญหา  เขียนเหมือนกันอยู่ดี
ตอนนี้นศ.จีนก็เข้ามาเรียนกันอยู่มากมายในมหาวิทยาลัยของไทย   เพื่อเอาภาษาไทยไปใช้สื่อสาร ทั้งในประเทศเขาและหางานทำในประเทศเรา   เราก็ควรเรียนภาษาของเขาให้มากขึ้นด้วย  ในศตวรรษที่ 21 นี้ถ้าพวกเราไม่แก่ตายกันเสียก่อน จะทันเห็นจีนเป็นผู้นำของโลกแน่นอน  AEC จะต้องสื่อสารกับจีนอย่างใกล้ชิด   ภาษาก็เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใหญ่ที่สุด
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 05:44

           น่าเห็นใจเด็กไทยที่ต้องเรียนภาษาอังกฤษในระบบโรงเรียนของไทย แม้จะมีหลายแห่งที่สอนได้ดีแต่ก็เป็นเพียงหยิบมือเดียว

 การเรียนภาษาต่างประเทศจากตัวหนังสือเพียงอย่างเดียวอย่างในยุคของดิฉัน... เป็นสิ่งที่น่าเบื่อมาก เราไม่มีวันที่จะจับสำเนียงได้

 การฟังเพลง หรือดูหนังที่ไม่ภาคไทย ก็เป็นสิ่งที่ดีแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้อย่างถ่องแท้  เทียบกับเด็กไทยกลุ่มที่มีโอกาสไปเรียน

 ในต่างประเทศ ในเวลาไม่นานก็จะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรมชาติ แสดงว่าเด็กไทยสามารถเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้เช่นเดียว

 กับเด็กชาติอื่นๆถ้าเขาได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ดีพอ และมีธรรมชาติที่เอื้อต่อการเรียนรู้

 มีเด็กมัธยมต้นจำนวนมากที่ต้องออกจากระบบโรงเรียน ไปทำงาน โดยไม่รู้ภาษาต่างประเทศดีพอเลย ก็ต้องทำงานที่ใช้แรงงานเท่านั้น

 ตัดโอกาสที่จะเข้าสู่ระบบงานที่ดี มีอนาคตเมื่อเทียบเด็กในประเทศเพื่อนบ้านในระดับเดียวกัน
 
 ซึ่งจะมีสิทธิเคลื่อนย้ายไปทำงานในประเทศใกล้เคียงได้ง่ายกว่า และอาจจะมีรายได้มากกว่าในประเทศที่ขาดแคลนพนักงานระดับกลางหรือล่าง

 ที่พูดภาษาอังกฤษได้   
       

       
 
 
               

             
             
           
         
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 05:56

อยากเห็นภาครัฐปฏิรูปการสอนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง รวดเร็วพอที่จะสร้างเด็กรุ่นใหม่รู้ภาษาดีกว่านี้

เท่าที่เห้นมีโรงเรียนสองภาษา ผุดขึ้นมากมายแต่ก็ดูจะช้า และเป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่มากมายขึ้นมาก

กลายเป็น สองมาตราฐานในโรงเรียนเดียว

การเรียนภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ ได้ผลดีกว่าการท่องเป็นนกแก้ว นกขุนทอง แล้วก็ลืมเมื่อเลิกเรียนไป

ก็ได้แต่หวังว่า เทคโนโลยีที่แลกด้วยงบประมาณมหาศาลแจกนักเรียน...คงจะช่วยในเรื่องการเรียนการสอนภาษา

ได้มากขึ้น และสนุกขึ้นแทนที่ความเบื่อหน่ายเป็นยาขม ที่กล้ำกลืนกันมาหลายสิบปีแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 11:11

ใช่เลยครับ ถึงเวลาแล้วที่ไทยเราจะต้องปรับปรุงหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษ วางฐานให้ดี เนื่องจากไม่ว่าจะในเรื่องใดในบริบทใดของ AEC ก็จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางแน่นอน

จำได้ว่า นานมาแล้วมีความฝันกันว่าจะสร้างภาษากลางของ ASEAN แนวคิดเรื่องนี้คงจะยุติไปแล้ว ซึ่งหากจะยังคงมีแนวคิดนี้อยู่ ก็อีกนานมากๆกว่าที่จะตกลงกันได้รวมทั้งการดำเนินการให้เป็นรูปธรรม (คำว่าการดำเนินการให้เป็นรูปธรรมนี้ ในปัจจุบันนิยมใช้คำว่า realizing และใช้กันมากในหมู่คนของรัฐในเอเซีย โดยเฉพาะญีุ่่ปุ่นและจีน)  ดังนั้น ยังไงๆก็ต้องเริ่มที่ภาษาอังกฤษก่อน แล้วผนวกไปด้วยอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งตามสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ ก็คงจะต้องเป็นภาษาจีน   ผมเห็นว่าภาษาที่สามนี้น่าจะต้องเป็นการบังคับให้ต้องเลือกเรียนด้วย ส่วนจะเป็นภาษาอะไรนั้นก็น่าจะขึ้นอยู่กับว่า คิดว่าในอนาคตจะเลือกทำอาชีพใด เลือกทำงานอะไร  และเหตุที่จะต้องให้เลือกเองก็เพราะว่า สภาพการณ์ต่างๆมันแปรเปลี่ยนไปตามพัฒาการทางเศรษฐกิจและสังคม    ครั้งหนึ่ง เคยนิยมเรียนภาษาญี่ปุ่น ด้วยเห็นว่าต่อไปเราคงหนีไม่พ้นการติดต่อค้าขายและทำธุกิจกับญี่ปุ่น แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นจีน และยังมีอีกภาษาหนึ่งที่จะว่าไปก็ถึงขั้นขาดแคลน คือ ภาษาสเปน    ในอนาคตคงจะหนีไม่พ้นที่จะต้องมีการค้าการลงทุนระหว่างประเทศในทวีปอเมรกาใต้กับเอเซีย

     


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 11:19

ใช่เลยครับ ถึงเวลาแล้วที่ไทยเราจะต้องปรับปรุงหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษ วางฐานให้ดี เนื่องจากไม่ว่าจะในเรื่องใดในบริบทใดของ AEC ก็จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางแน่นอน

ปรับปรุงยังไม่พอค่ะ ต้องรื้อหลักสูตรเก่าให้หมดเลย  เรียนพูด  และเรียนภาษาอังกฤษเฉพาะสาขา เช่นอังกฤษเพื่อธุรกิจ
ถ้าจีนยังก้าวกระโดดแบบนี้  กลางศตวรรษที่ 21 ภาษาจีนจะแซงหน้าภาษาอังกฤษค่ะ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 15:59

เคยไปเวียตนาม พักที่บ้านทูตพาณิชย์ เมื่อ7-8 ปีมาแล้ว ได้พบคนเวียดนามที่มาทำงานที่สถานทูตไทย

อายุราว 25 ปี พูดภาษาไทยได้ดีมาก สำเนียงไม่มีเพี้ยนเลย ทั้งที่เรียนในเวียดนาม...และมีหลักสูตรสอนภาษาไทย

โดยอาจารย์ไทยไปสอนถึงเวียดนามเลย

แต่เมื่อ 4-5 ปีมานี้ ได้พบกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยกวางโจว เธอเรียนภาษาไทยที่เมืองจีน และมาแลกเปลี่ยนที่เมืองไทยอยู่ 1 ปี

แล้วกลับไปสอนภาษาไทยที่กวางโจว ทุกปีจะมีเด็กจีนมาพักและเรียน summer 1 เดือนในกรุงเทพ

ตอนนี้ทราบว่า มีเด็กน.ศ.จีนมาเรียนที่เมืองไทยแทบจะทุกสถาบันเลยคะ 





ไม่เฉพาะนักศึกษาเท่านั้นครับ แม้แต่คนจีนที่เข้ามาประกอบอาชีพ(แข่ง)กับคนไทยก็มีไม่น้อยแล้ว ถ้าไปดูตามเยาวราชจะเจอพ่อค้าจีนที่พูดไทยพอได้เข้ามาค้าขายเยอะครับ แม้แต่ในตลาดขายส่งย่านชานเมืองอย่างรังสิต หรือคลองหลวง ปทุมธานี ก็มีคนจีนเข้ามาประกอบธุรกิจแข่งกับคนไทยแล้วไม่น้อย ไม่ว่าจะห้องเย็น หรือแม้แต่เป็นพ่อค้านำเข้าผักและผลไม้จากเมืองจีนโดยตรง

ส่วนนักศึกษามีไม่น้อยที่เมื่อจบการศึกษาแล้ว ก็สมัครทำงานต่อที่ประเทศไทยเลยโดยไม่ได้กลับไปทำงานที่บ้านเกิดอีก บางองค์กรใหญ่ ๆ ด้านการเงินก็รับพนักงานคนจีนเหล่านี้ทำงานโดยตรงครับ

ทั้งหมดเกิดจากนโยบาย "ก้าวออกไป(Zou Chu Qu)" ที่รัฐบาลจีนเป็นคนผลักดันครับ ต่อไปในอนาคตที่จังหวัดระยอง คนที่รู้ภาษาจีนอาจจะมีมากกว่าที่กรุงเทพก็ได้ เพราะที่นั่นกำลังเปิดเป็นนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับนักธุรกิจจากเมืองจีนโดยเฉพาะครับ  ถ้ามองอีกมุมคือการยึดเมืองขึ้นในรูปแบบใหม่ด้วย "อำนาจเงินตรา" แทนที่จะเป็นเรือปืนแบบโบราณครับ





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง