เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102359 ก้าวย่างในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 18:01

ได้รับการทวงการบ้าน เลยต้องรีบตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา 
แรกเริ่มเดิมทีก็ว่าจะเล่าความในกระทู้ของคุณ puyum เรื่อง คนไทยกับ AEC  แต่เห็นว่า ดูจะเป็นความหยาบคายมากไปหน่อยที่จะไปเบียดเบียนดำเนินเรื่องในกระทู้ของผู้อื่น
เลยขอตั้งกระทู้ใหม่ขึ้นมาครับ

จะขอเกริ่นไว้เสียแต่แรกว่า  ผมไม่มีความรู้ที่จะลงไปถึงรายละเอียดของความตกลงต่างๆของอาเซียน  และที่จะเล่าสู่กันฟังต่อจากนี้ไป ก็เป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ได้เห็น ได้สัมผัส และได้รับรู้มาในช่วงที่ทำงานอยู่ในเขต EU  ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อเกิด AEC
 
ความรู้อื่นๆนั้น ได้มาในช่วงที่ทำงาน ซึ่งได้มาจากการหาอ่านเพื่อทำความเข้าใจในเชิงของปรัชญาและพัฒนาการของทั้ง EU และ ASEAN  เพื่อนำไปใช้ในการทำงานให้เกิดเป็นผลประโยชน์สูงสุดกับประเทศเท่าที่ขึดความสามารถของตนเองจะกระทำได้ ผนวกกับสัมผัสลึกๆที่ได้มาจากการสนทนากันในหมู่นักการทูตของอาเซียน ที่ทำงานร่วมกันในความสัมพันธุ์แบบพหุภาคี

หลายคนพูดว่า EU กับ ASEAN มีที่มาและที่ไปไม่เหมือนกัน  ผมเห็นด้วยในเรื่องนี้ แต่ไม่ทั้งหมด ผมเห็นว่าคำกล่าวดังกล่าวนั้นสะท้อนเฉพาะเรื่องในช่วงแรกๆของพัฒนาการเท่านั้น  เส้นทางของพัฒนาการด้านความร่วมมือต่อๆมามีความคล้ายคลึงกันมาก รวมทั้งผลที่เกิดมาในเชิงของรูปธรรมอีกด้วย

ขอเรียนเชิญท่านผู้รู้ทั้งหลายได้ช่วยกันแสดงความเห็นด้วย เพื่อจะได้เกิดประโยชน์กับทุกหมู่คนไทย และเพื่อจะได้เห็นภาพต่างๆในมุมมองต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่สังคม AEC ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 18:50

เริ่มกันที่เรื่องของยุโรป
สรุปตามความเห็นของผมนะครับ คงจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์   

ยุโรปในประวัติศาสตร์ประกอบไปด้วยนครรัฐมากมาย มีการรวมกันแยกกันตลอด มีการปกครองแบบเจ้าสายนั้นสายนี้ครองเมืองนั้นเมืองนี้ มีการรวมเป็นอาณาจักร มีการขยายขอบเขตการปกครอง และก็มีเรื่องของการทะเลาะเบาะแว้งกันทั้งระหว่างเจ้าผู้ครองนครหรือระหว่างเผ่าพันธุ์ตลอดมา ชาวยุโรปเป็นจำนวนมากจึงอยากที่จะเห็นความสงบและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แนวคิดนี้มีการขีดเขียนเผยแพร่และแสดงออกมาให้เห็นจากผู้คนบางคนที่อพยพไปอยู่ในโลกใหม่ (ทวีปอเมริกา) แล้วก็มีบางคนที่เดินทางกลับยุโรปและพยายามจะดำเนินการ
 
เมื่อครั้งที่นโปเลียนได้ทำสงครามรบพุ่งขยายเขตครอบครองนั้น ได้ทำให้เกิดการสลายของเขตอาณาต่างๆทั่วยุโรปไปช่วงระยะเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นก็ได้มีความพยายามร่วมกัน (โดยผู้ที่ยังทรงอำนาจอยู่) ที่จะแบ่งเขตการปกครองกันใหม่ให้มีความชัดเจน ซึ่งก็คือการแบ่งแยกอาณาเขตเป็นประเทศๆแยกกันไป ซึ่งการเจรจากันนี้อยู่ในช่วงปี ค.ศ.1814 ที่รู้จักกันในชื่อว่า The Congress of Vienna  ผลของการเจรจาแบบอลุ่มอล่วยนี้ได้ทำให้เกิดความพอใจและไม่พอใจกันมากพอสมควร ซึ่งก็ได้กลายเป็นชนวนของความขัดแย้งต่อๆมาระหว่างรัฐต่างๆในอีกหลายเรื่อง มีการทำสนธิสัญญากันแล้วก็หักกันในหลายเรื่อง ซึ่งผมเห็นว่าเป็นยุคเิริ่มต้นของเหลี่ยมคูทางการเมืองระหว่างประเทศที่พัฒนาต่อมาจนถึงในปัจจุบัน

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 20:27

ความสงบในยุโรปได้เกิดขึ้น (แบบระแวงและคุกรุ่น)ต่อมาอีกประมาณ 100 ปี จากนั้นจากชะนวนเล็กๆก็ได้ขยายวงไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งการขยายวงก็มาจากเรื่องของสนธิสัญญาและความตกลงต่างๆนั่นเอง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง จะเรียกว่าแบบเลิกรากันไปเองก็คงพอจะได้ เนื่องจากตัวผู้จุดชนวนได้เสียชีวิตไป

เสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งแรก ก็เำพราะสนธิสัญญา ความเป็นประชาธิปไตยแบบเผด็จการ การขยายเขตอาณาในอาณัติ และแนวคิดของการอยู่แบบสังคมนิยมรัฐสวัสดิการ ก็ได้ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สองในอีกไม่กี่สิบปีต่อมา

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง แนวคิดเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวและความสงบสุขของยุโรปก็เกิดขึ้นมาอีก เซ่อร์วินสตันเชอร์ชิลก็เป็นคนหนึ่งที่เคยได้กล่าวคำว่า The United States of Europe  

หลังจากสงครามจบประมาณ 10 ปีต่อมา ก็ได้เกิดการรวมตัวของ 6 ประเทศ คือ ประเทศในกลุ่ม BENELUX (ฺBelgium, The Netherlands, Luxembourg) ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน เรียกว่า European Coal and Steel Community (ECSC) ประกาศเจตนารมภ์ร่วมกันว่าเพื่อเป็นการเริ่มต้นของ Federation of Europe อันประกอบด้วยการแบ่งปันทรัพยากรแบบฉันพี่ฉันน้อง   ซึ่งผมเห็นว่า ลึกๆแ้ล้วเป็นเรื่องของการรื้อฟื้นความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเคลื่อนย้ายอุปสงค์ด้านปัจจัยการผลิตทางอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศ และเป็นการร่วมมือเพื่อให้มีการถ่ายเทและร่วมทุนสำหรับการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน   จะอย่างไรก็ตาม EU ถือว่าจุดนี้คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนามาเป็น EU ในปัจจุบัน จะค้วยความคิดเบื้องลึกเช่นใดก็ตาม ECSC ก็ได้พัฒนาต่อไปเป็น European Economic Community (EEC) และทำภารกิจหลัก คือ สร้าง Custom Union หรือ การใช้ระบบและอัตราภาษีศุลกากรร่วมกัน จนมีประเทศอื่นๆในยุโรปอีกหลายประเทศเข้าร่วมด้วย ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็น European Union ในปัจจุบัน
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 21:32

มาดูฝ่ายทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้บ้าง

เราก็มีประวัติศาสตร์คล้ายๆกันกับยุโรป จากนครรัฐ ก็รวมเป็นอาณาจักร มีการทำสงครามกัน ฯลฯ จนแยกเป็นแต่ละประเทศ เราไม่เคยมีการเจรจาแบบพหุภาคีระหว่างผู้มีอำนาจปกครอง แต่ก็คงจะพอมีบ้างในลักษณะทวิภาคี ของความขุ่นข้องหมองใจที่ฝังอยู่ลึกๆระหว่างกันก็ย่อมต้องมีเป็นธรรมดา

ความต่างที่สำคัญระหว่างเรากับยุโรปนั้น (ในอดีต) ผมเห็นว่าเขามีพื้นฐานของความคิดที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (Outside in) แต่เราอยู่บนพื้นฐานของตัวใครตัวมันและการแข่งขันว่าใครจะอยู่อย่างมีสันติสุขได้ดีกว่ากัน (Inside out) เรามีบุคคลที่สาม (ประเทศมหาอำนาจ) ที่เข้ามาชักใยในเรื่องต่างๆ ตลอดจนการสร้างสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ ที่ทำให้ความรู้สึกที่ไม่อยากจะยุ่งเกี่ยวกันก็ต้องไปยุ่งกัน ทำให้เปลี่ยนความรู้สึกจากเพื่อนบ้านที่ไม่มีอะไรต่อกันกลายเป็นมีอะไรต่อกัน

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยเราก็เป็นสถานที่ตั้งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียใต้ (SEATO) ซึ่งอยู่ในบริบทของความร่วมมือทางทหารในยุคสงครามเย็น  ต่อมาก็เกิดอาเซียน ซึ่งในระยะแรกๆก็อยู่ในบริบทของการช่วยกัน ร่วมกันเป็นหนึ่งน้ำใจเดียวกันดูแลและช่วยกันบรรเทาสถานการณ์ที่เป็นภัย (Preventive diplomacy) รอบๆกลุ่ม (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงค์โปร์) ต่อมาเื่มื่อสถานการณ์ๆรอบตัวดีขึ้นประกอบกับเป็นช่วงที่โลกกำลังเดินเข้าสู่วิถีของ Globalization จึงได้เปลี่ยนจาก Preventive diplomacy (ช่วยกันป้องเหตุ) ไปเป็น Constructive diplomacy (ช่วยกันสร้างความรุ่งเรือง) แล้วก็พัฒนาต่อมาจนจะเป็น AEC ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้         

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 22:09


ความต่างที่สำคัญระหว่างเรากับยุโรปนั้น (ในอดีต) ผมเห็นว่าเขามีพื้นฐานของความคิดที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (Outside in) แต่เราอยู่บนพื้นฐานของตัวใครตัวมันและการแข่งขันว่าใครจะอยู่อย่างมีสันติสุขได้ดีกว่ากัน (Inside out) เรามีบุคคลที่สาม (ประเทศมหาอำนาจ) ที่เข้ามาชักใยในเรื่องต่างๆ ตลอดจนการสร้างสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ ที่ทำให้ความรู้สึกที่ไม่อยากจะยุ่งเกี่ยวกันก็ต้องไปยุ่งกัน ทำให้เปลี่ยนความรู้สึกจากเพื่อนบ้านที่ไม่มีอะไรต่อกันกลายเป็นมีอะไรต่อกัน

ครั้งหนึ่งพวกหัวก้าวหน้าของเราเคยมีสมมุติฐานว่า ยุุโรปยกเลิกระบอบราชาธิปไตยหันมาเป็นประชาธิปไตยแทน ก็เจริญรุ่งเรืองดีกว่าเก่า   ถ้าเราทำมั่งก็คงจะเป็นแบบเดียวกัน   จึงหยิบเอาประชาธิปไตยมาใช้กับประเทศไทยบ้าง
มันก็ไม่ต่างกันความคิดว่า ถ้า EU ได้ผล AEC ก็คงจะได้ผลเหมือนกัน

เคยไปเที่ยวฝรั่งเศสหลัง EU  พบว่าระบบเงินยูโรทำให้ของแพงขึ้นทันตาเห็น   อย่าว่าแต่ซื้อของเลย แค่กินก็ต้องระวังกระเป๋าฉีกแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 09:26

^
ก็คงจะเป็นอย่างความเห็นของคุณเทาชมพูครับ

จะได้กล่าวถึงต่อไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 11:28

สรุปในภาพกว้างๆ
ASEAN กับ EU มีจุดเริ่มต้นต่างกัน 

การรวมตัวของ ASEAN คล้ายกับการตั้งวงก๊วนเล่นกอล์ฟ   EU คล้ายกับการตั้งทีมฟุตบอล (ต้องมี ล์ ปิดท้ายหรือไม่เนี่ย)   เมื่อรวมกันได้ก็ต้องคิดถึงเรื่องที่จะทำร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มและแต่ละผู้ร่วมทีม ซึ่งหนีไม่พ้นเรื่องทางเศรษฐกิจ เิริ่มต้นก็เป็นเรื่องของการเอื้อประโยชน์และการอลุ่มอล่วยระหว่างสมาชิกด้วยกัน ต่อไปก็เพื่อประโชน์ของกลุ่ม

จากจุดเริ่มต้นของการจับกลุ่มที่ต่างกัน ก็เริ่มมีวิถีของแนวคิดต่อๆไปอยู่บนเส้นทางเดียวกัน มีเพียงวิธีการ (Implementing) และวิธีปฎิบัติการ (Executing) ที่ต่างกัน เนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคมต่างกัน 

EU ทำในเรื่องการลดความซ้ำซ้อนในการศุลกากร เนื่องจากแต่ละประเทศมีขนาดเล็กและใช้ท่าเรือส่งออก-นำเข้าร่วมกัน สินค้าใช้เวลาเดินทางไม่กี่ชั่วโมงก็ถึงเขตแดน เสียเวลาในตรวจตราสินค้าก่อนออกและตรวจก่อนเข้าเขตของแต่ละประเทศมาก สินค้าก็มีการผลิตและใช้คล้ายๆกันใแต่ละประเทศ มีการค้าขายและตลาดเหมือนๆกัน นำเข้า-ส่งออกกันทุกวัน แต่สินค้าต่างๆกลับอยู่ในพิกัดศุลกากรของแต่ละประเทศต่างกัน อัตราภาษีต่างกัน (excise tax, custom duties, tariff, ad valorem tax) รวมทั้งกระบวนวิธีการกีดกันสินค้าที่มิใช่ในทางภาษี (Non tariff barrier_NTB) ต่างกัน เหล่านี้เป็นต้น ทั้งหมดก็มีจุดประสงค์เพื่อให้สินค้าต่างๆสามารถไหลถ่ายเทและกระจายไปได้ทั่วๆ ซึ่งจะยังผลให้มีการเพิ่มปริมาณการผลิต กระจายรายได้และการหมุนเวียนของการเงินดีขึ้น ยังผลให้เศรษฐกิจในองค์รวมดีขึ้น

ASEAN ก็ทำเหมือนกันแต่ในอีกมุมหนึ่ง เช่น เิริ่มความตกลงในกรอบ ASEAN Industrial Projects (AIP), ASEAN Industrial Cooperation (AIC), Preferential Trading Arrangement (PTA)  ทั้งหมดเป็นในด้าน Implementing ซึ่งต่อมาก็ได้มีความตกลงกันในด้าน Executing จนกลายเป็น ASEAN Free Trade Area (AFTA)

ภาพง่ายๆของความตกลงต่างๆของ ASEAN และ EU นี้ คือ ทั้งคู่มองในเรื่องขนาดของตลาดและเรื่องของ Productivity   ซึ่งสำหรับ ASEAN นั้น สมาชิกจะเน้นหนักไปในเรื่องของการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ (Foreign Direct Investment_ FDI)         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 21:55

ในภาพกว้างๆ

กลุ่มประเทศ EU แต่แรกเริ่มประกอบด้วย เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์ก  มีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมคล้ายๆกับกลุ่มประเทศ ASEAN แต่แรกเริ่ม

ประเทศคู่ค้าสำคัญของ EU คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี พอจะเทียบได้กับของ ASEAN คือ ไทย มาเลเซีย และอินโนีเซีย 
ประเทศหน้าด่านธุรกิจนำเข้า-ส่งออกของ EU คือ เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม พอจะเทียบได้กับของ ASEAN คือ สิงคโปร์
ประเทศที่ทำธุรกิจการเงินการธนาคารของ EU คือ ลักเซมเบร์ก พอจะเทียบได้กับของ ASEAN คือ สิงคโปร์และบรูไน

ผมเห็นภาพต่างๆดังที่เล่ามาตั้งแต่ต้นกระทู้ เป็นภาพหลวมๆเพื่อการเปรียบเทียบ และคงจะพอเพียงเท่านี้  เป็นการปูทางเพื่อจะได้เดินเรื่องได้ต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.ค. 12, 19:34

ภาพใหญ่อีกภาพหนึ่งที่ผมเห็น คือ กระบวนแนวคิดพื้นฐานที่ต่างกันระหว่าง EU กับ ASEAN สำหรับการย่างก้าวต่างๆของการรวมกัน 

รัฐในยุโรปมีแนวคิดในการพัฒนาเรื่องต่างๆแบบยั่งยืน (Sustainable development) กล่าวคือ ผู้ที่จะเข้ามาร่วมจะต้องมีความสามารถในการแข่งขัน จึงต้องมีความพร้อมในด้านต่างๆที่สอดคล้องกับกลุ่มก่อนที่จะเข้าร่วมในเชิงของกฎระเบียบกติกาภายใน (Institutional Framework) และความสามารถที่จะเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ (คือสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้_Capacity Building)

ในขณะที่รัฐใน ASEAN มีแนวคิดในเชิงของการสร้างกรอบกติกากลางเป็นหลัก แล้วปล่อยให้แต่ละประเทศหรือประชาชนแสดงความสามารถเอาเองในการเล่นและแข่งขันกันตามกติกากลางนั้นๆ  ซึ่งเป็นแนวคิดที่คล้อยไปในอิทธิพลความคิดของสหรัฐฯ  เราจึงไม่ค่อยจะได้ยินคำว่า Sustainable development, Institutional framework และ Capacity building ในภูมิภาคนี้

ซึ่งผมเห็นว่า ด้วยเหตุนี้เราจึงมีแต่การพูดเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยแทบจะไม่เคยเห็นภาคการปฎิบัติที่เป็นกระบวนการอย่างชิ้นเป็นอันเลย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.ค. 12, 21:43

เอาละครับ ช่วงแรกนี้เหมือนกับขี่ม้าเลียบค่าย จากนี้ไปก็เริ่มเข้าเมือง

กรอบสังคมของ AEC ก็ไม่ต่างกับ EU สักเพียงใด ความตกลงต่างๆก็จะไม่หนีไปจากเรื่องของการสร้างระบบเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเคลื่อนที่อย่างไหลลื่นของของปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของธุกิจต่างๆ ได้แก่เรื่องในบริบทของคน เงิน สินค้า ภาษี ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมาย การค้า การลงทุน โครงการร่วมกัน การยุติข้อพิพาท สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสุดท้ายก็ในบริบทของเขตอำนาจบางอย่าง

ยังติดอยู่ว่าจะเริ่มอย่างไรดี ขอเวลาสักชั่วยามหนึ่งครับ  ยิงฟันยิ้ม     



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 04:11

คุณตั้งคงไม่อยากฟันธงลงไปว่าจะรอดหรือไม่รอด   หรืออาจจะแนะนำว่า  "ถ้าจะไปได้ดีก็ต้อง...."
เคยเห็นความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มาหลายอย่าง   ก็เกิดขึ้นและเสื่อมไปตามสภาพแวดล้อม และความจำเป็นของยุคสมัย
เดาให้ใจฝ่อเล่นๆว่า AEC ก็จะเดินรอยเดียวกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 18:06

คุณตั้งคงไม่อยากฟันธงลงไปว่าจะรอดหรือไม่รอด   หรืออาจจะแนะนำว่า  "ถ้าจะไปได้ดีก็ต้อง...."......
.....เดาให้ใจฝ่อเล่นๆว่า AEC ก็จะเดินรอยเดียวกัน

ครับผม

ปัจจัยที่จะทำให้ตัดสินใจได้ว่า จะรอดหรือไม่รอด หรือ ถ้าจะไปได้ดีก็ต้อง... นั้น มาจากกระบวนทัศน์ที่จะแสดงออกมาในทางปฏิบัติของคณะบุคคลในองคาพยพของรัฐบาล คณะบุคคลในองคาพยพของผู้บริหารในระบบราชการ และคณะบุคคลคนในองคาพยพในด้านการเมือง      ตราบใดที่ยังคงมองเห็นแต่ประโยชน์ของคณะของตน คือ ยังคงมองภาพเฉพาะความอยู่รอดของคนในระดับบน ยังไม่ก้มลงมองความอยู่รอดในระดับล่างและรากหญ้า ยังมีแต่การวิเคราะห์ด้านโอกาส (Opportunity) และเชื่อกับผลวิเคราะห์นั้นโดยขาดการนำเรื่องของภัย (Threat) ความแข็ง (Strength) และความด้อย (Weakness) มาพิจารณาร่วมด้วยแล้วดำเนินการแก้ไข ผมก็คิดว่าเมื่อนั้น เราก็คงจะได้เห็นภาพที่ไม่อยากจะเห็นกัน

ผมตั้งใจจะเล่าภาพที่ได้ประสบพบเห็นมาเท่านั้น เพียงเพื่ออาจจะทำให้สะกิดใจผู้อ่านและรู้ด้วยตนเองว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรตามฐานานุภาพของตน ก็เื่นื่องจากว่ายังไม่เห็นมีข่าวสารที่บอกกล่าวเล่าว่าคนในองคาพยพดังที่กล่าวมาเหล่านั้น ได้พูดถึง แสดงความเห็น สั่งการ ดำเนินกระบวนการใดๆที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาชนและประเทศให้มีภูมิคุ้มกันที่จะก้าวย่างอยู่ใน AEC อย่างไม่เจ็บตัวและมีความสุขสมบูรณ์ดี     แต่ก็คงมีที่จะต้องแว๊ปออกไปวิจารณ์บ้าง บ่นบ้าง ตามประสาครับ
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 19:34

เป็นเรื่องปรกติที่การขยายขนาดของเศรษฐกิจจะเกิดได้จากความร่วมมือซึ่งจะผนวกไปด้วยการลดปัจจัยต่างๆที่เป็นอุปสรรค ทุกประเทศคู้ค้าต่างก็ต้องการที่ให้อีกประเทศหนึ่งเอาสิ่งที่ตนเห็นว่าเป็นอุปสรรคออกไปให้มากที่สุด หรือไม่มีเรื่องใดๆมาขวางกั้นเลย ในภาพง่ายก็คือการค้าอย่างเสรีแบบไม่มีอะไรมารบกวน    Free Trade Area (FTA) จึงเป็นชื่อของกรอบที่จะทำการเจรจากัน  คราวนี้ก็จะมีชื่อกรอบย่อยๆเป็นองค์ประกอบที่จะต้องมาพูดคุยเจรจากัน

เรื่องมันเยอะและผมเองก็ไม่รู้เรื่อง (แบบงูๆปลาๆ) ทั้งหมด จึงจะยกเอาเฉพาะที่เห็นว่าน่าจะได้ตระหนักกันไว้เพียงสองสามเรื่องเท่านั้น

ในบริบทด้านคน เป้าหมายก็คือการเดินทางของบุคคลข้ามแดนไปมาอย่างอิสระเสรี ก็แล้วแต่จะใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไร เช่น Free movement of individuals, Free movement of persons, Free movement of people ซึ่งก็จะกินความหมายลึกซึ้งต่างกันไปตามที่คู่เจราจาจะจำกัดขอบเขตกัน รายละเอียดของเนื้อในมีได้หลายอย่างมาก เช่น กรณีการเข้าเมือง ไม่ต้องมีวีซ่าเลย ไม่ต้องใช้วีซ่าหากอยู่ไม่เกินกี่วัน  กรณีการทำงา่นได้หรือไม่ได้ในลักษณะใดบ้าง การขอใบอนุญาติทำงาน   กรณีการเจ็บป่วยและการประกัน   กรณีการประกอบอาชีพของบุคคล ห้ามหรือเปิดให้สามารถประกอบอาชีพใดได้บ้างในประเทศของตน ......ฯลฯ

ในบริบทด้านการค้าโดยทั่วไป เป้าหมายก็คือค้าขายสินค้าได้ทุกอย่างโดยไม่มีการกีดกันในเรื่องใดๆ  เช่นเดียวกัน ก็มีหลายชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ เช่น Free movement of Goods, Trade in Goods (และอาจจะบวกด้วย and Services), Trade and Investment     และก็เช่นเดียวกันว่าจะจำกัดขอบเขตกันเพียงใด    ไอ้ที่น่ากลัวคือ คำว่า Services หรือการบริการ และ Investment  เรื่องแรกคือการเปิดให้คนจากประเทศอื่นมาทำงานแย่งงานแย่งอาชีพของเรา เรื่องที่สองคือการที่เราต้องให้การปกป้องและสนับสนุนการลงทุนข้ามแดนของเขา ......ฯลฯ

ในบริบทด้านสินค้าเกษตรกรรม  เกือบทุกประเทศในมีผลิตภัณฑ์จากการเกษตรและส่งออก ซึ่งเรื่องนี้กระทบกับคนระดับรากหญ้าซึ่งเป็นประชากรหมู่มากของแทบจะทุกประเทศในโลก ซึ่งแม้ในบางประเทศจะเป็นประชากรหมู่น้อย แต่ก็เป็นกลุ่มคนที่ทำให้ทำให้ประเทศของตนมีความมั่นคงในแหล่งอาหาร ไม่ขาดแคลนอาหาร และไม่ต้องพึ่งพา (ปากท้อง) ประเทศอื่นๆ    การเจราจาความและความตกลงในด้านนี้จึงอยู่ในบริบทของตลาดที่เขาขอให้เปิด เราขอปิด  ก็คงได้ยินได้ฟังข่าวความหายนะของเกษตรไทยเป็นระยะๆที่ได้รับผลจากความตกลงที่ขาดการคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมซึ่งยังไม่มีขีดความในการแข่งขันกับต่างประเทศ

 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 20:25

ดีใจที่คุณตั้งเปิดกระทู้นี้ขึ้นมาคะ  มีเพื่อนที่ใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริการ่วม 30 ปีเพิ่งย้ายกลับมาอยู่เมืองไทย

เขาบอกว่าเขาเคยทำวิจัยเกี่ยวกับประเทศในภูมิภาคแถบนี้ เคยชวนเขาให้มาเล่าอะไรให้ฟังบ้าง

เขาบอกว่าถ้าให้พิมพ์ภาษาไทยตอนนี้ ยอมรับว่าพิมพ์ได้ช้ามาก  ก็เลยบอกว่าภาษาอังกฤษก็ได้

เขาก็บอกว่าขอเวลาหน่อย....แต่เขาเปรยว่า ประเทศรอบบ้านเราเขาเตรียมประชาชนของเขาแล้ว

แต่ไทยเขายังเงียบเชียบอยู่เลยเริ่มจากเรื่องภาษา เราก็สู้อีกหลายประเทศไม่ได้

แต่ตอนนี้ในมหาวิทยาลัยก็เปิดสอนภาษาของเพื่อนบ้านหลายประเทศพร้อมกันอย่างกับดอกเห็ด

บอกว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลคะ....

         เมื่อก่อนเคยสงสัยว่าทำไมยุโรปเขาเดินทางไปมาหาสู่กันได้ง่ายจัง (สะดวกสบาย )

ถ้าไปยุโรปก็อยากจะเดินทางไปหลายๆประเทศ ได้เห็นทั้งความเหมือนและความต่าง ดูมีเสน่ห์มากเลย

แต่ประเทศรอบบ้านเรากลับเหมือนต่างคนต่างอยู่ ด้วยความแตกต่างกันมีมากมายหลายด้าน

คงต้องใช้เวลาในการปรับตัวกันอีกมากเลยนะคะ
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 20:48

ภาพที่เห็นด้วยตาของเราและข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆที่เผยแพร่กันทั่วๆไปทุกๆวันของไทย คงจะให้ภาพของประเทศไทยได้ดีว่าอะไรเป็นอะไร

ยังไม่เป็น AEC เลย เราก็ได้เห็นคนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาอยู่เต็มเมือง ตามโรงงาน บ้านเรือน ภัตตาคาร ร้านค้า ตามสถานที่ๆกำลังก่อสร้าง ฯลฯ เต็มไปหมด เห็นถีบรถขายของ ขายไอติม (ไอซ์ครีม) ส่งหนังสือพิมพ์ แถมยังหยอดไข่ทิ้งไว้เป็นพยานเยอะแยะ  ได้เห็นคนไทยถือหนังสือเดินทางไทยที่สื่อสารภาษาไทยไม่ได้เลย ได้เห็นต่างชาติจากแดนไกลเป็นเจ้าของร้านอาหาร สถานเริงรมย์ แผงขายสินค้าในศูนย์การค้าทั่วไป
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง