เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102564 ก้าวย่างในยุค AEC
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 29 ก.ค. 12, 19:12

ใช่ค่ะ   พอคุณตั้งพูดเรื่องนี้ก็ทำให้นึกได้ว่าเมืองนี้ เมื่อก่อนเป็นเมืองปลอดยาเสพติด  แม้แต่อาชญากรรมตามถนนหนทางก็ไม่ค่อยพบเห็นกัน       แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว  ตอนนอนอยู่ในบ้านได้ยินเสียงไซเรนตำรวจวิ่งผ่านไป  ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยได้ยินเลย    ปรากฏว่าการทะเลาะวิวาทและทำร้ายร่างกาย มีมากขึ้น    แม้แต่ยาเสพติดก็มีข่าวว่าแอบเสพกันบ้างเหมือนกัน 
การอพยพจากคนต่างถิ่นที่อเมริกาต้องโอบอุ้ม จากภัยสงครามบ้าง  จากการหลบเข้าเมืองมาทำงานบ้าง  จากแรงงานอพยพบ้าง ทำให้อเมริกาเป็นเรือลำใหญ่ที่ต้องแบกผู้โดยสารหนักขึ้นทุกที   สภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป
ต่อไปประเทศไทยก็จะเจอแรงงานอพยพมากกว่าตอนนี้( เดี๋ยวนี้บางจังหวัดก็แทบจะเป็นแรงงานอพยพกันทั้งเมืองแล้ว)   ปัญหาชุมชนก็จะตามมา   อย่างที่คุณตั้งคาดคะเนไว้   ใครปลูกบ้านเดี่ยวๆอยู่ ไม่มีหมู่บ้าน ไม่มีชุมชนที่คุ้นเคยดีแวดล้อมอยู่ ก็ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 29 ก.ค. 12, 19:46

อีกเรื่องหนึ่งที่เราจะต้องพบเจอแน่นอน คือ ของแพงขึ้น ซึ่งคุณเทาชมพูได้กล่าวไว้แล้วในช่วงต้นๆกระทู้

ก่อนเกิด EURO Zone (ใช้เงินสกุลเดียวกัน) นั้น มีการกำหนดค่าของเงินของแต่ละประเทศในอัตราตายตัวต่อ 1 EUR. (ออกเสียงทั้งยูโรและออยโร) แล้วก็เอาค่าของเงินยูโรนี้ไปผูกแบบลอยอยู่กับเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ  ผมจำได้ไม่แม่นแล้วนะครับ เช่น ประมาณ 13 ชิลลิ่งออสเตรีย เท่ากับ 1 ยูโร และประมาณ 2000 ลีร์ (ลีร่า) อิตาลีเท่ากับ 1 ยูโร  เมื่อเริ่มการใช้เงินสกุลยูโร ของเก่าชิ้นหนึ่งราคา 1 ชิลลิ่ง ก็กลายเป็น 1 ยูโรในบัดดล อาหารราคาประมาณ 10,000 ลีร์ ก็กลายเป็นประมาณกว่า 6 ยูโรขึ้นไปในทันที แล้วทุกอย่างก็ค่อยๆปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องตามค่าของเงินเมื่อเทียบกับดอลล่าร์     ผมคิดว่าคงจะเป็นการปรับราคาแบบคิดง่ายๆของพ่อค้า คือ ไฉนเล่าจะไม่เทียบราคาในเชิงของหน่วยตัวเลขให้ได้ประมาณใกล้กัน

เรื่องเช่นนี้คงจะต้องเกิดขึ้นใน AEC แม้ว่าจะยังไม่มีการคิดไปถึงเรื่องของการใช้เงินสกุลเดียวกันก็ตาม เพียงแต่ยังไม่รู้ว่าคนค้าขายในประเทศใดของอาเซียนจะไปอ้างราคาของของประเทศใดในการกำหนดราคาสินค้าหรือการให้บริการของตน     อย่างไรก็ตาม ในภาพกว้างๆแล้ว ก็คือ ทุกคนก็จะพยายามปรับราคาไปในทางสูงขึ้นให้ไปใกล้เคียงกับประเทศที่มีราคาของสูงที่สุด แล้วปรับให้ถูกลงกว่าเล็กน้อยเพื่อการแข่งขัน    ในองค์รวม ราคาของทุกอย่างก็จะปรับไปอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นราคาที่มิได้อยู่บฐานของความเป็นจริง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาพสองมาตรฐานราคา คือ สำหรับคนของตนและคนอื่น  
ซึ่งเมื่อคิดไกลต่อไป ก็อาจคิดต่อไปในเชิงของ prosperity ซึ่งแต่ละประเทศคิดอยู่บนพื้นฐานต่างกัน    เมื่อเห็นความต่างและต้องการให้มีการพิจารณาในมุมของตนบ้าง (ในการเจรจาต่างๆเพื่อเงื่อนไขในการแสวงประโยชน์ของตน) ก็คงจะไปสู่การอ้างอิงบนพื้นฐานของตระกร้าเงินในภาพรวมของอาเซียน  ก็คงจะไม่ต่างไปมากนักจากสภาพเมื่อครั้งก่อนเกิด Euro Zone    

ผมเห็นภาพของ AEC นี้ในมุมมองของคนที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ครับ  ผิดถูกอย่างไร ชำแหละได้เลยครับ      
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 00:08

เรื่องราคาสิ้นค้าที่จะเกิดการปรับเปลี่ยนที่คุณตั้งคาดการณ์นี้ ดิฉันยังนึกไม่ออกว่ามันจะสร้างปัญหาให้กับประชาชน คนชั้นกลางและล่าง
ในประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องที่ ต้องอาศัยข้อมูลในระดับลึก ....และประสบการณ์ค่อนข้างสูง จึงจะมองออก

หากคุณตั้งยกเป็นโจทตุ๊กตา คงจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

เคยไปอิตาลี ออสเตรียก่อนใช้เงินยูโร รู้สึกว่าของไม่แพงเท่าไหร่ แต่ตอนหลังเมื่อใช้ยูโรแล้ว รู้สึกของแพงขึ้นมาก

ทุกวันนี้ช่องว่างทางฐานะของคนไทยก็มีมากอยู่แล้ว ต่อไปจะยิ่งมีปัญหามากขึ้นไหมคะเนี่ย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 21:45

คำตอบจากภาพที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก   ตัวอย่างหนึ่ง คือ

เมื่อเปิดเสรีการลงทุน สินค้า และการบริการ   
สินค้าต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้คนในแต่ละประเทศ ซึ่งมีการผลิตอยู่แล้วเป็นปรกติอยู่ในแต่ละประเทศ ก็จะพยายามขยายตลาดไปยังอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งวิธีการทำตลาดอย่างหนึ่ง ก็คือ การขายในราคาที่ย่อมเยาว์กว่าและด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคูณภาพที่ดูดีกว่า  หากผู้ซื้อเห็นว่าถูกกว่าและดีกว่าของที่ทำในประเทศ สินค้านั้นๆก็จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เมื่อผู้ผลิตสินค้าภายในถูกแย่งตลาดไปมากจนทำให้ต้องลดปริมาณการผลิต จนถึงระดับหนึ่งก็จะพ้นจุดคุ้มทุน ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขได้ก็จะนำไปสู่การเลิกกิจการ  สินค้าที่ผลิตในต่างประเทศที่เข้าจำหน่ายนั้นก็จะเริ่มขายในราคาที่สูงขึ้น สูงขึ้นจนเลยระดับเดิมที่เราเคยซื้อ แล้วก็ยึดตลาดไปในที่สุด    ดูของใกล้ตัวเราก็คงจะพอได้ เช่น กระเทียม หอมแดง กุณแจที่ใช้เกาะล็อกประตู .....ฯลฯ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 19:38

แม่บ้านที่เคยซื้อหอมกระเทียมเป็นเครื่องปรุงประจำครัวอยู่เสมอ คงเห็นว่าราคากระเทียมพุ่งขึ้นอย่างน่ากลัว เคยซื้อกระเทียมทางอิสาน กลีบเล็กๆ

ตกกิโลละ 120-160 บาท (จำได้ว่าตอนน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว พอน้ำลดราคากระเทียมก็พุ่งกระฉูด จนเกือบจะประท้วงด้อยการงดทานกระเทียมซะแล้ว)

ตอนนี้ราคาลดลงบ้างแล้วแต่ก็อยู่ที่ 100กว่าบาท เทียบกับเมื่อก่อน80-90 บาทก็ถือว่าแพงแล้ว

แต่ถ้าเลือกได้จะทานกระเทียมไทยคะ ....ชาตินิยม...อิอิ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 19:42

อีกอย่างที่ขอบ่นเพราะ ดิฉันแทบขาดไม่ได้ คือรากผักชี ตำกับกระเทียม พริกไทย เก็บไว้เป็น 3 เกลอ หมักอะไรก็อร่อย

แต่แทบช๊อคเมื่อพบว่า ราคาขีดละ 50 บาทและบางครั้งก็หาไม่ได้เลย สามเกลอนี่เป็นเครื่องปรุงรสพื้นฐานของครัวไทยก็ว่าได้นะคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 19:49

ผมกำลังเข้าสู่สถาพอึดอัด คิดว่าจะพยายามเล่าเรื่องต่างๆต่อไปอย่างไรดี เรื่องต่างๆแม้จะเป็นคนละเรื่อง คนละพัฒนาการกัน แต่มันก็เกี่ยวพันและผูกพันกัน  จึงเรียบเรียงเรื่องที่จะเล่าได้ยากขึ้นเรื่อยๆ บางส่วนก็เป็นเรื่องภายในของเราเอง บางส่วนก็เป็นเรื่องภายในระหว่างประเทศสมาชิก และในหลายๆเรื่องก็เป็นผลพวงมาจากอิทธิพลภายนอก ซึ่งเรื่องหลายเรื่องก็ไม่สมควรที่จะเล่าลงไปลึกๆแบบสาธารณะ   ขอใช้คำภาษาอังกฤษว่า Complicated & Sophisticated

จะด้วยเหตุใดก็ตาม ในขณะนี้เราจะเห็นว่าสื่อต่างๆเริ่มรายงานความเห็นของนักวิชาการและของหน่วยงานต่างๆมากขึ้น  ซึ่งผมเห็นว่าเราเริ่มจะมีข้อมูลให้พิจารณาและขบคิดเพื่อทำความเข้าใจในตรรกที่มาและที่จะไปต่างๆมากขึ้น   รวมทั้งพอที่จะได้เห็นภาพของผลกระทบทั้งในทางบวก (ที่มักจะปรากฎตามสื่อ) และในทางลบ (ที่ไม่ค่อยจะปรากฎตามสื่อ)   ก็เลยคิดว่าสมควรจะใช้เวลาในการย่อยข้อมูลและสร้างจินตภาพของความสัมพันธ์ต่างๆสักระยะหนึ่ง   ก็เลยคิดว่าจะปล่อยให้กระทู้นี้ค่อยๆเลือนลางจางลงไปในช่วงนี้ครับ    และขอออกตัวย้ำว่าผมมิใช่ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ผมเป็นเพียงผู้หนึ่งที่ได้มีโอกาสทำงานในทางลึกบางเรื่องและได้เห็นภาพที่เกิดขึ้นจริงในบางเรื่องเท่านั้นครับ

 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 21:02

พอจะเข้าใจ สิ่งที่คุณตั้งกังวลอยู่คะ เราอาจจะปล่อยกระทู้นี้ไปตามธรรมชาติ คือไม่เร่งรัด

ยังมีเรื่องอื่นๆที่เราจะคุยกันได้อีกเยอะแยะไป คาดว่าสมาชิกเรือนไทยก็จะเข้ามาร่วมพูดคุยด้วย

ตามความสนใจของแต่ละท่าน...คะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 02 ส.ค. 12, 18:46

ถ้าไม่สนุกที่จะคุยเรื่องนี้แล้วก็เริ่มหัวข้อใหม่ กระทู้ใหม่กันก็ได้ค่ะ   เชื่อว่าคุณตั้งมีอะไรสนุกๆจากประสบการณ์ ถ่ายทอดให้พวกเราได้ฟังกันอีกมากนะคะ
เท่าที่คุยกันมาเกือบ ๑๐๐ ค.ห.นี้ก็ถือว่าคุณตั้งให้ความรู้มากเอาการแล้ว   ต่อไป ถ้าใครสนใจจะเข้ามาถามอะไรอีก  ก็ทำได้
เพราะเรือนไทย กระทู้เก่าก็ยังดึงขึ้นมาได้เสมอ แม้ตกหน้าไปแล้วก็ตาม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 02 ส.ค. 12, 19:53

อีกเรื่องหนึ่งที่เราจะต้องพบเจอแน่นอน คือ ของแพงขึ้น ซึ่งคุณเทาชมพูได้กล่าวไว้แล้วในช่วงต้นๆกระทู้

ก่อนเกิด EURO Zone (ใช้เงินสกุลเดียวกัน) นั้น มีการกำหนดค่าของเงินของแต่ละประเทศในอัตราตายตัวต่อ 1 EUR. (ออกเสียงทั้งยูโรและออยโร) แล้วก็เอาค่าของเงินยูโรนี้ไปผูกแบบลอยอยู่กับเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ  ผมจำได้ไม่แม่นแล้วนะครับ เช่น ประมาณ 13 ชิลลิ่งออสเตรีย เท่ากับ 1 ยูโร และประมาณ 2000 ลีร์ (ลีร่า) อิตาลีเท่ากับ 1 ยูโร  เมื่อเริ่มการใช้เงินสกุลยูโร ของเก่าชิ้นหนึ่งราคา 1 ชิลลิ่ง ก็กลายเป็น 1 ยูโรในบัดดล อาหารราคาประมาณ 10,000 ลีร์ ก็กลายเป็นประมาณกว่า 6 ยูโรขึ้นไปในทันที แล้วทุกอย่างก็ค่อยๆปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องตามค่าของเงินเมื่อเทียบกับดอลล่าร์     ผมคิดว่าคงจะเป็นการปรับราคาแบบคิดง่ายๆของพ่อค้า คือ ไฉนเล่าจะไม่เทียบราคาในเชิงของหน่วยตัวเลขให้ได้ประมาณใกล้กัน

เรื่องเช่นนี้คงจะต้องเกิดขึ้นใน AEC แม้ว่าจะยังไม่มีการคิดไปถึงเรื่องของการใช้เงินสกุลเดียวกันก็ตาม เพียงแต่ยังไม่รู้ว่าคนค้าขายในประเทศใดของอาเซียนจะไปอ้างราคาของของประเทศใดในการกำหนดราคาสินค้าหรือการให้บริการของตน     อย่างไรก็ตาม ในภาพกว้างๆแล้ว ก็คือ ทุกคนก็จะพยายามปรับราคาไปในทางสูงขึ้นให้ไปใกล้เคียงกับประเทศที่มีราคาของสูงที่สุด แล้วปรับให้ถูกลงกว่าเล็กน้อยเพื่อการแข่งขัน    ในองค์รวม ราคาของทุกอย่างก็จะปรับไปอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นราคาที่มิได้อยู่บฐานของความเป็นจริง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาพสองมาตรฐานราคา คือ สำหรับคนของตนและคนอื่น  
ซึ่งเมื่อคิดไกลต่อไป ก็อาจคิดต่อไปในเชิงของ prosperity ซึ่งแต่ละประเทศคิดอยู่บนพื้นฐานต่างกัน    เมื่อเห็นความต่างและต้องการให้มีการพิจารณาในมุมของตนบ้าง (ในการเจรจาต่างๆเพื่อเงื่อนไขในการแสวงประโยชน์ของตน) ก็คงจะไปสู่การอ้างอิงบนพื้นฐานของตระกร้าเงินในภาพรวมของอาเซียน  ก็คงจะไม่ต่างไปมากนักจากสภาพเมื่อครั้งก่อนเกิด Euro Zone    

ผมเห็นภาพของ AEC นี้ในมุมมองของคนที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ครับ  ผิดถูกอย่างไร ชำแหละได้เลยครับ      

คลิปนี้ น่าจะใกล้เคียงเหตุการณ์ที่คุณตั้งบอกครับ ในแง่ของค่าเงินนะครับ

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 02 ส.ค. 12, 19:55

เมื่อเกิด EU ขึ้นมาแรกๆนั้น กาีรเคลื่อนย้ายของคนและสินค้าผ่านแดนมิได้เปลี่ยนแปลงไปมากระหว่างประเทศคู่ค้าที่สำคัญจากที่มีการค้าขายกันอยู่แต่เดิม แต่ก็เริ่มมีการเคลื่อนย้ายของคนจากนอกเขตเข้ามาในเขต EU มากขึ้นมาก   ประเทศสมาชิกแรกเริ่มบางประเทศเิริ่มจะเห็นว่าหากไม่มีมาตรการป้องกันหรือจำกัดสิทธิบางประการ ผู้ที่จะเคลื่อนย้ายเข้่ามาเมื่อมีการขยายเขต EU ก็จะเข้ามาเบียดแข่งการให้บริการทางวิชาชีพและแรงงานฝีมือ จึงมีการออกกฎระเบียบบางอย่างเพิ่มเติม เช่น ผู้ที่จะเข้ามาทำงานได้จะต้องสามารถพูดและอ่านภาษาของตนได้ ต่อมาเมื่อมีการขยายเขตจริงๆ ก็มีการขยายกฎระเีบียบที่มีข้อจำกัดเพิ่มมากขึ้น เช่น ในเรื่องของภาษา จะต้องสามารถสอบผ่านเสียก่อน (เหมือนสอบ TOEFL) หรือในด้านความรู้ทางวิชาชีพที่จะเข้ามาทำงานหรือประกอบกิจการ ก็จะต้องสามารถสอบผ่านตามเกณฑ์ที่องค์กรที่ดูและวิชาชีพนั้นๆกำหนดไว้เสียก่อน จึงจะได้ใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพนั้นๆได้ในเขตอาณาของตนได้ ซึ่งใบสำคัญสำหรับการประกอบอาชีพนี้ก็ไม่สามารถใช้ในประเทศสมาชิกอื่นของ EU ได้ด้วย     



เคยได้ยินข่าวว่าราชบัณฑิตมีความพยายามจะทำอยู่เหมือนกันครับ แต่ก็......
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 02 ส.ค. 12, 20:01

สำหรับกรณี คนต่างถิ่นเข้ามาแต่งงานมีลูกมีหลานและได้สัญชาติของอีกประเทศหนึ่งนั้น  ผมเห็นว่าเขา (หลายประเทศ) ก็มีวิธีการแก้ที่แยบยล (แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับประเทศไทยก็ได้)   เด็กที่เกิดในประเทศเขา จะเป็นลูกผสมหรือโดยสถานที่เกิดก็ตาม เด็กเหล่านี้จะมีสิทธิได้รับการดูแลตามระบบของเขาเฉกเช่นพลเมืองของเขา เนื่องจากเด็กเหล่านี้ (ตามกฎหมาย) จะมีโอกาสเลือกและสละสัญชาติได้เมื่ออายุครบตามเกณฑ์กำหนด ดังนั้น เขาจึงใช้วิธีการหลอมให้เป็นพลเมืองที่ดีของเขาด้วยชีวิต จิตใจและปรัชญาแนวคิดตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆจนเติบใหญ่  ทำให้ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเลือกสัญชาติใดในเวลาต่อมา ก็จะกลายเป็นคนที่มีพื้นฐานความคิดแบบเขา อยู่ร่วมกับเขาได้โดยไม่มีปัญหาทางด้านลึกของจิตใจ

ประเทศใน EU เขาคิดมากและไปไกลถึงขนาด ในมุมหนึ่งเป็นการเสริมสร้างเกราะมิให้เด็กเหล่านั้นกลายมาเป็นปัญหาสำหรับเขาในอนาคต และในอีกมุมหนึ่งเป็นการฝังระบบคิดใต้จิตสำนึกให้เป็นคนที่มีปรัชญาแนวคิดแบบเขา     หลายประเทศที่มิใช่ EU ก็ทำเหมือนกัน   ที่เห็นมาคือ การฝังปรัชญาและจิตสำนึกด้วยการ์ตูน เช่น เยอรมันใช้หุ่นกระบอก อเมริกาใช้ Big bird  ญี่ปุ่นใช้การ์ตูน เป็นต้น
     
ตัวอย่างที่ดูจะเห็นชัดที่สุด คือ ในเรื่องเล่าและการ์ตูนของไทยทุกเรื่องจะตั้งอยู่บนปรัชญาว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม (หรือ ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว หรือ กรรมตามสนอง หรือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)     ในขณะที่การ์ตูนของญี่ปุ่นแทบจะทุกเรื่องจะตั้งอยู่บนปรัชญาว่า อย่าท้อถอย (สภาพของร่างกายและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องสำคัญ จิตใจต้องเข้มแข็ง สู้ต่อไป ความสำเร็จรออยู่เบื้องหน้า)     และในขณะที่ของฝรั่งโดยรวม คือ เชื่อมั่นด้วยการกระทำดี (ให้พระเจ้าได้เห็น ผลจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับพระเจ้าจะพิจารณา ซึ่งพระเจ้าไ่ม่เคยทอดทิ้งเรา)

ไม่รู้ว่านโยบายในองค์รวมของเรามีการคิดนอกกรอบไปจากในเรื่องของเศรษฐกิจ รายได้ และปริมาณของเงิน มากน้อยเพียงใด     



ปัญหานี้อาจจะลดลงครับ หากพม่ามีการเปิดประเทศและเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมเต็มตัว เพราะแรงงานร้อยละ ๙๐ ในบ้านเราถือสัญชาติพม่าครับ

ยกเว้นบางที่ บางแห่ง ซึ่งได้ข่าวมาว่า มีการสัญญาว่าจะออกบัตรประชาชนไทยให้ ทั้ง ๆ ที่บุคคลเข้าเมืองเหล่านั้นไม่ได้แต่งงานกับคนไทยอย่างนี้ก็มี  หรือจะเป็นกรณีที่ปัจจัยอื่น ๆ ถึงพร้อมก็อาจจะได้สัญชาติไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องแต่งงานกับคนไทยครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 02 ส.ค. 12, 22:02

ลองพิจารณาข้อมูล (ในภาพที่ผมเห็น) เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบการนำไปขบคิด ครับ

ในบริบทของอิทธิพล ในภาพกว้างแบบสรุปย่อ
เกาะและแผ่นดินในเอเซียเคยอยู่ในอิทธิพลของสเปน ปอร์ตุเกต ดัชท์ อังกฤษและฝรั่งเศส  อเมริกาเข้ามาภายหลัง  สเปนเน้นไปในด้านการค้นพบโลกใหม่และทรัพยากรประเภทโลหะมีค่า (ทองคำและศาสนา)  ปอร์ตุเกตเน้นไปในด้านการครองสถานีทางการค้า (ศาสนาและเมืองท่า) ดัชท์เน้นไปทางเส้นทางการค้า (Logistics) อังกฤษเน้นไปทางการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ และฝรั่งเศสเน้นไปทางการแข่งขันกับคู่รักคู่แค้นอังกฤษ  ประเทศในยุโรปเหล่านี้ ได้หมดอิทธิพลไปเกือบจะสิ้นเชิงในยุคหลังสงครามโลก แต่ทั้งหมดก็ยังคงมีปรัชญาความคิดดั้งเดิมตกค้างอยู่ในใจ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็คือประเทศเหล่านี้เคยมีอิทธิพลเหนือภูมิภาคเอเซียนี้  
อเมริกาเน้นไปทางการจัดกฎกติกาและระเบียบ (สร้างให้เกิดความเป็นเสรีในความคิดและในทางปฎิบัติ) เริ่มปรากฎตัวและเข้ามาอิทธิพลในเชิงความนึกคิดหลังจากการเปิดประตูประเทศญี่ปุ่น (ปี ค.ศ.1854)
จีน เมื่อเข้าปลายยุคของราวงค์หมิง จีนลดการให้ความสนใจกับการปรากฎตัวต่อโลกภายนอก ต่อมาภายหลังสงครามโลก จึงได้แสดงตนให้การสนับสนุนกับแนวร่วมในตรรกของลัทธิการปกครองแบบจีน
ญี่ปุ่น หลังสงครามโลกได้ขยายการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงสงครามกาหลีและเวียดนาม จนสามารถสร้างสถานีการผลิตใหม่นอกประเทศอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
อินเดีย เมื่อก้าวพ้นการต่อสู้เพื่อให้พ้นการอยู่ในอาณัติของอังกฤษ ก็เข้าสู่แนวคิดเป็นกลาง จนกระทั่งเกิดการล่มสลายของรัสเซีย จึงเริ่มแสดงตนในแวดวงความป็นตลาดขนาดใหญ่
เกาหลี พยายามก้าวกระโดดการพัฒนาประเทศไปสู่ลักษณะการเป็นประเทศอุตสาหกรรมด้วยระบบการอุดหนุนและเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมาย และพยายามก้าวไปอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ให้  

เมื่อเกิดอาเซียน 5 แล้วขยายไปเป็นอาเซียน 10    เกิด APEC   เิกิด NAFTA   เกิด AFTA    กลายเป็นกลุ่มของวงการค้าขนาดใหญ่   ก็คงไ่มีประเทศใดอยากจะตกขบวนรถ ทุกประเทศจึงพยายามเข้ามามีความเกี่ยวสัมพันธ์กันในทุกวง  ทำให้เกิดพี่เบิ้มสองคน คือ อเมริกาและจีน กลุ่มประเทศในยุโรปหรือ EU กลายเป็นผู้อยู่นอกวงไป

EU ก็ต้องพยายามจะเจาะตลาดแน่นอน  ซึ่งก็คงจะต้องเริ่มจากประเทศในอาณัติเดิมของตนซึ่งยังคงมีคนทีอยู่ใน School of thought แบบตนอยู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เคยได้ไปร่ำเรียนในประเทศของตน และเป็นคนซึ่งอยู่ในระดับบริหารหรือเป็นผู้นำทางความคิด

ดูๆแล้วเหมือนกับว่าไม่เกี่ยวอะไรกับไทยเลย   ด้วยลักษณะพิเศษของไทย ไทยจึงกลายเป็นศูนย์ปฏิบัติการที่สำคัญของมหาอำนาจและูผู้มีอิทธิพลทั้งเก่าและใหม่เหล่านั้น ไทยเป็นเสียงที่สำคัญในอาเซียน เพียงหากปรับเปลี่ยนหางเสือของไทยได้ เขาก็จะได้ประโยชน์   ภาพในทางความคิดและการเมืองของไทยในช่วงที่ผ่านมาคงพอจะบอกได้ไม่ยากว่าจะทำได้อย่างไร

    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 04 ส.ค. 12, 19:26

ในบริบทของตำแหน่งที่ตั้งทางภูิมิศาสตร์ ทรัพยากร และ Political geography  ในภาพกว้างๆแบบย่อๆ

ในพื้นที่ของมหาสมุทรแปซิฟิก  ด้านเหนือเป็นอยู่ในเขตอิทธิพลของรัสเซีย อเมริกา    ด้านตะวันออกเป็นของอเมริกา    ด้านใต้ยังพอจัดได้ว่าเป็นเขตปลอด    ด้านตะวันตกเป็นเขตต่อเนื่องตั้งแต่รัสเซีย ลงมาจีนและญี่ปุ่น    ต่ำลงมากว่านั้นก็เป็นของกลุ่มประเทศในอาเซียน
เราทราบกันอยู่แล้วว่าด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกนี้ (ซึ่งก็คือซีกโลกด้านตะวันออก)  ในภาพรวมๆ ก็คือเป็นเส้นทางการเดินเรือและการค้าที่สำคัญระหว่างยุโรปและเอเซียมานานแล้ว ซึ่งในระยะแรกๆที่มีการค้นพบและเปิดเ้ส้นทางโดยโลกตะวันตกนั้น เกือบจะไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ออกมาจากแผ่นดินจีนโดยตรง ภูมิภาคอาเซียนเป็นเพียงคล้ายๆสถานีซื้อขายสินค้าระหว่างจีนกับยุโรป   เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่การค้าสินค้าอุตสาหกรรม เส้นทางนี้ได้กลายเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญ เป็นเส้นทางที่จะต้องเดินทางอ้อมแหลมไทย ผ่านทางช่องแคบมะลักกา  และเมื่อจีนได้เขาสู่ภาคการค้าสินค้าอุตสาหกรรมในปัจจุบัน เส้นทางอ้อมแหลมไทยนี้ก็จึงทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อทุกประเทศทางขอบแปซิฟิกด้านนี้ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงาน (น้ำมัน) จากตะวันออกกลาง ซึ่งต้องขนถ่ายผ่านทางช่องแคบมะลักกา 
แหล่งพลังงานจากตะวันออกกลางนี้ แม้จะเริ่มมีการเปิดให้สัมปทานสำหรับธุรกิจภายนอกประเทศมาตั้งแต่แรกเริ่มของศตวรรษที 20 (ค.ศ. 1900+) แต่ก็ยังไม่เป็นเรื่องที่จัดให้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งยวดจนหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างสูงสุดเมื่อจีนเริ่มเปิดรับระบบอุตสาหกรรมและการค้าแบบเสรีนิยม 
ผมไม่มีตัวเลขของจีน แต่สำหรับญี่ปุ่นนั้น มากกว่า 85% ของน้ำมันที่ใช้ในญี่ปุ่นนั้นมาจากตะวันออกกลาง  คิดดูว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด   ญี่ปุ่นใช้ก๊าซธรรมชาติประมาณ 70% ของที่อินโดนีเซียสามารถผลิตได้  ของไทยเรานั้น เข้าใจว่าเราคิดว่าหากสามารถรักษาระดับการพึ่งพาแหล่งพลังงานที่สามารถผลิตได้ด้วยตนเองประมาณ 35% ก็น่าจะมีความมั่นคงพอเพียงในการรักษาระดับความเจริญทางเศรษฐกิจในระดับที่พอใจต่อไปได้ 

ถึงตรงนี้ คงจะเริ่มไม่แปลกใจแล้ว (ในอีกมุมมอง) ว่า ทำไมไทยจึงเป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญทางอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศต่างๆ   

และหากจะลองพิจารณาดูภาพของอาเซียนและ AEC (โดยเฉพาะไทย) ว่าจะเป็นภาพใดนั้น   ก็ลองใช้องค์ประกอบอื่นๆพิจารณาร่วมไปด้วย  ก็น่าจะพอเห็นภาพได้  และหากจะยืดความคิดฝันเฟื่องไปให้ไกลแบบสุดๆ ก็น่าจะต้องลองพิจารณาคำว่า a set of regular irregularity  ที่เกิดขึ้นในปัจุบัน ในมุมของทฤษฎี Chaos theory ไปด้วย             
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 04 ส.ค. 12, 19:49

ดิฉันติดตามกระทู้คุณตั้งด้วยความตั้งใจเสมอต้นเสมอปลาย      หลังจากติดตามมาระยะหนึ่งก็ขอรับสารภาพว่า ยิ่งอ่านยิ่งตระหนักถึงความไม่รู้ของตัวเอง  ก่อนหน้านี้ใช้วิธีอ่านหลายๆหนแล้วตีความ บวกกับขอพระอินทร์ช่วยส่องกล้องให้  จึงพอจะกล้อมแกล้ม ติดตามอ่านมาถึงค.ห.ตรงนี้ได้

มาถึงข้างล่างนี้ ตกม้าตายสนิท

อ้างถึง
และหากจะลองพิจารณาดูภาพของอาเซียนและ AEC (โดยเฉพาะไทย) ว่าจะเป็นภาพใดนั้น   ก็ลองใช้องค์ประกอบอื่นๆพิจารณาร่วมไปด้วย  ก็น่าจะพอเห็นภาพได้  และหากจะยืดความคิดฝันเฟื่องไปให้ไกลแบบสุดๆ ก็น่าจะต้องลองพิจารณาคำว่า a set of regular irregularity  ที่เกิดขึ้นในปัจุบัน ในมุมของทฤษฎี Chaos theory ไปด้วย       

มันคืออะไรคะ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง