เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102601 ก้าวย่างในยุค AEC
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 16:02

แค่งบประมาณด้านสาธารณสุขที่ต้องจ่ายจากบริการขั้นพื้นฐาน ที่เฉลี่ยเป็นรายหัว

ก็น่าเป็นห่วงว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ถึงจะพอ คนต่างชาติที่รัฐบาลของเขาไม่สนใจ

หนีตายมาอยู่ มาให้คนไทยดูแล มากมายมหาศาล จะกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อมหรือไม่

คนไทยอีกมากมายที่อยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญ ยังต้องการการดูแลรักษาอีกมาก

แต่คนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในเมืองหลวงและปริมณฑล กลับเข้าถึงการรักษาง่ายกว่า

บ่นแบบนี้ในนี้ยังพอได้นะครับ ไปบ่นข้างนอกระวัง NGO เขาจะเคืองนะครับ .......
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 16:09

http://www.pantip.com/cafe/silom/topic/B12054342/B12054342.html

นี่คือตัวอย่างของคนจีนแผ่นดินใหญ่ ที่เข้ามาอาศัยและทำมาหากินในเมืองไทยครับ


นอกจากภาษาที่ต้องรู้แล้ว อย่าลืม "ซื้อที่ดิน" เก็บไว้บ้างนะครับ อนาคตระวังคนต่างชาติเงินหนา เขาจะมากว้านเป็น Lot ใหญ่ ๆ ไปนะครับ

นอกจากคนจีนแล้ว ก็ยังมีคนเกาหลี , คนอินเดีย ที่เข้ามาทำอาชีพแข่งกับคนไทยอย่างเปิดเผย

คนอินเดียนี่ ยั้วเยี้ยไปหมดในด้านของคอมพิวเตอร์ บริษัทข้ามชาติของอินเดียได้งานคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ของแวดวงธุรกิจไทยไปไม่น้อยแล้ว

ส่วนคนเกาหลี เริ่มเข้ามาทำใน "..อาชีพสงวน.." ของคนไทยแล้วเหมือนกันครับ

 อนาคตไม่อยากจะคิดครับว่า เจ้าของประเทศตัวจริงจะเป็นอย่างไร ในยุคแห่งการแข่งขันที่สับสนและวุ่นวายเช่นนี้ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 19:33

ขอย้อนกลับไปเรื่องภาษาิีอีกเล็กน้อยครับ ก่อนที่จะข้ามเรื่องไปไกล เพื่อเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับ EU

เนื่องจาก EU เป็นเรื่องของการรวมตัวเป็นอาณาเขตเดียว ดังนั้นจึงมีเงื่อนไขสำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ EU (ซึ่งเป็น Supranational Body) จะต้องให้การสนับสนุนและคงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของทุกชาติและเผ่าพันธุ์ที่เข้ามารวมกัน
   
EU ในปัจจุบันจึงมีภาษาทางราชการอยู่ถึง 23 ภาษา ซึ่งหมายความว่าเอกสารทางราชการของ Body นี้ จะต้องมีการแปลและพิมพ์ออกเป็น 23 ภาษา เพื่อให้แต่ละประเทศที่มีการใช้ภาษาเหล่านี้เผยแพร่แก่ประชาชนของตนเอง และรวมทั้งภาษา Sign language (ไม่ทราบว่าจะแปลว่าอะไรดีครับ ก็คือภาษาตัวอักษรแบบภาษาเบลที่ใช้ในกลุ่มภาษาอื่นๆ) เล่นเอาเปลืองทั้งงบประมาณค่าใช้จ่าย ทั้งกระดาษ และทั้งบุคลากร ถึงกับบ่นกันเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ภาษาที่ใช้ในการพูดคุยประชุมกัน (working language) นั้น จะเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันเป็นหลัก แต่เมื่อใดที่เป็นร่างความตกลงหรือความเห็นชอบร่วมกัน ก็จะต้องมีการแปลร่างนั้นเป็นภาษาของประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมเพื่อการถกเถียงและพิจารณาด้วย  (เหมือนกับ UN ที่ก็จะต้องทำแบบนี้ ซึ่งมี  6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย อาหรับ และจีน) ขนาดเขาอ่านพูดเขียนกันได้หลายภาษาเป็นอย่างดี เขายังไม่มั่นใจในภาษากลางที่เขียนอยู่ในความตกลง ยังต้องให้มีการแปลเป็นภาษาของตนอย่างเป็นทางการ
 
เป็นภาพที่น่ากลัวเหมือนกันนะครับสำหรับไทยเรา ที่กล่าวถึงกันว่าคนนั้นคนนี้ว่าภาษาอังกฤษดีของเรานั้น คือ ดีอย่างไร สันทัดในเรื่องใด ด้านใด ผมเคยเห็นคนหนุ่มสาวที่อยู่ในคณะเจรจาความเมืองของเราแสดงอาการแบบสำคัญตนเองว่าเขาเก่งภาษาอังกฤษมากกว่าคนอื่น ผมก็ยอมรับว่าเก่ง แต่ผมไม่ยอมรับว่าเขาจะเข้าใจความลึกซึ้งของศัพท์ทางเทคนิคทั้งหลายมากเท่ากับคนที่เขาทำงานในสายงานนั้นๆ รวมทั้งระบบราชการ ประเพณ๊วัฒนธรรม และองคาพยพตัวตนที่เป็นจริงของประเทศเรา เขาคิดว่าเขาเก่งขนาดที่ไม่โอภาปราศัยกับเราและรับฟังความเห็นเราก็แล้วกัน  น่าห่วงจริงๆครับ 

กลับไปที่เรื่องของ EU    ปรากฎว่าภาษาเยอรมันเป็นภาษาพื้นฐานที่คนที่เข้ามาทำงานในเขต EU พูดและเข้าใจมากที่สุดในองค์รวมในเบื่องแรก ก็คงพอจะเทียบได้กับไทยที่คนรอบบ้านเรารู้และเข้าใจภาษาไทย  ไทยจึงดูจะไม่ต่างไปจากเยอรมันและออสเตรียที่เป็นด่านหน้าในการรุกคืบเข้ามาหางานทำในเขตเศรษฐกิจ AEC   คือเริ่มต้นคืบคลานเข้ามาในประเทศที่มีเศรษฐกิจดีเป็นหลัก จากนั้นก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นฐานเพื่อขยายการคืบคลานเข้าไปยังประเทศอื่นๆ

ผมเคยได้ยินการวิเคราะห์ว่า ด้วยเหตุนี้เองจึงกลายเป็นเรื่องที่นำพาไปสู่แนวคิดในเรื่องของการขยายการครอบงำทางสังคมและวัฒฯธรรม เช่น การใช้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก (การ์ตูน หุ่นกระบอก ฯลฯ) ที่ใช้ภาษาเยอรมัน (เพื่อปลูกฝังข้อมูลไปเก็บไว้ใน ROM หรือการ burn chip ของคอมพิวเตอร์) ขยายฐานการใช้ภาษาให้ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น    ซึ่งจากประสบการณ์ที่พบมา ความขัดแย้งในเรื่องของการใช้ภาษาและความต้องการในเชิงของการขยายอิทธิพลทางสังคมและวัฒนธรรม  ที่เด่นก็ดูจะมีฝรั่งเศสและเยอรมัน ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น   ภาษาอังกฤษได้ถูกใช้เป็นภาษาพื้นฐานหรือภาษากลางทั่วโลก ภาษาสเปนก็เป็นภาษาที่ใช้กันโดยประชากรโลกเป็นจำนวนมาก ภาษาฝรั่งเศสมีการใช้อย่างจำกัดแม้ว่าจะมีใช้กันในวงการกฎหมายมากพอสมควร ภาษาเยอรมันซึ่งเป็นของประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูงมากกลับเข้าสู่สภาพของภาษาที่อาจารย์ชาวเยอรมันของผมท่านหนึ่งกล่าวว่าเป็นภาษา dead language

เล่ามาเสียยืดยาว อาจจะน่าเบื่อ แต่ก็เพียงเพื่อจะบอกว่า อีกไม่นานสมาชิกประเทศของ ASEAN ก็อาจจะคิดในมุมดังที่สมาชิกหลักของ EU เขาคิดกันก็ได้     

 
       

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 20:26


ไม่เฉพาะนักศึกษาเท่านั้นครับ แม้แต่คนจีนที่เข้ามาประกอบอาชีพ(แข่ง)กับคนไทยก็มีไม่น้อยแล้ว ถ้าไปดูตามเยาวราชจะเจอพ่อค้าจีนที่พูดไทยพอได้เข้ามาค้าขายเยอะครับ แม้แต่ในตลาดขายส่งย่านชานเมืองอย่างรังสิต หรือคลองหลวง ปทุมธานี ก็มีคนจีนเข้ามาประกอบธุรกิจแข่งกับคนไทยแล้วไม่น้อย ไม่ว่าจะห้องเย็น หรือแม้แต่เป็นพ่อค้านำเข้าผักและผลไม้จากเมืองจีนโดยตรง

ส่วนนักศึกษามีไม่น้อยที่เมื่อจบการศึกษาแล้ว ก็สมัครทำงานต่อที่ประเทศไทยเลยโดยไม่ได้กลับไปทำงานที่บ้านเกิดอีก บางองค์กรใหญ่ ๆ ด้านการเงินก็รับพนักงานคนจีนเหล่านี้ทำงานโดยตรงครับ

ทั้งหมดเกิดจากนโยบาย "ก้าวออกไป(Zou Chu Qu)" ที่รัฐบาลจีนเป็นคนผลักดันครับ ต่อไปในอนาคตที่จังหวัดระยอง คนที่รู้ภาษาจีนอาจจะมีมากกว่าที่กรุงเทพก็ได้ เพราะที่นั่นกำลังเปิดเป็นนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับนักธุรกิจจากเมืองจีนโดยเฉพาะครับ  ถ้ามองอีกมุมคือการยึดเมืองขึ้นในรูปแบบใหม่ด้วย "อำนาจเงินตรา" แทนที่จะเป็นเรือปืนแบบโบราณครับ

เห็นด้วยกับคุณ samun007 ค่ะ  ได้ยินมาว่าจีนมีนโยบายสนับสนุนประชากรของเขาไปทำงานและตั้งถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ  คงจะนโยบาย "ก้าวออกไป(Zou Chu Qu)" นี่เอง     ตรงกันข้ามกับสมัยก่อนที่จีนปิดประเทศไม่ยอมให้คนของเขาติดต่อกับโลกภายนอกได้   
เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง   การขยายอำนาจด้วยการเผยแพร่ลัทธิก็พลอยจบสิ้นไปด้วย  ทำอีกก็ไม่ได้เรื่องและได้ไม่คุ้มเสีย    ระบายคนออกไปแบบนี้ได้ผลดีกว่า    ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทำมาหากินได้ง่ายประเทศหนึ่ง   ไม่มีปัญหาเชื้อชาติศาสนามากีดขวาง   กฎเกณฑ์ต่างๆก็ย่อหย่อนไม่เข้มงวด    คนต่างชาติมองเห็นลู่ทางทำมาหากินได้ง่าย
ก็ขึ้นกับเจ้าของถิ่นว่าจะปรับตัวอย่างไรกับแนวคิดนี้ด้วยละค่ะ    ทั้งภาครัฐและเอกชน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 21:22

ที่เล่ามานี้ ประการหนึ่งก็อยากจะเห็นการมีวิสัยทัศน์ของเรา ของส่วนราชการ และขององค์กรต่างๆ

วิสัยทัศน์ของส่วนราชการและองคาพยพที่เกี่ยวข้องของไทย ต่างก็เขียนในทำนองว่าจะพัฒนาตนเองให้เป็น COE (Center of Excellence) คือ มุ่งจะเป็นองค์กรแห่งความสุดยอดในสาขาของงานที่ตนรับผิดชอบ (ตามกฤษฎีกาหรือกฎหมายที่กำหนด) โดยนัย ก็คือมุ่งพัฒนาตนเองให้เป็นหนึ่ง มากกว่าที่จะมุ่งพัฒนาชาติในองค์รวมให้เป็นหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ทั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอีกด้วย   ที่ผมเห็นในต่างประเทศ เขาจะมีเป้าหมายว่าในอนาคตอีกกี่ปี เขามุ่งมั่นจะทำอะไร ให้เป็นไปอย่างไร และให้สำเร็จเป็นผลในรูปใดและอย่างไร

ส่วนหนึ่งก็ได้เล่ามาแล้วในความเห็นที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ แต่จะขอยกตัวอย่างที่ชัดเจนของญี่ปุ่น (มิใช่การ pro ญี่ปุ่นนะครับ)

ญี่ปุ่นแต่เดิมเห็นว่าตนเองนั้นสุดยอด (หลังความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงต่อเนื่องจากผลของเหตุการณ์สงครามเกาหลีและเวียดนาม)  จึงมีแนวคิด (paradigm) ทำให้ทุกอย่างเข้ามาเหมือนกับแนวคิดของญี่ปุ่น  แต่ภายหลังวิกฤษเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงปี 1990 ญี่ปุ่นก็ได้เปลี่ยนแนวคิดนี้ไป  ไปมองว่าการ Look west ของญี่ปุ่นที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้นไม่ถูกต้อง จากนี้ไปเป็นเรื่องของการ Look east คนญี่ปุ่นจะต้องพูดภาษาอังกฤษได้ ญี่ปุ่นจะต้องเป็นเหมือนกับชาติเอเซียโดยทั่วไป ญี่ปุ่นจะต้องอยู่ในสังคมนานาชาติอย่างได้รับการยกย่อง มิใช่อย่างผู้แสวงประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว  กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงนี้ กลายเป็นวิสัยทัศน์ของทุกองค์กรที่ขานรับว่า ญี่ปุ่นจะต้องทำให้สำเร็จเป็นผลได้ภายในปี 2025 ช่วงหนึ่ง กับปี 2050 อีกช่วงหนึ่ง   เรื่องสำคัญเรื่องแรกเรื่องหนึ่งคือการเปลี่ยนคนญี่ปุ่นให้พูดภาษาอังกฤษได้ชัดเจน  เขาศึกษาลงไปถึงระดับสมองของคน และพบว่าคนเรานั้น รากฐานลึกๆบางอย่างจะถูกฝังไว้ (เหมือนกับการ program chip คอมพิวเตอร์) ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุประมาณ 8 เดือน ดังนั้น การจะเปลี่ยนให้คนญี่ปุ่นรุ่นต่อไปสามารถออกเสียงตัวสะกด n ที่ปรกติจะออกเสียงเป็นตัว ง ให้ออกเสียออกเสียงเป็นตัว น นั้น จะต้องเริ่มต้นจากการได้ยินเสียงที่ถูกต้องจากพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด  
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 19:34

ดีใจนะครับ ที่ท่่านทั้งหลายที่เข้ามาให้ความเห็น ได้เห็นภาพต่างๆที่จะเกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกันเมื่อต้องก้าวย่าวเข่าสู่ AEC  ทั้งมุมมองด้านปัญหา อุปสรรค และสิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไป

ผมก็เห็นเช่นนั้น แต่เกรงว่าจะเป็นการบอกกล่าวแบบลอยๆ ก็เลยใช้การเล่าเรื่องซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วของ EU เพื่อการเปรียบเทียบ
 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 20:42

ไทยเราก็คล้ายกับเยอรมันและออสเตรีย คือ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจเล็กและประชาชนยังมีคุณภาพชีวิตที่ด้อยกว่า ในขณะเดียวกันไทยก็สนับสนุนการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ 
 
สภาพที่เิกิดขึ้นใน EU คือ คนจากฟากที่ด้อยกว่าก็พยายามแห่กันเข้ามาหางานทำในฟากที่ดูเจริญมากกว่า ฝ่ายคนในฟากที่เจริญมากกว่าก็จะรู้สึกว่าดีแฮะ ได้แรงงานที่มีเงื่อนไขน้อยกว่าแรงงานของคนของตน สภาพก็จะค่อยๆเปลี่ยนจากการต้องลงแรงเองไปเป็นสภาพของนายที่คอยสั่งการ   ชีวิตก็ดีขึ้น เหนื่อยน้อยลง มีรายได้มากขึ้น แต่ก็เสียภาษีมากขึ้น และรู้สึกว่าน่าจะเอาเงินไปลงทุนซื้อที่ขยายกิจการในประเทศที่มีสภาพด้อยกว่า   รัฐก็ต้องเห็นดีเห็นงามเป็นธรรมดาที่แรงงานต่างๆจะได้ไม่เข้ามาทำให้เกิดเรื่องยุ่งยากในประเทศของตน ฝ่ายรัฐของประเทศที่ด้อยกว่าก็ต้องออกกฎระเบียบจำกัด มิเช่นนั้นประเทศของตนก็จะถูกซื้อไปจนหมด   

คงจะนึกภาพออกนะครับว่า เรื่องตามเส้นทางนี้จะเป็นเช่นใดต่อไป  ขนาดปัจจุบันนี้ยังมีนอมินีเต็มไปหมดแล้ว   
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 21:55

เมื่อไม่กี่วันมานี้ได้มีโอกาสคุยกับคนในท้องถิ่นอยุธยา อ่างทอง เขาบอกว่ามีคนต่างชาติ

โดยเฉพาะชาติที่กำลังจะเป็นมหาอำนาจ เขามีเงินมาก จนสามารถชี้นิ้วได้เลยว่าที่ดินเวิ้งนี้ เขาต้องการ...

เชื่อว่าคนที่คุยด้วยเขาไม่พูดปด เพราะเขาก็รักแผ่นดินเหมือนกัน เขาพูดด้วยความเจ็บปวด

แต่สิ่งที่กำลังรับรู้ขณะนั้นทำให้รู้สึกว่า อันตรายกำลังคืบคลานมาอย่างน่าสะพรึงกลัวที่สุด

เมื่อก่อนคนในชนบทรักและหวงแหนแผ่นดิน แม้จะอยู่อย่างไม่สมบูรณ์พูลสุขก็สู้ทน

แต่ยุคทุนนิยม ...คนมีเงินเอาของมาล่อ ทำให้อยากได้ อยากมี อยากเป็น...แล้วก็แอบซื้อที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ไป

ปลูกข้าวส่งไปให้คนของเขาบริโภค ส่วนคนไทยก็ซื้อข้าวแพงขึ้นทุกปี

ในเมื่อรัฐฐาลไม่เคยดูแลชาวนาอย่างจริงจัง ลูกหลานชาวนาเขาก็มีสิทธิ์จะฝันถึงชีวิตที่ดีขึ้น ใครเอาอะไรมาให้ง่ายๆ

ก็หมดความอดทน ที่จะอยู่อย่างลำบากต่อไป....ในที่สุดเราจะรักษาแผ่นดินนี้ไว้ได้สักเท่าไหร่...

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 07:38

เคยได้ยินเหมือนคุณพวงแก้วค่ะ ว่าที่ดินที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเรา แต่เราละเลยเกษตรกรให้ยากจนกันมาตลอดนั้น บัดนี้ประเทศที่มีเงินแต่ไม่มีที่ดินอุดมสมบูรณ์อย่างเรากำลังจะมาปลูกข้าว เพื่อเอากลับไปกินกับคนของเขา
ในเมื่อที่ดินเราจำนวนมากถูกเฉือนไปเป็นสิทธิ์ของต่างชาติ เพื่อประโยชน์ใช้สอยของเขาเสียแล้ว       คนไทยก็จะมีข้าวกินน้อยลง  วันหนึ่งจะต้องซื้อข้าวเข้ามากินหรือเปล่าล่ะเนี่ย

EU ที่กำลังเลิกพรมขึ้นมามองเห็นขยะใต้พรมซุกอยู่ทีละประเทศนั้น   จะเป็นอนาคตของ AEC หรือเปล่าหนอ    ถ้าเป็น เราจะป้องกันอย่างไรไม่ให้ซ้ำรอยกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 21:04

เว้นไปสองวัน ขออภัยครับ

เคยคุยกับเพื่อนชาวตะวันออกกลางสมัยเรียนหนังสือ เขาบอกว่า อาหารประจำวันของประชาชนพวกเขาตามปรกตินั้น คือ กินข้าวกับแกง (น้ำมากหน่อย เนื้อน้อยหน่อย) กินกับแตงกวา   สภาพเช่นนี้ก็คงพอจะเดาออกว่า เขาขาดพืชผักเพียงใด ซึ่งคงจะเป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในใจว่า หากมีโอกาสเขาก็จะต้องแสวงหาแหล่งอาหารพวกพืชผักต่างๆแน่นอน      ที่ทราบมาตั้งแต่บัดนั้นมา คือ เขาใช้มะขามเปียกในการปรุงอาหารมากๆ   มิน่าเล่า ตะวันออกกลางจึงเป็นแหล่งน้ำเข้ามะขามเปียกของเรา  แต่ก็มาพอจะเข้าใจในภายหลังว่า การใส่มะขามเปียกเพื่อปรุงอาหารนั้น นอกจากจะทำให้รสชาติของเครื่องเทศกลมกล่อมมากขึ้นแล้ว ยังทำให้อาหารบูดช้าขึ้นเนื่องจากการปรับสภาพอหารให้เป็นกรดซึ่งไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในสภาพอากาศอบอุ่น      ไทยเราเขียวทั้งปี น้ำดี ปลูกได้ทั้งข้าวดีๆและพืชผักต่าง แล้วจะไม่ให้บรรดาแขกทั้งหลายสนใจเข้ามาซื้อหาเป็นเจ้าของได้อย่างไร แถมกฎระเบียบต่างๆก็ง้างได้ง่ายด้วยเงิน หานอร์มินีได้ไม่ยาก ใต้โต๊ะก็เป็น norm อีกต่างหาก
   
ผมเห็นว่าปรัชญาแนวคิดของคนไทยเกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิตนั้น ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจากการมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายตามอัตภาพ ไม่ขัดสน มีทุกอย่างหมุนเวียนพอกินพอใช้ไปอย่างไม่เดือดร้อน ไปสู่การตั้งต้นเริ่มต้นที่จะต้องมีเงิน จะด้วยวิธีการใดก็ได้ ด้วยเชื่อว่าเงินจะบันดาลและซื้อหาสรรพสิ่งต่างๆได้ ทั้งความรู้ อำนาจ ความสะดวกสะบาย และยศฐาบรรดาศักดิ์   จึงดูจะไม่แปลกที่จะขายได้ทุกอย่างที่เป็นทรัพย์สินทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม (จิตและใจของตนเอง)  คำว่า Sentimental value คงจะไม่มีอยู่ในความหมายและความเข้าใจของคนไทยอีกต่อไป   
ลองนึกย้อนกลับไปดู อะฮ้า ระบบเราสนับสนุนการเปลี่ยนทรัพย์ยากรทุกอย่างให้เป็นเงิน  เช่น ห้ามคนอยู่ในพื้นที่ลาดชันสูงอย่างเด็ดขาด แต่สนับสนุน/อนุญาติให้เอาที่ราบอันสมบูรณ์ ซึ่งแหล่งผลิตทางเกษตรที่สำคัญ ไปทำเป็นนิคมอุตสาหกรรม ทำหมู่บ้านจัดสรร และทำสนามกอล์ฟ      การส่งเสริมให้เขาเข้ามาลงทุนแบบเอาผลงานเข้าว่า โดยไม่ได้คิดถึงสถานการณ์ที่บังคับให้เขาต้องเข้ามาลงทุนในประเทศเรา (จะเล่าให้ฟังต่อไปครับ) ด้วยการสนองแบบลดแลกแจกแถมทุกอย่างตามที่เขาขอมานั้น ทำให้ธุรกิจมากมายของเราต้องยุติ ทำให้คนของเราต้องแปรสภาพจากผู้ที่ทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรไปเป็นผู้ทำงานสนองตามความคิดของผู้อื่น

บ่นหรือเปล่านี่  ยิ้มกว้างๆ  ขออภัยครับ


 

   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 21:33

ไม่เรียกว่าบ่นค่ะ    เป็นการให้ความรู้
ขอเชิญบรรยายต่อค่ะ

ดิฉันก็ไม่ทราบเหมือนกันว่านโยบายอยากรวยของไทย เริ่มมาแต่ยุคไหน   ตั้งแต่สมัยผู้นำไทยอยากให้ประเทศเป็นมหาอำนาจหรือว่าสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่สหรัฐอเมริกาเผยแพร่นโยบายทุนนิยมเข้ามาในไทย     รัฐบาลไทยก็เห็นดีด้วย ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจฉบับที่ ๑ เป็นต้นมา
เราถูกฝังหัวว่าการอยู่แบบพอเพียงคือความด้อยพัฒนา     คนไทยต้องมีความเป็นอยู่โอ่อ่า ฟุ่มเฟือยได้ในทุกระดับชั้นจึงจะถือว่าพัฒนา    รายได้จากเกษตรกรรมไม่เพียงพอจะทำให้ประเทศมีอะไรโก้ๆแบบอเมริกา  จึงต้องทุ่มเทไปในด้านอุตสาหกรรม  จึงจะมีรายได้มาก   อุตสาหกรรมที่ว่าคือให้ต่างชาติมาเปิดโรงงานในไทยมากขึ้น แต่เทคโนโลยีต่างๆไทยยังผลิตเองไม่ได้อยู่ดี   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 22:34

ไทยเรามีแนวคิดการปกป้องพื้นที่ผืนแผ่นดินการผลิตไทยมานานมากแล้ว เพื่อประโยชน์สำหรับการทำมาหากินของคนไทย เพื่อให้คนไทยสามารถเป็นเจ้าของทรัพยากรและดำเนินการได้ด้วยด้วยตัวเราเองเมื่อเรามีเทคโนโลยีเพียงพอ

ผมไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะเล่าได้ว่าตั้งแต่สมัยใด แต่ที่เคยเกี่ยวข้องและย้อนกลับไปได้ในเรื่องหนึ่ง คือ ในรัชสมัย ร.6 เมื่อ พ.ศ. 2465 พระองค์ทรงได้กำหนดห้ามคนต่างชาติทำกิจการเหมืองแร่เหนือประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา จนต่อมาจึงได้มีการตั้งองค์กรต่างๆขึ้นมา (ตัวแทนรัฐ) เพื่อเป็นผู้ทรงสิทธิในประทานบัตรและอื่นๆ (คือ ให้คนไทยเป็นเจ้าของ) ผมไม่ทราบว่ามีเรื่องของทรัพยากรอื่นๆอีกหรือไม่ (ในสมัย ร.5 มีการให้สัมปทานป่าไม้หลายแห่งเหนือบริเวณนี้อยู่แล้ว)  เรื่องนี้ได้พัฒนาต่อมาเป็น ปว.281 (ประกาศคณะปฏิวัติ) ดังที่ทราบกันว่าเกี่ยวกับสัดส่วนการลงทุนและอาชีพสงวนของคนไทย และได้กลายมาเป็น พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542  ทั้งหมดนี้เป็นที่มาของการลงทุนที่เป็นบริษัทสัญาติไทยและสามารถจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยได้ (49%ต่างชาติ 51%ไทย )  เมื่อระบบการลงทุนและเศรษฐกิจดีขึ้น ความเป็นธุรกิจของไทยในนามธรรมจากสัดส่วนจุดนี้ (ซึ่งก็เป็นของคนต่างชาติอยู่ดีเนื่องจากมีแต่ชื่อของนอร์มินีคนไทยในการจดทะเบียนและบริคนธ์สนธิ) ปัจจุบันก็ได้กลายเป็นบริษัทในการควบคุมของต่างชาติ 100%

กำลังจะลงไปเรื่องของธุรกิจของคนท้องถิ่นเดิม แต่จะต่อพรุ่งนี้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 08:01

เข้ามารอแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 10:49

ดิฉันดีใจที่เติบโตมาพอที่จะเห็นภาพชีวิตคนไทยที่อยู่อย่างพอเพียง ในอดีต จนมาถึงปัจจุบันที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอเสียที

พอจำความได้ก็รู้ว่า บ้านเรามีสวนผลไม้ มีพืชสมุนไพรในครัว ปีปลาในร่องสวน วันๆไม่เห้นว่าจะใช้เงินทองอะไรมากมาย

นอกจากซื้อหมู ไก่ และสิ่งจำเป้นอื่นๆมาทำอาหาร ส่วนผัก ผลไม้เราก็เก็บเอาในบ้านนี่ล่ะ  ผู้ใหย่สอนให้เราประหยัด

และใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ไม่ฟุ้งเฟือ ฟุ่มเฟือย แต่ถ้าถึงเวลาต้องเข้าสังคม ไปงานไปการก็จะแต่งตัวตามฐานะ ให้เหมาะ

ให้ควรกับวัยของเรา  ของเล่นเด็กก็ไม้แพง ทำเองได้ก็ทำ ซื้อหามาบ้างก็มี ไม่ใช่ภาระที่ต้องมีต้องเป็นอะไร

แต่เดี๋ยวนี้ หันมาดูคนรุ่นใหม่ที่เริ่มตั้งครอบครัวล้วนแต่ต้องใช้เงินทองจำนวนมาก ยิ่งมีลูกก้ยิ่งแบกภาระมากมาย

กว่าลูกจะเรียนจบจนหางานทำเองได้ พ่อแม่ก็แทบหมดแรง นี่พูดถึงคนชั้นกลางทั่วไปนะคะ

วัตถุเข้ามาเป้นส่วนสำคัญในชีวิตมากมายเหลือเกิน ถ้าไม่รู้จักประมาณตัว ก็จะยิ่งทุรยทุราย ก่อหนี้ก่อสินกันอยู่ทั่วไป

บัตรอะไรต่อมิอะไรก็กดเงินได้ง่าย แถมผ่อนได้ด้วย....เด็กสาวบางคน ติดนิสัยต้องผ่อน คือพอผ่อนอันนี้เสร็จเธอก็ไปผ่อน

อันนั้นต่อ...ถามว่าทำไมไม่หยุด เธอก็ตอบหน้าเฉยตาเฉยว่า มันชินซะแล้ว...

ดิฉันได้ยินคำว่า เศรษฐกิจพอเพียงทีไร ก็อดนึกถึงอดีตเมื่อ50กว่าปีที่แล้ว...
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 11:11

ย่านที่ดิฉันอยู่ในยุคนั้นเรียกว่าชานเมือง (กรุงเทพ )ก็ว่าได้ ถนนสองเลนมีคลองเล็กๆคู่ขนานกันไป บนไหร่ถนนมีต้นหางนกยูง เวลาออกดอก

ก็แดงสะพรั่งไปสุดสายตา รถราก็น้อย มีสะพานไม้ขนาดใหญ่ทอดข้ามคลองหน้าบ้าน ให้รถวิ่งเข้าบ้านได้ น้ำในคลองใสพอให้เด็กคนหนึ่งชะโงกมองดูปลาเข็มว่ายเป็นฝูง

ตลอดถนนนี้มีบ้านเรือนตั้งอยู่เป็นระยะ พอเดินหากันได้  ส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้สองชั้นสำหรับครอบครัวขนาดกลางและเล็ก มีแต่บ้านผู้มีฐานะเท่านั้นที่ใหญ่โตมากแต่ก็มีอยู่2-3 หลังเท่านั้น

บ้านที่อยู่ใกล้กันก็กลายเป็นเพื่อนบ้านไปมาหาสู่ เคารพ นับถือ ให้เกียรติ ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน ตามกำลัง

แตกต่างกับสมัยนี้อย่างสิ้นเชิง ช่องว่างระหว่างคนในสังคมยิ่งมากขึ้น อาจแบ่งแยกกันโดยฐานะ โดยอาชีพ โดยการศึกษา โดยสถาบัน โดยความสนใจส่วนตัว

ก็อาจมองอีกมุมหนึ่งก็ได้ว่าประชากรในกรุงเทพเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว (เดี๋ยวร่วม 10 ล้านได้ไหม ) ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะมีการเกาะกลุ่มกันเป็นกลุ่มย่อยๆ

แต่สิ่งที่มองเห็นก็คือ การเกื้อกูลระหว่างกลุ่มที่แตกต่างนั้นน้อยลง  ต่างคนต่างอยู่กันไป

จนถึงขั้นที่น่าเศร้าใจคือ ...เคยเห็นผู้หญิงถูกผู้ชายทำร้ายในที่สาธารณะ เธอร้องขอความช่วยเหลือ ดิฉันอยู่ในจุดที่ไกลร่วม 10 เมตรยังได้ยิน

แต่คนที่อยู่แถวนั้นห่างแค่1-2 เมตรกลับทำเป็นธุระไม่ใช่ หลายคนเดินผ่านไปมาแต่ไม่สนใจ ช่วยเหลือ หรือแม้แต่เรียกตำรวจมาระงับเหตุ

ดิฉันต้องแจ้ง 191 เพียง 5 นาทีเท่านั้นตำรวจก็มาถึง ....

ภาพสะท้อนเหล่านี้บอกอะไรกับเรามากมาย สังคมไทยที่สงบ ร่มเย็นจะหวนกลับมาได้หรือไม่ และอีกนานเท่าไหร่เราจึงจะหลุดพ้นจากการมอมเมาทางวัตถุ

ขออภัยนะคะ.....พาออกทะเลไปซะไกล  อิอิ รูดซิบปาก

 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง