เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102362 ก้าวย่างในยุค AEC
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 18:38

ที่นี่ไม่มีสวนมะพร้าวค่ะ  ยินดีซื้อมะพร้าว AEC  ทุกลูกที่คุณตั้งนำเข้ามา
อยากฟังสิ่งละอันพันละน้อยจากประสบการณ์ของคุณตั้งด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 19:59

ขอบคุณมากครับสำหรับไมตรีจิต   อ้อ ผมมีไก่มีเป็ดเอามาขายมาปล่อยด้วยพอสมควรครับ  ยิงฟันยิ้ม

ต่อครับ

ร้่านเขาจะมีชั้นสำหรับวางสินค้าแนะนำที่ชาวบ้านหรือชุมชนทั่วประเทศค้ดสรรมาเพื่อทดสอบตลาด แต่ละชุมชนหรือแต่ละคนจะได้รับพื้นที่ให้วางสินค้าขายได้เท่ากับ 1 ตะกร้า (ขนาดประมาณ 12 x 18 นิ้ว) โดยเสียค่าใช้จ่าย 5,000 เยนต่อหนึ่งสัปดาห์ ในตะกร้านั้นจะวางขายของกี่อย่างก็ได้ เท่าที่เห็นมาก็ระหว่าง 4 - 6 อย่าง ร้านเองก็จะช่วยเหลือโดยการทำรายงานสถิติการขายประจำสัปดาห์ส่งให้กับผู้รับผิดชอบที่คัดเอาของมาใส่ตะกร้านั้นๆ  เนื่องจากมีผู้สนใจในการนำเสนอสินค้าประจำถิ่นมาก  ก็เลยมีคิวการวางจำหน่าย ร้านจึงสามารถทำหนังสือขนาดหน้า A4 ประมาณ 30 -40 หน้ากระดาษเห็นจะได้ วางแจกให้สำหรับผู้สนใจได้รู้ล่วงหน้าว่าสัปดาห์ใดจะเป็นสินค้าอะไรจากทีใด  จากภาพที่เล่ามานี้ จะเห็นว่า ของที่วางในตะกร้านั้นแต่ละอย่างมีน้อยชิ้นมาก ร้านเขาก็ใช้วิธีหมดแล้วก็เอามาเติม หรือแจ้งให้ผู้ที่นำสินค้ามาวางทราบและส่งมาอีก ผมเคยพบที่หมดแล้วหมดเลยก็มี   สินค้าเหล่านี้บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่คิดว่าหากขายได้ดีและติดตลาดแล้วก็จะยังใช้บรรจุภัณฑ์แบบที่วางแนะนำไว้  ที่น่าสนใจคือ นอกจากจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีคำอธิบายและข้อมูลตามบังคับของกฎหมายแล้ว ยังมีชื่อและ/หรือรูปภาพของเจ้าของหรือผู้ผลิต รวมทั้งเว็ปไซด์และที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อ ติดอยู่ด้วย ง่ายๆก็คือ จะโทรไปวิจารณ์ ชมเชย สั่งของหรือติดต่อค้าขายอะไรก็ได้ สินค้าโอท๊อปของญี่ปุ่นเขาไปไกลขนาดผู้ผลิตกล้าแสดงตนและกล้าแสดงความรับผิดชอบกันแล้ว และนี่ก็คือทิศทางที่ SMEs ของญี่ปุ่นกำลังปฎิบัติกันอยู่ คือไม่แน่จริง ไม่กล้าจริง ก็คงไม่กล้าที่จะแสดงตน  ที่จริงของไทยเราก็มีเหมือนกัน โดยเฉพาะบรรดาขนมต่างๆที่ระบุชื่อว่าเป็นของแม่นั่นแม่นี่  แต่ลอกเลียนขโมยกันเยอะไปหน่อย ก็เลยมีคำต่อท้ายสารพัด เช่น ของเดิม เจ้าเก่า ของแท้ ลูกสาว... ฯลฯ ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้ซื่อก็ไม่รู้ว่าเจ้าใหนของแท้ เจ้าใหนลอกเลียนแบบ ก็เลยไม่ซื้อ ผู้ผลิตผู้ขายก็ขายได้ยากขึ้น ต้องอธิบายเล่าความมากขึ้น สุดท้ายก็กลายเป็นลักษณะขนมประจำถิ่นไป เช่น ขนมหม้อแกงเมืองเพชร  ฝอยทองฉะเชิงเทรา ขนมชั้นเมืองตราด กระยาสารทกำแพงเพชร หมูยอเชียงราย / อุบล / ...   กุนเชียงโคราช / สุรินทร์ / ...   ไก่ย่างวิเชียรบุรี / ท่าพระ /บางตาล / เขากวาง / ...   ปลาร้าสับอุทัยธานี ปลาส้มกำนัล..  ขนมโมจิ...นครสวรรค์  ฯลฯ     ฝ่ายผู้ซื้อก็สุดแท้แต่บุญแต่กรรม ได้ของดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ของปลอมบ้าง ของแท้บ้าง   เอ่ยมาแค่นี้ตะกร้าที่คุณเทาชมพูหิ้วมาก็คงจะพอเต็มแล้วกระมังครับ

จะแยกกระทู้ออกไปเป็นของดีประจำถิ่นก็คงจะไม่ได้ใช่ใหมครับ จะกลายเป็นเรื่องโฆษณาและธุรกิจไป

อ้าว แยกเข้าซอยไปเสียแล้ว เรื่องวิธีการของร้านที่สนับสินค้าท้องถิ่นนี้ยังไม่จบนะครับ     

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 20:38

สินค้าท้องถิ่นของไทยก็มีเยอะนะคะ  ที่ปิดป้ายบอกให้รู้ว่าผลิตที่ไหน ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ไหน มีเบอร์โทร.เสร็จสรรพ    ผลดีคือจะได้รับออเดอร์โดยตรงได้ด้วย  ไม่ต้องวางขายหน้าร้านให้โดนหักเปอร์เซ็นต์เปล่าๆ
ส่วนเรื่องลอกเลียนกัน อาจจะแยกได้เป็นอีกประเด็นหนึ่ง   คนไทยมักจะเชื่อกันว่าถ้าอะไรขายดีแล้ว  ก็ควรเลียนแบบเขาบ้างจะได้ขายดีเหมือนกัน  คืออาศัยเครดิตเขามาเป็นผลงานเรา มากกว่าจะคิดค้นอะไรแปลกๆออกไป ให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง  เพราะกลัวขายไม่ออก  เพราะลูกค้าไม่รู้จักแล้วจะไม่ชอบ  เลยไม่ซื้อ
จึงจะเห็นว่าพวกของกินในจังหวัดต่างๆ มุ่งทำรสชาติให้เหมือนกัน    ใช้คำโฆษณาแบบเดียวกันหมด  ลูกค้างงไม่รู้เจ้าไหนของแท้ของเทียมอย่างคุณตั้งว่าละค่ะ

ของดีประจำถิ่น จะเล่าก็ได้ค่ะ   ดิฉันถือว่าถ้าคุณตั้งไม่ได้ลงประกาศชื่อร้าน ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นโฆษณา   ใครสนใจก็ไปเสาะหาเอาเอง
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 22:28

เล่าไปเรื่อยๆ สบายๆ แบบพาเดินชมตลาด ก็ดีค่ะ คุณตั้ง
จะได้หิ้วตะกร้าไปด้วย แวะช็อปสินค้าท้องถิ่น
อ. เทาชมพูหิ้วตะกร้ามาช็อปเอง ....อย่างนี้ก็สนุกซิคะ


ในกระทู้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดจิ๋วทั้งหมดนั้น ผมเห็นว่าเป็นเรื่องของการขายฝีมือและความชำนาญการ     ญี่ปุ่นก็เห็นเช่นนี้  จะด้วยสมาคมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว หอการค้า SMEs  ส่วนราชการ (เช่น SMEA) องค์กรกึ่งราชการ (เช่น SMRJ) หรือส่วนรัฐท้องถิ่น (Prefecture ต่างๆ)  จึงให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมสำหรับชาวบ้าน คน และธุรกิจที่มีโอกาสน้อยต่างๆ ให้สามารถมีตลาดที่จะขายผลิตภัณฑ์ตามสมควรแก่เหตุ

วิธีการอย่างหนึ่ง คือ การเปิดร้านขายของท้องถิ่นในย่านที่มีคนในเมืองไปจับจ่ายซื้อของกินของใช้กันเป็นประจำวันกัน (สินค้าที่จะเล่าให้ฟังนี้เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องของๆกินนะครับ) เนื้อที่ร้านค้าก็คงประมาณเท่ากับสามห้องแถวของบ้านเรา  ร้านเองก็แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนสำหรับวางขายของดังที่มีคนนิยมซื้อหากันเป็นประจำ (ที่เป็นของดีของจังหวัดต่างๆ) พื้นที่ส่วนสำหรับขายของที่คนเริ่มนิยมมาหาซื้อกันมากขึ้นในระดับหนึ่ง และพื้นที่สำหรับสินค้าใหม่ๆที่แสวงหาตลาด     
 



ก็เลยไปหารูปที่เคยถ่ายไว้เวลาไปเห็นสิ้นค้า O-Top ซึ่งมีเสน่ห์มากกว่าสิ้นค้าอุตสาหกรรม เพราะทำให้เห็นภูมิปัญญาของเขาอย่างชัดเจน น่าสนใจ
ขอส่งรูปมาประกอบ ตามสัญญาคะ





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 21 ก.ย. 12, 10:19

ไปเจอบทความว่าด้วยธุรกิจลอจิสติกส์ภายใต้ AEC  เลยเอามาฝากค่ะ

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000115632

ตอนท้ายๆของบทความพูดถึงบริษัทลอจิสติกส์ของคนไทยที่มักเป็นขนาดเล็ก  ตรงนี้คุณตั้งอาจจะสนใจ

     ขณะที่บริษัทลอจิสติกส์ของคนไทยมักเป็นขนาด SMEs  และยังไม่มีศักยภาพ หรือยังไม่สามารถที่จะสู้ทุนต่างชาติอย่างออสเตรเลีย, จีน ฯลฯ บริษัทต่างชาติเหล่านี้จะใช้วิธีการในการแย่งชิงตลาดโดย 1. ตัดราคา 2. ให้เครดิตยาว 90 วัน 3. ออกเงินให้ก่อน 4. เทคโนโลยีทันสมัย 5. เงินทุนของต่างประเทศมีมากกว่า 6. มีเครือข่ายมากกว่า
       
       ส่วนบริษัทใหญ่ๆ ของไทยได้เตรียมตัวรับการเปิดเออีซีแล้ว โดยการหาคู่ค้าในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว จีน เนื่องจากเมื่อเปิดเออีซีอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 จะทำให้มีการซื้อขาย ลงทุนมากขึ้น ทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างกันย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยการขนส่งทางน้ำจะมีต้นทุนที่ต่ำสุด-ทางอากาศแพงสุด
       
       ทั้งนี้ การจะทำธุรกิจลอจิสติกส์ระหว่างอาเซียน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยไม่ใช่เรื่องง่าย ตัวอย่างเช่น การจะไปทำธุรกิจลอจิสติกส์ที่ประเทศลาวต้องมีที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และหากเข้าไปทำธุรกิจที่นั่นก็ควรเปิดสำนักงานที่นั่น ต้องจ้างแรงงานท้องถิ่น ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของเค้า อีกทั้งต้องศึกษาตลาดของที่นั่นด้วย
       

       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 21 ก.ย. 12, 18:57

ขอต่อเรื่องร้านเพื่อการช่วยเหลือการเข้าตลาดของสินค้าโอท๊อปและ SMEs ต่อให้จบ แล้วก็จะไปเรื่องลอจิสติกส์ครับ

ได้เล่าวิธีการใช้ตะกร้า จำนวนเงินค่าเช่าพื้นที่ แล้วก็รายงานสรุปยอดซื้อสินค้าให้กับผู้ผลิตแล้ว
ในเรื่องของรายงานนั้น มิใช่เพียงแต่จะแจ้งยอดการจำหน่ายต่อวันเพียงเท่านั้น ในรายงานยังบอกถึงคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้ชื้อสินค้านั้นๆอีกด้วย ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลอย่างมากกับผู้ผลิตทั้งในเชิงของรส บรรจุภัณฑ์ ปริมาณ ฯลฯ เพื่อจะได้พิจารณาำนำไปปรับปรุง จึงได้เห็นอยู่บ่อยๆว่ามีสินค้าเดิมในรสชาติใหม่ ในบรรจุภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ กลับมาวางขายลองตลาดอีก 

เมื่อเริ่มเป็นสินค้าขายดีมากขึ้น เป็นที่ต้องการมากขึ้น และหากผู้ผลิตพอใจที่จะลองต่อไป ร้านก็จะย้ายสินค้านั้นๆจากชั้นวางของที่วางกลุ่มสินค้าใหม่ ไปวางขายที่อีกชั้นวางหนึ่งคล้ายกับร้านค้าปรกติทั่วไป โดยจะมีค่าเช่าที่แพงขึ้น คือ ประมาณ 10,000 เยน ต่อสัปดาห์ ต่อพื้นที่เฉพาะเล็กๆหนึ่ง สินค้านี้ก็จะกลายเป็นสินค้าแนะนำใน Brochure (ภาษาไทยเรียกว่าอะไรครับ) ของร้าน ไปอยู่ในอีกกลุ่มสินค้าน่าสนใจประจำร้าน

จนกระทั่งเมื่อสินค้านั้นๆเป็นที่ต้องการมาก ขายได้ดีตลอดเวลา  ร้านก็จะเปลี่ยนเป็นทางร้านเป็นฝ่ายซื้อและจัดจำหน่ายเอง เพื่อหารายได้เข้าร้านเป็นทุนสำหรับการดำเนินการส่งเสริมสินค้าจากผู้ผลิตหน้าใหม่ต่อไป  ซึ่งเมื่อบริหารดีๆ ร้านเองก็มีเงินหมุนเวียนพอที่จะสามารถยืนอยู่บนขาของตนเองได้โดยไม่ต้องรบกวนฝ่ายราชการ 

ในอีกรูปหนึ่ง คือ ร้านอนุญาตให้ผู้ประกอบการมาใช้พื้นที่หน้าร้าน ครั้งละไม่เกินสองเจ้า และเจ้าละไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ เสียค่าเช่า 20,000 เยน ต่อสัปดาห์  เป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบการต้องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยตนเอง แต่ไม่ใช่ในลักษณะตะโกนหรือส่งเสียงดังรบกวนคนอื่นๆนะครับ

ที่ผมเล่าได้ค่อนข้างจะละเอียดนี้ก็เพราะได้คุยกับผู้จัดการร้าน ที่จริงมีรายละเอียดอีกพอสมควร แต่จะไม่เล่าต่อ จะกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อไปครับ  ร้านนี้เป็นร้านที่เมื่อมีโอกาสใดๆ ผมก็จะพาข้าราชการที่มาดูงานให้มาดูและให้พูดคุยกับผู้จัดการร้าน โดยเฉพาะที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายราชการและฝ่ายการเมือง และก็โดยเฉพาะสำหรับหน่วยงานทางเศรษฐกิจ   หวังว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในบ้านเรา  ตอนไปดูงานก็ดูสนใจถามไถ่กันดี ละเอียดยิบ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นอะไรในทำนองนี้เกิดขึ้นเลย

อย่างว่าแหละครับก็เป็นไปตามที่ชาวบ้านเขาบ่นกัน เรามีแต่ส่งเสริมการผลิต แต่ไม่เคยดูแลเรื่องตลาด 

สินค้าที่ผมสนใจบางอย่างในส่วนที่เป็นสินค้าที่ทางร้านสั่งมาจำหน่ายเอง คือ ข้าว ซึ่งแทบจะระบุว่ามาจากนาใด ของใคร จากเมืองใหน  แล้วก็ น้ำเกลือ จากนาเกลือที่มีการผลิตในท้องที่ต่างๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 21 ก.ย. 12, 19:20

อีกเรื่องหนึ่งที่ร้านนี้ทำ คือ เป็นแหล่งโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่า ขณะนี้ถึงฤดูของดีจากแหล่ง...แล้ว เช่น ปูจากฮอกไกโด ลูกพลับจากนากาโน เห็ดชิตาเกะจาก... สตรอเบอรี่จากไซตามะ ฯลฯ  โดยทางร้านจะเอาของพวกนี้มาวางขาย จำนวนไม่มากในแต่ละวัน แล้วก็ไม่กี่วันอีกด้วย  ของพวกนี้คือของคัด เป็นของดีจริงๆ  ผมพอรู้เรื่องดังที่เล่ามาก็เลยได้มีโอกาสรู้จักของดีๆในราคาถูกๆของญี่ปุ่น ที่เขานำไปปรุงอาหารราคาแพงๆในภัตตาคาร

สำหรับเรื่องที่เล่ามาทั้งหมดนี้ คิดว่าน่าจะพอมีประโยชน์สำหรับท้องถิ่นที่จะนำไปพิจารณาทำให้ศูนย์สินค้่าโอท๊อปตามอำเภอต่างๆ เปลี่ยนไปจากอาคารที่เกือบจะร้างให้มีชีวิตชีวามากขึ้น

พอสมควรแล้วนะครับ     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 21 ก.ย. 12, 20:05

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 21 ก.ย. 12, 20:07

มาต่อเรื่องลอจิสติกส์ครับ

ลอจิสติกส์ ก็เป็นเรื่องในความคิดของฝ่ายรัฐที่จะทำให้ไทยเป็นฮับในเรื่องนี้

ลอจิสติกส์เป็นเรื่องใหญ่ในกระบวนการค้าทั้งหลาย เพราะมันเป็นเรื่องของสายพานลำเลียงวัตถุดิบ ลำเลียงชิ้นส่วน ลำเลียงสินค้าที่ผลิตได้ และยังไปไกลถึงเรื่องการเคลื่อนที่ของคนอีกด้วย
 
ในบริบทของลอจิสติกส์นั้น มันไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องของระบบเส้นทาง ระบบคมนาคม อุปกรณ์และวิธีการการขนส่งเท่านั้น แต่มันรวมถึงกลไกที่เกี่ยวพันที่ทำให้มันเดินได้อย่างสะดวกและคล่องตัวอีกด้วย  ค่าใช้จ่ายและเวลาที่อยู่นอกเหนือความสามารถในการควบคุมของเราที่เสียไปในระบบลอจิสติกส์นั้น เป็นเรื่องในบริบทของต้นทุนของสินค้าที่ผลิตและจะไปขายแข่งขันกับเขาในตลาดต่างๆ   ยิ่งเมื่อต้องการระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ (คือต้องการต้นทุนต่ำ) ลอจิสติกส์ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นและทำให้มันแทรกเข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิตมากขึ้น

เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องพยายามเล่าให้มันเป็นเรื่องแบบสะบายๆ    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 21 ก.ย. 12, 20:13

อ้างถึง
อย่างว่าแหละครับก็เป็นไปตามที่ชาวบ้านเขาบ่นกัน เรามีแต่ส่งเสริมการผลิต แต่ไม่เคยดูแลเรื่องตลาด
เป็นไปได้ไหมคะ ว่าราชการไทยอาจจะไม่ค่อยเก่งเรื่องธุรกิจ  เพราะไม่มีหน้าที่หาเงินเข้ากระทรวง ไม่ต้องทำกำไรหรือระวังขาดทุนอย่างเอกชน    แต่รู้จักใช้งบประมาณไปในโปรเจคต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับกำไรขาดทุน
ก็เลยไม่ถนัดเรื่องการตลาด  แต่ถนัดศึกษางานมากกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 17:36

เคยเห็นคำว่าลอจิสติคส์มาไม่นานนี้เอง   ดูเหมือนจะเป็นคำฮิทติดอันดับขึ้นมาในปีหลังๆนี้      แต่ยังไม่เข้าใจในรายละเอียดว่ามันหมายถึงอะไรกันแน่ค่ะ  รู้แต่ว่าเกี่ยวกับการขนส่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 19:44

^
ผมไม่คิดว่าราชการไทยไม่เก่งด้านธุรกิจนะครับ ผมเชื่อว่าเขาได้คิดรอบคอบและรอบด้านอยู่พอสมควร อย่างน้อยเจ้ากระทรวงที่ผลัดกันเข้ามาบริหารงานคัดท้ายงานราชการของแผ่นดินก็เป็นนักธุรกิจระดับมือมหากาฬเกือบทั้งนั้น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างฝ่ายข้าราชการประจำกับฝ่ายการเมืองคงจะมีอยู่ในสองเรื่อง คือ ระหว่างการคิดแบบการใหญ่ (เิงินเยอะๆ) กับการคิดแบบค่อยเป็นค่อยไป (เงินน้อย)  และการคิดแบบได้เสีย (ได้ทรัพย์ ได้ชื่อเสียง) กับคิดแบบได้ผลที่จีรังยั่งยืน (ได้ผลบรรลุตามจุดประสงค์)

อีกประการหนึ่ง คือ เรื่องของอัตตาที่มีอยู่ในตัวตนของคนและของส่วนราชการ ที่ข้ามแดนกันไม่ได้ ซึ่งบางทีก็ผิดฝาผิดตัวในการแสดงตนว่าเป็นเรื่องของฉันไม่ใช่เรื่องของเธอ ซึ่งก็เป็นเรื่องมีทั้งที่สามารถแยกกันได้ขาดหรือจะต้องทำด้วยกัน      
  
ทิ้งให้ลองพิจารณาคำว่า การค้า (trade) กับคำว่าการพาณิชย์ (commerce)     ต่างกัน เหมือนกัน หรือเกี่ยวข้องผูกพันกันอย่างไร ฮืม   และการตลาดเป็นเรื่องของการค้า หรือการพาณิชย์  

ผมเคยได้ยินกับหูว่า...เป็นการประชุมเรื่องเกี่ยวกับ trade แต่ทำไมเราส่งคนในหน่วยงานที่ด้าน commerce มา  
    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 19:31

ลอจิสติกส์ เป็นคำที่ฝ่ายพลเรือนและการค้ายังคงเรียกทับศัพท์อยู่ แต่ฝ่ายทหารนั้นมีคำแปลที่สื่อความหมายตรงมากๆ คือ การส่งกำลังบำรุง ซึ่งเป็นเรื่องและเป็นระบบใหญ่ที่สำคัญมาก ที่จะต้องมีประสิทธิภาพสูง มีความถูกต้อง แม่นยำ มีความพอดี ทันการ สามารถปฎิบัติการได้อย่างได้ผลในทุกสภาพและสถานะการณ์ และต้องอยู่ในลักษณะที่สามารถจะควบคุมและจัดการให้เป็นไปตามความต้องการได้

ลอจิสติกส์ เกี่ยวพันกับเรื่องของการลำเลียง การยักย้ายถ่ายเทวัสดุ สิ่งของ และคน ไม่ว่าจะด้วยทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศก็ตาม ให้ทันตามกำหนดและเงื่อนไขของเวลา  และก็เกี่ยวข้องลงไปถึงระบบการประสานงานและการสื่อสารในวงกว้าง   ในทางทหารนั้น ขอบข่ายของกระบวนการจัดการให้บรรลุผลมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะภายในกองทัพหรือระหว่างกองทัพ แต่รวมถึงเอกชนทั้งรายใหญ่และรายเล็กต่างๆด้วย

รัฐบาลไทยเราอยากจะทำให้ไทยเป็นลิจิสติกส์ฮับ ก็คงเป็นความคิดที่เป็นไปตามผลการศึกษาบางเรื่องภายใต้ความช่วยเหลือแบบ ODA ผนวกกับสภาพของการพัฒนาที่เกิดขึ้นรอบบ้านเรา (การลงทุน ถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ การย้ายฐานการผลิต ฯลฯ)   หากจะทำให้เกิดขึ้นจริง คงจะต้องมีการปรับกฎหมาย ระบบทั้งหมด และคน ให้มีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลเป็นการใหญ่เสียก่อน 



       

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 20:07

เนื่องด้วยได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ฟันเฟืองอันเป็นกลไกสำคัญของระบบการผลิตของประเทศต่างๆนั้นเป็นธุรกิจขนาด SMEs ค่อนไปทาง SM แถมไปทาง S มากๆอีกด้วย ธุรกิจขนาดเหล่านี้ไม่มีทุนมากพอที่จะสต๊อกวัตถุดิบและของที่ผลิตได้เพื่อป้อนต่อให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรืออุตสาหกรรมข้ามชาติได้  จึงมีการยอมรับระบบ Just in time ที่ได้พัฒนาขึ้นมาในญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่า (ในหลักการ) วัสดุสิ่งของที่ป้อนเข้ามาในกระบวนการผลิตจะทะยอยเข้าส่งเข้ามาให้พอดีกับการผลิตในแต่ละวันหรือช่วงคาบเวลา และในทำนองเดียวกันก็สามารถจะขนของที่ผลิตได้แล้วในแต่ละวันหรือแต่ละคาบเวลาออกไปส่งให้กับผู้รับได้ โดยไม่ต้องมีโกดังเก็บสต๊อกของๆตนเอง
ในระบบการผลิตแบบนี้ ระบบลอจิสติกส์มีส่วนช่วยอย่างมาก คือ ทำหน้าที่เป็นฟองน้ำที่ช่วยดูดซับทะยอยจ่ายทะยอยเก็บวัสดุิ่สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่จะส่งต่อ รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก สนับสนุึนให้มีสถานที่สำหรับระบบฟองน้ำนี้บริเวณชานเมือง  จะว่าไปไทยก็มีคล้ายๆกันในอีกลักษณะหนึ่ง คือ ที่เรียกว่าตลาดขายส่งและตลาดสี่มุมเมือง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 20:47

อ้างถึง
รัฐบาลไทยเราอยากจะทำให้ไทยเป็นลิจิสติกส์ฮับ ก็คงเป็นความคิดที่เป็นไปตามผลการศึกษาบางเรื่องภายใต้ความช่วยเหลือแบบ ODA ผนวกกับสภาพของการพัฒนาที่เกิดขึ้นรอบบ้านเรา (การลงทุน ถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ การย้ายฐานการผลิต ฯลฯ)   หากจะทำให้เกิดขึ้นจริง คงจะต้องมีการปรับกฎหมาย ระบบทั้งหมด และคน ให้มีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลเป็นการใหญ่เสียก่อน 

ยังไม่เข้าใจค่ะ

อ้างถึง
ในระบบการผลิตแบบนี้ ระบบลอจิสติกส์มีส่วนช่วยอย่างมาก คือ ทำหน้าที่เป็นฟองน้ำที่ช่วยดูดซับทะยอยจ่ายทะยอยเก็บวัสดุิ่สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่จะส่งต่อ รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก สนับสนุึนให้มีสถานที่สำหรับระบบฟองน้ำนี้บริเวณชานเมือง  จะว่าไปไทยก็มีคล้ายๆกันในอีกลักษณะหนึ่ง คือ ที่เรียกว่าตลาดขายส่งและตลาดสี่มุมเมือง

สนใจ  กรุณาขยายความหน่อยได้ไหมว่าตลาดขายส่งและตลาดสี่มุมเมือง เข้ามาเกี่ยวข้องได้ยังไงคะ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง