เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102586 ก้าวย่างในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 14 ก.ย. 12, 19:29

กลับมาแล้วครับ
ขอบคุณ คุณพวงแก้วด้วยครับที่ได้กรุณาเอารูปมาลง

เรื่องหนึ่งที่ตั้งใจจะเขียนมานานแล้ว ลืมไปบ้าง จังหวะโอกาสเวลาไม่อำนวยบ้าง ก็เลยไม่ได้เขียนสักที คราวนี้ได้ท่องจำมาเลย

ผมติดตั้งจานรับสัญญาณทีวีที่บ้านพักใน ตจว. มาหลายเดือนแล้ว พอเริ่มเปิดทีวีไล่เรียงช่องดู ก็ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างหนึ่ง ไปคราวนี้ก็ได้ฟังชาวบ้านบ่นกันในทำนองที่ผมรู้สึก คือ มีช่องรายการมากแต่เกือบจะไม่มีสาระอะไรเลย มีแต่ช่องเพลง โฆษณาขายของ ดูหมอ ตลก ฯลฯ  แม้จะมีช่องที่ใช้ชื่อที่บ่งบอกว่าน่าจะเกี่ยวกับสารคดีและการให้เกล็ดความรู้ก็กลับกลายเป็นเรื่องของการโฆษณาสรรพคุณสินค้าที่ต้องการจะขายเท่านั้น

ผมเห็นว่า สื่อ ธุรกิจ เจ้าของรายการ และรวมทั้งผู้ให้การสนับสนุนรายการในกลุ่มทีวีจากสัญญาณดาวเทียมนี้ น่าจะได้แทรกข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลและความรู้เข้าไปในรายการบ้างก็จะการดี ควรจะมีการคำนึงถึง CSR (ซึ่งผมคิดว่าเป็นพื้นฐานทางจรรยาบรรณที่ได้ร่ำเรียนกันมา) กันให้มากขึ้นมากๆ   ทีวีเหล่านี้ แต่ละธุรกิจต่างก็มีกล่องแปลงสัญญาณของตนเอง โฆษณาแข่งขันกันที่จำนวนช่องที่รับได้ ซึ่งก็มีหลายช่องจำนวนมากที่เป็นสัญญาณแบบ FTA (Free to air) ของต่างประเทศ ฟังก็ไม่ออก ดูภาพก็ไม่เข้าใจ    ชาวบ้านไม่รู้ ก็เลือกเอาจำนวนช่องที่มากเข้าว่า เพื่อหวังว่าจะได้มีโอกาสเปิดหูเปิดตา ได้รับข้อมูลข่าวสารประดับความรู้ของตนให้มากขึ้น ก็กลับกลายเป็นว่า ไม่ว่าจะใช้กล่องแปลงสัญญาณของใครก็อีหรอบเดียวกัน    โดยนัยก็คือ content ควรจะเป็นเรื่องเพื่อการเปิดหูเปิดตาก็กลับกลายเป็นเรื่องตรงกันข้าม     

ผมเห็นว่า ด้วยสำนึกเพียงนิดเดียวของทั้งฝ่ายรัฐและเอกชน หรือองค์กรที่ควบคุม เราสามารถจะใช้สื่อทีวีดาวเทียมของระบบ FTA นี้เป็นแหล่งแทรกให้ความรู้กับชาวบ้านในแง่มุมต่างๆที่ราษฎร (ไม่ว่าจะเลือกดูช่องใหนก็ตาม) พึงได้รับรู้ เช่น ในบริบทของเรื่อง AEC  ในบริบทของเรื่องสารเคมีต้องห้ามใช้ในการเกษตรที่สากลเขาบังคับ  ในบริบทของการขึ้นทะเบียน อย.  ในบริบทของเรื่อง......ฯลฯ  สารพัดเรื่องที่ราษฎรในระดับรากหญ้าพึงรู้  แม้กระทั่งจะใช้ในด้านการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในภาคใต้    โดยสรุปแล้วมันก็อยู่ในบริบทของ content ซึ่งอยู่ในมือของคนในระบบสื่อ

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 14 ก.ย. 12, 20:21

ถึงกับท่องมาเลย แสดงว่าหงุดหงิดมาก...
อย่าว่าแต่ต่างจังหวัดเลย แม้ในกรุงเทพฯ บ้านที่ติดจานดาวเทียมโดยหวังว่าจะได้ดูอะไรกว้างไกลบ้าง
มีตั้ง หลายร้อยช่อง ลองไล่ดู นอกจากฟรีทีวี(ปกติ)แล้ว ช่องอื่นที่น่าดูมีไม่เกิน 5 ช่อง

ปัญหาคือวงการสื่อสารของเราไม่ได้เน้นคุณภาพในเชิงความรู้ แต่เน้นช่องทางเพื่อการขายโฆษณา
เพราะการสร้างรายการให้ได้รับความนิยมเป็นเรื่องยากมาก และต้องทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน
ลงทุนมาก บุคคลากรต้องมีฝีมือ ผู้ดำเนินรายการต้องมีชื่อเสียง และต้องรักษากลุ่มลูกค้าให้ติดตาม
อย่างสม่ำเสมอ 

รายการที่ง่ายที่สุดคือเอาเทปเก่ามาฉายใหม่  ซื้อรายการดังมาทำบ้าง หรือรายการเพลง

รายการอะไรก็ได้ที่เน้นความบันเทิง แต่ ไม่กล้าทำรายการคุณภาพ (เพราะความไม่พร้อม)

ความจริงแล้วเรื่องราวอีกมากมายน่าสนใจถ้าผู้ผลิตรายการมีฝีมือ และลงไปคลุกกับประชาชนให้มากกว่านี้

เรื่องสิ่งแวดล้อม  ประเพณี วัฒนธรรม ธรรมชาติ เศรษฐกิจ ช่างฝีมือ ความแตกต่างของผู้คนในสังคม

อุตสาหกรรม อาหารในท้องถิ่น ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ฯลฯ

แต่ผู้ผลิตรายการสมัยนี้มักเป็นคนหนุ่มสาวที่อาจจะยังไม่มีประสบการณ์เชิงลึก  มุมมองชีวิตยังแคบ

ยังไม่ลุ่มลึก รวมทั้งยังไม่มีทุนของตนเองต้องทำตามนโยบายของผู้ใหญ่ซึ่งก็ยังวนอยู่ที่เดิม....

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 15 ก.ย. 12, 09:57

ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องทีวีระบบดิจิตัล แต่ได้ข่าวว่าในเวลาอีก 1-2 ปีนี้

ระบบทีวีบ้านเราจะเปลี่ยนเป็นระบบใหม่ จะทำให้มีฟรีทีวีเพิ่มอีก1-2เท่าตัว

เท่าที่สังเกต นายทุน นักธุรกิจกระเป๋าหนักก็ซุ่มซื้อช่องสัญญาณไว้เป็นของตัวเองกันแล้ว

แต่ยังไม่มีการผลิตรายการ ....คงปล่อยเป็นช่องดำ เอาไว้เพื่อรอเวลา....
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 15 ก.ย. 12, 18:35

^
ผมก็มีความรู้เพียงน้อยนิดเช่นกัน
ติดว่าคงจะเปรียบเทียบได้กับการเปลี่ยนระบบโทรศัพท์จากระบบการหมุนหมายเลขแบบ Pulse ไปเป็นระบบแบบ Tone  ซึ่งก็คือการเปลี่ยนจากระบบ analog ไปเป็นระบบ digital เช่นกัน    เป็นการปรับเปลี่ยนในทางเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับการสื่อสารและโทรคมนาคมของสังคมโลกที่นานาชาติได้มีการตกลงกัน  ในเรื่องนี้พอจะทราบว่ามันไปเกี่ยวกับช่วงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถใช้ในการสื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันนี้นั้น แม้จะได้มีการจัดสรร แบ่งโซน แบ่งเขต แบ่งย่านความถี่ ฯลฯ กันแล้ว ก็ยังไม่พอที่จะรองรับการขยายตัวของการสื่อสารและการโทรคมนาคมต่างๆได้     คงจะไม่ขยายความไปมากกว่านี้แล้วครับ จะเข้าไปในเขตของวิทยาการมากไป

น่าสนใจในประเด็นหนึ่ง คือ แม้สหรัฐฯจะก้าวหน้าในเรื่องการสื่อสารและการโทรคมนาคมมากกว่าใครๆก็ตาม เขาก็มีนโยบาย กฎหมาย และการปฎิบัติ ในลักษณะที่ปกป้องและยังแทบจะบังคับให้ยังคงต้องมีการใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมในบางเรื่อง ตลอดจนสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาไปตามเส้นทางของมัน เช่น ในกรณีของโทรศัพท์  ค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้โทรศัพท์ประเภทไร้สายจะต้องสูงมากกว่าโทรศัพท์แบบใช้สายเสมอ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลให้มีการพัฒนาระบบสายส่งสัญญาณจากแบบลวดโลหะไปเป็นแบบใยแก้ว และหากเกิดกรณีระบบไร้สายล่ม (เมื่อเกิดสงคราม ฯลฯ) ก็จะยังคงมีคนที่จะเข้าใจในการย้อนกลับมาใช้แบบดั้งเดิมได้ เป็นต้น

ประเด็นทั้งหมดไปอยู่ที่ เราคิดไปได้มากเพียงใดจากความรู้ที่เราได้ร่ำเรียนมา  ตัวอย่างเช่น ระบบการสื่อสารบนคลื่นความถี่ย่าน HF ของเรานั้น ส่วนราชการของเรา (น่าจะ) ละทิ้งไปหมดแล้ว ทั้งๆที่ระบบนี้เป็น life line ที่สำคัญมากๆ  เมื่อเกิดเหตุการณ์พิบัติภัยทางธรรมชาติ การสื่อสารระบบนี้ก็คือระบบที่ทำให้โลกภายนอกได้รับรู้เรื่องและสามารถเข้ามาให้ความช่วยเหลือในลักษณะที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกรณีเชินนาบิล แผ่นดินไหวในจีน ในญี่ปุ่น และรวมทั้งซึนามิ

ขออภัยครับ บ่นอีกแล้ว       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 15 ก.ย. 12, 19:37

ในเรื่องของการก้าวย่างในยุค  AEC นี้ ผมเห็นอีกเรื่องหนึ่ง คือ การเข้ามาใช้ผืนแผ่นดินไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารคุณภาพสำหรับประชาชนและการค้าของประเทศอื่นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน   จากเดิมที่พอมีอยู่บ้างโดยลักษณะทางการค้าขายปรกติ ไปสู่ contract farming  และกำลังก้าวไปสู่อาชีพนอร์มินี

เป็นเรื่องที่เกิดได้ง่ายและรวดเร็วมาก   แหล่งเพาะปลูกและที่ดินผืนใหญ่ที่สำคัญเป็นจำนวนมากอยู่ในมือของคนมีเงินและคนที่มีอิทธิพล ชาวบ้านเป็นจำนวนมากเป็นเพียงผู้เช่าทำกิน (แม้กระทั่งในที่ดินที่เคยเป็นของตนเอง) เมื่อใดที่เจ้าของที่ดินเห็นประโยชน์เพียงปริมาณรายได้ เมื่อนั้นชาวบ้านก็คงจะต้องแปลงสภาพจากผู้เช่าทำกิน (ซึ่งยังคงยังจะพอมีอิสระในการตัดสินใจว่าจะทำอะไรเป็นของตนเอง) กลายไปเป็นผู้ใช้แรงงานตามฤดูกาล ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางสังคมมากทีเดียว

ใน EU ก็เกิดภาพเช่นนี้   ผมได้เคยมีโอกาสไปรับรู้กับสภาพนี้ในพื้นที่จริงแห่งหนึ่ง แหล่งผลิตอาหารของเขาได้กลายเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตเหล้าวอดก้าชั้นดีจำหน่ายไปทั่วโลกในธุรกิจของอีกประเทศหนึ่ง 


 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 16 ก.ย. 12, 18:01

ได้กล่าวถึง CSR มา ก็เลยอยากจะขยายความต่อเนื่องไปอีกสักหน่อยนึง

CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility   แนวคิดในเรื่องนี้เกิดมานานหลายสิบปีแล้ว และก็มีการใช้ชื่ออื่นๆอีกหลายชื่อเรียกนโยบายและการกระทำในแนวคิดนี้  ในที่นี้ผมจะขอเรียกแนวคิดนี้ว่า CSR ก็แล้วกัน   โดยหลักการก็คือ ความรับผิดชอบของธุรกิจนั้นๆต่อสังคม ซึ่งกระทำได้ในหลากหลายเรื่องมากมาย เช่น ในเชิงของความซื่อสัตย์ของธุรกิจเอง (ไม่หลอกลวง ไม่คดโกง ฯลฯ) ในเชิงของความรับผิดชอบต่อผู้ใช้ (consumer) ในเชิงของการตอบแทน (ช่วยพัฒนาพื้นที่และสังคมท้องถิ่น ฯลฯ) ฯลฯ       CSR เป็นเรื่องของความสำนึกทางจิตใจในด้านของการกระทำที่เป็นคุณ มิใช่เรื่องของการกระทำที่อยู่ในบังคับโดยกฎหมาย  แต่หลายธุรกิจก็กระทำเพื่อมุ่งหวังประโยชน์ทางการค้าของตน และก็มีหลายธุรกิจที่กระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายผู้ใช้และสังคมโดยรวม 

เมื่อเกิด AEC เราก็คงจะได้เห็นการกระทำที่เรียกว่า CSR นี้มากขึ้น ทั้งจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์และที่ไม่มีการป่าวประกาศให้เป็นที่เอิกเกริก เนื่องจากจะมีการเข้ามาลงทุนและออกไปลุงทุนไขว้กันระหว่างธุรกิจในกลุ่มประเทศสมาชิกมากขึ้น และก็จะเป็นจุดขายอีกอย่างหนึ่งด้วย

สำหรับผมนั้น เห็นว่า CSR มิใช่เรื่องที่จะต้องกระทำโดยธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น   แนวคิดเรื่อง CSR นี่ หากได้มีการปฎิบัติโดยธุรกิจเล็กๆในระดับ SMEs หรือธุรกิจระดับจิ๋วของชาวบ้านของเรา ผมเชื่อว่าก็จะทำให้ธุรกิจนั้นๆเกิดความมั่นคงและขยายกิจการได้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 18:39

เมื่อเกิด AEC  ธุรกิจขนาดใหญ่ต่างก็ได้รับประโยชน์กันเต็มที่ ซึ่งรัฐบาลและส่วนราชการก็ดูจะสาละวนอยู่กับการสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับธุรกิจเหล่านี้ ผมยังไม่เห็นว่ามีหน่วยงานทั้งฝ่ายรัฐและเอกชนได้พูดและทำอะไรในเรื่องที่เกี่ยวกับโอกาสของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดจิ๋วเลย  สสว.ก็หายเงียบไปเหมือนไม่มีตัวตนอยู่เลย  สอท.ก็เช่นกัน   

เรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าเป็นตัวอย่างและวิธีการที่ดีในการเปิดช่องทางการเข้าสู่ตลาด (market access) ให้กับชาวบ้านและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเท่าที่ผมได้เห็นมามีอยู่ 2 วิธีการ คือ ในรูปของ events ซึ่งกระทำกันค่อนข้างจะแพร่หลายในยุโรป เรียกกันว่า Avant-garde (ตามท้ายด้วย event บ้าง market บ้าง หรือ mall ก็ีมี และอื่นๆ ฯลฯ)    และในรูปของร้านค้าซึ่งกระทำกันในญี่ปุ่นเป็นหลัก ทั้งที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลกลางและโดยการรวมตัวของรัฐบาลท้องถิ่น

ในกรณีของ Avant-garde นั้น จะขอขยายความดังนี้  คำนี้เป็นคำในภาษาฝรั่งเศสที่หมายถึง อะไรๆที่ต่างไปจากปรกติ (เป็นลักษณะของการก้าวย่างออกไปจากปรกติ) ซึ่งใช้กับงานด้านศิลป์ต่างๆ  แต่ได้มีการนำคำนี้มาใช้กันทั่วไปทั่วยุโรปในเรื่องของ life style ซึ่งผนวกรวมเรื่องของสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อาหาร เครื่องประดับและเครื่องใช้ต่างที่ไม่มีขายตามปรกติอยู่ในท้องตลาด เหล่านี้เป็นต้น    วิธีการก็คือ ฝ่ายบ้านเมืองเป็นฝ่ายดำเนินการ อนุญาตให้ใช้พื้นที่ลานกลางเมืองตั้งบู๊ทหรือ Kiosk ขายของเป็นคราวๆไปประมาณ 7 วันล่วงหน้าก่อนฤดูกาลหรือวันสำคัญต่างๆ ชาวบ้านก็จะเอาของที่ไม่เป็นปรกติกมาวางขาย  บางเมืองหรือบางประเทศก็จัดเป็นงานในอาคารประจำปีไปเลยก็มี ซึ่งของเรามักจะจัดในลักษณะนี้ แต่ต่างกันที่ของเรามีแต่ของที่เห็นเป็นปรกติประจำวัน ของที่ไม่ปรกติต่างๆถูกกำหนดพื้นที่ให้ไปอยู่ห่างๆไกลๆ

ผมชอบไปเดินในงานลักษณะนี้ของยุโรป ทำให้ได้รู้จักวิถีของคนและขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านของเขาจริงๆ รวมทั้งปรัชญาแนวคิดต่างๆอีกด้วย  ตลาดเหล่านี้แหละครับ ที่ทำให้ผมได้เห็นสินค้าพื้นบ้านของไทยหลายๆอย่างปรากฏวางขายอยู่ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นสินค้าที่วางขายอยู่ตามร้านในชุมชนท้องถิ่น (หมู่บ้าน) ของบ้านเรา   ทำให้ผมเกิดความเข้าใจในสภาพและสถานะของเรื่องต่างๆอีกหลายๆเรื่อง  ส่วนราชการไทยที่ดูและในเรื่องเหล่านี้จริงๆไม่มีนะครับ มีแต่ให้ความสนใจกับเรื่องการค้าขายใหญ่ๆ คือ คิดเก็บแต่ Strike ไม่คิดเก็บ Spare (ขออนุญาตอธิบายด้วยภาษาในกิฬาโบว์ลิ่ง)

     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 22:13

ขอยกมือขัดจังหวะคุณตั้ง ทั้งที่กำลังฟังเลกเชอร์อยู่เพลินๆ
คุณตั้งคงอ่านพบข่าวในนสพ.แล้วนะคะ  ว่าดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการ..เอ่อ.. AC  หรือ AEC จนบัดนี้ดิฉันก็ยังจำไม่ได้   แถลงว่าที่จะเปิด AEC ในวันที่ 1 มกราคม 2558 นั้น จะต้องเลื่อนไปเป็นเดือนธันวาคมเสียแล้ว  ก็คือเลื่อนไป 1 ปีหย่อนไม่กี่วันนั่นเอง
เพราะความไม่พร้อมบางเรื่อง ซึ่งดิฉันยังไม่ได้ไปค้นดูว่าเรื่องอะไร

ไม่รู้ว่าข่าวนี้จะทำให้คุณตั้งเสียใจหรือดีใจมากกว่ากันค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 18:22

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) กล่าวว่า แผนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อาจจะต้องเลื่อนออกไป 1 ปีจนถึงสิ้นปี 2015 เนื่องจากบางประเทศยังไม่มีความพร้อม

นายสุรินทร์ กล่าวขณะเข้าร่วมการประชุมรมว.พลังงานอาเซียนที่กรุงพนมเปญ ว่า รมว.คลังอาเซียนได้ขอให้เขาเลื่อนการเปิด AEC ในการประชุมที่เพิ่งจัดขึ้น และเขาจะเสนอแนวคิดดังกล่าวให้บรรดาผู้นำของชาติสมาชิกพิจารณาในการประชุมสุดยอดที่จะมีขึ้นในเดือนพ.ย.นี้

สมาชิกอาเซียนประกอบด้วยบรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย,พม่า, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม

AEC ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันที่ 1 ม.ค.2015 นั้น จะทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้า, เงินทุน และแรงงานทักษะในภูมิภาคเป็นไปอย่างเสรี

นายสุรินทร์กล่าวว่า รมว.ต่างประเทศของอาเซียนได้ตัดสินใจในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาว่า AEC ควรเปิดตัวในวันที่ 1 ม.ค.2015

"บรรดารัฐมนตรีเศรษฐกิจได้สำรวจดูภาวะแวดล้อมต่างๆ และตระหนักว่าพวกเขาต้องการเวลาอีก 1 ปี พวกเขาจึงมาขอให้ผมสื่อสารกับหน่วยงานทั้งหมดจนถึงบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกว่า เราควรจะแสดงความคิดไปในทำนองเดียวกัน" นายสุรินทร์ กล่าว ดังนั้น AEC จะเริ่มเปิดตัวในวันที่ 31 ธ.ค.2015

กัมพูชา, ลาว และพม่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชีย ขณะที่อินโดนีเซียเป็นสมาชิกในกลุ่มจี-20 และสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลกที่กำลังเฟื่องฟู

นายสุรินทร์ ระบุว่า มีความท้าทายหลายเรื่องที่ต้องได้รับการจัดการ ซึ่งรวมถึงการขจัดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งการเลื่อน AEC มีขึ้นในช่วงที่ข้อพิพาทด้านชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา รวมทั้งการที่สมาชิก 4 ชาติในอาเซียน, จีนและไต้หวัน ที่อ้างสิทธิเหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ ทำให้เห็นถึงความขัดแย้งทางการทูตภายในอาเซียน

"โลกกำลังคาดหวังให้เรารวมตัวกัน" เขากล่าว พร้อมระบุว่า AEC จะสูญเสียความน่าเชื่อถือ ถ้าหากไม่ได้รวมถึงสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
ข้อพิพาทด้านชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา รวมทั้งการที่สมาชิก 4 ชาติ ในอาเซียน, จีนและไต้หวันได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ ทำให้เห็นถึงความขัดแย้งทางการทูตภายในอาเซียน

 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/asean-plus/20120913/469874/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-AEC-%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%98.%E0%B8%84.%E0%B8%9B%E0%B8%B558.html
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 19:32

^
อยู่ฝ่ายดีใจมากกว่าครับ

ผมได้มีโอกาสทำงานในระบบความร่วมมือระหว่างรัฐ (รัฐบาล, ประเทศ, กลุ่มประเทศ, นานาชาติ)  ทำให้ได้เห็นภาพหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องแถลงออกมาถึงความสำเร็จที่ได้มีการตกลงกันบ้าง มีคงามตกลงกันบ้าง มีความเห็นพ้องกันบ้าง ฯลฯ หากเมื่อใดได้มีการประชุมในระดับผู้รับผิดชอบสูงสุด (รัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, ผู้นำประเทศ)  กลายเป็นธรรมเนียมที่จะต้องมีความพยายามหาประเด็นที่จะต้องป่าวประกาศแสดงถึงความสำเร็จ  เป็นภาษาดอกไม้ทั้งนั้น  หลายๆเรื่องก็เป็นเรื่องที่ต้องควานหากันในระหว่างการประชุม จะพร้อมในการรับหรือปฎิบัติแค่ใหนเพียงใดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง   ความตกลงเหล่านี้มีทั้งที่ผูกมัด (Legal binding) และไม่ผูกมัด แล้วก็มีทั้งที่เรียกว่า Resolution, Declaration, Decision, Agreement, Interim agreement

ตัวอย่างเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องของทศวรรษของคนพิการ ที่ตกลงกันในกรอบของ ESCAP นานมาแล้ว แต่กว่าที่เราจะได้ทำกันจริงๆก็แทบจะเป็นปีสุดท้าย แถมทำไม่หมดและทำด้วยความไม่เข้าใจด้วย สาเหตุพื้นฐานส่วนหนึ่งก็มาจากคนที่เข้าไปประชุมเป็นส่วนงานหนึ่ง ผู้ปฎิบัติเป็นอีกส่วนงานหนึ่งที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย  ส่วนคนที่อยู่ในระบบการประชุมก็ฝันเฟื่องกันไปเออออห่อหมกกับเขาแล้วก็ไม่ได้ส่งเรื่องให้ฝ่ายปฏิบัติทราบก็มี ส่งเรื่องต่อไปให้ช้าก็มี ความพร้อมและความเข้าใจของฝ่ายปฏิบัติก็ไม่เพียงพอ  สังเกตใหมครับ ว่าทางลาดที่ขอบทางเดิน (foot path) สำหรับคนพิการ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการนั้น มีบ้าง ไม่มีบ้าง ใช้การอย่างเหมาะสมได้บ้างไม่ได้บ้าง ฯลฯ  บางแห่งก็เพียงทำให้เห็นว่ามี แต่ไม่กว้างพอสำหรับล้อรถเข็นของคนพิการ เป็นต้น

ความตกลงต่างๆของอาเซียนก็ไม่หนีไปจากกรณีตัวอย่างที่เล่ามานี้มากนัก    ในวงการประชุมของระบบนี้ ถูกครอบด้วยปรัชญา อาทิ องค์กรนี้มีแต่ความเห็นร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์ หรือ The spirit of...       การตัดสินด้วยการลงคะแนนเป็นเรื่องที่ไม่พึงปราถนา พร้อมไม่ไพร้อมแค่ใหนไม่รู้ รับไว้ก่อนแล้วค่อยว่ากันทีหลีง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 19 ก.ย. 12, 19:21

ขอวกกลับมาเรื่อง market access ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างและหาที่ยืนให้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดจิ๋วเมื่อเกิด AEC 

ได้กล่าวถึงแนวคิดและวิธีช่วยชาวบ้านแบบหนึ่งของฝรั่งในยุโรปที่ใช้การจัดตลาดแบบ advant-garde แล้ว

(ขออภัยที่มีภาษาอังกฤษมากไปหน่อยในกระทู้นี้ครับ มิได้มีความประสงค์จะแสดงความรู้อะไรหรอกครับ จะแปลความให้เป็นไทยก็เกรงว่าจะไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริงของเค้า คุณวิกกี้จะช่วยให้ความกระจ่างได้ดี)

ตอนนี้ก็จะขอเล่าแนวคิดและวิธีการที่กระทำกันในญี่ปุ่น ซึ่งผมเห็นว่าเป็นแบบที่สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมของคนเอเซีย

ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดจิ๋วทั้งหมดนั้น ผมเห็นว่าเป็นเรื่องของการขายฝีมือและความชำนาญการ     ญี่ปุ่นก็เห็นเช่นนี้  จะด้วยสมาคมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว หอการค้า SMEs  ส่วนราชการ (เช่น SMEA) องค์กรกึ่งราชการ (เช่น SMRJ) หรือส่วนรัฐท้องถิ่น (Prefecture ต่างๆ)  จึงให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมสำหรับชาวบ้าน คน และธุรกิจที่มีโอกาสน้อยต่างๆ ให้สามารถมีตลาดที่จะขายผลิตภัณฑ์ตามสมควรแก่เหตุ

วิธีการอย่างหนึ่ง คือ การเปิดร้านขายของท้องถิ่นในย่านที่มีคนในเมืองไปจับจ่ายซื้อของกินของใช้กันเป็นประจำวันกัน (สินค้าที่จะเล่าให้ฟังนี้เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องของๆกินนะครับ) เนื้อที่ร้านค้าก็คงประมาณเท่ากับสามห้องแถวของบ้านเรา  ร้านเองก็แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนสำหรับวางขายของดังที่มีคนนิยมซื้อหากันเป็นประจำ (ที่เป็นของดีของจังหวัดต่างๆ) พื้นที่ส่วนสำหรับขายของที่คนเริ่มนิยมมาหาซื้อกันมากขึ้นในระดับหนึ่ง และพื้นที่สำหรับสินค้าใหม่ๆที่แสวงหาตลาด     
 
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจมีอยู่หลายเรื่อง
เรื่องแรก คือ เรื่องของการบริหารจัดการร้านนี้ มิใช่เป็นเรื่องของการขายเพื่อหากำไรให้ร่ำรวย เป็นเพียงมีกำไรพอที่จะรักษาสภาพคล่องของการดำเนินการในลักษณะของพอเอาตัวรอด

จะพยายามเล่าแบบไม่ให้มีความสับสนนะครับ    แต่ดูจะลำบากเสียแล้ว เลยจะขอใช้เวลาเรียงลำดับเรื่องและสมองก่อน     
การเล่าด้วยวิธีการเขียนนี้ยากกว่าการเล่าด้วยการบรรยายด้วยปากจริงๆครับ                   

 
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 19 ก.ย. 12, 19:46

กำลังอยู่ในสภาพที่คิดว่า กำลังฝอยไปเรื่อยๆหรือเปล่า และเรื่องที่เขียนๆไปนี้ มีสาระที่เป็นประโยชน์หรือไม่     
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 19 ก.ย. 12, 19:56

เรื่องที่เล่านี้มีประโยชน์แน่นอนคะ แต่ดูเหมือนยิ่งเล่าคุณตั้งจะออกเกร็งๆ
ค่อนข้างเป็นวิชาการ ถ้าจะให้สนุกอยากให้คุณตั้งเล่าเหมือนตอนเขียนเรื่อง
ที่เดินป่า ทำอาหารป่า มีสีสันทางภาษามากกว่า...สนุกสนานและน่าประทับใจคะ

ขออภัยที่แสดงความคิดเห็นมา เพราะอยากทราบมุมมองของผู้มีประสบการณ์ตรง
ซึ่งจะหาคนที่ยอมสละเวลามาเล่าให้ฟังได้ยากมากคะ  สิ่งนี้จะเป็นเหมือนแสงไฟนำทาง
ให้เราคนไทยที่ไม่มีข้อมูลเรื่อง AEC มากนัก ได้เชื่อมต่อความคิดได้ง่ายขึ้นค่ะ...ขอบคุณคะ

ขออยู่แผนกหาภาพมาประกอบนะคะ ...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 17:32

เล่าไปเรื่อยๆ สบายๆ แบบพาเดินชมตลาด ก็ดีค่ะ คุณตั้ง
จะได้หิ้วตะกร้าไปด้วย แวะช็อปสินค้าท้องถิ่น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 18:04

ขอบคุณครับ ที่ให้ความเห็นตรงๆ  แถมอ่านอาการออกอีกด้วย  ยิ้มกว้างๆ

ใช่ครับ ค่อนข้างจะระวังและเกร็งๆอย่างที่สัมผัสได้ เขียนยากครับ ผมเองต้องประเมินจากจำนวนและอัตราการคลิกเข้ามาอ่าน เพื่อดูว่าเรื่องยังมีการติดตามและยังอยู่ในความสนใจหรือไม่ คอยปรับเนื้อหาที่จะเล่า อู้บ้าง ไปเร็วบ้าง และต้องพยายามปรับทั้งพื้นฐานและการให้รายละเอียดพอดีๆกัน อดคิดไม่ได้และต้องคำนึงตลอดเวลาอยู่ว่า อาจะเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน หรือไม่ก็เป็นเรื่องในแดนสนธยา  แต่อย่างน้อยก็สบายใจอยู่อย่างหนึ่ง คือ ได้เล่าเรื่องเรื่อง แนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้น และความเห็นที่ประมวลได้มาจากประสบการณ์ตรง หลายเรื่องก็เล่าในที่สาธารณะไม่ได้เพราะละเอียดอ่อนและอ่อนไหวเกินไป  ก็ด้วยประการฉะนี้ ครับผม

จะพยายามปรับแนวครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง