เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 102543 ก้าวย่างในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 18:38

กลับมาเรื่องที่ผมเห็นว่าเราควรจะทำอย่างไรในยุค AEC ครับ

ผมเห็นว่า คงจะต้องใช้คำว่า ตัวใครตัวมัน แต่ไม่ใช่ในลักษณะความหมายในทางลบนะครับ  เป็นการคิดในทางบวกครับ

ภาพที่เห็นว่าจะมีคนต่างชาติเข้ามาแสวงประโยชน์ในเมืองไทยอย่างมากมายนั้น เมื่อมองในอีกมุมมองหนึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี    ไทยเรามีของดีมากมายในแผ่นดินที่คนต่างชาติเขาเห็นกัน  ผมเคยได้ยินคนต่างชาติจำนวนมากพูดว่า ไทยเรามีความหลากหลายทาง Heritage ซึ่งแปลง่ายๆก็คือ มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และมีของดีประจำถิ่นที่มากมายเหลือคณานับ ไม่ว่าจะไปที่แห่งหนตำบลใด

OTOP นั้น ถูกชักพาไปด้วยความไม่เข้าใจในปรัชญาลึกๆ ไปสู่ในเรื่องของสิ่งของที่จะผลิตนำออกมาขายโดยฝีมือชาวบ้าน เป็นสินค้าประจำตำบล  แถมได้รับการส่งเสริมในวิถีทางที่ผิดอีก คือ  ทุกตำบลจะต้องผลิตอะไรสักอย่างออกมาขาย ซึ่งมันก็จะซ้ำๆกัน ซึ่งก็มักจะเป็นอาหาร  แล้วเราก็เอามาแข่งขันกันทั่วประเทศว่าของใครดีที่สุด (เรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าได้เคยเล่าไปแล้วหรือยัง) แล้วก็เอาคนที่ใหนไม่รู้ไปเป็นกรรมการตัดสินว่าของใครดีที่สุด  ทำไมจะต้องไปบังคับให้คนทั้งประเทศเชื่อว่าของหรืออาหารอย่างนั้น ที่ตัดสินกันมานั้น เป็นของที่ดีที่สุด ลิ้นของคนแต่ละถิ่นก็ต่างกัน สิ่งของเครื่องใช้ของแต่ละถิ่นก็เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นนั้นๆ มันคงไม่เหมาะที่จะใช้ทั่วไปในทุกภูมิภาค  ยังไม่พอ ยังนำเอาไปขายต่างประเทศอีก แล้วบอกว่าเป็นสุดยอดของไทย ทำให้คนต่างชาติเห็นว่าของที่เป็นเอกลักษณ์และดีจริงต้องเป็นอย่างนั้น  ก็เป็นอันว่ากลายเป็นการส่งเสริมการทำลายเอกลักษณ์และภูมิปัญญาประจำถิ่นไป  จะขายได้ก็ต้องเป็นอย่างนั้นอย่างเดียว  คงจะไม่ต้องขยายและยกตัวอย่างต่อนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 19:14

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 19:25

เปลี่ยนชื่อภูเขาไฟฟูจีจากฟูจียาม่ะเป็นฟูจีซาน(ง)หรือยัง 

富士山 - ·ふじさん - ฟุจิซัง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 19:58

OTOP = One Tambon One Product       OVOP = One Village One Product

จากการได้พบและพูดคุยกับคนต้นคิดและนำการปฏิบัติการเรื่อง OVOP (แท้จริงแล้วก็เป็นกุศโลบายของรัฐในการส่งคนเก่งมากๆคนหนึ่งของกระทรวง METI..กระทรวงการค้าและการอุตสาหกรรม... มาช่วยพัฒนาพื้นที่ยากจนส่วนหนึ่งในเกาะกิวชิว)   เขาเล่าว่า เมื่อเขาเข้่ามาเป็นผู้ว่าของจังหวัด Oita เขาได้เห็นว่าปัญหาความยากจนของจังหวัดนี้เกิดมาจากการขาดแคลนคนรุ่นหนุ่มสาวที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนธุรกรรมทางเศรษฐกิจ  เนื่องจากคนหนุ่มสาวเหล่านี้เข้าไปทำงานกันในเมืองใหญ่ๆกันหมด เหลือแต่พ่อแม่และปู่ย่าตายายเฝ้าทรัพย์สินและที่อยู่อาศัย  จากการสำรวจ เขาพบว่า ในย่านนี้ โดยเฉพาะที่เมือง Beppu เป็นแหล่งที่มีน้ำแร่ร้อนตามธรรมชาติและบ้านเกือบจะทุกหลังก็มีการต่อน้ำแร่ไปใช้ในอ่างอาบน้ำในบ้าน  เขาก็เกิดความคิดในการส่งเสริมให้คนสูงอายุเหล่านั้น เปิดบ้านให้นักท่องเที่ยวเข้ามาพักอาศัยและอาบน้ำแร่ ซึ่งยังผลให้ผู้เฒ่าเหล่านั้นมีรายได้เป็นเรื่องเป็นราว และมากพอเพียงเลยทีเดียว

หลักการคิดของผู้ว่าฯคนนี้ คือ  Think local, act global  &  Think global, act local

  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 20:47

นโยบายนี้ทำให้นึกถึงการเปิดโฮมสเตย์ในคลองริมแม่น้ำแม่กลอง อย่างแถวอัมพวาค่ะ     ทัวร์พาดูหิ่งห้อยในยุคแรกๆน่าตื่นเต้นมาก
ตอนนี้ไม่ทราบว่าหิ่งห้อยยังมีอยู่หรือเปล่า

ลืมไป ย้อนกลับมาให้ A+ เด็กชายประกอบ ค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 21:02

เปลี่ยนชื่อภูเขาไฟฟูจีจากฟูจียาม่ะเป็นฟูจีซาน(ง)หรือยัง 

富士山 - ·ふじさん - ฟุจิซัง
 ยิงฟันยิ้ม

ขอบคุณครับ

แล้ว ซัง กับ ยาม่ะ ซึ่งเขียนเหมือนกัน อ่านออกเสียงต่างกันเพื่อใช้ต่างกันอย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 21:47

ตัวคันจิมีวิธีออกเสียง ๒ อย่างคือออกเสียงแบบจีน (เสียงอง) และออกเสียงแบบญี่ปุ่น (เสียงคุน)

山 - ภูเขา อยู่เดี่ยว ๆ ออกเสียงคุนว่า やま - ยะมะ

ถ้าประกอบคำอื่นให้พิจารณาว่าคำที่ประกอบนั้นออกเสียงองหรือคุน แล้วออกเสียงตามเสียงคำประกอบนั้นเช่น

大山 - เขาใหญ่

ออกเสียงแบบองว่า  たいざん - ไทซัง

ออกเสียงแบบคุนว่า  おおやま - โอยะมะ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 18:28

ขอบคุณอีกครั้งครับ

ผมไม่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่น   
จากการสังเกตุลักษณะภูเขากับชื่อ ดูคล้ายกับว่า หากเป็นภูเขาสูงเห็นตั้งตระหง่านอยู่ ชื่อจะลงท้ายด้วย ซัง แต่สำหรับพวกที่มีลักษณะเป็นเนินเห็นชื่อลงท้ายด้วย ยาม่ะ เกือบทั้งนั้นครับ

เลยนึกไปถึงว่า ได้ทราบมาว่า ภาษาญี่ปุ่นนั้น มีการผันการออกเสียงด้วย เช่น คำที่แปลว่านา หรือท้องนา ก็มีกฎเกณฑ์ว่า อย่างไรจึงจะออกเสียงว่า ta หรือ da หรือ na ใช่ใหมครับ

พาลให้นึกได้ต่อไปว่า เด็กญี่ปุ่นรุ่นใหม่กำลังมีปัญหากับการเขียนตัวอักษรแบบจีน (คันจิ) เนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ส่งข้อความกันมาก เพียงพิมพ์ตัวภาษาญี่ปุ่นตามคำหรือความหมายที่ต้องการ ลงไปแล้วกด convert  เครื่องเปลี่ยนคำนั้นเป็นอักษรคันจิโดยอัตโนมัติ  เห็นหลายคนที่เขียนผิดเขียนถูก ต้องไปเปิดพจนานุกรมเพื่อหาว่าจะต้องขีด หรือ ลบตรงใหนอีก จึงจะได้ตัวคันจิที่ต้องการ

ตอนไปอยู่ใหม่ๆ ด้วยความไม่รู้ ก็คิดว่า เพียงซื้อพจนานุกรมมาเปิดดู เราก็น่าจะพอแปลความหมายคำต่างๆได้บ้าง  ผิดถนัดเลยครับ พจนานุกรมของเขาแบ่งออกเป็นหมวดคำตามจำนวนขีด (stroke) ที่มีอยู่ในคำนั้นๆ  เราก็คิดว่าก็ยังน่าจะพอได้  คนญี่ปุ่นก็บอกอีกว่า ไม่ใช่นับเพียงนั้นก็พอ จะต้องนับให้เป็นอีกด้วย จำไม่ได้แล้วครับ เช่น ขีดแรกจะต้องเป็นบนลงล่าง ขีดที่สองจะต้องเป็นซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ไม่รู้ และแต่ละ stroke นั้น ก็มิได้หมายความว่ามันต้องเป็นเส้นตรงอีกด้วย  เลยยอมแพ้โดยสิโรราบ   คุณเพ็ญชมพูคงจะอธิบายเรื่องเหล่านี้ได้ดี

เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ครั้งหนึ่งเคยเอาสินค้า OTOP ที่ได้รับรางวัลไปเปิดตลาด เป็นขนมเปี๊ยะครับ  เราก็บอกเจ้าของเขาว่าจะต้องมีฉลากเป็นภาษาญี่ปุ่นด้วยนะ จึงจะสามารถนำเข้ามาขายได้  เจ้าของเขาก็ทำมา  พอวางขายเข้าจริงๆ คนญี่ปุ่นสนใจมาก พอยกขึ้นมาอ่านป้ายฉลาก ก็อมยิ้มแล้วก็วางลง ขายไม่ได้เลย เจ้าของก็สงสัย ผมก็เลยขอให้เด็กในสำนักงานของผมลองอ่านดู  เขาก็วางลงอีกเหมือนกัน เลยถามเขาว่า ฉลากบอกเล่าอะไรบ้าง คนของผมก็บอกว่า อ่านไม่รู้เรื่อง (คนของผมนี้ภาษาญี่ปุ่นดีมากขนาดที่คนของกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่นสนใจจะให้ไปทำงานด้วย) ผมบอกเขาให้พยายามหน่อย เขาก็กระท่อนกระแท่นบอกว่า มีทั้งคำที่เกี่ยวกับการซ่อมเครื่องยนต์ และเรื่องอื่นๆปนเปกันอยู่ จึงอ่านไม่ได้ความ จับความไม่ได้เลย ผมก็เลยถึงบางอ้อ  เพราะพอจะเข้าใจอยู่บ้างว่า ตัวอักษรตัวเดียวก็มีความหมายหนึ่ง พอเอามาเรียงกันเป็นสองเป็นสามตัวอักษรก็จะให้อีกความหมายหนึ่ง  ภาษาญี่ปุ่นที่พอจะเข้าขั้นอ่านได้เป็นเรื่องราวอย่างดี จึงต้องรู้ในระดับห้่าหกพันคำขึ้นไป  เด็กไทยที่เรียนภาษาจีนกันแพร่หลายนั้น หากรู้เพียงความหมายของแต่ละคำ ก็คงจะไม่ต่างไปมากจากเรื่องฉลากของขนมเปี๊ยะนี่แหละ

ตบท้ายด้วยความเป็นห่วงว่า หากไม่คิดไม่ทำกันให้ดีๆ การแจกแท๊ปเลตให้กับเด็กวัยเริ่มหัดเขียนหัดอ่านนั้น ต่อไปเด็กไทยก็คงจะอ่านออกแต่เขียนไม่ได้  จะจัดหรือวัด Literacy กันอย่างไรดี

ขออภัยครับ ที่มีหลายประเด็นใน ค.ห.นี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 20:11

ขอย้อนกลับไปเรื่อง OVOP ให้จบครับ

จากเรื่องเปิดบ้านให้นักท่องเที่ยวมาใช้บริการอาบน้ำร้อน  ครานี้ แล้วหมู่บ้านอื่นๆที่ไม่มีน้ำแร่ร้อน (น้ำพุร้อน) ในภูมิภาคนี้จะทำอย่างไร  ก็พยายามหาทางส่งเสริมให้มีการทำผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้านออกมาจำหน่ายกัน  ซึ่งผลก็เหมือนๆกับ OTOP ของเรา คือ ไม่มีตลาด แม้จะได้พยายามสร้างสถานที่ (ศูนย์) จำหน่ายสินค้ากลางขึ้นมาก็ไปไม่ค่อยดี  OTOP ของเราก้าวไปไกลกว่า คือ มีการเอางบประมาณไปลงทุนสร้างอาคารจำหน่ายสินค้าแบบถาวร ในลักษณะของศูนย์การค้าเล็กๆประจำตำบล ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็อยู่ในสภาพร้างไปเป็นส่วนมาก

ผู้ว่าฯคนนี้ก็ออกแนวคิดใหม่ ซึ่งประสบผลสำเร็จพอสมควร คือ การสร้างแหล่งผลิตเห็ดหอมคุณภาพดี เพื่อแย่งตลาดและส่งเข้าตลาดของคนจีน ให้ทุกหมู่บ้านทุกตำบลทำกัน มีการตั้งเป้าไว้ด้วยว่า ในอีก...ปี เราจะรวมกลุ่มไปเที่ยวต่างประเทศกัน มีการดำเนินการกันเป็นระยะๆ จำไม่ได้ว่าจัดลำดับกันอย่างไรครับ อยู่เป็นลักษณะของปีนี้เริ่ม ปีนี้ผลิต ปีนี้ขาย ปีนี้ออม ปีนี้ไปเที่ยวกัน ทำนองนี้  ทำการกระตุ้นโดยให้ทุกคนทำหนังสือเดินทางและเตรียมตัวไว้เป็นต้น ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ คือสามารถแย่งตลาดได้ด้วยความต่างของคุณภาพของสินค้า  ผมคิดว่าเห็ดหอมแห้งสวยๆที่ขายกันในเมืองไทยแพงๆนั้น คงจะมีอยู่มากที่เป็นเห็ดหอมที่ผลิตในญี่ปุ่นในเกาะกิวชิวนี้เอง

ผลที่ได้รับจากโครงการ OVOP นี้ และด้วยแนวคิดในเชิงกลวิธี Think local, act global & Think global act local นี้ และด้วยการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม ได้ทำให้หลากหลายประเทศให้ความสนใจมาดูงาน ทำให้ทั้งคนญี่ปุ่นและคนต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว ตลาดก็เปิดกว้างขึ้น  คนหนุ่มสาวที่ไปทำงานในเมืองใหญ่ก็เริ่มกลับมาบ้านอยู่กับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ช่วยทำกิจการ เพราะว่ารายได้ที่รับค่อนข้างคงที่ เป็นอิสระ และได้อยู่กับบ้าน อยู่กับถิ่นกำเนิดของตนเอง  ผู้ว่าฯคนนี้ก็คิดต่อไปอีกว่า เมื่อเราดึงเอาคนหนุ่มสาวกลับบ้านมาได้แล้ว ก็ต้องส่งเสริมให้เขามีสถานที่ๆจะเรียนเพิ่มเติม เพิ่มพูนความรู้มากขึ้น ซึ่งความรอบรู้เพิ่มนี้จะเป็นทรัพยากรฐานให้มีการพัฒนาต่างๆตามสภาพภูมิปัญญาของท้องถิ่นและมีนวัตกรรมใหม่ๆ ก็จึงตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมาในลักษณะที่แทบจะเรียนฟรี  ซึ่งบนฐานของหลักการ Think local - think global นี้ ได้ทำให้มีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนมากมาย เมื่อครั้งที่ได้มีโอกาสไปนั้น จำได้ว่ามีนักเรียนไทยมากกว่า 10 คนเรียนอยู่ที่นี่

อีกอย่างหนึ่ง คือ เขาไม่คิดเพ้อฝันไปไกลมากนัก   ที่ผมชอบใจ คือ เขาไม่ได้คิดว่าจะต้องมีสินค้าเด่นประจำตำบลใดๆหรอก (หมู่บ้่นติดๆกัน มันจะมีอะไรที่ต่างกันขนาดแยกออกจากกันได้กระนั้นเชียวหรือ ขนาดระดับอำเภอยังยากแล้วเลย) ด้วยหลักคิดนี้ แทนที่จะเอาของเหมือนๆกันมาแข่งขันกันหรือโฆษณาทับถมกัน เขากลับเอามาวางรวมกันให้คนที่มาได้ลองกัน
ที่ผมได้เคยสัมผัส คือ บุฟเฟ่อาหารพื้นบ้าน ซึ่งมีแต่ข้าวกับผักดองจากหลายบ้านที่คนในหมู่บ้านคิดว่าทำผักดองอร่อย เอามาวางรวมกันบนโต๊ะ เป็นสถานที่ง่ายๆเหมือนร้านอาหารกลางทางมื้อกลางวัน ส่วนใครจะติดใจผักดองจานใหนก็ไปสอบถาม แสวงหาชื่อหมู่บ้าน และเดินทางไปหากินหาซื้อกันเอง ไม่มีจำหน่ายที่สถานที่กินนี้

ว่ากันมายืดยาวเลย  ยิงฟันยิ้ม   

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 20:26

เลยนึกไปถึงว่า ได้ทราบมาว่า ภาษาญี่ปุ่นนั้น มีการผันการออกเสียงด้วย เช่น คำที่แปลว่านา หรือท้องนา ก็มีกฎเกณฑ์ว่า อย่างไรจึงจะออกเสียงว่า ta หรือ da หรือ na ใช่ใหมครับ

ญี่ปุ่นก็พอเกี่ยวข้องกับอาเซียนบ้าง เพราะอยู่ในกลุ่มประเทศ "บวก"  รู้จักญี่ปุ่นบ้างก็น่าจะมีประโยชน์

ชื่อสกุลของคนญี่ปุ่นมีซ้ำกันไปซ้ำกันมา หากแปลแล้วก็เกี่ยวกับธรรมชาติ หรือท้องถิ่นชนบท ยกตัวอย่างที่คุณตั้งสนใจ

田中 อ่านว่า ทะนะกะ แปลว่า ในท้องนา

山田 อ่านว่า ยะมะดะ แปลว่า ท้องนาและภูเขา

คุณตั้งลองสังเกตดูก็จะรู้ว่าเมื่อใด 田 ออกเสียง ทะ หรือ ดะ

แต่คงออกเสียง "นะ" ไม่ได้แน่นอน

พจนานุกรมของเขาแบ่งออกเป็นหมวดคำตามจำนวนขีด (stroke) ที่มีอยู่ในคำนั้นๆ  เราก็คิดว่าก็ยังน่าจะพอได้  คนญี่ปุ่นก็บอกอีกว่า ไม่ใช่นับเพียงนั้นก็พอ จะต้องนับให้เป็นอีกด้วย จำไม่ได้แล้วครับ เช่น ขีดแรกจะต้องเป็นบนลงล่าง ขีดที่สองจะต้องเป็นซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ไม่รู้ และแต่ละ stroke นั้น ก็มิได้หมายความว่ามันต้องเป็นเส้นตรงอีกด้วย  เลยยอมแพ้โดยสิโรราบ   คุณเพ็ญชมพูคงจะอธิบายเรื่องเหล่านี้ได้ดี

จะนับขีดได้ ต้องทราบวิธีเขียนที่ถูกต้องเสียก่อน

ยกตัวอย่าง  山 มี ๓ ขีด, 中 มี ๔ ขีด,  田 มี ๕ ขีด

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 23:26

ผลิตภัณฑ์ที่ขายในท้องถิ่น มีทั้งเห็ดต่างๆ และที่น่าตื่นเต้นคือถั่วขาว -แดงเชื่อม

เม็ดใหญ่สัก3เท่าของถั่วแดงหลวงบ้านเราที่ว่าเม็ดใหญ่แล้ว ทานแค่ 2 เม็ดก็อิ่มแล้วคะ




บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 23:29

ส่งภาพถั่วมาใหม่คะ


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 31 ส.ค. 12, 23:34

ปลาแช่ซีอิ้ว แพ็คอย่างดี และขนมหวานคะ



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 18:15

....ชื่อสกุลของคนญี่ปุ่นมีซ้ำกันไปซ้ำกันมา หากแปลแล้วก็เกี่ยวกับธรรมชาติ หรือท้องถิ่นชนบท....

ทำให้นึกถึงความรู้ที่ได้มา คือ นามสกุลของคนญี่ปุ่นนั้นตั้งขึ้มมาใหม่ไม่ได้ ดังนั้น หากผู้สืบสกุลคนสุดท้ายตายไป นามสกุลนั้นก็จะหายไปจากสารบบ ซึ่งดูผิวเผินก็เป็นเรื่องตามปรกติ ประเด็นอยู่ที่ว่าไม่สามารถจดทะเบียนตั้งสกุลขึ้นมาใหม่ได้ จำนวนนามสกุลของญี่ปุ้่นจึงลดลงไป เมื่อสมัยที่ผมยังอยู่ในญี่ปุ่น ก็หายไปหนึ่งแล้ว น่าสนใจตรงที่ ตั้งแต่อดีตมา หายไปกี่นามสกุลแล้ว แล้วต่อๆไปในอนาคตจะเหลืออยู่เท่าใด  มีจำนวนพลเมืองเพิ่มขึ้นแต่นามสกุลลดลง ก็จะกลายเป็นมีนามสกุลใดนามสกุลหนึ่งที่จะเป็น Clan ขนาดใหญ่ที่มีจำนวนคนมากที่สุดในญี่ปุ่น

ในเชิงวิทยาศาสตร์และ Anthropology   ในขณะที่กำลังพยายามศึกษาลงไปหาต้นตอของเผ่าพันธุ์ด้วย DNA   เนื่องจากตามธรรมชาติจะมีการขยายแตกสาขาออกไป   กลับทางกัน ญี่ปุ่น (รวมทั้งจีนและเกาหลี ??) กำลังย้อนธรรมชาติ ช่วยรวบรวมและจัดกลุ่มย้อนกลับไปหาคนที่มีต้นตอของ DNA จากสายเดียวกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 18:33

ภาพที่คุณพวงแก้วได้นำมาแสดงนั้น ผมกำลังจะก้าวเข้าไปในเรื่องราวของมัน ไม่ใช่เรื่องของอาหารนะครับ แต่จะเป็นเรื่องในบริบทของ ตัวใครตัวมัน ที่เป็นในทางบวก
ขอบคุณล่วงหน้าที่ช่วยเอาภาพมาแสดงประกอบครับ (ก่อนกำหนดไปหน่อย ฮิๆ)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง