ตอนนี้ ยิ่งท่านทั้งสองช่วยกันอธิบายสองแรงแข็งขัน ดิฉันก็เลยกลับไปสู่ F ในชั้นเรียนนี้อีกแล้ว

ขอบคุณ คุณนวรัตน์มากครับ ที่ช่วยขยายความให้กระจ่าง กำลังยืนขาสั่นอยู่ว่าจะรอดใหมเนี่ย

หากจะสรุปให้สั้นๆ (อาจจะมีความชัดเจนมากขึ้นไปอีกสักหน่อย

) ก็คือ ปรัชญาพื้นฐานของ Royalties นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียไปในการที่เราไปเอาทรัพย์สิน (วัตถุ สิ่งของ ภูมิปัญญา ฯลฯ) ของเขามาใช้ (หรือเขาจะต้องเสียให้เราในการที่เขานำเอาภูมิปัญญาของเราไปใช้) ในขณะทีี่่ปรัชญาพื้นฐานของ PSC นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับเขาอาสาเข้ามาเป็นผู้พัฒนาหรือทำประโยชน์ให้กับทรัพย์สินของเราด้วยทุนและเทคโนโลยีที่เขามี โดยขอแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาส่วนหนึ่งให้เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนของเขา และจะแบ่งทรัพย์สินที่เหลือเมื่อได้หักส่วนที่เป็นการลงทุนนั้นแล้วให้กับเราในสัดส่วนที่จะตกลงกัน
สินค้าจากรอบบ้านเรา (รวมทั้งจีน) ที่มีราคาถูกอย่างเหลือเชื่อ ที่มีขายกระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหงในบ้านเรานั้น ก็คงเป็นผลิตผลมาจากระบบ PSC นี้เอง
หยิบยกเรื่องนี้ขึ้มาเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งว่า เราเข้าใจกันดีมากพอหรือยังในเรื่องของรูปธรรมที่จะเกิดขึ้นในระบบการทำการค้าที่เรียกกันว่า (ซึ่งดูเหมือนจะเป็นประโยคเดียวในภาษาไทยที่ใช้อธิบายความตกลงต่างๆที่มีความแตกต่างกันในพื้นฐานของปรัชญา หลักการ และแนวคิด เช่น APEC, FTA, AFTA, EPA) ว่า "เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน"
แต่ก็ไม่มีอะไรจะห้ามได้นี่ครับว่า สำนักพิมพ์ หรือ Production Houseที่ซื้อไป จะพิมพ์ หรือ ทำเพลงของตนเองขึ้นมาใหม่ไม่ได้ แต่ถ้าเอาของๆเขาไปดัดแปลงดื้อๆ ถ้าตกลงกันว่าทำได้ก็ทำได้
ยกตัวอย่าง(โบราณหน่อย) หนังญี่ปุ่นชื่อไทยว่า เจ็ดเซียนซามูไร ถูกฮอลิวู๊ดขอซื้อไปทำหนังคาวบอยชื่อ เจ็ดสิงห์แดนเสือ ยังไงครับ
ตัวอย่างที่ทันสมัยหน่อย บทประพันธ์ของแก้วเก้าหลายเรื่องที่ถูกเอาไปทำหนังทีวี แต่โดนเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนในหนังสือ ก็ไม่ทราบว่าผู้ประพันธ์ท่านได้ตกลงกับผู้สร้างไว้ว่าอย่างไร ?

จะพยายามทำการบ้านอีกครั้งค่ะ
สินค้าบางตัวทำใหม่ได้ เหมือนสั่งหวายอาบน้ำยาจากนอกเข้ามาผลิตเฟอร์นิเจอร์ ต่อมาทำวิจัยพบว่าน้ำยาแบบนั้นมีส่วนผสมอะไรบ้าง ก็ทดลองอาบกับหวายเมืองไทย พบว่าทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ดีเท่ากัน ก็พัฒนาสินค้าตัวนี้ขึ้นมาเอง ไม่สั่งหวายเมืองนอก ก็ไม่ต้องเสียค่ารอยัลตี้ให้เขาอีก
แต่ทรัพย์สินทางปัญญาทำใหม่แบบนั้นไม่ได้ แม้ว่าผู้ซื้อจะเปลี่ยนรูปแบบไป เช่นเปลี่ยนจากนวนิยายไปเป็นละครโทรทัศน์ แต่ความเป็นบทประพันธ์ไม่ได้เปลี่ยน ผู้ซื้อจะทำเทียมบทประพันธ์ใหม่ขึ้นมา เอาไปผลิตละครโทรทัศน์ต่อไปเรื่อยๆอีกก็ไม่ได้ ถ้าทำถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
ส่วนเรื่องดัดแปลงเป็นคนละประเด็นค่ะ เพราะการดัดแปลงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว เหตุผลข้อหนึ่งที่เห็นง่ายๆคือความยาวของนวนิยายกับละครโทรทัศน์ไม่เท่ากัน ถ้าทำให้เหมือนเป๊ะ ไม่กระดิกกระเดี้ยจากของเดิมเลย ละครโทรทัศน์ยาว 15 ตอนอาจต้องยืดไปเป็น 150 ตอนถ้านวนิยายเรื่องนั้นยาวขนาดสามก๊กหรือเพชรพระอุมา มันก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว จึงต้องตัดบ้าง เติมบ้าง ให้ลงตัว
ส่วนเหตุผลอื่นๆที่เกิดการดัดแปลงมีอีกมาก แต่ขี้เกียจอธิบาย เพราะสมาชิกเรือนไทยส่วนใหญ่ไม่อ่านนวนิยายของแก้วเก้าอยู่แล้ว รวมทั้งคุณนวรัตนและคุณตั้งด้วยค่ะ