เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 10308 นางสร้อยระย้า เมียของพลายชุมพล
girlblack
อสุรผัด
*
ตอบ: 25



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 13:09

พลายชุมพลมีภรรยาคนเดียวสินะเจ้าคะ

ขอขอบพระคุณที่มาไขข้อข้องใจให้ข้าน้อยเจ้าคะ

น่าเสียดายนะเจ้าคะ ที่เขารักษาแค่กลอนไม่ได้รักษาเนื้อเรื่อง หากเป็นเช่นนี้ เรื่องก็จะไม่จบ คนรุ่นหลังก็รู้ไม่หมด และไม่สามารถเข้าถึงอรรถรสแห่งวรรณคดีเรื่องนี้ได้..
บันทึกการเข้า

Namy rosy
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 14:50




        สุภาพสตรีน้อยที่น่ารัก

        มีเรื่องคุยกันได้อีกมากมายค่ะถ้าอยากคุย   เรื่องรบทัพจับศึก  เรื่องการพิมพ์หนังสือสมัยแรก ๆ

สหายในเรือนไทยก็ชำนาญที่จะเข้ามาช่วยอธิบาย    จะเป็นหนังสือวัดเกาะที่เหลืออยู่ในบ้านเมืองเราไม่ครบซักกี่ชุด

เรื่องผ้าผ่อนท่อนสไบชื่อต่าง ๆ        ขอให้รักการอ่านต่อไปนะคะ
บันทึกการเข้า
girlblack
อสุรผัด
*
ตอบ: 25



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 15:24

การรบของไทยสมัยก่อนเนี่ย ส่วนใหญ่มักใช้คาถาอาคมสินะเจ้าคะ เพราะการจะรบแต่ละที่ต้องมีการสักยันต์ ทำพิธีมากมาย สงสัยว่า ณ ปัจจุบันนี้พวกนี้หายไปในราวๆยุคไหนกันคะ
บันทึกการเข้า

Namy rosy
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 16:28


คุณ samun    อยู่คุยกันจนถึงพลายชุมพลแปลงเป็นมอญใหม่นะคะ     อยากฟังสำนวน

ขอบพระคุณที่ให้ความเชื่อถือนะครับ จะพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุดครับ


การรบของไทยสมัยก่อนเนี่ย ส่วนใหญ่มักใช้คาถาอาคมสินะเจ้าคะ เพราะการจะรบแต่ละที่ต้องมีการสักยันต์ ทำพิธีมากมาย สงสัยว่า ณ ปัจจุบันนี้พวกนี้หายไปในราวๆยุคไหนกันคะ

จริง ๆ ก็ยังไม่ได้หายไปไหนหมดหรอกครับ ปัจจุบันก็ยังมีทำกันอยู่ เพียงแต่ไม่เอิกเกริกเท่าโบราณ  ยกตัวอย่างในคราวปราบพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อหลายสิบปีก่อน บางสมรภูมิก็ต้องมีการสร้างขวัญกำลังใจด้วยวิธีการแบบนี้เหมือนกันครับ ถ้าอ่านในประวัติของท่านพลตำรวจเอกสมเพียร เอกฉายา ท่านเองก่อนจะไปปราบผู้ร้ายท่านก็ยังยึดคตินิยมแบบนี้อยู่เหมือนกันครับ

 
คาถาจะขลังหรือไม่ ขึ้นกับคุณภาพสมาธิของผู้ท่อง และเหนือสิ่งอื่นใดต้องไม่เกินกฎของกรรมครับ อย่างที่สำนวนโบราณบอกไว้ว่า "ถึงที่ตาย" เพราะถ้าถึงที่ตาย คาถาหรือวัตถุมงคลต่าง ๆ ก็ไม่ช่วยได้หรอกครับ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 17:25

คาถาอาคมเป็นอุบายเรียกความมั่นใจ  เนื่องจากการต่อสู้หรือการสู้รบสมัยก่อน
ไม่ได้ใช้วิทยาการล้ำลึกอย่างชั้นหลัง  การสู้รบอาศัยฝีมือและความรู้เกี่ยวกับพิชัยสงครามเป็นหลัก
แม้คนใดจะมีฝีมือใช้อาวุธหลายประเภทเป็นยอด  แต่ถ้าไม่สามารถควบคุมจิตใจ กำลังใจ
ให้สม่ำเสมอ มั่นคง  ย่อมเพลี่ยงพล้ำแก่ฝ่ายตรงกันข้าม  หรืออาจจะหวาดกลัวจนวิปลาสเสียสติ


คาถาอาคมของไทยที่ใช้ในการต่อสู้และการรบค่อยๆ หายไปเมื่อการสู้รบได้เปลี่ยนไปใช้อาวุธใหม่ๆ
จากตะวันตกมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕  การจัดทัพทหารอย่างตะวันตกก็ทำให้พิชัยสงครามหมดความสำคัญ
คาถาอาคมแม้คงอยู่แต่คงเหลือแต่รูปแบบความเชื่อที่สืบต่อกันมา  โดยไม่ได้ทราบจุดมุ่งหมายที่แท้จริง


เคยถามพระที่ท่านศึกษาเกี่ยวกับเลขยันต์ คาถาอาคมเขมรต่างๆ  ในเชิงวิชาการ
ท่านบอกว่า  เรื่องเลขยันต์คาถาอาคมสมัยก่อนไม่ใช่ว่าใครจึงจะเขียนก็เขียนได้
ทุกส่วนอักษรที่ลงไปเส้นหนึ่งนั้นมีคาถาบริกรรมกำกับตลอดแต่ต้นจนจบ  ใช่ว่าเขียนแล้วจะขลัง
มีการเพ่งสมาธิ เพราะคาถาบางอย่างต้องสวดกำกับกันหลายจบ  การสวดหลายจบ
ทำให้ผู้สวดมีสมาธิไม่วอกแวก  คาถาอาคมจะสวดก็ต่อเมื่ออยู่ในที่อันควรหรือภาวะจำเป็นคับขัน
ไม่ใข่นึกอยากสวดก็สวดขึ้นมา  แม้จะเป็นไสยศาสตร์ แต่ก็มีพื้นฐานไปจากพุทธศาสนา
ดังสังเกตว่า  ในขุนช้างขุนแผน  ผู้ที่เรียนคาถาอาคม ก็เรียนบาลี อักษรขอม กรรมฐานวิปัสสนา
นั่งสมาธิกันทั้งนั้น   แม้ไม่ได้มุ่งบรรลุธรรม  แต่ก็ช่วยให้ใจสงบแน่วแน่   


ท่านยังว่าอีกว่า   ที่โบราณท่านให้กลั้นใจเมื่อจะทำการอะไรบางอย่างในเชิงเอาเคล็ดนั้น
เพราะโบราณท่านอยากให้คนที่ทำมีสมาธิแม้แต่ชั่วขณะหนึ่ง  ไม่ใช่ว่าสักแต่ทำๆ ไปให้เสร็จ


อย่างในสวัสดิรักษากล่าวว่าให้เปลี่ยนเสื้อผ้านุ่งห่มตามสีวันทั้ง ๗ นั้น  เป็นอุบายให้ผุ้ออกรบ
หมั่นเปลี่ยนเสื้อผ้า  ไม่ให้ใส่ซ้ำ  เพราะการรบต่อสู็้ ย่อมมีเหงื่อไคลมีเลือดหรือสิ่งสกปรก
กระเด็นมาแปดเปื้อนร่างกาย  ถ้าสวมใส่เสื้อผ้าชุดเดิมไม่เปลี่ยน  อาจจะทำให้เจ็บป่วยติดเชื้อโรคได้
ดีไม่ดีถ้าเป็นโรคระบาดด้วยแล้ว  อาจจะทำให้คนในทัพเจ็บป่วยอ่อนแอ  และเสียขวัญกำลังใจ
ในการรบ   ฉะนั้น  ความเชื่อโบราณบางเรื่องก็มีคำอธิบายได้  แต่ท่านไม่บอกตรงๆ   คนชั้นหลัง
หลงเอาแต่ถ้อยคำตรงๆ เลยเไม่เข้าใจข้อเท็จจริงที่โบราณท่านสอน

วิชาความรู้ของเก่าๆ โบราณจึงถูกวิชาการใหม่ ดูถูกว่าครึ  คนรุ่นหลังหัวอ่อนก็เชื่อตาม
พากันละทิ้งภูมิปัญญาที่คนเก่าแก่ยึดถือ   ไปหลงใหลของใหม่  แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้นต้องมาหาของเก่า
เพราะของใหม่ใช้ได้ประเดี๋ยวประด๋าว  ผิดที่ผิดทางผิดกาละเทศะ  ไม่เหมาะ


เรื่องการลองของลองวิชานั้น  สมัยก่อนเขาด้วยความเคารพครู  ไม่ใช่เพื่ออวดตัวเอง
คาถาทุกคาถาจะศักดิ์สิทธิ์ได้ผลหรือไม่  สมาธิและความตั้งใจเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง


อันที่จริง เรื่องสวัสดิรักษาก็น่าเอามาชำแหละดูกันสักที  ไหนๆ ก็เพิ่งผ่านวันสุนทรภู่ไปไม่กี่วันเอง
ได้ทราบว่า  คุณวันดีมีครูดีเหมือนกัน   น่าจะประเดิมกระทู้เรื่องนี้ได้อย่างมีสง่าเป็นแน่
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 19:22



พระเดชพระคุณคุณหลวงเล็ก

          เนื่องจากมิได้ติดต่อรายงานข้อมูลข่าวกรองให้ทราบเลย  จึงขออนุญาตเรียนว่า

๑.    ท่านครูดาบ  กำลังย้ายบ้าน  และมิได้ไปเยี่ยมเยียนท่านเลย  เพราะเกรงว่าท่านจะมอบดาบมาให้เป็นหอบ
       ท่านพี่เสมาก็กำชับว่า  อย่าขนมาเชียวนะแก   ฉันเลิกตีดาบไปแล้ว แกจะมาทำไม่รู้ไม่ได้

๒.    พระเดชพระคุณมีตำราพิชัยสงครามด้วยหรือ        หรือท่านหอบติดมือมาจากนครศรีธรรมราชหรือเพชรบูรณ์เมื่อคราวเสียกรุง
       
๓.    ลืมกราบเรียนข่าวกรองไปว่า  ตำราม้าของเก่านั้น  มีเบาะแสแล้ว   แต่ยังไม่มีเวลาคัดลอก

๔.    ตำราจุดจุดจุดที่มีเสียงบ่นถึงแถวๆนี้      ได้ตรวจสอบท่องจำได้แล้ว  และส่งไปคัดลอกแล้วด้วยวันนี้เอง   จะแจกเฉพาะลูกศิษย์สำนักเดียวกันเท่านั้น
       ลูกศิษย์ของคุณหลวง  ก็จงไปคัดจากเรือนของท่านเทอญ(อ้าว!  ท่านไม่มีเล่มนี้ในเวลานี้นี่นา)

๕.    ดิฉันเป็นกุลสตรีในเรือน    จะไปทราบอะไรลึกซึ้งเรื่องคาถาอาคมเป่าพ้วง ๆ
       คุณหลวงก็อธิบายกินความไปมากแล้ว     จะเหลือเรื่องอะไรมาเล่ากันอีกเล่า        ว่าแต่น้าขุนแผนท่านรูปร่างอ้อนแอ้นนะ   ดาบสั้นเพียงศอกกำมาเอง

       ปักหนังสือไว้ที่หน้าสวนที่มีเปลญวนหย่อน ๆ ผูกไว้
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 20:59



       
๓.    ลืมกราบเรียนข่าวกรองไปว่า  ตำราม้าของเก่านั้น  มีเบาะแสแล้ว   แต่ยังไม่มีเวลาคัดลอก

๔.    ตำราจุดจุดจุดที่มีเสียงบ่นถึงแถวๆนี้      ได้ตรวจสอบท่องจำได้แล้ว  และส่งไปคัดลอกแล้วด้วยวันนี้เอง   จะแจกเฉพาะลูกศิษย์สำนักเดียวกันเท่านั้น
       ลูกศิษย์ของคุณหลวง  ก็จงไปคัดจากเรือนของท่านเทอญ(อ้าว!  ท่านไม่มีเล่มนี้ในเวลานี้นี่นา)


ขออนุญาตรบกวนสอบถามครับ

ตำราในข้อสี่ที่ว่านี่ หมายถึงตำราที่ผมเคยเปรย ๆ ถึงหรือไม่ครับ ?
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 21:22


อ่า...เริ่มตั้งแต่หน้า  ๒๓๐  -  ๕๐๐  กว่า ค่ะ

กระดาษมืดๆ 

เป็นแนวทางไปค้นหนังสือต่อได้อีกมากค่ะ     
บันทึกการเข้า
girlblack
อสุรผัด
*
ตอบ: 25



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 21:55

เมืองไทยสมัยก่อนนี้มีอะไรมากมายที่เรายังไม่รู้เยอะแยะเลยนะเจ้าคะ

ข้าน้อยเองที่เป็นคนรุ่นใหม่ แต่ก็อยากจะรู้ถึงวัฒนธรรม ประ เพณี ความเชื่อ รวมทั้งวรรณคดีเก่าๆของไทยให้คงอยู่ไว้ ก่อนที่มันจะสาบสูญไปเสียหมด หากไม่เป็นการรบกวนกระทู้นี้อาจจะยืดยาว อย่างไรเสียก็ขอความกรุณาอย่าเพิ่งหนีหายกันไปเสียก่อนนะเจ้าคะ
บันทึกการเข้า

Namy rosy
girlblack
อสุรผัด
*
ตอบ: 25



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 ก.ค. 12, 22:02

จากการที่ข้าน้อยอ่านเรื่องขุนช้างขุนแผนของ มรว.คึกฤทธิ์ ทำให้ได้รู้ถึงชีวิตของคนไทยสมัยก่อนมากมาย จนก่อเกิดคำถามมากมาย นั้นคือว่า

สรุปแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เพราะ บ้างบอกเป็นเพียงตำนาน แต่เหตุไฉนจึงมีสถานที่ที่เกี่ยวข้องอาทิ คุ้มขุนแผน ศาลนางบัวคลี่ ศาลนางศรีมาลา
บันทึกการเข้า

Namy rosy
girlblack
อสุรผัด
*
ตอบ: 25



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 03 ส.ค. 12, 20:58

ไม่ได้เข้ามาเสียนานทีเดียว
บันทึกการเข้า

Namy rosy
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง