เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 16514 ท่านใดทราบประวัติของพระฤทธิฤาชัย เจ้าเมืองบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 14:41

ครอบครัวของข้าพเจ้า เนื่องจากสามีของคุณยายเป็นคนจีนไหหลำแท้ๆ ดังนั้นจึงมีการไหว้เจ้าด้วย แต่การไหว้เจ้าในบ้านของข้าพเจ้า และคนจีนในชัยภูมิ (สมัยข้าพเจ้าเป็นเด็ก) จะมีลักษณะพิเศษ ข้อแรกเลย จะมีการตั้งโต๊ะไหว้เจ้าสองโต๊ะ หันหน้าไปสองทิศ จำได้ไม่แม่นแล้วว่าเป็นทิศตะวันออก กับอีกทิศคือทิศเหนือหรือทิศใต้ และจำไม่ได้ว่าในสองโต๊ะโต๊ะใดจะใหญ่กว่ากัน แต่โต๊ะใหญ่ที่สุดไหว้เจ้าพ่อพญาแล โต๊ะเล็กไหว้ผีปู่ย่าตายาย (เรียกอย่างนี้จริงๆ) นอกนั้นจะมีโต๊ะเล็กๆอีกหลายโต๊ะไปไหว้พระภูมิเจ้าที่ ไหว้พระพุทธ ถ้ามีศาลแบบจีนก็ไปไหว้ศาลดังกล่าวด้วย

ข้าพเจ้าคิดว่าฟังดูไม่ค่อยจะเป็นจีนเท่าไรนัก เหมือนไหว้ผีแบบชาวลาวเสียมากกว่า

ที่กล่าวข้างต้นคือการปนๆกันของชาวจีนและชาวลาว อีกข้อหนึ่งที่จำได้ว่าแม่เคยเล่าให้ฟังว่าสมัยเด็กจะมีการทรงเจ้ามารักษาการเจ็บป่วย คุณป้าคนโตของข้าพเจ้าซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว สมัยเด็กๆป่วยบ่อย ยายและยายทวดพาไปหาคนทรงเจ้า ซึ่งก๋งข้าพเจ้าหาว่าโกหก

เรื่องนี้ข้าพเจ้าคิดว่าคงเป็นการรำผีฟ้าของชาวอีสาน ซึ่งในชัยภูมิทุกวันนี้ยังมี แต่น้อยลง ข้าพเจ้าเกิดมา ก็ไม่เคยเห็นแล้ว

มีคนเล่าประวัติการรำผีฟ้าไว้ดังนี้

"ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีการลำผีฟ้า ตามปกติชาวอีสานจะทำพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับผีฟ้า             หลายลักษณะ เช่น ทำบุญบั้งไฟในเดือนหก การเลี้ยงผีฟ้าในเดือนสาม หรือการลำผีฟ้าเพื่อรักษาผู้ป่วย เป็นต้น สำหรับจังหวัดชัยภูมิจากการศึกษาพบว่า ในอดีตเคยทีคณะผีฟ้าที่เรียกว่า “แม่เมือง” หลายคณะ แต่ปัจจุบันมีจำนวนลดลงตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การลำผีฟ้าที่ยังพบมากในปัจจุบันนี้ มีที่อำเภอคอนสวรรค์  อำเภอเมือง อำเภอแก้งคร้อ อำเภอจัตุรัส อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป้าหมายทั่วไปของการลำฝีฟ้าเพื่อรักษาการเจ็บป่วย  นอกจากนี้อาจเป็นการทำนายโชคชะตาราศรีอีกด้วย     องค์ประกอบการลำผีฟ้า จะมี ๔ ส่วน คือ หมอผีฟ้า (หมอจ้ำ หรือกก) หมอแคน (หมอม้า) ผู้ป่วย และเครื่องคาย กระบวนการจะเริ่มโดยที่ครูบา (หมอลำผีฟ้า) กล่าวคำไหว้ครูและเสี่ยงทายอธิฐานว่าจะหายจากโรคหรือไม่ โดยนำขมิ้นฝานลงในน้ำ ๗ ฝาน ถ้าขมิ้นทั้ง ๗ ฝานอยู่รวมกัน แสดงว่าผู้ป่วยนั้นหายได้โดยง่าย        ถ้าขมิ้นไม่รวมกัน แสดงว่ารักษาให้หายได้ค้อนข้างยาก ต่อจากนั้นครูบาเก่าของผู้ลำฝีฟ้าจะเข้าสิงแจ้งสาเหตุการเจ็บป่วย ถ้าเกิดจากผู้ป่วยที่มีครูบาเก่าที่ตายไปแล้วมาเข้าสิง ก็จะทำพิธีลำส่ง เป็นการส่งสิ่งของเครื่องบริวารให้ครูบาเก่าที่ตายไปแล้ว เสร็จแล้วจึงขึ้นขั้นลำปัว (รักษา) ซึ่งจะมีกลอนลำพร้อมกับการฟ้อนรำที่ชาวคณะ พร้อมทั้งผู้ป่วยจะร่วมด้วยถ้าลุกไหว  ถ้าลุกไม่ไหวจะนอนดู การรำไม่มีกำหนดเวลา ขึ้นอยู่กับ ผู้ป่วย ถ้าต้องการฟ้อนรำ หรือต้องการดู คณะผู้ฟ้อนรำก็จะทำหน้าที่ไปเรื่อย ๆ ถ้าผู้ป่วยต้องการให้เลิกคณะก็จะเลิก โดยไปกราบเครื่องคาย ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นครูบาจะนำเครื่องคายไปเก็บบนหิ้ง     แล้วคณะผู้ร่วมงานก็ร่วมรับประทานอาหารที่เจ้าของบ้านจัดไว้ให้

พิธีบูชาผีฟ้า นอกจากพิธีการลำผีฟ้าเพื่อรักษา (ที่เรียกว่า ลำปัว) แล้วยังมีพิธีรำไล่ผีออก (การลำปัว กรณีที่เจ็บป่วยทั่วไป ผู้ป่วยจะกลายเป็นบริวารของเจ้าผีฟ้า ที่เรียกว่า แม่เมือง แต่ในกรณีที่ลำไล่ผีออก ผู้ป่วยที่หายจะกลายเป็นลูกเมือง ทำหน้าที่ลำปัวต่อไปในคณะ) การลำเพื่อเลี้ยงผีหรือการเลี้ยงช่วงผีฟ้า อาจจัดที่บ้านแม่เมือง หรือลูกเมืองก็ได้มีการเชิญแขกและญาติมิตรไปร่วมงาน โดยเฉพาะกลุ่มบริวารและลูกเมืองทั้งหลายต้องไปร่วมงานซึ่งจัดขึ้นระหว่างเดือน ๓ ถึงเดือน ๖ แล้วแต่ท้องที่ ส่วนมากจะจัด ๒ วันกับ ๑ คืน คืนแรกเรียกว่า การลงมาลัยหมื่นมาลัยแสน มีการฟ้อนรำขับร้องและการละเล่น วันที่สอง เรียกว่า วันหงายพาข้าว เป็นวันทีกลุ่มคณะหมอลำผีฟ้านำข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงผีตามสถานที่จัดเตรียมไว้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในจังหวัดชัยภูมิ คณะลำผีฟ้าได้ถือเอาบริเวณภูพระเป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงของเหล่าคณะผีฟ้าคือพระเจ้าองค์ตื้อ เจ้าพ่อพระยาแล ปู่ด้วง ย่าดี โดยจะมีงานใหญ่ในช่วงเดือนห้า ระหว่างวันขึ้น ๑๓–๑๕ ค่ำ จึงให้เกิดเป็นพิธีบวงสรวงพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นมาภายหลัง ทั้งในช่วงเดือนห้า วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้คนต่างถิ่นเกิดความไม่เข้าใจ      เมื่อมาพบกับการไหว้บวงสรวงพระเจ้าองค์ตื้อ ว่าทำไมจึงมีการฟ้อนรำกันมากมายขนาดนั้น  โดยรำกันเป็นกลุ่ม ๆ หมุนเวียนกันไป     ไม่ขาดสาย  โดยเฉพาะในเดือนห้าซึ่งจะมากเป็นพิเศษ"

ที่มา http://kanchanapisek.culture.go.th/thai/index.php?option=com_content&view=article&id=930%3A2553-04-23-19-%25M-%25S&catid=318%3A2553-04-23-19-%25M-%25S&Itemid=63

ภาพมังกรไฟในวันตรุษจีนของเทศบาลเมืองชัยภูมิ ญาติทีบ้านเล่าว่าปัจจุบันตรุษจีนให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมมาก ทำให้ตรุษจีนของชัยภูมิสนุกมากจริงๆ แม่กับป้าของข้าพเจ้ารับรองด้วยตนเอง เพราะไปนั่งดูเชิดสิงโตเสียอิ่มอุรา


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 14:48

ภาพสวยๆของเมืองชัยภูมิทั้งหมดข้าพเจ้านำมาจากเว็ปไซด์นี้

http://skkcpm.multiply.com/photos
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 16:56

ความดีความชอบครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานบำเหน็จความชอบ ให้ขุนพลนายด่านบ้านชวนเป็น พระฤทธิฤาชัย และให้ยกฐานนะด่านบ้านชวนขึ้นเป็นเมืองบำเหน็จณรงค์   โดยให้พระฤทธิฤาชัย ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองบำเหน็จณรงค์ สืบไป

ราชทินนามนี้น่าจะเป็น "พระฤทธิฦๅไชย"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 17:17

โรงเรียนราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนมัธยมสอนภาษาอังกฤษที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงจำลองแบบมาจากโรงเรียนแรฟเฟิลส์ที่สิงคโปร์ 
เมื่อแรกตั้งโรงเรียนใน พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นโรงเรียนสังกัดกระทรวงธรรมการ  ต่อมาปลายรัชกาลที่ ๕ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงขอไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม
เพราะนักเรียนโรงเรียนนี้รู้ภาษาอังกฤษดี  เหมาะที่จะเรียนกฎหมาย  นับแต่นั้นนักเรียนที่จบจากโรงเรียนราชวิทยาลัยมักจะเข้าเรียนต่อในโรงเรียนกฎหมาย
ต่อมาในสมัยที่เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (ม.ร.ว.ลพ  สุทัศน์) เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม  เห็นว่าโรงเรียนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมไม่เหมาะ
จึงถวายโรงเรียนราชวิทยาลัยให้รัชกาลที่ ๖  จัดเป็นคู่กับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ที่เป็นโรงเรียนประจำอบบ Pubic School ของอังกฤษเหมือนกัน
ให้เป็นคู่แข่งกันเหมือนโรงเรียน Eton กับ Harrow ของอังกฤษ  หากแต่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้นมุ่งผลิตนักเรียนออกรับราชการในกรมมหาดเล็ก
ถึงรัชกาลที่ ๗ โปรดให้ยกโรงเรียนราชวิทยาลัยที่เปิดสอนอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี (ที่เดิมเคยเป็นศาลากลางจังหวัดนนทบุรี)  มารวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
แล้วพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

เรื่องชาวบำเหน็จณรงค์อพยพมาจากเวียงจันทร์แล้วมีการสมรสกับชาวจีนไหหลำที่แล่นเรือสำเภามาค้าขายนั้น  คล้ายกับชาวเวียงจันทร์ที่ถูกกวาดต้อนมา
ตั้งบ้านเรือนที่เสาไห้จังหวัดสระบุรีเลยทีเดียว  ถ้าจะหาความชัดเจนในเรื่องนี้คงต้องเชิญชวนให้คุณหาญปิงลองเสวนากับชาวเสาไห้ดู  เท่าที่นึกออกในเวลานี้
มีญาติของผมอยู่ท่านหนึ่งที่เป็นชาวเสาไห้และสืบเชื้อสายเวียงจันทร์กับจีนไหหลำคือ คุณวินัย  พันธุรักษ์ นักร้องชื่อดังนั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า
บัวรัศมี สีทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 19:55


ต้องขอแก้ไขข้อมูลด้วยค่ะ

๑. คุณลุงทองดี  หาญศึกษา  ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนวชิราวุธ  ค่ะ  เรียนชั้นมัธยมที่ไหนจำไม่ได้ 
๒. คุณยายข่อเล่าให้ฟังว่า   ไอ้ทองเก๊ (ทองดี) เรียนจุฬา แต่ไม่จบเพราะแอบไปตีหัวครู
๓. เมื่อเกิดมาก็ได้รับทราบว่า  มีคุณลุงเป็น ส.ส. ชัยภูมิ  ประกอบอาชีพเป็นทนายความ   เรียนจบธรรมศาสตร์
๔. บ้านของคุณลุง เป็นเรือนไทย  ใหญ่โตมากๆ  ที่สวนปลูกพืชผลหลายอย่าง โดยเฉพาะฝรั่ง พันธุ์ขี้นก  ผลมีสีแดงๆ  ชอบมากๆๆ
   จึงทำให้หลานสาว (แม่ของHan_bing)กลายเป็นลิง  ขึ้นต้นไม้เก่ง ไม่กลัวความสูง ก่อนไปโรงเรียนต้องแอบเข้าสวน เก็บผลหมาก
   รากไม้ไปกินที่โรงเรียนนารีวิทยา
๕. คุณยายข่อ  มีลูกบุญธรรม ๒ คน ชื่อ คุณแม่เนียง(ยายของHan_bing) และคุณน้าสายมุ้ง  เชิดชูณรงค์  (อายุ ๘๐ กว่าปี) แข็งแรงมาก ความจำดีเยี่ยม และยังอยู่ที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ สลับกับไปอยู่กับลูกๆ ที่ อำเภอเมือง โคราช
๖. คุณลุงทองดี  เป็นลูกชายคนเดียวของพี่สาวคนโต และหลานชายคนเดียวของตระกูล จึงทำให้คุณทวดดอกไม้ แซ่เหล็ง  รักมากๆ  จึงมีโอกาสมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เด็ก   แล้วยังได้ภรรยาที่แสนสวยเป็นคนมอญ  พระประแดง ชื่อคุณป้าทองเย็น  หาญศึกษา
๗. นักเขียนชื่อดัง "ผู้ใหญ่ลีกับนางมา" ก็รู้จักและสนิทกับคุณลุงทองดี  เมื่อครั้งไปเป็นคุณครูที่ชัยภูมิ
๘. ประวัติต่างๆ จำได้บ้างไม่ได้บ้าง ฟัง Han_bing  นำมาเล่าก็แปลกใจว่า เป็นเด็กเป็นเล็กจำความได้อย่างไร
๙.  แต่ที่แน่ๆ  คุณแม่จำได้เสมอกับคำเตือนของคุณยายข่อ  แซ่ภู่ (นามสกุลสามี) ว่า  เกิดมามีเชื้อสายเป็นเจ้าเมือง  อย่าทำอะไรที่ผิดศีล
     ทำอะไรให้นึกถึงบาปกรรม  "บาปนะลูก"
๑๐.  ขอขอบคุณที่ชาวเรือนไทยให้ความสนใจกับข้อเขียนของเด็กหนุ่ม Han_bing  ที่ถูกเลี้ยงมาแบบโบราณ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 08:30

"ให้หลวงไกรศักดาเดช  เปนพระฤทธิฦาไชย  ผู้สำเรจราชการเมืองบำเหน็จณรงค์
ขึ้นเมืองนครราชสีมา  ถือศักดินา ๑๐๐๐ ฯลฯ ตั้งแต่ ณ วัน ๔ เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ 
ปีมโรงสัมฤทธิศก  ศักราช ๑๒๓๐  เปนวันที่ ๖๕ ในรัชกาลปัตยุบันนี้"

เสียดายว่าไม่ทราบว่า  พระฤทธิฦาไชยคนนี้ชื่ออะไร
แต่ถึงแก่กรรมราวปี ร,ศ, ๑๐๙
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 10:13


๑๐.  ขอขอบคุณที่ชาวเรือนไทยให้ความสนใจกับข้อเขียนของเด็กหนุ่ม Han_bing  ที่ถูกเลี้ยงมาแบบโบราณ


ขอบพระคุณคุณแม่บัวรัศมี สีทองที่เลี้ยงบุตรคนนี้เป็นคนดีของประเทศครับ จึงอยากทราบถึงการเลี้ยงดูแบบโบราณ เป็นแบบไหนครับผม คุณภูมิ ถึงได้เก่งแบบนี้ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 10:25

จาก หนังสือประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๓๑

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๖ เรื่อง เหตุการณ์เมืองเขมรตอนเสร็จสงครามกับญวน

ตอนใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาสนองพระราชโองการซึ่งโปรดให้พระองค์ด้วงออกไปครองกรุงกัมพูชา กล่าวถึงพระฤทธิฦๅไชยที่ไปราชการเมืองเขมร



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 21:12

เลี้ยงแบบธรรมดานี้แหละครับ แต่บังเอิญคนเลี้ยงเป็นคุณยาย และใช้ชีวิตปิดเทอมอยู่ที่ต่างจังหวัดเป็นหลัก อยู่กรุงเทพฯก็ไม่ได้ออกไปไหน แสงสีเลยไม่ได้มากมาย เลยเลี้ยงคล้ายๆชีวิตเด็กไทยในหนังสือเรือง "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก" ผสมกับหนังสือเรื่อง "แก้วจอมแก่น" และ "แก้วจอมซน" ปนๆกับภาพยนตร์เรื่อง "แฟนฉัน"   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 08:59



คุณตาทองดีนี้ประวัติท่านมหัศจรรย์หน่อย เพราะคุณทวดท่านรักมากเลยส่งให้เรียนสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ท่านถูกส่งมาเรียนที่โรงเรียน...อะไรก็ไม่รู้ลืมแล้ว แต่คุณตาเล่าว่าเป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง จำได้แค่นี้จริงๆ
ภายหลังท่านเข้าไปเรียนต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไปก่อเรื่องเลยออกมา
สุดท้าย เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดท่านเลยไปเรียนนิติศาสตร์และจบเป็นบัณฑิตรุ่นแรก
ต่อมาท่านสมัครเป็นส.ส. และได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.คนแรกของจังหวัดด้วย
ท่านชอบเล่าเรืองสมัยสงครามโลกให้ข้าพเจ้าฟัง แต่ข้าพเจ้าเด็กมากเลยจำไม่ค่อยได้
ท่านอยู่จนอายุ ๑๐๐ ปีจึงเสียชีวิต ตอนนั้นข้าพเจ้าอยู่แค่มัธยมปลายเอง



รายชื่อ ส.ส. จังหวัดชัยภูมิ

การเลือกตั้งครั้งที่ ๑  ๑๕ พ.ย. ๒๔๗๖  หลวงนาถนิติธาดา (เคลือบ  บุศยนาถ) ไม่สังกัดพรรคการเมือง

การเลือกตั้งครั้งที่ ๒  ๗ พ.ย. ๒๔๘๐ นายสอน  พงศ์สุวรรณ  ไม่สังกัดพรรคการเมือง

การเลือกตั้งครั้งที่ ๓ ๑๒ พ.ย. ๒๔๘๑ นายทองดี  หาญศึกษา  ไม่สังกัดพรรคการเมือง

......
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 12:37

ขอบพระคุณครับ ไม่ทราบว่าหาจากจากแหล่งขอมูลใดหรือครับ ถ้ามีลิงค์หรือรายชื่อหนังสือรบกวนเขียนมาได้ไหมครับ

ขอบพระคุณอีกครั้งนะครับ
บันทึกการเข้า
บัวรัศมี สีทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 22:01

๑.  การเลี้ยงลูกแบบโบราณตามฉบับของดิฉัน คือ พาลูกเข้าวัด สอนให้เคารพผู้ใหญ่  พูดจามีสัมมาคารวะ  รู้จักประมาณตน ช่วยเหลืองานบ้าน  Han_bing  กวาดบ้านถูบ้าน ล้างชามเป็นตั้งแต่เด็ก สอนให้รู้คุณค่าของเวลาและรักการอ่านหนังสือค่ะ

๒.  ขอขอบคุณที่ได้รู้ประวัติของคุณลุงทองดี  หาญศึกษา  มากขึ้น ท่านเป็น ส.ส. คนแรกของชัยภูมิที่มาจากการเลือกตั้งค่ะ  คือ เป็นส.ส. ประเภทที่ ๑ ได้แก่ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้ง  อันนี้รู้มาจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่ชัยภูมิเล่าให้ฟังค่ะ  คงต้องกลับไปค้น รธน. แล้วซิค่ะ ว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร   แต่ก็ภูมิใจค่ะ ที่ย้อนอดีตไปร่วม ๙๐ ปีที่ครอบครัวคนบ้านนอกสามารถส่งลูกหลานมาเรียนกรุงเทพฯ ได้

๓.  สิ่งที่ Han_bing  รับรู้มาก็มาจากคุณแม่บัวรัศมีและคุณยายเนียง  ที่บอกเล่าส่งผ่านกันมา แต่ยอมรับว่า ไม่ได้ค้นคว้าหาสาแหรกของตระกูล  ประกอบกับดิฉันเป็นเพียงหลานสาวลูกเรียงพี่เรียงน้องของคุณลุงทองดี ที่คุณลุงรักและเมตตามากเพราะ ท่านถูกใจว่า หลานสาวคนนี้เรียนเก่งและกล้าหาญชาญชัยกว่าเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน หน่วยก้านก็ถะมัดทะแมงประเภทสู้ไม่ถอยค่ะ "ให้ได้อย่างงี้ซิหลานลุง"

๔.   คุณลุงทองดี หาญศึกษา ท่านรักการศึกษาและเคยเปิดโรงเรียนหาญศึกษา (โรงเรียนราษฎร์)ที่ชัยภูมิ  ในที่สุดท่านก็มีหลานสาวสายตรงของท่าน ซึ่งเรียนเก่ง สำเร็จเป็นด๊อกเตอร์ สอนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

๕.   ขอขอบคุณอีกครั้งที่ทำให้รู้จักประวัติของต้นตระกูลของตนเองมากยิ่งขึ้น 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 ก.ค. 12, 17:04

ขอบพระคุณครับ ไม่ทราบว่าหาจากจากแหล่งขอมูลใดหรือครับ ถ้ามีลิงค์หรือรายชื่อหนังสือรบกวนเขียนมาได้ไหมครับ

ขอบพระคุณอีกครั้งนะครับ

ผมได้ข้อมูลมาจากการอ่านเอกสารที่หน่วยราชการท่านรวบรวมและพิมพ์ไว้เป็นเล่ม
ข้อมูลทางราชการอาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่คนในตระกูลเล่าต่อๆ กันมา  ก็ไม่แปลกอะไร
ข้อมูลคำบอกเล่าของคนในสกุลหนึ่ง  ถ้าเป็นเรื่องลี้ลับหาข้อมูลเอกสารมาสอบสวนไม่ได้
ก็พึงเชื่อไปตามคำที่เล่าสืบกันมา  แต่ถ้าข้อมูลใดสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้
พึงตรวจสอบ  ไม่ใช่ว่า  ท่านผู้อาวุโสในสกุลเล่ามาอย่างไรก็ยึดถือว่าถูกเสียทั้งหมด

จริงอยู่ว่า  ลูกหลานควรเคารพเชื่อฟังคำผู้ใหญ่  แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะละเลยความถูกต้องไป
คำบอกเล่านั้น  โอกาสที่จะเปลี่ยนแปรไปนั้นมีมาก   ยิ่งเรื่องบรรพบุรุษในสกุล
บางทีด้วยความเคารพนับถือมาก  ผู้เล่าต่อก็ตกแต่งเรื่องราวให้พิสดารมากขึ้น
ถ้าไม่ชำระ  บรรพบุรุษของท่านอาจจะกลายเป็นอะไรๆ ต่อไปได้อีกมาก จนคนรุ่นหลัง
ได้ฟังแล้วอาจจะเข้าใจผิด  และอาจจะไม่อยากเล่าเรื่องตระกูลให้คนนอกสกุลฟังก็ได้

เอกสารที่ผมค้นนั้น  เป็นที่รู้จักกันดี  มีตามห้องหรือหอสมุดใหญ่ทั่วราชอาณาจักร
อย่าให้บอกชื่อเลย  เดี๋ยวเขาจะว่าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนเปล่าๆ
บันทึกการเข้า
บัวรัศมี สีทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 03 ก.ค. 12, 19:11

ขอขอบคุณค่ะ   ว่างๆ ก็คงต้องไปนั่งค้นคว้าที่ห้องสมุดใหญ่

เพื่อค้นหารายชื่อ ส.ส. ชัยภูมิ  ในอดีตยุค ๒๔๗๖-๒๔๙๐

แล้วก็ค้นต่อว่า ส.ส. แต่ละสมัยมีที่มาอย่างไร

เพราะเปิดหาใน GOOGLE แล้ว  ได้รายละเอียดน้อยมาก หาชื่อคุณลุงก็ไม่พบ

อีกทั้งยังไม่ได้เป็นเจ้าของสวนมะพร้าว  จึงไม่กล้ารับเป็น "เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง