เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4559 ประวัติเจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์ (หลวง ควรหา)
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


 เมื่อ 24 มิ.ย. 12, 16:55

มีท่านใดพอจะทราบประวัติเพิ่มเติมของเจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์ (หลวง ควรหา)บ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 07:41

เจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์ (หลวง ควรหา)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์ (หลวง ควรหา) (พ.ศ. 2403-2465) มีพระนามเดิมว่า หลวง เจ้าพระยาประจำกรมอารักษณ์ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) "เจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์" เป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานราชทินนามนี้มีแต่ท่านเพียงผู้เดียว

ในขณะที่ท่านรับราชการ ท่านได้พบกับ อาร์คดัชเชสมาเรีย-ฟรานซิส และต่อมาได้อภิเษกสมรส มีบุตรธิดารวม 4 คน
อ้างอิง

    ดนัย ไชยโยธา. นามานุกรมประวัติศาสตร์. กรุงเทพ : โอเดียนสโตร์, 2548. ISBN 974-971-297-8
    Joseph Hummel,Phonse Elric, The Habsburgs Tragedy,London, England, 1928.
***************
ต้องถามคุณเพ็ญชมพู/ คุณ siamese/ และท่านอื่นๆที่เข้ามาตอบในห้องประวัติศาสตร์เสียแล้ว  ว่ามีตัวตนจริงหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 09:04

ข้าราชการในกรมพระอาลักษณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ไม่มีข้าราชการคนใดได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ถึงชั้นเจ้าพระยา
และโดยปกติแล้ว  ขุนนางชั้นเจ้าพระยาย่อมไม่ประจำอยู่กรมเล็กๆ 

ในช่วงรัชกาลที่ ๕ ข้าราชการกรมพระอาลักษณ์มีบรรดาศักดิ์สูงสุด คือ พระยา
อีกทั้งพระน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ ได้ทรงกำกับดูแลราชการในกรมพระอาลักษณ์
และกระทรวงมุรธาธรอยู่หลายปี  ในกระทรวงหรือกรมที่มีเจ้านายทรงกำกับดูแล 
มักไม่มีเจ้าพระยามาอยู่ใต้บังคับบัญชา

เจ้าพระยาคนนี้   แค่ชื่อบรรดาศักดิ์ก็ผิดประหลาดแตกต่างจากราชทินนามบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาทั้งหลาย
ขุนนางชั้นเจ้าพระยา  เมื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งย่อมเป็นการเอิกเกริก  มีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้ง
เป็นหลักฐาน   เมื่อถึงเวลาวายชนม์ก็ควรเป็นข่าวสำคัญในสังคมช่วงนั้น 

ขอชี้ชัดๆ ว่า  เจ้าพระยาที่ว่านั้น  ไม่มีจริง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 10:51

เห็นด้วยค่ะ
น่าจะมีการลบวิกิพีเดียเรื่องนี้ออกได้แล้ว
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 20:27

    ดนัย ไชยโยธา. นามานุกรมประวัติศาสตร์. กรุงเทพ : โอเดียนสโตร์, 2548. ISBN 974-971-297-8
    Joseph Hummel,Phonse Elric, The Habsburgs Tragedy,London, England, 1928.

ที่น่าสนใจคือ ผู้เขียนในวิกกี้ อ้างอิง หนังสือ ดูน่าเชื่อถือด้วย แต่ไปค้นดู หนังสือ ของ รศ.ดนัย ชื่อ นามานุกรมประวัติศาสตร์ไทย (ตกคำว่าไทย ไปตัวหนึ่ง) แต่หาหนังสือไม่ได้ เว้นแต่ห้องสมุดของโรงเรียบางโรงเรียน เพราะ อาจารย์ท่านเขียนหนังสือเรียนหลายเล่ม เล่นนี้เก่าแล้ว หาอ่านยาก

ประเด็นคือ จะมีอย่างที่ อ้างหรือไม่? ..............ถ้ามี ก็น่าสนใจ,  ถ้าไม่มี อาจารย์ดนัย ก็เสียหาย !!!! เพราะถูกอ้างไปแล้ว





ส่วนหนังสือภาษาอังกฤษ ก็หาไ่ม่ีมีในสารบบ ของ google, หาเจอแต่ Tragedy in the House of Habsburg (1924) แต่เป็นหนัง (ภาพยนต์) ไม่ใช่หนังสือ

ถ้ามี ฝรั่ง - ไทย คงพลิกแผ่นดินหาอ่่าน เป็นนิราศหนองคายฉบับดั้งเดิม เป็นแน่ !!!!!!!
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 20:46

ส่วนหนังสือภาษาอังกฤษ ก็หาไ่ม่ีมีในสารบบ ของ google, หาเจอแต่ Tragedy in the House of Habsburg (1924) แต่เป็นหนัง (ภาพยนต์) ไม่ใช่หนังสือ

ถ้ามี ฝรั่ง - ไทย คงพลิกแผ่นดินหาอ่่าน เป็นนิราศหนองคายฉบับดั้งเดิม เป็นแน่ !!!!!!!

มีเล่มนี้

Listowel, Judith Márffy-Mantuano Hare, Countess of. A Habsburg Tragedy: Crown Prince Rudolf. London: Ascent Books, 1978.



เป็นเรื่องของ อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 22:04

ในหนังสือการแต่งตั้งเจ้าพระยาแห่งกรุงรัตนโกสินทริ์ไม่พบ ไม่เจอ ชื่อบุคคลดังกล่าว เป็นการอ้างชึ้นมาเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง เพื่ออะไร  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 23:06

คิดได้ 2 ทาง
ถ้าหากว่าไม่ใช่เรื่องนึกสนุก  แกล้งใส่ข้อมูลผิดๆลงในวิกิให้คนอ่านหลงเชื่อด้วยฝีมือคนจิตไม่ว่าง ที่แต่งเรื่องเจ้าพระยาอะไรคนนี้ขึ้นมา    ก็น่าจะเป็นเรื่องของคนจิตไม่ปกติ  เขียนอะไรลงไปโดยแยกความจริงกับเท็จไม่ออก
คิดว่าอาจารย์ดนัยคงจะถูกอ้างชื่อ เพื่อความน่าเชื่อถือในฐานะนักวิชาการ  คงมีการเสิชตำราทางประวัติศาสตร์แล้วพบตำราที่อาจารย์เขียน ก็เลยใส่ไว้
ส่วนเรื่องราชวงศ์ฮับสเบิร์ก ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับสยาม    เป็นเรื่องมกุฎราชกุมารออสเตรียที่ยิงตัวตายพร้อมพระสนม  เคยเล่าไว้ในกระทู้ซิสซี่ จักรพรรดินีแห่งออสเตรีย  ไปหาอ่านได้ค่ะ

เจ้าพระยาแห่งสยามในรัชกาลที่ ๕ เนี่ยนะไปแต่งงานกับอาชดัชเชสแห่งออสเตรีย  จนมีลูกออกมาตั้ง 4 คน  เจอกันที่ไหนไม่ทราบ?
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 00:52

ข้อมูลเกี่ยวกับขุนนางที่รับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นมีอยู่มากและกระจัดระจาย
เนื่องด้วยระยะเวลาในรัชกาลนี้ยาวนานถึง ๔๐ ปีเศษ 
ข้าราชการที่รับราชการในรัชกาลนี้จึงมีมาก  และระบบการบริหารราชการแผ่นดิน
ก็มีการเปลี่ยนแปลงในรัชกาลนี้อยู่หลายคราว  การจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการ
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้ได้ครบทั้งหมดตลอดรัชกาลนั้น  ไม่ใช่เรื่องง่าย
เนื่องจากต้องอาศัยข้อมูลจากหนังสือและเอกสารจดหมายเหตุจำนวนมาก
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเทียบเคียงกันให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงน่าเชื่อถือที่สุด

ที่ผ่านมา   ยังไม่มีหนังสือเล่มใดที่รวบรวมประมวลข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการรัชกาลที่ ๕
ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน  นั่นอาจจะเป็นเหตุให้มีผู้นึกสนุกอุตริสมมติข้าราชการมีบรรดาศักดิ์ขึ้นมาคนหนึ่ง
ด้วยหมายให้คนทั่วไปที่ยังรู้จักขุนนางสมัยรัชกาลที่ ๕ ไม่ทั่วถึงทั้งหมด  เข้าใจว่า
มีขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ดังนั้นจริงๆ ในประวัติศาสตร์ไทยสมัยนั้น   แต่ขุนนางสมมติคนดังกล่าว
แม้จะมีการใส่ชื่อเอกสารอ้างอิงข้อมูลให้ดูน่าเชื่อถือในเชิงวิชาการ ก็มีข้อที่สังเกตได้ว่าปลอมหลายประการ

นี่ถ้าหากว่า  ผู้ที่อุตริสมมติชื่อขุนนาง สมมติข้าราชการชั้นบรรดาศักดิ์ต่ำกว่านี้ เป็นพระยาหรือพระหรือหลวงหรือขุน
ก็อาจจะมีคนเชื่อว่า  เป็นขุนนางที่มีตัวตนจริง  เพราะตรวจสอบข้อมูลได้ยาก  อีกทั้งขุนนางชั้นพระยาจนถึงขุน
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็มีมาก   กว่าจะตรวจสอบได้ก็คงใช้เวลานานนัก  ยิ่งถ้าให้ข้อมูลรายละเอียดน่าเชื่อถือ
ดีไม่ดีอาจจะจับพิรุธไม่ได้ด้วย


แต่นี่เกิดนึกสนุกไปสมมติขุนนางชั้นเจ้าพระยา  ซึ่งมีหนังสือรวบรวมข้อมูลไว้แล้วตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๕-๖
แถมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับขุนนางสมมติคนนี้ก็มีที่ให้จับผิดได้หลายแห่งหลายประการ เป็นต้นว่า

๑.เป็นเจ้าพระยาที่อยู่ในกรมพระอาลักษณ์  กรมพระอาลักษณ์เป็นกรมราชการขนาดเล็ก
แม้จะรับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน  แต่ไม่เคยปรากฏว่า มีขุนนางเป็นเจ้าพระยา  แค่พระยาก็นับว่าสูงสุดแล้ว
หรือถ้าจะเป็นเจ้าพระยาได้   ก็ควรจะเป็นเจ้าพระยาในตำแหน่งราชเลขาธิการ อย่างเจ้าพระยามหิธร (ลออ  ไกรฤกษ์) เป็นต้น
ในระดับกรมเล็กๆ ไม่มีทางที่เจ้ากรมจะขึ้นไปถึงเจ้าพระยา  แม้แต่จางวางในกรมนั้นๆ ก็เป็นสุงสุดที่พระยาเท่านั้น

๒.ราชทินนามของเจ้าพระยาทั้งหลาย  ยิ่งในชั้นรัชกาลที่ ๕ นั้น  ย่อมโปรดเกล้าฯ ให้คิดขึ้นอย่างไพเราะ มีความหมาย
และมีสร้อยบรรดาศักดิ์ยาวหลายบรรทัด   บรรดาศักดิ์เจ้าพระหลวงดิศักดิ์ ที่ยกเมฆขึ้นมานั้น  เป็นบรรดาศักดิ์นอกทำเนียบโดยแท้
เพราะคนคิดราชทินนามนี้กุขึ้นเอาง่ายๆ  ไม่มีเค้ามูลสักอย่าง   ถ้าเป็นราชทินนามที่พระราชทานพิเศษแล้วย่อมมีที่ไปที่มามากกว่านี้

๓.คนรับราชการชั้นเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ ๕   โดยมากต้องรับราชการถึงชั้นเสนาบดีกระทรวงหรือเจ้าเมืองใหญ่
และรับราชการสนองพระราชประสงค์มานานหลายสิบปี   มีผลงานเป็นประจักษ์ชัดเจนว่าได้รับราชการอันใดเป็นคุณแก่บ้านเมืองบ้าง
แน่นอนว่า  เจ้าพระยาแต่ละคนย่อมได้รับพระราชทานเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตลอดจนเหรียญบำเหน็จในราชการมากด้วย
เจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์ หากมีตัวตนจริงก็น่าจะมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้สอบข้อมูลได้ไม่ยาก  เวลาถึงแต่อนิจกรรมย่อมมีข่าวประกาศ

๔.เจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์ (หลวง  ควรหา) ราชทินนามที่ตั้งจากชื่อเดิมของผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์นั้น  เพิ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๖
ราวๆ กลางรัชกาล เมื่อเริ่มมีนามสกุลใช้แล้ว   ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีธรรมเนียมดังกล่าว

๕.เจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์ (หลวง  ควรหา) ซึ่งท่านสมมติว่า มีอายุอยู่ระหว่างปี ๒๔๐๓ - ๒๔๖๕  น่าสังเกตว่า  เจ้าพระยาคนนี้มีอายุถึง ๓ รัชกาล
และรับราชการจนถึงรัชกาลที่ ๖  ก็น่าจะได้รับพระราชทานนามสกุลให้เป็นเกียรติแก่วงศ์สกุล  แต่ก็หามีไม่  กลับใช้นามสกุลธรรมดาที่คิดขึ้นเอง

๖.ข้าราชการมีบรรดาศักดิ์  อยู่ดีๆ จะไปทำการสมรสกับชาวต่างชาติต่างภาษาที่เป็นถึงเจ้าต่างประเทศ  เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก
เพราะข้าราชการกรมพระอาลักษณ์ทำงานหนังสือ  ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปเป็นทูตหรือติดต่อราชการต่างประเทศ
จะหาโอกาสใดไปพบกันได้   และถึงพบกันได้  ก็จะได้รับพระบรมราชานุญาตให้ทำการสมรสหรือ  เพราะกฎหมายข้อบังคับห้ามไว้เด็ดขาด
อย่าว่าแต่ชั้นเจ้าพระยาเลย  ชั้นคุณพระก็โดนประหารมาแล้ว  ยิ่งเจ้าพระยายิ่งไม่มีทางอนุโลมได้เลย  ต่อให้โปรดมากเท่าใดก็ตาม
อย่าว่าแต่มีลูกสี่คนเลย  ลูกคนเดียวมีให้ได้เถอะ

จากข้อสังเกตพิรุธข้างต้น  ก็พอจะชี้ให้เห็นได้ว่า  เจ้าพระหลวงดิศักดิ์  เป็นของสมมติขึ้นไม่มีเค้ามูลว่าจะจริงแม้แต่น้อย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 01:32

ค้นในกูเกิ้ลพบว่า นามสกุล ควรหา เป็นนามสกุลจริง  มีบุคคลหลายคนใช้นามสกุลนี้
แต่เชื่อว่าคงไม่เกี่ยวอะไรกับการสมมุติบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาผู้ไม่มีตัวตนดังกล่าว  อาจตรงกันโดยบังเอิญเท่านั้น

นึกถึงกระทู้เก่า
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3319.0
คงจะมีอะไรคล้ายๆกันในแง่ของความไม่น่าเชื่อถือ และไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
ข้อมูลเรื่องทำนองนี้แพร่หลายอยู่ในเว็บไซต์หลายแห่ง     ถ้าอ่านพบ โปรดใช้วิจารณญาณและตรวจสอบข้อมูลก่อนนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 05:51

เจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์ (หลวง ควรหา) (พ.ศ. 2403-2465) มีพระนามเดิมว่า หลวง เจ้าพระยาประจำกรมอารักษณ์ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) "เจ้าพระยาหลวงดิศักดิ์" เป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานราชทินนามนี้มีแต่ท่านเพียงผู้เดียว

๗. สามัญชนหาควรใช้คำว่า "พระนาม" ไม่

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 06:02

ผู้ที่แต่งประวัติเจ้าพระยาสมมุติคนนี้ คงเห็นว่าไหนๆก็แต่งงานกับเจ้าหญิงออสเตรียไปแล้ว ก็เลยเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าชายเสียเลย
 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 06:51

คุณ luanglek  วิเคราะห์ ได้ ครบทุกประเด็น......

กระทู้นี้ น่าจะต้องเปลี่ยนเป็น ประวัติเจ้าพระยา ลวงดิศักดิ์  ลวง ! ควรต้องหา(ข้อมูลเพิ่มเติม)
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 17:48

ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความกระจ่างแจ้งครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง