เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23
  พิมพ์  
อ่าน: 131174 กบฎบวรเดช นี่ทหารการเมืองเขาเล่นอะไรกัน?
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 31 ธ.ค. 18, 08:48

ชื่อ "อนุสสาวรีย์ทหารปราบกบฏ" ปรากฏครั้งแรกใน "พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อขยายและตัดถนนเชื่อมคมนาคมกรุงเทพ พระมหานครกับดอนเมือง และเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ทหารปรากบฎ พุทธศักราช ๒๔๗๖" ประกาศเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/950.PDF


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 31 ธ.ค. 18, 08:49

ชื่อ "พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" ปรากฏใน "พระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๔๗๖" ประกาศเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งน่าจะใช้เป็นชื่ออนุสาวรีย์นี้ในเวลาต่อมา

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/806.PDF



บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 31 ธ.ค. 18, 09:43

ป่านฉะนี้ คนที่เคยรับเหรียญนี้มาคงโยนทิ้งหมดละมั้งขอรับ อาจารย์หญฺิง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 31 ธ.ค. 18, 10:08

แพงขนาดนี้ คงไม่ทิ้งกันง่าย ๆ กระมัง  ยิงฟันยิ้ม

จาก http://uauction4.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=248&qid=56018


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 31 ธ.ค. 18, 12:52

คุณหมอเพ็ญชมพูของผมกลายเป็นอาจารย์หญิงไปแล้วหรือครับเนี่ย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 31 ธ.ค. 18, 13:47

จากความจำของผมนะครับ
สมัยเด็กๆเมื่อเดินทางไปสนามบินดอนเมืองเพื่อส่งญาติผู้ใหญ่ไปเมืองนอก ซึ่งสมัยโน้นคนไทยนิยมแห่แหนกันไปทั้งตระกูลแล้วเอาพวงมาลัยไปคล้องคอถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก จะต้องนั่งรถไปตามถนนพหลโยธิน เมื่อถึงวัดพระศรีมหาธาตุแล้วจนสุดหัวมุม จะมีถนนเลี้ยวซ้ายจากวงเวียนเล็กๆเรียกว่าวงเวียนหลักสี่ แยกไปเข้าสนามบินทางทิศตะวันตกด้านทางรถไฟ สนามกลางวงเวียนจะมีแทงคอนกรีตทื่อๆตั้งอยู่ ผู้ใหญ่บอกว่านั่นเป็นอนุสาวรีย์ปราบกบฏ ไม่เคยได้ยินว่าเป็นชื่ออื่นเลย

ผมมาได้ยินคำว่าอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญนี่ก็เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เผลอๆอาจจะช่วงหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ นี่เอง หวังว่าคุณหมอเพ็ญคงจะค้นหาได้ในที่สุดนะครับ

วงเวียนหลักสี่สมัยโน้นจะกลมหรือจะรีๆเป็นรูปไข่ก็จำไม่ได้ ทราบแต่ว่ามันเปลี่ยนโฉมไปเรื่อยๆ แล้วอีกไม่นานจะมีสภาพดังที่เห็น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 31 ธ.ค. 18, 14:50

"จริง ๆ (อนุสาวรีย์นี้) ก็ย้ายมาหลายครั้งแล้ว ก่อนหน้านี้อยู่กลางวงเวียน พอสร้างอุโมงค์ ก็ย้ายไปมุมตรงข้ามกับ สน.บางเขน แล้วพอสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็ย้ายมาอีกมุมหนึ่ง"

ล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ อนุสาวรีย์นี้ก็ถูกย้ายอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ยังไม่ทราบว่าย้ายไปอยู่ที่ใด

จากแผนที่ฉบับคุณกุ๊ก  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 25 มิ.ย. 19, 14:33

กลับมาอ่านใหม่ก็สนุกสนานได้ความรู้เช่นเคย
แถมพบว่าตัวเองเคยร่วมวงสนทนากับท่านอาจารย์ทั้งหลายด้วย ขำความคิดตัวเองเมื่อ 7 ปีที่แล้วเล็กน้อย 5555
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 26 มิ.ย. 20, 14:33

วันก่อนเพิ่งไปลองรถไฟฟ้าสถานีวัดพระศรีมหาธาตุมาค่ะ เลยเข้ามากระทู้นี้รำลึกอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญที่หายไปแล้วเรียบร้อย
ไม่ขอตัดสินว่าการย้ายเหมาะหรือไม่เหมาะ แต่สวนที่กำลังสร้างสวยดีค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 26 มิ.ย. 20, 16:13

ในที่สุดก็หายไป

หากกองทัพบกยังจำได้ ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๗๙ ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฏหรืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญขึ้นที่บริเวณหลักสี่ บางเขน...แต่วันนี้อนุสาวรีย์หายไปไหน ❓

The answer, my friend, is blowin' in the wind. ‼️

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 26 มิ.ย. 20, 16:38

ทบ.รำลึกถึทบ.จัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพล.อ.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และบำเพ็ญกุศลแก่พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ถือว่าอยู่ตรงข้ามกับกลุ่มคณะราษฎรและยกเป็นแบบอย่างความจงรักภักดี

วันนี้(24มิ.ย.63) พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก มอบหมายให้พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก บำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และบำเพ็ญกุศลแก่พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งกองทัพบกยกย่องให้เป็นนายทหารที่มีวีรกรรมความกล้าหาญ และจงรักภักดีต่อสถาบัน เนื่องจากหลังเหตุการณ์คณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

โดยพลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปรับปรุง พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ พร้อมใช้ชื่ออาคารที่เชื่อมต่อกันว่าอาคารศรีสิทธิสงคราม มีห้องรับรองอเนกประสงค์ที่ตั้งชื่อว่าห้องบวรเดช และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางมาเปิดอาคารระหว่างการตรวจเยี่ยมกองทัพบกเมื่อปีที่แล้ว
https://news.thaipbs.or.th/content/293971



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 27 มิ.ย. 20, 08:48

ตุลาคม ๒๔๗๖ สมศักดิ์ เด่นชัย  ราษฎรหัวก้าวหน้า ยืนอยู่ข้างการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตย” และมีความเห็นว่าฝ่ายตรงข้าม คือกองกำลังของพระองค์เจ้าบวรเดชเป็นฝ่ายที่อยู่ข้าง “ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง” ได้อาสาสมัครเป็นทหารเข้าร่วมต่อสู้

สมศักดิ์ถูกลูกกระสุนปืนของฝ่ายกบฏล้มล้างรัฐธรรมนูญ มาพักรักษาอยู่ที่กองเสนารักษ์ พญาไท ก่อนเสียชีวิต เขากล่าวกับฤดี ภริยาผู้มาเฝ้าอาการว่า

"ฉันภูมิใจแล้วที่ฉันได้ตายในโอกาสเช่นนี้ ถ้าเขาเอาศพของฉันไปเผาที่ท้องสนามหลวงพร้อมกับศพของวีรชนอื่น ๆ และถ้าประชาชนจะพากันไปแสดงความอาลัยในผู้ซึ่งได้อุทิศชีวิตเพื่อความสันติสุขของประชาชาติไทย และเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญอันศักดิ์สิทธิ์ ฉันก็ได้ตายด้วยความอิ่มใจอย่างที่สุด"

ชายหนุ่มผู้กล้าหาญได้เปล่งวาจาครั้งสุดท้ายก่อนจะขาดใจว่า

"ลาก่อนยอดรัก ลาก่อนรัฐธรรมนูญ"

สมศักดิ์ เด่นชัย ราษฎรหัวก้าวหน้าผู้กล้าหาญ อยู่ในเรื่องสั้นชื่อ ลาก่อนรัฐธรรมนูญ ของ ศรีบูรพา พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือชื่อ เทอดรัฐธรรมนูญ ธันวาคม ๒๔๗๖ ในตอนต้นเรื่องเขียนว่า "อุทิศแด่วีรชน ๑๗ นาย ซึ่งได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อความสันติสุขของประชาชาติไทย"

หากดวงวิญญาณของสมศักดิ์ เด่นชัย ยังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน คงเสียใจว่า มิอาจพิทักษ์รัฐธรรมนูญได้ดังประสงค์  ร้องไห้  


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 27 มิ.ย. 20, 15:58

จาก Facebook ของ Fuangrabil Narisroj

เด็กรุ่นใหม่ที่ถูกคณะส้มเน่าล้างสมองด้วยเรื่อง 2475 ให้ยึดเป็นสรณะในสมองเพียง “มิติเดียว” ราวกับว่าคณะราษฎร์นั้นคือผู้บริสุทธิ์ที่ถูกกระทำ

แต่ในอีกมุมนึงนั้น ตอนที่คณะราษฎร์เรืองอำนาจ ก็ได้กระทำย่ำยีบีทาคนที่เห็นต่างไว้อย่างทารุณเช่นกัน ซึ่งเป็นอีก “มิติ” ที่เด็กรุ่นใหม่จำนวนมากไม่เคยรู้ !!!

ถ้าไม่นับกรณีที่พระบรมวงศานุวงศ์ที่ถูกข่มขู่สารพัดจนต้องเสด็จฯหนีไปลี้ภัยในต่างประเทศแล้ว

คนทั่วไปที่มิได้เป็นเจ้าก็โดนคณะราษฎร์ใช้อำนาจริดรอนเสรีภาพเช่นกัน ตรงนี้ต้องการนำเสนอเพื่อให้เด็กรุ่นใหม่แต่หัวใจ 2475 อ่านเป็นข้อมูลเพื่อชั่งตวงวัดเปรียบเทียบให้เห็นด้วยว่า คณะราษฎร์นั้นก็มีมุมมืดเช่นกัน

คนที่ต้องหนีลี้ภัยไปต่างประเทศไม่ได้มีแค่ คนที่หนี คสช. หรือ ม.112 เฉพาะในยุคนี้ แต่มันมีมาก่อนแล้วโดยผู้กระทำคือ คณะราษฎร์นั่นเอง !!!!

เนื้อหาที่ยกมาให้อ่านนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของ พระยาศราภัยพิพัฒ ที่โดนกระทำโดยคณะราษฎร์ เรื่องราวเป็นอย่างไรเชิญอ่าน (เนื้อหาเต็มหาอ่านจากวิกิพีเดีย) //

“พระยาศราภัยพิพัฒ ได้รับราชการเป็นนายเวรวิเศษ เลขาประจำตัวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ตำแหน่งสุดท้ายเป็นเจ้ากรมเสมียนตรา และปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม

ถูกปลดออกจากราชการหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 พร้อมกับทำงานด้านหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ไปพร้อมกับนายหลุย คีรีวัต นายสอ เศรษฐบุตร เป็นต้น

หนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ที่พระยาศราภัยพิพัฒ นั้นได้ถูกเพ่งเล็งจากฝ่ายรัฐบาล (คณะราษฎร์) ว่าเป็นสื่อที่สนับสนุนการปกครองแบบเก่า

หลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช ในปี พ.ศ. 2476 และพระยาศราภัยพิพัฒเขียนบทความชื่อ "ฟ้องในหลวง" โจมตี กรณีนายถวัติ ฤทธิ์เดช ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อศาลอาญา

อีกทั้งยังเดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ปีนัง

พระยาศราภัยพิพัฒและพวกถูกหมายจับในข้อหาแจกใบปลิวเถื่อนและปลุกระดมการกบฏ จึงหลบหนีด้วยการลงเรือตังเกหนีลงทะเล แต่ถูกจับได้ที่อ่าวไทย

หลังจากนั้นจึงถูกส่งไปจำคุกในฐานะนักโทษการเมือง ที่เกาะตะรุเตา พร้อมกับนักโทษคนสำคัญอีกหลายคน

จนกระทั่งในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2482 เวลาประมาณ 23.00 น. พระยาศราภัยพิพัฒ พร้อมกับเพื่อนนักโทษอีก 4 คน คือ พระยาสุรพันธ์เสนี, ขุนอัศนีรัถการ, นายหลุย คีรีวัต และ นายแฉล้ม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ ได้หลบหนีจากที่คุมขังเกาะตะรุเตา ในคืนเดือนหงาย พร้อมกับพกมีดชายธงคนละเล่ม ซ่อนตัวในแหเรือตังเก ไปยังเกาะลังกาวีของมาเลเซีย พร้อมกับได้ขอลี้ภัยการเมือง ณ ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ ซึ่งทั้งหมดได้สาบานกันว่าจะสู้ตายหากถูกจับได้

บุตรชายของพระยาศราภัยพิพัฒ ชื่อ เลอพงษ์ ศราภัยวานิช เป็นนิสิตคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางไปเยี่ยมบิดาระหว่างปิดภาคเรียน และเขียนบทความชื่อ "เยี่ยมพ่อ" ตีพิมพ์ในวารสารของมหาวิทยาลัย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2484

ต่อมาได้ถูกคำสั่งของ พันเอกประยูร ภมรมนตรี (หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร์) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย ให้คัดชื่อออกจากการเป็นนักศึกษา “

นี่แค่เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้ที่ถูกคณะราษฎร์ ริดรอนสิทธิเสรีภาพ ยังมีตัวอย่างคนที่ “ถูกกระทำ” อย่างไม่เป็นธรรมจากคณะราษฎร์อีกมากมาย เช่น นายทุเรียนที่วิพากษ์วิจารณ์คณะราษฎร์ และถูกนำไปต้องขัง หรือ ลูกหลานคนในราชสกุลเทพหัสดินทร์ฯ 2 คน ที่คณะราษฎร์เอาไปประหารชีวิตเพราะ พ่อของเป็นฝ่ายระบอบเก่า เอาไว้ถ้ามีโอกาสจะเล่าให้ฟังอีก !

https://www.facebook.com/nickfuang
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 02 ก.ค. 22, 10:35

ทบ.รำลึกถึงทบ.จัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพล.อ.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และบำเพ็ญกุศลแก่พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ถือว่าอยู่ตรงข้ามกับกลุ่มคณะราษฎรและยกเป็นแบบอย่างความจงรักภักดี

โดยพลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปรับปรุง พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ พร้อมใช้ชื่ออาคารที่เชื่อมต่อกันว่าอาคารศรีสิทธิสงคราม มีห้องรับรองอเนกประสงค์ที่ตั้งชื่อว่าห้องบวรเดช

ปฏิบัติการลบเลือนประวัติศาสตร์คณะราษฏรยังคงดำรงอยู่ ตกใจ

ป้ายชื่อ "สะพานพิบูลสงคราม" ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ บนถนนประชาราษฎร์สาย ๑ ใกล้แยกเกียกกาย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "สะพานท่าราบ"* แล้วใน พ.ศ. ๒๕๖๕

* ท่าราบ คือ นามสกุลของพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 02 ก.ค. 22, 10:51

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง