เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23
  พิมพ์  
อ่าน: 131169 กบฎบวรเดช นี่ทหารการเมืองเขาเล่นอะไรกัน?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 09:36

ผมได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านเอกสารเก่าๆเรื่องการเมืองไทยสมัยต้นยุคประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง ในหนังสือของกรมโฆษณาการเรื่อง คำพิพากษาศาลพิเศษ ๒๔๘๖ เรื่องกบฏ ศาลได้อ่านนำต้นคำพิพากษาไว้ตอนหนึ่งว่า



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 09:42

จะเห็นว่า เรื่องเดียวกันนี้ ฝ่ายหนึ่งจะบันทึกอย่าง อีกฝ่ายก็บันทึกอีกอย่าง เป็นเช่นนี้ทุกยุคทุกสมัย อย่างไรก็ตาม ความเห็นของศาลพิเศษในคดีนี้ ถือว่าได้ฉายความนึกคิดของฝ่ายหลวงพิบูลออกมาทั้งระบบ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ อนุชนรุ่นหลังเช่นเราก็พอจะเห็นภาพได้ว่า ฝ่่ายไหนเล่นอะไร และเพื่ออะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 12:52

อ่านจากคำพิพากษาข้างบนนี้   ใน 3 คนที่ถูกเอ่ยถึง    แล้วได้ความรู้สึกว่า

- พระองค์เจ้าบวรเดชรับไปเต็มๆทุกเรื่อง  ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดินมาตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเลยทีเดียว
- พระยาพหลฯถูกกำหนดให้รับบทนักเผด็จการ ใช้กำลังลูกเดียว ไม่เอาวิธีอื่น
- พระยาศรีสิทธิสงคราม แทบไม่มีความผิด  เพราะท่านแทบไม่ได้ออกความเห็นอะไร
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 14:35

อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวเท่าไรกับกระทู้นี้ แต่ไม่ทราบว่า มีท่านใดพอจะทราบบ้านเดิมที่จังหวัดเพชรบุรีของท่านเจ้าคุณศรีสิทธิสงครามบ้างไหมครับ เนื่องจากนามสกุลของท่านคือ ท่าราบ ที่ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 14:55

ถาม คุณวิกกี้ ได้ความดังนี้

พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม อดีตนายทหารบก ผู้เป็นแกนหลักในเหตุการณ์กบฏบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ พระยาศรีสิทธิสงคราม มีชื่อเดิมว่า ดิ่น ท่าราบ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ในครอบครัวคหบดีชาวสวน ที่ตำบลท่าราบ อำเภอคลองกระแชง (ปัจจุบัน คือ อำเภอเมืองเพชรบุรี) จังหวัดเพชรบุรี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 09:58

ถาม คุณวิกกี้ ได้ความดังนี้

พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม อดีตนายทหารบก ผู้เป็นแกนหลักในเหตุการณ์กบฏบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ พระยาศรีสิทธิสงคราม มีชื่อเดิมว่า ดิ่น ท่าราบ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ในครอบครัวคหบดีชาวสวน ที่ตำบลท่าราบ อำเภอคลองกระแชง (ปัจจุบัน คือ อำเภอเมืองเพชรบุรี) จังหวัดเพชรบุรี

 ยิงฟันยิ้ม

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
cutenail
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 09:11

กระทู้ยังไม่จบนะครับ แต่จวนเละแล้ว

ขอเอาภาพตัวอย่างตอนหน้ามาฉายให้ดูเฉยๆ

แหม อยากได้คนปากช่องมาช่วยกันหาตรงแถวบริเวณนั้นหน่อย ภูมิประเทศตามภาพถ่ายโบราณที่เห็นยังมีเหลือหรือเปล่า ผมอยากวิเคราะห์จริงๆว่า คนตั้งป้ายอนุสรณ์ท่านเจ้าคุณศรีมั่ว หรือคนถ่ายภาพ(และเขียนบรรยายไว้ด้วย)จะมั่ว ทั้งๆที่ไปกับขบวนรถที่ขึ้นไปปะทะกันคราวนั้นแหละ

หลังจาก ติดตาม เรื่องราวที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มาเกือบเดือนครับ ตั้งแต่ ป2 ป3 ต้องขอบคุณท่านผู้รู้หลาย ๆ ท่าน ที่ทำให้อนุชนรุ่นหลังอย่างผมได้รับรู้ความเป็นไป ของการเมืองไทยตั้งแต่เริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ขออนุญาต เพิ่มเติมนะครับ รูปที่เป็นช่องเขานี่น่าจะอยู่ระหว่าง สถานีผาเสด็จ กับสถานีหินลับ จะอยู่ตรงที่ ตามเส้นทางที่ไปจากถนนมิตรภาพ เมื่อเข้าไปจะเจอแยกตัว Y ถ้า แยกทางขวาจะไปสถานีหินลับ ถ้าแยกซ้ายจะไปสถานีผาเสด็จ

ถ้าแยกเข้าไปทางซ้ายไปทางผาเสด็จ จะไปเจอทางรถไฟขวางหน้าอยู่ จากนั้นถ้าไปตามทางดินลูกรังทางซ้ายขนานไปกับทางรถไฟ จะไปถึงผาเสด็จ

ตรงที่ทางรถไฟขวางหน้าถ้าตรงไปจะเหมือน เป็นตึกหลายตึก เหมือนศาล หรือที่วิปัสสนาอะไรบางอย่าง (ไม่แน่ใจครับ) ถ้าหันไปมองทางขวา ทางทิศตะวันตกตามทางรถไฟจะเห็นช่องเขาตามที่ว่านี้ล่ะครับ บนยอดเขาฝั่งซ้ายจะมีการสร้างรูปปั้นพระ หรือรูปบูชา (อันนี้จำไม่ได้) 

สำหรับเส้นทางที่ไปสถานีหินลับ จะสามารถทะลุไปออก มวกเหล็ก หรือย้อนกลับไปแก่งคอยได้ หรือจะเข้าวังม่วงไปลพบุรี หรือจะไปปากช่อง ชัยภูมิได้ เส้นทางนี้ เป็นเส้นทางหลบการจราจรในช่วงเทศกาลได้ แต่ต้องเป็นเวลากลางวัน และชำนาญเส้นทาง

สำหรับสะพานที่มีการทำขบวนรถตกรางที่มวกเหล็ก เพื่อกีดขวางฝ่ายรัฐบาลนั้น สะพานนี้ยังอยู่ ตอนผมเด็ก ๆ แถวนั้นเรียกกันว่า สะพานดำ เป็นสะพานเหล็กสีดำ สร้างข้ามคลองมวกเหล็ก แบ่งเขตระหว่าง สระบุรี กับ นครราชสีมา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 10:04

แหม วันหลังคุณcutenailว่างๆจะช่วยไปถ่ายรูปช่องเขาขาดที่ว่ามาชมกันหน่อยก็ดีนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้่า (ซะเลย)
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 17 ม.ค. 16, 09:11

ไม่ได้ขุดกระทู้มาทำอะไรแต่อย่างใดนะครับ ปลายปีก่อนผมได้อ่านเหตุการณ์กบฏบวรเดช ที่คุณ NAVARAT.C เขียนจนจบ แล้วจึงได้นำข้อมูลบางส่วนไปใช้อ้างอิงในบล๊อกที่ผมเขียนสนุกๆตามนี้ครับ

http://thaimilitary.blogspot.com/2015/12/1933-thai-army-vehicles.html


ตอนนี้ได้สมัครสมาชิกที่นี่แล้ว เลยมาขออนุญาติคุณ NAVARAT.C อย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งครับ ในบทความผมใส่ลิงค์ต้นฉบับไว้หมดทุกอันที่อ้างอิงแล้วนะครับ นอกจากอันที่มันอาจตกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่แน่ใจว่าได้ทำอะไรไม่เหมาะสมไปหรือเปล่าน่ะครับ  ยิ้มกว้างๆ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 17 ม.ค. 16, 09:44

ด้วยความยินดีครับ และขอขอบคุณที่จะช่วยนำผลงานการค้นคว้าของผมไปเผยแพร่ต่อให้กว้างขวางออกไปด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 18 ม.ค. 16, 08:55

เอ๊ะ คุณ Superboy จาก Thaifighter นี่นา สวัสดีครับ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 18 ม.ค. 16, 09:04

เจี๊ยก! สวัสดีครับคุณ Naris  มีคนจำได้เขินจัง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 18 ม.ค. 16, 11:14

อินเทอเน็ตนั้น เสมือนโลกกว้างแต่ทางแคบ ในสายเดียวกันนั้นเราอาจเจอะเจอกันได้เสมอๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 30 ธ.ค. 18, 09:24

ขออนุญาตอัปเดตเรื่องอนุสาวรีย์

คุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ เขียนไว้ในนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๔๖๗ ปีที่ ๔๘ ประจำวันอังคารที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๕    

พระองค์เจ้าบวรเดช ท่านเป็น พระองค์เจ้าชั้นพระวรวงศ์เธอ คือชั้นพระราชนัดดาในพระเจ้าแผ่นดิน  เรียกกันอย่างสามัญว่า พระองค์เจ้าตั้ง มิใช่พระองค์เจ้าโดยสิทธิกำเนิด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชนิพนธ์ใช้ว่า ‘by right’

เรื่องเกิดขึ้นเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นประชาธิปไตย พ.ศ.๒๔๗๕ ครั้งนั้นทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เพียง ๑ ปี ๓ เดือน ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๖ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นแม่ทัพยกทหารมาจากโคราช มายึดดอนเมือง เกิดสู้รบกับทหารกรุงเทพฯที่บางเขน ทางการสมัยนั้นจึงเรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า ‘กบฏบวรเดช’ แต่องค์แม่ทัพและพวกนายทหารผู้ใหญ่ ผู้น้อยที่ร่วมด้วยเรียกพวกของตนว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง ทว่าเมื่อฝ่ายที่ยกมาพ่ายแพ้จนองค์แม่ทัพต้องเสด็จหนีไปเขมร จึงต้องเป็น ‘กบฏบวรเดช’ อยู่หลายสิบปี ทางการครั้งนั้นได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงหลักสี่ให้เรียกว่า ‘อนุสาวรีย์ปราบกบฏ’ เวลานี้อนุสาวรีย์ก็ยังมีอยู่ แต่เรียกกันใหม่ว่า ‘อนุสาวรีย์หลักสี่’

ความจริงชื่ออย่างเป็นทางการของอนุสาวรีย์นี้คือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" คุณศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานครให้ข้อมูลว่า

"จริง ๆ (อนุสาวรีย์นี้) ก็ย้ายมาหลายครั้งแล้ว ก่อนหน้านี้อยู่กลางวงเวียน พอสร้างอุโมงค์ ก็ย้ายไปมุมตรงข้ามกับ สน.บางเขน แล้วพอสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็ย้ายมาอีกมุมหนึ่ง"

ล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ อนุสาวรีย์นี้ก็ถูกย้ายอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ยังไม่ทราบว่าย้ายไปอยู่ที่ใด


https://prachatai.com/journal/2018/12/80289


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 30 ธ.ค. 18, 16:10

อนุสาวรีย์นี้มีชื่อเป็นทางการโดยผู้สร้างว่าอนุสาวรีย์ปราบกบฏ ตรงไปตรงมาดี เพราะเป็นการต่อสู้แย่งอำนาจกันระหว่างทหารต่อทหาร แต่ภายในมาเปลี่ยนชื่อออกไปในแนวบิดเบือนว่า "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" โดยผู้ใดสมัยไหน ผมยังหาไม่เจอ

ทั้งนี้เพื่อให้ชนรุ่นหลังเข้าใจไขว้เขวไปประมาณว่าศึกครั้งนี้ รัฐธรรมนูญถูกพิทักษ์ไว้ได้จากฝ่ายเจ้าที่ยกกองกำลังมารบกับฝ่ายประชาธิปไตย เพื่อจะนำประเทศกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งไม่จริง ทหารพื้นเมืองทั้งหมดที่ยกมาก็เพื่อต้องการกำหลาบรัฐบาลที่พวกเขาเรียกว่า "รัฐบาลคณาธิปไตย"เท่านั้น

 



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 20 คำสั่ง