เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 131476 กบฎบวรเดช นี่ทหารการเมืองเขาเล่นอะไรกัน?
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 07:33

ขออนุญาตเล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวบ้างครับ
โรงเรียนที่ผมเคยเรียนนั้นใครๆ ก็มองว่าเป็นโรงเรียนโรงเรียนนาย  ส่วนผมนนั้นเป็นเด็กชายมาต่างจังหวัด
เมื่อมาเรียนที่โรงเรียนนี้มีเพื่อรุ่นเดียวกันเป็น หม่อมราชวงศ์ ๒  หม่อมหลวง ๒ 
แต่บรรดาราชนิกุลที่เป็นเพื่อนทั้ง ๔ นี้  ไม่เคยถือตนว่าเป็นเจ้า  อีกทั้งเพื่อนยังช่วยกันเปลี่ยนคำนำหน้านาม
ให้เหมือนกับเพื่อนคนอื่นๆ  ซึ่งทั้ง ๔ คนก็น้อมรับคำนำหน้าชื่อใหม่นั้นด้วยความยินดีจนบางคนตายจากกันไปแล้ว
ก็ไม่เคยมีสถานะเป็น "คุณชาย" ของเพื่อนๆ เลย  คงเป็น..... ของเพื่อนๆ ตลอดมา

ซ้ำร้ายเมื่อได้พบกับ "ท่านพ่อ" บิดาของคุณชายคนหนึ่ง  ซึ่งก็เป็นนักเเรียนเก่าโรงเรียนเดียวกับลูกชายท่าน
ท่านก็พ่อก็มักจะเรียกผมซึ่งเป็นเพื่อนของลูกไปนั่งคุยกับท่านเสมอๆ  เข้าไปกราบท่านแล้วก็เตรียมจะนั่งกับพื้น
เพราะท่านประทับเก้าอี้  ท่านชายก็จะลากตัวผมขึ้นไปนั้งบนโซฟาเสมอกับท่านทุกครั้ง  ยิ่งบางคราวที่ได้พบ
ท่านชายพร้อมเพื่อนๆ ของท่านที่เคยเรียนหนังสือด้วยกันมา  ท่านเหล่านั้นก็จะคุยกับท่านชายด้วยภาษาพ่อขุน
ไม่เคยเห็นใครใช้ราชาศัพท์กับท่านชายเลยสักคน  ยิ่งสรรพนามที่ใช้เรียกท่านชายด้วยแล้ว  ถ้าคนไม่รู้จักท่านชาย
มาก่อนจะไม่ทราบเลยว่า ท่านเป็นถึงหม่อมเจ้า  และหม่อมเจ้าที่ผมรู้จักอีกหลายองค์  ทุกองค์ท่านก็ถอดยศ
เจ้าของท่านทิ้งไว้ที่วังจนหมด  คงเป็น "...เจ้า" ของเพื่อนๆ ไปทุกองค์ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 21:56

ส่งเสียงเสียหน่อยนึงว่า แอบเข้ามาทางหลังห้องเรียนตั้งแต่แรก นั่งฟังอยู่เงียบๆครับ

คุณปู่ของผม เป็นคลังมณฑลโคราชในช่วงเหตุการณ์นั้น (เข้าใจว่าเป็นตำแหน่งนี้) แล้วก็ต้องโทษติดคุกด้วยเหตุการณ์นั้นช่วงสั้นๆจนได้รับอภัยโทษต่อมา
 
เคยไปดูสถานที่เสียชีวิตของพระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีหินลับเพียงเล็กน้อย เพื่อดูจุดที่แน่นอนก่อนที่จะมีการตั้งศาล ได้เห็นบริเวณโขดหินและช่องเขาที่เป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์สำหรับการตั้งรับสกัดและการสู้รบ เห็นแล้วก็ทำให้เห็นภาพของการสู้รบและการนำร่างของพระยาศร๊ฯไปแก่งคอยตามคำบรรยายที่ปรากฏในหนังสือที่เคยอ่าน

ขอบคุณคุณนวรัตน์ที่ได้ทำให้ผมได้ทราบถึงความตื้นลึกหนาบางของกรณีความขัดแย้งนี้เพิ่มขึ้นอีกมากครับ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 22:09

ศาลพระยาศรีสิทธิสงคราม ยังมีอยู่จนถึงปัจจุบันหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 18:11

ยังมีอยู่ครับ เจ้าหน้าที่การรถไฟที่ทำงานอยู่บนเส้นทางรถไฟสายนี้ยังให้ความเคารพสักการะกันอยู่จนในปัจจุบัน ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้ตลอดมาเท่าที่จะพอมีกำลัง

โดยตำแหน่งทางภูมิประเทศของสถานที่นี้ หากเดินตามทางรถไฟไปในทิศทางสู่แก่งคอยนิดเดียว ทางรถไฟจะโค้งไปทางขวาเข้าช่องเขาและลาดเทลงไปสู่ระดับต่ำ จัดเป็นเป็นจุดอันตรายของการเดินรถทั้งขาขึ้นและขาล่องในอดีตและปัจจุบัน

ก็คงเป็นเพราะด้วยสองสาเหตุนี้ผนวกกัน จึงยังคงมีการให้ความเคารพต่อศาลและสถานที่นี้อยู่ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 18:50


ดูกูเกิลเอริธแล้ว ไปไม่ยาก

คุณตั้งไปเที่ยวที่นั่นกับผมสักวันไหม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 19:04

ถ้าสองท่านสองเกลอไปถึงที่นั่นแล้ว  กรุณาถ่ายรูปกลับมาฝากในกระทู้นี้จะเป็นพระคุณยิ่ง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 19:22

ดูกูเกิลเอริธแล้ว ไปไม่ยาก
คุณตั้งไปเที่ยวที่นั่นกับผมสักวันไหม

ได้ครับ ค่อยคุยกันหลังไมค์
อาจจะไม่แม่นเส้นทางเข้าแล้วนะครับ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 08 ก.ค. 12, 22:13

รอชมรูปเช่นกันคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 09:54

มีเกร็ดนิดหน่อย เกี่ยวกับพระยาศรีสิทธิสงคราม
http://www.thaioctober.com/forum/index.php?action=printpage;topic=575.0
กุหลาบ  สายประดิษฐ์
เขียนถึงพระยาศรีสิทธิสงคราม
(ดิ่น  ท่าราบ)
วันที่  ๑๗  พฤษภาคม  ๒๔๘๔
.

.............................

พระยาศรีสิทธิสงคราม

   เมื่อได้กล่าวขวัญถึงพระยาศรีสิทธิสงครามในตอนนี้แล้ว  ผู้เขียนก็ใคร่จะบรรยายข้อความเกี่ยวกบพระยาศรีสิทธิสงครามสักเล็กน้อย  ตามที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า  พอพระยาศรีสิทธิสงครามได้ทราบข่าวในตอนเช้าวันที่  ๒๔  มิถุนายนว่า  คณะนายทหารได้ก่อการปฏิวัติขึ้น  ก็ได้รีบออกจากบ้านตรงไปยังบ้าพระยาพหลฯนั้น  ก็ด้วยหมายใจจะไปปรึกษาทางหนีทีไล่กับปิยมิตรของตน  โดยที่นับแต่พระยาศรีฯได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมมือในการปฏิวัติ  และพระยาศรีฯมิได้ตอบตกลงปลงใจไปประการใด  ทั้งต่อมาพระยาพหลฯก็มิได้เอ่ยเรื่องนี้อีกเลย  เหตุนั้นเองพระยาศรีฯจึงไม่คาดคิดว่า  พระยาพหลฯจะเข้าร่วมการปฏิวัติเสียเอง
   เมื่อพระยาศรีฯ มาที่บ้านพระยาพหลฯในเช้าวันนั้น และไม่พบพระยาพหลฯ  ทั้งไต่ถามเรื่องราวจากภริยาของท่านนายพันเอกก็ไม่ได้ความว่าพระยาพหลฯพระยาพหลฯไปไหน  พระยาศรีฯจึงร้อนใจใคร่จะพบปรึกษาหารือกับพระยาพหลฯ  จนกระทั่งบ่ายจึงได้ทราบข่าวว่า พระยาพหลฯเป็นผู้นำในการปฏิวัติ  พระยาศรีฯจึงค่อยคลายใจจวบจนเวลาเย็นพระยาศรีฯจึงได้กลับไปสู่บ้าน
   ฝ่ายทางพระยาพหลฯนั้น  เมื่อยึดอำนาจการปกครองได้เรียบร้อยแล้ว  ก็สั่งให้คนไปตามพระยาศรีสิทธิสงคราม  ผู้ได้รับคำสั่งได้ติดตามทั้งที่บ้านและที่ทำงานก็ไม่ได้ตัว  เพราะว่าในระหว่างนั้น พระยาศรีฯไปอยู่เสียที่บ้านพระยาพหลฯ ซึ่งพระยาพหลฯก็คาดไม่ถึง การที่พระยาพหลฯให้คนไปตามพระยาศรีฯเป็นครั้งสุดท้าย  ถ้าพระยาศรีฯรับว่าจะร่วมมือบริหารราชการบ้านเมืองตามระบอบใหม่แล้ว  ก็ได้เสนอให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯในชุดเริ่มสถาปนาระบอบใหม่คนหนึ่ง  และจะได้ขอให้ชวยราชการต่อไป  แต่เมื่อตามตัวไม่พบแล้ว พระยาพหลฯก็มิได้เสนอนามพระยาศรีฯจเต็มใจร่วมมือหรือไม่
   อยู่ต่อมาอีก ๒ – ๓ วัน  ภายหลังที่ได้แต่งตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว  พระยาศรีฯได้ขอให้ภริยาหัวหน้าคณะราษฎรนำตัวมาพบกับท่านหัวหน้าคณะราษฎรที่พระที่นั่งอนันตสมาคม  เมื่อได้สนทนปราศรัยและซ้อมความเข้าใจกันดีแล้ว  พระยาศรีฯก็กลับไป  ภายหลังพระยาศรีฯได้ถูกย้ายจากตำแหน่งราชการทหารมารับตำแหน่งราชการทางกระทรวงธรรมการ  อยู่มาจนกระทั่งพระยาพหลฯ พร้อมด้วยนายทหารอีก ๓ นายลาออกจากคณะรัฐบาล  เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๔๗๖ ด้วยมีเรื่องขัดใจกับพระยามโนฯ  พระยามโนฯหวังจะเอาพระยาศรีฯเป็นกำลังต่อไป  จึงได้แต่งตั้งพระยาศรีฯดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก  ในวันที่พระยาศรีฯจะไปรับมอบหมายงานที่กระทรวงกลาโหมนั่นเอง  พระยาพหลฯก็นำคณะยึดอำนาจการปกครองจกพระยามโนฯเป็นคำรบสอง  เมื่อวันที่ ๒๐  มิถุนายน  พระยาศรีฯจึงไม่ได้รับตำแหน่งนั้น
   อย่างไรก็ดี พระยาพหลฯและหัวหน้าบางคนในคณะของท่านก็ใคร่จะได้พระยาศรีฯปช่วยราชการเหมือนกัน  พระยาพหลฯจึงได้ทำความเข้าใจกับพระยาศรีฯ ว่าการที่ไมได้จัดการให้พระยาศรีฯได้รับตำแหน่งทางการทหารในเวลานั้นก็เป็นด้วย เมื่อได้ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลใหม่และเป็นในยามมืดมนอนธการเช่นนี้   เพื่อให้คนทั้งปวงมีความเชื่อมั่นในความสงบของบ้านเมือง  ตำแหน่งสำคัญ ๆ ทางราชการทหาร  จำต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงไปด้วย  ขอให้พระยาศรีฯอยู่ในความสงบไปพลางก่อน  ต่อผ่านระยะแห่งความยุ่งยากไปแล้วก็จะได้จัดการให้พระยาศรีฯ ได้รับตำแหน่งในราชการทหารสืบไป  ทั้งนี้มีความรู้สึกฉันมิตรอันจริงใจของพระยาพหลฯและนายทหารชั้นหัวหน้าของคณะผู้ก่อการบางคนที่มีต่อพระยาศรีสิทธิสงคราม
   อย่างไรก็ดี  พระยาศรีฯ คงมีความเข้าใจผิดคิดว่าปิยมิตรไม่ไว้วางใจในตนเสียแล้ว  ก็คงจะมีความโทมนัสใจ  และประกอบกับคงจะมีความข้าใจผิดในคติการเมืองของคณะราษฎรในบางปะการ  จึงเป็นเหตุบันดาลให้พระยาศรีฯไปร่วมมือกับพระองค์เจ้าบวรเดช  ก่อการกบฏต่อรัฐบาลคณะราษฎรขึ้น  จนถึงได้นำทหารหัวเมืองมาทำยุทธการกับเหล่าทหารของรัฐบาลคณะราษฎรขึ้น  ในที่สุดฉากแห่งชีวิตของท่านนายพันเอกผู้นี้ปิดลงด้วยการสู้รบจนถึงแก่ความตายในสมรภูมิสมเยี่ยงชาติทหาร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 05:49

เมื่อวันวานถือเป็นฤกษ์สะดวกที่ผมกับคุณตั้งจะไปตามรอยพระยาศรีสิทธิสงครามกันโดยมีหลานตาของท่านร่วมเดินทางไปด้วย

ก่อนไปผมทำการบ้านโดยศึกษาแผนที่ของตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟหินลับไปแล้ว ปากทางเข้าแยกจากถนนมิตรภาพบริเวณเดียวกับทางเข้าของบริษัทพีทีไอโพลีน ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่เป็นที่สังเกตุได้ชัด ถนนสาธารณะจะแยกซ้ายไปสู่สถานีรถไฟผาเสด็จ แยกขวาไปสถานีหินลับ โดยอ้อมเลาะตะเข็บรั้วของโรงงานไปจนเจอทางรถไฟ แล้วจึงวิ่งเลียบไปตามทางรถไฟ ประมาณสองสามกิโลเมตรเห็นจะได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 05:50

ปากทางแยกนี้อยู่ระหว่างหลักกม.ที่๑๓๒ และ๑๓๓ มีป้ายปักไว้ สังเกตุได้ไม่ยาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 06:04

สถาพของทางช่วงแรกก็ดีหน่อย หลังจากนั้น ลึกเข้าไปจะเป็นถนนลูกรังวิ่งไปสู่ทางรถไฟ แล้วจึงเลี้ยวโค้งขวาขนานทางรถไฟไปเรื่อยๆ สภาพถนนรถเก๋งก็พอวิ่งได้ แต่อย่าซิ่งมากก็แล้วกัน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 06:11

สักอึดใจเดียวถนนจะพาเราผ่านตำแหน่งของอนุสรณ์สถานที่เรามุ่งหน้าไปหาในวันนี้

ป้ายเหมือนในรูปที่ผมเอามาลงให้ดูไปแล้วนั้น อยู่ระหว่างเสาโทรเลข๑๔๓/๑และ๑๔๒/๒


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 06:23

ที่ทางมีร่องรอยของการดูแลรักษา ไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้รกรุงรังแต่อย่างใด
บริเวณก้อนหินเหนือป้ายนั้น มีบันไดคอ-นก-รีตเล็กๆนำไปสู่แผ่นหินอ่อนสลักตัวอักษรติดอยู่เป็นข้อความเดียวกัน  แต่ก่อนบนนั้นมีศาลเล็กๆคล้ายศาลเจ้าที่ที่คนนำไปวางไว้ บัดนี้ผุพังสลายสิ้นไปหมดแล้วตามกาลเวลา

หากสังเกตุจากทรากพวงมาลัยดอกไม้ก้านธูปรอยเทียน แสดงว่ามีคนขึ้นไปสักการะท่านเจ้าคุณที่ป้ายนี้เนืองๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 06:32

หลานสาวของท่านเจ้าคุณศรีขึ้นไปพิจารณาสถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ลูกหลานเจ้าคุณศรีเคยมากันเป็นคณะใหญ่ หลังจากทราบข่าวจากคนรู้จักกันว่าได้พบศาลของท่าน

มาคราวนี้ได้นำหลานเขยไปจุดธูปจุดเทียนเอาพวงมาลัยไปไหว้คุณตาด้วย



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง