เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 131472 กบฎบวรเดช นี่ทหารการเมืองเขาเล่นอะไรกัน?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 08:47

แฮ่ก ๆ ๆ ได้เวลาผมพักรบมั่ง
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 09:30

ยินดีต้อนรับคุณravioสู่ห้องสมุดเรือนไทยครับ เข้ามาแล้วอย่าอ่านเฉยๆ ต้องเขียนด้วยเหมือนที่โน่นนะครับ

คำตอบสำหรับคุณประกอบ ท่านที่ยิงตัวตายที่ดอนเมืองคือพันตรีหลวงหาญสงคราม(จิตร อัคนิทัต) ซึ่งครอบครัวของท่านเชื่อว่าตายเพราะโดนทหารฝ่ายรัฐบาลสังหาร ตามนี้ครับ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jinchaya&month=11-2008&date=17&group=2&gblog=1

ส่วนอีกท่านหนึ่งที่ยิงตัวตายบนรถไฟขณะอยู่แถวสูงเนินชื่อ พันตรีหลวงโหมชิงชัย(เวก สู่ไชย) ผมตรวจสอบข้อมูลอื่นๆหลายฉบับแล้วว่า ขอแก้ว่าท่านมิได้เป็นพี่น้อง(ลูกพี่ลูกน้อง)กัน แต่เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องในโรงเรียนเสนาธิการทหารครับ

ขอแทรกนิดนะครับ
พันตรีหลวงหาญสงคราม ผมเคยเห็นรูปภาพท่านในหนังสือเกิดวังปารุสก์ ตอนที่มีการพบศพท่านในหนังสือบอกว่าโดนยิงแล้วถูกฝั้งที่ดอนเมืองครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 09:35

มาแทรกอีละครับ
ผมเห็นรูปๆหนึ่งในความคิดเห็นที่ 48  ผมปะรูปให้ดูนะครับ มีท่านไดเห็นเหมือนผมบ้างว่าในรูปเป็นกล้องถ่ายวีดีโอใช่หรือไม่ครับ ที่คนเสื้อขาวข้างกลังทหารจับอยู่ ถ้าเป็นการถ่ายด้วยวีดีโอจริงก็คงมีภาพเหตุการณ์จากกล้องหลงเหลือบ้างนะครับ


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 10:00

คั่นโปรแกรมหน้าม่านค่ะ

จากหนังสืออนุสรณ์ 120 ปี พระยาพหลพลพยุหเสนา เล่าไว้ว่าเมื่อครั้งเป็นนายทหารหนุ่ม ไปศึกษาวิชาทหารจากประเทศเยอรมนีเช่นกัน     เจ้าคุณพหลฯมีเพื่อนรักเพื่อนเกลออยู่อีก 2 คน  รวมตัวท่านเองเป็น 3 คน  สองท่านที่ว่าคือพระยาทรงสุรเดช และพระยาศรีสิทธิสงคราม
ความสนิทสนมของทั้ง 3 เป็นที่รู้กันทั่วจนถึงรองเสนาบดีกลาโหมคือพลโท ม.จ.อลงกฏ ( ต่อมาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์)  ถึงทรงตั้งฉายาแก่ท่านทั้ง 3 ตามตัวละครใน The Three Musketeers ของ Alexandre Dumas ว่า “ทแกล้วทหาร 3 เกลอ” ทรงเรียกพระยาทรงสุรเดชว่า “ดาตาญัง” เรียกพระยาศรีสิทธิสงครามว่า “อาโธส” และเรียกพระยาพหลฯว่า “ปอโธส” ซึ่งเป็นชื่อของสามทหารเสือที่ว่า

คำขวัญประจำใจของสามทหารเสือ ที่ดูมาส์ให้พระเอกพระรองในเรื่องนี้ชูดาบขึ้นประกาศก้องพร้อมกันอย่างเหี้ยมหาญ เวลาจะเข้าลุยศัตรูหรือเวลาจบเรื่อง  ก็คือ "One for all and all for one"  
คำนี้กลายเป็นคำขวัญขึ้นชื่อลือชาในวงวรรณกรรม  เอ่ยขึ้นมาก็รู้ว่ามาจากนิยายเรื่องนี้   และเป็นคำขวัญของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ด้วย
ความหมายของมันก็คือการร่วมแรงร่วมใจไปสู่เป้าหมายเดียวกัน   แปลว่าสามคนนี้จะทำอะไรก็ผนึกกำลังทำด้วยกัน เป็นน้าหนึ่งใจเดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 10:01

แต่สามทหารเสือของสยาม ถูกชะตาชีวิตจับแยกเป้าหมายตั้งแต่ปี 2475

เมื่อร่วมคบคิดกันวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครอง   มีแต่พระยาพหลฯและพระยาทรงฯเท่านั้นที่ตกลงปลงใจเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเข้าร่วมปฏิวัติเจ้านาย    ส่วนพระยาศรีสิทธิสงครามแค่รับทราบ แต่ไม่ขอร่วมด้วย
ในวันที่ 23 ต่อด้วย 24 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันปฏิวัติ เล่ากันว่า พระยาศรีสิทธิสงครามนอนอยู่บ้านพระยาพหลฯ เฝ้าดูอย่างเงียบๆ ในขณะเพื่อนรักยึดอำนาจ  โดยมิได้ขัดขวาง

เมื่อยึดอำนาจการปกครองมาได้แล้ว 1 ปี ทแกล้วทหารสามเกลอ ก็ถึงเวลาแยกทางแบบทางใครทางมัน ไม่อาจร่วมแรงร่วมใจอย่าง The three Musketeers ได้อีก จุดเริ่มต้นคือพระยาทรงสุรเดชไม่พอใจ “เค้าโครงเศรษฐกิจ” ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) จึงไปเข้าข้างพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี  ซึ่งอยู่คนละฝั่งกับพระยาพหลฯ
ส่วนพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ตัดสินใจไปเข้าข้างพระองค์เจ้าบวรเดช  อย่างที่เราอ่านกันอยู่ในกระทู้นี้
จุดจบของพระยาทรงฯ เป็นที่รู้กันในกระทู้มหากาพย์พระยาทรงสุรเดช ที่คุณ NAVARAT.C เล่าไว้ก่อนหน้านี้แล้วในเรือนไทย  ในนั้นเล่าถึงบั้นปลายชีวิตของพระยาพหลฯไว้เช่นกันค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 10:03

มาแทรกอีละครับ
ผมเห็นรูปๆหนึ่งในความคิดเห็นที่ 48  ผมปะรูปให้ดูนะครับ มีท่านไดเห็นเหมือนผมบ้างว่าในรูปเป็นกล้องถ่ายวีดีโอใช่หรือไม่ครับ ที่คนเสื้อขาวข้างกลังทหารจับอยู่ ถ้าเป็นการถ่ายด้วยวีดีโอจริงก็คงมีภาพเหตุการณ์จากกล้องหลงเหลือบ้างนะครับ
กล้องถ่ายภาพยนตร์ค่ะ  ยุคนั้นกล้องวิดีโอยังไม่เกิด
ที่เห็นเป็นม้วนกลมๆสีดำ แพ็คคู่อยู่บนสุดคือฟิล์มภาพยนตร์
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 10:18

ขอบคุณครับอาจารย์ ผมถามผิดยุคไปนิดครับ กล้องภาพยนต์ไม่ใช่กล้องวีดีโอ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 10:44

ภาพบรรยากาศการวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ปราบขบถ ที่หลักสี่


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 10:56

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475-พ.ส.2555 ระยะเวลา 80 ปี มีการปฏิวัติและการกบฏ หลายครั้งมาก รวมแล้ว 24 ครั้งได้ ส่วนมากมาจากสายทหารทั้งสิ้น

พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล
2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์
2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์
2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร
2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร
2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร
2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
2549   รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีพล.อ.สนธิ บุญยตกรินทร
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 11:00

อ้างถึง
ขอแทรกนิดนะครับ
พันตรีหลวงหาญสงคราม ผมเคยเห็นรูปภาพท่านในหนังสือเกิดวังปารุสก์ ตอนที่มีการพบศพท่านในหนังสือบอกว่าโดนยิงแล้วถูกฝั้งที่ดอนเมืองครับ
ในหนังสือที่ว่า เอาภาพที่ช่างภาพสงครามของหนังสือพิมพ์ถ่ายไว้แล้วมาลง เป็นศพที่ถูกคนกำลังดึงแขนออกมาจากหลุมเห็นหน้าตาชัดเจน จากหน้าอกลงไปยังอยู่ในดิน บรรยายว่า หลวงหาญสงคราม พวกกบฏยิงตัวตายตามรอยที่มือชี้(ตรงหัวใจ)เพราะรู้ตัวว่าแพ้รัฐบาลแน่ แล้วฝังไว้ที่ดอนเมือง..

ผมก็ไม่คิดว่าจะเป็นอื่น หากรัฐบาลยิงท่านตายจริง(ตรงหัวใจพอดี) คงไม่ลงทุนเอาศพไปฝังแล้วเรียกหนังสือพิมพ์มาทำข่าวตอนขุดศพขึ้นมาใหม่ในสภาพที่ยังสดๆ
จะประจานศพก็ประจานกันไปตามภาพเลยจะดีกว่ามั้ย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 11:17

ขอแทรกลักษณะถนนบริเวณทุ่งหลักสี่ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 11:20

ชะตากรรมของหนึ่งในสามทหารเสือ   คุณ NAVARAT.C เล่าไว้ในกระทู้ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดช  
ยกข้ามมากระทู้นี้สำหรับท่านที่ติดตามอ่านกระทู้ แต่ยังไม่ได้ไปอ่านกระทู้โน้น

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าใหญ่หมายเลข 1 ของ "คณะราษฎร" ท่านมีอุปนิสัยใจคอโอนอ่อนผ่อนตาม วางเฉยในเกือบทุกกรณีขัดแย้งระหว่างกลุ่ม วางตัวอยู่เหนือปัญหาใดๆ จนไม่สามารถควบคุมสมาชิกรุ่นรอง จนเห็นกันว่าผู้กุมอำนาจแท้จริงนั้นไม่ใช่เจ้าคุณพหลฯ แต่เป็นฝ่ายทหารกลุ่มหนุ่ม มิตรสหายของท่านถูกตีกระจุยไปหมดสิ้น เหลือแต่ตัวท่านโดดเดี่ยว
แต่คณะราษฎรกลุ่มที่หวังอำนาจเด็ดขาดยังต้องพึ่งบารมีพระยาพหลฯอยู่  เผด็จการยังยึดพื้นฐานไม่แน่นพอ แต่ในที่สุดเมื่อทุกอย่างลงตามแผนเต็มที่ รุ่นเด็กครองอำนาจเบ็ดเสร็จ พระยาพหลพลพยุหเสนาก็ถูกสูบลมลอยเคว้งคว้างขึ้นเป็น "เชษฐบุรุษ" หมดอำนาจบังคับบัญชาและอิทธิฤทธิ์ ได้แต่นั่งดูสมาชิกแก่งแย่งชิงดี ละทิ้งสัญญาที่ให้ไว้กับราษฎร บางกลุ่มกอบโกยผลประโยชน์หวังร่ำรวยไปตามกัน มีแต่มิตรสหายของท่านเท่านั้นที่ต่างต้องชะตากรรมระหกระเหิน

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

สงครามมหาเอเชียบูรพางวดหนัก ฝูงบินสัมพันธมิตรเข้ามาทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ ถี่และรุนแรง ชาวกรุงต้องอพยพหนีภัยทางอากาศออกไปอยู่รอบนอก พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ขณะนั้นป่วยเป็นอัมพาตที่ขาบางส่วน ย้ายไปพักอยู่ที่เรือนข้าราชการบริพารในพระราชวังบางปะอิน ผมติดตามท่านผู้ใหญ่ในฐานะพลกรรเชียงเรือจากบางกะสั้น ไปเยี่ยมเจ้าคุณพหลฯ ตอนต้นปี พ.ศ. 2488 ท่านพลเอกหัวหน้าคณะผู้ยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองผู้แกร่งกร้าว ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "เชษฐบุรุษ" และขณะนั้นก็ดำรงตำแหน่ง "แม่ทัพใหญ่" อยู่กับท่านผู้หญิงและคนไม่กี่คน เงียบสงบ ไร้บริวารแห่ห้อมเกรียวกราว หลังไหล่ของท่านที่คนอื่นเคยอาศัยเหยียบก้าวผ่านไปสู่อำนาจราชศักดิ์อัครฐาน บัดนี้สิ้นแล้วซึ่งความสำคัญและสิ้นความหมาย"คณะราษฎร"ส่วนที่เสวยอำนาจต่างหันหลังให้โดยสิ้นเชิง
"ขเด็ทพจน์" ชันกายขึ้นนั่งบนเตียงต้อนรับสหายขเด็ทผู้มาเยือน โอบกอดน้ำตาคลอ สหายสนิทที่ต้องห่างเหินไปตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากสารทุกข์สุกดิบที่วนมาลงที่ปัญหาบ้านเมือง ตอนหนึ่งท่านน้ำตาไหล
"สอาด ที่เจ้านิลเตือนแต่แรกนั่นน่ะ ถูกทุกอย่าง"
"เจ้านิลว่ากันจะน้ำตาตก ก็ตกจริงๆ เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเปลี่ยนการปกครอง แล้วราษฎรไม่ได้อะไรเลย มีแต่ประชาธิปไตยหลอกๆ ถูกข่มเหงมากขึ้น หันไปพึ่งใครก็ไม่ได้
คณะราษฎรเองกลับหาประโยชน์หาอำนาจใส่ตัว แก่งแย่งชิงดีถึงเอาชีวิต คนบริสุทธิ์ผู้หลักผู้ใหญ่ ขุนนางเก่าเดือดร้อนกันเป็นแถว"
"พวกเขาผลักกันออกนอกทาง หมดทางยับยั้งห้ามปรามประชาธิปไตยไม่เห็นแม้แต่เงา เจ้านิลพูดถูก"

.
.
เจ้าคุณพหลถึงแก่อนิจกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก ขณะนอนแช่ในอ่างน้ำอุ่นเพื่อบำบัดอาการอัมพาต อันเป็จกิจวัตรประจำวันของท่าน



ป.ล. เจ้านิล  หมายถึง พลตรี หม่อมเจ้า นิลประภัศร เกษมศรี เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก หรือ "ขเด็ท พริ้นซ์ นิล" ทรงเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของเจ้าคุณพหลฯ
คุณ NAVARAT.C เล่าไว้ว่า  ครั้งสุดท้ายพบปะกันที่วัง หม่อมเจ้า นิลประภัศรฯ สามย่าน ด้วยความเป็นห่วงเพื่อนเกลอก็ทรงเตือนเจ้าคุณพหลฯ ถึงความใจอ่อน คล้อยตามเรื่อง "ไล่ลดปลดทิ้ง" กำลังพลชั้นดีที่เพียงแต่เห็นว่า "ไม่ใช่พวกคณะราษฎร" ระวังจะเป็นเหยื่อให้เด็กหลอกใช้ หรือดีไม่ดีจะเป็นหุ่นให้กลุ่มเด็กเชิดแล้วจะเสียใจไม่รู้จบ
พระยาพหลพลพยุเสนา หัวหน้าคณะราษฎรหมายเลข 1 โกรธ หาว่าท่านนิลฯ ดูหมิ่นเพื่อนฝูงว่าฉลาดไม่ทันเด็ก โน่น - ท่านตีความไปโน่น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 11:21

อ้างถึง
ขอแทรกนิดนะครับ
พันตรีหลวงหาญสงคราม ผมเคยเห็นรูปภาพท่านในหนังสือเกิดวังปารุสก์ ตอนที่มีการพบศพท่านในหนังสือบอกว่าโดนยิงแล้วถูกฝั้งที่ดอนเมืองครับ
ในหนังสือที่ว่า เอาภาพที่ช่างภาพสงครามของหนังสือพิมพ์ถ่ายไว้แล้วมาลง เป็นศพที่ถูกคนกำลังดึงแขนออกมาจากหลุมเห็นหน้าตาชัดเจน จากหน้าอกลงไปยังอยู่ในดิน บรรยายว่า หลวงหาญสงคราม พวกกบฏยิงตัวตายตามรอยที่มือชี้(ตรงหัวใจ)เพราะรู้ตัวว่าแพ้รัฐบาลแน่ แล้วฝังไว้ที่ดอนเมือง..

ผมก็ไม่คิดว่าจะเป็นอื่น หากรัฐบาลยิงท่านตายจริง(ตรงหัวใจพอดี) คงไม่ลงทุนเอาศพไปฝังแล้วเรียกหนังสือพิมพ์มาทำข่าวตอนขุดศพขึ้นมาใหม่ในสภาพที่ยังสดๆ
จะประจานศพก็ประจานกันไปตามภาพเลยจะดีกว่ามั้ย


อ.NAVARAT.C จะว่าอะไรไหม ถ้าผมจะลงภาพดังกล่าว
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 11:39

อ้างถึง
ขอแทรกนิดนะครับ
พันตรีหลวงหาญสงคราม ผมเคยเห็นรูปภาพท่านในหนังสือเกิดวังปารุสก์ ตอนที่มีการพบศพท่านในหนังสือบอกว่าโดนยิงแล้วถูกฝั้งที่ดอนเมืองครับ
ในหนังสือที่ว่า เอาภาพที่ช่างภาพสงครามของหนังสือพิมพ์ถ่ายไว้แล้วมาลง เป็นศพที่ถูกคนกำลังดึงแขนออกมาจากหลุมเห็นหน้าตาชัดเจน จากหน้าอกลงไปยังอยู่ในดิน บรรยายว่า หลวงหาญสงคราม พวกกบฏยิงตัวตายตามรอยที่มือชี้(ตรงหัวใจ)เพราะรู้ตัวว่าแพ้รัฐบาลแน่ แล้วฝังไว้ที่ดอนเมือง..

ผมก็ไม่คิดว่าจะเป็นอื่น หากรัฐบาลยิงท่านตายจริง(ตรงหัวใจพอดี) คงไม่ลงทุนเอาศพไปฝังแล้วเรียกหนังสือพิมพ์มาทำข่าวตอนขุดศพขึ้นมาใหม่ในสภาพที่ยังสดๆ
จะประจานศพก็ประจานกันไปตามภาพเลยจะดีกว่ามั้ย

ตามความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ โดนเก็บจากพวกเดียวกันเองเพราะว่าอาจจะกลับตัวเข้ากับฝั่งรัฐบาลก็ได้นะครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 11:52

^
อึมม์

อ้างถึง
อ.NAVARAT.C จะว่าอะไรไหม ถ้าผมจะลงภาพดังกล่าว

อ้างถึง
๑๕ ตุลาคม
เมื่อคืนที่ผ่านมาในกองบัญชาการของคณะกู้บ้านกู้เมือง ได้เกิดการโต้เถียงกันอย่างหนักในระหว่างบรรดานายทัพนายกองถึงความมั่วเมื่อตอนบ่าย และแผนที่จะทำการอย่างไรในอนาคต เป็นเหตุให้นายทหารเสนาธิการที่จบจากฝรั่งเศสคนหนึ่ง ยิงตัวตายเป็นการประท้วง ต้องศพไปฝังไว้ที่วัดดอนเมือง(ซึ่งทางรัฐบาลได้ขุดขึ้นมาให้หนังสือพิมพ์ถ่ายรูปเสมือนประจาน ผมมีรูปนี้อยู่แต่ไม่เห็นควรที่จะเอามาลงซ้ำเติมผู้ตาย)

สงสารท่านน่า นะ นะ นะ
ลูกหลานท่านก็ยังอยู่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 20 คำสั่ง