เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9023 การเขียนหนังสือในสมัยรัชกาลที่ ๖
นารีจำศีล
อสุรผัด
*
ตอบ: 46



 เมื่อ 18 มิ.ย. 12, 11:45

คืออยากทราบว่าชาวบ้านทั้งตามชนบทและในเมืองสมัยรัชกาลที่ ๖ ใช้อะไรเขียนหนังสือคะ?
ค้นข้อมูลดูแล้วเจอพวกสมุดไทย สมุดข่อย แต่ไม่ทราบว่าในสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังใช้กันอยู่หรือเปล่า
หรือว่าเปลี่ยนมาใช้สมุดที่ทำจากกระดาษอย่างในปัจจุบันแล้วคะ รวมถึงเรื่องดินสอและปากกาในสมัยนั้นด้วยค่ะ
อยากทราบว่าเขียนหนังสือกันได้อย่างไร

รบกวนท่านผู้รู้ช่วยมาตอบหน่อยนะคะ ขอบคุณพระคุณอย่างสูงค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 มิ.ย. 12, 12:08

ขอจำกัดวงแค่เด็กนักเรียนก่อนนะคะ

ถ้าเป็นในเมืองหลวง   นักเรียนใช้กระดานชนวนกับดินสอหิน หัดเขียนหนังสือค่ะ  แต่ในหัวเมืองไกลกรุงเทพ  กระดานชนวนก็ยังนับว่าหายาก

ในกระทู้ พ.ท. โพยม จุลานนท์ นายพันใจเพชร
เกร็ดเล็กๆที่พ.ท.พโยมแทรกไว้ในชีวิตวัยเด็ก คือเรื่อง ดินสอ

ดินสอ ที่เป็นที่มาของ เครื่องเขียนที่เราเรียกว่า "ดินสอ" เดี๋ยวนี้    เดิมเป็นดินจริงๆ ประเภทหนึ่ง เรียกว่า "ดินสอ  มีมาก่อนดินสอหินที่ใช้เขียนกระดานชนวน
เพชรบุรีเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน  กระดานชนวนยังหายากในหัวเมือง    นักเรียนใช้แผ่นไม้ซึ่งหาง่ายกว่า ทาด้วยเขม่าไฟ ซึ่งหาได้ตามครัวเรือนทั่วไป ผสมน้ำข้าว  ให้เป็นของเหลวสีดำ แล้วทาบนแผ่นไม้เหมือนทาสีดำ    จากนั้นขุดดินสอสีเหลืองมันปู จากบ่อดินชนิดนี้ มาทำเป็นแท่งเขียน
ดินสอ เป็นดินที่กินได้  มีกลิ่นหอมและรสมัน    นักเรียนคนไหนซุกซนกัดกินดินสอเล่นก็มีคราบเหลืองติดปาก    เป็นเหตุให้ได้รับรางวัลจากไม้เรียวครูช่วงอยู่เนืองๆ
บันทึกการเข้า
นารีจำศีล
อสุรผัด
*
ตอบ: 46



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 มิ.ย. 12, 15:03

ขอบคุณค่ะอาจารย์เทาชมพู งั้นชาวบ้านตามหัวเมืองต่างๆ ก็ไม่น่าจะมีสมุดข่อยใช้กันนะคะ
นึกสงสัยต่อไปว่าถ้าจะถือจดหมายเข้าพระนครจะทำยังไงกันหว่า ฮืม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 00:00



สวัสดีค่ะคุณเทาชมพูและคุณนารีจำศีล     

        กระดาษสมุดฝรั่งที่เป็นเล่มมีขายหลายแห่งค่ะตามโรงพิมพ์ทั่วไป เพราะการพิมพ์ของไทยมีมาในปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จ

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนะคะ

         ในรัชกาลที่ ๕    เอกสารต้นฉบับของราชการเช่นของนครบาล  ที่เก็บเอกสารจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  พับรีดเรียบลึกแบบไม่เคยเปิดเลย

ไม่มีรอยยับว่าเคยถูกเปิดอ่านเลย    ดิฉันจับกระดาษอ่านแล้วพับคืนด้วยความระมัดระวังเป็นที่สุด          อยากให้อนุชนได้เห็นต่อไป

กระดาษเท่าที่เห็นมี  กระดาษแผ่นใหญ่  คล้ายกระดาษแก้ว  ตัดแบ่งออกมาจากกระดาษแผ่นใหญ่   ราวกับกระดาษเขียนแบบ หรือขึ้นลายปักลายฉลุ

เขียนด้วยปากกาคอแร้ง  เพราะเส้นหมึกมีหนาบางเห็นได้ชัด     ลายมือสวยงามบรรจง   ตัวอักษรสวยงามลากหาง เช่น ป. ปลา   สระ อี  ศ. ศาลา

สระ อุ           เอกสารราชการมีผู้เขียนหลายคน  ลายมือเป็นระเบียบคล้ายคลึงกัน
   

        กระดาษอีกแบบหนึ่งถ่ายจากสมุดฝรั่ง  มีเส้นตีบรรทัด   เขียนด้วยหมึก  ปากกาคอแร้ง   เป็นรายงานการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ร.ศ. ๑๑๑  ที่ตำหนัก

สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี          คงมีโอกาสได้นำรายละเอียดมาเล่าในโอกาสต่อไป   กรรมสัมปาทิกเสนอความเห็นกันแบบเฉียบขาด 


        ที่ร้านหนังสือเก่าแห่งหนึ่ง  จำไม่ได้เสียแล้วว่าที่ไหน     เห็นสมุดฝรั่งจดตำรากับข้าว  เขียนด้วยดินสอ    ทราบทันทีว่าเป็นของหม่อมเจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง   

จดมาจากตำราของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย      เสียใจและเสียดาย    ส่งหนังสือผ่านมือไปอย่างรวดเร็วทั้งๆที่อยากอ่าน  แต่ไม่ต้องการ

แสดงว่าสนับสนุนการลักลอบนำหนังสือออกมาโดยไม่สุจริต           สมุดไม่หนานักค่ะ


        อาจจะไม่ตรงตามที่จขกทถามมานะคะ

        การใช้สมุดข่อย  คงเป็นการจารึกตำรายา   ตำราคาถาต่าง ๆ  หรือพงศาวดารของตระกูล     

กระดาษที่จดคาถาอาคมนี้   มีการนำมาเผาแล้วผสมกับวัตถุอื่นเช่นผงตะไบเหล็กทำเป็นวัตถุมงคลได้ค่ะ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 00:17

สมุดข่อย สมุดใบลาน  พวกนี้ทำจากวัสดุธรรมชาติคือต้นข่อยและใบลาน   มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วค่ะ     ในเมื่อเป็นของผลิตได้เองก็ย่อมมีได้ไม่ขาดแคลน   เพียงแต่ว่าชาวบ้านสมัยนั้นเขาไม่ได้มีเอาไว้เปล่าๆ เก็บไว้ในบ้านเหมือนเราซื้อสมุดเขียนจดหมายมาเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะ รอเวลาหยิบมาใช้ อย่างสมัยนี้
สมุดข่อยหรือใบลานผลิตขึ้นเพื่อรองรับวัตถุประสงค์การใช้  โดยมากจะเป็นที่วัด  พระท่านจารึกคำเทศน์ลงในใบลาน   สมุดข่อยก็ทำขึ้นเพื่อเขียนตำรับตำราที่วัดเป็นศูนย์รวมวิทยาการความรู้ทั้งหลาย     ถ้ามีอยู่ตามบ้าน  บ้านนั้นต้องประกอบอาชีพที่ต้องอาศัยการเก็บบันทึกในสมุดข่อย เช่นบ้านหมอยา 

แต่ถ้าคุณนารีจำศึลหมายถึงว่าบ้านผู้ชายเมื่อ 100 ปีก่อนมีสมุดข่อยเปล่าๆเก็บไว้เป็นตั้งในห้อง รอหยิบลงมาเขียนถึงหญิงสาวละก็ ไม่มีในลักษณะนั้นค่ะ
ในรัชกาลที่ ๖  กรุงเทพฯทันสมัยมากแล้ว   ห้างร้านของฝรั่งเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕  กระดาษแบบฝรั่งก็มีเข้ามาขาย     หนุ่มสาวที่มีการศึกษาจะเขียนจดหมายถึงเพื่อนฝูงก็ไปซื้อกระดาษมาได้  ไปรษณีย์ก็มีแล้ว   ส่งข่าวถึงกันได้เป็นเรื่องธรรมดา
ในพระราชนิพนธ์ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6  เรื่องหัวใจชายหนุ่ม   พระเอกเขียนจดหมายถึงเพื่อนตลอดเรื่อง   แต่พระเอกเป็นนักเรียนอก รสนิยมก็ออกฝรั่งๆหน่อย  จึงเขียนเล่าสู่กันฟัง    ถ้าเป็นพระเอกอย่างอ้ายขวัญของไม้เมืองเดิม  คงใช้วิธีเดินตัดทุ่งไปหาเพื่อน หรือแจวเรือมาตามนางเอก มากกว่าเขียนจดหมายถึง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 09:16

ใช้ปากกาหมึกซึม และ ปากกาคอแร้ง เป็นเครื่องเขียน และอย่าลืมไปว่ากระดาษที่ตัดแบ่งที่ตีเส้น กระดาษฟูลสแก็ป กระดาษขนาด A4 มีจำหน่ายในเมืองไทยแล้ว เนื่องจากการเข้ามาของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งต้องใช้กระดาษเป็นวัสดุหลักในการพิมพ์ดีด ส่วนระดับชาวบ้านมี ผงชอล์ก คาร์บอนอัดแท่ง ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 10:16

http://kukungjang.wordpress.com/tag/%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%94/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 12:17

ชื่อ          ลายพระหัตถ์รัชกาลที่ 6
ประเภท     จดหมาย
วัสดุที่ทำ    กระดาษจดหมาย
ลักษณะตัวอักษร อักษรไทย
สาระ   

สวนจิตรลดา บริเวณสวนดุสิต กรงเทพฯ
วันที่ 26 มิถุนายน ร.ศ124

นมัสการมายังพระครูมหาสิทธิการ ทราบ
ปีกลายนี้สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปเมืองสมุทรสงครามในกระบวนหลวง ได้รับสั่งให้คนนำเครื่องสักการะไปถวายหลวงพ่อวัดบ้านแหลม และได้รับสั่งตั้งแต่ครั้งนั้นว่า ขอผลอานิสงส์ความทรงเลื่อมใสจังบัลดาลให้หายประชวร ครั้นเสด็จกลับกรุงเทพฯ ไม่นานก็หายประชวร จึงทรงระลึกถึงที่ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้
สมประสงค์ โปรดพระราชทานปัจจัยเป็นมูลค่า 800 บาท มาเพื่อช่วยในการปฏิสังขรณ์วัดบ้านแหลม ข้าพเจ้าได้ส่งมาให้ท่านพระครูทางกระทรวงธรรมการแล้ว

สภาพของเอกสาร     สภาพเอกสารสมบูรณ์
สถานที่เก็บรักษา      เก็บรักษาอยู่ที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=20065


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
นารีจำศีล
อสุรผัด
*
ตอบ: 46



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 15:20

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาตอบนะคะ ได้ความรู้มากๆ เลยค่ะ
ความจริงคืออยากจะทราบว่าในสมัยรัชกาลที่ 6 ชาวบ้านใช้อะไรเขียนหนังสือเท่านั้นเองค่ะ
ไม่แน่ใจว่าชาวบ้านธรรมดาจะมีสมุดเก็บไว้ในบ้านหรือเปล่า แต่ที่อาจารย์เทาชมพูตอบมาว่า
บ้านหมอยา ก็มีใช้สมุดข่อย อันนี้ก็ยังอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ใช่ไหมคะ
พอดีต้องเอาไปเขียนน่ะค่ะว่าในสมัยรัชกาลที่ 6 ตามชนทบและเป็นบ้านหมอยา บ้านนั้นจะมีสมุดแบบไหนใช้น่ะค่ะ

ไม่รู้่ตอบวกวนหรือเปล่า ถ้าทำให้งงต้องขออภ้ยด้วยนะคะ  อายจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 01:24

สมุดข่อย มีใช้เรื่อยมาจนรัชกาลที่ ๗ ค่ะ  และหลังจากนั้นก็คงมี แต่ว่าลดน้อยลงเรื่อยๆไป    เมื่อการพิมพ์หนังสือแพร่หลายทั้งในเมืองหลวงและต่างจังหวัด

คุณนารีจำศีลลองใช้กูเกิ้ลหาคำว่า "สมุดข่อย" ดูนะคะ  จะมีเว็บที่ลงภาพสมุดข่อยโบราณ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น   ในนั้นมีหลักฐานว่าเป็นสมุดข่อยทำขึ้นประมาณพ.ศ.อะไร    มีมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ด้วยค่ะ

สมุดข่อยไม่ใช่ของใช้สามัญมีติดอยู่ในบ้าน   ถ้าหากว่ามีในบ้านไหน  ก็แปลว่าเป็นเอกสารสำคัญควรแก่การบันทึกไว้เป็นหลักฐาน   เช่นตำรายาที่ตกทอดกันมาในตระกูล   เขาจึงให้คนเขียนลงสมุดข่อยเก็บรักษาไว้     เป็นเอกสารมีชุดเดียว หรือไม่ก็ก๊อปปี้ไว้อีกสักชุดสองชุดอย่างมาก   เป็นเอกสารของเอกชน   ไม่ใช่หนังสือที่พิมพ์จำหน่ายหรือพิมพ์แจกแพร่หลาย

ถามว่าในสมัยรัชกาลที่ ๖ ชาวบ้านใช้อะไรเขียนหนังสือ      ถ้าคุณนารีจำศีลหมายถึงวัสดุที่ใช้เขียน  นอกจากเครื่องเขียนเช่นปากกาคอแร้ง และดินสอแล้ว    การเขียนสมัยนั้นก็ง่ายๆ เอาถ่านเขียนฝาผนังไว้ก็ได้ หรือเขียนด้วยดินสอพองก็ได้ค่ะ  

ศ.นายแพทย์เสนอ อินทรสุขศรีเคยเล่าไว้ว่า สมัยท่านเด็กๆ  ราวๆรัชกาลที่ ๖ หรือ ๗  ชาวบ้านจ้างคนจีนหาบน้ำมาเทใส่ตุ่มในบ้าน  คิดค่าจ้างแต่ละทีก็เอาดินสอพองขีดไว้ ๑ ทีบนผนัง   เจ้าของบ้านจ่ายเงินเมื่อไรก็ลบเครื่องหมายออก   ถ้ายังไม่ได้จ่าย ก็ทิ้งรอยไว้อย่างนั้น จะได้นึกออกว่ายังติดหนี้กันอยู่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 22 มิ.ย. 12, 10:08

ขอแนบภาพน่ารัก ๆ ของนักเรียนตัวน้อย ที่ใช้กระดานชนวน และดินสอเหล็ก ขีดเขียนครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 22 มิ.ย. 12, 10:26

รูปแบบกระดานชนวนไทยและฝรั่งช่างเหมือนกันเสียนี่กระไร



จากกระดานชนวนไทยมาเป็นกระดานชนวนฝรั่ง

ระยะทางนั้นเหยียดยาว

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 22:28

เห็นกระดานชนวนแล้วทำให้นึกถึงวันเก่าๆ

กระดานชนวนนั้นทำมาจากหินที่เรียกว่า Slate   ภาษาไทยอาจจะมีชื่อเรียกวัสดุนี้อยู่หลายชื่อ เช่น หินดินดาน หินชนวน และหินกาบ

สำหรับคำว่าหินดินดานนั้นคงจะไม่ถูกต้อง เพราะหินดินดานตรงกับหิน Shale หรือ Mudstone มีลักษณะเนื้อแน่นเป็นมวลใหญ่ ไม่แตกเป็นแผ่นๆเมื่อกระเทาะ
หินชนวนน่าจะเป็นคำที่มีความหมายตรงที่สุดกับคำว่า Slate ซึ่งแตกเป็นชั้นๆเมื่อกระเทาะ มีความอ่อนมากพอที่จะนำมาตัดแต่งขอบและขัดผิวให้เรียบเหมือนหน้ากระดานได้ง่าย
หินกาบ มีความหมายที่ไม่ชัดเจนว่าจะตรงกับหินชนิดใด เนื่องจากเีรียกชื่อตามลักษณะการแตกที่เป็นกาบๆ (แผ่นๆ) คิดว่าน่าจะตรงกับหินที่เรียกว่า Phyllite ซึ่งบางทีก็เรียกกันว่า Phyllitic shale   หินกาบค่อนข้างจะมีความแข็งมากกว่าหินชนวน และสีจะออกไปทางสีน้ำตาล คือไม่ดำเหมือนหินชนวน แถมสีของหินยังไม่เสมอกันอีกด้วย  อย่างไรก็ตามก็มีการใช้หินกาบในการขีดเขียนต่างๆเหมือนกัน

น่าสนใจตรงคำว่า ดินสอ ที่ขีดเขียนบนกระดานชนวน
ดินสอ น่าจะเป็นชื่อที่เรียกวัสดุที่ใช้ในการขีดเขียนที่ให้สีขาวเมื่อขีดเขียนลงบนกระดาน ไม่ว่าตัวมันเองจะมีสีอะไร   มิใช่ดินสอที่มีใส้สีดำดังในปัจจุบัน   
สมัยก่อน แผ่นวัสดุที่ใช้เขียนข้อความเป็นพื้นสีดำ วัสดุที่ใช้เขียนจึงมีสีขาว หรือตัววัสดุจะมีสีอะไรก็ช่าง แต่เมื่อเขียนแล้วให้สีขาว (เนื่องจากสีผง_Streak_จะให้สีขาว) แต่ในปัจจุบัน วัสดุที่ใช้เขียนข้อความเป็นพื้นสีขาว วัสดุที่ใช้เขียนจึงมีสีดำ  อย่างไรก็ตาม คำว่าดินสอก็ได้ใช้อย่าต่อเนื่องตลอดมา   

สอ ในภาษาไทย คือ สีขาว   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง