เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 29495 ศาลเทพารักษ์ อยู่หนใด ?
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 15:53


ลุงไก่เดินเก่งจัง คงจะสำรวจทางขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินหรือเปล่า ? ช่วยฝากการบ้านอีกอย่างหนึ่งคือ เดินไปสำรวจตรอกเจ๊สัวสอนหน่อยว่า มีร่องรอยของป้อมอึกเหี้ยมหาญ หรือไม่ ฮืม
[/quote]

ทางขึ้น-ลง ทุกสถานี อยู่ในสมองหมดแล้วครับ แต่ตรอกเจ๊สัวสอนนี่สิ ... ขอแผนที่ด้วย .. ไปไม่ถูก ..

จะได้ไม่แวะกินน้ำชาในเวิ้งเลื่อนฤทธิ์ให้เสียการเสียงาน

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 15:59


ลุงไก่เดินเก่งจัง คงจะสำรวจทางขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินหรือเปล่า ? ช่วยฝากการบ้านอีกอย่างหนึ่งคือ เดินไปสำรวจตรอกเจ๊สัวสอนหน่อยว่า มีร่องรอยของป้อมอึกเหี้ยมหาญ หรือไม่ ฮืม

ทางขึ้น-ลง ทุกสถานี อยู่ในสมองหมดแล้วครับ แต่ตรอกเจ๊สัวสอนนี่สิ ... ขอแผนที่ด้วย .. ไปไม่ถูก ..

จะได้ไม่แวะกินน้ำชาในเวิ้งเลื่อนฤทธิ์ให้เสียการเสียงาน


[/quote]

อยู่ตลาดน้อย จากถนนโยธา-ริเวอร์ซิตี้ - วัดกัลว่าร์ - ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาตลาดน้อย (แบงค์สยามกัมมาจล) เดินมุ่งหน้าทางทรงวาดมาสองร้อยเมตร ซอยอยู่ซ้ายมือเข้าไปเลยโลด
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 16:17


ลุงไก่เดินเก่งจัง คงจะสำรวจทางขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินหรือเปล่า ? ช่วยฝากการบ้านอีกอย่างหนึ่งคือ เดินไปสำรวจตรอกเจ๊สัวสอนหน่อยว่า มีร่องรอยของป้อมอึกเหี้ยมหาญ หรือไม่ ฮืม

ทางขึ้น-ลง ทุกสถานี อยู่ในสมองหมดแล้วครับ แต่ตรอกเจ๊สัวสอนนี่สิ ... ขอแผนที่ด้วย .. ไปไม่ถูก ..

จะได้ไม่แวะกินน้ำชาในเวิ้งเลื่อนฤทธิ์ให้เสียการเสียงาน



อยู่ตลาดน้อย จากถนนโยธา-ริเวอร์ซิตี้ - วัดกัลว่าร์ - ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาตลาดน้อย (แบงค์สยามกัมมาจล) เดินมุ่งหน้าทางทรงวาดมาสองร้อยเมตร ซอยอยู่ซ้ายมือเข้าไปเลยโลด
[/quote]

อืมมม .. แล้วจะไปดูให้ (เอ้า นอกเรื่องแล้ว นี่เรือนไทย ไม่ใช่เฟสบุ๊ค ไปคุยกันที่บ้านโน้น)
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 16 มี.ค. 13, 15:17

ได้เรื่องแล้วครับ

คือไม่ว่าแผนที่ฉบับไหน ผมเทียบกับกูเกิลเอร์ธแล้ว ตำแหน่งศาลที่ว่าก็ไม่พ้นรั้วจุฬาไปได้

นึกถึงเพื่อนร่วมรุ่นสถาปัตย์คนหนึ่งได้ เขาจบแล้วก็ไปทำงานกับแผนกอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยอยู่ประมาณสักยี่สิบปีมั้ง ก่อนจะเปลี่ยนงาน จึงโทรไปถามว่าสมัยที่เขายังทำงานอยู่จุฬา  เคยทราบเรื่องศาลเจ้าที่อยู่ทางฝั่งสำนักอธิการบดีหรือไม่ เขาตอบว่าทราบ มีอยู่แห่งหนึ่ง เป็นศาลเก่าแก่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ห้าแล้ว อยู่ทางหอพักนิสิตชายติดๆกับธรรมสถานเดี๋ยวนี้  ซื่อศาลแป๊ะกงซัน

ประมาณปี๒๕๒๕ ทางจุฬาต้องการปรับปรุงพื้นที่ซึ่งตอนนั้นเสื่อมโทรมมาก จึงทำพิธีอัญเชิญเจ้าไปอยู่ที่อื่น แล้วรื้อศาลเก่าทิ้งไปไม่เหลือร่องรอยอะไรเลย




ขอกลับมากับคำแนะนำของท่าน NAVARAT C. อีกครั้ง เรื่องเคยมีศาลเจ้าทางหอพักนิสิตชายติดกับธรรมสถานเดี๋ยวนี้ หอที่กล่าวถึงคงจะป็น "หอจุฬานิเวศน์" นี่เอง ... ผมคงจะยืนถ่ายภาพนี้ตรงที่ใกล้ๆ อาจจะเคยเป็นศาลเทพารักษ์ที่ตามหาอยู่ก็ได้ (โมเมเข้าข้างตัวเองอีกแล้วครับท่าน)

ห่างจากต้นไทรแคระมาอีกกว่าร้อยเมตร ห่างต้นโพธิ์ข้างสนามเปตองมาทางตะวันตกกว่าห้าสิบเมตร



ตั้งใจว่าวันนี้ (๑๖ มีนาคม ๒๕๕๖) จะไปเดินสำรวจหาศาลเทพารักษ์อีกครั้ง และก็ประสบความสำเร็จ แม้จะไม่ได้เห็นศาลเทพารักษ์นี้

แล้วก็พบตำแหน่งที่ค่อนข้างแน่นอน จากปากคำของคุณพี่คนหนึ่งที่ทำงานอยู่ที่โรงพิมพ์จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่าศาลเทพารักษ์อยู่ใกล้ๆ กับธรรมสถาน ปัจจุบันเป็นสนามหน้าตึกหอพักชาย "จุฬานิเวศน์" ค่อนข้่างแน่นอน เพราะผู้ให้ปากคำบอกว่าบ้านเขาอยู่หน้าศาลเจ้านี่เอง คนละฝั่งคลอง

ประมวลคำบอกเล่าบอกว่า ที่ตรงนี้เดิมมีศาลไม้อยู่ก่อน คงจะเป็นศาลเทพารักษ์ตามที่ระบุในแผนที่ ต่อมาก็มีการก่อสร้างศาลเจ้าจีนเพิ่มขึ้นมา เป็นศาลใหญ่ศาลหนึ่งและศาลเล็กอีกหลายศาล แต่ผู้บอกเล่าไม่สามารถให้รายละเอียดของศาลและรูปเทพในศาลได้มากกว่านี้ บอกว่าชักจะลืมแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 16 มี.ค. 13, 20:45

ได้อ่านกระทู้นี้ เด้งขึ้นมาหน้าแรกอีกครั้งก็ยังเพลิดเพลินเหมือนตอนแรกที่แกะรอยศาลเทพารักษ์กันว่า เป็นศาลอะไรแบบไหนกันแน่ 
ไม่รู้ว่าคุณลุงไก่ถ่ายรูปสนามหน้าหอจุฬานิเวศน์มาให้ดูกันบ้างหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 17 มี.ค. 13, 17:54

ตามที่อาจารย์สอบถามเรื่องภาพครับ
ภาพ ๑ - ตำแหน่งของศาลเทพารักษ์ตามคำบอกเล่า
ภาพ ๒ - สนามหน้าหอพักจุฬานิเวศน์ เยื้องกับหน้าอาคารธรรมสถาน ตำแหน่งที่สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ตั้งของศาลเทพารักษ์
ภาพ ๓ - มองจากถนนให้เห็นหอจุฬานิเวศน์









บันทึกการเข้า
Sarisa_S
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 20 เม.ย. 13, 23:52

อ่านตามค่ะ แต่ละคนนักสืบดีๆนี่เอง นับถือค่ะ ฝากตัวด้วยนะคะ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 10:11

ยกภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๑๐ ขึ้นมาพิจารณา ส่องลงไปยังแนวคลองเดิมซึ่งยังเห็นร่องรอยเก่า ๆ ได้บ้าง

จุดที่ตั้งของศาลเทพารักษ์ อยู่ริมคลอง (จุดเหลือง) ขนาดคลองยังต้องอ้อมทางให้แก่ศาลเทพารักษ์ ไม่ตัดตรงล้ำเข้าไปยังศาลเลย


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 20:32

เพิ่มเติมคำอธิบาย จากความอุตสาหะค้นคว้าของคุณกอล์ฟ รัชดา แห่งเฟสบุ๊ค - ด้วยความขอบพระคุณ


อาคารวิทยบริการ

เป็นบริเวณพื้นที่ใหญ่มาก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยบริเวณที่เรียกว่า "ตรอกพุฒ" จำนวน ๒๑๗ ครัวเรือน ซึ่งฝ่ายทรัพย์สินเริ่มดำเนินการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ เพื่อจะให้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารวิทยบริการ โดยติดต่อให้ผู้อยู่อาศัยมาทำสัญญาอพยพรื้อถอนและรับเงินช่วยเหลือค่าขนย้าย ซึ่งการขนย้ายผู้อยู่อาศัยบริเวณดังกล่าวเสร็จสิ้นไปประมาณเดือนมีนาคม ๒๕๒๒ ค่าขนย้าย ๖๖๗,๒๘๔ บาท บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารวิทยบริการดังกล่าว รวมถึงศาลเจ้าแป๊ะกงซันซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเป็นเวลานาน และเป็นการยากยิ่งที่จะดำเนินการให้รื้อถอนออกไป เพราะเป็นสถานที่เคารพนับถือของประชาชนในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสำนักงานฯ ได้พยายามดำเนินการจนถึงขั้นดำเนินคดีและศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินของมหาวิทยาลัยและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป หากไม่ยอมรื้อถอน ให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจเข้ารื้อถอนได้เอง ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยให้สำนักงานฯ ดำเนินการให้ศาลเจ้าขนย้ายออกไปโดยเร็ว เพื่อไม่ให้กีดขวางด้านการจัดรุูปทัศน์อันจะเป็นข้ออ้างการทำงานล่าช้าของผู้รับเหมา แต่เนื่องจากศาลเจ้าแป๊ะกงซันเป็นสถานที่ที่มีผู้นับถือเป็นจำนวนมาก การเข้ารื้อถอนจะทำให้เสียภาพพจน์ของมหาวิทยาลัย และหากมีปัญหาใดเกิดขึ้นในระหวางการรื้อถอนจะทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว สำนักงานฯ จึงได้ดำเนินการโดยวิธีประนีประนอมและจ่ายเงินชดเชยการขนย้ายเป็นจำนวนสูงพอสมควร จนสามารถให้รื้อย้ายศาลเจ้าออกไปได้ในเดือนสิงหาคม ๒๕๒๓

ข้อมูลจากหนังสือของสำนักงานทรัพย์สิน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ตามข้อเขียนของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ที่เคยเขียนไว้ในหนังสือของท่านว่าจาก ถนนพญาไทมีทางเดินเล็กๆ เข้าไปยังศาลเจ้าจีน ปากซอยอยู่ตรงที่เป็นสะพานลอยทุกวันนี้  ก็เลยลองเทียบเขียนตำแหน่งของสะพานลอยและซอยเล็กๆ เข้าไปที่ศาลเจ้า





บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 20:45

ตามที่อาจารย์สอบถามเรื่องภาพครับ
ภาพ ๑ - ตำแหน่งของศาลเทพารักษ์ตามคำบอกเล่า
ภาพ ๒ - สนามหน้าหอพักจุฬานิเวศน์ เยื้องกับหน้าอาคารธรรมสถาน ตำแหน่งที่สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ตั้งของศาลเทพารักษ์
ภาพ ๓ - มองจากถนนให้เห็นหอจุฬานิเวศน์


อ้างถึงภาพจากความเห็นที่ ๘๐ ข้อ ๑ และข้อ ๒

จากภาพนี้ขอแก้ไขความเห็นเดิมที่อ้างว่าเคยเป็นที่ตั้งของศาลเทพารักษ์ ขอเสนอข้อมูลใหม่ว่าเคยเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแปะกงซัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 20:54

หมายความว่าศาลเทพารักษ์ เป็นศาลของเจ้าคนละองค์กับศาลเจ้าแปะกงซันหรือคะ?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 19 ก.พ. 14, 07:43

หมายความว่าศาลเทพารักษ์ เป็นศาลของเจ้าคนละองค์กับศาลเจ้าแปะกงซันหรือคะ?

ศาลเจ้าแปะกงซัน คงจะมาชั้นหลังจากที่มีมีการตั้งชุมชมชาวจีนแล้วมากกว่าครับ เพราะในแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๕ และ ๖ พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ของโรงเรียนเกษตราธิการ มีการขุดร่องทำสวนแปลงเกษตร จึงไม่มีบ้านเรือนอาศัย นอกจากมีโรงพักพลตระเวนย่อย (หัวลำโพง) ตั้งอยู่เยื้องกับศาลเทพารักษ์เท่านั้น

ในเอกสารการซ่อมคลอง การสร้างหอพักจุฬายุคเริ่มแรกสร้างตัวก็ไม่ได้พูดถึงมีชุมชนอาศัยอยู่แต่ประการใด คาดว่าชุมชนเชื้อสายจีนจะมาตั้งซ้อนทับกับศาลเก่ามากกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 19 ก.พ. 14, 08:45

ก็ยังสงสัยอยู่นะคะคุณ siamese และคุณลุงไก่
จากแผนที่ที่คุณ siamese นำมาลงแต่แรก     ศาลเทพารักษ์ที่ถูกจดจำเป็นเครื่องหมายอยู่ในแผนที่ ไม่น่าจะเป็นศาลเล็กๆกระจอกๆ  เหมือนศาลเพียงตาที่เคยเห็นกันมากมายในชนบทสมัยก่อน     แต่จะต้องเป็นศาลสำคัญ ขนาดทางการทำแผนที่ไว้ก็ต้องปักหมุดเป็นที่สังเกต
ศาลนี้จะถูกรื้อให้ศาลจีนมาสร้างทับง่ายๆเชียวหรือ     มันมีธรรมเนียมที่ไหนที่ศาลเจ้าองค์หนึ่งสร้างทับศาลเจ้าอีกองค์หนึ่ง

ถ้าเป็นศาลเจ้าแปะกงซันที่ทำไว้ก่อน แล้วต่อมาสร้างใหม่ขยายให้โอ่อ่าขึ้น  น่าจะเป็นไปได้มากกว่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 20 ก.พ. 14, 10:08

เพิ่มเติมคำอธิบาย จากความอุตสาหะค้นคว้าของคุณกอล์ฟ รัชดา แห่งเฟสบุ๊ค - ด้วยความขอบพระคุณ


อาคารวิทยบริการ

เป็นบริเวณพื้นที่ใหญ่มาก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยบริเวณที่เรียกว่า "ตรอกพุฒ" จำนวน ๒๑๗ ครัวเรือน ซึ่งฝ่ายทรัพย์สินเริ่มดำเนินการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ เพื่อจะให้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารวิทยบริการ โดยติดต่อให้ผู้อยู่อาศัยมาทำสัญญาอพยพรื้อถอนและรับเงินช่วยเหลือค่าขนย้าย ซึ่งการขนย้ายผู้อยู่อาศัยบริเวณดังกล่าวเสร็จสิ้นไปประมาณเดือนมีนาคม ๒๕๒๒ ค่าขนย้าย ๖๖๗,๒๘๔ บาท บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารวิทยบริการดังกล่าว รวมถึงศาลเจ้าแป๊ะกงซันซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเป็นเวลานาน และเป็นการยากยิ่งที่จะดำเนินการให้รื้อถอนออกไป เพราะเป็นสถานที่เคารพนับถือของประชาชนในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสำนักงานฯ ได้พยายามดำเนินการจนถึงขั้นดำเนินคดีและศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินของมหาวิทยาลัยและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป หากไม่ยอมรื้อถอน ให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจเข้ารื้อถอนได้เอง ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยให้สำนักงานฯ ดำเนินการให้ศาลเจ้าขนย้ายออกไปโดยเร็ว เพื่อไม่ให้กีดขวางด้านการจัดรุูปทัศน์อันจะเป็นข้ออ้างการทำงานล่าช้าของผู้รับเหมา แต่เนื่องจากศาลเจ้าแป๊ะกงซันเป็นสถานที่ที่มีผู้นับถือเป็นจำนวนมาก การเข้ารื้อถอนจะทำให้เสียภาพพจน์ของมหาวิทยาลัย และหากมีปัญหาใดเกิดขึ้นในระหวางการรื้อถอนจะทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว สำนักงานฯ จึงได้ดำเนินการโดยวิธีประนีประนอมและจ่ายเงินชดเชยการขนย้ายเป็นจำนวนสูงพอสมควร จนสามารถให้รื้อย้ายศาลเจ้าออกไปได้ในเดือนสิงหาคม ๒๕๒๓

ข้อมูลจากหนังสือของสำนักงานทรัพย์สิน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ตามข้อเขียนของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ที่เคยเขียนไว้ในหนังสือของท่านว่าจาก ถนนพญาไทมีทางเดินเล็กๆ เข้าไปยังศาลเจ้าจีน ปากซอยอยู่ตรงที่เป็นสะพานลอยทุกวันนี้  ก็เลยลองเทียบเขียนตำแหน่งของสะพานลอยและซอยเล็กๆ เข้าไปที่ศาลเจ้า





อ้างถึงเอกสารทรัพย์สินฯ ระบุทำเนียบชื่อเก่ากับซอยในจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ระบุว่า "ตรอกพุฒ - ซอยจุฬา ๒๖"

ดังนั้นจึงลงพิกัดซอย ๒๖ ยิงระยะมาถึงถนนพญาไท ลุงไก่ต้องถามลุงอาจินต์แล้วหละว่า ท่านพักหอตรงไหน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 23 ก.พ. 14, 06:53

ข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณกอล์ฟ รัชดา ที่ได้ช่วยค้นคว้าหาข้อมูลของศาลเจ้าเพิ่มเติมให้ดังนี้

อาจารย์สินรู้จักกับคนที่รื้อศาลเจ้า ท่านบอกว่าท่านสนิทกับผู้จัดการศาลเจ้าแปะกง จุดที่ศาลตั้งอยู่คือตรงโรงอาหารถัดจากตึกโรงพิมพ์จุฬาฯ .. เมื่อรื้อศาลแล้วได้ย้ายไปตั้งศาลใหม่ทางฝั่งธนบุรี แต่ไม่ทราบว่าเป็นที่ตรงไหน ที่สำคัญคือในศาลมีกระถางธูปทองเหลืองขนาดกว้างประมาณ ๖๐ ซม. มีอักษรพระปรมาภิไธย จปร แกะสลักไว้ด้วย ได้รับพระราชทาน

อาจารย์สินไม่รู้จักศาลเทพารักษ์ แต่ยามเก่าๆ บอกว่าตรงโรงอาหารเคยมีต้นโพธิือยู่

นี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่มีการระบุตำแหน่งศาลเทพารักษ์ไว้ในแผนที่ แต่คนเขียนแผนที่เรียกว่าศาลเทพารักษ์แทนที่จะเรียกว่าศาลแปะกง
ตำแหน่งโดยประมาณของศาลเทพารักษ์ที่คุณหนุ่มทำพิกัดไว้ให้ ก็ใกล้เคียงกับคำบอกเล่านี้มาก ถ้าขยับมาทางขวานิดหนึ่งใต้คำว่า "ยาลัย" ก็จะตรงกับคำบอกเล่านี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง