เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 29560 ศาลเทพารักษ์ อยู่หนใด ?
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 12:38

สมัยที่อาจารย์ยังทั้งเรียนและทำงานที่เทวาลัย อาจารย์ข้ามฟากมาแวะเวียนแถวฝั่ง "บ้านนอก" บ้างหรือเปล่าครับ

สมัยเรียน  คณะต่างๆในรั้วจุฬาเรียกว่า "ในเมือง" ค่ะ  ส่วนคณะที่อยู่นอกรั้วเรียกว่า "นอกเมือง"  คณะรัฐศาสตร์อยู่ในประเภทนอกเมือง เช่นเดียวกับครุศาสตร์   ส่วนบัญชี ไม่แน่ใจว่าเรียกตัวเองว่าอะไร    นิเทศฯน่าจะเป็นนอกเมืองเหมือนกัน  ส่วนนิติฯยังไม่เกิด  เป็นแผนกหนึ่งของคณะรัฐศาสตร์
บันทึกการเข้า
pakorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 17:41

ผมมีโอกาศได้เห็นแผนที่กรุงเทพ ระวางที่ใช้สอนโรงเรียนข้าราชการพลเรือน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นแผนที่ที่บอกสภาพถนน สะพาน อาคารต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดทำให้ทราบถึงบรรยากาศของพระนครในสมัยนั้นเป็นอย่างดี การกระจายตัวของเมืองยังคงกระจุกตัวอยู่ที่พระนครชั้นใน ด้านเหนือไปเพียงถนนสามเสน ด้านตะวันออกไปเพียงย่านบรรทัดทอง ส่วนด้านใต้ไปถึงถนนตก

ทีนี้มาดูที่พื้นที่โล่งกันสักหน่อย เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไทเพียงร่างไว้เป็นโครงร่างเท่านั้น ทำให้นึกถึงคุณ bthawees ในเรื่องพรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต แต่แผนที่ทำขึ้นก่อนที่จะสร้างมหาวิทยาลัยอยู่หลายปี





จากหัวข้อ"คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง" มีการคุยกันถึงคลองอรชร ว่าเป็นแนวคลองใดกันแน่ ระหว่างคลองที่อยู่ใกล้ถนนบรรทัดทอง(ปัจจุบันเรียกคลองสวนหลวง และยังมีปรากฏอยู่ตลอดสาย ด้านหลังอาคารพาณิชย์ริมถนนบรรทัดทอง)  กับคลองที่อยู่หลังร.ร.เตรียมอุดม ซึ่งปัจจุบันถูกถมไปแล้วตามแนวถนนอังรีดูนังต์  (ปัจจุบันยังเหลืออยู่ข้างๆสยามพารากอน ถึงตรงสะพานเฉลิมเผ่า)

และจากภาพแผนที่ในหัวข้อนี้ พบว่ามีคลองอรชรอยู่สองแห่ง ชื่อเหมือนกัน แสดงว่าคลองที่เราสงสัยทั้งสอง มีชื่อว่าคลองอรชรทั้งคู่ใช่ไหมครับ
โดยมีคลองอีกสายหนึ่งอยู่ตั้งฉาก เชื่อมคลองอรชรทั้งสองเข้าด้วยกัน จากแถวๆถนนบรรทัดทอง ผ่านตลาดสวนหลวง ผ่านด้านหลังธรรมสถาน (ตรงนี้ในปัจจุบัน ยังเห็นแนวคลองเล็กๆอยู่) มาเป็นถนนที่ผ่านข้างๆโรงพิมพ์ฯ และสำนักงานอธิการบดี ( ที่สงสัยว่าเป็นที่ตั้งศาลเทพารักษ์)  ตัดกับถนนพญาไท โดยมีสะพานอุเทนถวายข้ามคลอง   จากนั้น ผ่านหน้าตึกสถาปัตย์ ตึกเคมี  มาถึงข้างๆหอประชุม (ตรงนี้ก็เหมือนยังมีแนวคลองอยู่สั้นๆคล้ายบ่อบำบัดน้ำเสีย) ผ่านข้างๆเทวาลัย แล้วมาเชื่อมต่อกับคลองอรชรฝั่งสนามม้า

ไม่ทราบว่าคุณหนุ่มสยามหรือท่านใดพอทราบไหมครับว่า คลองที่เชื่อระหว่างคลองอรชรทั้งสองนี้มีชื่อเรียกว่าคลองอะไร เนื่องจากการสร้างสะพานที่มีความสำคัญอย่างสะพานอุเทนถวาย น่าจะมีการระบุรายละเอียดว่าสะพานนี้สร้างเพื่อข้ามคลองใด   ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า
pakorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 17:59

ภาพนี้ยังเห็นแนวคลองชัดครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 19:58

คุณ pakon ลองย้อนกลับไปดูที่กระทู้ คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหน ในหมวดประวัติศาสตร์ไทย ความเห็นที่ ๒ ที่อาจารย์เทาชมพูท่านนำมาเสนอไว้ครับ

ผมลิ้งค์อ้างถึงข้ามกระทู้ไม่เป็นน่ะครับ

จากบทความของท่านอาจารย์ประยูร ร่มโพธิ์ อดีตอาจารย์ประจำจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และเคยเป็นอาจารย์ประจำหอพักนิสิต ดังในภาพที่แนบ

"สะพานลอย" น่าจะเป็นสะพานคนเดินข้ามตรงหน้าประตูทางเข้าด้านตึกคณะสถาปัตย์

"สะพานข้ามคูข้างตึกเลขาฯ" - "คู" น่าจะหมายถึง คูข้างถนนพญาไท - "ตึกเลขาฯ" อันนี้ไม่ทราบครับ จะหมายถึงตึกทีทำการอธิการบดีหรือเปล่า?

"ไปจนถึงหอระฆังและสพานไม้ข้ามคูข้างหอ" คราวนี้มี "หอระฆัง" เพิ่มขึ้นมาอีกที่หนึ่งแล้วนอกเหนือจาก"ศาลเทพารักษ์"





บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 21:15

สาธยายต่อเรื่อง "ตึกเลขา"
จากประัวัติคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ขอคัดข้อคามมาบางส่วน ดังนี้

40 ปีที่แล้ว มีแผนกเล็ก ๆ แผนกหนึ่งที่เกิดขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแผนกใหม่ที่นิสิตทั้ง 78 คน ของรุ่นแรกนั้น ได้มีโอกาสนั่งเรียนอย่างเย็นกายสบายใจ ไม่ใช่เพียงเครื่องปรับอากาศที่ตึกเลขาธิการเท่านั้นหรอก แต่เป็นเพราะแผนกนี้เปิดสอนในช่วงเย็นค่ำไปแล้วนั้นเอง

ด้วยความเป็นแผนกใหม่ นิสิตรุ่น แรก ๆ จึงไม่มีตึกเรียนเป็นหลักเป็นแหล่ง รุ่นแรกเรียนที่ตึกเลขาธิการตรงข้ามสระน้ำจุฬาฯ (อาคารจามจุรี 1-5 ปัจจุบัน)


อ้างถึง  http://nitadechulaalumni.com/?p=169



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 21:23

คุณ pakon ลองย้อนกลับไปดูที่กระทู้ คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหน ในหมวดประวัติศาสตร์ไทย ความเห็นที่ ๒ ที่อาจารย์เทาชมพูท่านนำมาเสนอไว้ครับ
ผมลิ้งค์อ้างถึงข้ามกระทู้ไม่เป็นน่ะครับ


ลอกลิ้งค์และข้อความในค.ห. ๒ มาให้อ่านค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4405.0

ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 21:05
   
ไม่มีแผนที่  และไม่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับคูคลองในกรุงเทพ กี่มากน้อย   เพราะเมื่อจำความได้ กรุงเทพก็หมดความเป็นเวนิสตะวันออกเสียแล้ว    แต่คูยังมีให้เห็นข้างถนนหลายสาย   รวมทั้งถนนวิทยุที่คุณร่วมฤดีไปช้อนลูกน้ำยามว่างด้วยค่ะ

ขอเจิมกระทู้ด้วยรายชื่อคลองในบัญชีคลอง  ท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร์ศก 121 พ.ศ. 2484 ทั้งฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี  ดังนี้

ฝั่งพระนคร

    คลองบางซื่อ                                   จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคันคลองประปา
    คลองสามเสน                                  จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลองบางกระสัน
    คลองเปรมประชากร                            จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงคลองบางซื่อ
    คลองผดุงกรุงเกษม                            จากปากคลองทางเหนือ ถึงปากคลองทางใต้
    คลองบางลำพู                                 จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปากคลองมหานาค
    คลองโอ่งอ่าง                                  จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปากคลองมหานาค
    คลองตลาด                                    จากปากคลองทางทิศเหนือ ถึงปากคลองทางให้
    คลองวัดเทพธิดา                              จากคลองตลาด ถึงคลองโอ่งอ่าง
    คลองวัดราชบพิธ                              จากคลองตลาดถึงคลองโอ่งอ่าง
    คลองมหานาค                                 จากคลองบางลำพู ถึงคลองผดุงกรุงเกษม
    คลองบางกะปิ                                  จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ (หลักเขตที่ 6)
    คลองหัวลำโพง                                จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงคลองเตย
    คลองสวนหลวง                                จากคลองนางหงษ์ ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองอรชร                                     จากคลองบางกะปิ ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองราชดำริ                                  จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระราม 4
    คลองไผ่สิงห์โต                               จากคลองราชดำริ ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองสีลม                                     จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองสาธร                                    จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองขื่อหน้า                                  จากคลองบางกะปิ ถึงคลองสามเสน
    คลองวัดใหม่                                  จากคลองบางซื่อ ถึงวัดใหม่ทองเสน
    คลองข้างกรมช่างแสง                        จากคลองบางซื่อ ถึงโรงเรียนทหารสื่อสาร
    คลองบางกระบือ                              จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลองวัดน้อย
    คลองวัดน้อย                                  จากคลองเปรมประชากร ถึงปลายคลองบางกระบือ
    คลองบางทองหลาง                          จากคลองสามเสน ถึงถนนองครักษ์
    คลองส้มป่อย                                  จากคลองสามเสน คลองบางกะปิ ถึงถนนราชวัตรเก่า ถนนเพชรบุรี
    คลองอั้งโล่                                    จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงโรงพยาบาลวชิระ
    คลองวัดส้มเกลี้ยง                            จากแม้น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนขาว
    คลองวัดราชาธิวาส                           จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนสามเสน
    คลองบ้านญวน                                จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนสามเสน
    คลองบางขุนพรหม                            จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนวิสุทธิกษัตริย์ ถึงถนนวิสุทธิกษัตริย์ หลังโรงเรียนนายร้อยทหารบก
    คลองวัดมงกุฏกษัตริย์ (คือ มกุฏกษัตริย์)    จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงหลังวัดมงกุฏกษัตริย์
    คลองวัดโสมนัสวิหาร                          จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงถนนจักรพรรดิพงษ์ หลังวัดโสมนัสวิหาร
    คลองวัดตรีทศเทพ                            จากคลองบางลำพู ถึงหลังวัดตรีทศเทพ และจากคลองบางลำพู ถึงข้างวัดตรีทศเทพ
    คลองบ้านหล่อ                                 จากคลองบางลำภู ถึงถนนวิสุทธิกษัตริย์
    คลองวัดปริณายก                              จากคลองบางลำพู ถึงหลังวัดปริณายก
    คลองจุลนาค                                   จากคลองมหานาค ถึงถนนนครสวรรค์
    คลองวัดคอกหมู                               จากคลองมหานาค ถึงหลังวัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค)
    คลองวัดสมณานัมบริหาร (คือวัดญวน)       จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงถนนพิษณุโลก และจากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงหลังวัดสมณานัมฯ
    คลองลำปรัก                                   จากคลองวัดสมณานัมฯ ถึงคลองวัดขื่อหน้า
    คลองวัดรังษี                                   จากคลองบางลำพู ถึงถนนดินสอ
    คลองวัดบวรนิเวศน์                            จากคลองบางลำพู ถึงถนนบ้านแขก
    คลองนางชี                                     จากคลองมหานาค ถึงสะพานแม้นศรี
    คลองวัดเทพศิรินทร์                           จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงถนนพลับพลาไชย
    คลองศาลเจ้าเก่า                              จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนทรงวาด
    คลองวัดปทุมคงคา                            จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงวัดปทุมคงคา
    คลองวัดสระบัว                                 จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระรามที่ 1
    คลองนางหงษ์                                 จากคลองบางกะปิ ถึงคลองวัดสระบัว
    คลองข้าวัดใหม่                                จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระรามที่ 1
    คลองพญาไท                                  จากคลองบางกะปิ ถึงถนนเพชรบุรี
    คลองสวนน้อย                                 จากคลองบางกะปิ ถึงตำบลพญาไท
    คลองซุง                                        จากคลองบางกะปิ ถึงถนนเพลินจิต
    คลองบางกระสัน                               จากคลองบางกะปิ ถึงคลองสามเสน
    คลองเตย                                      จากปากคลองหัวลำโพง ถึงปลายคลอง
    คลองหัวลำโพงเก่า                           จากตรงตรอกสะพานสว่าง ถึงถนนสี่พระยา
    คลองช่องนนทรีย์                             จากถนนสี่พระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 9-10
    คลองข้างบ้านหมอเฮย์                        จากคลองสีลม ถึงคลองสาธร
    คลองข้างป่าช้าจีน                             จากคลองสาธร ถึงป่าช้าจีน
    คลองวัดยานนาวา                             จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลอง
    คลองกรวย                                     จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเขตเทศบาลกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 10-11
    คลองบางขวาง                                จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 10-11
    คลองบ้านใหม่                                 จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ หลักเขตที่ 10-11
    คลองสวนหลวง                               จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลอง
    คลองวัว                                        จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสุเหร่าแขก
    คลองบางคอแหลม                            จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 21:24


"สะพานข้ามคูข้างตึกเลขาฯ" - "คู" น่าจะหมายถึง คูข้างถนนพญาไท - "ตึกเลขาฯ" อันนี้ไม่ทราบครับ จะหมายถึงตึกทีทำการอธิการบดีหรือเปล่า?

ตึกอธิการฯ ในสมัยนั้นเรียกว่าตึกเลขาธิการค่ะ  ถ้าจำไม่ผิด
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 21:34

สนุกไหมครับผม  ยิงฟันยิ้ม

ขอนำแผนที่ระวาง พ.ศ. ๒๔๗๕ มาให้ชมกัน คงเป็นแนวทางคำตอบได้มากสำหรับ "ศาลเทพารักษ์" แห่งนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 21:37

ผมขอยกแผนที่ พ.ศ. ๒๔๕๐ เทียบ พ.ศ. ๒๔๗๕

จะเห็นว่าลักษณะของคลองกำลังเปลี่ยนไป ปรากฎชื่อคลองแนวตั้งว่า "คลองสะพานสูง" ซึ่งอยู่ด้านหลังหอสมุดจุฬาลงกรณ์ฯ และเหนือศาลเทพารักษ์ได้ขุดน้ำรอบเป็นเกาะสำหรับ "หอใหม่"


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 21:39

ได้เรื่องแล้วครับ

คือไม่ว่าแผนที่ฉบับไหน ผมเทียบกับกูเกิลเอร์ธแล้ว ตำแหน่งศาลที่ว่าก็ไม่พ้นรั้วจุฬาไปได้

นึกถึงเพื่อนร่วมรุ่นสถาปัตย์คนหนึ่งได้ เขาจบแล้วก็ไปทำงานกับแผนกอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยอยู่ประมาณสักยี่สิบปีมั้ง ก่อนจะเปลี่ยนงาน จึงโทรไปถามว่าสมัยที่เขายังทำงานอยู่จุฬา  เคยทราบเรื่องศาลเจ้าที่อยู่ทางฝั่งสำนักอธิการบดีหรือไม่ เขาตอบว่าทราบ มีอยู่แห่งหนึ่ง เป็นศาลเก่าแก่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ห้าแล้ว อยู่ทางหอพักนิสิตชายติดๆกับธรรมสถานเดี๋ยวนี้  ซื่อศาลแป๊ะกงซัน

ประมาณปี๒๕๒๕ ทางจุฬาต้องการปรับปรุงพื้นที่ซึ่งตอนนั้นเสื่อมโทรมมาก จึงทำพิธีอัญเชิญเจ้าไปอยู่ที่อื่น แล้วรื้อศาลเก่าทิ้งไปไม่เหลือร่องรอยอะไรเลย


ขอกลับมากับคำแนะนำของท่าน NAVARAT C. อีกครั้ง เรื่องเคยมีศาลเจ้าทางหอพักนิสิตชายติดกับธรรมสถานเดี๋ยวนี้ หอที่กล่าวถึงคงจะป็น "หอจุฬานิเวศน์" นี่เอง ... ผมคงจะยืนถ่ายภาพนี้ตรงที่ใกล้ๆ อาจจะเคยเป็นศาลเทพารักษ์ที่ตามหาอยู่ก็ได้ (โมเมเข้าข้างตัวเองอีกแล้วครับท่าน)

ห่างจากต้นไทรแคระมาอีกกว่าร้อยเมตร ห่างต้นโพธิ์ข้างสนามเปตองมาทางตะวันตกกว่าห้าสิบเมตร




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 21:52

ตำแหน่งศาลเทพารักษ์ตามข้อเสนอใหม่


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 14:36

ห่างเหินจากกระทู้นี้ไปครึ่งปีพอดี

เมื่อเที่ยงวันนี้ แวะไปเดินหารางรถรางเก่าแถวตลาดน้อย เดินไปดูตึกสีลูกกวาด ไปดูตึกโรงแรมเอ็มไพร์ ดูไปเรื่อยๆ แล้วก็เวียนมาทางแยกแปลงนาม ไปนั่งคุยกับอาอี๊คนหนึ่งหน้าศาลเจ้าเลี้ยงเป็ด เลยถือโอกาสถามเรื่องศาลเทพารักษ์นี้

อาอี๊ให้ข้อมูลมานิดหน่อยว่า ศาลเจ้านี้เป็นศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง เป็นศาลเจ้าใหญ๋ ในงานประเพณีของทุกปี จะมีการละเล่นต่างๆ และมีงิ้วมาเล่นด้วย แต่ศาลเจ้านี้เขาเลิกไปตั้งนานแล้ว

ถามอาอี๊ว่ามีรูปศาลเจ้านี้บ้างไหม .. อี๊ไม่มีหรอก ต้องไปถามคนเก่าๆ แถวนี้ดู ..

ถามอี๊ว่าทำไมถึงเรียกว่าศาลเจ้าเลี้ยงเป็ด .. ก็เมื่อก่อนนี้แถวนี้เขาเลี้ยงเป็ดกันแยะน่ะ

..

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 14:45

ห่างเหินจากกระทู้นี้ไปครึ่งปีพอดี

เมื่อเที่ยงวันนี้ แวะไปเดินหารางรถรางเก่าแถวตลาดน้อย เดินไปดูตึกสีลูกกวาด ไปดูตึกโรงแรมเอ็มไพร์ ดูไปเรื่อยๆ แล้วก็เวียนมาทางแยกแปลงนาม ไปนั่งคุยกับอาอี๊คนหนึ่งหน้าศาลเจ้าเลี้ยงเป็ด เลยถือโอกาสถามเรื่องศาลเทพารักษ์นี้

อาอี๊ให้ข้อมูลมานิดหน่อยว่า ศาลเจ้านี้เป็นศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง เป็นศาลเจ้าใหญ๋ ในงานประเพณีของทุกปี จะมีการละเล่นต่างๆ และมีงิ้วมาเล่นด้วย แต่ศาลเจ้านี้เขาเลิกไปตั้งนานแล้ว

ถามอาอี๊ว่ามีรูปศาลเจ้านี้บ้างไหม .. อี๊ไม่มีหรอก ต้องไปถามคนเก่าๆ แถวนี้ดู ..

ถามอี๊ว่าทำไมถึงเรียกว่าศาลเจ้าเลี้ยงเป็ด .. ก็เมื่อก่อนนี้แถวนี้เขาเลี้ยงเป็ดกันแยะน่ะ

..



แล้วลุงไก่ถามอาอี๊ ไหมว่าเรื่องราวที่เล่าผ่านมาตกอยู่ในช่วงกี่ปีมาแล้ว จะได้กะเวลาศาลเจ้าได้ถูก เพราะศาลเจ้าที่แนบตามแผนที่ตกสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ เลยนะครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 15:13

อี๊ตอบไม่ได้ครับ .. ฟังคำบอกเล่าจากรุ่นเตี่ยมาอีกที และตอนนี้เตี่ยกับแม่ก็ไม่อยู่แล้วครับ

อี๊ทำมาค้าขายอยู่ตรงแยกแปลงนามมาตั้งแต่เด็ก คงจะไม่เคยเห็นด้วยตัวเองครับ

มีโอกาสจะเลียบเคียงถามไปเรื่อยๆ ให้ ตอนนี้ต้องถนอมตัวไว้ก่อนยามที่เดินอยู่แถวนี้ ... เดี๋ยวงานจะไม่เสร็จ กระผมจะเสร็จซะก่อน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 15:42

อี๊ตอบไม่ได้ครับ .. ฟังคำบอกเล่าจากรุ่นเตี่ยมาอีกที และตอนนี้เตี่ยกับแม่ก็ไม่อยู่แล้วครับ

อี๊ทำมาค้าขายอยู่ตรงแยกแปลงนามมาตั้งแต่เด็ก คงจะไม่เคยเห็นด้วยตัวเองครับ

มีโอกาสจะเลียบเคียงถามไปเรื่อยๆ ให้ ตอนนี้ต้องถนอมตัวไว้ก่อนยามที่เดินอยู่แถวนี้ ... เดี๋ยวงานจะไม่เสร็จ กระผมจะเสร็จซะก่อน




ลุงไก่เดินเก่งจัง คงจะสำรวจทางขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินหรือเปล่า ? ช่วยฝากการบ้านอีกอย่างหนึ่งคือ เดินไปสำรวจตรอกเจ๊สัวสอนหน่อยว่า มีร่องรอยของป้อมอึกเหี้ยมหาญ หรือไม่ ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง