เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 29494 ศาลเทพารักษ์ อยู่หนใด ?
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 14:39

สุดยอดครับลุงไก่ ... ต้นไม้ขนาด ๖๐ ปีขึ้นไปนี่ลำต้นและสาขาใหญ่มากนะครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 15:36

คุณหนุ่มสยามกระแทกผมซะเอียงแทบตกจากเบาะรถเลย ... ต้นไทรแคระ ...

เพราะอย่างนั้น ผมจึงบอกว่า "ฝากไว้พิจารณา" ไงครับ ...



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 24 มิ.ย. 12, 12:19

ได้เรื่องแล้วครับ

คือไม่ว่าแผนที่ฉบับไหน ผมเทียบกับกูเกิลเอร์ธแล้ว ตำแหน่งศาลที่ว่าก็ไม่พ้นรั้วจุฬาไปได้

นึกถึงเพื่อนร่วมรุ่นสถาปัตย์คนหนึ่งได้ เขาจบแล้วก็ไปทำงานกับแผนกอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยอยู่ประมาณสักยี่สิบปีมั้ง ก่อนจะเปลี่ยนงาน จึงโทรไปถามว่าสมัยที่เขายังทำงานอยู่จุฬา  เคยทราบเรื่องศาลเจ้าที่อยู่ทางฝั่งสำนักอธิการบดีหรือไม่ เขาตอบว่าทราบ มีอยู่แห่งหนึ่ง เป็นศาลเก่าแก่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ห้าแล้ว อยู่ทางหอพักนิสิตชายติดๆกับธรรมสถานเดี๋ยวนี้  ซื่อศาลแป๊ะกงซัน

ประมาณปี๒๕๒๕ ทางจุฬาต้องการปรับปรุงพื้นที่ซึ่งตอนนั้นเสื่อมโทรมมาก จึงทำพิธีอัญเชิญเจ้าไปอยู่ที่อื่น แล้วรื้อศาลเก่าทิ้งไปไม่เหลือร่องรอยอะไรเลย


ขออ้างถึงกำเนิดของอาคารสถาบันวิทยบริการ หรือหอสมุดกลาง จุฬาฯ ที่ย้ายออกมาจากตึก ๑ คณะอักษรศาสตร์ จากเวปของจุฬาฯ

สถาบันวิทยบริการ
สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานบริการสารสนเทศจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา โดยการรวม 3 หน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน คือ หอสมุดกลาง ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง และศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2521 และเริ่มเปิดบริการ ณ อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2525 ปัจจุบันสถาบันวิทยบริการ ประกอบด้วย 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ หอสมุดกลาง ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง ศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทย ศูนย์สารสนเทศนานาชาติ และหอศิลปวิทยนิทรรศน์ ทั้งนี้ มี 1 โครงการ คือ โครงการ CU-GDLN


และจากเวปของธรรมสถานจุฬาฯ

 ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ริเริ่มและจัดตั้งครั้งแรกโดยฝ่ายบริหารจุฬาฯ เพื่อให้มีหน่วยงานที่เป็นรูปธรรมในภารกิจทำนุบำรุงด้านศาสนา
ตลอดจนมุ่งหวังให้เป็นศูนย์กิจกรรมทางศาสนาของมหาวิทยาลัย (ไม่จำกัดศาสนา) เป็นแหล่งจรรโลงจิตใจ ส่งเสริมและผดุงไว้ซึ่งการศึกษาและ
ปฏิบัติทางศาสนธรรมชี้นำแนวทางชีวิตที่สงบ สร้างคุณค่าและคุณภาพในชีวิต ตลอดจนเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณี ซึ่งทั้งหมด
นี้จะตอบสนองปณิธานในอันจะเสริมสร้างให้ชาวมหาวิทยาลัยเป็นผู้สมบูรณ์พร้อมทั้งความรู้และคุณธรรม โดยได้เริ่มวางแผนกำหนดพื้นที่และก่อสร้าง
อาคารธรรมสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 เป็นต้นมา และสร้างอาคารสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2522


ถ้าทางจุฬาฯ ปรับปรุงพื้นที่ในปี ๒๕๒๕ ก็จะสอดคล้องกับการเปิดใช้อาคารสถาบันวิทยบริการมากกว่า คือการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบอาคารสถาบัน ที่จะเป็นงานต่อเนื่องหลังจากการก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 14:50

เมื่อคืนอ่านหนังสือ "ผมเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง" ของทันตแพทย์สม

ท่านเล่าว่าตอนเรียนโรงเรียนมัธยมหอวัง(ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่สนามศุภฯในปัจจุบัน
ตัวโรงเรียนเป็นวังเก่า คิดว่าน่าจะเป็น  วังชายทุ่ง  เพราะว่ามีอยู่แค่วังเดียว
แถวนั้น ประมาณกาลปี พศ. 247- กว่า) มีเวทีมวยนัดต่อยกันหลังเลิกเรียนถ้าผิดใจกัน
โดยต่อยกันแถวหลังโรงเรียนเป็นบริเวณ"ต้นไทรใหญ่" อาจจะเป็นต้นเดียวกับที่ลุงไก่ว่าไว้ก็ได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 19:06

เมื่อวานนี้ข้าพเจ้ามีบุญตาได้เห็นแผนที่ลงสีสวยงาม จำนวน ๒๐ กว่าระวาง ขนาด ๘๐ x ๖๐ ซม. "กรุงเทพพระมหานคร ๒๔๗๕" ระวางที่ ๑๒ เลยรีบมองหาศาลเทพรักษ์ ในแผนที่ไม่ได้ระบุไว้ แต่เหนือศาลเทพารักษ์เป็น "หอพักใหม่" ตามที่ได้วางตำแหน่งให้ชม และคลองได้แคบลงไปมาก หากได้แผนที่มาเมื่อไรก็สนุกเมื่อนั้น  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 21:16

เทเบี้ยหมดหน้าตัก ...



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 22:42

เทเบี้ยหมดหน้าตัก ...



กระเถิบไปอีกนิดคับ

ผมเปิดแผนที่ระวาง พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๕๕๐ เล่มโต ซึ่งได้เทียงเส้นรุ้ง เส้นแวงในทิศเดียวกันพบว่า "ศาลเทพารักษ์" ได้ถูกระบุในแผนที่ พ.ศ. ๒๔๕๐ เสียด้วย คงเป็นที่ขึ้นชื่อพอสมควร และเทียบกับตำแหน่งเดียวกันก็ตรงกับ บริเวณที่ทำจุดสีเขียวไว้ครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 16:10

ถ้าเป็นอย่างที่คุณหนุ่มสยามว่า ... ศาลเทพารักษ์ก็จะอยู่ในตำแหน่งบนถนนอย่างนี้

เพียงแต่ว่าถนนสายนี้มีมาก่อนการรื้อศาลเมื่อปี ๒๕๒๕ นี่นา?





บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 16:16

กาเอ๋ยกา บินมาบินไป มาเกาะต้นไทร แล้วโผไปต้นโพธิ์ ...

ผมไปพบต้นโพธิ์เข้าอีกต้นหนึ่งข้างสนามเปตองหน้าหอพัก (น่าจะเป็นหอพุดตาน) ฝั่งตรงข้ามกับต้นไทรแคระ

ลักษณะของรากโพธิ์ประหลาดดี มีรากอากาศด้วย ...




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 26 มิ.ย. 12, 16:26

กาเอ๋ยกา บินมาบินไป มาเกาะต้นไทร แล้วโผไปต้นโพธิ์ ...

ผมไปพบต้นโพธิ์เข้าอีกต้นหนึ่งข้างสนามเปตองหน้าหอพัก (น่าจะเป็นหอพุดตาน) ฝั่งตรงข้ามกับต้นไทรแคระ

ลักษณะของรากโพธิ์ประหลาดดี มีรากอากาศด้วย ...



มีรากอากาศแผ่สาขา แสดงว่าอยู่มานานแล้วใช่ไหมครับ เหมือนไทรงามที่หยั่งรากฝอย จนโตเป็นรากใหญ่ จะเห็นว่า "ศาลเทพารักษ์" มีปรากฏในแผนที่ทางราชการถึง ๓ ระวาง

๑. พ.ศ. ๒๔๕๐

๒. พ.ศ. ๒๔๕๓

๓. พ.ศ. ๒๔๗๕

แนวถนนคือคลองเก่า ถูกถมเป็นถนนตามกาลเวลา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 09:29

จบแล้วหรือ  กำลังสนุกเชียวค่ะ
รูปในค.ห. 52  เป็นไปได้ไหมว่าถนนที่เห็นในภาพคือถนนที่ขยายใหญ่จากถนนเส้นเดิม   ถนนในกรุงเทพขยายกันทั้งนั้นพัฒนาเป็นถนนคอนกรีต 
ของเดิมอาจเป็นแค่ทางเส้นแคบๆ  ตามแบบเส้นทางรุ่นเก่า     ศาลเทพารักษ์อยู่ตรงริมถนน ตามแผนที่   ต่อมาศาลถูกรื้อ ถนนถูกขยาย จึงเป็นอย่างที่เห็น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 10:06

จบแล้วหรือ  กำลังสนุกเชียวค่ะ
รูปในค.ห. 52  เป็นไปได้ไหมว่าถนนที่เห็นในภาพคือถนนที่ขยายใหญ่จากถนนเส้นเดิม   ถนนในกรุงเทพขยายกันทั้งนั้นพัฒนาเป็นถนนคอนกรีต 
ของเดิมอาจเป็นแค่ทางเส้นแคบๆ  ตามแบบเส้นทางรุ่นเก่า     ศาลเทพารักษ์อยู่ตรงริมถนน ตามแผนที่   ต่อมาศาลถูกรื้อ ถนนถูกขยาย จึงเป็นอย่างที่เห็น


ยังมีแผนที่ พ.ศ. ๒๔๗๕ อีกระวางหนึ่งที่ระบุไว้ว่าศาลเทพรักษ์ อยู่ใกล้กับอาคารใด ไว้จะนำมาให้ชมครับ  ยิงฟันยิ้ม

เส้นทางเล็ก ๆ ที่เห็นริมศาลเทพารักษ์ ดั้งเดิมเป็นเส้นทางของคลอง ที่บรรจบกัน ๓ สายครับ ในแผนที่ ๒๔๗๕ ยังคงไว้ซึ่งคลองดังกล่าว

ทำให้ผมนึกถึงบรรยากาศภาพนี้จังเลย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 10:17

คำว่าศาลเทพารักษ์ทำให้นึกถึงศาลแบบในรูปข้างบน ของคุณหนุ่มสยาม

แต่ถ้าเป็นศาลแบบพระไทรจริง   จะต้องใหญ่มากกว่าในรูป   และเป็นที่รู้จักแพร่หลายถึงกับต้องเขียนลงในแผนที่ไว้หลายฉบับ    ทำไมไม่มีหลักฐานร่องรอยหลงเหลือให้เห็น
ผิดกับศาลเจ้าจีน ที่มีหลักฐานอยู่ในหนังสือหลายเล่มว่าอยู่บริเวณนี้

ถ้าเทียบศาลไทยกับศาลจีน  ของจีนใหญ่กว่า  ขนาดคนเข้าไปเดินได้   ส่วนศาลไทยเล็กกว่านั้นมาก    ส่วนใหญ่เข้าไปไม่ได้
ศาลจีนย่อมเป็นถาวรวัตถุที่ผู้ทำแผนที่น่าจะเลือกมากกว่าศาลไทยนะคะ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 12:15

จบแล้วหรือ  กำลังสนุกเชียวค่ะ
รูปในค.ห. 52  เป็นไปได้ไหมว่าถนนที่เห็นในภาพคือถนนที่ขยายใหญ่จากถนนเส้นเดิม   ถนนในกรุงเทพขยายกันทั้งนั้นพัฒนาเป็นถนนคอนกรีต 
ของเดิมอาจเป็นแค่ทางเส้นแคบๆ  ตามแบบเส้นทางรุ่นเก่า     ศาลเทพารักษ์อยู่ตรงริมถนน ตามแผนที่   ต่อมาศาลถูกรื้อ ถนนถูกขยาย จึงเป็นอย่างที่เห็น


ลืมอาจารย์เทาชมพูไปได้ยังไงกันนี่ ต้องขออนุญาตสัมภาษณ์กันในกระทู้นี่แหละว่า สมัยที่อาจารย์ยังทั้งเรียนและทำงานที่เทวาลัย อาจารย์ข้ามฟากมาแวะเวียนแถวฝั่ง "บ้านนอก" บ้างหรือเปล่าครับ

เผื่อว่าอาจารย์อาจจะพอจำสภาพป่าหลังอาคารสำนักงานอธิการบดีได้บ้าง อาจจะนึกออกขึ้นมาบ้างก็ได้ ?

สมัยที่อาจารย์เรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมนั้น คลองริมถนนพญาไทยังมีอยู่หรือถูกถมไปเรียบร้อยแล้วครับ ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 12:29

1  เสียใจจริงๆค่ะคุณลุงไก่   ดิฉันเป็นเด็กเรียน แทบไม่เคยลงจากเทวาลัยไปไหนนอกจากโรงอาหารที่สโมสรอาจารย์ตรงมุมรั้วด้านถนนอังรีดูนังต์      ว่างก็เข้าห้องสมุดที่ตึกหอสมุดซึ่งเป็นตึกแฝดกับเทวาลัย   มองออกไปเห็นถนนอังรีดูนังต์มากกว่าถนนพญาไท
    เคยไปที่ตึกอธิการฯ  แต่ก็จำได้แค่ตัวตึก  ข้างหลังเป็นอะไรดูเหมือนจะไม่เคยผ่านตาเอาเลย  เพราะเส้นทางระหว่างบ้านกับจุฬาฯ ไม่ผ่านทางนี้
   พวกซีมะโด่งน่ะซีน่าจะคุ้นเคย  เพราะต้องผ่านทุกวัน
    
๒ สมัยเรียนร.ร.เตรียมอุดม ทางร.ร.เอาพวกเรียนสายศิลป์ทั้งหมดไปไว้ที่เรือนไม้ด้านถนนอังรีดูนังต์   เป็นร.ร.เตรียมอรชรแต่ดั้งเดิมซึ่งยุบเลิกกิจการไป    ก็เลยไม่คุ้นกับถนนพญาไท   นึกไม่ออกว่าทางนั้นมีคูคลองหรือเปล่า   ต้องถามนักเรียนเก่าสายวิทย์  พวกนี้เข้าทางประตูถนนพญาไท  ผ่านอุเทนถวายทุกวัน  
   แต่ถ้าถามถึงถนนอังรีฯ ละก็มีคูขนาบสองข้างเลยค่ะ  แต่เป็นคูแคบๆเรือผ่านไม่ได้  ตอนนั้นก็ไม่ได้ใช้ทำอะไรอีกแล้ว  เป็นเหมือนท่อระบายน้ำแบบเปิดเฉยๆ

ป.ล. รู้สึกผิดมากที่ตอบไม่ได้สักคำถามเดียว  เหมือนสอบตกวิชาความรู้รอบตัวเกี่ยวกับจุฬาฯสมัยเรียน ยังไงก็ไม่รู้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.248 วินาที กับ 20 คำสั่ง