เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 29559 ศาลเทพารักษ์ อยู่หนใด ?
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 12:46

ยังติดตามได้ไม่ค่อยจะทัน เพราะอ่านแผนที่ไม่เก่ง
จึงขอถามว่า ศาลเทพารักษ์ตั้งอยู่ในเขตสถานที่อะไรในยุคโน้น   อาจจะพอทำให้แกะรอยต่อไปได้ว่าเป็นเทพองค์ไหน จึงอัญเชิญมาประจำไว้ที่นั่น

^
คงไม่มีใครตอบได้หรอกครับ เรื่องมันนานจนผู้ที่ทราบจริงเสียชีวิตหมดแล้ว ที่ตอบๆกันอยู่นี่ก็เดาๆกันทั้งนั้น

ดูจากแผนที่ ก็เป็นศาลที่อยู่กลางทุ่งนา แบบที่ตามบ้านนอกทุกวันนี้ก็ยังพอหาดูได้อยู่ เอาไว้จุดธูปขอสารพัด ตั้งแต่เรืองพืชผลไปจนเรื่องหวย

ก็น่าค้นหาครับ เนื่องจากมีความสำคัญขนาดที่ลงในแผนที่  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 13:15

น่า...ท่าน NAVARAT.C  ก็เคยร่วมวงแกะรอยถนนหนทาง สถานที่ต่างๆที่หายากหาเย็นมาตั้งหลายกระทู้แล้วนะคะ  จะเว้นกระทู้นี้เชียวหรือ
ถ้ามาช่วยเดา   เผื่อเทพารักษ์ท่านจะดลใจคุณให้ค้นพบศาลของท่านบ้าง ใครจะไปรู้

เท่าที่อ่านมา ขอเดาล้วนๆดังนี้
๑  ศาลเทพารักษ์มีมาก่อนแผนที่ที่พิมพ์เมื่อพ.ศ. 2453  และยังยืนยงมาจนแผนที่พ.ศ. 2482   อย่างน้อยอายุศาลก็ 30 ปี
๒  เมืองขยายออกมาทางตะวันออก  ตัดถนน ตัดสะพาน  ขยายคลอง เชื่อมคลอง ฯลฯ ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5  จนรัชกาลที่ 8   แต่ศาลเทพารักษ์ยังอยู่คงเดิม  ไม่มีใครแตะต้อง ก็น่าจะเป็นที่นับถือกันในถิ่นนั้นพอสมควร
๓  ขอให้สังเกตคำว่า ศาลเทพารักษ์    ไม่ใช่ ศาลเจ้า  หรือ ศาลเพียงตา    ถ้าเป็นศาลเพียงตาคงผุพังสูญหายไปในเวลา 30 ปี  แต่ศาลนี้น่าจะใหญ่ (จนเป็นจุดสังเกตในแผนที่)  แข็งแรงคงทน หรือมีการบูรณะซ่อมแซม  จึงอยู่มาได้ตั้งหลายสิบปี
๔  ในพ.ศ. 2453  ศาลเทพารักษ์อาจอยู่กลางทุ่งนา  แต่ในพ.ศ. 2482  คงไม่เป็นทุ่งนาแล้ว  น่าจะมีสิ่งก่อสร้างอยู่ในพื้นที่นั้น  ไม่ของรัฐก็เอกชน    เดาว่าเป็นของรัฐ   เพราะถ้าที่ดินเป็นของเอกชน อาจจะไม่เก็บศาลเอาไว้ เนื่องจากต้องปลูกบ้านหรืออาคารร้านค้า
๕   เมื่อตรงกับธรรมสถานของจุฬา  ก็แปลว่าที่ดินตรงศาลเป็นพื้นที่ของจุฬา   รวมอยู่ในที่ดินพระราชทานของรัชกาลที่ 6  ที่ให้จุฬาฯเพื่อทำประโยชน์หรือเปล่า?
๖   ถ้าเป็นที่ดินของจุฬา  น่าจะมีเกร็ดอยู่ในประวัติของมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการปลูกสร้าง รื้อถอน  และก่อตั้งอาคารต่างๆ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 13:23

นำภาพสะพานอุเทนถวายมาให้ชมกันอีกครั้ง ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ รื้อถอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕


จากภาพนี้ ผมก็เพิ่งทราบว่ามีคลองอยู่ทางด้านอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์(เดิม)
แต่กลับไม่มีคลองด้านคณะิวิทยาศาสตร์
ก็สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแนวคลองหลวงเดิมที่สะพานอุเทนทร์ถวายทอดข้าม แต่แนวคลองด้านติดถนนพญาไทด้าในรั้วจุฬาฯ ถูกถมในภายหลัง
ตึกแดงของคณะิวิศวกรรมศาสตร์ยังมีเพียง ๒ ชั้น ไม่ใช่ ๓ ชั้น

ทางด้านซ้ายของภาพในรั้วโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มีอาคาร ๒ หลังให้เห็นอยู่ ...

เพิ่มเติม - ผมจำได้ว่าเคยอ่านพบว่าพื้นที่ทางด้านนี้เคยเป็นสวนผักของชาวจีนยุคที่ถูกเวนคืนพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในเพื่อสร้างพระบรมมหาราชวังสมัยรัชกาลที่ ๑ มาก่อน
จะเป็นไปได้หรือไม่่ว่าศาลเทพารักษ์นี้จะมีที่มาเริ่มต้นจากศาลเจ้าของชาวจีน เพราะมาสะดุดตาตรงคำว่าท้องที่อำเภอสำเพ็งในแผนที่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 13:51

ถามคุณ siamese ค่ะ

คำสันนิษฐานของคุณลุงไก่ทำให้นึกขึ้นมาได้     อยากทราบว่าในแผนที่กรุงเทพ ฉบับอื่นๆที่คุณ siamese มีอยู่    ระบุถึง "ศาลเทพารักษ์" ในอำเภอหรือตำบลไหนอีกบ้างหรือเปล่า      
ถ้าหากว่ามี  เป็นศาลของไทยหรือจีน
ชาวกรุงเทพสร้างศาลเทพารักษ์ไทยประจำไว้ตามเขตต่างๆในเมืองหลวงบ้างไหม  นอกเหนือจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นศาลเทพารักษ์ระดับชาติ
ส่วนศาลพระพรหมที่เอราวัณ สร้างหลังจากพ.ศ. 2482  มาก  ประมาณพ.ศ. 2500 ตามคำแนะนำของคุณหลวงสุวิชาณฯ  เห็นจะไม่เข้าเกณฑ์ธรรมเนียมสร้างศาลเทพารักษ์ในอดีต
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 14:41

จากภาพ แผนที่ วัดแคทางซ้าย ปัจจุบันเป็น  วัดดวงแข

หากเทียบตามแนวถนนเชื่อม วัดสามงาม(วัดสามง่าม) วัดตาแสง(วัดช่างแสง) และวัดปทุมแล้ว โรงฝึกข้าราชการพลเรือนที่เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมก็ควรจะเป็นสนามศุภชลาศัยในปัจจุบัน

ดังนั้น พื้นที่หยัก ที่เป็นโรงพักกองตะเวน และศาลเทพารักษ์ในภาพ ก็จะเป็นพื้นที่ของ  ตลาดสวนหลวง  ในปัจจุบัน ซึ่งกำลังก่อสร้าง (?)

ตรงตลาดสวนหลวงที่กำลังก่อสร้างนี้ เดิมมีศาลเจ้า ที่คนจีนเรียกว่า ศาลเจ้าปุนเท้ากง(สำเนียง ตจ.)

คนจีนแต้จิ๋วเรียกศาลเทพารักษ์ ว่า ปุนเท้ากง ความที่ก่อนหน้าการรื้อไล่ บริเวณนี้มีคนจีนอยู่มาก

ก็เป็นได้ว่าศาลเทพารักษ์ที่มีอยู่ก่อนหน้าที่คนจีนจะมาอยู่มาก ถูกสร้างขึ้นใหม่เป็นศาลเจ้าจีน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 17:05

หยิบหนังสือ "จุฬาฯ ปฏิเสธข้าพเจ้า" ของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ มาเปิดดูเล่นๆ แล้วก็พบข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นหา ศาลเทพารักษ์ ในบท "ทวนเข็มนาฬิกา ๒๕ ปี" หมายเหตุไว้ว่า ลงใน "ชุมนุมจุฬาฯ" ฉบับกันยายน ๐๙
ความตอนหนึ่งว่า " ... ทุกครั้งที่ฉันผ่านถนนนั้น (หมายถึงถนนพญาไท) ฉันจะต้องดู "หอใหม่" โรงเรียนฝาขัดแตะหลังคาจาก ปัจจุบันมันกลายเป็นอะไรไปฉันไม่รู้จัก ดูตรอกศาลเจ้าแป๊ะกงซัน ที่เคยเงียบและแคบราวกับซอยใดซอยหนึ่งในชนบท ดูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาของฉันที่ยังทรงสภาพเดิมอยู่ได้อย่างวางใจ ..."
คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ เอ่ยถึง "ตรอกศาลเจ้าแป๊ะกงซัน" บนถนนพญาไท

ตามหา "ศาลเจ้าแป๊ะกงซัน" จากอากู๋ กูเกิ้ล ไปพบกระทู้ในวิชาการ.คอม เรื่อง "ประวัติวังสระปทุม" ของคุณตะวันใหม่ ความเห็นหนึ่ง ดังนี้
"ตะวันใหม่:
 เรียนคุณเทาชมพู
ได้มีโอกาสคุยกับคุณพ่อตอนเย็น คุณพ่อบอกว่าเจ้าจอมท่านนี้มักจะขอตามเสด็จมาวัดสระปทุมเสมอ เพื่อจะได้มาพบเจอญาติพี่น้องที่อยู่บริเวณนั้น ท่านจะพักที่เรือนไม้ข้างวัดที่รัชกาลที่ 4 ท่านทรงสร้างไว้สำหรับเป็นที่ประทับเวลาที่เสด็จมาที่วัดสระปทุม ตอนนั้นดูเหมือนยังไม่เรียกเป็นวังสระปทุม และขุนพัดพ่อของเจ้าจอมก็ได้รับพระราชทานที่ดินอยู่บริเวณใกล้ศาลเจ้าแป๊ะกงซัน ที่ทำสวนดอกไม้ แถวหอพักชายเก่า ไม่แน่ใจว่าท่านถวายคืนหรือโดนเวนคืน ..."

บริเวณใกล้ศาลเจ้าแป๊ะกงซัน ที่ทำสวนดอกไม้ แถวหอพักชายเก่า - "หอพักชายเก่า" จะเป็น "หอใหม่" ที่คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์กล่าวถึงหรือไม่?

ข้อพิจารณาคือ ศาลเทพารักษ์ ที่เรากำลังช่วยกันตามหานี้ จะเป็น "ศาลเจ้าแป๊ะกงซัน" หรือเปล่า?


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 17:15

ถามคุณ siamese ค่ะ

คำสันนิษฐานของคุณลุงไก่ทำให้นึกขึ้นมาได้     อยากทราบว่าในแผนที่กรุงเทพ ฉบับอื่นๆที่คุณ siamese มีอยู่    ระบุถึง "ศาลเทพารักษ์" ในอำเภอหรือตำบลไหนอีกบ้างหรือเปล่า      
ถ้าหากว่ามี  เป็นศาลของไทยหรือจีน
ชาวกรุงเทพสร้างศาลเทพารักษ์ไทยประจำไว้ตามเขตต่างๆในเมืองหลวงบ้างไหม  นอกเหนือจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นศาลเทพารักษ์ระดับชาติ
ส่วนศาลพระพรหมที่เอราวัณ สร้างหลังจากพ.ศ. 2482  มาก  ประมาณพ.ศ. 2500 ตามคำแนะนำของคุณหลวงสุวิชาณฯ  เห็นจะไม่เข้าเกณฑ์ธรรมเนียมสร้างศาลเทพารักษ์ในอดีต

ศาลท้าวมหาพรหม สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ห่างไกลมาก

สำหรับในแผนที่สำรวจแล้วพบว่า ศาลหลักเมือง ท่านเรียกว่า "ศาลพระสยามเทวาธิราช" และศาลเจ้าจีนต่าง ๆ จะเรียกชื่อ "ศาลเจ้ากวางตุ้ง" "ศาลเจ้าอาเหนียว" บอกชื่อชัดเจน สำหรับกะดีแขก ก็เรียก "กะฎิเจ้าเซ็น" ไม่มีที่ใดที่มีศาลเทพารักษ์อีกครับ

ลงภาพเพื่อสร้างบรรยากาศ .... อิอิ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 21:15

ได้เรื่องแล้วครับ

คือไม่ว่าแผนที่ฉบับไหน ผมเทียบกับกูเกิลเอร์ธแล้ว ตำแหน่งศาลที่ว่าก็ไม่พ้นรั้วจุฬาไปได้

นึกถึงเพื่อนร่วมรุ่นสถาปัตย์คนหนึ่งได้ เขาจบแล้วก็ไปทำงานกับแผนกอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยอยู่ประมาณสักยี่สิบปีมั้ง ก่อนจะเปลี่ยนงาน จึงโทรไปถามว่าสมัยที่เขายังทำงานอยู่จุฬา  เคยทราบเรื่องศาลเจ้าที่อยู่ทางฝั่งสำนักอธิการบดีหรือไม่ เขาตอบว่าทราบ มีอยู่แห่งหนึ่ง เป็นศาลเก่าแก่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ห้าแล้ว อยู่ทางหอพักนิสิตชายติดๆกับธรรมสถานเดี๋ยวนี้  ซื่อศาลแป๊ะกงซัน

ประมาณปี๒๕๒๕ ทางจุฬาต้องการปรับปรุงพื้นที่ซึ่งตอนนั้นเสื่อมโทรมมาก จึงทำพิธีอัญเชิญเจ้าไปอยู่ที่อื่น แล้วรื้อศาลเก่าทิ้งไปไม่เหลือร่องรอยอะไรเลย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 21:39

^
ขอบคุณมาก ครับ อยากจะให้สักพันกิ๊ฟ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เมื่อได้แล้วว่าเป็น "ศาลเจ้าแป๊ะกงซัน"  ก็เกิดคำถามหลายอย่างขึ้นมาเช่น ศาลแปะกงซัน เป็นเทพอะไร, ทำไมมาตั้งกลางทุ่งเช่นนี้ ผูกพันกับคนจีน  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 22:51

มาให้กิ๊ฟคุณลุงไก่ด้วยค่ะ

น่า...ท่าน NAVARAT.C  ก็เคยร่วมวงแกะรอยถนนหนทาง สถานที่ต่างๆที่หายากหาเย็นมาตั้งหลายกระทู้แล้วนะคะ  จะเว้นกระทู้นี้เชียวหรือ
ถ้ามาช่วยเดา   เผื่อเทพารักษ์ท่านจะดลใจคุณให้ค้นพบศาลของท่านบ้าง ใครจะไปรู้

ว่าแล้ว...


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 มิ.ย. 12, 02:54

^
เมื่อได้แล้วว่าเป็น "ศาลเจ้าแป๊ะกงซัน"  ก็เกิดคำถามหลายอย่างขึ้นมาเช่น ศาลแปะกงซัน เป็นเทพอะไร, ทำไมมาตั้งกลางทุ่งเช่นนี้ ผูกพันกับคนจีน  ฮืม

ในเว็บเรือนไทย มีผู้รู้วัฒนธรรมจีนอยู่หลายท่าน  เมื่อผ่านเรื่องยากที่สุดคือช่วยกันหาศาลเทพารักษ์มาได้แล้ว  คำถามว่าแป๊ะกงซันเป็นใคร คงหาคำตอบได้ไม่ยากละค่ะ
ขอถอยไปนั่งดูข้างเวที
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 มิ.ย. 12, 13:07

แปลกที่ทางการเรียกศาลเจ้าแป๊ะกงซันว่า "ศาลเทพารักษ์" แทนที่จะเรียกว่า ศาลเจ้าจีน หรือศาลเจ้า+ชื่อ  อย่างศาลเจ้าพ่อเสือ
หรือว่าเป็นที่รู้กันในสมัยโน้นว่า แป๊ะกงซัน คือ "เทพารักษ์"  เทพผู้อารักขาท้องถิ่นตรงนั้น

คำว่าศาลเทพารักษ์ทำให้ดิฉันเข้ารกเข้าพงไปไกล  ไม่นึกว่าเป็นศาลเจ้าจีน    นึกว่าเป็นศาลพระไทร หรือเจ้าพ่อมะขามอะไรพวกนั้น
หรือไม่ก็ศาลพระภูมิขนาดใหญ่ของสถานีตำรวจพลตระเวณ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 มิ.ย. 12, 13:36

เป็นไปได้ไหมว่า ดั้งเดิมเป็นที่สถิตย์แห่งศาลเทพารักษ์แบบไทย ๆ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยแถวนี้ ไม่ว่าจะแถวสะพานเหลือง แถวสวนหลวง เป็นย่านชุมชนจีน เข้ามาตั้งในพื้นที่มากขึ้น เจ้าที่เจ้าทางอาจจะมีการตั้งสถิตย์ของแปะกง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 มิ.ย. 12, 13:58

ก่อนคนจีนเข้ามาอยู่   พื้นที่ที่เป็นท้องไร่ท้องนาก็คือคนไทยอยู่มาก่อน   ศาลเล็กๆของเจ้าที่เจ้าทางน่าจะมีให้เห็นบ้าง ตามความเชื่อพื้นบ้าน   แต่พวกนี้ไม่ใช่ถาวรวัตถุ   เป็นศาลไม้เล็กๆที่ผุพังไปได้ตามเวลา
ในแผนที่แผ่นแรกที่คุณหนุ่มสยามนำมาถาม    ศาลเทพารักษ์ที่มีชื่ออยู่ในแผนที่น่าจะเป็นถาวรวัตถุขนาดใหญ่  เป็นที่รู้จักของชาวบ้านอย่างแพร่หลาย    คนทำแผนที่ถึงใส่ตำแหน่งลงไปในแผนที่ด้วย     

ถ้าศาลดังกล่าวเป็นศาลเจ้าพ่อไทย  ชาวบ้านคงไม่ยอมหลีกทางให้ศาลแห่งใหม่ง่ายๆ ละมังคะ   
จึงสรุปว่าศาลเทพารักษ์ระดับบิ๊ก น่าจะเป็นศาลแป๊ะกงซันมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5   
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 18 มิ.ย. 12, 21:07

ภาพแป๊ะกง (ฮกเต๊กเจี่ยสิน) จากเวป http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/2/0055-1.html

แต่จะมีรูปแบบเดียวกับที่ศาลเทพารักษ์ที่จุฬาฯ หรือไม่ คงต้องหาข้อมูลกันต่อไป

เวปนี้มีภาพเทพเจ้าของจีนหลายๆ องค์ แสดงอยู่

ระวังหน่อยนะครับ เวปนี้มีไวรัส Hacked Trojan แฝงอยู่ด้วย

ประัวัติแป๊ะกง

จางหมิงเต๋อ เป็นคนในสมัยราชวงศ์โจว เป็นคนรับใช้ของขุนนางคนหนึ่ง เนื่องจากตอนนั้นบ้านเมืองเกิดความไม่สงบ ลูกคนเล็กของขุนนางอยากจะไปหาบิดา
คนใช้ผู้นี้จึงแบกเด็กน้อยไว้บนหลังเพื่อพาไปพบบิดา แต่เนื่องจากหนทางไกลระหว่างทางหิมะตกหนัก คนใช้เกรงนายน้อยจะหนาว จึงถอดเสื้อผ้าของตนนำไปห่มให้นายน้อยของตน
จนตัวเองกลับต้องหนาวตาย หลังจากคนใช้ผู้ชื่อสัตย์ตายแล้ว สวรรค์เบื้องบนได้ปูนบำเหน็จให้เป็นเจ้าพระภูมิ (แป๊ะกง)


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง