เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 08:29
|
|
ตามประวัติ บอกว่าโรงเรียนแม่ชีนั้นล้มเลิกกิจการไปนานแล้ว อาคารทั้งหลายรวมทั้งวิหารก็ต้องเปลี่ยนมือนำออกขาย ปัจจุบันไม่ทราบว่าใครซื้อไป อาจจะเทศบาลหรือองค์การอะไรสักแห่ง แต่ยังดำเนินการ มีรายได้กันเป็นล่ำเป็นสัน เห็นได้จากสภาพวิหารที่ได้รับการทะนุบำรุงอย่างดี รายได้อย่างหนึ่งของวิหารลอเร็ตโต้ คือเป็นสถานที่จัดงานวิวาห์ค่ะ
เมื่อไปถึง วิหารปิด ห้ามคนนอกเข้า นักท่องเที่ยวที่ตั้งใจจะมาดูบันไดนั่งรอกันอยู่เป็นแถว ใกล้ๆกันนั้น ถามเจ้าหน้าที่สาวแถวนั้นได้ความว่ากำลังจะประกอบพิธีสมรส ต้องรออีกประมาณหนึ่งชั่วโมงกว่าเขาจะจัดงานเสร็จ เปิดทางให้นักท่องเที่ยวเข้าไปได้
ตกลง รอก็รอ ทำไงได้
ถ่ายรูปหน้าวิหารมาได้นิดหน่อย โดยไม่มีใครห้าม รูปแรก สาวๆในชุดสีม่วงเข้มคือบรรดาเพื่อนเจ้าสาว มาจัดแถวกันอยู่หน้าประตู ก่อนจะเดินเข้าไปภายใน เหมือนฉากแต่งงานในหนัง รูปที่สองคือเจ้าสาว มากับพ่อของเธอ ผู้ทำหน้าที่ส่งตัว ส่วนเจ้าบ่าวเข้าไปยืนคอยอยู่ในวิหารแล้ว รูปที่สาม ก็คือผู้จัดงานวิวาห์ ( wedding planner ) ผู้หญิงที่สวมชุดดำ กำลังจัดชายเสื้อวิวาห์ของเจ้าสาวให้ออกมาสวย ก่อนเดินเข้าไปข้างใน
เจ้าบ่าวเจ้าสาว เป็นคาทอลิค ดูหน้าตาแล้วน่าจะมีเชื้อสายเมกซิกัน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 08:34
|
|
อันนี้เป็นข้อสงสัยส่วนตัว
เคยเห็นการก่อสร้างของจีนที่มีการสร้างโดมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "เทียนฮัว" (天花:tian hua) อันแปลว่าดอกไม้สวรรค์ คือการทำค้ำยันหูช้างรอบๆสูงไปเรื่อยๆจนจรดเพดาน ทำให้กลายเป็นโดม ไมใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว วิธีการทำเช่นนี้เรียกว่า "จ่าวจิง" (藻井:zao jing) แปลตรงตัวเลยว่า "บ่อสาหร่าย" เห็นว่าตอนทำจะเอาไม้ไผ่มาทำโครงรองรับน้ำหนักก่อน พอสร้างเสร็จค่อยรื้อ รื้อแล้วก็ไม่ต้องกลัวเพราะโครงสร้างอาคารจะรับน้ำหนักกันเอง
เป็นไปได้หรือเปล่าหนอที่ช่างผู้สร้างจะสร้างโครงไม้ค้ำยันก่อนขณะสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็รื้อออกไป
ภาพตัวอย่างเทียนฮัว และจ่าวจิง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 12:15
|
|
บันไดเวียนที่มีชื่อเสียง ๑๐ อันดับ บันไดเวียนแห่งซานตา เฟ ก็รวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย http://www.oddee.com/item_96882.aspx
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 12:35
|
|
เคยเห็นบันไดเวียนลักษณะคล้าย ๆ กันนี้ในโบสถ์นอตเตรอดาม Notre-Dame ที่ มอนทรีออล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 12:39
|
|
พิจารณาดูให้ดี บันไดนี้น่าจะติดอันดับโลก แต่ถึงจะไม่ติดอันดับ ภาพบันไดชัด ๆ หาจากอินทรเนตร  แต่ภายโบสถ์สวยงามมาก น่าจะติดอันดับ ๑ ใน ๑๐ ของโลก 
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 22:41
|
|
ผมกลับมาทำการบ้านและพบว่าควรจะใช้เวลามากว่าที่บอกไว้
ตำนานพื้นบ้านของมะกันซานตาเฟก็ไม่ต่างกว่าคนไทยเท่าไหร่ ในเรื่องชอบยกเมฆความอัศจรรย์เหลือเชื่อเพื่อ”สร้างค่า”ของดีคู่บ้านคู่เมืองของตน ทั้งๆที่มันมีค่าด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่ก็ไม่รู้จักพอ
บันไดเวียนแห่งวิหารลอเร็ตโตแม้จะเป็นชิ้นงานเล็กๆ ก็มีความมหัศจรรย์งานสร้างที่น่าทึ่งดังที่ผมให้ความเห็นไปแล้ว แต่ตำนานที่เจ้าของหรือแม่ชีที่นั่นก็ไม่รู้ได้ แต่งแต้มเติมสีเข้าไปขนาดว่า อาจเป็นนักบุญโยเชฟเองที่แปลงร่างมาสร้างบันไดนี้เข้าไปให้นั่น แล้วก็มีคนอเมริกันเชื่อกันมากเสียด้วย ผมสงสัยว่าจะไม่มีใครเลยที่ไม่เชื่อตำนานดังกล่าว และค้นหาความจริงมาแย้งบ้างเชียวหรือ เข้าไปหาโดยกูเกิ้ลไม่นานก็ได้ความครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 22:53
|
|
ผู้เขียนคือ Mary Jean Straw Cook ซึ่งต่อไปผมจะเรียกว่านางคุก ระบุว่า ช่างไม้ระดับเทพที่เป็นผู้สร้างบันไดแห่งวิหารลอเร็ตโตเป็นชาวฝรั่งเศสชื่อฟรังซัวร์ ซอง โคชาต์ร( Francois-Jean Rochas) ซึ่งอพยพมาจากประเทศฝรั่งเศสในปี๑๘๘๐และมาที่ซานตาเฟประมาณเวลาเดียวกับที่บันไดวิหารได้ถูกสร้างขึ้น มีพยานหลักฐานที่เชื่อมโยงโคชาต์รกับผู้รับเหมาก่อสร้างวิหารลอเร็ตโตซึ่งเป็นคนฝรั่งเศสด้วยกัน นางคุกเขียนว่าตนเองเป็นผู้เจอบาญชีมรณะบัตรปี๑๘๙๕ของรัฐนิวแมกซิโกระบุผู้ตายคนหนึ่ง ชื่อนายโคชาต์ร -ช่างไม้ที่สร้างบันไดอันแสนเท่ห์ของวิหารลอเร็ตโต
ความจริงในเรื่องช่างผู้สร้างบันไดนี้เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ชาวซานตาเฟในยุคเมื่อร้อยกว่าปีก่อน แต่ก็ค่อยๆเลือนไปเมื่อคนเหล่านั้นตายไปแล้ว ชื่อของโคชาต์รก็ถูกลืมไปด้วย จนสิ้นไปจากความทรงจำ ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์จึงถูกบิดเบือนด้วยตำนานที่มีสีสันกว่าด้วยวาจาของพวกขี้โม้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 22:54
|
|
สำหรับความลึกลับในเรื่องไม้ที่นำมาก่อสร้างบันไดก็เช่นกัน ที่บอกว่ามหัศจรรย์ยิ่งเพราะไม่ใช่ไม้ที่มีในท้องถิ่นที่นั่นนั้น ก็ใช่นั่นแหละ นางคุกบอกว่าบันไดถูกนำมาเป็นชิ้นๆจากฝรั่งเศสทั้งหมด ผู้รับเหมาชาวฝรั่งเศสได้สั่งทำบันไดนี้จากเมืองแม่ เมื่อแล้วเสร็จทางโน้นก็จัดส่งมาพร้อมกับช่างไม้มือหนึ่ง มาประกอบให้ถึงในอเมริกา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 23:01
|
|
ผมขอมาต่อพรุ่งนี้นะครับ คืนนี้ง่วงแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 23:10
|
|
มารออ่านตอนต่อไปค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 01:10
|
|
ความจริงนี่แม้จะเป็นเหตุเป็นผล แต่มันช่างเจ็บปวดจริงแฮะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 05:27
|
|
คุณประกอบอย่าเพิ่งผิดหวัง ถึงท่านอาจารย์ NAVARAT.C มาไขความจริงให้พวกเราสะดุ้งตื่นกันขึ้นมา ดิฉันก็ยังพอจะลากยาว ให้อ่านเรื่องบันไดต่อไปได้อีกสัก 10 ค.ห. ค่ะ หลังจากไปตามหานางคุก ไล่ตามหลัง "ท่านอาจารย์ใหญ่กว่า"ไปแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 07:04
|
|
ต่อครับต่อ
นายทิม คาร์เตอร์ช่างใหญ่ชาวอเมริกันนายหนึ่งตอบผู้อ่านในวอชิงตันโพสต์คอลัมน์ Ask the Builder ว่า บันไดเวียนแห่งวิหารลอเร็ตโตจะถือเป็นงานระดับยอดฝีมือก็ใช่อยู่ แต่ถ้าเทียบกับงานไม้ชิ้นเอกของโลกบรรดามีในประเทศต่างๆซึ่งสร้างในยุคเดียวกันแล้ว ก็ไม่ถือว่างานชิ้นนี้จะมหัศจรรย์สุดยอดอะไร
การที่เจ้าของวิหารลอเร็ตโตโฆษณาในเวปของตนว่า บันไดนี้เป็นผลงานของสถาปนิก(s) วิศวกร(s) และช่างไม้ฝีมือชั้นครู(s) มาระดมสมองกันทำเป็นบันไดเวียนรอบตัว๓๖๐องศาถึงสองรอบ สูงถึง๒๐ฟุตโดยไม่มีเสากลาง เพียงวางบนพื้นแล้วพิงน้ำหนักไว้กับชั้นลอยเท่านั้น ขั้นบันไดทั้ง๓๓ขั้นก็สูงเท่ากันหมด ทำขึ้นจากไม้ที่สูญพันธ์ไปแล้วและประกอบให้เข้ากันโดยใช้สลักไม้ ปราศจากตะปูหรือกาวทั้งสิ้น
นายช่างคาเตอร์ให้ทรรศนะว่าหมอนี่คงไม่ค่อยได้คุยกับสถาปนิก วิศวกร หรือช่างไม้เก่งๆสักเท่าไหร่ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะมาโม้ว่า ที่บันไดมั่นคงอยู่ได้นั้นเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งอัศจรรย์ แต่มันแข็งแรงของมันเพราะทำตามกฎทางพิสิกซ์เช่นเดียวกับบันไดบ้านทั่วไปทั้งหลายนั่นเอง ผมว่าตาเจ้าของนี่คงรู้อยู่ แต่เป็นการทำมาร์เก๊ตติ้งแบบสมภารวัดบ้านนอกทางบ้านเรา เพื่อเรียกคนไปตีตั๋วแล้วควักกระเป๋าทำบุญให้วิหารของเขาอย่างเป็นกอบเป็นกำเท่านั้น
นายคาเตอร์อธิบายยืดยาว ซึ่งผมจะย่อสั้นๆว่าเราคงจะรู้จักบันไดที่มีคานประกบด้านข้าง และมีกระดานยึดเป็นขั้นๆสำหรับก้าวเดินขึ้นหรือลงอยู่แล้วนะครับ คานที่รับน้ำหนักของตัวบันไดนี้ภาษาช่างเรียกว่า”แม่บันได” ปกติช่างก็วางแม่บันไดตั้งไว้กับพื้น ชั้นล่างให้เอียงลาดไปที่พื้นชั้นบน ถ้ามีมือยักษ์ๆจับบันไดชุดนี้บิดเป็นเกลียวให้พอดี๑รอบ หรือ๒รอบ๓รอบก็ตาม เอาวางไว้ตามตำแหน่งเดิม มันก็จะอยู่ได้เช่นเดียวกับบันไดที่แม่บันไดตรงๆซื่อๆเช่นกัน ฝรั่งมีศัพท์ที่เรียกเกลียวแบบหอยโข่งนี้ว่าHelix จึงมีบางคนเรียกบันไดวิหารนี้ว่า"Helix to Heaven" หรือบันไดเกลียวสู่สวรรค์(ชั้นเล่าเต้ง)
เอ้าครับ..เบรคดูHelixสักครู่ รูปทรงนี้มีทั้งที่ธรรมชาติสร้างและมนุษย์สร้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 07:17
|
|
บันไดเวียนที่ทำจากไม้ส่วนมาก จะไม่ใช้วิธียากและแพงมหาศาลเช่นนั้น แต่จะทำเสากลางขึ้นมารับน้ำหนักของแม่บันไดและลูกบันได เสากลางนี่ฝรั่งเรียก Newel (ผมก็เพิ่งจะรู้ในคราวนี้เหมือนกัน ปกติก็เรียกเสากลางตรงๆนี่แหละ)
ครั้นมีเหล็กมาให้เลือกใช้ได้ ความยืดหยุ่นของเหล็กที่มีมากกว่าไม้ ทำให้สามารถมาดัดเป็นรูปทรงเกลียวให้ลงตัวพอดีได้ง่ายกว่า ซึ่งแปลว่าถูกสตางค์กว่าการทำด้วยไม้เนื่อแข็งด้วย พอแม่บันไดหมุนลงตัวดังว่า ก็แบ่งขั้นเอาลูกบันไดติดเข้าไปได้ไม่ยาก แล้วจึงเอาบันไดเวียนนั้นไปติดตั้งเชื่อมโยงพื้นทั้งสองระดับได้ โดยไม่ต้องมีเสากลาง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 07:47
|
|
ผมแอบเห็นรูปที่ท่านอาจารย์เทาชมพูถ่ายมาประกอบเรื่องรูปหนึ่ง สะดุดตาที่แท่งไม้ตัวเบ่อเร่อวางตั้งอยู่กับพื้นขึ้นไปรับแม่บันไดที่เวียนลงมา ดูเหมือนเสาเลยทีเดียว พยายามจะหารูปในเวปดูให้ชัดๆกว่านี้ก็หาไม่พบ เข้าใจว่าฝรั่งคงจะช่วยกันปิดจุดอ่อนของงานออกแบบนี้
คือผมดูแบบช่างนะครับ ถ้าจะเนียนจริงๆแม่บันใดจะต้องคงขนาดและรูปทรงเดิมจากหัวจรดท้าย คือจากพื้นชั้นบนมาสู่พื้นชั้นล่างโดยไม่ถ่ายน้ำหนักลงโครงสร้างตัวอื่น เช่นเสาทรงมนๆตัวนี้
แต่ไม่ใช่ว่าช่างไม่เก่งนะครับ เขาเก่ง และทราบว่าถ้าจะฝากน้ำหนักไว้ที่แม่บันไดอย่างเดียวจะเสี่ยงเกินไป เพราะอย่าลืมว่าแม่บันไดก็ทำจากไม้หลายๆชิ้น มายึดต่อกันด้วยสลัก เมื่อไรคนเดินขึ้นไปพร้อมๆกันมากก็อาจจะประลัยได้ เพราะไม่ได้เป็นไม้เนื้อเดียวกันทั้งท่อนที่จะมั่นคงแข็งแรงกว่า จึงปลอดภัยกว่าถ้าจะออกแบบเสามาถ่ายน้ำหนักไปก่อนที่แม่บันไดจะยันกับพื้น เสานี้ดูทางด้านหน้าจะกลมกลืนไม่สะดุดตา แต่ถ้ามองทางมุมที่ท่านอาจารย์เทาชมพูยืนถ่ายรูปนี้มา คนที่จ้องจับผิด(เช่นผม)ก็หาจุดตำหนิเขาได้ทั้งๆที่ตนเองไม่ได้เศษเสี้ยวของเค้า ว่านี่เล่นตั้งเสาขึ้นไปรับแม่บันไดชัดๆ ไม่ใช่รูปทรงHelixบริสุทธิ์นี่หว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|