เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 18883 บันไดมหัศจรรย์แห่งซานตา เฟ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 12 มิ.ย. 12, 14:46

ซานตา เฟเป็นเมืองเล็กๆในรัฐนิวเมกซิโก    บ้านช่องร้านรวงต่างๆก็เป็นแบบเมกซิกัน  คล้ายๆกับเมืองเทา แต่ว่าขยายใหญ่กว่า
เป็นเมืองท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเดินแทบชนกัน  ตามถนนหนทาง   
ทุกคนที่มาที่นี่ตั้งใจจะไปดู "บันไดมหัศจรรย์" ของเมืองนี้ค่ะ
มหัศจรรย์ยังไง  เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง

รูปซ้าย เป็นภาพถ่ายของบันได ในลักษณะดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้าง    รูปขวาเป็นบันไดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน คือเพิ่มราวบันไดเข้าไป 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 มิ.ย. 12, 22:04

สถานที่ในรูปข้างบนนี้คือ Loretto Chapel  คงจะแปลเป็นไทยว่าวิหารลอเร็ตโต   (ส่วน church = โบสถ์)  ตำนานย้อนกลับไปถึงค.ศ. 1853  เมื่อมีคณะแม่ชีของคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิค มาตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นที่ซานตา เฟ    มีนักเรียนราว 300 คน ซึ่งก็ถือว่าใหญ่เอาการในสมัยนั้น  วิหารน้อยหลังนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน  สร้างเสร็จเมื่อปี 1878

เมื่อช่างก่อสร้างสร้างวิหารเสร็จ    ออกแบบยังไงก็ไม่ทราบ  ทั้งๆข้างในก็สวยงามดี   แต่ปรากฎว่าระเบียงชั้นบนกับชั้นล่างของวิหารกลับไม่มีทางเชื่อมให้ขึ้นลงถึงกันได้    มีทางเดียวคือต้องสร้างบันไดขึ้นลง   ทางคณะชีก็เรียกช่างไม้มาทำบันได 
แต่ไม่ว่ารายไหนมาเห็นก็ส่ายหน้า   บอกว่าไม่ว่าจะสร้างบันไดแบบ ladder หรือ staircase  มันก็ทำไม่ได้ทั้งนั้น   เพราะที่ว่างสำหรับจะสร้างบันไดตรงนั้น มีไม่กว้างพอ

บันได 2 อย่างนี้ต่างกันยังไง
ladder คือบันไดแบบพาด  อย่างที่ช่างทาสีใช้กัน
staircase  คือบันไดเป็นขั้นๆ ก้าวเหยียบขึ้นไปตามขั้น  อย่างบันไดตามบ้าน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 มิ.ย. 12, 22:28

ตำนานเล่าต่อไปว่า เมื่อมาเจออุปสรรคเข้าโดยไม่คาดฝัน   คณะแม่ชีก็มีทางออกทางเดียวคือหันเข้าสวดมนตร์อ้อนวอนขอความช่วยเหลือนักบุญโจเซฟ ผู้เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของช่างไม้   หลังจากสวดมนตร์อยู่ 9 วัน คำตอบก็มาถึงในร่างของช่างไม้แปลกหน้าคนหนึ่ง  จูงลาบรรทุกแผ่นไม้มาที่หน้าโบสถ์ พร้อมด้วยหีบเครื่องมือ   แล้วอาสาทำบันไดให้เสร็จ
ตำนานยังให้รายละเอียดต่อไปว่า ช่างไม้คนนั้นทำงานคนเดียว    และทำเฉพาะเวลากลางคืนเมื่อแม่ชีทั้งหลายไม่เข้ามาในโบสถ์อีกแล้ว     หลังจากทำงานอยู่ 2 เดือน บันไดมหัศจรรย์แห่งนี้ก็เสร็จเรียบร้อย  สามารถแก้ปัญหาที่ช่างไม้อื่นๆทำไม่ได้ โดยทำเป็นบันไดเวียนซึ่งกินเนื้อที่นิดเดียว  เชื่อมเส้นทางจากชั้นบนและชั้นล่างได้อย่างสมบูรณ์

ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ เมื่อทำงานเสร็จ   ช่างไม้ก็หายตัวไปโดยไม่รับค่าจ้าง  ไม่มีแม้แต่จะรอฟังคำขอบคุณ    จนป่านนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นใครมาจากไหน

ความมหัศจรรย์ของบันไดมีอีกหลายอย่าง  จะค่อยๆเล่าต่อไปค่ะ

คณะแม่ชีเชื่อว่านี่คือปาฏิหาริย์จากสวรรค์    ช่างไม้ลึกลับคนนั้นคงไม่ใช่ใครอื่นนอกจากนักบุญโจเซฟ หรือที่ไทยเรียกว่า เซนต์โยเซฟ หรือเซนต์ยอแซฟ      ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลเล่าว่า ท่านเป็นบิดาบุญธรรมของพระเยซูคริสต์    
คริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิคเชื่อว่า พระนางมารีอา หรือแมรี่มารดาของพระเยซูให้กำเนิดบุตรโดยยังเป็นพรหมจารี มิได้เกี่ยวข้องกับชายใด รวมทั้งช่างไม้โจเซฟผู้เป็นคู่หมั้น   แต่ได้รับจากพระเจ้า     จึงมีชื่อเรียกว่า The Virgin Mary
ส่วนนักบุญโจเซฟนั้นก็รับเป็นผู้ดูแลทั้งแม่และลูกมาด้วยดี    สัญลักษณ์ของนักบุญผู้นี้ที่ปรากฏในพระคัมภีร์ก็คือมีลาเป็นพาหนะ  และยึดอาชีพช่างไม้    จึงได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์ช่างไม้ทั้งหลาย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 12 มิ.ย. 12, 22:42

จากนี้ก็ถึงตอนสำคัญ

บันไดที่ช่างไม้ลึกลับคนนั้นสร้างขึ้นมาเป็นบันไดที่ออกแบบได้มหัศจรรย์มาก  คือเป็นบันไดเวียนมีความโค้ง 360 องศา    ไม้ที่สร้างเป็นไม้ที่เจ้าตัวบรรทุกหลังลามาเอง   หาไม่ได้จากร้านค้าไม้ในถิ่นนั้น  เป็นไม้อะไรไม่ทราบแต่หนาและแข็งแรงมาก   

วิธีออกแบบก็น่าทึ่งมาก  นอกจากสามารถดัดแผ่นไม้ให้โค้งได้สวยงามแล้ว   ยังเป็นบันไดเวียนที่ไม่มีแกนกลาง หรือเสายึด( ต้องถามท่่านสถาปนิกใหญ่ในเรือนไทยว่า คำนี้เขาเรียกว่าอะไร)  คือเหมือนบันไดมันลอยขึ้นไปเฉยๆจากพื้น    บันไดทุกขั้นไม่มีตะปูยึดเลยจนตัวเดียว  มีแต่ลิ่มไม้ตอกยึดเข้าไว้ด้วยกันในแต่ละขั้น
ดิฉันอ่านคำอธิบายจากอินทรเนตรแล้วก็ยุ่งยากพอสมควร   เพราะไม่มีความรู้เรื่องก่อสร้าง    เห็นจะต้องพึ่งสถาปนิกหรือวิศวกรโยธาให้มาช่วยคลี่คลายอีกที

เอาเป็นว่า...เขาว่ากันว่าบันไดนี้สร้างให้รับน้ำหนักได้ด้วยการออกแบบอันมหัศจรรย์ ให้ขั้นบันไดยึดกันเองอยู่กับที่   และคำนวณน้ำหนักคนที่ก้าวขึ้นไปแต่ละขั้นอย่างเหมาะเจาะ ว่ารับกับขั้นบันไดได้พอดี       ต้องเป็นการคำนวณที่เป๊ะมากๆ มิฉะนั้นบันไดจะพังลงมา  หรือไม่ก็คว่ำหกคะเมนเสียตั้งแต่สร้างครั้งแรก  ยกตั้งฉากไม่ได้ 

ตอนเข้าไปยืนดูบันไดนี้   ก็นึกอะไรไม่ออกเหมือนกัน นอกจากรู้สึกว่าเป็นบันไดที่สวยมาก  ฝีมือสร้างเนียนประณีต วนโค้งขึ้นไปเป็นวงกลม  กินเนื้อที่นิดเดียวเพราะวิหารนี้ค่อนข้างแคบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 มิ.ย. 12, 22:45

รูปนี้ เห็นชัดว่าระเบียงชั้นบนกับชั้นล่างนั้นยากจะหาบันไดเชื่อมถึงกันได้ ด้วยการสร้างบันไดขึ้นไปแบบตรงไปตรงมา    เพราะเนื้อที่โบสถ์ชั้นล่างแคบ  ตั้งที่นั่งไว้สองข้างทางเดินก็เต็มเนื้อที่แล้ว     จะพาดบันไดขึ้นไปจากพื้นล่างก็เกะกะไม่งาม  จะทำบันไดเป็นขั้นๆขึ้นไปก็ไม่มีเนื้อที่พอ
บันไดเวียนจึงน่าจะเป็นคำตอบลงตัวที่สุด   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 มิ.ย. 12, 23:07

จากอินทรเนตร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 มิ.ย. 12, 23:13

รูปนี้แสดงให้เห็นบันได ตามแบบที่แรกสร้าง คือไม่มีราวบันได
ตำนานเล่าต่อมาว่า แม่ชีที่ไต่บันไดขึ้นไปไม่มีใครกลัวบันไดพัง   แต่กลัวจะกลิ้งตกหรือพลัดหล่นลงมาทางด้านข้าง    การขึ้นบันไดจึงต้องใช้มือและเข่า(ก็คือคลานนั่นแหละค่ะ)   
แต่ยังนึกภาพไม่ออก  ขาขึ้นมองออกว่าคงจะคลานขึ้นไป  แต่ขาลงค่อยๆถัดลงมา หรือว่าหันหลัง คลานปีนป่ายลงมาทีละขั้นกันแน่

ด้วยเหตุนี้   ในเวลาต่อมาจึงมีการสร้างราวบันไดด้วยเหล็กขึ้นมาเสริมไว้   อยู่มาจนทุกวันนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 มิ.ย. 12, 23:36

ตอนที่ไปดูบันได   ทางวิหารกั้นเชือกเอาไว้ไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปแตะต้องได้   ก็เลยได้แต่ถ่ายรูปให้ได้ใกล้ที่สุดเพื่อดูรายละเอียดการออกแบบและสร้าง
ต้องพยายามมองแบบตัดราวบันไดออกไป เพื่อจะเห็นดีไซน์ของเดิม
สังเกตว่าบันไดนี้สลักด้านข้างอย่างสวยงามประณีตด้วย  ไม่แน่ใจว่าสลักเพิ่มภายหลังหรือไม่  เพราะในรูปดั้งเดิมมองไม่เห็นลายสลัก

คำถามที่ถามตัวเอง(และฝากถามผู้เชี่ยวชาญในเรือนไทย) ว่า บันไดแบบนี้สร้างยากเย็นแสนเข็ญจนเป็นสิ่งมหัศจรรย์จริงหรือคะ    หรือว่าเล่าลือกันไปเกินเหตุ  เพราะฝรั่งเองก็ยังถกเถียงกันอยู่ในเรื่องนี้
เรือนไทยภาคกลางของเราก็สร้างขึ้นมาทั้งหลัง  โดยไม่มีตะปูเลยจนตัวเดียว    แต่ก็ไม่มีใครบอกว่ามหัศจรรย์

ที่อยากถามอีกข้อคือบันไดนี้ สร้างด้วยการคำนวณน้ำหนักแบบไหน   มีส่วนใดรับน้ำหนักเอาไว้ไม่ให้พังลงมา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 07:19

ตอนที่ไปยืนจดๆจ้องๆเก็บภาพบันไดมานั้น   รู้สึกว่าไม้ที่ทำบันไดแต่ละขั้น หนาหนักเอาการ   ไม่เบาอย่างไม้อัดแน่นอน   ด้านบนยึดกับระเบียงบน   ด้านล่างตั้งตรงอยู่บนพื้นวิหาร  มีเสาไม้หนาๆแผ่นหนึ่งค้ำยันบันไดขั้นสุดท้ายเอาไว้
ก็เลยคิดว่า บันไดคงจะมีที่ยึดทั้งจากด้านบนด้านล่าง   ให้แม่ชีทั้งหลายไต่ขึ้นลงได้โดยไม่พังลงมา

ตามประวัติ บันไดนี้ก็คงทนมากว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว   แต่ปัจจุบันดูเหมือนจะไม่มีใครใช้อีก  คงเก็บไว้เป็นความมหัศจรรย์ของโบสถ์ให้นักท่องเที่ยวดูกัน





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 07:29

ถ้าตัดเรื่องปาฏิหาริย์ออกไป    เหลือแต่เรื่องงานฝีมือล้วนๆ  ก็ต้องยอมรับว่าบันไดสร้างด้วยช่างผู้เชี่ยวชาญชนิดไม่ธรรมดาทีเดียว
ไม้แผ่นตรงๆหนาๆที่ช่างไม้นำมาประดิษฐ์ให้โค้งได้ขนาดนี้ ทั้งตัวขั้นบันได และแผ่นไม้ที่รองรับข้างใต้ ฝีมือเรียบเนียนราวกับทำด้วยวัสดุอ่อนดัดได้
ยิ่งถ้านึกว่าคนทำเป็นช่างไม้ ทำอยู่คนเดียวจนเสร็จ   ก็น่าอัศจรรย์ในการดัดไม้ได้สวย และคำนวนรูปทรงได้ดีขนาดนี้

ถ้าหากว่าช่างไม้คนนี้ เป็นช่างฝีมือระดับครูจากถิ่นอื่นมาสร้างบันไดให้วิหารลอเร็ตโต    แกก็น่าจะสร้างงานระดับนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว  เพราะคนที่ทำงานได้แบบนี้คงสร้างบันไดมาจนชำนาญ  ไม่ใช่มาริอ่านสร้างบันไดเวียนเป็นครั้งแรก
แต่อ่านข้อมูลเท่าใดก็ไม่พบ ว่ามีผู้ค้นคว้าเจอว่าบันไดแบบนี้เป็นฝีมือใคร อยู่ที่ไหนอีก     เหมือนกับว่าบันไดแบบนี้มีอยู่แห่งเดียวในรัฐนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 07:48

อึมม์ เก่งจริงๆครับช่างงานไม้ฝรั่ง

ในสมัยที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ ทำชิ้นงานออกมาได้ขนาดนี้ถือว่าไม่ใช่ธรรมดาทีเดียว เรียกว่าระดับอัจฉริยะ ทั้งการคำนวณความสูงของขั้น รูปแบบและขนาดของชิ้นส่วนต่างๆที่มาประกอบเป็นบันไดเวียนขนาดนี้

และฝีมือช่างไม้ก็เป็นที่สุด ถึงแบบจะดีแค่ไหนแต่ช่างไม่สามารถทำให้เหมือนแบบได้ก็คงจบกัน

งานนี้ เข้าใจว่าช่างแบบและช่างก่อสร้างน่าจะเป็นคนเดียวกัน

ผมกำลังจะออกไปนอกบ้าน ค่ำๆจะกลับมาต่อครับ
ตอนนี้ขอเชิญผู้เชี่ยวชาญในเรือนไทยช่วยวิจารณ์ตามเทียบของจขกท.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 07:58

ตามตำนานบอกว่าเป็นช่างไม้คนเดียว ทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ     ก็มั่นใจว่าทั้งออกแบบและก่อสร้างเองค่ะ

บันไดเวียนแบบที่สร้างในตอนแรก (คือไม่มีราวบันได)  ชาวคริสต์เรียกว่าบันไดสวรรค์     ตามรูปเก่าๆในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล  เคยวาดบันไดที่วกวนแบบนี้ทอดขึ้นสวรรค์ สำหรับวิญญาณมนุษย์ดีๆที่ล่วงลับไปแล้ว ได้ขึ้นบันไดไปเสวยสุขเป็นนิรันดร์กับพระผู้เป็นเจ้า
ดิฉันหารูปเก่าไม่ได้  ได้แต่รูปวาดใหม่ที่วาดบันไดสวรรค์ตามจินตนาการของคนรุ่นเก่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 08:03

ผู้เชี่ยวชาญท่านที่หนึ่งให้ความเห็นไปแล้ว  ขอเชิญท่านต่อๆไปมาร่วมวงออกความเห็นบ้างค่ะ
ระหว่างนี้เอารูปข้างในวิหารที่ถ่ายไว้ มาให้ดูพลางๆก่อน

โบสถ์วิหารคาทอลิคมักมีการประดับประดาอลังการมากกว่าโบสถ์โปรแตสแตนท์   ที่น่าชมอีกอย่างคือเขารักษาสภาพไว้เอี่ยมอ่องมาก  คงจะบูรณะกันตลอดมาไม่ทอดทิ้งให้โทรม 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 08:06

บรรยากาศภายในวิหาร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 08:11

งานไม้ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในวิหาร  ที่เห็นเหมือนตู้ขนาดใหญ่ คือที่สำหรับสารภาพบาป    คงเคยเห็นฉากนี้กันในหนังนะคะ
แบ่งเป็นห้องเล็กๆสองห้องมีผนังโปร่งๆกั้นกลาง พอได้ยินเสียงกันได้   ฝ่ายหนึ่งคือผู้อยากสารภาพบาป  อีกฝ่ายคือบาทหลวงผู้รับฟัง


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง