เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 26740 เรียนถามถึงคำศัพท์ที่ผมหาความหมายไม่ได้
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 08:42



จะว่าไป... ก็ยังไม่เคยเห็นประติมากรรมในสมัยอยุธยารูปสิงห์ยืนเหยียบยักษ์เลย  อายจัง

บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 21:18

จริงอย่างที่คุณluanglekว่าไว้ครับ ว่าเราคงต้องเทียบกับศิลปะอื่นด้วย
แต่ขอบเขตความรู้ผมยังคับแคบอยู่ในแถบภาคกลางเท่านั้นที่พอจะเอามาอ้างตอบกระทู้ได้ครับ
ยิ่งถ้าไกลออกไปเนื้อหาความรู้ของผมก็เบาบางลงตามไปเรื่อยๆ

แต่ทำไมคุณluanglek ถึงเจาะจงนครสวรรค์ล่ะครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 21:20



จะว่าไป... ก็ยังไม่เคยเห็นประติมากรรมในสมัยอยุธยารูปสิงห์ยืนเหยียบยักษ์เลย  อายจัง



ผมก็กำลังตามอยู่เหมือนกันครับ ๕๕๕
ยังไม่เจอแบบที่สิงห์จะเหยีบยักษ์เป็นจริงเป็นจัง
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 14 มิ.ย. 12, 21:47

เมื่อตอนเย็นๆ ผมได้คุยกับสหายที่จบโบราณคดี ซึ่งหนีเข้าป่าไปประจำอยู่ศรีเทพ เมืองเพชรบูรณ์

เรื่องสิงห์เหยียบยักษ์นี้

สหายของผมคิดใคร่ครวญอยู่ประมาณนาที ก็บอกว่า "เคยเห็นแถววัดมหาวัน ที่อื่นไม่แน่ใจ"

ก็เป็นอันจนปัญญาไม่รู้จะหันไปเพิ่งใครได้

แต่ยังดีใจหายที่สหายคนเดิมรับปากว่าจะลองหาทางศิลปะเขมรดู เผื่อเจออะไรดีๆ

(หน่อนี้เค้ากำลังเรียนโทด้านศิลปะเขมร)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 15:11

ชำนัน น่าจะแปลว่า ขี่ ได้ด้วย

อนิรุทธคำฉันท์ ของ ศรีปราชญ์

๏ บัดคชสารคือคชสีห์  เติบสูงคือคิรี 
ชำนันคิริเมขล
 
๏ ม้วนงวงแทงธรณีดล  งางอนเงยกล 
คือดั่งจะเสื้องสอยดาว
 
๏ ถีบฉัดผัดผาผาดสราว  ไม้ไล่เหิรหาว 
ก็ฟุ้งทั้งป่าเปนไฟ
 
๏ แรงยิ่งแรงแรงเริงไพร  ชมแกว่นแม่นไว 
แลชัยชำนะหลายปาง
 
๏ ยั่งยั่งมันอาบอ้อมคาง  บังหูโก่งหาง 
ก็ร้องตระแตร้นบมิกลัว
 
๏ เข้าแทงท้าวท้าวชมวัว  ท้าวยิ้มแย้มหัว 
ก็แสร้งสำแดงมหิมา
 
๏ ยืนยันต่ช้างง้างงา  ออกด้วยสหัสา 
ก็แกว่งกรลับคือกังหัน
 
๏ เท้งธรทีเดียวด้วยพลัน  ช้างเติบตกมัน 
ก็ท่าวในท้องธรณี      ฯ 

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 18:46



จะว่าไป... ก็ยังไม่เคยเห็นประติมากรรมในสมัยอยุธยารูปสิงห์ยืนเหยียบยักษ์เลย  อายจัง



แล้วถ้าเป็นยักษ์เหยียบสิงห์ พนายพอจะผ่านตามาบ้างไหม
ยิ่งถ้าได้ที่เป็นทวารบาลด้วยจะเหมาะมาก

จริงอย่างที่คุณluanglekว่าไว้ครับ ว่าเราคงต้องเทียบกับศิลปะอื่นด้วย
แต่ขอบเขตความรู้ผมยังคับแคบอยู่ในแถบภาคกลางเท่านั้นที่พอจะเอามาอ้างตอบกระทู้ได้ครับ
ยิ่งถ้าไกลออกไปเนื้อหาความรู้ของผมก็เบาบางลงตามไปเรื่อยๆ

แต่ทำไมคุณluanglek ถึงเจาะจงนครสวรรค์ล่ะครับ


โทษที  ผมเขียนเพลินไป  ต้องพูดว่า ต้องไปดูที่กรุงเก่า  เพราะโคลงบทนี้
พรรณนาเขตพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยา 

คนเราชอบไม่เหมือนกันครับ  ฉะนั้นต่างคนต่างก็มีความรู้และข้อมูลมากในบางเรื่อง
ผมอ่านวรรณคดีโบราณบางเรื่อง พอถึงตรงที่บรรยายเรื่องศิลปะบางอย่าง
ก็ต้องอาศัยความรู้เรื่องศิลปะสมัยที่เป็นนักเรียนมัธยมปลายสายศิลป์เข้ามาช่วย
แต่ไม่พอ  ก็ต้องไปหาหนังสือมาอ่านให้กระจ่าง

ครั้งหนึ่งผมอ่านโคลงกำสรวล  ผมสงสัยโคลงที่บรรยายความตอนต้นๆ ที่ว่า


พรายพรายพระธาตุเจ้า      จยรจนนทร แจ่มแฮ     
ไตรโลกยเลงคือโคม      ค่ำเช้า     
พิหารรเบียงบรร      รุจิเรข เรืองแฮ     
ทุกแห่งห้องพระเจ้า      น่งงเนือง
ฯ     

ศาลาอเนขสร้าง      แสนเสา โสดแฮ     
ธรรมาศจูงใจเมือง      สู่ฟ้า     
พิหารย่อมฉลักเฉลา      ฉลุแผ่น ไส่นา      ศป.ว่า ไส้นา     
พระมาศเลื่อมเลื่อมหล้า      หล่อแสง ฯ     

ตระการหน้าวัดแหว้น      วงงพระ     
บำบวงหญิงชายแชรง      ชื่นไหว้      ศป.ว่า แซรง     
บูรรพาท่านสรรคสระ      สรงโสรด     
ดวงดอกไม้ไม้แก้ว      แบ่งบาล ฯ     

กุฎีดูโชติช้อย      อาศํร     
เต็มร่ำสวรรคฤาปาง      แผ่นเผ้า      ศป.ว่า ปาน     
เรือนรัตนพิรํยปราง      สูรยปราสาท     
แสนยอดแย้มแก้วเก้า      เฉกโฉม ฯ     

สนํสนวนสอาดต้งง      ตรีมุข     
อร่ามเรืองเสาโสรม      มาศไล้     
เรือนทองเทพแปลงปลุก      ยินยาก     
ยยวฟ้ากู้ไซ้      ช่วยดิน ฯ      ศป.ว่า เยียวว่าฟ้ากู้ไซร้     

ผมสงสัยว่า  เอ  คนแต่งแต่งบรรยายความขนาดนี้ 
ย่อมไม่ใช่สถานที่ทั่วไป แต่เป็นสถานที่สำคัยมาก ที่มีสิ่งก่อสร้างตามที่บรรยาย
ครั้นพิจารณาดูแล้ว  สิ่งก่อสร้างเหล่านี้  มีอยู่ที่อื่นไม่ได้ นอกจากในพระราชวังกรุงเก่า
คนแต่งเดินผ่านจากที่ไหนก็บรรยายไปตามลำดับ  แน่นอนว่า ศรีปราชญ์ตามความเชื่อ
ย่อมไม่มีเหตุอะไรที่เข้าไปเดินเล่นไหว้พระที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ 
แล้วเดินออกมาทางฉนวนเพื่อลงไปที่ท่าน้ำ  เพื่อลงเรือ  คนที่จะทำอย่างนี้ได้ ก็มีแต่พระมหากษัตริย์
และพระบรมวงศานุวงศ์ (เน้นฝ่ายใน)  ศรีปราชญ์คนธรรมดา ที่ว่าเป็นนักโทษเนรเทศ
ไปเดินตรงนั้นย่อมไม่เหมาะควร   


ส่วนคุณเพ็ญฯ  กาพย์ฉบัง หรือฉันทฉบัง ที่คุณเพ็ญฯ ยกมา เอาเฉพาะบทแรก
ถ้าจะแปลเป็นร้อยแก้วให้ได้ความ  ควรจะแปลว่าอย่างไร  อย่ายกมาเฉยๆ  โดยไม่แปล
เพราะถ้าแปลว่าขี่   จะแปลกาพย์บทแรกให้สละสลวยได้ว่าอย่างไร
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 20:15


แต่ยังดีใจหายที่สหายคนเดิมรับปากว่าจะลองหาทางศิลปะเขมรดู เผื่อเจออะไรดีๆ


ใจผมก็คิดหาเขมรเหมือนกันครับ รบกวนเพื่อนคุณart47 ด้วยแล้วกันครับ


ส่วนเรื่องยักษ์เหยีบสิงห์ที่เป็นทวารบาล พบมากในงานตกแต่งบานประตูหน้าต่างนะครับ
ออกไปทางแนวยักษ์แบกฐานทวารบาลบ้าง ลิงแบกบ้าง สิงห์แบบกบ้าง หรือแม้แต่เหยียบกันจริงๆจังเลยก็มี
ตอนนี้ผมลองหาภาพดูแล้ว เลยเอามาเสนอสักสองสามภาพแล้วกันครับ


ภาพนี้พอดีเขาวางเครื่องไหว้บังเอาไว้น่ะครับ เลยถ่ายมาได้แค่นี้


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 20:19



จะว่าไป... ก็ยังไม่เคยเห็นประติมากรรมในสมัยอยุธยารูปสิงห์ยืนเหยียบยักษ์เลย  อายจัง



แล้วถ้าเป็นยักษ์เหยียบสิงห์ พนายพอจะผ่านตามาบ้างไหม
ยิ่งถ้าได้ที่เป็นทวารบาลด้วยจะเหมาะมาก


ผ่านขอรับผ่าน ทั้งยักษ์ ทั้งเทพ ทั้งเซี่ยวกาง ยังนึกเล่นๆ อยู่ ว่าเคยเห็นนางฟ้านางสวรรค์เหยียบสิงห์บ้างไหมหนอ  ฮืม

แต่ส่วนใหญ่ถ้าเป็นทวารบาลแล้ว จะเป็นตามบานประตูมากกว่า ที่เห็นเป็นรูปปั้นลอยตัวไม่ค่อยมี

(ไม่รวมศิลปะเขมรนะจ๊ะ)
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 20:20

ทวารบาลที่วัดใหญ่ เมืองสองแควนี้ เป็นศิลปะยุคใดหรือครับ คุณ virain

ร่วมสมัยกับเรือนแก้วองค์พระพุทธชินราชหรือไม่  ฮืม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 01:06

บานประตูน้อยที่รั้วล้อมพระพุทธชินราชนั้น ตามความเห็นผม น่าจะประมาณราชวงศ์บ้านพลูหลวงครับ
แต่ถ้าอ้างตามความคิดเห็นของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์แล้ว ท่าทรงสันนิษฐานว่าอาจจะใหม่กว่านั้นก็เป็นได้

ส่วนเรือนแก้วขององค์พระนั้น ผมคิดเห็นว่าน่าจะสร้างราวอยุธยาตอนกลางครับ

ภาพที่แนบมาด้วยนี้เป็นลายเขียนที่บานประตูพระอุโบสถของวัดสระบัว ซึ่งภาพยักษ์แบกฐานนี้จะงามเป็นพิเศษ
เลยอยากจะเอามาร่วมวงอวดฝีมือช่างไว้ด้วยครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 01:10

ส่วนเรื่องโคลงกำสรวลสมุทร ผมเคยได้ยินคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ บอกว่า(ไปแอบฟัง) น่าจะแต่งในสมัยพระนครินทร์ เพราะเนื้อหาโคลงมีสำนวนเก่ามาก
แต่ผมไม่เก่งเรื่องภาษาเท่าไหร่ เคยอ่านแล้วแปลไม่ค่อยได้ มีคำศัพท์แปลกๆเยอะมาก ผมเลยพอเลียบๆไปได้เฉพาะเรื่องที่พอคุ้นศัพท์เท่านั้นครับ

ถ้าสมมุติว่าโคลงนี้แต่งในสมัยสมเด็จพระนครินทร์กษัตริย์ในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนนั้นก็ยังไม่มีวัดพระศรีสรรเพชญ์
ผมจึงขออธิบายโคลงตามความเข้าใจของผมให้ลองพิจารณาดูครับ

พรายพรายพระธาตุเจ้า      จยรจนนทร แจ่มแฮ      
ไตรโลกยเลงคือโคม      ค่ำเช้า      
พิหารรเบียงบรร      รุจิเรข เรืองแฮ      
ทุกแห่งห้องพระเจ้า      น่งงเนือง ฯ

ผมคิดว่าบทนี้อาจจะหมายถึงพระมหาธาตุของเมือง ไม่ใช่ที่วัดมหาธาตุก็น่าจะเป็นวัดพระราม
อธิบายว่าพระมหาธาตุแวววาวเหมือนพระจันทร์ ดุจดังโคมที่ส่องทั้งสามโลก
มีพระระเบียงคด มีพระพุทธรูปนั่งเรียงรายอยู่ในระเบียงคด




ตระการหน้าวัดแหว้น      วงงพระ      
บำบวงหญิงชายแชรง      ชื่นไหว้        
บูรรพาท่านสรรคสระ      สรงโสรด      
ดวงดอกไม้ไม้แก้ว      แบ่งบาล ฯ    

บทนี้ทำให้ผมคิดว่ากวีน่าจะหมายถึงวัดพระราม เพราะหน้าวัดมหาธาตุเป็นคลอง
แต่หน้าวัดพระรามมีบึงน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าคงมีการขุด
เอาดินในหนองโสนไปถมที่สร้างวังหรือวัด จนกลายเป็นบึงกว้างขวางเรียกว่าบึงหน้าวัดพระราม
หรือบึงพระรามนั่นเอง


กุฎีดูโชติช้อย      อาศํร      
เต็มร่ำสวรรคฤาปาง      แผ่นเผ้า      
เรือนรัตนพิรํยปราง      สูรยปราสาท    
แสนยอดแย้มแก้วเก้า      เฉกโฉม ฯ    

วรรคนี้ผมแปลได้หมด เพียงแต่ผมนึกถึงพระปรางค์ที่หุ้มแผ่นทองแดงหรือทองเหลืองแล้วปิดทองทับจนอร่ามสะท้อนแสงแดด
เทคนิคการสร้างเช่นนี้มีหลักฐานอยู่จริงในกรุงศรีอยุธยาครับ

บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 01:13

ก่อนไปนอนผมขอฝากภาพนี้ไว้อีกสักภาพครับ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 04:02

คุณ virain แปลโคลงกำสรวลได้ดี  แต่ผมมีที่แปลต่างออกไปดังนี้


พรายพรายพระธาตุเจ้า      จยรจนนทร แจ่มแฮ     
ไตรโลกยเลงคือโคม      ค่ำเช้า     
พิหารรเบียงบรร      รุจิเรข เรืองแฮ     
ทุกแห่งห้องพระเจ้า      น่งงเนือง ฯ 

ผมแปลว่า  แสงพรายจากพระธาตุเจดีย์ของเจ้า (เจ้าในที่นี้ น่าจะเป็นเจ้านายหรือพระเจ้าแผ่นดิน) เสมอด้วยดวงจันทร์แจ่มกระจ่าง
ทั้งสามโลกเล็งแลพระธาตุเจดีย์นั้น เป็นดั่งโคม ทุกค่ำเช้า
มีพิหารและระเบียงที่เขียนลวดลายงดงามรุ่งเรือง หรือจะแปลสั้นๆ ว่างามเรืองรองก็ได้
ทุกแห่งห้องพิหารและระเบียงมีพระเจ้า คือ พระพุทธรูปประทับนั่งอยู่มากมาย หรือ เรียงราย

บทนี้  ขอให้สังเกตว่า  คนแต่งพรรณนาพระธาตุเจดีย์ก่อน  แสดงว่าพระอารามนั้น มีพระธาตุเจดีย์เป็นหลักประธานของแผนผังพระอาราม
ในอยุธยาอาจจะมีหลายวัดที่มีพระธาตุเจดีย์เป็นหลักประธานของวัด  แต่คำว่าพระธาตุเจ้า  อาจจะไม่ใช่พระบรมสารีริกธาตุ หรือพระอัฐิธาตุพระพุทธสาวก
แต่หมายถึงพระอัฐิธาตุของพระโพธิสัตว์เจ้าที่อยู่ในรูปของสมมติเทพอย่างพระมหากษัตริย์  คตินี้มีมานานนาน
พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นสมมติเทพในฝ่ายศาสนาพราหมณ์และเป็นพระโพธิสัตว์ในฝ่ายพุทธ 
จากนั้น  ผู้แต่งพรรณนาถึงพิหารและระเบียงที่มีพระพุทธรูปนั่งอยู่เรียงราย  ในอยุธยามีไม่กี่วัดหรอกครับที่มีลักษณะเช่นนี้


ศาลาอเนขสร้าง      แสนเสา โสดแฮ     
ธรรมาศจูงใจเมือง      สู่ฟ้า     
พิหารย่อมฉลักเฉลา      ฉลุแผ่น ไส่นา      ศป.ว่า ไส้นา     
พระมาศเลื่อมเลื่อมหล้า      หล่อแสง ฯ   

ผมแปล  มีศาลามากมายสร้างไว้นับได้แสนเสาทีเดียว  (หมายเอาว่ามีศาลาหลายหลังในบริเวณนั้น
ที่ศาลาเหล่านั้น มีธรรมาสน์ตั้งสำหรับพระสงฆ์ขึ้นเทศน์ธรรมเพื่อชักจูงใจชาวเมืองอยุธยาไปสู่สวรรค์ชั้นฟ้า (สุขคติภูมิ)
พิหารนั้นมีการสลักเสลาฉลุแผ่น (แผ่นไม้แผ่นเงินแผ่นทอง) ประดับประดา  มีพระพุทธรูปทองส่องแสงเลื่อมๆ
ดูประหนึ่งดังว่าเขาหล่อพระพุทธรูปนั้นด้วยแสง

สถานที่ที่มีศาลามากขนาดนั้น  ย่อมไม่ใช่วัดธรรมดาสามัญ หรือวัดขนาดเล็ก  ต้องเป็นวัดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่
ที่สามารถปลูกสร้างศาลาไว้ให้คนมาประชุมฟังธรรมได้ทีละมากๆ 
ผู้แต่งย้อนไปพรรณนาพิหารและพระพุทธรูปอีก  แสดงว่า  ศาลาและพิหารแลฃะที่ประดิษฐานพระพุทธรูปน่าจะอยู่ใกล้ศาลา



ตระการหน้าวัดแหว้น      วงงพระ     
บำบวงหญิงชายแชรง      ชื่นไหว้      ศป.ว่า แซรง     
บูรรพาท่านสรรคสระ      สรงโสรด     
ดวงดอกไม้ไม้แก้ว      แบ่งบาล ฯ

ผมแปล  ที่หน้าวัดแห่งนี้ เป็นบริเวณวังพระ (พระภิกษุ?)  มีหญิงชายเบียดเสียดกันเพื่อกราบไหว้สักการะด้วยความชื่ชมยินดี
ด้านทิศตะวันออกของวัดนี้ ท่าน (ผู้มีอำนาจราชศักดิ์ หรือบรรพบุรุษ ได้สร้างสระสำหรับให้พระภิกษุใช้สรง
มีดอกไม้ (ดอกบัว) เบ่งบาน

แสดงว่า วัดนี้ แยกเขตที่พระสงฆ์อยู่ต่างหากเขตพุทธาวาส  โดยให้เขตสังฆาวาสอยู่หน้าวัดด้านทิศตะวันออก
และมีสระน้ะที่ให้พระสรงน้ำอยู่ด้วย



กุฎีดูโชติช้อย      อาศํร     
เต็มร่ำสวรรคฤาปาง      แผ่นเผ้า      ศป.ว่า ปาน     
เรือนรัตนพิรํยปราง      สูรยปราสาท     
แสนยอดแย้มแก้วเก้า      เฉกโฉม ฯ   

ผมแปลให้รับกับโคลงบทก่อนหน้า ว่า  มีกุฏิที่งามชดช้อยดูประหนึ่งอาศรม (ที่สงบ) ของผู้บำเพ็ญพรต
เต็มร่ำรำพันสวรรค์ที่ว่างดงวามแล้ว ก้ไม่ปานเปรียบกับแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาบนพื้นโลกแห่งนี้
(ปาน ไม่ใช่ปาง  เพราะต้องรับสัมผัสกับ แบ่งบาน จากโคลงบทก่อน)  มีเรือนแก้วอันน่าอภิรมย์
ซึ่งมียอดเป็นปรางค์ปราสาท (สูรย อาจจะเป็นศูล (นภศูล) ทียอดปรางค์ก้ได้   
มียอดปรางค์มากมายส่่องแสงเป็นประกายดุจประดับด้วยแก้วเก้าประการที่แต่ละยอด

ตรงนี้  น่าสังเกตว่า  ปรางค์นี้พรรณนาเมื่อกล่าวถึงเรือน ซึ่งหมายถึงที่อยู่  ไม่ใช่พระเจดีย์ยอดปรางค์
ยอดปรางค์เมื่อประกอบกับเรือน  ก็เห็นจะเป็นที่อื่นไปไม่ได้  จากปราสาทราชมณเฑียรสถาน
ซึ่งอยู่ใกล้หรือติดกับพระอารามกล่าวมาข้างต้น  ถ้านิราศนี้เป็นนิราศจริง  กวีไปไหว้พระที่พระอาราม
เมื่อไหว้เสร็จก็เป็นเวลาเริ่มออกเดินทาง เมื่อออกจากสถานที่ที่ไปไหว้พระแล้วย่อมพรรณนาพระอาราม
อันเป็นจุดเริ่มของการเดินทาง แล้วจึงเดินไปทางหมู่พระราชมณเฑียรสถาน
เป็นพระราชประเพณีปกิบัติมาแต่ครั้งโบรารว่า  พระมหากษัตริย์ตลอดจนเจ้านายเชื้อพระวงศ์
เมื่อจะเสด็จฯ หรือเสด็จไปทรงรอนแรมสู่หัวเมืองไกลนอกเขตพระนคร  ต้องเสด็จมาทรงสักการะ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเขตพระราชฐานเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่ผุ้เดินทาง  ธรรมเนียมนี้ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน
ก็ยังได้ทรงกระทำอยู่

   

สนํสนวนสอาดต้งง      ตรีมุข     
อร่ามเรืองเสาโสรม      มาศไล้     
เรือนทองเทพแปลงปลุก      ยินยาก     
ยยวฟ้ากู้ไซ้      ช่วยดิน ฯ      ศป.ว่า เยียวว่าฟ้ากู้ไซร้

เมื่อเดินเข้าจะเข้าเขตพระราชฐานซึ่งติดต่อกับพระอารามนี้  ผู้เดินทาง(คนแต่ง) เดินเข้าสู่สนมสนวน (สนม แปลว่ารักษาความปลอดภัย
 ไม่ใช่ทางเดินสำหรับฝ่าย  มีอุทาหรณ์ ในชื่อกรมของกระทรวงวังว่า กรมสนมพลเรือน กรมสนมทหาร เป็นต้น  คงไม่มีใครอุตริแปลว่า
กรมที่มีพลเรือนเป็นสนม และกรมที่ทหารเป็นสนม  )  สนวนสนมนี้นี้สะอาด ตั้งอยู่ตรงตรีมุข (พระที่นั่งตรีมุข?)
พระที่นั่งตรีมุขนี้  อร่ามเรืองรองที่เสาเพราะทองทาไว้  อันว่าเรือนทองหลังนี้  หากบอกว่าเทพมาแปลง (แปง - สร้าง) ปลูกไว้ ก็ได้ยินหรือเชื่อยาก
ชะรอยว่าเทพจากสวรรค์มาช่วยชาวโลกสร้างกระมัง

ผมแปลอย่างนี้
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 21:30


กุฎีดูโชติช้อย      อาศํร     
เต็มร่ำสวรรคฤาปาง      แผ่นเผ้า      
เรือนรัตนพิรํยปราง      สูรยปราสาท      
แสนยอดแย้มแก้วเก้า      เฉกโฉม ฯ   

วรรคนี้ผมแปลได้หมด เพียงแต่ผมนึกถึงพระปรางค์ที่หุ้มแผ่นทองแดงหรือทองเหลืองแล้วปิดทองทับจนอร่ามสะท้อนแสงแดด
เทคนิคการสร้างเช่นนี้มีหลักฐานอยู่จริงในกรุงศรีอยุธยาครับ



ขออภัยด้วยครับ ที่จริงผมจะพิมพ์ว่าได้ไม่หมด แต่พลาดตกหล่นไป

ข้อคำแปลของคุณluanglek ผมต้องรับไว้เป็นความรู้ครับ เพระผมเองยังไม่ชำนาญพอเรื่องการแปลบทกวี
ขอเรียนถามนะครับ บทที่ว่า เรือนรัตนพิรํยปราง คำว่าพิรัยในที่นี้หมายถึงอะไรหรือครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 18 มิ.ย. 12, 11:09


ขอเรียนถามนะครับ บทที่ว่า เรือนรัตนพิรํยปราง คำว่าพิรัยในที่นี้หมายถึงอะไรหรือครับ


พิรํย  เป็นการเขียนแบบโบราณ ที่ใช้ นิตหิต (-ํ) แทนตัว ม สะกด 
ในดคลงกำสรวลฉบับที่กรมศิลปากรชำระและเอามาพิมพ์  สังเกตว่าใช้นิคหิตแทน ม สะกด หลายคำ
สันนิษฐานว่า  โคลงกำสรวลฉบับดังกล่าวน่าจะเก่ามาก  หากเป็นฉบับคัดลอกจากฉบับเดิมมา
ก็น่าจะเป็นฉบับที่คัดลอกมาจากฉบับที่เก่ามาก

พิรํย  คือ พิรมย เขียนอย่างปัจจุบัน คือ ภิรมย์  (คำเดิม  อภิรมย์)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.118 วินาที กับ 20 คำสั่ง