เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7030 "ปู่แผ่นเสียง" นายเตียง โอศิริ
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


 เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 09:31

ผู้ใดทีทราบข้อมูลเกี่ยวกับ "ปู่แผ่นเสียง" นายเตียง  โอศิริ ซึ่งเป็นบิดาของคุณจุรี  ดอศิริ (ป้าจุ๊) บ้าง
กรุณาเล่าสู่กันฟังหน่อยครับ   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 11:17

ผู้ใดทีทราบข้อมูลเกี่ยวกับ "ปู่แผ่นเสียง" นายเตียง  โอศิริ ซึ่งเป็นบิดาของคุณจุรี  โอศิริ (ป้าจุ๊) บ้าง
กรุณาเล่าสู่กันฟังหน่อยครับ   ยิงฟันยิ้ม

แก้ไขครับแก้ไข ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 11:24

พ.ศ. 2494

ครูสง่า อารัมภีร เขียนเล่าถึงการหานักร้องมาร้องเพลงนี้เอาไว้ใน "๓ อดีตกาล..ใครร้องเพลง หนึ่งในร้อย เป็นคนแรก" ว่า..."ยังไม่ทันพลบค่ำเพลงก็เสร็จ นัดพบกัน ๑๐.๐๐ น. ที่กรมโฆษณาการด้านหลังซึ่งมีร้านเหล้าริมสะพานเสี้ยวโก้อยู่ ขึ้นไปพบครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูเอื้อบอกว่าให้นักร้องของกรมไปร้องไม่ได้หรอก ผู้อนุญาตได้มี พล.ท.ขาบ กุญชร คนเดียวเท่านั้นและนักร้องของกรมก็มีสัญญาอยู่กับนายเตียง โอศิริ แผ่นเสียงตราหมาแดง หมาเขียว และตราโคลัมเบีย แห่งห้างกมลสุโกศล ต้องขออนุญาตเขาก่อน มิฉะนั้นเขาฟ้องศาลจะต้องเสียเงินมาก

ที่มา http://baannapleangthai.com/47/47-14.htm
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 11:40

ดีครับ ออกขุน  มีอีกหรือไม่  อยากได้รูปถ่ายด้วยพอจะได้บ้างไหม ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 12:11

ดีครับ ออกขุน  มีอีกหรือไม่  อยากได้รูปถ่ายด้วยพอจะได้บ้างไหม ยิ้มเท่ห์

แผ่นเสียงตราโคลัมเบีย

ที่มา http://radio3.exteen.com/20110202/entry-10


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 12:19

แผ่นเสียงตราหมาแดง ตราหมาเขียว แผ่นทำจากประเทศอินเดีย


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 13:29

แหม  วันนี้ออกขุนจัดเต็มจัดหนักนะขอรับ  ขอบคุณมาก ยิงฟันยิ้ม

รูปนายเตียง  โอศิริ ไม่มีบ้างหรือครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 16:15

จากเว็บ เป่า จิน จง (ของนพพล โกมารชุน ผู้เป็นทายาทและผู้จัดละครโทรทัศน์)

http://www.paujinjong.com/pau/content/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4

มีหน้าประวัติ ป้าจุ๊ และภาพที่น่าจะเป็น

            บิดาชื่อ นายเตียง โอศิริ   มารดาชื่อ นางเลมียด  โอศิริ

แต่นำมาโพสท์ไม่สำเร็จ ครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 16:42

ประวัตินายเตียง  โอศิริ  ฉบับเล่าไปเรื่อยๆ


นายเตียง  โอศิริ  เป็นบุตรชายคนโตของนายโอวเตียวฮอก   กับนางวีเซี้ยกโห  โอศิริ

เกิดเมื่อวันที่  ๑๗ ตุลาคม  พุทธศํกราช  ๒๔๔๐  (วัน ๑ เดือน ๑๑ ปีระกา)
ณ  บ้านตรอกกัปตันบุช  จังหวัดพระนคร


เด็กชายเตียงเรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ  เลขประจำตัว ๑๔  เด็กชายเตียงเป็นคนเรียนเก่ง
สอบได้ลำดับดีมาโดยตลอด  บิดามารดาจึงรักมาก


ในสมัยที่เด็กชายเตียงเรียนหนังสืออยู่นั้น  ในเมืองไทยยังไม่มีที่ใดเปิดสอนวิชาบัญชี
บราเดอร์โรงเรียนอัสสัมชัญ (ชื่อเสียงเรียงไรหาทราบไม่) ได้ริเริ่มทำการสอนวิชาบัญชีขึ้น
โดยได้คัดเลือกนักเรียน จำนวน ๘ คน ซึ่งรวมทั้งนายเตียงด้วย  มาทดลองเรียนวิชาบัญชี
ซึ่งวิชาบัญชีที่สอนกันในครั้งกระนั้น ก็คือวิชาพาณิชยการในสมัยนี้    นักเรียนทั้ง ๘ คนนั้น
จึงนับเป็นนักเรียนวิชาบัญชีรุ่นแรกของโรงเรียนอัสสัมชัญและรุ่นแรกของประเทศไทย


นายเตียงร่ำเรียนหนังสืออย่างหนัก  และสอบไล่ในชั้นปีสุดท้ายได้เป็นที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช  ๒๔๕๘


บริษัท ยีครุซเซอร์  ซึ่งเ)้นบริษัททำการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงมากในระยะนั้น
ได้มาติดต่อให้นายเตียงไปทดลองทำบัญชีที่บริษัท  เนื่องจากได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านการบัญชี
ของนายเตียงจากเจษฎาจารย์ของโรงเรียนอัสสัมชัญ (เ้จษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ หรือเปล่า?)



นายเตียงเป็นผุ้มีความสามารถอย่างยิ่งทั้งในทางวิชาบัญชีและวิชาภาษาอังกฤษ  
หลังจากที่ได้ไปทดลองความสามารถในการทำบัญชีที่บริษัท ยีครุซเซอร์ เป็นเวลานาน ๑๒  สัปดาห์
ฝรั่งที่ทำงานอยู่ในบริษัทดังกล่าวต่างพอใจและประหลาดใจในความสามารถของนายเตียงเป็นอย่างยิ่ง
นายเตียงจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมุหบัญชีแทนฝรั่งที่ทำบัญชีคนเดิมซึ่งมาแต่ต่างประเทศ
ครั้งนั้น  นายเตียงได้รับเงินเดือนขั้นต้นถึง ๔๐๐ บาท  เท่ากับเงินเดือนของสมุหบัญชีฝรั่งที่ได้อยู่กันทั่วไปในยุคนั้น
นายเตียงได้รับเงินเดือนอัตรานี้เมื่อมีอายุ ๑๘ ปี  นับเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจมาก  เพราะเป็นคนไทยคนแรกที่ทำงานด้านบัญชี
แทนฝรั่งได้

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 16:47

บริษัท ยีครุซเซอร์  ซึ่งเ)้นบริษัททำการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงมากในระยะนั้น
ได้มาติดต่อให้นายเตียงไปทดลองทำบัญชีที่บริษัท  เนื่องจากได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านการบัญชี
ของนายเตียงจากเจษฎาจารย์ของโรงเรียนอัสสัมชัญ (เ้จษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ หรือเปล่า?)


เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เป็นอธิการปกครองโรงเรียนอัสสัมชัญอยู่ ซึ่งท่านมีความรู้ในด้านภาษาไทยอย่างแตกฉาน และมีลูกศิษย์มากมาย ตลอดจนพ่อค้าวานิชต่างให้การนับถือท่านครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 16:53

นายห้าง ยีครุซเซอร์ ไว้วางใจมอบอำนาจสิทธิ์ขาดหลายประการแก่นายเตียง  
ทั้งในด้านการเงิน  การบัญชี  และเป็นผู้แทนออกไปตรวจงานป่าไม้ สวนยางของบริษัทตามจังหวัดต่างๆ
และการเป็นผู้แทนนายห้างไปตรวจสวนยางนี้เอง  ก็เกือบทำให้นายเตียงถูกฆ่าปิดปาก
แต่เคราะห์ดีที่การลอบฆ่าครั้งนั้นไม่สำเร็จ  ด้วยว่านายเตียงเกิดป่วยกระทันหัน  ทำให้เดินทางไปตรวจงานไม่ได้
นายห้างจึงเดินทางไปตรวจงานเอง  และถูกพนักงานสวนยางที่สมคบคิดกันทำการทุจริตฉ้อโกงบริษัท
วางยาพิษถึงแก่กรรม  ทั้งนี้ สาเหตุที่พนักงานสวนยางได้วางแผนทำการดังกล่าวขึ้น
ก็เพื่อปิดปากนายเตียงที่ได้ล่วงรู้เรื่องการทุจริตและกำลังเตรียมทำรายงานเสนอต่อนายห้าง


เมื่อนายห้างถึงแก่กรรมไปไม่นาน  บริษัท ยีครุซเซอร์ ก็ต้องปิดกิจการไป  ทำให้นายเตียงต้องว่างงาน
แต่ต่อมาไม่นาน  นายเตียงก็ได้ร่วมมือกับสหายรักคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อร่วมรุ่นกัน  มาเปิดโรงเรียนสอน
วิชาภาษาอังกฤษและการบัญชีทางไปรษณีย์  ได้มีผู้มาสมัครเป็นนักเรียนมากอยู่พอสมควร
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 17:03

บริษัท ยีครุซเซอร์  ซึ่งเ)้นบริษัททำการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงมากในระยะนั้น
ได้มาติดต่อให้นายเตียงไปทดลองทำบัญชีที่บริษัท  เนื่องจากได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านการบัญชี
ของนายเตียงจากเจษฎาจารย์ของโรงเรียนอัสสัมชัญ (เ้จษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ หรือเปล่า?)


เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เป็นอธิการปกครองโรงเรียนอัสสัมชัญอยู่ ซึ่งท่านมีความรู้ในด้านภาษาไทยอย่างแตกฉาน และมีลูกศิษย์มากมาย ตลอดจนพ่อค้าวานิชต่างให้การนับถือท่านครับ

ออกขุนกล่าวถูกต้องด้วยประการทั้งปวง  เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ นั้น ถ้าใครได้ศึกษาประวัติและผลงานของท่านอย่างละเอียด
(อ่านหนังสือ ๓ เล่ม/ชุด ที่ โรงเรียนอัสสัมชัญพิมพ์  จำได้ว่า เคยซื้อมาราคา ๖๐๐ บาท  เอาไปเล่าให้สหายทางวิชาการท่านหนึ่งฟัง
ท่านร้องอุทานด้วยความตกใจที่ผมได้หนังสือดีราคาถูกมาก  เพราะปกติตามร้านหนังสือมักขายชุดละเป็นพันบาทขึ้นไป)

ก็จะทราบว่า  ท่านเป็นนักศึกษาค้นคว้าคนสำคัญมาตั้งแต่สมัยที่นายกุหลาบ  รถกิจ เอ๊ย ตฤษณานนท์  ทำหนังสือสยามประเภท
ออกมาเผยแพร่   และเป็นสมาชิกคนสำคัญที่นายกุหลาบได้เคยอ้างชื่อถึงอยู่หลายครั้ง   ท่านแต่งตำราเรียนและเขียนแปลหนังสือหลายเล่ม

ความรู้ความสามารถนั้น  จะพูดรำพันมากไปไยมี  แม้แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อทรงตั้งราชบัณฑิตยสภาขึ้นมา
ก็ยังได้เชิญเจษฎาจารย์ ฟ.ฮ๊แลร์ มาเป็นสมาชิกด้วย  และยังได้ทรงถามเอาความรู้ต่างๆ จากท่านด้วยหลายเรื่อง

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 17:16

จากนั้น  นายเตียงก็ได้ไปทำงานอยู่ที่ห้างสุธาดิลก  ซึ่งตั้งอยู่ที่ผ่านฟ้า (เคยเป็นกรมโยธาเทศบาล)
ทำหน้าที่ในตำแหน่งสมุหบัญชีดังที่ได้เคยทำมา  

อ้า...ห้างสุธาดิกนี้  เป้นห้างที่มีชื่อเสียงมากในสมัยคุณปู่คุณย่ายังเด็กยังรุ่นๆ เพราะอะไร
ก็เพราะห้างแห่งนี้เป็นผู้นำเอาแผ่นเสียงตราฟาโลโฟน (โลโก้เป็นรูปสุนัขกับลำโพงเครื่องเล่นแผ่นเสียง)
จากต่างประเทศมาจำหน่ายในเมืองไทย    นายเตียงเมื่องานอยู่ที่ห้างนี้  ก็มีความคิดขึ้นมาว่า
ห้างสุธาดิลกน่าจะอัดและทำแผ่นเสียงขึ้นขายเอง  ไม่ควรที่จะต้องอักเสียงแล้วส่งไปทำแผ่นเสียงที่ต่างประเทศ
แล้วส่งกลับเข้ามาขายในเมืองไทยให้ยุ่งยากและเปลืองค่าต้นทุน   อีกทั้งในเวลานั้น  นักร้องเพลงไทย
ที่มีเสียงดีและเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนก็มีหลายคน   นายเตียงจึงนำความคิดนี้ไปเสนอแก่นายห้าง  
นายห้างสุธาดิลกได้ฟังก็ยินดีสนับสนุนความคิดของนายเตียงเป็นอย่างดี   จึงได้ให้นายเตียงรับตำแหน่ง
เป็นผู้จัดการแผนกแผ่นเสียงของห้างอีกตำแหน่งหนึ่ง    และนั่นก็เป็นก้าวแรกที่นายเตียงได้เดินเข้าสู่วงการแผ่นเสียงไทย
ตราบจนกระทั่ง................................................................................
.................................................................................................
...............................................................................................
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.....................................................................................สิ้นลมหายใจ....จบ (ซะงั้น)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 17:33

เรื่องแผ่นเสียงที่ต้องส่งไปอัดทำแผ่นที่ต่างประเทศนั้น  ถ้าใครเล่นหรือสะสมของเก่า
คงจะทราบว่า   ในสมัยรัชกาลที่ ๗ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้มีพระดำริที่จะบันทึกเพลงไทย
เป็นโน้ตสากล  และได้ให้มีการบันทึกเพลงไทยลงแผ่นเสียงด้วย  โดยได้ส่งไปทำแผ่นเสียงที่ประเทศเยอรมนี
จากนั้นข่าวคราวก็เงียบหายไป  ซึ่งมีการบอกต่อๆ กันมาว่า  บริษัทที่ทำแผ่นเสียงให้นั้น  ถูกระเบิดลงราบเป็นหน้ากลอง
ทำให้แผ่นเสียงในคราวนั้นพลอยเสียหายไปด้วย  

อย่างไรก็ดี  ก็มีข่าวเล็ดลอดมาแต่สำนักคลองแสนแสบว่า  หามิได้  ในคราวนั้น  บริษัทที่รับทำแผ่นเสียงเพลงไทย
ได้ส่งแผ่นเสียงตัวอย่างมาถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ๓ แผ่น  แผ่นเสียงทั้ง ๓ แผ่นจึงรอดพ้นจากระเบิดมาได้
และตกทอดอยู่ในเมือง  ไม่ได้หายไปไหน   เพียงแต่ว่าคนไม่เคยเห็นก็ว่าไม่มี  หายสาบสูญ  
มาบัดนี้  มีคหบดีท่านหนึ่งได้พบแผ่นเสียงดังกล่าวแล้ว   แม้จะไม่ครบทั้ง ๓ แผ่นก็ตาม  ได้ฟังดังนั้นก็ชื่นใจยิ่งนัก
สมบัติพระศุลีนี่มีอะไรดีๆ อีกมาก     สงสัยต้องหาโอกาสไปเยี่ยมชมอีก เจ๋ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 19:27

บริษัท ยีครุซเซอร์  ซึ่งเ)้นบริษัททำการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงมากในระยะนั้น
ได้มาติดต่อให้นายเตียงไปทดลองทำบัญชีที่บริษัท  เนื่องจากได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านการบัญชี
ของนายเตียงจากเจษฎาจารย์ของโรงเรียนอัสสัมชัญ (เ้จษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ หรือเปล่า?)


เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เป็นอธิการปกครองโรงเรียนอัสสัมชัญอยู่ ซึ่งท่านมีความรู้ในด้านภาษาไทยอย่างแตกฉาน และมีลูกศิษย์มากมาย ตลอดจนพ่อค้าวานิชต่างให้การนับถือท่านครับ

ออกขุนกล่าวถูกต้องด้วยประการทั้งปวง  เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ นั้น ถ้าใครได้ศึกษาประวัติและผลงานของท่านอย่างละเอียด
(อ่านหนังสือ ๓ เล่ม/ชุด ที่ โรงเรียนอัสสัมชัญพิมพ์  จำได้ว่า เคยซื้อมาราคา ๖๐๐ บาท  เอาไปเล่าให้สหายทางวิชาการท่านหนึ่งฟัง
ท่านร้องอุทานด้วยความตกใจที่ผมได้หนังสือดีราคาถูกมาก  เพราะปกติตามร้านหนังสือมักขายชุดละเป็นพันบาทขึ้นไป)

ก็จะทราบว่า  ท่านเป็นนักศึกษาค้นคว้าคนสำคัญมาตั้งแต่สมัยที่นายกุหลาบ  รถกิจ เอ๊ย ตฤษณานนท์  ทำหนังสือสยามประเภท
ออกมาเผยแพร่   และเป็นสมาชิกคนสำคัญที่นายกุหลาบได้เคยอ้างชื่อถึงอยู่หลายครั้ง   ท่านแต่งตำราเรียนและเขียนแปลหนังสือหลายเล่ม

ความรู้ความสามารถนั้น  จะพูดรำพันมากไปไยมี  แม้แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อทรงตั้งราชบัณฑิตยสภาขึ้นมา
ก็ยังได้เชิญเจษฎาจารย์ ฟ.ฮ๊แลร์ มาเป็นสมาชิกด้วย  และยังได้ทรงถามเอาความรู้ต่างๆ จากท่านด้วยหลายเรื่อง

 ยิ้ม

ลูกอัสสัมชัญย่อมรู้ดี ด้วยตระกูลก้เล่าเรียนสถาบันนี้เรื่อยมา แต่อนิจจาไม่เที่ยง บันปลายชีวิตท่านตาบอดทั้งสองข้าง แต่ความจำท่านดีเลิศเสมอ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 20 คำสั่ง