homessru
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
พอจะมีผู้รู้ท่านไดบ้างที่ทราบรายละเอียดและวิธีทำตำรับอาหารไทยเก่าแก่หายากบ้างค่ะ เช่น เนื้อสมอ หรือ เนื้อซันมอ อะไรประมาณนี้บ้างค่ะ เพราะดิฉันกำลังทำวิจัยอาหารไทยชาววังค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 23:17
|
|
ตำราอาหารไทยเก่าแก่ที่ใช้กันโดยมากก็จะเป็น แม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์
บางท่านก็สามารถอ่านไปถึง ปากะวิชา ในประติทินกรุงเทพ มีบางรายการน่าตื่นเต้นอยู่ เพราะท่านผู้หญิงคิดใช้อาหาร
ตามฤดูกาล เช่นยำโขนงเนื้อ หน้า ๑๒๐ เล่ม ๑ ฉบับที่ ๔ ท่านยำหนังแรดค่ะ โดยนำหนังแรดมาเผา แล้วขูดให้หมดแช่น้ำไว้
ลวกในน้ำร้อน ท่านใส่เครื่องยำคือ ตะไคร้ ใบมะกรูด มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น และหัวกะทิค่ะ สยามส่งออกนอแรดมากในเวลานั้น
ส่วนต่างๆ ที่ใช้ได้ท่านผู้หญิงก็เก็บมาทำเพราะท่านรู้จักจัดการครัวเรือนเป็นอย่างเลิศ
ถ้าเป็นนักอ่านหรือผู้รักการทำกับข้าวอ่านจริงๆต้องตามด้วยหนังสือของคุณจีบ บุนนาค และ
หม่อมเจ้าหญิง จันทร์เจริญ รัชนี ที่ต่างคนต่างเขียนไว้หลายเล่ม ขอแนะนำเล่มของ จจร ที่ชื่อ "ของโปรดชาววัง" ซึ่งมีเมนูเฉพาะของ
วัง ไม่มีที่ไหนลอกได้ เช่นไข่ชโลธร(น. ๖๔ ในเล่มที่พิมพ์ ๒๕๑๗) หนังสือเหล่านี้ไม่มีขายทั่วไปแล้ว เป็นตำราหายากแล้วค่ะ
เป็นไข่ลวก หรือไข่ดิบก็ได้ เนื้อปู หรือเนื้อกุ้งก็ได้ แล้วใส่วุ้นเส้นลวกผสมค่ะ ตำราว่าสำรับคนรับประทาน ๔ คนใช้ เนื้อปู ๔ ถ้วย
ดูจะมากไปหน่อยไหมคะ
ต่อมาก็คงเป็น ตำรับเสาวภา ของพระองค์เจ้า เยาวภา พงศ์สนิท
ตำราของ เอม อมาตยกุล ชื่อ ตำราอาหารไทย-เทศ ก็ลือกันว่าเป็นตำราที่ดีมาก แต่โชคดีที่ดิฉันไม่เห็นค่ะ มิฉะนั้นคงต้องสร้างสาแหรกให้ใหม่เพราะ
คนที่ใช้โยงความสัมพันธ์ไม่ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 08 มิ.ย. 12, 23:44
|
|
ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธรมีตำราทำอาหารอยู่สองเล่ม ท่านทำอาหารแบบประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย เพราะต้องต้อนรับ
ข้าราชการและผู้พิพากษาที่มารับประทานอาหารกลางวันที่บ้านแทบทุกวัน ท่านเป็นสาวชาวสวนจึงคล่องงานบ้าน
และการศึกษาที่เคยเข้าไปอยู่ในวังทำให้ท่านทำน้ำอบน้ำปรุงไปขายได้ถึงวันละ ๔ หาบ เป็นการสร้างรายได้ให้ตนเอง
และครอบครัวค่ะ
หม่อมหลวง ต. เต่า ชุมสาย หลายคนทำกับข้าวอร่อยและช่างคิดพลิกแพลง เช่นอบข้าวตังในเตาอบ และม้วนฝอยทองเป็นเส้นไหม
เพื่อน ๆ ที่ไปรับประทานอาหารที่ร้านคาแฟทเทอเรียที่หม่อมหลวงเติบคุมอยู่ ใครเติมเครื่องปรุงอุตลุดเช่นหวานเค็ม หม่อมหลวงเติบ
จะแวะมาเยีี่ยมที่โต๊ะทันทีกลัวกันเป็นอันมาก รายการนี้เหมาทั้งพวงไปเลยนะคะ กินแถวไปถึงร้านรังต่อด้วย หม่อมหลวงเติบเป็นสุภาพสตรี
ที่มีจริตอันงามกระชดกระช้อย เคยเห็นท่านออกรายการโทรทัศน์ทำกับข้าว รู้สึกว่าคุณนายองุ่น(ในฆาตกรรมก้นครัว)อยู่ที่นี่เอง
ตำราอาหารนั้นมีอยู่หลายเล่ม บางเล่มก็เล่าเรื่องสลัดผักสด แต่เผลอไปว่าใส่ถาดเข้าเตาอบ ๔ ชั่วโมง
ยินดีร่วมวงสนทนาด้วยค่ะ ที่บ้านทำอาหารไทย จีน และฝรั่งแบบง่าย ๆ ค่ะ ตำราพอมี รู้จักประวัติท่านแม่ครัวผู้มีชื่อเสียงบ้าง
ทำข้าวแช่ไม่เป็นค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 09 มิ.ย. 12, 07:13
|
|
ตำราอาหารคาวหวานของ หม่อมหลวงปอง มาลากุล แห่ง ร.ร. วิสุทธิคาม อ่านละเอียดสนุกมากค่ะ
หนังสือเล่มนี้เป็นตำราเก่าไม่มีขายในท้องตลาดมาหลายสิบปีแล้วค่ะ จัดว่าเป็นหนังสือเก่าหายาก
หม่อมหลวงปองเป็นน้องของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ท่านสมรสกับหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ
ตำราของท่านแปลกตรงที่ท่านใช้เครื่องปรุงจากต่างประเทศหลายอย่าง เช่นเล็มโค เป็นหัวน้ำเชื้อ ข้น สีดำ โบวริว มาไมท์
ไก่อบของท่านที่ถอดกระดูกไก่ แล้วบรรจุไส้ซึ่งมีส่วนผสมมากมาย และมีมักกะโรนีต้มส่วนหนึ่ง แล้วนำไก่ไปอบ
เมื่อสุกราดด้วยซ้อสวูสเตอร์ ท่านใช้ซ้อสวูสเตอร์บ่อยทีเดียวค่ะ
ท่านถอดเป็ดไก่ไว้หลายตำรา และได้เขียนตำราถอดเป็ดไก่ไว้ก่อนหน้านี้แล้วเล่มหนึ่ง
ท่านเขียนไว้ในคำนำว่า "ถ้าจะคิดดูให้ถ่องแท้ก็จะเห็นได้ว่า กับข้าวไทยมีอะไรดี ๆ มากอยู่ และจะหาผู้ที่รวบรวมตำรับ
ให้เป็นแบบอย่างตามหลักวิชาและละเอียดถี่ถ้วนอย่างแท้จริงมาเผยแพร้ก็ไม่ง่ายนัก"
ตำราข้าวคลุกรัชกาลที่ ๖ มีเครื่องปรุงเยอะทีเดียวค่ะ จะขอนำมาลงแต่วิธีปรุงเพราะอ่านแล้วก็ทราบว่าตำรานี้มีอะไรบ้าง
บี้ไข่แดงผสมข้าวที่คลุกไว้ โรยเนื้อไก่ หมูหวาน ปลาทอด มะม่วงหรืออื่น ๆ เคล้าให้เข้ากัน
จัดลงภาชนะ โรยกระเทียมเจียว พริกไทยอ่อน วางไข่เค็ม ข้าวเกรียบกุ้งจัดอีกจานหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 09 มิ.ย. 12, 07:25
|
|
รายการอาหารอย่างหนึ่งที่ท่านเรียกว่า "หน้าแท่น" คล้ายคลึงกับไข่ม้วน หรือ หรุ่มในตำราอื่น ๆ
วิธีทำคือนึ่งเครื่องปรุงที่มีหมูกุ้ง ใส่ กระเทียมรากผักชีและข่า(ที่ตำ) ในถาดแบนๆ เมื่อสุกแล้วก็ตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ
โรยไข่ฝอย วางพริก และผักชีตรงกลาง
ตำรานี้บอกให้เรียงชิ้นหน้าแท่นเป็นชั้น ๆ ให้สูง ๓ - ๔ ชั้น ตามแบบจัดจานเชิงของไทย ฟังดูน่ารับประทานมาก
การเรียงขนมเป็นชั้น ๆ นี้ นางศรีมาลาจัดไว้ให้พระไวยก่อนคนอื่นเลยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 09 มิ.ย. 12, 07:45
|
|
ตำราเป็ดม้วนสอดไส้ เป็ดถอดสอดไส้เม็ดบัว คล้ายคลึงกันค่ะ
ตำราแรกมีแฮมดิบ ไข่ไก่ ถั่วลันเตา หัวผักกาดเหลือง(ต้มในน้ำต้มกระดูกแล้วจึงฝาน)
ไข่ไก่นั้นคนให้เข้ากันแล้วทำไข่กรอก เนื้อเป็ดก็สับละเอียดใส่เกลือพริกไท วางหมูแฮมแล้วม้วนเป็ดตามยาว
นำไปอบ ตำราสั่งให้วางในชามก้นลึก เพราะมีผักหลายอย่าง
เครื่องปรุงมีเนย เล็มโค ซอสแม้กกี้
การใช้จานชามที่เหมาะกับอาหารทำให้การนำเสนอน่าสนใจ เพราะถ้าใส่ในชามก้นลึกหรือชามแกง เราก็จะมองไม่เห็น
หัวผักกาดเหลืองหรือหัวผักกาดขาวที่จักไว้เป็นดอก ผักกล่ำ ถั่วลันเตา
เรื่องหมูแฮมสมัยก่อนก็คงต้องเข้าใจว่ามิได้อ่อนนุ่มเหมือนหมูแฮมสมัยนี้(คุยกันได้ต่อในเรื่องเจ้าจอมพิศปรุงแฮม ที่ท่านเปรยว่าทำทีแทบล้มละลาย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 09 มิ.ย. 12, 07:51
|
|
เป็ดถอดสอดไส้เมล็ดบัว
เครื่องปรุงที่แปลกออกไปคือ เมล็ดบัว หรือเกาลัดดิบ หรือข้าวโพด
เห็ดหอม ขนมปังสด
เรื่องขนมปังที่ยัดไส้นี้ มีหลายตำรา เอาไว้คุยกันต่อก็แล้วกันนะคะ
รอคอยท่านอื่น ๆ ที่สนใจเรื่องทำกับข้าวมาร่วมสนทนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 09 มิ.ย. 12, 20:52
|
|
ขออนุญาตแทรกเข้ามา และขอให้ความเห็นในมุมมองอื่นครับ
อาหารชาววังนั้น สำหรับผม เห็นว่าไม่ใช่เรื่องของตัวอาหารแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีเรื่องอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบ แน่นอนว่า อาหารสำหรับเจ้านายชั้นสูงจะต้องทำอย่างดี มีความต่างไปจากอาหารของประชาชนตามปรกติ อาจจะเป็นอาหารที่ใช้เครื่องปรุงที่หาได้ยากหรือหาไม่ได้ตามท้องตลาดปรกติ ใช้เวลาและมีความพิถีพิถันในการทำตลอดจนการปรุงรส ซึ่งจะต่างจากอาหารของชาวบ้านโดยทั่วไปซึ่งไม่สามารถจะใช้เวลาและทำอย่างพิถ๊พิถันได้ เช่น ยำใหญ่หรือยำทวาย แกงบวน เป็นต้น บางอย่าง (มิใช่อาหารชาววัง) เช่น ตีนเป็ดผัดหน่อไม้กระป๋อง ก็อาจเรียกว่าเป็นอาหารชาววังได้ หากมีการทำกันโดยฝ่ายใน เนื่องจากหาซื้อของและหากินได้ยาก
ผมเห็นว่าความต่างที่แท้จริงอยู่ในบริบทของสัมผัสทั้งห้าและ enhancement (ไม่ทราบว่าจะใช้คำภาษาไทยใด) มิใช่ในหลักของเรื่องลักษณะอาหาร (แกง ต้ม ผัด ฯลฯ) ส่วนผสม และเครื่องปรุง
อาทิ จะแกงเผ็ดไก่ ก็คงมิใช่ใช้แต่เนื้อหน้าอก ไม่อร่อยแน่ๆ ต้องใช้เนื้อตะโพก ไม่สับทั้งกระดูก จะแกงเขียวหวานเนื้อ ก็คงจะมิใช่เนื้อไม่ติดมัน เนื้อติดมันส่วนที่เคี่ยวไปแล้วอร่อยที่สุด ก็คือเนื้อส่วนที่ปิดทับซี่โครง ทีเอามาทำเนื้อตุ็๋นนั่แหละ แกงมัสมั่น หากจะใส่ยี่หร่าคั่วให้หอมเพิ่มเติมและใส่ลูกกระวานหลายลูกหน่อยก็จะหอมกว่ามาก แล้วปรุงรสตัดด้วยน้ำมะขามเปียก ผัดเครื่องแกงโดยใช้หางกระทิ พอหอมดีแล้วก็ใส่เนื้อลงไป ค่อยๆใส่หัวกระทิเคี่ยวไปจนเปื่อย มิใช่ใส่หมดทุกอย่างแล้วเคี่ยวไปจนกระทิแตกมันเป็นน้ำมันลอยหนาเตอะอยู่
บางครั้งก็เป็นอาหารสุดง่าย เช่น แกงเขียวหวานเนื้อ ที่แก่เครื่องเทศมากกว่าปรกติ แนมด้วยปลาตะเพียนแดดเดียวทอดให้กรอบพอดี กินได้ทั้งตัว
เขียนมาเช่นนี้ มิได้หมายความว่าสันทัดกรณ๊นะครับ อย่างไรก็ตาม การศึกษาจริงๆก็คงจะต้องเริ่มต้นจากตำราอาหารเก่าๆทั้งหลายตามที่คุณวันดีแนะนำ แล้วก็คงต้องไปวิเคราะห์ว่า มีอะไรที่ซ่อนอยู่ในอาหารนั้นๆโดยเฉพาะ เช่น ความเข้มข้นของแป้งขนมชั้นนั้น จะต้องหยดลงพอติดหลังมือ อะไรคือจุดนั้น ขัดข้าวให้ขาว (ข้าวแช่) ขัดมากน้อยเพียงใด ใช้ขิง แก่หรืออ่อนเพียงใด ใช้น้ำปลาดี อะไรคือน้ำปลาดี น้ำปลาให น้ำปลาดิบ หรือน้ำปาท่หมักไว้ 18 เดือน หรือคะเนว่าพอสุก หมายถึงสุกๆดิบๆ เิริ่มสุกทั่วกัน หรืออย่างไร น้ำมันพอร้อน น้ำมันร้อน คือจุดใหน เหล่าน้เป็นต้น
ขอขยายขี้เท่อมาเพียงเท่านี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 10 มิ.ย. 12, 06:56
|
|
ขอบคุณคุณ naitang ที่กรุณาแวะมาแสดงความคิดเห็น ตรงกับความประสงค์ของจขกทที่กำลัง
จะวิจัยอาหารไทยชาววัง
น่าสนุกนะคะการทำอาหารไทยโบราณ ยิ่งจะประกอบอาหารที่ได้ตำราชาววัง รายการอาหารจากครัวของขุนนาง
ที่เป็นที่เลื่องชื่อและนิยมทำตามก็มีอยู่ไม่น้อย แม่เรือนผู้รอบคอบคงเป็นนักบริหารทรัพยากร ว่าในเวลานั้น ๆ
ครัวมีของสดของแห้งประการใด ใครจะขูดมะพร้าวคั้นกะทิ ใครแรงดีโขลกน้ำพริก ใครใจเย็นใช้ผัดปลาแห้ง
เมื่อพลายแก้วจะไปทัพ คนในเรือนก็ลุกขึ้นมาทำเสบียงโดยพร้อมเพียงกัน เจ้าสาวสองวันได้แต่นั่งเจียนหมาก
แสดงว่าผู้คนในเรือนรู้งานของตนดี
สมัยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์เชิญฝรั่งมังค่า ไปงานที่บ้านราชทูต ท่านเลี้ยงซับเปอร์นะคะ คืออาหารในยามดึก
ในงานระดับนี้ท่านผู้หญิงเปลี่ยนซึ่งเป็นแม่ครัวที่สามารถต้องมีทีมงานที่หัดเอาไว้แล้ว ท่านเล่าไว้ว่าที่ไหนทำกับข้าวอร่อย
หรือแม้นแต่ปั้นขนมจีบดี ท่านก็ไปชวนมือรองๆมาอยู่ด้วย
เรื่องเครื่องปรุงนั้นคนไทยละเอียดละออนัก พริกขี้หนูก็ต้องหักก้านดมว่ามีกลิ่นหอมหรือไม่
น้ำปลานั้นเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว ตำหรับสายเสาวภามีเขียนไว้ถึง ๖ หน้า ท่านอธิบายไว้เป็นวิทยาศาสตร์น่าอ่านทีเดียว
พอ ๆ กับการทำเนยแข็งในครอบครัวของแอลแมนโซในเด็กชายชาวนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 10 มิ.ย. 12, 10:14
|
|
ขออนุญาตแทรกด้วยคนครับ คุณ Wandee ท่านว่า ตำหรับอาหารของศรีมาลา (ม.ล.ปอง มาลากุล) เป็นของหายาก แต่ตอนนี้ท่าจะไม่ยากเสียแล้วละครับ พอดีเมื่อกลางเดือนที่แล้ว อาจารย์ที่ ม.ศิลปากรท่านถามมาเรื่องกาพย์เห่เรือในรัชกาลที่ ๖ ก็เลยเรียนท่านไปว่าที่ หอวชิราวุธานุสรณ์มี ตำรับอาหารพิเศษของ ศรีมาลา หรือ ม.ล.ปอง มาลากุล อยู่ น่าจะลองสาธิตอาหารจากบทพระราชนิพนธ์ด้วย ล่าสุดได้ข่าวมาว่า มหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่งจะจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยไปเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายนนี้ และในงานได้มีการพิมพ์หนังสือเผยแพร่ มีบทพระราชนิพนธ์ กาพย์เห่เรือในรัชกาลที่ ๖ และตำหรับอาหารของศรีมาลา ต่อด้วยตำราอาหารฝรั่งของพระสุจริตสุดา พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๖ ทั้ง ๓ เรื่องล้วนหาอ่านยากมากๆ ครับ ท่านผู้ใดรู้จักอาจารย์หรือนักศึกษาที่ศิลปากรลองติดต่อดูได้นะครับ น่าจะยังพอมีจำหน่ายอยู่บ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 10 มิ.ย. 12, 13:45
|
|
โอ! ขอบพระคุณคุณวีมีค่ะ ข่าวดีทั้งนั้นเลย แต่ดิฉันเห็นว่า ม.ล. ปอง ท่านเขียนไว้มากมาย
ถ้ารวมได้ทั้งหมดก็จะทำให้ผู้วิจัยมองเห็นความนิยมของอาหารฝรั่งที่ทยอยเข้ามาตามเสด็จเจ้านายไทยที่กลับจาก
การศึกษาในต่างประเทศ ตำราขนมฝรั่งของโรงเรียนกุลสตรีวังหลังที่พิมพ์ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๑ บางรายการยังมีในตำรา
กับข้าวที่พิมพ์หลังตั้งสิบปี ตำราของไทยนั้นเท่าที่อ่านดูเหมือนกับตำราของอังกฤษเปี๊ยบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SRISOLIAN
อสุรผัด

ตอบ: 36
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 11 มิ.ย. 12, 09:24
|
|
ขอขอบคุณผู้รู้และผู้สนใจด้านอาหารไทยตำรับชาววังที่ช่วยกันเผยแพร่ความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของไทย ผมพอเห็นตำราอาหารชาววังมาบ้างที่ธรรมศาสตร์ และอีกหลายๆ ที่ เช่น ตำราน้ำพริกของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ตำรากับข้าวพระองค์เจ้าจุไรรัตนสิริมาน ตำราของหม่อมเจ้าสิบพันพารเสนอ โสณกุล (ทั้งของคาวและของหวาน) ตำราของหม่อมเจ้าเราหินนาวดี ฯลฯ หรือใครมีตำรับชาววังที่รวบรวมไว้ตามหนังสืออนุสรณ์งาน หรือเล่มอื่นๆ มาช่วยกันแชร์ก็น่าจะดีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 11 มิ.ย. 12, 09:29
|
|
ตำราน้ำพริกของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ
หยิบหนังสือเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับในรัชกาลที่ ๕ โดย หม่อมหลวงพูนแสง (ลดาวัลย์) สูตะบุตร พิมพ์สนองพระคุณ มาเปิดอ่านเรื่องตำรากับข้าวไทยเฉพาะเครื่องจิ้มและข้าวสำเร็จต่าง ๆ ของสำนักพระวิมาดา โดยเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับในรัชกาลที่ ๕ พบสูตรน้ำพริกหลายหลากรวมถึงน้ำพริกสท้อนด้วย ว่าจะพิมพ์เผยแพร่แล้ว
แต่ลองใช้อินทรเนตรสอดส่องดู พบว่าลงเผยแพร่เรียบร้อยแล้วใน เว็บอาหารของสวนดุสิต
เชิญเข้าทัศนากันได้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 11 มิ.ย. 12, 13:58
|
|
็ อัตราชั่งตวง สหายเด็กชายชาวสวน มีความสงสัยจึ่งไต่ถามวันดีผู้พอจะมีตำราเก่า
สหาย นี่คุณ.... ขนาด ๑ ถ้วยนี่ถ้วยอะไร
วันดี ถ้วยน้ำชาค่ะ
ส ถ้วยของฝรั่งหรือไร
ว ของอังกฤษกระมังท่านผู้เจริญ
ส ทำไมไม่ใช้ถ้วยอเมริกัน
ว อเมริกันไม่ค่อยดื่มน้ำชาเท่าไร เพราะชามาจากอังกฤษ ภาษีแพง ถ้วยน้ำชาอังกฤษเก่าๆ ขนาดใหญ่นะ
ส (อ่อยเหยื่อทำท่าสนใจ) ทำไมล่ะ
ว หญิงอังกฤษที่ทำงานบ้านหรือทำงานครัวนั้น เหนื่อยและหนาว จึงต้องดื่มชาร้อนให้ความอบอุ่น
ส ผมคิดว่า....เป็นถ้วยชาจีนได้ไหม
ว (นึกสรรเสริญสหายในใจ) น้ำชานี่อย่างน้อยก็กินกับบิสกิตนะ ดอกไม้สดเล่าไว้จำไม่ได้หรือ ไม่ได้กินกับขนมเปี๊ยะ เดี๋ยวจะไปหาข้อมูลมาให้
สรุป แต่ละตำรา มีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง
ตำราหม่อมหลวงปอง มาลากุลแจ้งว่า ๑๖ ช้อนคาวเท่ากับหนึ่งถ้วยตวง ๑ ช้อนคาวเท่ากับ ๒ ช้อนหวาน
๑ ช้อนหวานเท่ากับ ๒ ช้อนชา ๑ ช้อนชาเท่ากับ ๒ ช้อนเกลือ
ตำหรับสายเยาวภา บอกว่า ๔ ช้อนชาเท่ากับ ๑ ช้อนโต๊ะ ๔ ช้อนโต๊ะ เท่ากับ ๑/๔ ถ้วยชา( breakfast cup)
๑๖ ช้อนโต๊ะ เท่ากับ ๑ ถ้วยชา
เด็กชายชาวสวน หลบแว่บไปเสียแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 11 มิ.ย. 12, 14:04
|
|
ตำราอาหรของหม่อมหลวงปอง มาลากุล นั้น เคยอ่านอยู่บ้าง เพราะท่านเขียนลงในมานวสาร โดยเริ่มตั้งแต่อาหารตามบทพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือยุคใหม่ของรัชกาลที่ ๖ และกาพย์เห่เรือ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒
สูตรอาหารของท่านละเอียดชัดเจน มีลำดับขั้นตอนไม่ซับซ้อนนัก
หลายคนมักเข้าใจว่า เจ้านายในวังโปรดเสวยอาหารที่แปลกและหายากผิดกับอาหารชาวบ้าน แท้จริงเปล่าเลย อาหารในวังนั้น ก็ไม่ต่างจากอาหารชาวบ้าน นอกจากการเลือกสรรวัตถุดิบที่ดี และปรุงด้วยความประณีตกว่าธรรมดาเล็กน้อย อาหารไทยนั้น แต่ก่อนไม่มีเขียนตำราไว้ จะเรียนรู้การทำอาหารแต่ละอย่างก็ต้องหมั่นเข้าครัวเข้าไปเลียบเคียงช่วยผู้ใหญ่ที่มีฝีมือเขาทำอยู่ข้างเตา ส่วนผสมจะเติมกี่ช้อน หมักนานกี่เดือนกี่ปี ก็ถือเอาประสบการณ์และการตัดสินใจของผู้ประกอบอาหารเป็นสำคัญ ถึงวัตถุไม่ดีเลิศแต่ก็สามารถแกงปรุงเป็นอาหารได้อร่อยได้ อย่างนี้ถือว่าเป็นแม่ครัวพ่อครัวหัวป่าก์ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|