เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 32 33 [34] 35 36 37
  พิมพ์  
อ่าน: 172128 เก็บตกมาจากการเดินทาง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 495  เมื่อ 15 ม.ค. 13, 19:04

ไปต่อเรื่อง ระเบิดเวลาอีกหน่อยครับ

อย่างหนึ่งที่ญี่ปุ่นเขาคิดและพยายามแก้ไข ประกอบกับสภาพที่เข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา   วิธีการหนึ่ง คือ หางานง่ายๆให้คนแก่ทำ  เช่น การจ้างเป็นพนักงานเก็บเงินตามด่านของถนนไฮเวย์  การจ้างเป็นพนักงานทำความสอาดอาคาร  สำหรับคนที่มีความรู้เป็นผู้เชี่ยวชาญมาก็เอามาขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้สันทัดกรณ๊ในองค์กรที่เรียกว่า JODC (๋Japan Overseas Development Corporation)  ซึ่งรัฐบาลหรือภาคเอกชนจะส่งไปผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางช่วยเหลือประเทศอื่นๆทั่วโลก       นัยว่าเป็นการผันการจ่ายเงินจากบัญชีหนึ่งไปอีกบัญชีหนึ่ง

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 496  เมื่อ 15 ม.ค. 13, 19:05

โดยสรุป  ไปเที่ยวอเมริกาและหวังจะจับจ่ายซื้อของ ก็คงจะพอได้สักชิ้นสองชิ้นเท่านั้น
  
สำหรับผมนั้น มีเพียงสองสามอย่างที่จะแวะเวียนเข้าไปดูและอาจจะเสียเงินซื้อ คือ ร้านขายเสื้อ Flannel  หมวกทั้งแบบแก็ปและปีก (เพราะชอบ) มีดและเครื่องมืออเนกประสงค์ใว้ติดตัวระหว่างการเดินทางไปพักผ่อน (แข็งแรงและทนทานมาก) เครื่องใช้ในภาคสนามบางอย่าง (เข็มทิศ แว่นขยายของ AO และ survival gear เป็นต้น) และร้านหนังสือ    ของเหล่านี้ค่อนข้างจะหาซื้อได้ยากในที่อื่นๆ  สำหรับหนังสือนั้น แม้ว่าในปัจจุบันนี้จะสามารถสั่งซื้อได้ทาง website หรือ e-mail ก็ตาม แต่ผมว่าเราไม่สามารถเปิดดูสาระและเรื่องข้างในได้ว่าจะถูกใจหรือไม่ สู้เห็นด้วยตาจนพอใจแล้งจึงจะซื้อไม่ได้ ก็ทั้งหนังสือด้านเทคนิคประเภท DIY และ text book ทางวิชาการบางเรื่อง และพวก references ต่างๆ (หากเป็นในอังกฤษ ก็จะเป็นพวกหนังสือพวก Astrology)  หนังสือเหล่านี้ค่อนข้างจะหายากในประเทศอื่นๆ    

ปัจจุบันนี้คงเปลี่ยนไปมากแล้ว

พูดถึงเรื่องของเข็มทิศ ก็เลยขอต่อสักหน่อยว่า  ปรัชญาในการนำของมาขายร่วมกันในร้านประเภทใดประเภทหนึ่งนั้น ต่างกับของไทยเรา   ของเรา ในร้านขายแว่นตา มักจะผนวกไปด้วย ปากกา และนาฬิกา   ในยุโรปร้านขายแว่นตา จะผนวกพวกเข็มทิศแบบใช้งานทั่วไป และแว่นขยาย  และบางแห่งจะรวมทั้งพวกเครื่องมือวัดทางอุตุนิยมวิทยาด้วย (Barometer, Thermometer, Hygrometer)   ปากกาเขาจะไปขายในร้านเครื่องเขียน ของเราบางแห่งก็อาจจะเป็นแผนกหนึ่งในร้านขายหนังสือ    เมื่อเวลาไปเที่ยวไปทำธุรกิจแล้วหากประสงค์และเจาะจงจะไปหาซื้อของบางอย่าง ก็อย่าลืมคำนึงเรื่องที่ผมเล่านี้ก็แล้วกัน ที่ว่าหาไม่ได้หรือไม่มีนั้น มากกรณีเป็นเรื่องที่เราไปไม่รู้ว่ามันจะไปขายอยู่ในร้านประเภทใดครับ    
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 497  เมื่อ 15 ม.ค. 13, 19:21

มาเพิ่มเติมวกมาที่ระบบการค้าขายแบบใหม่ โดดจากระบบประกันสังคมอีกแล้ว   ยิงฟันยิ้ม    ร้าน Jessops ปิดตัวไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา  Comet ปิดตัวไปเมื่อเดือนธันวาที่แล้ว วันนี้สดๆ ร้อนๆ ร้าน HMV ซึ่งเป็นร้านขาย CD, DVD ที่เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 1921  มีสาขาทั่วอังกฤษเกือบ 400 สาขาก็ปิดตัวอีกแห่งในวันนี้


HMV เปิดกิจการจากการเป็นร้านขายแผ่นเสียง ในอดีตร้านจะ stock เพลงของศิลปินต่างๆ ไว้มากมาย  ใครใคร่ซื้อเพลงหรือแผ่นเสียงจากศิลปินคนไหนมาที่นี่ก็มักจะไม่ผิดหวัง  ในช่วงหลังๆ เริ่มสู้กับตลาด online ไม่ได้เช่นกัน HMV พยายามปรับตัว หันมาขายเกมส์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์มือถือต่างๆ ในร้านมากขึ้น มุมแผ่นเสียง มุม CD, DVD ก็กลายเป็นส่วนเล็กๆ ในร้านไป และยิ่งทำให้ไม่สามารถ stock ผลงานของศิลปินต่างๆ ได้เท่าในอดีต  ทำให้คนที่จะหาซื้อผลงานศิลปินระดับกลางๆ หรือเล็กๆ ที่ผลงานไม่แพร่หลายไปซื้อที่ HMV ไม่ได้อีกต่อไป จุดขายเดิมของร้านก็หายไป จุดขายใหม่ก็เต็มไปด้วยคู่แข่ง สุดท้ายก็ไปไม่รอดอีกแห่ง   HMV ก็เป็นร้านประเภท Highstreet อีกแห่งเช่นกัน  ร้านแบบนี้ในอังกฤษกำลังทยอยกันปิดตัวทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจและวิถีตลาดที่เปลี่ยนไป  


ร้านค้า online เติบโตมากขึ้น เช่น Amezon ที่เรียกได้ว่าขายทุกอย่างตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบจริงๆ ขาดแต่ระเบิดนิวเคลียร์ที่ยังหาซื้อจาก Amezon ไม่ได้ Amezon แทบจะไม่ต้อง stock ของเอง แค่เอากล่องที่แปะตรา Amezon ไปให้ผู้ผลิตเอาสินค้าใส่กล่องและส่ง Amezon ทำหน้าที่เหมือนแค่ตัวกลางในการขายเท่านั้น แต่รับกำไรไปแบบเห็นๆ  แถมอำนาจการต่อรองก็สูงเพราะผู้ผลิตรายย่อยหรือผู้ขายไม่มีอำนาจต่อรองเท่า Amezon ได้



วันนี้ Amezon, Ebay ยังไม่มาบุกตลาดบ้านเราอย่างจริงจัง แต่อีกไม่นานถ้าพวกนี้มาเปิด Amezon เปิด Ebay สาขาไทย ทำตลาดแบบจริงๆ จังๆ เมื่อไหร่  ร้านค้าในไทยจะเจอสภาพแบบอังกฤษอย่างแน่นอน  ตอนนี้ตลาด online ในบ้านเรายังไม่โตนักเพราะติดขัดที่ระบบการชำระเงินที่เป็นอุปสรรค ผู้ขายไม่สามารถรับเงินทางบัตรเครดิตได้สะดวกนัก   ตอนนี้อยากซื้อสินค้า online ยังต้องไปหาซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์มาจ่าย      กับระบบไปรษณีย์ที่มาตรฐานยังไม่ดีนัก เชื่อถือไม่ค่อยได้ บวกกับระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่ยังล้าหลัง  แต่อีกไม่เกิน 10 ปีทุกอย่างจะเปลี่ยนไปอย่างมาก ถ้าตลาด online บูมแบบในแถวยุโรป อเมริกา ห้างใหญ่ๆ น่าจะค่อยๆ เจ๊งกันไป  เหลือแต่พวก discount store ที่ยังรอด  ผมยังไม่ค่อยเห็นการปรับตัวในภาครัฐบ้านเรานักเลย   ตอนนี้คนไทยมากมายขายสินค้าบน Ebay ขายให้คนได้ทั่วโลก แต่คนเหล่านี้ไม่สามารถขายสินค้าเดียวกันให้ผู้บริโภคในไทยได้ เพราะระบบไม่เอื้อ   ตลาดคนซื้อไทยผ่านระบบ online ก็มีน้อย  มันก็แปลกนะเนี่ย



แต่ที่ยังเห็นยืนหยัดได้อยู่คือร้านขายสินค้าที่เน้นภาพลักษณ์  ไม่กี่วันก่อนใน facebook ของคนที่รู้จัก เห็นเค้าเอากระเป๋าหลุตส์วิตตองมาประกาศขาย มีการโชว์ใบเสร็จด้วยว่าซื้อในปี 2010 ราคา 1200 ปอนด์ ขอขายที่ราคา 700 ปอนด์ เห็นแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเธอผู้นั้น  แต่คนที่ขายเป็นแม่บ้านไทยที่แต่งงานกับฝรั่ง  มีลูกเล็กๆ ด้วยกัน 2 คน  ตัวแม่บ้านต้องทำงานเป็นพนักงานเสริฟในร้านอาหารไทย ได้ค่าแรงวันละ 30-40 ปอนด์เท่านั้น ยังอุตส่าห์เก็บเงินไปซื้อกระเป๋าหลุยส์ฯ  ใบละ 1200  วันนี้ร้อนเงินต้องเอามาประกาสขายแบบขาดทุน   เห็นแล้วก็สะท้อนใจว่าคนที่ทำงานที่เรียกได้ว่าละดับล่างที่สุดแล้วในสังคมอังกฤษ ยังอุตส่าห์กระเสือกกระสนไปซื้อของเหล่านี้เพราะเชื่อว่าจะทำให้ภาพลักษณ์ตัวเองดูดีขึ้นมาได้   ค่านิยมบางอย่างของคนไทยนี่มันน่ากลัวจริงๆ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 498  เมื่อ 15 ม.ค. 13, 19:38

เข้ามาเพิ่มเติมอีกเรื่องเช่นเรื่องการขายหนังสือที่ท่านอาจารย์ตั้งบอกครับ ว่าสินค้าบางอย่างอาจจะต้องลองเอง เช่นหนังสือต้องทดลองอ่านดูก่อนตัดสินใจซื้อ แต่ดูแนวโน้มแล้วอีกไม่นานร้านหนังสือใหญ่ในอังกฤษ 2 แห่งคือ WHSmith กับ Waterstone ก็น่าจะเดินตามร้าน Highstreet อื่นๆ ไปเช่นกันครับ


ปัญหาคือปัจจุบันหนังสือมีจำนวนมาก ร้านเหล่านี้ไม่สามารถ stock หนังสือทั้งหมดได้ หนังสือแต่ละปกมาไม่นานก็ต้องเขยิบหรือหลีกทางให้กับหนังสือใหม่ๆ อีก ดังนั้นแม้จะมีข้อได้เปรียบที่ลูกค้าทดลองอ่านได้ แต่ปริมาณหนังสือในร้านจะมีได้ไม่มากนัก แถมหนังสือที่ถูกเปิดทดลองอ่านอาจจะยับย่นไม่สามารถขายในราคาของใหม่ได้  นอกจากนั้นหนังสือในร้านเหล่านี้มีราคาแพงกว่าซื้อ online มาก มักจะขายตามราคาหน้าปก ผมเองไม่เคยซื้อหนังสือจากร้านพวกนี้เลยเพราะแพง  แพงกว่าซื้อ online หลายเท่าตัว  ส่วนใหญ่ซื้อหนังสือจากร้านจะซื้อแต่จากร้านที่ขายหนังสือลดราคามากๆ เท่านั้น เช่นหน้าปก 25 ปอนด์ ขาย 7 ปอนด์อะไรแบบนี้


ส่วนร้าน online นอกจาก stock แทบไม่จำกัดแล้ว   บางเล่มอาจจะมีเนื้อหาให้ทดลองอ่านได้สองสามหน้า  สามารถดูสารบัญได้ว่าในเล่มมีอะไร แต่ที่สำคัญคือมี customer review ที่ลูกค้าอื่นที่เคยซื้อสินค้าหรือหนังสือนี้ไปให้ความเห็นไว้ ซึ่ง review ตรงนี้มีผลมากสำหรับการตัดสินใจซื้อหนังสือของผม ในขณะที่หนังสือจากร้าน เราลองอ่านได้แต่อ่านได้จริงคงไม่กี่หน้า บางครั้งยังบอกไม่ได้ว่าเนื้อหาทั้งหมดดีหรือไม่ดี   และเราแทบจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าคนอื่นที่ซื้อหนังสือนี้ไปแล้วให้ความเห้นว่าไง  แต่ในร้าน online  เราอ่านความเห็นคนอื่นได้  ดังนั้นระบบการ review จากลูกค้าจึงเป็นจุดแข็งอีกอย่างที่สำคัญมากๆ ของระบบ online   


แต่พอลองมาดูร้านหนังสือ online บ้านเรา เช่น สนพ มติชนที่ผมเคยซื้อ ไม่มีระบบ review ตรงนี้ มีแต่เนื้อเรื่องย่อ  ซึ่งทำให้ลูกค้ายังลังเลที่จะซื้อได้  ผมซื้อหนังสือมาหลายเล่มเนื้อหาไม่ได้เรื่อง ทำให้เข็ดขยาดจากการซื้อครั้งต่อๆ ไป และนี่เป็นอีกภาพสะท้อนของการไม่ทอดสายตามองโลกกว้าง ปรับตัวและนำจุดแข็งที่คนอื่นใช้แล้วประสบความสำเร็จมาปรับของผู้ประกอบการบ้านเราครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 499  เมื่อ 15 ม.ค. 13, 20:13

การซื้อสินค้า on line เป็นระเบิดเวลาที่ระเบิดตูมออกมาแล้วละค่ะ     ถ้าจะจับตัวการที่ทำให้ห้างสรรพสินค้าล้มระเนนระนาด ก็ชี้นิ้วไปที่ผู้คิดระบบซื้อขายออนไลน์ได้เลย
ในเมือง  มีศูนย์การค้าหลายแห่งอยู่มาก่อนดิฉันไปเรียน    ดำเนินกิจการผ่านร้อนผ่านหนาวมานานหลายสิบปี   กลับไปอีกครั้งหนึ่ง อ้าว แหล่งที่เราเดินต๊อกๆไปชมเป็นครั้งแรก ล้มไปเสียแล้ว   อีกแห่งอยู่ไกลออกไปอีกหน่อยต้องขับรถไปก็เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนร้าน  อยู่ในภาพร่อแร่ลมหายใจรวยริน   วันๆ ไม่มีคนไปเดินเลย   ไปเสาร์อาทิตย์ก็ไม่มีคน วันธรรมดายิ่งชวนให้ผีหลอกอย่างยิ่ง    ร้านทยอยปิดกันไปทีละร้าน  ที่เหลือก็อยู่แบบซังกะตาย

ในเมื่อไปทุกปี ก็จะมองเห็นความเสื่อมเข้ามาเยือนแบบไม่มีทางดีขึ้น    พวกร้านดังๆอย่าง Hallmark ก็สู้ไม่ไหว  เหลือ Sears กับ J.C.Penny จะไปเมื่อไรไม่รู้   ส่วน Dillard ปิดสาขาไปแล้ว   เลหลังสินค้ามาขายถูกมาก

ขับรถไปเมืองใกล้ๆดูศูนย์การค้าที่นั่น ก็ปิดร้างกันไปเป็นห้องๆ

เพราะอะไร  เพราะซื้อสินค้าออนไลน์ ถูกกว่า ประหยัดกว่า หาของเจอได้มากกว่า    มันไม่ใช่ทางเลือกด้วยซ้ำค่ะ  มันเป็นไฮเวย์ใหม่ที่ตัดมาให้ไปแทนทางเก่าน่ะไม่ว่า

คุณตั้งคงพอนึกออกว่าถ้าคุณตั้งขับรถไปซื้ออุปกรณ์เดินป่าที่ศูนย์การค้า  คุณไม่มีทางรู้ล่วงหน้าเลยว่ามันจะมีขนาด/สี/ยี่ห้อ/ฯลฯที่คุณต้องการเหลืออยู่ในร้านรึเปล่า    อาจจะขับรถไปหาแล้วไม่เจอ คว้าน้ำเหลวกลับบ้าน   แต่ถ้าคุณเปิดเว็บไซต์อย่างอเมซอนหรืออีเบย์ มันย่อห้างสรรพสินค้าทั่วอเมริการวมทั้งสินค้ามือสองทางบ้านมาอยู่ในจอตรงหน้า   จะเอาสินค้าขนาดไหนแบบไหน ถามหาได้ทั้งสิ้น มีในสต๊อคหรือไม่มีก็รู้กันตรงนั้น    ถ้าซื้อหนังสือ เสียดายสตางค์ซื้อของใหม่ ก็มีหนังสือมือสองมาให้เลือกไม่อั้น    แถมราคาถูกจนแทบจะอยากกวาดมาให้หมดกอง 

พอสั่งปุ๊บ  เขาส่งไปรษณีย์ปั๊บ   มาถึงบ้านทันทีในวันสองวัน    ถ้าไม่ถูกใจหรือเจอตำหนิ ส่งคืนได้   ไม่ต้องกระดิกตัวออกจากบ้าน ค่าน้ำมันรถก็ไม่เสีย    ดังนั้น  ถ้าไม่อยากจะไปเดินชมแสงสีในห้างสรรพสินค้า  ก็นั่งอยู่ในบ้านนี่แหละค่ะ สินค้าลอยมาถึงมือเอง

แล้วอย่างนี้ศูนย์การค้าจะไปเหลืออะไรล่ะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 500  เมื่อ 15 ม.ค. 13, 20:25


วันนี้ Amezon, Ebay ยังไม่มาบุกตลาดบ้านเราอย่างจริงจัง แต่อีกไม่นานถ้าพวกนี้มาเปิด Amezon เปิด Ebay สาขาไทย ทำตลาดแบบจริงๆ จังๆ เมื่อไหร่  ร้านค้าในไทยจะเจอสภาพแบบอังกฤษอย่างแน่นอน  ตอนนี้ตลาด online ในบ้านเรายังไม่โตนักเพราะติดขัดที่ระบบการชำระเงินที่เป็นอุปสรรค ผู้ขายไม่สามารถรับเงินทางบัตรเครดิตได้สะดวกนัก   ตอนนี้อยากซื้อสินค้า online ยังต้องไปหาซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์มาจ่าย      กับระบบไปรษณีย์ที่มาตรฐานยังไม่ดีนัก เชื่อถือไม่ค่อยได้ บวกกับระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่ยังล้าหลัง  แต่อีกไม่เกิน 10 ปีทุกอย่างจะเปลี่ยนไปอย่างมาก ถ้าตลาด online บูมแบบในแถวยุโรป อเมริกา ห้างใหญ่ๆ น่าจะค่อยๆ เจ๊งกันไป  เหลือแต่พวก discount store ที่ยังรอด  ผมยังไม่ค่อยเห็นการปรับตัวในภาครัฐบ้านเรานักเลย   ตอนนี้คนไทยมากมายขายสินค้าบน Ebay ขายให้คนได้ทั่วโลก แต่คนเหล่านี้ไม่สามารถขายสินค้าเดียวกันให้ผู้บริโภคในไทยได้ เพราะระบบไม่เอื้อ   ตลาดคนซื้อไทยผ่านระบบ online ก็มีน้อย  มันก็แปลกนะเนี่ย
ถ้าดิฉันมีหัวทางธุรกิจเสียหน่อยจะทำธุรกิจแบบ amazon หรือ ebay ในไทย  โดยมีพนักงานส่งของตัวเองในเขตกรุงเทพและปริมณฑล  กับจัดการระบบชำระเงินให้คล่องตัวง่ายดาย   จะใช้บัตรเครดิตยังไงแบบไหนก็ตามแต่     เพราะธุรกิจนี้จะต้องเดินเข้ามาแน่ๆ ในอนาคตอันใกล้   ไม่ต้องวางสินค้าในร้าน  ไม่ต้องก่อสร้างร้านบนที่ดิน  ไม่ต้องแม้แต่จะเช่าห้องขายในศูนย์การค้า    พนักงานหน้าร้านก็ไม่ต้องมี   ทำให้ประหยัดต้นทุนไปได้มหาศาล   เพียงแต่ต้องจัดการระบบให้รวดเร็ว คล่องตัว และถูกต้องเชื่อถือได้   
อ้อ อีกอย่าง ต้องรับมือกับลูกค้าที่ไม่ตรงไปตรงมา ประเภทถือว่าโกงไปโกงมาได้นับเป็นชัยชนะ   คนไทยจำนวนมากชอบเล่นกับช่องโหว่ของระบบ      ผู้ขายขายตรงไปตรงมาแต่ผู้ซื้อไม่ยอมตรงด้วย คนขายก็เจ๊ง   หรือลูกค้าตรงไปตรงมาแต่ผู้ขายหลอกบริโภค ก็เหนื่อยและไปไม่รอดทั้งสองทางค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 501  เมื่อ 16 ม.ค. 13, 19:14

ใช่ครับ

ผมเห็นว่า สินค้าที่ซื้อขายในระบบ on line นี้ เป็นสินค้าประเภทที่ผู้ซื้อโดยทั่วไปสามารถพิจารณาตัดสินใจได้ด้วยความเหมาะสมระหว่างราคากับผลิตภัณฑ์สินค้านั้นๆ แต่หากเป็นสินค้าประเภทที่จะต้องพิจารณในด้านคุณภาพและความมีคุณค่า ยังไงก็จะต้องขอดูด้วยตาและจับต้องเสียก่อนที่จะตัดสินใจ  ด้วยลักษณะนี้ รูปภาพและรายละเอียดที่ได้เห็นได้อ่านใน website และ web page ต่างๆ จึงเป็นเพียงตู้โชว์สินค้า ซึ่งจะทำให้เกิดการติดต่อสอบถามเพื่อไปดู ไปสัมผัสของจริง   ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเห็นในอีกมุมมองหนึ่งว่า มันก็ยังพอมีช่องว่างในการปรับตัว  อาจจะเปลี่ยนจากสภาพการขายของเป็นแบบ retailer (สำหรับสินค้าบางอย่าง) ที่ต้องมีหน้าร้านของตนเอง ไปเป็นการขายแบบ B2ฺB และ B2C ที่ใช้ web page เป็นหน้าร้าน   ซึ่งก็ทำกันทั่วไปอยู่แล้ว   

ในญี่ปุ่น ผมได้เห็นอยู่มากมาย จากที่ต้องเช่าร้านที่มีหน้าร้านติดถนน ก็ลดค่าใช่จ่าย เปลี่ยนเป็นการเช่าห้องในตึกใดตึกหนึ่ง ชั้นใดก็ได้ที่สู้ราคาได้ มี web site หรือ web page ของตนเองสำหรับการ search หา    สำหรับในบ้านเรา คน (ทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ) ที่จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์พอที่จะเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ยังมีค่อนข้างจะมีจำกัด (เมื่อเปรียบเทียบกับความก้าวหน้าของระบบทางเทคโนโลยี)  จะจ้างเขาก็ต้องจ้างต่อเนื่อง เพราะต้องมีการ update อยู่ตลอดเวลา สู้ไม่ไหว กิจการก็คงจะต้องล้มหายกันไป

อันที่จริง ภาพการเกิดการตายของกิจการของพวก SME นี้ เป็นภาพที่จะต้องเห็นเป็นปรกติในธุรกิจสมัยปัจจุบัน (ในสิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน)    ในยุโรป ในญี่ปุ่น ในเกาหลี ก็มีภาพเช่นนี้  (ในสหรัฐ ไม่ทราบครับ)  เป็นภาพของการแข่งขันกันแบบใครดีใครอยู่   ปรัชญาของตลาดแบบเสรีินิยม (free market economy) ดูจะชอบที่จะเห็นสภาพเช่นนี้ ด้วยเหตุผลหนึ่งว่า มันทำใ้ห้เกิดการสร้างนวัตกรรม ซึ่งคนที่จะสามารถแข่งขันอยู่ได้จะต้องเป็นผู้รู้จริง ซึ่งส่วนหนึ่งหมายถึงการเิกิด (และตาย) ใน niche market   ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐในประเทศต่างๆจะมีกฎหมายเกี่ยวกับ SME (หรือส่งผลถึง SME) มากมาย  ก็เพื่อช่วยเหลือให้ SME ที่มีนวัตกรรมหรืออยู่ใน niche market เหล่านั้นได้อยู่รอด (ด้วยหมายถึงสภาพการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและการแข่งขันของประเทศในองค์รวม)   สหรัฐฯนั้น จะเรียกว่าเป็นต้นตำหรับสำหรับกฎหมายประเภทนี้ก็ว่าได้  เมื่อเข้าไปเป็นผู้ดูและญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองในระยะแรกๆ กฎหมายที่ขอให้รัฐสภาญี่ปุ่นออกมาแรกๆก็คือ กฏหมายเกี่ยวกับการสนับสนุน SME  (จำได้ว่า ในปัจจุบันนี้ญี่ปุ่นมีซัก 10 ฉบับได้มั็้ง)  ของยุโรปก็มีเหมือนกัน  ของไทยนั้น ยังนึกไม่ออกเลยครับ มีแต่กฎหมายตั้ง สสว.และ SME Bank เท่านั้นกระมังที่ชัดเจน นอกนั้นก็ดูจะเป็นคำพูดเชิงนโยบาย
 

     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 502  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 18:32

^
^
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่เอามาคิดแล้วก็น่าสนใจ      แสดงว่าเหล่าร้านโรงเล็กๆที่ยังสามารถดำรงกิจการอยู่ใด้นั้น น่าจะต้องมีดี เป็นพวกที่อยู่ใน niche market หรือไม่ก็ต้องมีนวัตกรรมในบางเรื่อง

เมื่อเรากล่าวถึงคำว่า นวัตกรรม (innovation) ส่วนมากเราจะไปนึกถึง ประดิษฐกรรมใหม่ๆ (invention)  แท้จริงแล้ว นวัตกรรมเป็นเรื่องของการทำให้เกิดผล  ในขณะที่ ประดิษฐกรรมเป็นเรื่องของการทำให้เกิดสิ่งของ   มีประดิษฐกรรมดีๆมากมายแต่ไม่สร้างให้เกิดมีนวัตกรรม จึงไม่สามารถจะสร้างให้เกิดรายได้อย่างที่ควร

นวัตกรรมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในด้านอื่นๆมากมาย อาทิ หลังการขาย (ที่เรียกว่า after sale service) นั้น โดยทั่วไปแล้ว การบริการหลังหารขายจะเป็นเรื่องอยู่แต่เฉพาะการบำรุงรักษาและซ่อมแซม       ต.ย. กรณีเครื่องไมโครเวฟนั้น นวัตกรรมเกี่ยวกับเรื่องของหลังการขายที่ผมเคยเห็นก็คือ มีการส่งเอกสารแนะนำการทำอาหารที่แปลกและอร่อยๆจากเครื่องนั้นๆเพิ่มเติม ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ามิได้มีไว้เพียงเพื่อใช้ในการอุ่นอาหารเท่านั้น หรือทำได้เพียงอาหารตามคำแนะนำในเอกสารแนบ หรือตามเอกสารที่แถม หรือตามที่โฆษณาไว้ก่อนการซื้อนั้นๆเท่านั้น      หลังการขาย ผู้ขายจะให้ข้อมูลและความรู้เพิ่มเติมแบบต่อเนื่องโดยการส่งเอกสารมาแนะนำเป็นระยะๆว่า มันมิใช่จบแต่เฉพาะว่าเมื่อซื้อไปแล้วก็จบ ให้ไปหาการใช้ประโยชน์ต่อเอาเอง    แต่เป็นว่าเราช่วยให้ท่านได้มีพัฒนาการใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดอย่างต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง ช่วยทำให้เกิดสิ่งดีๆในชีวิตของท่าน มีความคุ้มค่าคุ้มราคาจากการเลือกซื้อสินค้ายี่ห้อนี้ของท่าน ตลอดอายุการใช้งาน   หากสนใจผมมีเรื่องพวกนี้พอจะเล่าได้อีกพอควร

วกกลับเข้าเรื่อง เป็นอันว่าเราพอจะสันนิษฐาณได้บางอย่างว่า ร้านเล็กๆที่ยังคงดำรงกิจการอยู่ได้นั้นต้องมีดี คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองที่จะต้องค้นหาความต่างนั้นๆให้พบ   โดยนัยก็คือ เราจะต้องรู้จักและค่อนข้างจะรู้จริงกับสิ่งของที่เราจะซื้อหานั้นให้ดีพอในแง่มุมต่างๆ ซึ่งก็คือต้องทำการบ้านก่อนจะไปซื้อหาของใดๆ ความคุ้มค่า คุ้มราคา แบบที่ไม่ต้องรู้สึกเสียรู้หรือเสียใจในภายหลังก็จะไม่บังเกิดขึ้น     

 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 503  เมื่อ 18 ม.ค. 13, 10:10

ช่วยทำให้เกิดสิ่งดีๆในชีวิตของท่าน มีความคุ้มค่าคุ้มราคาจากการเลือกซื้อสินค้ายี่ห้อนี้ของท่าน ตลอดอายุการใช้งาน   หากสนใจผมมีเรื่องพวกนี้พอจะเล่าได้อีก

มีคนบอกว่าการใช้ไมโครเวฟทำอาหาร หรือแม้แต่ต้มน้ำก็ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งคนที่ไม่มีความรู้เรื่องคลื่นไมโครเวฟตกค้าง
หรือสลายไปในทันที ก็เลยกลัวๆกล้าๆ แต่ที่แน่ๆมันใช้อุ่นอาหารได้เร็ว และสะดวกสบายจนคนรุ่นใหม่ต้องมีไว้เกือบทุกบ้าน
รวมทั้งเมนูง่ายๆในฐานะผู้ชำนาญเรื่องการทำอาหาร คุณตั้งมีอะไรเล่าสู่กันได้บ้างไหมคะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 504  เมื่อ 18 ม.ค. 13, 19:15

หากจะใ้ห้เล่าเรื่องอาหารที่ทำด้วยไมโครเวฟนั้น  ผมไม่สันทัดเลย    ที่จริงแล้วหมายถึงจะเล่าตัวอย่างของนวัตกรรมในบางเรื่องในการทำธุรกิจของ SME ที่เห็นมาครับ

เอาละครับ ก็พอมีเกล็ดเล็กๆน้อยๆในเรื่องของการใช้ไมโครเวฟ  แยกซอยออกไปเล็กน้อยสักรายการหนึ่งนะครับ

คงมีหลายคนที่ซื้อข้าวเหนียวมากินกับ...  แล้วกินไม่หมด บ้างก็ทิ้งที่เหลือไป บ้างก็เก็บไว้ในตู้เย็น   สำหรับผมนั้น หากเหลืออยู่มากพอที่จะกินได้อีก ผมจะเอาไปเก็บใว้ในตู้เย็นทั้งถุงพลาสติคหรือจะเอาออกไปเก็บไว้ในกล่องพลาสติคก็ได้  ข้าวเหนียวนั้นก็จะแข็งตัว จะเก็บไว้สักสองสามวันหรือถึงสัปดาห์ก็ได้ ไม่เป็นปัญหา  เมื่อจะกินก็เอาออกมาบีบให้แยกเป็นเม็ดข้าวแตกร่วน เอามือชุบน้ำให้เปียก และเทน้ำลงไปเล็กน้อย คลุกเคล้าให้น้ำเปียกทั่วทุกเม็ด คือให้พอมีน้ำฉ่ำ ไม่ถึงกับเฉอะแฉะ  ใส่ภาชนะแล้วเอาเข้าไมโครเวฟ ไฟปานกลางไปทางแรงหน่อย แล้วก็เอาออกมา ใช้ซ่อมพลิกและพยายามคลุกเคล้าให้ทั่วกัน หากเห็นว่าน้ำดูจะน้อยไป ก็เอาน้ำพรมอีกสักหน่อย เคล้าให้ทั่ว แล้วก็เอาเข้าไมโครเวฟอีกครั้ง  จะได้ข้าวเหนียวที่นิ่มมากออกมา ดีไม่ดีจะดีกว่าที่ซื้อมาอีก  คงทราบกันอยู่แล้วนะครับว่า จะหุงข้าวเหนียวให้นิ่ม จะต้องแช่ข้าวค้างคืน  บรรดาแม่ค้าทั้งหลาย มักจะไม่ได้ทำเช่นนั้น จะแช่เพียงสิบหรือสิบห้านาทีเท่านั้น ซึ่งจะได้ข้าวเหนียวที่มีเนื้อหยาบ  แล้วแถมยังไม่มีพรมด้วยน้ำเปล่าแล้วมูลข้าวหลังจากข้าวสุกแล้วเพื่อช่วยให้นิ่มอีกด้วย 
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 505  เมื่อ 19 ม.ค. 13, 19:41

ไปเรื่องช๊อบปิ้งต่อครับ

ในสหรัฐฯ ค่อนข้างจะหนีไม่พ้นที่แหล่งเดินช๊อบปิ้งก็คือ Mall เป็นหลัก  เว้นแต่จะเป็นในเมืองเล็กๆที่จะมีอยู่รายเรียงในถนนสายกลาง  แต่คุณเทาชมพูก็ได้บอกแล้วว่าหายหน้าหายตากันไปเกือบหมดแล้ว

ในยุโรปไปอีกแบบหนึ่ง  ทัวร์เกือบทั้งหมดและรวมทั้งเอกสารเผยแพร่การท่องเที่ยวโดยทั่วๆไป จะแนะนำให้ไปเดินที่บริเวณลานกลางเมือง สถานที่นี้ไปง่ายมาก หากขับรถเองหรือถามคนเขาก็จะบอกให้ตามป้าย i ไป ตามป้ายนี้ไปเถอะครับ แทบจะไม่ผิดเพี้ยนเลยว่าจะเป็นใจกลางของเมืองนั้นๆ มีที่จอดรถ มีคนพูดภาษาอังกฤษได้ ดูสะดวกดี เพียงแต่ย่านนี้จะเป็นแหล่งของการพานักท่องเที่ยวมาเดินชมเมือง มีร้านค้าหลากหลายอยู่มากพอควร ซึ่งอีกนั่นแหละของก็จะขายในราคาสำหรับนักท่องเที่ยวจากต่างเมืองต่างประเทศ     

เมืองในยุโรปแทบจะทุกเมืองก็ว่าได้ จะมีถนนสายหนึ่งที่คนในท้องถิ่นเขาไปซื้อของจับจ่ายใช้สอยสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันกัน ซึ่งราคาจะถูกกว่าค่อนข้างมาก เรื่องหนึ่งที่เราอาจจะได้พบและเห็นเป็นเรื่องแปลกสักหน่อย คือ บนถนนสายเดียวกันนี้ มีร้านอยู่สองสามร้านที่ชื่อเดียวกัน ขายของยี่ห้อเดียวกัน    เรื่องนี้เป็นรูปแบบใหม่ของการขายของ ซึ่งส่วนมากจะเป็นร้านขายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย  (ในญี่ปุ่นก็เป็นเช่นนี้ แต่มีทั้งร้านที่ขายพวกเสื้อผ้าและร้านที่ขายพวกของบริโภคด้วย)

ในร้านพวกนี้ (และรวมทั้งร้านอื่นๆด้วย) ในแต่ละร้านจะขายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายคนละ Model หรือคนละ trend กัน (คนละ mode หรือคนละ fashion)  หรือแม้จะเป็นสินค้าใน Mode ใน trend เดียวกัน แต่ก็จะต่างกันในวิธีการตบแต่งประดับประดาให้ดูสวยงาม    เรื่องของเรื่องก็ตั้งอยู่ในปรัชญาความคิดที่ว่าผู้ซื้อต้องการใช้ของที่ไม่เหมือนใครอื่น    ดังนั้น ในราวแขวนเสื้อผ้าเดียวนั้น จะมีเสื้อผ้าหลากหลาย แม้รูปทรงและแบบเหมือนกัน แต่ก็จะต่างกันที่กระดุมบ้าง สีของกระดุมบ้าง สีของซิปบ้าง ฯลฯ สารพัดที่เสื้อผ้าในราวแขวนเดียวกันจะไม่เหมือนกัน  ขนาด (size) ก็มีจำกัด ไม่มีก็คือไม่มี จะไปหาในอีกร้านหนึ่งก็ไม่มี

ในเมืองไทยมีแบบนี้หรือไม่  มีครับ เห็นได้ชัดในจตุจักรเป็นหลัก  คนต่างชาติจึงชอบไปเดินซื้อของประเภทนี้ เพราะถูกว่า อยู่ใน fashion และ trend  แถมสินค้าไม่ซ้ำกันไม่ดูเป็นของโหลอีกด้วย     จะว่าไปพ่อค้าแม่ค้าไทยก็ไม่เบานะครับ มี innovation เหมือนกัน       
 
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 506  เมื่อ 19 ม.ค. 13, 21:51


ถ้าดิฉันมีหัวทางธุรกิจเสียหน่อยจะทำธุรกิจแบบ amazon หรือ ebay ในไทย  โดยมีพนักงานส่งของตัวเองในเขตกรุงเทพและปริมณฑล  กับจัดการระบบชำระเงินให้คล่องตัวง่ายดาย   จะใช้บัตรเครดิตยังไงแบบไหนก็ตามแต่     เพราะธุรกิจนี้จะต้องเดินเข้ามาแน่ๆ ในอนาคตอันใกล้   ไม่ต้องวางสินค้าในร้าน  ไม่ต้องก่อสร้างร้านบนที่ดิน  ไม่ต้องแม้แต่จะเช่าห้องขายในศูนย์การค้า    พนักงานหน้าร้านก็ไม่ต้องมี   ทำให้ประหยัดต้นทุนไปได้มหาศาล   เพียงแต่ต้องจัดการระบบให้รวดเร็ว คล่องตัว และถูกต้องเชื่อถือได้   
อ้อ อีกอย่าง ต้องรับมือกับลูกค้าที่ไม่ตรงไปตรงมา ประเภทถือว่าโกงไปโกงมาได้นับเป็นชัยชนะ   คนไทยจำนวนมากชอบเล่นกับช่องโหว่ของระบบ      ผู้ขายขายตรงไปตรงมาแต่ผู้ซื้อไม่ยอมตรงด้วย คนขายก็เจ๊ง   หรือลูกค้าตรงไปตรงมาแต่ผู้ขายหลอกบริโภค ก็เหนื่อยและไปไม่รอดทั้งสองทางค่ะ
ข้อดีของการซื้อของทางอินเติร์เนทอีกอย่างคือ ถ้าเลือกดีๆไม่ต้องเสียภาษีการค้า  ภาษีการค้าในสหรัฐฯ รัฐเป็นคนเก็บ แตกต่างกันไปแต่ละรํฐตั้งแต่ 5% ถึง 9% บางแห่งยังมีภาษีท้องถิ่นบวกเข้าไปอีก ถ้าซื้อจากร้านที่ไม่มีสาขาในรัฐที่ผู้ซื้ออยู่ ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า  บางร้านมีสาขาใน 4-5 รัฐ ถ้าผู้ซื้ออยู่ใน 4-5 รัฐนั้นก็ต้องเสียภาษีโดยผู้ขายจะบวกไว้ก่อนรวมยอด  ข้อเสียของการซื้อแบบนี้ คือต้องเสียค่าส่ง แต่ถ้าของราคาสูง นน.ไม่มาก ไม่ต้องการด่วน ค่าส่งก็น้อยกว่าภาษีมาก  ระยะหลังๆนี้รัฐต่างๆชักจะอยากได้เงินจากการซื้อขายแบบนี้ แต่ตอนนี้ยังหาทางบังคับให้ผู้ขายซึ่งไม่ได้มีสาขาอยู่ในรัฐนั้นเป็นคนเก็บภาษีการค้าแทนไม่ได้ บริษัทพวก UPS, FedEx ถึงได้รุ่งเรือง ถ้าเมื่อไหร่รัฐแต่ละรัฐหาทางบังคับให้ผู้ขายนอกรัฐเก็บภาษีแทนได้การค้าแบบนี้คงน้อยลงมาก

คุณเทาชมพูครับ ผมว่าเปิดกิจการแบบนี้ถ้าทำดีๆ โดนโกงยากเพราะคนขายมือเหนือกว่าคนชื้อ  ส่งเงินมาก่อน (เครดิตการ์ด หรือ เช็คส่วนตัวซึ่งรอจน clear หรือ ธนาณัติ) แล้วส่งของไปให้ (จะประกันการส่งหรือไม่แล้วแต่ผู้ซื้อ ถ้าไม่ประกันคนส่งเขาอาจไม่รับผิดชอบ) ไม่ถูกใจไม่ว่าในกรณีใดถ้าห่อยังไม่แกะหรือของยังไม่ได้ใช้ หรือของชำรุด คืนได้ภายใน ๑๕ วัน ๓๐ วัน ทั้งนี้อยู่ในดุลย์พินิจของผู้ขาย ถ้ายอมรับของคืนก็คืนเงินให้แต่หักค่าส่งขาไปไว้  คนจะโกงต้องคิดก่อนว่าจะเสียค่าส่งทั้งขึ้นทั้งล่อง แล้วถ้าร้านเขาไม่เชื่อว่าสุจริตเขาอาจไม่รับคืน  ร้านพวกนี้ส่วนใหญ่มี database คนที่คืนของบ่อยๆ แรกๆเขายอมแต่พอนานไปเขาไม่ยอมขายให้ ผมเคยเอาของไปคืนที่ร้านตรงช่องคืนของ ได้ยินพนักงานบอกคนข้างหน้าว่า มีหลักฐานว่าคืนของในอัตราที่สูงเหลือเกิน ขอเตือนว่าหลังจากนี้ถ้าเอาของมาคืนจะเข้มงวดมากขึ้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 507  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 18:06

ในไทยเรา ภาพของการช็อบปิ้งใน กทม. ต่างกันเกือบจะสิ้นเชิงกับภาพในต่างจังหวัด 

คงจะกล่าวได้เลยว่า คนกรุงเทพฯจะไม่เดินซื้อหาของใช้ในต่างจังหวัด   แต่จะไปยังสถานที่ช็อบปิ้งที่เรียกกันว่า ไนท์บาซาร์ และถนนคนเดิน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเป็นตลาดช่วงเย็นและกลางคืน แนวคิดการจัดตลาดแบบนี้ได้แพร่หลายอยู่ในตัวเมืองของจังหวัดที่เป็นแหล่งพักหลักของการเดินทางไปท่องเที่ยว จังหวัดเล็กและที่เป็นทางผ่านแทบจะไม่ประสบผลสำเร็จเลยในการจัดตลาดแบบนี้  แม้จะจัดให้มีเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือจัดเฉพาะัวันหยุดก็ตาม

ผมเห็นว่าตลาดที่เรียกว่า ไนท์บาซาร์ นั้น ของที่มีขายส่วนมากจะเป็นของที่ผลิตมาจากหลายจังหวัดในภูมิภาคนั้นๆ และเป็นของที่ทำการผลิตบนฐานความคิดแบบ mass production  การค้าขายก็อยู่บนฐานของกิจการที่ยึดถือเป็นอาีชีพ   ในขณะที่ตลาดแบบ ถนนคนเดิน นั้น ผมเห็นว่าน่าสนใจมากกว่ามาก มีของกินหลากหลายและศิลปหัตถกรรมหลากหลาย เป็นของพื้นบ้านดั้งเดิมและของกินของคนถิ่นจริงๆ นอกจากนั้นแล้วผู้ขายส่วนมากยังเป็นประเภทสมัครเล่นเสียมากกว่าการทำเป็นอาชีพ เดินตลาดแบบนี้ได้เห็นสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย สร้างสรรของค์ความรู้ให้กับเด็กๆและเยาวชนที่ไปเดินเที่ยว 

สำหรับผมนั้นชอบเดินตลาดคนเดินมากกว่า เพราะได้ในเรื่องอื่นผนวกเข้ามาอีก เช่น กรณีของกินประจำถิ่น  - เจ้าใหนทำอร่อย อยู่ที่ไหน ขายที่ไหน ทำต่างกันอย่างไร ความแตกต่างของกลุ่มชนและเชื้อสายเทือกเถาเหล่ากอ  หรือกรณีของเครื่องมืออุปกรณ์หากินและของใช้ในชีวิตประจำวัน - ฝีมือทางจักสาน ขนาด รูปทรง รายละเอียดต่างๆ ฯลฯ    ทั้งหมดทำใ้ห้เกิดความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้นในเรื่องราวในพื้นฐานและปรัชญาความคิด และรวมทั้งลักษณะของความเป็นไทยในถิ่นต่างๆ   แล้วเราก็รู้ถึงแหล่งต้นตนถิ่นกำเนิด ตามไปดูก็จะได้เห็นของดีๆอีกมากมาย

ขอแนะนำนะครับ  ลองไปเดินตลาดประเภทถนนคนเดินในต่างจังหวัด  ช่วยกันซื้อกิน ช่วยกันจับจ่ายซื้อของบ้าง จะได้เป็นการช่วยกระจายรายได้เล็กๆน้อยๆ เป็นการช่วยจรรโลงมรดกทางภูมิปัญญาและมรดกทางสังคมและวัฒนธรรมของไทยเรา  อยู่กรุงเทพฯ ยังจ่ายค่ากาแฟถ้วยละ/แก้วละหลายสิบบาทได้ เพียงสิบ ยี่สิบ สามสิบบาท ช่วยเขาเถอะครับ  มันไม่ได้ทำให้เขาร่ำรวยขึ้นหรอก มันเป็นเพียงการช่วยให้เขามีกำลังใจที่จะจรรโลงมรดกตกทอดเหล่านั้นเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 508  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 20:41

ไปเหนือเมื่อตอนปลายปี และปีใหม่  ผ่านตลาดข้างทางหลวงที่มีชื่อว่า "กาด"  เห็นว่าเอาของพื้นเมืองมาขาย     ในวันหยุดเห็นรถราจอดกันแน่นไปหมดค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 509  เมื่อ 21 ม.ค. 13, 17:23

กาด ก็คือ ตลาดในภาษาเหนือนั่นเอง  คำนี้เริ่มมีการใช้กันตั้งแต่แถวรอยต่อระหว่าง อ.เถิน จ.ลำปาง กับ อ.บ้านตาก จ.ตาก  แล้วก็ไม่ข้ามเทือกเขาที่แบ่งระหว่าง อ.เถิน จ.ลำปาง กับ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย (จากเถินไปทางตะวันออก) แทบจะเรียกได้ว่าเส้นแบ่งเขตอยู่ที่สันเขาเลย ส่วนทางด้านติดชายแดนทางตะวันตก เห็นมีการใช้ประปรายในแถบ อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด ขึ้นไปทางเหนือ  เส้นแบ่งการใช้คำนี้ดูจะอยู่ตามเส้นถนนที่เชื่อมระหว่างบ้านแม่ระมาดน้อยกับ อ.บ้านตาก วกขึ้นเหนือไปทางบ้านสบโมง เข้าไปในเขตของ อ.ฮอด จ.แม่สะเรียง   ส่วนทางด้านตะวันออกตามถนนหลวงสายอุตรดิตถ์ - แพร่ นั้น เส้นแบ่งเขตจะอยู่ตามแนวสันเขาพลึง (ตรงทีพักกลางทางของทางหลวงนั่นแหละครับ) ซึ่งคือเส้นแบ่งเขตอุตรดิตถ์กับแพร่
 
ผมเคยสำรวจทางธรณีฯบนเส้นทาง (ศรีสัชนาลัย-เถิน) นี้เมื่อ พ.ศ.2513 โน่น เข้าทาง อ.ศรีสัชนาลัย (ซึ่งคนถิ่นยังนิยมเรียกว่าหาดเสี้ยว) ไป อ.ทุ่งเสลี่ยม ต่อไปบ้านเสลี่ยมหวาน ไปเริ่มเข้าพืดเขาที่แถวบ้านตะพานหิน   เสลี่ยมก็คือต้นสะเดานี้เอง สะเดาปรกติจะออกรสขม พวกนี้ใบจะออกไปทางโทนสีแดง ส่วนเสลี่ยมหวานก็คือสะเดามันนั่นเอง พวกนี้ใบจะออกไปทางสีเขียวนวล  แล้วก็มีที่ชาวบ้านเรียกว่าสะเดาดงอีกอย่างหนึ่ง เนื้อในของต้นจะออกลายทางสีชมพู สวยดีครับ  ชาวบ้านนิยมจะเอามาทำเป็นด้ามปืนแก็ป ซึ่งผมชอบเรียกว่า (ปืน) เสือตบตูด   
และเคยเดินข้ามเขาที่เรียกว่าดอยพญาพ่อ จากจากบ้านดงย่าปา หาดเสี้ยว ไปลงที่เด่นชัย เขาสูงจริงๆสมชื่อเลย  หกโมงเช้าเป็นก้าวแรกที่เดินขึ้นเขา หกโมงเย็นถึงยอดเขาพอดี ลงเขาแบบแทบจะวิ่งเพื่อไปหาที่พักแรมในห้วยที่มีน้ำ ถึงตรงนั้นก็ประมาณสองทุ่มเลยทีเดียว  เหนื่อยแทบตายเลยครับ (คงจะเป็นเรื่องในกระทู้ที่จะตั้งใหม่เื่มื่อมีโอกาสและเวลา)  จึงพอรู้ว่าเส้นแบ่งของการใช้ภาษานั้นมันอยู่บริเวณใด  ก็แปลกอยู่เหมือนกัน แถวห้วยแม่สินธุ์ และ อ.วังชิ้น จ.แพร่ (บนเส้นทางศรีสัชนาลัยเด่นชัย ที่ผ่านบ้านบ่อแก้งที่มีการพบไพลินนั่นแหละครับ) กลับพูดภาษาของภากลางเป็นหลัก

ที่แยกซอยเล่ามา ก็เพื่อจะได้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการศึกษาเรื่องของเขตอิทธิพลในเชิงของภาษา ขนบธรรเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เผื่อว่านักศึกษาในระดับ Post Grad. หรือบรรดาคณาจารย์สนใจครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 32 33 [34] 35 36 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง