เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 171909 เก็บตกมาจากการเดินทาง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 465  เมื่อ 01 ม.ค. 13, 18:23

สวัสดีปีใหม่สมาชิกเรือนไทยทุกท่านครับ

กลับมาจาก ตจว. เมื่อวานนี้ หะแรกคิดว่าจะกลับสักวันที่ 2 หรือ 3 เพราะกลัวรถติดครับ   แล้วก็จะขอพักเรื่องการเดินทางไปต่างแดน มาดูภาพการเดินทางช่วงนี้ในไทยกันครับ

ผมขับรถไปเชียงราย เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กลับวันที่ 31   ขาไปนั้น ทุกภาพตลอดเส้นทางเป็นปรกติอย่างที่เคยเห็นเป็นประจำ แต่ขากลับ ได้เห็นอีกภาพหนึ่งที่น่าจะต้องเล่าสู่กันฟัง
ิเรื่องแรก คือ ได้เห็นรถขนาดเล็กที่เรียกว่า Eco Car ป้ายแดงเต็มถนนไปหมดเริ่มเห็นแถวๆแพร่เป็นจุดแรก แล้วเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเห็นอย่างมากมายตั้งแต่นครสวรรค์เป็นต้นมาจนเข้าเขต กทม.
เรื่องที่สอง คือ มีการใ้ช้รถขนาดเล็กพาครอบครัวออกเที่ยวทางไกลในระยะทางที่่มากในระดับ 700 กม.ขึ้นไป มากกว่าที่เคยเห็นมาแต่ก่อน
เรื่องที่สาม คือ ได้เห็นภาพการขับขี่รถที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายมากมาย
เรื่องที่สี่ คือ นักท่องเที่ยวเหล่านี้ มีการทำการบ้านเกี่ยวกับข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและร้านอาหารในระดับที่ดีทีเดียว   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 466  เมื่อ 01 ม.ค. 13, 20:22

ที่ะเล่าสู่กันฟัง คือ เรื่องของการขับขี่รถที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

สำหรับการเดินทางบนถนนหลวงสายหลักระยะทางไกลนี้ ในภาพทั่วๆไป ส่วนมากรถต่างๆจะขับกันที่ความเร็วระหว่าง 100-120 กม.ต่อ ชม.   บนถนนที่คดเคี้ยวที่กรมทางหลวงเป็นผู้สร้าง ส่วนมากก็ยังสามารถจะรองรับการขับได้ด้วยความเร็วในระดับ 80-100 กม.ต่อ ชม. ไม่ว่าจะเป็นช่วง จว.ตาก -ลำปาง-เชียงใหม่ หรือ ลำปาง-งาว-เชียงราย หรือ อุตรดิตถ์-แพร่-งาว-เชียงราย หรืออื่นๆ   ทั้งนี้การจะขับได้เร็วหรือช้าในช่วงถนนคดเคี้ยวนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญในเส้นทางและของผู้ขับขี่เอง ซึ่งมิใช่เรื่องสำคัญที่จะต้องกล่าวถึง

ประเด็นของความเสี่ยงและอันตรายอยู่ที่ว่า ผู้ขับขี่ส่วนมาก (โดยเฉพาะรถป้ายทะเบียน กทม.) จะขับชิดขวาเป็นหลัก เสมือนหนึ่งว่าตนเองก็ขับเร็วอยู่แล้ว คงลืมคิดไปว่าที่ว่าตนเองขับเร็วแล้วและเกินกว่าอัตราความเร็วที่กฏหมายกำหนดอยู่แล้วนั้น (เช่น 100 หรือ 110 กม.ต่อ ชม.) แท้จริงแล้วความเร็วของรถของตนเองที่ขับอยู่นั้นยังอยู่ในระดับตำ่กว่าความเร็วเดินทางที่ผู้อื่นเขาใช้กันในหลายๆสภาพเส้นทาง การแซงซ้ายจึงเกิดขึ้นโดยทั่วไป  แม้กระทั่งผู้อื่นที่ขับรถตามหลังที่ขับเร็วกว่าจะให้สัญญาณขอทางก็ไม่หลบหลีก ไม่มองหลัง ไม่มองซ้ายมองขวา เอาตนเป็นที่ตั้งว่าตนเองนั้นกระทำถูกต้องแล้ว รถคันอื่นนั้นทำไม่ถูกต้องและขับเสียวใส้ แถมส่วนมากยังไม่รู้สึกว่ารถของตนเองนั้นเป็นรถขนาดเล็กอีกต่างหาก    คราวนี้เมื่อเข้าทางโค้ง ขึ้นทางลาดชันสูง แล้วยังคิดว่าตนเองขับถูกต้องตามกฏ และคงลืมคิดไปว่าอัตราส่วนกำลังรถของตนกับน้ำหนักที่บรรทุกของรถตนนั้นมันอาจจะสู้รถคันอื่นๆไม่ได้ จะเร่งขึ้นทางชันก็ช้ากว่าคันอื่น ก็เกิดอาการเลิกลั๋ก จะหลบซ้ายก็มีรถเร็วกว่าแซงอยู่ตลอด จะคงอยู่ในเลนขวาก็มีรถจี้ตูดอยู่   ผมเห็นสภาพรถที่ขับแกว่งไปมา น่ากลัวมากครับ

ขาลงเขาก็เหยียบเบรคตลอดเวลา หากเป็นรถใช้เกียร์มือก็ควรจะรู้ว่าใช้เีกียร์ช่วยลดความเร็วได้  และหากเป็นรถเกียร์ออโต้เมติกก็ควรรู้ว่าเราก็ยังใช้เกียร์ช่วยพอได้เหมือนกัน การเหยีบบเบรคตลอดเวลานั้นจะทำให้เกิดผลที่เรียกว่าเบรคใหม้ มันก็จะใช้การไม่ได้เต็มประสิทธิภาพต่อไป   หลักการของการเบรครถก็คือการเปลี่ยนพลังงานจลน์ไปเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งหากความร้อนสูงมากไปก็จะทำให้เบรคใหม้  การเหยียบเบรคที่ถูกต้องจึงคือการย้ำสังสองสามครั้งเพื่อใ้ห้ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ได้ระบายออกไปบ้าง เมื่อความเร็วลดลงแล้วจึงเหยียบตามปรกติเหมือนกับที่ขับในเมือง นอกจากนั้นแล้วการย้ำเบรคยังช่วยให้รถคันหลังที่ตามมาได้สังเกตเห็นไฟเบรคว่าเรากำลังเบรคเพื่อลดความเร็วอยู่นะ

จะเป็นการสอนสังฆราชอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้ละครับ  คิดว่าอย่างน้อยก็มีประสบการณ์ทั้งในป่าเขาและในแทบจะทุกสภาพเส้นทางมานานหลายสิบปีแล้ว  ซึ่งหลักการหรือปรัชญาหลักก็คือ คิดและประเมินสภาพล่วงหน้าทุกๆภาพที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในสายตาเราตลอดเวลา       

       



 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 467  เมื่อ 02 ม.ค. 13, 19:51

เพิ่งกลับจากต่างจังหวัดเช่นเดียวกันค่ะ แต่แค่ภาคเหนือตอนล่างคืออุทัยธานี ไม่ได้ขึ้นเหนือเพราะ
เห็นผู้คนแห่ขึ้นเหนือแล้วกลัว...กลัวอุบัติเหตุ กลัวว่าจะต้องไปแออัดอยู่ในเมืองท่องเที่ยว
เครียดเปล่าๆ

แต่กว่าจะออกจากก.ท.ม.ก็รอจนวันที่ 30 ธ.ค.55 คือให้ถนนว่างเสียก่อนค่อยตามเขาไป
โชคดีมากที่ได้สัมผัสอากาศที่อุณหภูมิ 18 องศา ใน2-3 วันสิ้นปี คืนที่จะข้ามสู่ปีใหม่
ต้องหลบเข้าไปในอาคาร ไม่สามารถนั่งหนาวสั่นอยู่กลางแจ้งได้ ก็ชื่นใจไปตามๆกันคะ
เพิ่งกลับมาวันนี้ เพราะรอให้คนส่วนใหญ่กลับมาก่อน  แม่ค้าข้างทางแถวอยุธยา
บอกว่า เมื่อวานรถติดมากเหลือเกิน

กลับมาถึงก.ท.ม.แล้วก็ถอนใจว่า ก็คงต้องเหนื่อยอีกต่อไป....
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 468  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 20:09

....โชคดีมากที่ได้สัมผัสอากาศที่อุณหภูมิ 18 องศา ใน2-3 วันสิ้นปี คืนที่จะข้ามสู่ปีใหม่
ต้องหลบเข้าไปในอาคาร ไม่สามารถนั่งหนาวสั่นอยู่กลางแจ้งได้ ก็ชื่นใจไปตามๆกันคะ...

ทำให้นึกถึงพยากรณ์อากาศของเราตั้งแต่ประมาณกลางเดือนธันวาคมเป็นต้นมาครับ  ได้ฟังมา (แบบอาจจะไม่ต่อเนื่องทั้งหมดนะครับ) ว่าอากาศในภาคเหนือและอิสานตอนบนจะเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาตลอดมา เป็นช่วงๆหลายๆครั้ง คิดต่อเนื่องรวมๆกันแล้ว อุณหภูมิก็คงจะลดลงไปถึงเลขตัวเดียวใกล้ๆศูนย์องศาเลยทีเดียว  ฮืม   เอาเข้าจริงๆยังอยู่แถวๆสิบกว่าองศา ยกเว้นบนยอดดอย  ก็เอาละครับ ถือได้ว่าอากาศอยู่ในสภาพเย็น-->หนาว  กำลังสบาย   ที่คิดว่าจะมีหมอกมากก็มีน้อย ที่ประสบจริงๆคือมีเหมย (น้ำค้าง) ค่อนข้างแรง 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 469  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 20:41

ขอต้อนรับนักเดินทางที่แยกย้ายกันไป กลับมาเรือนไทยเช่นเดิมค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 470  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 19:55

คุณเทาชมพูใช้คำว่า นักเดินทาง  ทำให้นึกถึงการเดินทางที่มีความแตกต่างกันช่วงในยุคสมัยต่างๆ

เมื่อสมัยปลายทศวรรษ 2490  คำว่าการเดินทางท่องเที่ยวนั้น เกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีอยู่ในความคิดของผู้ใดเลย  นอกจากนั้นแล้ว การเดินทางใดๆในทุกครั้งยังดูจะแฝงไปด้วยความรู้สึกกังวล (ในช่วงเดินทาง) ผสมผสานกับความรู้สึกมีความสุข (เมื่อไปถึงสถานที่ปลายทาง)    ถนนของเส้นทางสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่าง กทม.กับภูมิภาคต่างๆยังเป็นถนนลูกรัง (เมื่อพ้นจากเขต กทม.ไปไม่นาน)  จะมีการลาดยางเป็นช่วงๆเฉพาะที่ผ่านเขตเมืองหรือชุมชนใหญ่ๆ  การสัญจรของชาวบ้านยังใช้เกวียนเทียมวัวหรือควาย ......

เขียนมาถึงตรงนี้แล้ว ต้องหยุด   สงสัยจะต้องแยกเป็นอีกกระทู้หนึ่งเสียแล้ว   แต่จะยังขอไม่ตั้งและเริ่มเป็นกระทู้ใหม่นะครับ  รอให้ภาระที่ต้องรับผิดชอบกับกระทู้นี้ผ่านไปและเบาลงอีกสักระยะหนึ่งเสียก่อน 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 471  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 20:22


เขียนมาถึงตรงนี้แล้ว ต้องหยุด   สงสัยจะต้องแยกเป็นอีกกระทู้หนึ่งเสียแล้ว   แต่จะยังขอไม่ตั้งและเริ่มเป็นกระทู้ใหม่นะครับ  รอให้ภาระที่ต้องรับผิดชอบกับกระทู้นี้ผ่านไปและเบาลงอีกสักระยะหนึ่งเสียก่อน 

แล้วแต่สะดวกค่ะ  คุณตั้งพร้อมเมื่อไรก็บอกได้เลย  ดิฉันจะแยกกระทู้ให้

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 472  เมื่อ 06 ม.ค. 13, 15:43

การเดินทางใดๆในทุกครั้งยังดูจะแฝงไปด้วยความรู้สึกกังวล (ในช่วงเดินทาง) ผสมผสานกับความรู้สึกมีความสุข (เมื่อไปถึงสถานที่ปลายทาง)    ถนนของเส้นทางสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่าง กทม.กับภูมิภาคต่างๆยังเป็นถนนลูกรัง (เมื่อพ้นจากเขต กทม.ไปไม่นาน)  จะมีการลาดยางเป็นช่วงๆเฉพาะที่ผ่านเขตเมืองหรือชุมชนใหญ่ๆ  การสัญจรของชาวบ้านยังใช้เกวียนเทียมวัวหรือควาย ......

     การเดินทางในประเทศไทยเมื่อ 40-50 ปีที่แล้วยังลำบากอยู่มากจริงๆคะ แม้จะมีรถยนต์ใช้กันแล้วแต่ถนนหนทางไม่สะดวก

อย่างปัจจุบัน แม้แต่การแวะปั๊มน้ำมันที่มีบริการต่างๆมากมายก็เพิ่งเริ่มเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ...แต่จากจุดนี้ ก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลง

ขนานใหญ่  จนกลายเป็นจราจรติดขัดบนถนนหลวง ในเทศกาลใหญ่ๆเพราะการเดินทางไกลกลายเป็นเรื่องสะดวกสบาย

แม้ราคาน้ำมันจะแพงกว่าสมัยก่อนมากก็ตาม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงเกิดขึ้นมากมาย....ก็ดีนะคะ ทำให้เราเลือกที่จะเดินทาง

ได้มากขึ้น สนุกขึ้นด้วย คุณตั้งแยกกระทู้เมื่อไหร่คงมีคนมาเล่าประสบการณ์กันมากมาย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 473  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 18:49

แยกเข้าซอยเองแล้วก็งง  ขอถอยกลับไปบนทางเดิมก่อนครับ

ได้กล่าวถึงการนับเลข ก็เพื่อจะต่อไปเรื่องการช๊อบปิ้ง
 
หากเป็นการท่องเที่ยวไปกับคณะทัวร์ สถานที่ช๊อบปิ้งก็ถูกจำกัด ตามแต่ทัวร์จะพาไป  ทัวร์เขาก็เอาง่ายเข้าว่า คือพาไปร้านหรือย่านขายของประเภทจับฉ่าย ปล่อยทิ้งไว้สัก 1-2 ชม. ก็พอ แท้จริงแล้วก็คงจะต้องเป็นอย่างนั้น เพราะลูกทัวร์ส่วนมากอยากจะหาซื้อของฝากที่มีราคาย่อมเยาว์เป็นหลัก   แต่ก็มีทัวร์บางคณะก็อาจจะเป็นการไปทัวร์แบบมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจ เช่น ซื้อนาฬิกา กินของดีๆ ฯลฯ   จริงๆแล้วการซื้อของฝากกับการถูกฝากให้ช่วยซื้อหาของบางอย่าง ดูจะเป็นภาระที่ผู้ไปทัวร์พูดไม่ออก การหาซื้อของบางอย่างที่ค่อนข้างจะจำเพาะเจาะจงนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก บางทีก็เป็นของชิ้นใหญ่ที่หอบหิ้วลำบาก  กลายเป็นว่าแทบจะไม่ต้องคิดซื้อของๆตนเองเลย   เอาเพียงตังอย่างกรณีลิปสติค ซึ่งมักสั่งกันเจาะจงเป็นเบอร์เลย  ดูจะง่ายในการสั่งแต่มักจะยากในการหาซื้อ ประการหนึ่ง คือมันมีการเปลี่ยนแปลงการผลิต บางเบอร์เขาเลิกผลิตหรือไม่มีจำหน่ายกันในถิ่นนั้นแล้ว แต่ยังคงมีการผลิตและจำหน่ายในบ้านเรา  อาจจะยังพอหาได้แต่ก็ต้องเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ทัวร์ไม่ได้พาไป  ผลก็คือ หากเป็นกรณีรัฝากจากคนที่เราเคารพนับถือ เราก็ต้องเสียเวลาไปกับการเดินเสาะหา หมดเวลาไปกับเรื่องนี้  มีเวลาน้อยมากหรือไม่มีเวลาสำหรับหาของๆตัวเราเองหรือสำหรับคนอื่นๆ  สุดท้ายก็เร่งรีบ ซื้ออะไรก็ได้ คุณภาพใดก็ได้ ให้ครบๆเท่านั้นก็พอ  แล้วตัวเองก็กังวล เอาออกมานับดูก็อาจจะขาดไป ต้องไปครุ่นคิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรดี

ทางออกก็คงไม่มีอะไรดีกว่า ไม่รับฝากแล้วก็ไม่ต้องหาซื้อของฝาก (ซึ่งหากฝากไม่ครบก็จะกลายเป็นเลือกที่รักมักที่ชังไป เป็นเรื่องอีก) ยกเว้นเฉพาะกับเฉพาะคนในครอบครัวเท่านั้น 

ธรรมเนียมการต้องมีของฝากนี้ ญี่ปุ่นหนักกว่าเรามาก  ขนาดเคยได้ยินการเล่าเป็นเรื่องโจ๊คว่า ไปเที่ยว 7 วัน เสียเวลาไปกับการหาซื้อของฝากเสีย 3 วัน  แต่เขาก็มีวิธีการแก้ไข (เป็นธุระกิจที่มีระบบเลย) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 474  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 19:38

^
ในญี่ปุ่นเองนั้น  ตามสถานีรถไฟ สนามบินภายใน จะมีของดังประจำถิ่นวางขายอยู่ ไม่ต้องไปเที่ยวเดินหาซื้อให้วุ่นวาย  ที่สุดยอด คือ ที่สถานีโตเกียว ซึ่งเป็นจุดรวมหรือจุดผ่านของรถไฟสายต่าง และเป็น Terminal ของ Shinkansen นั้น  มีของดังจากทุกภาคทุกแห่งวางขายอยู่  ผู้เดินทางไปทำธุระหรือท่องเที่ยวในต่างจังหวัด ไม่จำเป็นต้องหิ้วของฝากติดตัวมาด้วยเลย มาหาซื้อเอาที่นี้ได้ พอจะกลับบ้านก็แวะซื้อไปเท่านั้นเอง เสมือนหนึ่งไปหอบหิ้วมาจากแหล่งผลิตเลยทีเดียว

ถึงตรงนี้ คงได้มีคนคิดแล้วว่า สบายโก๋เลย บอกที่บ้านจะไปธุระทางใต้ แอบไปหาคนอื่นขึ้นไปทางเหนือก็ได้  กลับมาก็เพียงซื้อของฝากที่ทำจากแดนใต้มา ก็แสดงว่าได้ไปทางใต้มาจริงๆแล้ว  ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ   หรือโทรศัพท์ไปสั่งให้ผู้ผลิตส่งของมาที่บ้านก็ยังได้ บอกไปเมืองไทยแล้วไปเวียดนามก็ได้  เพียงโทรศัพท์สั่งของจากเมืองไทยให้ส่งไปที่บ้าน แล้วบอกว่าขนมาไม่ไหวจึงให้เขาส่งมา    ธุรกิจแบบนี้จึงพอจะรุ่งเรือง เป็นระดับ SME แต่ค่อนข้างจะใหญ่หน่อย
   
ในเชิงเศรษฐกิจ ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจบริการในกลุ่มของ Service industries  ซึ่งอุตสาหกรรมบริการนี้ หากมีมากก็เป็นการแสดงภาพของระดับการพัฒนาการทางการอุตสาหกรรม (Post industrial period) ของประเทศนั้นๆ  ประเทศที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมมานานจะมีสัดส่วนของอุตสาหกรรมประเภทนี้มาก  เนื่องจากมีระบบ Sub contract และ Supply chain ที่เป็นโครงข่ายโยงยัยกันอย่างมั่นคง  ซึ่งบ่งชี้ว่าธุรกิจต่างๆต้องมีธรรมาภิบาลที่ดี ซื่อสัตย์ เชื่อถือใว้ใจได้ รับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ 

ขออภัยครับ ก้าวข้ามไปเรื่องทางวิชาการมากไปหน่อย  ที่จริงที่เขียนๆมาก่อนๆในกระทู้ต่างๆนั้นก็มีประสงค์เพื่อให้เป็นข้อมูล เพื่อให้เกิดฉุกคิดในเชิงวิชาการด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 475  เมื่อ 09 ม.ค. 13, 19:29

เอาละครับ ไปชอบปิ้งกัน

ในสหรัฐฯ หากไปกับทัวร์ก็คงหนีไม่พ้นการพาไป mall แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วก็คงซื้ออะไรได้เพียงเล็กๆน้อยๆ หรือไม่ได้อะไรติดไม่ติดมือเลย ด้วยเหตุของแพง
 
สภาพที่ผมได้เคยสัมผัสคงเปลี่ยนไปมากแล้ว คุณเทาชมพูคงจะพอเล่าถึงสภาพในปัจจุบันได้

สำหรับผม ชอบของใช้ที่ผลิตในอเมริกา มันแข็งแรงและอึดจริงๆ ราคาก็ไม่แพงอย่างที่คิด เสียอย่างเดียว สหรัฐฯใช้ไฟฟ้าระบบ 110 volt จึงไม่สมควรที่จะต้องไปเสียเวลาดูและสอบถาม เว้นแต่จะเป็นของที่ต้องการจริงๆ ที่คิดแล้วว่าซื้อมาแล้วจะต้องไปใช้กับหม้อแปลงไฟ หรือให้ช่างไทยเปลี่ยนระบบไฟเป็น 220 volt   อีกประการหนึ่งคือ สินค้าในอเมริกามีลักษณะเป็นสินค้าที่มักจะมีนวัตกรรม ซึ่งแม้จะผลิตจากประเทศจีนก็ตาม แต่ก็เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนอเมริกัน ซึ่งเราคงต้องเลือกดูคุณภาพและความปราณีตในการผลิตให้ดีๆ
 

ก่อนที่จะไปในเรื่องอื่นๆต่อๆไป ด้วยเกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าโปรประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็เลยจะต้องขอกล่าวถึง mindset ของคนชาติต่างๆในความเห็นและประสบการณ์ของผมเองเสียก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 476  เมื่อ 09 ม.ค. 13, 21:02

คนอเมริกัน มีปรัชญาความคิดของการผลิตสิ่งของเครื่องใช้ในเชิงของ Sturdy คือ บึกบึน ทนทาน มีนวัตกรรม มีความเป็นสุดยอด

คนอังกฤษ คิดไปในทาง functional, appropriated, conservative คือ ออกไปทาง core technology (base and basic technology) สามารถใช้งานที่สนองความต้องการพื้นฐานได้ทุกยุคทุกสมัย  มีความสวยงามแบบราบเรียบแต่ standout ออกมาเด่นเป็นอมตะ     เป็น internal approach

คนอิตาลี  เป็นไปในทาง shape, beauty, fashion, attractive คือ สวยงาม ฉาบฉวย ด้วยรูปลักษณ์ เปลี่ยนง่ายไปตามทิศทางของความนิยมของสังคม   เป็นลักษณะของ external approach

ขอต่อพรุ่งนี้ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 477  เมื่อ 10 ม.ค. 13, 16:35

คนเยอรมัน คิดในเชิงของ accuracy, precision, tough, efficiency คือ ไปในเรื่องของ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 478  เมื่อ 10 ม.ค. 13, 17:22

จิ้มผิด หรือคอมรวน ยังไม่แน่ใจ

ต่อครับ ....คือ คิดในเชิงของ tailor made products มากกว่า mass production   ซึ่งทำให้เกิดสภาพของความทนทานที่มิใช่ด้วยความบึกบึน   สินค้าเป็นไปในทาง conventional และ conservative  และออกไปทางโลหะมากกว่าอโลหะ

คนญี่ปุ่นผลิตของในเชิงของความคิดคล้ายๆคนเยอรมัน  แต่ไม่หนักไปในทางความทนทานในปัจจุบันนี้ เน้นหนักไปทาง precision (ไปถึงระดับคิด micrometer range แล้ว)  มีระบบการกำหนดคุณภาพของวัสดุของตนเอง วัสดุจะออกไปทางผสมผสาน (composite materials)    คิดว่าทุกผลิตภัณฑ์จะต้องอยู่บนฐานการผลิตของ 3Rs คือ reduce, reuse และ recycle ให้ได้เปอร์เซ็นต์มากที่สุด และออกแบบให้เป็น universal design ซึ่งคิดง่ายๆอย่างหนึ่ง ก็คือ สนองความสะดวกสะบายในการใช้งานโดยคนต่างเพศต่างวัย

คนจีน ยังคิดเรื่องการผลิตแบบ mass production  นวัตกรรมหรือสินค้าในแนวแปลกๆ มักจะมาจาก CD คือ copy and design วัสดุที่ใช้ยังอยู่บนฐานของการใช้พลาสติค     เป็นสภาพเหมือนกับสินค้าญี่ปุ่นสมัยก่ิอน  คุณภาพและความทนทานยังเชื่อถือไม่ได้   

พอแล้วครัีบ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 479  เมื่อ 10 ม.ค. 13, 19:04

ขออภัยที่มีภาษาอังกฤษมากไปหน่อยครับ บางทีก็นึกคำไทยที่จะให้ได้ความหมายตามที่ต้องการไม่ออกครับ

การช็อบปิ้งในเมืองใหญ่ๆของสหรัฐฯ เป็นเรื่องยากเหมือนกัน  การเดินทางไปยังสถานทีท่องเที่ยวต่างๆก็มักจะใช้ถนน I (interstate highway) เป็นหลัก เพื่อความรวดเร็วและประหยัดเวลา  โอกาสได้เห็นเมืองและแวะข้างทางไม่มีเลย มีแต่ถนนกับวิว จะแวะพักได้ก็เฉพาะที่ rest area ซึ่งหากไปจอดข้างทาง แค่เพียงเดินอ้อมสลับกับเพื่อเปลี่ยนคนขับรถก็อาจได้เห็นไฟแว็บๆของรถตำรวจมาจอดต่อท้ายอยู่ ถูกตรวจใบขับขี่ แถมอาจถูกเอ็ดเอาด้วยว่า ทำไมไม่ไปเปลี่ยนกันที่ rest area ซึ่งไปอีกไม่กี่สิบไมล์

ผมเองจึงไม่ชอบที่จะใช้ถนน I เว้นแต่จะเดินทางข้ามรัฐ  นิยมที่จะไปตามถนนเส้นเล็กผ่านเมืองต่างๆ แวะกิน แวะเดิน ผมได้ดีๆของถูกใจ ราคาถูก ก็จากการเดินทางแบบนี้เอง 

ก็มีทางเลือกอยู่เหมือนกัน คือ แทนที่จะเข้า mall ก็ขอให้เขาพาไป outlet ซึ่งก็จะเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเป็นหลัก  แต่ก็มีของใ้ดีๆอยู่มากมายเหมือนกัน    กรณีเสื้อผ้านั้น มี made in USA. น้อย พลิกๆป้ายดู ก็จะเห็นเป็นการผลิตจากประเทศในแถบเอเซียเป็นหลัก รวมทั้งไทยด้วย หลายคนก็อาจจะไม่อยากซื้อ  ซึ่งแท้จริงแล้วมันเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก คือ การรับผลิต  ดังนั้นจึงจะไม่มีขายในเมืองไทย   จะว่าเช่นนี้ก็คงจะไม่ถูกนัก เพราะมันก็มีของหลุดรอด ของพวกตก QC บางชิ้นที่วางขายกันอยู่ในบางตลาด   จากประสบการณ์การชอบเดินตลาดของผม ผมเห็นของพวกนี้ในตลาดนัดหลายแห่ง ผมเองก็ได้ของเหล่านี้หลายชิ้นจากตลาดพวกนี้ในเมืองไทยเหมือนกัน  รับรองว่าไม่มีวางขายในร้านในห้างสรรพสินค้าแน่นอนเพราะจะถูกจับ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง