เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 171904 เก็บตกมาจากการเดินทาง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 405  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 20:49

การโดนแฮคบัตรเครดิตเป็นเรื่องน่ากลัวมากค่ะ   เคยเจอเข้ากับตัวทั้งๆระวังอย่างดีทุกอย่าง   ไม่เคยใช้บัตรเครดิตไปรูดสินค้าตามร้านเล็กๆ หรือร้านใหม่ๆตามทางประเภทแวะหนเดียวแล้วผ่านไป    แต่ก็เจอแจ๊กพ็อทเข้าจนได้       
โชคดีเจ้าหน้าที่ธนาคารสงสัยเลยโทรมาสอบถาม  เพราะรายการขึ้นมาว่าวันนี้รูดบัตรอยู่ในประเทศไทย  วันต่อมาไปรูดบัตรอยู่ในต่างประเทศ   วันที่สามรูดอยู่ในประเทศไทยอีก  เขาเลยสงสัยว่าจะโดนแฮค   พอได้ความจริงก็ยกเลิกบัตรเสียทันเวลา  เงินไม่ถูกดูดออกไปจากบัญชี
เวลาไปอยู่อเมริกานานๆ เป็นเดือน  ดิฉันใช้วิธีโอนเงินไปเข้าบัญชีทางโน้นล่วงหน้า  จะใช้อะไรเจ้าของบัญชีก็รูดการ์ดหรือเซ็นสลิปให้เอง   การใช้บัตรเครดิตของฝ่ายเขาเองสะดวกดีมาก และปลอดภัยด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 406  เมื่อ 04 ธ.ค. 12, 19:11

นึกขึ้นได้อีกเรื่องหนึ่ง เลยต้องขอย้อนกลับไปครับ เรื่องของการเรียกชื่อคน

ตามธรรมเนียมของเรา เราจะแนะนำตนเองว่าชื่ออะไรด้วยชื่อตัว ไม่แนะนำด้วยชื่อสกุล ซึ่งเข้าใจว่าในแถบบ้านเราจะเหมือนๆกันหมด   ต่างกับธรรมเนียมของฝรั่ง และรวมถึงจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และิอินเดีย ที่แนะนำตนเองด้วยชื่อสกุลก่อน แล้วจึง (อาจจะ) บอกชื่อเต็มทั้งชื่อตัวและชื่อสกุลตามมา   เป็นธรรมเนียมที่เราและคนอื่นๆจะต้องเรียกชื่อสกุลของเขาต่อๆไป จนกระทั่งเขาบอกให้เราเรียกเขาว่าอะไร (ชื่อตัว หรือชื่อเล่น) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเขารู้สึกว่าเขามีความรู้สึกสนิทสนม หรือเขารู้สึกว่าจะต้องคบกันต่อไป   
การกล่าวถึงเขาและการเรียกชื่อสกุลของเขานั้น จะต้องมีคำนำหน้า Mr.  Mrs. หรือ Ms. เสมอ   บางคนก็อยากจะแนะนำตนเองโดยใช้สถานะบางอย่างนำหน้าชื่อสกุล เช่น Professor หรือ Doctor ซึ่งเกือบจะเป็นกฏตายตัวเลยว่า หากเรียกบุคคลนั้นด้วยสถานะนำหน้าชื่อ ก็จะเรียกเฉพาะชื่อสกุลเท่านั้น  แล้วก็มีด๊อกเตอร์มากมายที่ไม่ค่อยจะนิยมเขียนลงบนนามบัตรว่า Dr. นำหน้าชื่อ แต่จะต่อท้ายชื่อด้วย PhD. (ซึ่งมีนัยแฝงอยู่เหมือนกัน ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้)    ในการกล่าวถึงบุคคลใดๆในงานที่เป็นทางการในทุกกรณี จะไม่มีการใช้ชื่อตัว จะใช้แต่ชื่อสกุลเท่านั้น ซึ่งหากเป็นการกล่าวย้ำแบบต้องการยกย่องให้เกียรติแก่บุคคลนั้น จึงจะกล่าวแบบชื่อแบบเต็มทั้งคำนำหน้า ชื่อตัว และชื่อสกุล   ทั้งนี้ ในการกล่าวถึงบุคคลอื่นหรือเรียกชื่อบุคคลนั้นๆ หากเป็นการเรียกโดยใช้ชื่อตัว จะไม่มีการใช้คำ Mr.  Mrs. Ms. นำหน้าใดๆ 

ในยุคหลัง woman lib. หรือในปัจจุบันนี้ ก็ไปมีปัญหากับการใช้คำนำหน้าการเรียกชื่อของผู้หญิง  จะใช้คำใดดี จะใช้คำว่า Mrs. บางที่ก็ไม่ไช่เพราะยังโสด หรือไม่ชอบ จะใช้คำว่า Miss ก็ทำนองเดียวกัน เรียกผิดก็อาจจะได้เห็นการแสดงตาเขียวกลับมา   ทางออกที่ดีที่สุด คือ ใช้คำว่า Ms. แต่ออกเสียงเป็น Mizz ไม่ใช่ Miss ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายบอกเราเองว่าต้องการให้เรียกอย่างไร หากไม่บอกอะไรก็ใช้คำว่า Mizz ตลอดไป  หลายคนจะบอกว่า I am Mrs....  นั่นหมายความว่าเธอต้องการให้เราเรียกว่า Mrs.

ดูจะไม่เป็นเรื่องสำคัญ  แต่ฝรั่งถือกันเรื่องนี้กันมากทีเดียว  เขาเห็นว่าเป็นการถือวิสาสะของเรามากเกินไป  อย่าทำเป็นเล่นไปนะครับ มันทำให้เกิดผลที่ตามมาเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน

ก็มีเรื่องสนุกอยู่เหมือนกัน   ฝรั่ง จีน ญี่ปุ่น  เกาหลี และแม้กระทั่งอินเดีย มีชื่อสกุลเดียวกันอยู่มากมาย ในสมุดโทรศัพท์มีหน้าที่แสดงถึงชื่อสกุลเหล่านี้เป็นสิบหน้าเลยทีเดียว เช่น Smith ของอังกฤษและแคนาดา Lee ของมาเลเซียและฮ่องกง Kim ของเกาหลี และ Rao ของอินเดีย   ในการสนทนา เมื่อเอ่ยถึงบุคคลในชื่อสกุลเหล่านี้ จึงมักมีคำถามตามมาว่า Who?  เราก็ตอบยากเพราะจำชื่อแรกไม่ได้ ต้องใช้วิธีอธิบายตำแหน่งหรืองานหรือความรับผิดชอบที่บุคคลเหล่านี้ทำ 

เมื่อเดินทางแล้วมีการประกาศเรียกชื่อใดๆ เขามักจะเรียกด้วยชื่อสกุล อย่าลืมสนใจด้วยนะครับ เห็นมามากพอสมควรที่ฟังชื่อสกุลของตนเองไม่ออก เพราะคนประกาศเขาอ่านตามที่เขียนใว้ด้วยการออกเสียงและสำเนียงภาษาอังกฤษ     
บันทึกการเข้า
cutenail
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 407  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 08:55


อินเดีย ส่วนมากจะเรียกชื่อกลาง รวมไปด้วยครับ ถ้าจะระบุให้แคบลงมา เช่น

นาย Rawindra  S. Rao   ตัว S. เป็นชื่อของบิดา เช่น บิดาของตาคนนี้ ชื่อ Shankar P. Rao
หรือ อาจเรียก S.Rao สั้น ๆ ก็ได้
ชื่ออินเดีย นี้ จะบ่งบอก สถานะ วรรณะ ได้ในระดับหนึ่ง ครับ

ถ้าพม่า ผู้ชายอายุราว ๆ น้อยกว่าสามสิบ จะมีคำนำหน้าว่า โก  ถ้ามากกว่าสามสิบ จะเรียกว่า อู
ผู้หญิงถ้าอายุไม่มาก จะใช้คำนำหน้าว่า มะ  ถ้าอายุเริ่มกลางคน จะใช้คำว่า ดอว์


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 408  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 09:51

เวลาใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต บางกรณีผู้ขายจะใช้ข้อมูล 4 อย่างคือ ชื่อผู้ถือบัตร หมายเลขบัตร วันหมดอายุ และหมายเลข 3 ตัวที่อยู่หลังบัตรครับ

ทุกครั้งที่ผมได้บัตรเครดิตใบใหม่ ผมจะจดเลข 3 ตัวเอาไว้แยกต่างหาก แล้วใช้มีดขูดเลขบนบัตรออกเพื่อลดความเสี่ยงครับ

นอกจากนี้ หากจองที่พักในต่างประเทศ บางโรงแรมไม่มีระบบจองอัตโนมัติ ต้องส่งข้อมูลเหล่านี้ให้เขาทางอีเมล ควรจะแยกข้อมูลเป็นสองส่วน และส่งผ่านอีเมลที่แตกต่างกัน (หรือดีกว่านั้นคือผ่านช่องทางที่แตกต่างกัน เช่น fax หรือโทรไปบอก) จะช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่อีเมลของทางโรงแรมโดนแฮ็คเข้าไปดูข้อมูลครับ

ถึงทำอย่างนี้แล้วก็ต้องบอกว่าผมเคยโดยขโมยข้อมูลบัตรเครดิตเอาไปใช้ราว 5-6 ครั้งแล้วครับ ทั้งหมดนี้เป็นของธนาคารเดียวกัน และไม่เคยใช้ในที่เสี่ยงแต่อย่างใด ผมเชื่อว่าเป็นเพราะฐานข้อมูลของธนาคารโดนแฮ็คครับ แต่ผมไม่เคยต้องเสียค่าใช้จ่ายจากเรื่องนี้ครับ เพียงแต่มีความยุ่งยากเพราะต้องออกบัตรใหม่ ทุกครั้งที่มีรายการผิดปกติ ธนาคารจะโทรสอบถาม ซึ่งผมก็รู้สึกว่าอาจมีความเสี่ยงได้เหมือนกัน เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นตอนที่ผมอยู่ต่างประเทศ ยังคิดอยู่ว่าหากไม่ได้เปิด roaming ไว้ อาจจะเดือดร้อนหนักครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 409  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 10:34


เมื่อเดินทางแล้วมีการประกาศเรียกชื่อใดๆ เขามักจะเรียกด้วยชื่อสกุล อย่าลืมสนใจด้วยนะครับ เห็นมามากพอสมควรที่ฟังชื่อสกุลของตนเองไม่ออก เพราะคนประกาศเขาอ่านตามที่เขียนใว้ด้วยการออกเสียงและสำเนียงภาษาอังกฤษ     

นามสกุลเดิมของดิฉัน เมื่อสะกดเป็นภาษาอังกฤษประกอบด้วยตัวอักษร 12 ตัว (แต่ยังน้อยกว่าเพื่อนที่เคยไปเรียนด้วยกัน  เธอมี 19 ตัว)   เคยถูกประกาศเรียกที่สนามบินด้วยเรื่องอะไรลืมไปแล้ว แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่   ได้ยินหลายเที่ยวยังไม่รู้เลยว่าเขาเรียกนามสกุลเรา  ฟังยังไงก็ไม่เหมือน    จนไปที่เคานเตอร์เพราะมีปัญหาเรื่องตั๋วเครื่องบินถึงได้รู้
ชื่อและนามสกุลของพวกเราบางคนสะกดแบบโรมัน  ซึ่งอ่านเป็นภาษาอังกฤษแล้ว  บางทีคนละเสียงกันเลยทีเดียว 
นาค  สะกดว่า Naga  ฝรั่งก็ออกเสียงเป็น นากา   เสถียร สะกด sathira  ฝรั่งอ่าน ซาซิรา   ตัว th ก็เหมือนกัน  ออกเสียงคล้าย ด บ้าง ซ บ้างเพราะเสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย  ได้ยินที่สนามบิน เจ้าของนามสกุลเลยจำไม่ได้ก็มีค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 410  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 19:50

^
ครับ

การเขียนชื่อและชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษในหนังสือเดินทาง หรือในแบบฟอร์มต่างๆนั้น  ทำได้ 3 อย่าง คือ เขียนเองตามที่เราต้องการ (และคิดว่าคนอื่นจะอ่านออกเสียงตามที่เราเขียนนั้น)  เจ้าหน้าที่เขียนให้ (ตามความรู้และมาตรฐานการแทนเสียงอักขระที่เจ้าหน้าที่ได้อบรมมา) และการเขียนตามที่ได้รับการถ่ายทอดมา (ที่เคยมีการกำหนดการออกเสียงและเทียบพยัญชนะที่กำหนดมาแต่สมัยก่อน)   ประเด็นไปอยู่ที่ว่า สมัยก่อนนั้นกำหนดอย่างหนึ่ง สมัยใหม่กำหนดอีกอย่างหนึ่ง   ซึ่งทั้งหมดเราก็เป็นผู้กำหนดให้เป็นมาตรฐานของเราเอง   คนที่จะออกเสียงตามอักขระนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ใช้ภาษาอังกฤษเอง หรือคนชาติอื่นๆที่ต้องอ่านและออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษมิได้รับรู้ด้วยเลย  หรือรู้ก็เพราะได้มาจากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสมา   
อักษรตัว U ตัวเดี่ยวๆในภาษาอังกฤษออกเสียงเป็น ยู ซึ่งดูคล้ายกับว่าจะใช้แทนเสียง สระอู ได้  แต่แท้จริงแล้ว เมื่อมีตัวสะกดเสียงต่อท้ายตัวนี้ กลับออกเสียงเป็น  อัน และ อั๊ค ไปหมด  ซึ่งหากใช้สระ oo  ไม่ว่าจะมีตัวสะกดเสียงต่อท้ายอย่างไรก็ยังต้องออกเสียงเป็น สระอู อยู่ดี    ตัวแทนเสียงของอักษร พ หรือ ภ ในปัจจุบันเราใช้ ph  ซึ่งแท้จริงเราอาจจะใช้แล้วเราใช้ตัว p ก็ได้ ออกเสียงตรงเลย หรือแม้จะใช้แบบสมัยก่อนที่ใช้ bh ก็ยังใกล้เคียงมากกว่า ph ซึ่งออกเสียงเป็นตัว ฟ มากกว่า พ หรือ ภ
 
ก็ถือโอกาสบ่นเล็กน้อย  ที่จริงการเขียนเพื่อให้เสียงเหมือนกับที่คนถิ่นเขาออกเสียงกันนั้น ก็มีสภาพเหมือนกันทั้งโลก   Sioux ออกเสียงเป็น ซู   Baja ออกเสียงเป็น บาฮา  ลองออกเสียงแยกราชวงค์ของจีนดูครับ Xia, Qin,  Xin,  Jin,  Qing  พอจะเรียงลำดับก่อนหลังได้ถูกหรือไม่ 
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 411  เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 01:13

ไม่ทราบว่านามสกุล Ng อ่านว่าอย่างไรครับ เข้าใจว่าเป็นเวียดนาม ผมเคยถามทั้งจีนทั้งฝรั่ง ต่างก็ส่ายหน้า ไม่แน่ใจทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
cutenail
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 412  เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 08:27

ถ้าภาษาเวียด นะครับ

ng ถ้าอยู่ข้างหน้า จะออกว่า ง   เช่น ngyuen  = เหงียน
ng ถ้าอยู่ข้างหลัง จะออกเป็น ม  เช่น ong     = อม      อันนี้ขาดสระนะครับ เพราะไม่รู้จะพิมพ์อย่างไร
ที่บ้านเรา ไปอ่านตามฝรั่ง เป็น องค์ น่ะล่ะครับ

nh จะออก เสียง เป็น หย  เช่น nha'            = หย่า



แถมพม่า อีกหน่อยละกันครับ kyi บ้านเราชอบอ่านเป็น ขยี  แต่ที่ถูกคือ จี ออกเสียงตัว จ
                                kyaw   อ่านว่า จ่อ    เป็นต้น




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 413  เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 08:41

ไม่ทราบว่านามสกุล Ng อ่านว่าอย่างไรครับ เข้าใจว่าเป็นเวียดนาม ผมเคยถามทั้งจีนทั้งฝรั่ง ต่างก็ส่ายหน้า ไม่แน่ใจทั้งนั้น

Ng - ถ้าเป็นแซ่ จีนแต้จิ๋วอ่านว่า อึ๊ง แปลว่า เหลือง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 414  เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 10:54

ขอบคุณทุกๆ ท่านมากครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 415  เมื่อ 07 ธ.ค. 12, 19:51

ขอต่อเรื่องชื่อไปอีกหน่อยครับ

เป็นเรื่องของชื่อถนน ก็ปวดหัวดีเหมือนกัน  ความที่เราไม่คุ้นเคย เราก็จะพยายามอ่านชื่อถนนเต็มๆเลย พอนึกได้ว่ามันก็คล้ายกับไทย ถนนของเราจะต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า ถนน....   เช่นเดียวกัน ของอิตาลีก็ขึ้นต้นด้วย Via ของฝรั่งเศสก็ขึ้นต้นด้วย Rue   ของเยอรมันและออสเตรียต่างกันไป เอาคำว่าถนนไปไว้ท้ายชื่อ แถมมีอีกสองสามลักษณะถนน ถนนสายหลักจะลงท้ายด้วย Strasse สายรองหรือซอยลงท้ายด้วย Gasse และถนนสายเล็กลงท้ายด้วย Weg      ก็คงจะไม่ต้องพยายามอ่านให้ครบตามที่ป้ายเขียนแสดงไว้ทั้งหมด   เราถูกฝึกจากการเรียนมาอย่างยาวนานว่า  การอ่านออกหมายถึงการที่สามารถจะออกเสียงได้  มันก็เป็นกับดักที่ทำให้เราเสียเวลาต้องไปคิดว่าจะออกเสียงอย่างไร   ผลที่เกิดขึ้นประการแรกก็คือ ทำให้เราอ่านไม่ทัน  ส่งผลให้เกิดผลประการที่สองก็คือ เมื่อไม่สามารถออกเสียงได้ก็เลยทำให้เราไม่สามารถลำดับเส้นทางได้ว่าไปอย่างไรมาอย่างไร เนื่องจากมัวแต่พะวงเรื่องชื่อถนนที่อ่านไม่ทัน ทำให้หลงทั้งทิศและเส้นทาง    ส่งผลให้เกิดผลประการที่สามก็คือ บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางหรือจะขอให้ใครพาไปใหนมาใหนอะไำรไม่ได้เลย   และสุดท้ายคือหลุดและเสียเวลาในการไปใหนมาใหนด้วยตนเองเมื่อต้องใช้รถราง รถประจำทาง หรือระบบการขนส่งมวลชนอื่นใด 

แล้วก็คล้ายเราอีกนั่นแหละ ชื่อถนนมากมายเป็นชื่อของคน ของเรายังดีหน่อยที่ใช้เพียงชื่อสกุล   ของอิตาลีและฝรั่งเศสใช้ชื่อเต็มของคน แถมชื่อคนที่เอามาตั้งเป็นชื่อถนนในต่างย่านแต่ในเมืองเดียวกันก็ยังซ้ำกันอีก ไม่พอ ยังใช้คำย่อสำหรับชื่อที่เป็นที่รู้จักกันดีอีก (เช่น Santa Maria ก็ย่อเป็น S.S.) แล้วต่อด้วยแห่ง...(de)  เคยคุยกับแท็กซี่จึงได้รู้ว่า แท็กซี่เองก็ยังต้องหากินเป็นย่านๆ มิฉะนั้นก็จะไม่รู้และหลงเหมือนกัน    ก็ควรจะต้องระวังไว้สักหน่อยนะครับ หากมีความจำเป็นจะต้องเดินทางด้วยตนเอง จะใช้แผนที่ หรือจะใช้แท็กซี่ หรือจะถามเส้นทาง การบอกชื่อถนนอาจจะไม่เพียงพอ จะต้องบอกย่านหรือเขตพร้อมไปด้วยนะครับ 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 416  เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 19:30

เขียนมาแล้วส่งไม่ได้ครับ บอกว่าต้องเข้าระบบก่อน  ฮืม  เลยหายไปหมดเลย เอาไว้ต่อพรุ่งนี้ก็แล้วกันนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 417  เมื่อ 08 ธ.ค. 12, 20:18

เข้าระบบก่อน  = คุณตั้งยังไม่ได้ล็อคอินค่ะ  หรือไม่ก็หมดเวลาล็อคอินอัตโนมัติ  คือ 60 นาทีไปแล้ว  ควรติ๊กที่ล็อคอินถาวรไว้ดีกว่าค่ะ    คุณจะโพสได้ตลอดเวลาที่เปิดหน้าเว็บเรือนไทย

ถ้าเจออย่างที่ว่ามา   วิธีแก้คือคลิกลูกศรซ้ายบนสุดให้ย้อนกลับไปหน้าก่อนนี้  ข้อความทั้งหมดจะกลับมา   
ทางที่ดีพิมพ์ใน notepad แล้วค่อยลอกมาลงจะปลอดภัยกว่าค่ะ   อย่างน้อยก็มีข้อความเดิมอยู่ใน notepad
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 418  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 17:53

^

ขอบพระคุณครับ เข้าใจว่าลืมคลิกเพื่ออยู่ในระบบมากกว่า 60 นาที ครับ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 419  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 19:00

ต่อครับ

เรื่องชื่อถนนนี้ เท่าที่เคยเห็นมา ดูจะมีอยู่ประเทศเดียวที่มีถนนมากมายยั้วเยี๊ยะไปหมด แต่มีชื่อถนนน้อยมาก    คือ ประเทศญี่ปุ่นครับ
ลองนึกดูครับ ตามปรกติการจะไปหาบ้านคนหรือสถานที่ทำการใดๆในประเทศต่างๆทั่วโลก (ละมั้ง) เราจะเริ่มที่ชื่อถนน และซอย (หากมี) แล้วจึงค่อยๆไล่หาเลขที่บ้านหรืออาคาร ที่ค่อนข้างจะไล่เรียงกันไป    address ตามปรกติโดยสากลจึงเริ่มที่เลขที่บ้านหรืออาคาร ต่อด้วยชื่อถนน เขตหรือตำบล อำเภอ แล้วก็จังหวัด โดยนัยก็คือเริ่มจากจุด (ตำแหน่ง) แล้วขยายบอกพื้นที่กว้างออกไป    ของญี่ปุ่นที่เขียนในภาษาญี่ปุ่นกลับทางกัน คือเริ่มจากพื้นที่ใหญ่แล้วค่อยๆลดลงขนาดลงมาจนถึงจุดตำแหน่งที่ตั้ง   ที่เราเห็นการเขียนเป็นภาษาอังกฤษสำหรับ address ในญี่ปุ่นนั้น เป็นการเขียนแบบสากลสำหรับคนต่างชาติเท่านั้น   

address ในการเขียนของคนญี่ปุ่นนั้น จะเริ่มจากจังหวัด ตามมาด้วยชื่ออำเภอ ตามต่อมาด้วยชื่อชุมชน เขต หรือหมู่บ้าน แล้วลงไปที่ block สุดท้ายจึงจะเป็นจุดตำแหน่งของตัวบ้านหรืออาคารสถานที่นั้นๆ   
ยกตัวอย่างเช่น 4-16-3 Kami Osaki, Shinakawa Ku, Tokyo...(รหัสไปรษรีย์)    address นี้บอกว่า บ้านหรืออาคารนี้เป็นบ้านหรืออาคารที่ 3 ใน block ที่ 16 ของเขตที่ 4 ของชุมชน (หรือย่าน หรือแขวง) Kami Osaki ของอำเภอ (หรือเทศบาล หรือเมือง หรือเขต) Shinakawa ในจังหวัดโตเกียว

แล้วจะรู้ไหมนี่ ว่าจะไปหาเจอได้อย่างไร   วิธีการในการไปที่จะขอแนะนำที่ดีที่สุดคือการใช้รถแท็กซี่ (ซี่งแม้แท็กซี่เอง หากไม่หากินอยู่ในย่านนั้นๆก็ยังนำพาไปยาก) ซึ่งแท็กซี่จะใช้วิธีการป้อนข้อมูลหรือเบอร์โทรศัพท์ลงไปในเครื่อง navigator ที่มีอยู่ประจำรถ  เครื่อง navigator ก็จะนำทางพาไปถึงที่เลย (แล้วค่อยเล่าเรื่องนี้ต่อทีหลังครับ)
จะลองเองก็ได้ ก็พอจะมีหลักอยู่เหมือนกันครับ (ใช้ได้กับกรณ๊เป็นเมืองใหญ่นะครับ) แต่ก็อาจจะถึงขนาดเหงื่อชุ่มเอาเลยทีเดียว    เริ่มด้วยการพยายามพานำตนเองให้ไปถึงอำเภอหรือเขตนั้นๆด้วยระบบการขนส่งมวลชน  ซึ่งระบบการขนส่งมวลชนมักจะมีสถานีปลายทาง (terminal) อยู่ในบริเวณใจกลางของเขตหรืออำเภอนั้นๆ จากนั้นก็เริ่มด้วยการถามคนว่า เขต 4 ไปทางใหน  ตามปรกติ เขต 1 คือเขตกลางเมือง แล้วจะวนออกไปในทิศทวนเข็มนาฬิกา ต่อไปเป็นเขต 2, 3, ... แล้วขยายออกไปเหมือนทรงก้นหอย  ปัญหาไปอยู่ที่ว่า เขต 7, 8,... หรือ เขต 16 อาจจะมาอยู่ต่อกับเขต 1 หรือ ... ในวงรอบต่อไปก็ได้  จะรู้ได้ย่างเดียว คือ เดาเอาครับ   แต่ก็มีดีอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ตัวเลขแรกกับตัวที่สองนั้น จะมีเขียนไว้ตามเสาไฟฟ้า     ถึงตรงนี้แล้วจะเห็นว่าใช้รถแท็กซี่ดีที่สุด ซึ่งก็รู้ๆกันอยู่ว่าค่าแท็กซี่ค่อนข้าจะแพงมาก ซึ่งก็ยังพอมีวิธีอีก คือพยายามนำพาตนเองไปอยู่ในชุมชนหรือหมู่บ้านนั้นด้วยระบบขนส่งมวลชนเสียก่อน แล้วจึงเรียกใช้แท็กซี่ ค่าแท็กซี่ตามปรกติจะเริ่มที่ประมาณ 600 เยน ก็คงจะเสียค่าแท็กซี่สักประมาณ 800 - 1000 เยน ก็ยังดีนะครับ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง