เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 375 เมื่อ 21 พ.ย. 12, 18:50
|
|
ญี่ปุ่น จะใช้คำว่า อะริกาโตะโกซายอิมัส (สึ) หมายถึงของคุณมาก และดูเหมือนจะมียาวกว่านี้หากจะต้องให้มีความสุภาพมากขึ้นไป แต่ก็มีการใช้คำว่า สุมิมาเซ็ง หรือออกเสียงห้วนๆว่า ซิมาเซ็ง ซึ่งคำนี้มีความหมายหลายอย่างมากๆ หนักไปกว่านั้น ก็ ไฮ้ เลยทีเดียว
arigatou gozaimasu แปลว่า ขอบคุณค่ะ/ครับ ถ้าขอบคุณมากต้องว่า domo arigatou gozaimasu ถ้าพูดกับคนกันเองใช่แค่ domo หรือ arigatou ก็พอ sumimasen แปลว่า ขอโทษค่ะ/ครับ ตรงกับคำว่า excuse me hai แปลว่า ใช่ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 376 เมื่อ 21 พ.ย. 12, 19:53
|
|
คำต่อไปคือ ขออภัย ซึ่งเราทราบกันดีว่าจะใช้เมื่อใด สำหรับเรา คำ่ว่า ขออภัย นี้ใช้ก่อนการกระทำที่ต้องไปรบกวนคนอื่น
ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า excuse me เยอรมันใช้ entschuldigung ญี่ปุ่นใช้ สุมิมาเซ็ง ภาษาอื่นๆไม่ทราบครับ และดูเหมือนว่าแทบจะไม่เคยได้ยินในหมู่คนที่ใช้ภาษาละติน
จะเดินชนกัน จะขอแทรกเบียดไป จะเรียกคนขายของเพื่อถามราคาสินค้า จะสอบถามอะไร เหล่านี้มักจะเริ่มต้นด้วยคำดังกล่าวนี้ แต่หากเป็นการใช้สิทธิ ก็จะใช้คำว่า I'm sorry but....
แล้วคำสุดท้าย คือ ขอโทษ ซึ่งอาจจะใช้หลายคำในการสื่อความหมาย แต่ที่นิยม คือ I'm sorry for....
เหตุผลที่สามคำนี้มีความหมายค่อนข้างมากในการใช้ระหว่างการเดินทาง ในความเห็นของผม คือ มันตั้งอยู่บนฐานของความเสมอภาคและการเคารพสิทธิของผู้อื่น คำทั้งสามนี้ จัดได้ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของมารยาทและขนบธรรมเนียมประเพณีในสากลโลก แล้วก็มันอยู่ในการแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมการอ่อนน้อมถ่อมตนของคนที่เรียกว่าตนเองเป็นคนไทยอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้เพียงคำพูดเหล่านี้ก็คงจะไม่เพียงพอ จะต้องพร้อมไปด้วยหน้าตากริยาท่าทางที่เหมาะสมด้วย แต่ก็จะต้องมิใช่การแสดงออกในลักษณะของการแสดงตนว่าเป็นผู้ด้อยกว่าหรือเป็นขี้ข้าเขา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 377 เมื่อ 21 พ.ย. 12, 20:08
|
|
ขอบพระคุณมากๆครับ ทั้งคุณเทาชมพูและคุณเพ็ญชมพู ทำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้ยืนเดียวดายอยู่หน้าห้องกับชอล์คและกระดานดำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 378 เมื่อ 21 พ.ย. 12, 21:39
|
|
จะพยายามส่งเสียงค่ะ เดาใจกันยาก บางทีเจ้าของกระทู้กำลังเพลินกับบรรยาย ต่อเนื่องกันหลายความเห็น ถ้าเข้าไปแทรกก็เหมือนพูดขัดจังหวะ ก็เลยไม่ส่งเสียงออกมา แต่ถ้าอาจารย์ตั้งอนุญาตให้พูดได้ ก็ขอเชิญทุกท่านร่วมวง
ขอออกนอกเรื่อง ถึงการใช้คำขออภัย มีหลายคำ ในหลายวาระ ของไทยเรา สถานการณ์ข้างล่างนี้เราใช้คำเดียวกันหมด คือ ขอโทษนะครับหรือขอโทษนะคะ แต่ฝรั่งเขาใช้ไม่เหมือนกัน สมมุติว่าบนเครื่องบิน จะไปเข้าห้องน้ำ เห็นผู้โดยสารยืนเกะกะอยู่ริมทางเดิน เราจะแทรกตัวขอทาง เป็นคนไทยจะพูดว่า "ขอโทษนะครับ/นะคะ" ถ้าเป็นภาษาอังกฤษใช้ excuse me. เดินผ่าน แต่หลีกไม่พ้นไปชนเขาเข้านิดหน่อย คนไทยก็ "ขอโทษครับ/ค่ะ" เหมือนเดิม แต่ฝรั่งใช้ I am sorry ถ้าเป็นอเมริกันจะออกเสียงเป็น I'm sorry. แต่ถ้าเขาพูดอะไรด้วยสักอย่าง เราเกิดไม่ได้ยินถนัด ไม่รู้ว่าเขาพูดอะไร อยากให้พูดซ้ำ คนไทยจะ "ขอโทษนะครับ/นะค่ะ ฝรั่งจะพูด pardon ตอนท้าย เสียงสูงเป็นเชิงถาม คำนี้ คนไทยออกเสียงว่า พาด้อน ลงเสียงหนักที่คำหลัง แต่อเมริกันลงเสียงหนักที่คำแรก คำหลังเหลือเสียงนิดเดียว เป็น พ้าด-เอิ้น แต่ถ้าขึ้นเสียงสูงเป็นเชิงถาม หรือขอให้พูดซ้ำ ก็เป็น พาด-เอิ๊น ถ้าออกเสียงเร็วๆ จะกลายเป็น "ผาน"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 379 เมื่อ 21 พ.ย. 12, 21:55
|
|
เดินผ่าน แต่หลีกไม่พ้นไปชนเขาเข้านิดหน่อย คนไทยก็ "ขอโทษครับ/ค่ะ" เหมือนเดิม แต่ฝรั่งใช้ I am sorry ถ้าเป็นอเมริกันจะออกเสียงเป็น I'm sorry.
ญี่ปุ่นว่า ごめんなさい gomennasai โกเมนนะไซ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 380 เมื่อ 21 พ.ย. 12, 22:06
|
|
เพลงเก่ากึ๊กเพลงนี้คุณเพ็ญชมพูคงไม่รู้จัก เพราะเกิดไม่ทัน เป็นเพลงอเมริกันชื่อญี่ปุ่น ว่า Gomen-Nasai
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 381 เมื่อ 21 พ.ย. 12, 22:26
|
|
ไม่รู้จักจริง ๆ แต่ฟังแล้วเพลินดี ありがとうございました 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 382 เมื่อ 22 พ.ย. 12, 17:41
|
|
เพลงนี้ได้ฟังตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นกระเตาะอยู่เลย ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 383 เมื่อ 22 พ.ย. 12, 18:11
|
|
ลืมไปอีกคำหนึ่ง คือ เชิญเลยครับ ตรงกับคำว่า please เป็นคำสุภาพที่ใช้ทั่วไปเหมือนกัน
ภาษาเยอรมันใช้คำว่า bitte schoen บางทีก็ใช้คำนี้ในความหมายตรงกับคำว่า pardon ในภาษาอังกฤษ ที่น่ากลัว คือ คำว่า please และ pardon นั้น จะออกเสียงใ้ห้ดัง ให้สั้น หรือไม่มีหางเสียงนั้น ออกจะยากสักหน่อย จึงไม่ค่อยจะแสดงออกถึงอารมภ์ของผู้พูด ต่างกับคำว่า bitte ที่จะออกเสียงให้ดูสุภาพนุ่มนวลก็ได้ หรือจะออกเสียงในลักษณะตะคอกหรือสั่งการก็ได้ ซึ่งจะเปลี่ยนความหมายจาก เชิญเลยครับ ไปเป็น เอ้า เร็วเข้่า หรือ เอ้า ว่ามา ในทันใดเลย เดินทางไปในประเทศที่มีการใช้ภาษาเยอรมันก็คงจะต้องฟังน้ำเสียงสักหน่อยว่า คนพูดกำลังอยู่ในอารมภ์ใด
โดโมะ ในภาษาญี่ปุ่น นอกจากจะแสดงออกในกลุ่มขอความหมายของคำว่า มากๆ แล้ว ดูเหมือนจะใช้ในอีกความหมายหนึ่งด้วยเหมือนกัน คือ เชิญครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 384 เมื่อ 22 พ.ย. 12, 18:44
|
|
กระทู้ยาวมาถึงตรงนี้แล้ว (เิริ่มจากเตรียมตัว เดินทางออกไป จนกระทั่งเข้าประเทศอื่นแล้ว) กำลังคิดอยู่ว่าจะใช้กระทู้นี้ต่อเรื่องไปเรื่อยๆ หรือจะปล่อยให้ค่อยๆเลือนหายไปแล้วตั้งกระทู้ใหม่ ด้วยกำลังจะสนทนาต่อไปในเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติที่ได้พบเห็นในระหว่างการเดินทางไปในต่างถิ่น ครับ
มารออาจารย์ตั้งค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 385 เมื่อ 22 พ.ย. 12, 18:48
|
|
อีกคำหนึ่งที่ได้ฟังแล้วต้องระวัง เป็นคำตอบรับ ซึ่งเกือบทั้งหมดจะมีความหมายไปในเชิงของความหมายว่า รับทราบ มิได้มีความหมายอย่างเป็นแก่นสารในเชิงของความหมายว่า ถูกต้อง หรือเป็นไปตามนั้น
ในแต่ละภาษามีการใช้คำนี้ต่างกันไป เช่น yes, ye, ya, oui, si, E-e, hai ฯลฯ แต่ไอ้ที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าแล้วมันอะไรกันแน่ คือ การพูดตอบรับพร้อมกับการส่ายหน้าของคนอินเดีย แล้วก็ของคนในตะวันออกกลางที่ไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเป็นทางรับหรือปฏิเสธ สุดแท้แต่พระผู้เป็นเจ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 386 เมื่อ 22 พ.ย. 12, 20:47
|
|
โดโมะ ในภาษาญี่ปุ่น นอกจากจะแสดงออกในกลุ่มขอความหมายของคำว่า มากๆ แล้ว ดูเหมือนจะใช้ในอีกความหมายหนึ่งด้วยเหมือนกัน คือ เชิญครับ
domo โดโหมะ = ขอบคุณ dozo โดโสะ = เชิญ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 387 เมื่อ 25 พ.ย. 12, 21:35
|
|
ตอนที่เป็นวัยรุ่นได้ดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่ฉายทางทีวี เรื่องยูโด พระเอกเป็นนักยูโด อาศัยอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง (นำแสดงโดย มุกะ ทาเควากิ ) นางเอกเป็นสาวญี่ปุ่นที่สงบเสงี่ยม น่ารัก แต่มีน้องสาวฝาแฝดเป็นลูกสาวทูต ที่แต่งตัวแบบฝรั่ง ทั้งสองไม่รู้ว่าตนเองมีพี่-น้อง เป็นแฝดกันเพราะแยกกันตั้งแต่แบเบาะ ...แต่มาหลงรัก ผู้ชายคนเดียวกัน
ตอนไปญี่ปุ่นก็ไปมองดูตามร้านขายซีดี หนังเก่าๆ ถามคนขาย เขาก็บอกว่าไม่มีแล้ว หนังเก่ามากไป ใครเคยดูเรื่องนี้บ้างคะ อยากดูอีกแต่ไม่รู้จะหาได้ที่ไหน ....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 388 เมื่อ 25 พ.ย. 12, 21:42
|
|
ขอเอาหัวโขกกำแพง เรานี่โง่จริงๆ.... พอโพสข้อความเสร็จ ก็นึกขึ้นได้ว่าทำไมไม่ลองค้นในเน็ต แล้วก็ลองค้นดู เจอแล้วคะ ชื่อเรื่องยอดยูโด ดีใจจัง...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 389 เมื่อ 25 พ.ย. 12, 22:07
|
|
จำได้แต่ "ยูโดสายดำ" พระเอกชื่อ "เนาย่า" (นาโอย่า) ดังจนกันตนาเอาชื่อไปเป็นชื่อพระเอกหนังทีวีเกี่ยวกับมวยไทยชื่อ "กอหญ้า" 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|