เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 172086 เก็บตกมาจากการเดินทาง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 11 พ.ย. 12, 18:25

ก่อนเครื่องจะลง ผู้โดยสารทั้งหลายที่เดินทางเอง ก็มีหน้าที่ต้องกรอกและตรวจสอบข้อความในใบแบบฟอร์มผู้โดยสารขาเข้า และใบสำแดงภาษี บางทีก็มีใบแบบแสดงสุขภาพและประวัติการเจ็บป่วยอีกด้วย  สำหรับพวกที่มากับทัวร์ หัวหน้าทัวร์จะจัดการกรอกให้ทั้งหมด ลูกทัวร์ก็มีหน้าที่เซ็นชื่อเพียงอย่างเดียว

ในแบบฟอร์มเข้าเมืองนั้น ก็แล้วแต่ๆละประเทศว่าจะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด (บางทีก็เรีกว่า Entry card บางทีก็เรีกว่า Disembarkation card)  ในแบบฟอร์มนี้มีคำอยู่สองสามคำที่ทำให้งงพอได้เลย คือ คำว่า Embark...(ขึ้นเครื่องมาจากใหน) กับ Disembark....(ลงจากเครื่อง) และ Destination (สถานที่ๆจะไป)   

อาการเมาเครื่องบินหรือเมาเรือที่เกิดขึ้นเมื่อลงมาเดินบนพื้นดินแล้วรู้สึกโคลงเคลง เรียกว่า Disembarkment syndrome

ในแบบสำแดงภาษีนั้น ผมคิดว่าผู้โดยสารเกือบจะทุกคนจะกรอกแบบไม่ค่อยจะตรงกับความจริง (ยกเว้นว่าจะเป็นของที่เก็บซ่อนได้ไม่มิดชิด) พวกศุลการักษ์เขาก็รู้และจะใช้วิธีสังเกตลักษณะคนและอาการ ดูจากต้นทางของเที่ยวบินนั้น หรือใช้วิธีการตั้งคำถามสอบถาม ฯลฯ แต่ก็มักจะใช้วิธีการสุ่มตรวจขอเปิดกระเป๋าดู ว่าไปแล้วก็ค่อนข้างจะอลุ่มอล่วยกันทุกประเทศ     แต่ใช่ว่าหลุดจากตัวด่านแล้วจะลอดพ้นเสียทีเดียว  ขณะเข็นรถออกใกล้จะออกประตู บางทีก็จะมีเจ้าหน้าที่เรียกตรวจอีก คราวนี้เอาเข้าไปค้นในห้องเลย ยังไงๆก็ต้องมีของผิดและต้องเสียภาษี (มิฉะนั้นก็จะเสียเหลี่ยมศุลการักษ์หมด)   เคยมีข่าว (ซึ่งเป็นเรื่องจริง) ว่า ผ่านพ้นจนจะขึ้นรถแล้วยังมีคนอ้างตัวเป็นสรรพากรขอตรวจจำนวนเหล้าและบุหรี่ แล้วทำการปรับเข้ากระเป๋าเป็นที่เรียบร้อย   

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 11 พ.ย. 12, 19:07

ลงจากเครื่องก็ต้องมาผ่าน ตม.  เคยสังเกตใหมครับว่า เขามีเส้นขีดเว้นระยะยืนรอที่หน้าโต๊ะ ตม. แล้วก็มีเส้นขีดเว้นระยะหลังโต๊ะ ตม.  ที่โต๊ะ ตม.เองก็มีกระจกโค้งเพื่อมองพื้นด้านหน้าและด้านข้าง     ผมเองสงสัยอยู่ว่า ทำไมบูท ที่นั่ง และเคาท์เตอร์สำหรับ ตม.นั่งนั้นจึงค่อนข้างจะสูงกว่าปรกติ (ก็ยังไม่ทราบเหตุผลและคำตอบ) 

ที่บริเวณนี้มีเรื่องเล่ามากมายถึงสาเหตุที่ต้องมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น พี่ไทยก็เป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้เกิดลักษณะดังกล่าว จริงเท็จอย่างไรก็พิจารณาเอาเองครับ (เพียงได้ฟังมาจากเจ้าหน้าที่และคนที่เคยทราบว่ามีกระทำ) 
แต่เดิมนั้น ผู้โดยสารที่ไม่สามารถสื่อสารทางภาษาได้ ก็จะมีเพื่อนเข้าไปรุมช่วยชี้แจงที่หน้าเคาท์เตอร์ของ ตม.    มีเรื่องว่าในช่วงการตรวจประทับตรานี้ เรื่องหนึ่งคือจะมีเพื่อนมุดอยู่แล้วลอดผ่านการตรวจเข้าไป  อีกเรื่องหนึ่งคือมีคนซ่อนตัวอยู่ในกระเป๋าเพื่อลากผ่านการตรวจเข้าไป อีกเรื่องหนึ่งคือการใช้พาสปอร์ตปลอมส่งรวมผนวกเข้าไปเป็นกลุ่มหลายๆเล่ม เจ้าหน้าที่จะถูกเบี่ยงเบนความสนใจไปกับเสียงนกกระจอกและตัดรำคาญ รีบดำเนินการให้เสร็จๆไป  ฯลฯ

ปัจจุบันนี้ จึงมีการต้องให้เข้าไปยื่นการตรวจประทับตราครั้งละคน ห้ามยืนออกันที่เคาท์เตอร์ มีกระจกส่องดูกระเป๋าที่ลากและการแอบเล็ดลอด แถมยังมีเจ้าหน้าที่คอยจัดคิวอยู่ด้านหน้า แล้วก็มีเจ้าหน้าที่ยืนระวังหลังอยู่หลังแนวเคาท์เตอร์  ซึ่งเมื่อผ่าน ตม.แล้วยังห้ามยืนรอพรรคพวกอีกด้วย 

อาจจะมีคำถามว่า แล้วทำไมต้องใช้พาสปอร์ตปลอม แล้วทำไมต้องทำการลักลอบเข้าเมือง       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 16:11

รอคำตอบค่ะ   เดาว่าถ้าเป็นต่างประเทศ   เขากลัวคนลักลอบเข้าไปอยู่อาศัยและ/หรือทำงานในประเทศเขา   เมืองใหญ่ๆอย่างลอสแอนเจลิสเข้มงวดในเรื่องนี้มาก   
ถ้าเป็นด่านของไทย เดาว่าคงเกรงอาชญากรข้ามชาติละมังคะ
รอคำเฉลยจากคุณตั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 12 พ.ย. 12, 19:41

^
^
ถูกทุกคำตอบครับ

มีสามสาเหตุ คือ ลักลอบเข้าไปประกอบอาชีพสุจริต ลักลอบเข้าไปประกอบอาชีพทุจริต และหนีคดีความ  จะขอขยายความและเนื้อในของเรื่องสั้นๆ ดังนี้

กรณีแรก คนเหล่านี้มีทั้งพาสปอร์ตจริงและปลอม เขาเสี่ยงใช้ของปลอมก็เพราะว่า เมื่อเข้าไปทำงานนั้น นายจ้างจะยึดพาสปอร์ต เพื่อเป็นหลักประกันว่าเขาจะไม่หนีงานไปหางานที่ใหม่ที่ให้รายได้ดีกว่าเมื่อครบกำหนดสัญญา (หรืออื่นๆ) เอาเข้าจริงๆ เมื่อครบสัญญานายจ้างก็มักไม่คืนพาสปอร์ตให้เพื่อบีบให้ทำงานต่อไป หรือก็เพราะว่า เขาจะไม่มีโอกาสหลบหนีกลับประเทศหรือหลบไปใหนได้เลย (เนื่องจากไม่มี ID ที่จะแสดงตน)       

กรณีที่สอง เป็นการตั้งใจจะลักลอบเข้าเมืองเพื่อหาโอกาสให้กับชีวิตใหม่จริงๆ  โดยหลักง่ายๆก็คือ เมื่อความถูกต้องที่ปรากฏอยู่ในพาสปอร์ตปลอมสิ้นสุดลง บุคคลนั้นก็จะอันตรธานหายไป เขาก็จะเหลือพาสปอร์ตจริงที่ยังคงเป็น ID แสดงตนเมื่อถึงคราวจำเป็น

กรณีที่สาม มีทุกอย่างที่เป็นของจริง (พาสปอร์ตและวีซ่า) แต่ในระหว่างช่วงที่ของจริงยังมีอายุอยู่ แต่ใช้ของปลอมในการเดินทางเข้าออกและทำงานในช่วงอายุของๆจริงยัง เรื่องนี้ใช้กับเรื่องที่แอบทำในเรื่องที่ผิดกฏหมายต่างๆ

ด้วยสาเหตุบางส่วนที่เล่ามานี้  พอจะสังเกตใหมครับว่า ในกรณีเดินทางเอง เมื่อจะขอวีซ่า หลายๆประเทศจึงต้องการจดหมายเชิญ รับรอง และรับผิดชอบค่าใช้จ่าย หากเกิดกรณีมีความเสียหาย เจ็บป่วย หรือต้องถูกส่งตัวกลับ ฯลฯ     การไปกับบริษัททัวร์จึงสะดวก เนื่องจากบริษัททัวร์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหลาย  ทำให้เรารู้สึกว่าเิดินทางไปกัับทัวร์นั้นทุกอย่างดูง่ายสะดวกไปหมด ไม่มีปัญหาทั้งสิ้น   แต่ก็ไม่จริงเสมอไป มีลูกทัวร์มากมายเหมือนกันที่ถูกปฏิเสธวีซ่า  บริษัททัวร์เองก็มีปัญหาเหมือนกันที่ลูกทัวร์หนีทัวร์ ไม่ยอมกลับตามวันเวลาที่กำหนด อาศัยทัวร์มาก็เพื่อการหลบหนีเข้าเมืองที่สะดวกมากขึ้น       ไทยเราก็เข้าข่ายที่ต่างประเทศเขาระวังในเรื่องนี้ แม้กระทั่งจะเป็นการเดินทางของข้าราชการและคณะทัศนศึกษา (ทีเรียกอย่างโก้หรูในภาษาไทยว่าไปดูงาน) ที่จัดโดยหน่วยงานราชการก็ตามทีเถอะ ก่อนที่สถานทูตของเขาจะพิจารณาออกวีซ่าให้ หลายประเทศก็ยังต้องการหนังสือรับรองจากหน่วยงานในประเทศของเขาหรือของเราที่มีสำนักงานอยู่ในต่างประเทศนั้นๆ (ก็เพราะลูกทัวร์ในคณะดูงานทางราชการนั้นๆ ดูจะมีคนที่ไม่มีสถานะตำแหน่งทางราชการ ผู้หญิงและเด็ก มากกว่าคนที่มีตำแหน่งทางราชการ)             
 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 13 พ.ย. 12, 10:59

อาการป่วยอากาศที่ผมเรียก ก็คืออาการขาดความกระปรี้กระเปล่า จะเห็นได้ชัดเมื่อเครื่องลงแล้ว ซึ่งหากบินข้ามเส้นแบ่งเวลา (time zone) ก็จะผนวกกับอาการ jet lag ด้วย

          ช่วงหลังนี้มีการพูดถึงการจัดการอาการ jet lag ด้วยการอดอาหาร ครับ

                              Anti–jet lag Fast

              โดยปกติแล้วคนเราจะมี "นาฬิกา" หลักที่ควบคุมการหลับอยู่ในสมอง นาฬิกานี้จะมีการตั้งเวลา
นอนหลับไว้เป็นจังหวะในรอบวัน ("circadian" rhythms - "circadian" clock)
ทำให้เราตื่นตอนกลางวันและง่วงตอนกลางคืน โดยที่จังหวะนี้อาจเปลี่ยนไปได้ด้วยอิทธิพลของแสงสว่าง
การเดินทางไกลข้ามเขตเวลามีผลทำให้เกิดอาการ jet lag
            ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าคนเรายังมีนาฬิกาอีกอันหนึ่งนั่นคือ  "feeding" clock
ที่สัมพันธ์อิงกับการกินของเรา นาฬิกานี้อยู่ในสมองเช่นกันแต่เป็นคนละส่วน
            จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่า นาฬิกากินอาหารนี้ สามารถมีอิทธิพลเหนือนาฬิกาจังหวะรอบวันได้
กล่าวคือ ถ้าหากหนูทดลองไม่ได้กิน หนูก็จะอยู่ในภาวะตื่นอยู่ตลอด ไม่หลับไม่ง่วงแม้ถึงเวลานอน(เพื่อจะได้
หาอาหาร)

            จากข้อมูลนี้ จึงเป็นที่มาของการใช้ประโยชน์จากนาฬิกากินเพื่อจัดการอาการ jet lag


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 13 พ.ย. 12, 11:00

           ถ้าหากเราเดินทางจากอเมริกาไปญี่ปุ่น เราต้องปรับเวลาถึง 11 ชั่วโมง นาฬิกาชีวิตของเรา
จะใช้เวลาในการปรับเวลาถึงหนึ่งสัปดาห์โดยประมาณ แต่
            ถ้าเราใช้นาฬิกากิน โดยการอดอาหาร (12-)16 ชั่วโมง เราก็สามารถที่จะ(ปรับ)ตั้งนาฬิกาชีวิต
ให้เข้ากับเวลาของสถานที่ใหม่ได้โดยใช้เวลาน้อยกว่า
             จึงเป็นที่มาของคำแนะนำให้  งดรับประทานอาหาร 12- 16 ชั่วโมงก่อนเวลาอาหารเช้าของ
จุดหมายปลายทาง ที่อาจหมายถึงการอดบนเครื่องบินขึ้นอยู่กับเวลาในการเดินทางและเวลาถึงที่หมาย
              ในบทความทั่วไปจึงจะพบข้อความแนะนำว่า
    
                simply avoiding any food on the plane and then
eating as soon as you land

             ซึ่งการอดที่ดูเหมือนจะนานสิบกว่าชั่วโมงนี้ ไม่น่าจะยากลำบากอะไรในเมื่อเราก็อดอาหารนาน
ขนาดนี้อยู่แล้วทุกวันในช่วงหลังมื้อเย็นจนถึงมื้อเช้า - 'breakfast'
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 13 พ.ย. 12, 19:35

^
เคยอ่านพบและทราบอยู่เหมือนกันครับ  สำหรับการใช้หลักการกระตุ้น (break) ให้ร่างกายตื่นด้วยความกระชุ่มกระชวย จากการอดหรือขาดอาหาร (fast) ด้วยการกินอาหาร (ทำได้เร็วที่สุดได้ด้วยน้ำตาลในของหวานๆ) 

ในความเห็นของผม คือ

โดยสภาพจริงแล้ว จากประสบการณ์นะครับ การบินข้ามโซนเวลาที่กลับหัวหลับหางของผู้โดยสารระหว่างสถานที่ๆสองแ่ห่งที่กลางคืนเป็นกลางวัน กลางวันเป็นกลางคืน หรือระยะบินประมาณ 10+ ชั่วโมง นั้น  สายการบินมักจะจัดกำหนดให้การเดินทางนั้นๆไปถึงสถานนีปลายทางในช่วงเช้าตรู่ (เว้นแต่จะต้องเิดินทางต่อไปอีก)  การเสิรฟอาหารบนเครื่องในมื้อแรกก็จะพยายามจัดให้เป็นลักษณะของอาหารมื้อเย็น แล้วก็จะปิดไฟใ้ห้นอนประมาณ 6 ชม.เป็นอย่างต่ำ จากนั้นก็ปลุกและเสิร์ฟอาหารเช้าก่อนเครื่องจะลง ซึ่งอาหารทั้งหมดก็จะเป็นกึ่งๆระหว่าง light meal กับ full (heavy) meal ซึ่งผมเห็นว่าการจัดการแบบนี้ก็คือการช่วยปรับทั้ง circadian clock และ feeding clock ของตัวผู้โดยสารอยู่แล้ว  ที่เหลือสำหรับตัวผู้โดยสารเองก็คือ อาการรู้สึกว่านอนไม่พอ ซึ่งผมเห็นว่า หากเอางานและความรับผิดชอบเป็นที่ตั้ง เราก็จะรู้สึกตื่นตัว (alert) ไปได้ทั้งวัน พอถึงเวลานอนก็นอนเสียแต่หัวค่ำในเต็มอิ่มไปเลย ต่างกับหากเอาตนเป็นที่ตั้ง เราก็จะรู้สึกซึมทำอะไรไม่ได้ ต้องขอนอนพักอย่างเดียว     

ความรู้พื้นฐานตามหลักวิชาการหรือความเชื่อเกี่ยวกับสภาพดังกล่าวเหล่านี้ เป็นสวนหนึ่งอันน้อยนิดที่หลายคนอาจจะไม่ทราบเลยว่า ในหลายกรณีได้ถูกใช้้ในกระบวนการจัดกำหนดการและการเรียงลำดับความสำคัญของช่วงเวลาการพบปะเจรจาความ เพื่อความได้เปรียบต่างๆ  ผู้ใดจะนั่งเครื่องเดินทางชั้นใหนก็เกิดสภาพใกล้เคียงกันทั้งนั้น

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 19:18

ลงจากเครื่อง ผ่าน ตม. ผ่าศุลการกร จนออกประตูแล้ว ก็ถึงคราวเข้าเมือง
ความเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งเมื้อพ้นประตูออกมา ก็คือ จะเห็นคนถือป้ายชื่อโรงแรมบ้าง ชื่อองค์กรบ้าง หรือชื่อผู้โดยสารบ้าง  หากมีนัดหมายหรือการจองกันไว้ ก็คงจะต้องพยายามอ่านและแสดงตน   ทุกคนก็มักจะคิดว่าจากนี้ไปจะต้องเข้าที่พักเพื่อพักผ่อน หรืออาบน้ำเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวสำหรับภารกิจต่อไป 

แท้จริงแล้ว มีเรื่องหนึ่งที่เป็นจริงอย่างหนึ่งคือ พื้นฐานการคิดจำนวนวันที่พักของโรงแรมโดยทั่วไปนั้น เขาจะนับเป็นคืน (มิใช่หนึ่งวัน) ครบ 24 ชม. คือเริ่มตั้งแต่ประมาณเที่ยงวัน +/- ซึ่งหมายความว่า เราสามารถจะเช็คอินเข้าโรงแรมได้ แต่ก็จะต้องรอไปจนถึงเวลาผู้ที่ใช้ห้องพักที่โรงแรมเขาจัดให้เรานั้นออกไปและชำระเงินเสร็จเรียบร้อยเสียก่อน  ดังนั้น การจัดโปรแกรมของทัวร์แบบท่องเที่ยวจึงมักจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นับเริ่มตั้งแต่ออกจากสนามบินเป็นต้นไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าโรงแรมในช่วงคล้อยบ่ายหรือตอนเย็นหรือหลังกินอาหารเย็นแล้ว      ประเด็นข้อคิดสำคัญสำหรับงานด้านการราชการและธุรกิจ ก็คือ โปรแกรมการเดินทางของเรานั้นเกือบจะไม่ได้คำนึงถึงความสดชื่นของคนที่จะต้องทำงานเลย เราคิดในเชิงของการประหยัดมากจนเกินไป เราจึงเห็นเป็นภาพปรกติที่ พอเดินทางถึง ลงจากเครื่อง ก็ต้องไปทำงานเลย ไม่มีช่วงของเวลาหรือเสี้ยวเวลาที่จะมีโอกาส refresh ร่างกายและจิตใจใดๆเลย  ผมถึงได้กล่าวว่า มันเป็นกลยุทธอย่างหนึ่งในการจัดโปรแกรมในกระบวนการเจรจาความระหว่างประเทศ         
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 14 พ.ย. 12, 21:22

ก็มีทัวร์ที่คิดว่าลูกทัวร์นอนบนเครื่อง แค่นั้นพอแล้ว   พอต้อนลงจากเครื่องบินก็ขึ้นรถโค้ชตะลุยชมที่เที่ยวทันที   บางทีก็นั่งรถข้ามเมืองไปชมวันเดียวสามเมือง (โดยเฉพาะในยุโรป)   จึงปรากฏว่ามีลูกทัวร์เดินเป็นซอมบี้กันเป็นแถวในวันแรกค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 พ.ย. 12, 18:32 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 16 พ.ย. 12, 18:26

ใช่เลยครับ ประเภทชะโงกทัวร์ ประเทศในยุโรปเป็นประเทศขนาดเล็ก ขับรถไม่กี่ชั่วโมงก็ข้ามแดนแล้ว ยิ่งตอนเป็น EU และ Schengen แล้ว หากไม่สังเกตดีๆ บางทีก็ยังจะไม่รู้เสียด้วซ้ำไปว่าข้ามเข้าไปในอีกเขตประเทศหนึ่งแล้ว

ในโปรแกรมทัวร์บางโปรแกรมจะมีการแยกไปค้างคืนในเมืองเล็กๆสักหนึ่งหรือสองคืน  ลูกทัวร์คงจะต้องเตรียมกระเป๋าหิ้วใบเล็กๆติดตัวไปด้วย เพื่อแยกเสื้อผ้าสำหรับใช้ในการค้างแรมในลักษณะนี้ (โดยฝากกระเป๋าไว้กับโรงแรมหลักที่พักแรมในเมืองใหญ่) การแยกไปค้างแรมแบบนี้มักจะต้องเดินทางด้วยพาหนะอื่นๆโดยเฉพาะรถไฟ การที่จะเอากระเป๋าใบใหญ่ติดตัวไปด้วยตลอดเวลานั้นจะขลุกขลักเอามากๆเลยทีเดียว   

ที่จริงแล้วบรรดาทัวร์ทั้งหลายมักจะจัดให้นอนในโรงแรมระดับ 5 ดาว หรือไม่ต่ำกว่า 4 ดาว ซึ่งหมายความว่า ตามปรกติในโรงแรมเหล่านี้จะมีอุปกรณ์เครื่องใช้การอาบน้ำจัดเตรียมไว้ให้ รวมถึงเสื้อผ้าสำหรับใส่นอนด้วย  การจัดกระเป๋าเดินทางของเราจึงอาจจะลดน้ำหนักได้ไปได้อยู่มากโขเลยทีเดียว เอาน้ำหนักและพื้นที่ในกระเป๋าที่ลดไปได้นี้ไปใส่ของที่เราชอปปิ้งกลับมาก็น่าจะดีกว่า   

เลยทำให้นึกถึงเรื่องกล่องกระดาษ คนไทยและคนเอเซียบางประเทศชอบที่จะใช้กล่องกระดาษใส่ของที่เกินมาที่ไม่สามารถจะจัดลงในกระเป๋าได้  กล่องกระดาษนี้แหละคือตัวที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ เป็นจุดสนใจให้ศุลกากรขอเปิดตรวจทั้งกล่องและกระเป๋าเสื้อผ้าของเรา

แล้วก็ขอเลยเถิดไปอีกหน่อย  ปลาร้าและปลาเค็มครับ   ก็มีการเอาปลาร้าและปลาเค็ม ห่ออย่างดี ใส่ถุงพาสติคหลายชั้นกันกลิ่นออก ศุลกากรเห็นเข้าก็ยึดเลย เอาไปเก็บไว้เพื่อทำลายต่อไป   หนอยแน่ะ ไม่รู้จักกลิ่นของมันเสียแล้ว  ไม่กี่วันก็ต้องโทรศัพท์ขอให้มารับไปเอาไปเพื่อช่วยทำลายเอง เพราะว่ากลิ่นของมันตลบอบอวนขนาดหนัก เขาว่ามันเน่าจนรับกลิ่นไม่ไหวแล้ว  ก็หวานคอแร้งเลยซิครับ ของต้องห้ามผ่านด่านฉลุยเลย  เป็นเรื่องจริงนะครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 19:09

ย้อนกลับไปเรื่อง ตม. นิดนึงครับ

เป็นเรื่องที่เคยเจอที่ S.Africa   เมื่อตรวจประทับตราเข้าเมือง ก็จะมีสติกเกอร์เป็นบาร์โค๊ต แปะติดใว้ที่พาสปอร์ต  (ถ้าจำไม่ผิด คิดว่ามีบาร์โค๊ตแปะตั้งแต่ได้รับวีซ่า)  ครั้งนั้นพอดีเกิดเหตุไม่สบายต้องเข้าไปหาหมอที่โรงพยาบาลทั้งที่เมืองพรีทอเรียและเมืองเคปทาวน์   กระบวนการทุกอย่างดูง่ายและเร็วไปหมด เขาเพียงสะแกนบาร์โค๊ตเท่านั้นเอง ไม่ต้องเสียเวลาในพิธีกรรมซักถาม ในเรื่องอื่นๆมาก นอกจากเรื่องของการเจ็บป่วยเท่านั้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็ยังไม่เรียกเก็บในระหว่างการรักษา จนกระทั้งกลับไปแล้วประมาณสองสัปดาห์ จึงได้มีบิลมาเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งก็ไม่แพงเหมือนอย่างที่เราคาดไว้กับที่จะเกิดในไทย

เข้าโรงพยายบาลในออสเตรียก็เช่นกัน เวชระเบียนก็มีแต่บาร์โค๊ตเช่นกัน

ระบบการรักษาการเจ็บป่วยของประเทศที่มีหลักนิยมแบบยุโรปนั้น อาจะเหมือนๆกันหมด คือ พบแพทย์คนแรกเพื่อคัดกรองว่าควรจะส่งไปหาแพทย์เฉพาะทางด้านใด เมื่อตรวจเจออย่างไรก็จะส่งต่อไปให้แพทย์เฉพาะทางเฉพาะส่วนไปเรื่อยๆ   การรักษาจะเป็นแบบหาสมุหฐานให้พบเสียก่อน (จะไม่ค่อยรักษาแบบบรรเทาอาการไปก่อน)  แล้วก็เริ่มจากการให้ยาอ่อนที่สุดไปหายาแรง การหายป่วยก็จะเป็นแบบปลิดทิ้งหายขาดไปเลย  แต่คนไข้อาจจะต้องทนอาการการเจ็บป่วยเอาหน่อยก่อนที่หมอจะพบสมุหฐานของความเจ็บป่วยจริงๆ     

สุดยอดจริงๆที่ได้เห็นคือ ตามปรกติเวลาให้น้ำเกลือนั้น เราจะเห็นคนไข้ต้องนอนบนเตียง  แต่ที่เห็นมา หากเป็นการให้น้ำเกลือเพื่อช่วยชดเชยการเสียน้ำหรือช่วยฟื้นอาการเพลียหมดแรง คนไข้จะไม่ได้นอนบนเตียง เห็นเดินลากเสาแขวนขวดน้ำเกลือกันว่อน หาที่นั่งพักเอาตามใจชอบ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 20 พ.ย. 12, 19:38

กระทู้ยาวมาถึงตรงนี้แล้ว  (เิริ่มจากเตรียมตัว เดินทางออกไป จนกระทั่งเข้าประเทศอื่นแล้ว)   กำลังคิดอยู่ว่าจะใช้กระทู้นี้ต่อเรื่องไปเรื่อยๆ หรือจะปล่อยให้ค่อยๆเลือนหายไปแล้วตั้งกระทู้ใหม่    ด้วยกำลังจะสนทนาต่อไปในเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติที่ได้พบเห็นในระหว่างการเดินทางไปในต่างถิ่น ครับ 
บันทึกการเข้า
cutenail
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 08:06


เอาไว้กระทู้ เดียวกันก็ดีครับ จะได้ต่อเนื่องกัน ลงเครื่อง ผ่าน ตม. แล้วเข้าประเทศเลย

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 18:31

^
ตกลงครับ ว่ากันต่อเนื่องไปเลย

มีอยู่สามคำที่มีประโยชน์มาก คือ ขอบคุณ ขออภัย และขอโทษ ทั้งสามคำนี้เป็นคำที่แสดงถึงความมีมารยาทของเรา เป็นคำที่ใช้แล้วจะช่วยลดความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีของอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นคำที่ช่วยให้เราได้รับการอนุโลมและได้รับความเห็นใจ ซึ่งส่งผลไห้เราผลตามประสงค์  จะเดินทางไปประเทศใหนๆ คำแรกๆในภาษาของเขาที่ควรจะเรียนรู้และท่องจำเอาไว้ ก็คือ สามคำนี้แหละ

คำว่าขอบคุณในภาษาอังกฤษ คือ thank you และไม่ต้องต่อด้วยคำว่า sir  ยกเว้นเฉพาะกรณีที่เขาทำให้อะไรให้เราในลักษณะที่เป็นการอนุโลมให้กับเรา  (เป็นการขอบคุณแบบรู้สึกในบุญคุณ) หรือใช้เฉพาะการพูดกับผู้มีสถานะทางอำนาจในสังคม (เป็นการให้เกียรติแก่สถานะของคน) เราถูกฝรั่งสอนให้พูดแบบมีคำว่า sir ในลักษณะเพื่อแสดงสถานะความเป็นเบี้ยล่างของตัวเรา   

ในอังกฤษ คำว่า thank you ห้วนๆ อาจจะดูสุภาพน้อยไปสักนิด ออกไปเป็นทางแสดงว่าเป็นสามัญชนระดับล่าง  ต้องต่อด้วย very much indeed จึงจะแสดงว่าฉันก็มีอะไรดีๆ (มีกึ๋น) ในตัวฉันเหมือนกัน 

คำว่า thanks เฉยๆ มีความหมายค่อนข้างจะตรงกับคำว่า ขอบใจ  เป็นลักษณะการใช้กับคนที่มีสถานะเสมอเราหรือด้อยกว่าเรา

ในภาษาอื่นๆ ที่พอรู้ เช่น
          เยอรมัน จะใช้คำว่า danke schoen ตรงกับคำว่าขอบคุณมาก (thank you very much)   และ danke ตรงกับคำว่า ขอบคุณหรือขอบใจ
          อิตาลี และ ละตินอเมริกา จะใช้คำว่า gracias เพียงเท่านั้น  หากจะให้เกียรติมากขึ้นก็จะต่อท้ายด้วยว่าขอบคุณใคร
          ญี่ปุ่น จะใช้คำว่า อะริกาโตะโกซายอิมัส (สึ) หมายถึงของคุณมาก และดูเหมือนจะมียาวกว่านี้หากจะต้องให้มีความสุภาพมากขึ้นไป  แต่ก็มีการใช้คำว่า สุมิมาเซ็ง หรือออกเสียงห้วนๆว่า ซิมาเซ็ง ซึ่งคำนี้มีความหมายหลายอย่างมากๆ  หนักไปกว่านั้น ก็ ไฮ้ เลยทีเดียว

ก็ว่าไปตามความรู้และประสบการณ์ที่มีครับ เดี๋ยวคงจะมีท่านอาจารย์ทั้งหลายมาช่วยแก้ให้ถูกต้อง   
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 21 พ.ย. 12, 18:39

ไม่ค่อยจะเกี่ยวเท่าไร แต่พอดีคุณตั้งพูดถึงคำว่าThank you ในแบบต่างๆ ทำให้นึกได้   ว่าสมัยเรียน  มีคำหนึ่งที่ไม่เคยใช้เลยคือคำว่า Thanks a lot   เพราะได้ยินเพื่อนฝรั่ง เวลาแซวกัน  เขาใช้คำนี้เป็นคำขอบคุณแบบเสียดสี  หรือประชดประชัน   ไม่ใช่คำขอบคุณตามธรรมเนียม

สมมุติว่า เพื่อนคนหนึ่งแซวเพื่อนร่วมชั้นว่า "ครูเค้าไม่สังเกตหรอกนะว่าทำไมวันนี้แกไม่เข้าเรียน  แต่ชั้นบอกครูว่าแกโดดเรียนว่ะ  ก็แกบอกชั้นยังงั้นไม่ใช่เหรอ"  อีกคนก็ตาเขียวแล้วตอบว่า "เออ ไอ้เพื่อนแสบ   thanks a lot "  แปลว่า ไม่ขอบคุณ  เหมือนสะแลงสมัยเก๋ากึ๊ก  ใช้สำนวนว่า "ขอบคุณเป็นอันขาด"

ก็เลยหลีกเลี่ยงขอบคุณว่า Thanks a lot ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.181 วินาที กับ 20 คำสั่ง