เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 172127 เก็บตกมาจากการเดินทาง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 20:00

ในอเมริกา ถนน Interstate  หรือแม้แต่ highway บางช่วง อนุญาตให้เหยียบได้ถึง 75 ไมล์  (กรุณาคิดเป็นกิโลเมตรเอง  ดิฉันคิดไม่ถูกค่ะ)  เส้นทางถนนพวกนี้ วิศวกรเขาตัดตรงมาก  อย่างในรัฐแคนซัส มองไปข้างหน้าเห็นถนนเป็นเส้นตรงไปจนสุดขอบฟ้า  บางส่วนเป็นเนินเขา ก็ยังตรงแน่วขึ้นเนินเหมือนเดิม     
ถนนตรงนี้จะว่าดีก็ดีคือมันไม่โค้งไปโค้งมา  ซึ่งทำให้ต้องเดี๋ยวเร่งเดี๋ยวชะลอ   แต่จะว่าเสียก็เสียคือขับไปเรื่อยๆสักพักจะง่วง  เพราะวิ่งไปไกลขนาดไหนก็เหมือนวิ่งอยู่กับที่  เพราะทุกอย่างมันเรียบนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง     
นอกจากนี้ มันก็ไม่ได้เป็นเส้นตรงอยู่แค่ครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมง  มันตรงอยู่อย่างนั้นตั้งแต่เช้าถึงเย็น    ถ้าคนนั่งไม่ชวนคุยหรือชวนทะเลาะด้วยแล้ว  คนขับจะหลับในกันไม่รู้ตัว

ขับรถในอเมริกาจึงเหนื่อยมาก ทั้งๆทางแสนดีวิเศษ ราบเรียบราวกับนั่งพรมวิเศษของอาละดินก็ไม่ปาน    แต่มันเหนื่อยเพราะไกลอย่างหนึ่งละ  และความเยี่ยมยอดของถนนที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ทำให้เครียด  หรือสัปหงกได้ง่าย      สรุปว่าหลังจากตะลุยกันสนุกสนาน  กลับมาถึงบ้าน ก็ไม่มีใครชวนใครขับรถทางไกลอีกเลย
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 20:15

ในอังกฤษ
ถ้าเป็นในเมืองหรือเขตชุมชน ห้ามเกิน 30 ไมล์/ชม. = 48 กม/ชม.
ถนนระหว่างเมือง จะกำหนดความเร็วสูงสุดไม่เกิน 50 ไมล์/ชม.  = 80 กม/ชม.
ถ้าเป็นถนน motorway อนุญาตให้วิ่งได้สูงสุด 70 ไมล์/ชม. ครับ แปลงเป็น กม ก็ประมาณ 112 กม/ชม.


แต่การจะโดนจับปรับขับเร็วเกิน ที่นี่เค้ามีกฏว่า ความเร็วสูงสุดที่อนุญาต + 10% + 2
เช่น motorway 70 ถ้าขับไม่เกิน 70+7+2 = 79 ก็จะยังไม่โดนจับครับ แต่ 80 เมื่อไหร่ ถ้ามีกล้องหรือมีตำรวจดักก็ไม่รอด
80 นี่ก็แค่ 128 กม/ชม  เท่านั้นครับ

ผมเคยขับเร็ว 36 ไมล์/ชม บนถนนในเมืองตอนห้าทุ่มครึ่ง ที่เค้ากำหนดให้ไม่เกิน 30  ถ้าขับ 35 (30+3+2) ก็ไม่โดนแล้ว
ขับเร็วเกินไปไมล์นึง โดนกล้องถ่ายจับได้ ต้องไปลงเรียนหลักสูตรการขับรถอย่างปลอดภัยครึ่งวัน แลกกับการไม่โดนตัดแต้มในใบขับขี่ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 20:53

ในอเมริกา ขับรถเร็วเกินไปก็โดน  ขับรถช้าเกินไปก็ไม่ได้เหมือนกันนะคะ    เพราะมันจะไปกีดขวางรถคันอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อขับบนทางไฮเวย์
ป้ายจำกัดระยะทางเป็นเรื่องต้องเคร่งครัดกันมาก  อย่างเวลาผ่านโรงเรียน  ถ้าป้ายบอกว่าให้จำกัดความเร็วไม่เกิน 20 ไมล์   ก็ต้องลดความเร็วลงให้งุ่มง่ามไปแค่นั้น   อย่าได้ชะล่าใจว่าเหลียวซ้ายแลขวาไม่เห็นเด็กนักเรียนสักคน เพราะยังไม่ถึงเวลาเลิกเรียน ก็สามารถเหยียบได้ตามปกติ   รับรองว่าเสร็จค่ะ   ต่อให้ถนนตรงนั้นว่างไม่มีมนุษย์เลยสักคนก็ต้องลดความเร็วจากกระต่ายเป็นเต่าอยู่ดี   
กฎก็คือกฎ

ในเมืองที่อยู่ ถนนหนทางตอนสร้างเมืองตัดกันเป็นตารางหมากรุก ทำให้เกิดสี่แยกทุกช่วงถนน     ที่นี่มีไฟแดงเฉพาะบางแห่งที่เป็นเส้นทางใหญ่   แต่สี่แยกเล็กๆเขาใช้วิธีปัก stop sign คือป้ายสีแดงเขียนว่า "หยุด" ตรงทางโท   เพื่อให้รถที่มาจากทางเอกได้แล่นผ่านไปได้ก่อน     ไม่งั้นต่างคนต่างไม่หยุดก็จะชนกันยับเยินไปเท่านั้น
ความเคร่งครัดของที่นี่คือต่อให้สี่แยกนั้นไม่มีรถอื่นสักคัน     ขับรถมาเจอ stop sign ก็ต้องหยุดสนิทนิดหนึ่ง เหลียวซ้ายแลขวามองไม่เห็นรถอื่น(รวมทั้งตำรวจ) แล้วจึงพารถเคลื่อนผ่านไปได้     ไม่สามารถจะขับเอ้อระเหยผ่านไปโดยไม่หยุด อย่างที่เราทำกันเป็นปกติในบ้านเรา
อยู่อเมริกานานๆเข้าก็เบื่อเหมือนกัน  เพราะประเทศเสรีที่สุดในโลกอย่างที่นี่เอาเข้าจริงก็มีกฎระเบียบเคร่งครัดไปหมด   เพื่อจะไม่มีใครละเมิดสิทธิ์ใครได้   ไม่ต้องนึกถึงเรื่องอื่น แค่กฎจราจรก็ทำเอาเกร็งไปหมดแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 18:37

ในแผ่นดินใหญ่ยุโรป (ไม่ทราบในสเปนและปอร์ตุเกต)   กำหนดความเร็วรถบนทาง Highway หรือ Autobahn เหมือนๆกัน คือ ไม่เกิน 120 กม./ชม. และใช้กับถนนที่แยกเป็นข้างละสองหรือสามเลนที่มีร่องคูคั่น หากเป็นถนนสี่เลนสวนกันแบบมีราวกั้นแยกก็จะจำกัดที่ 80 กม./ชม. กรณีเป็นถนนสองเลนเชื่อมระหว่างเมือง หากเป็นนอกเขตเมืองก็จะจำกัดที่ 80 กม./ชม. บ้าง 60 กม./ชม.บ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพของถนนหรือสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้นๆ เมื่อผ่านเข้าเขตเมืองจะให้ใช้คามเร็วได้ไม่เกิน 50 กม./ชม. และหากเป็นถนนในตัวเมืองซึ่งมักจะแคบกว่าปรกติก็จะจำกัดที่ไม่เกิน 30 กม./ชม.    เมื่อใดที่มีป้ายจำกัดความเร็ว 80 กม./ชม. รวมทั้ง 50 และ 30 กม./ชม. จะมีการตรวจจับแบบเคร่งครัดมาก แต่ก็จะไม่มีการจับในระหว่างการขับขี่ จะมีหมายส่งมาให้ไปเสียค่าปรับในภายหลัง หากเราจะแย้งเขาก็จะให้รูปถ่ายมาดู  ขับรถในแผ่นดินใหญ่ยุโรปจึงไม่ค่อยจะเห็นตำรวจ จะเห็นตำรวจก็เฉพาะบน Autobahn ที่จะมีการวิ่งไล่กวดจับกัน

ที่ผมชอบก็คือ การใช้ภาพตำรวจยืนยิ้มตะเบะวางตั้งอยู่ชายเขตเมือง (ไม่ใช่เป็นหุ่นเหมือนจ่าเฉยของเรา) ใช้เป็นการเตือนเรื่องการจำกัดความเร็วว่าเข้าเขตบังคับจำกัดแล้วนะ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 19:17

ในญี่ปุ่นไปอีกแบบหนึ่ง
ความเร็วจำกัดตามกฎหมายบนถนนต่างๆ คือ 80 กม./ชม. แต่อนุญาตให้ใช้ความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. บน Highway   ซึ่งจะเริ่มจับจริงๆเมื่อขับถึงระดับ 140 กม./ชม.  ในวันทำงาน ถนน Highway เชื่อมระหว่างเมืองใหญ่ๆแม้รถจะมากแต่ก็ค่อนข้างจะไหลได้ดี  คนทำงานจะใช้รถไฟเป็นหลัก  แต่พอวันหยุดและเสาร์อาทิตย์ คนจะเอารถออกมาขับออกกำลังทำให้รถติดมากกว่าปรกติ ยิ่งเป็นวันหยุดยาวตามเทศกาลต่างๆ  อย่าใช้รถเลยครับ ติดมหาโหดยาวเป็น 60 กม.ก็มีเป็นประจำ

อันที่จริง การเดินทางไปใหนมาใหนในญี่ปุ่น ใช้รถไฟดีที่สุด     โดยประมาณนะครับ อยู่นอกเมืองไปเป็นหลักร้อยกิโลเมตร หรือหลักครึ่งร้อยกิโลเมตร หรือชานเมือง ต่างก็ใช้เวลาเข้าถึงเมืองไปถึงสถานที่ที่ต้องการจะไปได้ในเวลาประมาณ 1 ชม.   รถไฟเขาก็มีแบบรถธรรมดา รถด่วน และด่วนพิเศษ  รถไฟ Shinkansen  ก็มีแบบธรรมดา ด่วน และด่วนพิเศษเหมือนกัน ค่าโดยสารก็ต่างกันไม่มาก ระยะเวลาการเดินทางปรกติก็ต่างกันไม่เกิน 30 นาที

สำหรับท่านที่คิดว่าจะใช้ตั๋วแบบ Europass ซึ่งในญี่ปุ่นนั้น คือ JR pass นั้น หากไปโตเกียวแล้วไม่เดินทางไปเที่ยวโอซากา เกียวโต นารา ฟูกูโอกะ หรือไปที่อื่นไกลๆ ก็อย่าซื้อใช้ JR pass เลยครับ ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไปจริงๆ   
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโอซากาและค้างแรม ถูกกว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย (พักโรงแรมดีๆ กินอาหารอร่อยๆเป็นเวลาสองสามวัน ตามที่ทัวร์จัดให้นั้น) ไม่มากนัก  คนญี่ปุ่นจึงมาเที่ยวไทยกันค่อนข้างมาก ปีหนึ่งๆก็อยู่ในระดับ 1.2-1.4 ล้านคน 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 19:40

ชอบรถไฟและรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นเรื่องตรงเวลาเป๊ะด้วยค่ะ      นอกเหนือไปจากชอบรถความเร็วสูงชิงกันเซ็น ที่นั่งสบายและรวดเร็ว  เพิ่งถูกตัดหน้าไปด้วยจีนเมื่อไม่นานมานี้เอง    ไปนั่งแล้วก็อดหวังไม่ได้ว่ารถไฟของเราจะพัฒนาให้ทันเขาบ้าง  เพราะสยามมีรถไฟมาก่อนหน้าเขา
เคยไปเมืองเล็กๆของญี่ปุ่นนอกโตเกียว จำชื่อไม่ได้แล้ว  จำได้แต่ว่าถนนสายเล็กๆในเมืองนั้นแคบพอๆกับตรอกซอกซอยของเรา แต่รถเขาวิ่งกันได้เร็วมาก      คงเป็นเพราะทางเขาไม่มีแยกเป็นซอยเล็กซอยน้อยให้มอเตอร์ไซค์โผล่พรวดออกมาได้ทุกช่วงอย่างซอยบ้านเรา จึงไม่ต้องระวังต้องลดความเร็ว    ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกหรือเปล่านะคะ  คุณตั้งอยู่ญี่ปุ่นนานคงอธิบายได้ละเอียดกว่า

ในอเมริกาก็มีรถไฟเหมือนกัน  แต่รัฐทางตะวันตกดูเหมือนจะไม่ฮิทกันนัก   ทุกบ้านมีรถยนต์ก็นิยมขับรถไปตามเส้นทางระหว่างรัฐ เพราะสะดวกสบายกว่า   ดิฉันตั้งใจจะนั่งรถไฟเที่ยวมาหลายครั้งแล้ว ไม่มีใครเห็นด้วย    บอกว่าทิวทัศน์สองข้างทางไม่มีอะไรให้ดูเลย น่าเบื่อ     ก็เลยได้แต่ไปนั่งรถไฟย้อนอดีตที่เคยใช้ขนถ่านหินในเหมือง   เขายังเก็บเส้นทางช่วงสั้นๆไว้ให้นักท่องเที่ยวนั่งกัน  ส่วนใหญ่ผู้โดยสารก็คือเด็กที่ครูในโรงเรียนพามาทัศนศึกษา
ถ่ายรูปไว้เหมือนกันแต่เก็บไว้ใน external hard disk  ไม่อยากไปค้น  เอารูปจากอินทรเนตรมาลงให้ดูกันก่อนค่ะ

 


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 19:05

พูดถึงรถไฟญี่ปุ่น ก็นึกถึงชิงกันเซนและก็อดเศร้าใจกับรถไฟไทยไม่ได้ ความจริงเส้นทางรถไฟในไทยก็สวยงามแต่สิ่งที่แย่คือ โบกี้รถไฟที่ด้อยคุณภาพ

ราวกับไม่เคยได้รับความสนใจในการพัฒนาเลย ทั้งเก่าทั้งโทรม ....ความจริงรถไฟที่ญี่ปุ่นที่เป็นเส้นทางสายสั้นๆหน้าตาเหมือนรถไฟบ้านเราก็ยังมีใช้อยู่

แต่เขาจะดูแล ให้มีสีสันสวยงาม สะอาดตา ไม่น่ากระอักกระอ่วนใจถ้าจะใช้บริการ

ส่วนชิงกันเซนเขามีถึงขนาดเป็นรถไฟ 2 ชั้นแล้ว อีก 100 ปี เราจะตามเขาทันไหม เมื่อหันไปดูเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ที่รถไฟไทยไม่ไปไหนเลย...
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 19:26

รูปรถไฟในณี่ปุ่นที่ไม่ค่อยได้เห็นมาเพิ่มเติมคะ




บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 19:29

อยากเห็นรถไฟไทยเหมือน 2 รูปบนก็ดีใจแล้ว ....  ลังเล
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 19:31

ขอส่งรูปมาให้ดูเล่นอีกสักรูป เดาได้ไหมคะว่าไม้กระบอกยาวๆนี้เขาใช้ทำอะไร


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 19:57

เห็นรูปรถไฟญี่ปุ่น เลยเอารูปรถไฟอิตาลีมาฝากครับ  เพิ่งไปมาเมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว เผื่อใครที่ชาตินิยมจัดๆ จะได้ภูมิใจ เพราะแน่นพอๆ กับของไทย แถมโดนพ่นสีเลอะเทอะ ตู้ก็ดูเก่าๆ หน่อย
แต่จริงๆ ภาพที่ถ่ายเป็นแค่ขบวนธรรมดา ไม่ได้ถ่ายรถไฟความเร็วสูงหัวจรวดมา แต่ถึงจะขบวนธรรมดา ก็วิ่งเร็วและตรงเวลามากกว่าของไทยแน่ๆ ครับ คือเสียเวลาแค่เล็กน้อย 5 - 10 นาที แต่ถึงจุดหมายค่อนข้างตรงเวลา




บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 03 ส.ค. 12, 19:24

รูปรถไฟในณี่ปุ่นที่ไม่ค่อยได้เห็นมาเพิ่มเติมคะ

ภาพสุดท้ายที่เป็นหัวรถไฟชินกันเซนนั้น เป็นหัวรถไฟรุ่นใหม่    เชื่อใหมครับว่าแผ่นโลหะที่นำมาประกอบเชื่อมต่อกันเป็นทรงรูปหัวนี้ ไม่ใด้มาจากการปั้มขึ้นรูปแผ่นโลหะ แต่มาจากการตีขึ้นรูปด้วยมือโดยบริษัทที่เป็นระดับ SME ขนาดเล็กๆ  ทั้งๆที่บริษัทขนาดใหญ่สามารถจะทำได้ทั้งขบวน แต่เขาก็พยายามรักษาให้ SME ที่มีฝีมือให้ยังคงสามารถประกอบกิจการต่อไปได้ เพื่อธุรกิจที่มีฝีมือในระดับเยี่ยมเหล่านี้จะได้มีโอกาสสร้างสรรค์ชิ้นงานเยี่ยมๆต่อไป คือไม่พยายามโกยเอาทุกอย่างมาไว้เป็นของตนเหมือนกับแนวคิดของนักธุรกิจในหลายประเทศรวมทั้งของไทย 
ผมเคยไปดูโรงงานที่ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ชิ้นสำคัญ คือ ผ้าเบรคของรถไฟชินกันเซนนี้ เป็นโรงงานขนาดเล็กเช่นกัน มิได้เอาแป้นเหล็กของผ้าเบรคเก่ามาแปะผ้าเบรคใหม่นะครับ ของเก่าเอาไป Recycle ไม่เอาไป Reuse แล้วโรงงานเล็กๆนี้ก็พัฒนาวิธีการตัดแผ่นเหล็กมิให้เกิดขอบที่คมทุกด้าน ดังเช่นที่เรามักจะพบในชิ้นงานเหล็กที่มักจะมีขอบด้านหนึ่งเรียบมนแต่อีกขอบด้านหนึ่งคม

รถไฟชินกันเซนนี้ ยังมีเรื่องในรายละเอียดที่น่าสนใจซ่อนอยู่อีกมากพอสมควร เนื่องด้้วยเป็นรถไฟความเร็วสูงมาก  เช่น ระบบรางจะต้องเรียบสนิท จะต้องเป็นระบบปิด คือมีการปิดกั้นมิให้มีสิ่งใดๆเข้ามากีดขวางบนเส้นทางได้  และจะไม่มีประโยชใดๆเลยหากมีสถานีขึ้นลงอยู่ในระยะสั้นๆ จึงเป็นระบบรถไฟระหว่างเมือง ระยะห่างระหว่างเมืองหรือสถานีควรจะอยู่ในระดับมากกว่า 150 กม.ขึ้นไป มิฉะนั้นแล้วความเร็วที่มีก็จะไม่ทำให้เกิดประโยชน์อันใดเลย  ที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งคือ มิใช่จะมีเงินแล้วก็สร้างได้หากคำนึงถึงด้านความปลอดภัย แล้วมันแพงเอามากๆทีเดียว ระบบรถไฟชินกันเซนของญี่ปุ่นจึงไม่ขยายออกไปมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน   ตัวอย่างกรณีหนึ่งคือ มันจะต้องมีระบบหยุดรถอัตโนมัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว  เมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เมือง Joetsu ทางฝั่งทะเลญี่ปุ่น   เมื่อแผ่นดินเกิดไหวในระดับความรุนแรงที่ทำให้แผ่นดินขยับได้ในระดับหนึ่ง อุปกรณ์วัดค่าที่ติดอยู่เป็นระยะๆตามเส้นทางรถไปจะส่งสัญญาณต่อเนื่องให้ตัววัดสัญญาณที่อยู่ห่างออกไป ทราบ ซึ่งหากระดับความรุนแรงไม่ลดลงตามระยะทางที่กำหนด (ล่วงหน้าก่อนที่รถไฟจะวิ่งไปถึง) รถไฟจะถูกทำให้หยุดโดยอัตโนมัติ จำได้ว่าระบบนี้สามารถบอกล่วงหน้าได้ก่อนที่รถไฟจะไปถึงจุดนั้นประมาณ 16 กม.

ค่าโดยสารรถไฟชินกันเซนนี้พอๆกับค่าโดยสารเครื่องบิน  ต่างกันและได้เปรียบตรงที่ สถานีอยู่ในเขตเมืองและมีระบบขนส่งมวลของเมืองเชื่อมต่อ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเิดินทางไปสนามบิน ไม่เสียเวลาในการขึ้น Boarding Pass ไม่เสียเวลาในการรอคอยเที่ยวบิน ซึ่งตามปรกติจะต้องไปถึงสนามบินล่วงหน้าก่อนเวลาบินประมาณ 1 ชม. แถมเมื่อเครื่องบินลงแล้วยังต้องเสียเวลารอคอยอื่นๆอีกกว่าจะเข้าถึงในตัวเมืองได้  อีกประการหนึ่งคือรถไฟชินกันเซนตรงเวลามากว่าเครื่องบิน มีระเบียบและข้อห้ามด้านความปลอดภัยที่ไม่เข้มงวดเหมือนกับเครื่องบิน จะใช้โทรศัพท์ จะสูบบุหรี่ จะเดิน ไปมา จะใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้  กล่าวได้ว่ามีความสะดวกมากกว่าเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 03 ส.ค. 12, 19:38

ส่งรูปรถไฟชินกันเซนมาประกอบค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 03 ส.ค. 12, 20:06

ขอส่งรูปมาให้ดูเล่นอีกสักรูป เดาได้ไหมคะว่าไม้กระบอกยาวๆนี้เขาใช้ทำอะไร

กระบอกนี้ดูหมือนเครื่องดนตรีของชาว Aborigines ในออสเตรเลีย เรียกว่า Didgeridoo ที่ทำเสียงเพลงด้วยการเป่าครับ  น่าสนใจตรงที่ไม่ค่อยจะเห็นชาวพื้นเมืองเป่ากันในที่ต่างๆ เห็นแต่คนขาว (ฝรั่ง) เอามาเป่าแสดงความสามารถกันในถนนหรือหน้าศูนย์การค้าในเมือง ซึ่งมิใช่เฉพาะในออสเตรเลียเพียงประเทศเดียว แต่แทบจะทุกประเทศในโลก  สำหรับท่วงทำนองเพลงนั้น ผมไม่ทราบว่าแต่งขึ้นใหม่หรือเป็นของเดิม แต่ก็น่าสนใจและให้อารมภ์  

เครื่องดนตรีประจำถิ่นต่างๆนั้น ผมเห็นว่าเป็นเรื่องน่าสนใจ โดยเฉพาะนักดนตรีที่สามารถนำมาบรรเลงในเพลงประเภทเพลงร่วมสมัย (Contemporary music)   ของไทยก็มี ที่เห็นก็ใช้ระนาดเอกเป็นหลัก ของจีนก็มี ใช้ซอและกู่เจิงเป็นหลัก ของอิเดียก็มี ใช้ซีต้าเป็นหลัก ของโอกินาวาก็มี ใช้ซันซินเป็นหลัก และบรรดาเครื่องสายต่างๆในยุโรปในตระกูลเครื่องดีด   ในบรรยากาศและในสภาพของจิตใจบางขณะ การฟังท่วงทำนองของดนตรีร่วมสมัยจากเครื่องดนตรีประจำถิ่นเหล่านี้ ทำให้เพลิดเพลินได้และผ่อนคลายได้มากทีเดียวเลยครับ  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 03 ส.ค. 12, 20:32

เห็นรูปรถไฟญี่ปุ่น เลยเอารูปรถไฟอิตาลีมาฝากครับ  เพิ่งไปมาเมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว เผื่อใครที่ชาตินิยมจัดๆ จะได้ภูมิใจ เพราะแน่นพอๆ กับของไทย แถมโดนพ่นสีเลอะเทอะ ตู้ก็ดูเก่าๆ หน่อย
แต่จริงๆ ภาพที่ถ่ายเป็นแค่ขบวนธรรมดา ไม่ได้ถ่ายรถไฟความเร็วสูงหัวจรวดมา แต่ถึงจะขบวนธรรมดา ก็วิ่งเร็วและตรงเวลามากกว่าของไทยแน่ๆ ครับ คือเสียเวลาแค่เล็กน้อย 5 - 10 นาที แต่ถึงจุดหมายค่อนข้างตรงเวลา

จำได้ว่า คำว่ารถไฟนั้น คนอิตาลีเขาเรียกกัน Ferro ซึ่งแปลตรงๆก็คือ เหล็ก   ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นคำ slang ที่ใช้เรียกรถไฟ และก็น่าจะเป็นคำประเภทคำแดกดันพอสมควรเลยทีเดียว เท่าที่พบเห็นมาบรรดาหัวรถจักร์ของอิตาลีทั้งหลาย นอกจากจะพ่นสีแบบดูเก่าๆดังภาพแล้ว ยังเห็นสีสนิมขึ้นเกรอะในแต่ละส่วนอีกด้วย มีน้อยมากที่จะดูเป็นของใหม่ ส่วนตัวจึงเชื่อว่า คำว่า Ferro นั้นน่าจะเป็นคำเรียกในลักษณะทำนองว่า เศษเหล็ก    สำหรับตัวขบวนรถรถ (โบกี้) นั้นจำไม่ได้แม่นแล้ว ภาพเท่าที่จำได้คือ ดูเหมือนบรรดาโบกี้ที่ใช้ลากจูงอยู่ในเส้นทางตอนเหนือของอิตาลีจะเป็นของเยอรมัน ออสเตรีย และสวิส ไม่แน่ใจว่าจะมีของฝรั่งเศสหรือไม่  (รู้ได้จากโค๊ตตัวอักษรและคำย่อทั้งหลายครับ)   อีกประการหนึ่ง คือ ไม่เคยเห็นหัวรถจักรของอิตาลีลากจูงข้ามเขตอิตาลีเลย เห็นแต่ของเยอรมัน ออสเตรีย และฝรั่งเศสที่ลากจูงวิ่งกันว่อนทั่วไป
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง