เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 171903 เก็บตกมาจากการเดินทาง
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 21 มิ.ย. 12, 22:15

มาขยายความค.ห.ที่ 99 คะ

สิ่งที่ทำให้มุมนั่งเล่นมุมนี้ ไม่หายไปจากความทรงจำคือ ที่วางเท้านั้น จะมีน้ำอุ่นจากท่อออกมาอยู่ในกะบะไม้

ที่วางเท้านั่นแหละคะ  ทำให้อยากจินตนาการว่าในหน้าหนาว ภูเขาสูงแถบนี้คงหนาวจับใจ ถ้าออกมานั่งทานกาแฟร้อนๆ

และแช่เท้าในน้ำอุ่นๆ จะมีความสุขสักแค่ไหน ....

สิ่งเล็กๆน้อยๆแบบนี้ เขาเอาใจใส่เพื่อให้บริการที่ประทับใจแก่ลูกค้า ...ดีจัง


ส่วนภาพข้างล่างเป็นสุสานของบรรพบุรุษ...

สิ่งที่สะดุดใจคือแนวคิดที่แตกต่าง (โดยมีขนบประเพณี แนวคิดที่แตกต่างรองรับ)

เราคนไทยชินกับที่สุสานที่อยู่ห่างไกลผู้คน ด้านหลังของวัด (ไม่นับรวมที่อยู่ตามช่องกำแพง...เดี๋ยวนี้)

แต่ภาพที่เห็นนี้ กลับอยู่ไม่ไกลจากถนน ดูสะอาดเป็นระเบียบ ง่ายแก่การมาเคารพ

เพราะอยู่ใกล้บ้านผู้คน  ลานจอดรถ ...คุณตั้งเคยเห็นไหมคะ และพอจะทราบแนวคิดของชาวญี่ปุ่นไหมคะ
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 22 มิ.ย. 12, 18:31

มาร่วมคุยกับคุณพวงแก้วค่ะ ... รูปนี้เป็นสุสานในย่าน Pok Fu Lam ของฮ่องกงค่ะ มีทั้งตึกที่พักอาศัย โรงเรียน และสำนักงานล้อมรอบเลย



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 22 มิ.ย. 12, 19:53

แวะเข้ามาส่งข่าวว่าตอนนี้ไปเที่ยวรัฐอื่นๆอยู่นะ.    กลับไปรัฐเดิมเมื่อไรจะเข้ามาร่วมวงค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 22 มิ.ย. 12, 21:26

^
เป็นพื้นที่ตามหลักความเชื่อเลยนะครับ ด้านหลังเนินภูผา ด้านหน้ามหานที  
ความเชื่อนี้เป็นอิทธิพลจากจีนและอยู่ในปรัชญาความเชื่อตามปรัชญาขงจื้อ ซึ่งถ่ายทอดออกมาในอีกมุมและรูปแแบหนึ่ง (ฮวงจุ้ยและหยินหยาง)

ผมเห็นว่า ความเชื่อเรื่อง หลังภูผาหน้านที นี้ ยึดมั่นถือมั่นเน้นกันในสองรูปแบบ   ในเกาหลีจะเน้นเรื่องด้านหลัง ในขณะญี่ปุ่นจะเน้นในเรื่องด้านหน้า
ชื่อในเกาหลีมากมายจึงลงท้ายด้วย San ซึ่งแปล (อย่างหลวมๆ) ว่าภูเขา ในขณะที่ชื่อในญี่ปุ่นมากมายจะลงท้ายด้วย gawa ซึ่งแปลว่า (อย่างหลวมๆ) ว่าแม่น้ำ   ในเกาหลีนั้นยังมีอีกคำหนึ่ง คือ mun หรือ moon ซึ่งแปล (อย่างหลวมๆ) ว่าประตู
หากภาพที่ได้เห็นมา (ในเชิงของตำแหน่งที่ตั้ง) นั้นถูกต้องนะครับ สถานที่ราชการสำคัญๆของเกาหลีรวมทั้งทำเนียบของประธานาธิบดีจึงบนอยู่เชิงเนิน (หรือเชิงเขา) มีด้านหน้าหันสู่พื้นที่ๆเป็นด่านทางเดิน (Pass)  ในขณะที่ของญี่ปุ่นนั้น ปราสาทต่างๆตั้งอยู่ในที่ราบ หรือในแอ่งระหว่างหุบเขา และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน

บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 22 มิ.ย. 12, 23:26

รูปที่คุณกระต่ายหมายจันทร์นำมาลง น่าสนใจมากคะ ถ้าเราไปใช้ชีวิตอยู่บริเวณนั้นคงหวั่นๆใจพิกล

แต่คนที่อยู่นานๆก็คงจะชินไปเอง พื้นที่สุสานที่ญี่ปุ่นดูเล็กไปเลย แต่ถ้านึกอีกทีว่าการจัดวางสุสานไว้ในที่

ไม่เปลี่ยว ลูกหลานจะไปคารวะก็สะดวกและไม่น่ากลัว...ก็ดีไปอย่างนะคะ

ส่วนความเชื่อแบบขงจื้อ ด้านหลังภูผา ด้านหน้ามหานที ในเมืองไทยก็รับแนวคิดนี้มาโดยเฉพาะคนจีน

ต่อไปเป็นรูป ปลาปิ้ง ที่แหล่งท่องเที่ยวเล็กๆ คนมาดูน้ำตกสูงกัน แต่ก็มีตลาดนัดเล็กๆบริเวณนั้น

มีร้านหนึ่งขายเฉพาะปลาปิ้ง...ตัวประมาณคืบ เนื้อคงมีไม่เท่าไหร่ทำไมถึงขายได้ แล้วเขาเสียบ

ไว้อย่างนี้ เพื่อรักษาความอุ่นไว้แต่ไม่ให้แห้ง ยังสงสัยว่าเขาซื้อไปทานกันอย่างไร...คุณตั้งเคยเห็นไหมคะ

มองดูรอบๆก็ไม่เห็นใครซื้อไปทาน และไม่มีองค์ประกอบอะไร ให้เดาเลย



บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 14:17

รูปที่คุณกระต่ายหมายจันทร์นำมาลง น่าสนใจมากคะ ถ้าเราไปใช้ชีวิตอยู่บริเวณนั้นคงหวั่นๆใจพิกล

แต่คนที่อยู่นานๆก็คงจะชินไปเอง พื้นที่สุสานที่ญี่ปุ่นดูเล็กไปเลย แต่ถ้านึกอีกทีว่าการจัดวางสุสานไว้ในที่

ไม่เปลี่ยว ลูกหลานจะไปคารวะก็สะดวกและไม่น่ากลัว...ก็ดีไปอย่างนะคะ

ส่วนความเชื่อแบบขงจื้อ ด้านหลังภูผา ด้านหน้ามหานที ในเมืองไทยก็รับแนวคิดนี้มาโดยเฉพาะคนจีน


เขต Pok Fu Lam นี่เป็นย่านเก่าแก่ในเขต Southern ของฮ่องกงค่ะ เป็นแหล่งที่นึกถึงสองอย่างคือ สุสาน กับ ชาวต่างชาติ ... ที่นี่นอกจากจะมีสุสานมากมายอย่างที่เห็นในรูป (ในวันไหว้บรรพบุรุษ ใครไม่จำเป็นไม่ควรผ่านไปแถวนั้นเด็ดขาดเพราะรถจะติดแหง่ก เหมือนทางไปชลบุรีในวันไหว้บรรพบุรุษของบ้านเราทีเดียว) ... ส่วนชาวต่างชาติมาทีหลังค่ะ เนื่องจากอยู่ใกล้สุสาน ชาวจีนไม่ค่อยนิยมอยู่เท่าไหร่ แต่ด้วยความที่วิวสวยทั้งต้นไม้ภูเขาทะเล และระยะทางที่ไม่ไกลมากนักจากตัวเมือง ชาวต่างชาติจึงพากันมาอยู่ที่นี่เยอะมากค่ะ มากขนาดที่โรงเรียนนานาชาติตามมาเปิดในย่านนี้เลย
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 15:01



วันนี้ไปดูงานแข่งเรือมาค่ะ Dragon Boat Festival เป็นเทศกาลที่จัดเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตของกวีและขุนนางชื่อ Qu Yuan ซึ่งเป็นรองเจ้าเมืองแห่งเมือง Chu (ปัจจุบันอยู่ระหว่างจังหวัด Hunan และ Hubei) อันเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์และเป็นที่รักของประชาชน (ขออนุญาติไม่พยายามสะกดภาษาไทยว่าชื่อคน เมือง หรือสิ่งของควรจะออกเสียงว่ายังไงนะคะ รอผู้เชี่ยวชาญภาษาจีนตัวจริงมาเฉลย)

ตำนานว่าไว้ว่า Qu Yuan ถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายจากผู้มีอำนาจในขณะนั้น จนถูกปลดจากตำแหน่งและเนรเทศ Qu Yuan ต้องเห็นเมืองที่ตัวเองรักถูกกัดกินจากผู้ปกครองที่ฉ้อฉลจนเริ่มเสื่อมลง ก็เกิดความทุกข์ใจอย่างแสนสาหัสจนนำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงในแม่น้ำ Milo ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ก็พยายามกรูกันพายเรือไปช่วยเหลืออดีตขุนนางที่พวกเค้ารัก ความพยายามในการกู้ชีวิตก็เปลี่ยนเป็นความพยายามในการกู้ร่างขึ้นมาจากน้ำแทน แต่หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ ... ชาวบ้านกลัวปลาจะมากินร่างของ Qu Yuan จึงพากันโปรยข้าวลงในแม่น้ำ เพื่อให้ปลาและมังกรในแม่น้ำมากินข้าวแทน

วิญญาณของ Qu Yuan ปรากฏขึ้นที่แม่น้ำเพื่อบอกชาวบ้านว่า สัตว์ใหญ่ในน้ำ (อาจจะหมายถึงมังกร) มาแย่งข้าวที่ชาวบ้านโปรยไปหมด และแนะนำให้ชาวบ้านห่อข้าวด้วยใบไม้ มัดด้วยเส้นไหม และโยนลงในแม่น้ำแทน ... พอตกกลางคืนชาวบ้านก็จะจุดไฟใส่ลงในกระทงเอาไปลอยน้ำ เพื่อบอก Qu Yuan ว่าแสงสว่างจะมาถึงเสมอ และอย่าได้หวาดกลัว

ทุกวันนี้ก็เลยมีการรำลึกถึงวีรบุรุษคนนี้ด้วยการจัดการแข่งเรือเหมือนกับการที่ชาวบ้านพยายามกันพายเรือกรูกันไปช่วย Qu Yuan และรับประทานบ๊ะจ่าง (Zong zi) กัน ซึ่งก็เป็นอาหารที่ได้รับการพัฒนามาจากข้าวที่ชาวบ้านมัดแล้วโยนลงในแม่น้ำนั่นเอง



ที่ฮ่องกง การแข่งพายเรือเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมาก มีการประมาณว่ามีคนเล่นกีฬาพายเรือที่นี่กว่า 30,000 คนเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 15:06

กราบขออภัยหากรูปเรือใหญ่ไป พยายามย่อและแก้ไขรูปแล้วแต่ก็ยังไม่ได้อย่างใจสักทีค่ะ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 18:12

มาขยายความค.ห.ที่ 99 คะ
สิ่งที่ทำให้มุมนั่งเล่นมุมนี้ ไม่หายไปจากความทรงจำคือ ที่วางเท้านั้น จะมีน้ำอุ่นจากท่อออกมาอยู่ในกะบะไม้
ที่วางเท้านั่นแหละคะ  ทำให้อยากจินตนาการว่าในหน้าหนาว ภูเขาสูงแถบนี้คงหนาวจับใจ ถ้าออกมานั่งทานกาแฟร้อนๆ
และแช่เท้าในน้ำอุ่นๆ จะมีความสุขสักแค่ไหน ....
สิ่งเล็กๆน้อยๆแบบนี้ เขาเอาใจใส่เพื่อให้บริการที่ประทับใจแก่ลูกค้า ...ดีจัง

ภาพแรก สถานที่นั่งพักแล้วเอาเท้าแช่น้ำอุ่นนั้น ผมคิดว่าน้ำอุ่นที่เอาเท้าลงไปแช่นั้น เป็นน้ำมาจากแหล่งน้ำพุร้อนที่คนญี่ปุ่นนิยมลงไปแช่ไปอาบกันที่เรียกว่า ออนเซน 
ในพื้นที่ๆเป็นแหล่งออนเซนหลายแห่ง จะมีการทำร่องน้ำให้น้ำร้อนไหลผ่านและจัดสถานที่ให้เป็นที่นั่งเล่นพักผ่อน หรือเพื่อให้คนที่เดินทางผ่านมา หรือเพื่อให้ผู้ที่ยังไม่พร้อมหรือไม่ได้มีการเตรียมตัวจะมาแช่น้ำแบบอนเซนได้ถอดรองเท้าลงไปเดินแช่เล่น เพื่อความผ่อนคลายและสำราญใจ
 
น้ำร้อนที่เกิดมาจากใต้ดินนี้ ในภาษาไทยเรียกกันว่า น้ำพุร้อน หรือ พุน้ำร้อน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมทั้งลักษณะที่โผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินแบบน้ำพุจริงๆ (Geyser) และแบบที่ไหลรินออกมา (Hot spring) บางทีก็ใช้คำว่าน้ำแร่ร้อน ซึ่งไปตรงกับคำว่า Hydrothermal บางทีก็ใช้คำว่าแหล่งน้ำพุร้อนใต้ดิน ซึ่งไปตรงกับคำว่า Geothermal 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 19:17

^
การให้บริการออนเซนนั้นมีหลาย ทั้งแบบเป็นห้องพักพร้อมอ่างแช่ส่วนตัว แบบเป็นห้องน้ำใช้ร่วมกันมีล็อกประตูมีอ่างแช่ แบบอ่างรวมแยกหญิงแยกชาย แบบอ่างรวมไม่แยกหญิงชาย และแบบแ่อ่งน้ำในธรรมชาติจริงๆ (ซึ่งไม่ค่อยจะมี)

ก่อนจะลงไปแช่ เป็นกติกาว่าทุกคนจะต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเสียก่อน มีม้านั่งเล็กๆเตี้ยๆให้ทำการขัดสีฉวีวรรณให้เรียบร้อย แล้วจึงลงไปแช่
ระยะเวลาที่แต่ละคนลงแช่ก็อยู่ระหว่าง 20-30 นาที ญี่ปุ่นเขาว่าหากแช่นานเกินไปก็ไม่ดี และยังขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนที่จะทนทานต่อเข้มข้นของปริมาณธาตุและสารประกอบทางเคมีที่ละลายอยู่ในน้ำ     
การไปออนเซนของคนญี่ปุ่นนั้น มิใช่ว่าจะไปที่ใหนก็ได้ เขาจะมีการศึกษาว่าที่ใดทีความเข้มข้นของปริมาณแร่ธาตุในน้ำน้อยหรือมากเพียงใด และอุณหภูมิความร้อนของน้ำมากน้อยเพียงใด  คนญี่ปุ่นจึงมีการฝึกให้ร่างกายเคยชิน เริ่มตั้งแต่แบบที่น้ำมีความเจือจางและอุณหภูมิไม่สูง ไต่ระดับไปจนน้ำที่มีความเข้มข้นสูงและร้อน ทั้งนี้เพื่อหาลักษณะน้ำและความร้อนที่เหมาะที่สุดสำหรับตน ซึ่งสำหรับพวกเซียนจริๆแล้วจึงจะสามารถไปอาบออนเซนในแหล่งที่น้ำมีความเข้ามข้นสูงและร้อนจัดได้

ได้มาจากการสนทนา เขาว่าลงแช่ในน้ำร้อนจากธรรมชาตินี้ จะทำให้รูขุมขนขยายตัว ขับสิ่งที่ไม่พึงปราถนาออกจากผิวหนังและรับเอาแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์เข้าไป แล้วเมื่อขึ้นมาจากอ่างแล้วก็ยังต้องทาครีมเพื่อทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นอีกด้วย

การอาบออนเซนจึงเป็นความสุนทรีย์อีกอย่างหนึ่งที่ผสมผสานไปกับความเชื่อและความเป็นวิทยาศาสตร์ที่แฝงอยู่มาก ด้วยเหตุนี้ การคุยเรื่องออนเซนจึงมิใช่จะจบอยู่เพียงว่าได้อาบแล้วหรือเคยแล้ว
 
คิดว่ามีผู้คนมากมายที่เคยไปลงออนเซน แต่ไม่ทราบหรอกว่า ที่จริงแล้ว ณ สถานที่นั้นๆ (เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน) เอาน้ำห้วยมาต้มให้ร้อน แล้วใส่หัวเชื้อลงไปให้ได้กลิ่นเหมือนธรรมชาติ

ไอ้ที่แย่ คือ พวกชอบไม้ป่าเดียวกัน ที่ขอให้ได้ไปออนเซน จะเป็นที่ใหนก็ได้ ขอให้เป็นอ่างรวมแบบแยกเพศ เพียงลงทุนแก้ผ้าเท่านั้น ก็ได้เห็นของคนอื่นอีกเพียบ

ก่อนจะจบเรื่อง ในญี่ปุ่นยังคงมีห้องอาบน้ำสาธารณะครับ แยกหญิงชาย มีคนเฝ้าคอยดูมิให้ปะปนกัน (นั่งอยู่สูง มองเห็นทั้งสองฝั่ง) เป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง ก็คล้ายกับธุรกิจห้องสุขาในย่านการค้าที่แออัดของเรา
และอีกเรื่องหนึ่ง  เป็นเรื่องที่มักจะถามกัน  การเข้าออนเซนนั้น เขาให้ผ้าขนหนูผืนเล็กๆผืนหนึ่ง จะใช้แก้อายได้อย่างไร ผู้ชายทำอย่างไรและผู้หญิงทำอย่างไร
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 19:55

.....ต่อไปเป็นรูป ปลาปิ้ง ที่แหล่งท่องเที่ยวเล็กๆ คนมาดูน้ำตกสูงกัน แต่ก็มีตลาดนัดเล็กๆบริเวณนั้น
มีร้านหนึ่งขายเฉพาะปลาปิ้ง...ตัวประมาณคืบ เนื้อคงมีไม่เท่าไหร่ทำไมถึงขายได้ แล้วเขาเสียบไว้อย่างนี้ เพื่อรักษาความอุ่นไว้แต่ไม่ให้แห้ง ยังสงสัยว่าเขาซื้อไปทานกันอย่างไร...คุณตั้งเคยเห็นไหมคะ
มองดูรอบๆก็ไม่เห็นใครซื้อไปทาน และไม่มีองค์ประกอบอะไร ให้เดาเลย

ปลาปิ้งตามภาพนี้ ผมเห็นที่ใหนเป็นต้องซื้อมากิน

เ่ท่าที่สัมผัสมา ปลาเสียบไม้ปิ้งในลักษณะนี้ มีปลาอยู่สองชนิด คือ ปลาอาหยุ กับ ปลาอิวาหนะ ทั้งสองชนิดเป็นปลาน้ำจืด
ปลาอาหยุ พบมากในแม่น้ำในพื้นที่ราบ  ที่เห็นขายกันในเมืองส่วนมากจะเป็นปลาชนิดนี้ 
ส่วนปลาอิวาหนะ พบอยู่ในห้วยในพื้นที่ป่าเขา ในเมืองไม่ค่อยจะพบเห็นว่านำมาขายกัน ท่านใดที่มีโอกาสไปเที่ยวในพื้นที่ๆเรียกว่า Minato Alps ของญี่ปุุ่น ในช่วงฤดูกาลที่เหมาะ หากเห็นก็ลองซื้อกินเลย
 
ปลาทั้งสองชนิดนี้ เป็นสุดยอดของความอร่อยจริงๆ เป็นทั้งของแทะกินเล่นและกินกับข้าว    ที่เห็นเขาปิ้งขายแล้วไม่เห็นมีคนมาซื้อนั้น ผมคิดว่ายังไม่ถึงเวลา เมื่อถึงเวลาจริงๆ จะต้องเข้าคิวรอกันเลยทีเดียวนะครับ     
สำหรับปลาอาหยุนั้น ถึงขนาดมีภัตตาคารเฉพาะเลยทีเดียว อย่างน้อยก็แห่งหนึ่งในจังหวัด Tochiki ซึ่งเป็นแหล่งผลิตแป้งโซบะที่เอามาทำเป็นเส้น (หมี่) โซบะ 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 20:43

คนที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นมักจะถูกชักชวนให้ลองไป ออนเซ็นด้วยเหตุผลเพื่อสุขภาพ...แต่พอฟังคำอธิบายถึงขั้นตอนต่างๆแล้ว

สาวไทยมักจะส่ายหน้า...ด้วยความต่างทางวัฒนธรรม...อิอิ แต่คนที่ไปมากกว่า 1 ครั้งมักจะใจอ่อนและอยากรู้อยากเห็น

ว่า อะไรนักหนา....ได้ยินสาวจากเมืองไทยถามไถ่กันกัน  แล้วก็มักจะมีวิธีแก้ความเขินที่เข้าท่า...เช่น จะเลือกไปในเวลาที่คำนวนแล้ว

ว่าปลอดคนมากที่สุด โดยเฉพาะคนไทยด้วยกัน 

แต่สาวสมัยใหม่...เธอก็พูดด้วยความเชื่อมั่นว่า ...ก็ทำเฉยๆซะ  อะไรทำนองนี้คะ

วิธีการ "ทำธุรกิจท่องเที่ยว"โดยใช้ออนเซ็นเป็นจุดขาย ก็นับว่าเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย นักท่องเที่ยวก็มีสุขภาพดีขึ้น

โรงแรมก็มีรายได้ดีขึ้นและประเทศญี่ปุ่นก็นำเสนอเอกลักษณ์นี้ได้อย่างน่าเร้าใจ

เมื่อต้นปีนี้ได้ไปแช่น้ำแร่ร้อนที่จ.ว.กระบี่ ที่โรงแรมมีชื่อแห่งหนึ่ง ...คุณภาพใกล้เคียงกับที่ญี่ปุ่นทั้งกลิ่นไม่ฉุน และอุณหภูมิ

แต่วิธีแช่ต่างกันเพราะ ที่กระบี่เขาแจกผ้าถุงลายดอกเหมือนตอนเล่นน้ำสงกรานต์ แล้วติดยางยืดรัดอกสำหรับผู้หญิง

ส่วนผู้ชายก็เป็นกางเกงลายดอก ส่วนน้ำอยู่ในสระวงกลมขนาดกลางๆไม่ใหญ่เกินไปมีเกาะเล็กๆปลูกต้นไม้ให้บรรยากาศนิดหน่อย

หญิงชายลงสระเดียวกันแต่ยึดมุมใครมุมมัน

วิธีนำเสนอที่แตกต่างกัน ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง...แต่คนชาติไหนก็คงเหมาะกับวัฒนธรรมของชาตินั้น

ไม่ประดักประเดิด...แอบเห็นโรงแรมที่กระบี่เขาทำอ่างน้ำแร่ในห้องพักด้วย ลูกค้าที่มาพักคงมาเพื่อการแช่น้ำแร่โดยเฉพาะ

ไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น..ในอนาคตคงมีรูปแบบการนำเสนอที่ดีขึ้นเรื่อยๆ..ก็ได้คะ


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 20:48

ถ้าเช่นนั้นปลาที่เห็นนี้น่าจะเป็นปลาอิวาหนะ เพราะที่ที่ๆเห็นนี้ อยู่ในเขตภูเขาสูง

คุณตั้งชอบทาน ก็คงพอจะบอกได้ว่ารสชาติเหมือนปลาอะไรของเราคะ แล้วเขาทานอย่างไร

มีเครื่องจิ้มไหม ถ้ารู้อย่างนี้...วันนั้นจะลองซื้อมาทานสักตัว...พลาดไปแล้วเรา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 21:16

^
เหมือนปลาดุกอุยของไทยแต่ก่อน ตัวก็ขนาดพอๆกัน เพียงแต่สีเนื้อไม่เหลืองเหมือนปลาดุกอุย

กินเปล่าๆเลย ไม่ต้องมีอะไรจิ้ม เพราะเขาทาเกลือแล้วย่างครับ   นึกถึงรสชาติเวลากินปลาดุกอุยย่างจิ้มน้ำปลาบีบมะนาวใส่หอมซอยและพริกขี้หนูสวยซอยละเอียดได้เลยครับ

น่าเสียดายปลาดุกอุยพื้นบ้านของเรานะครับ หายไปเลย มีแต่ปลาดุกเลี้ยงพันธุ์อะไรก็ไม่รู้ที่บอกว่าดุกอุย แถมบางกรณียังเอาขมิ้นทาใ้ห้มีสีเหลืองอีกด้วย
กลิ่นปลาดุกอุยพื้นบ้านของเราแต่ก่อนที่เอามาย่างนั้น มันหอมน่าดูทีเดียวจากน้ำมันในเนื้อที่ถูกไฟ มีเนื้อละเอียด ฟู ต่างกับปลาดุกด้านที่เนื้อมีสีขาวและมักจะมีกลิ่นโคลน     เมื่อคิดแต่จะเอาน้ำหนัก เอารายได้และความคุ้มทุนจากการเลี้ยง ก็เลยเอาพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาที่เลี้ยงง่ายและโตเร็ว  อาจจะลืมนึกไปว่าจะต้องพยายามรักษาและเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์ท้องถิ่นเดิมควบคู่กันไปด้วย  ยังไๆผมก็คิดว่าคนที่ทำอาหารกินเองก็จะเลือกซื้อปลาดุกอุยพื้นบ้านหากมี (แม้จะมีราคาที่สูงกว่า) มากกว่าปลาดุกเลี้ยงพันธุ์อื่นๆ   ก็คงจะมีเฉพาะแม่ค้าที่ทำอาหารขายเท่านั้นที่จะเลือกซื้อปลาดุกตัวโตๆพันธุ์อื่นๆ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 21:44

ที่เล่าแล้วว่า ปลาอาหยุนี้อยู่ในแม่น้ำในพื้นที่ราบ  โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นหัวแก่ง น้ำตื้นและไหลเร็ว (น้ำลึกประมาณเข่าถึงแก้มก้น)
ในญี่ปุ่นยังคงมีการรักษาประเพณีการจับปลาอาหยุด้วยนกกาน้ำ (นก Cormorant) ซึ่งชาวบ้านไม่ทำกันแล้ว แต่ราชสำนักของญี่ปุ่นยังพยายามรักษากระบวนวิธีการนี้อยู่ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังๆได้เรียนรู้

เคยมีโอกาสได้ไปชม จัดโดยสำนักพระราชวัง ตั้งแต่กระบวนการเลี้ยงนก การคัดเลือกนก การฝึก การตัดขนนก วิธีการผูกเชือกที่คอนกเพื่อมิให้นกสามารถกลืนปลาลงไปในกระเพาะได้และเพื่อการกระตุ้นให้นกขยอกปลาออกจากปาก   รวมทั้งการเอาปลาที่นกจับมาได้นั้นมาย่างกินกัน
เป็นการจับปลาตอนหัวค่ำ ใช้เรือหลายลำ (4-5 ลำ) ล่องลงมาตามกระแสน้ำในลักษณะแผ่เป็นหน้ากระดานแต่เรียงลำดับลดหรั่นกันไป  มีเรืออยู่สองลำจุดคบเพลิงด้วยเยื่อไม้ไผ่ แขวนอยู่ในตะกร้าห้อยอยู่หัวเรือ  นกกาน้ำจะกระโดดลงน้ำลงไปงับปลามา แล้วก็จะกระโดดกลับขึ้นมาบนเรือเพื่อจะพยายามกลืนลงคง แต่ด้วยเชือกที่ทำเป็นบ่วงรอบคอ ทำให้มันต้องขยอกออกมา มันก็จะรีบกระโจนลงไปจับใหม่ เร็วมากเลยครับ แพร็บเดียวได้ปลามามากมายพอสมควร ปลาที่ได้มานั้น ไม่สวยมากหรอกครับ มีรอยแผลจากปากนกและอื่นๆ

ทราบว่า ในปัจจุบันนี้มีการเลี้ยงปลาอาหยุในเชิงพาณิชย์ แต่ก็อีกแหละครับ คนญี่ปุ่นจะเลือกฤดูกินปลาที่มันมันที่สุด ปลาชนิดนี้จึงไม่มีขายในท้องตลาดตลอดปี ซึ่งที่จริงแล้ว ก็ไม่เคยเห็นมีขายในท้องตลาดเลยด้วยซ้ำไป ยกเว้นที่เสียบไม้ปักย่างอยู่รอบเตาถ่านตามภาพที่คุณพวงแก้วนำมาแสดง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง