เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 33 34 [35] 36 37
  พิมพ์  
อ่าน: 172132 เก็บตกมาจากการเดินทาง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 510  เมื่อ 21 ม.ค. 13, 17:56

ต่อเรื่อง กาด ครับ

กาดในภาคเหนือแต่ก่อนนั้น จะมีสองเวลา (ปัจจุบันก็ยังคงมีสองเวลาอยู่เหมือนเดิม) คือกาดเช้า ซึ่งพวกชาวบ้านและพ่อค้าแม่ค้าจะออกเดินทางจากบ้านเพื่อเอาของมาขายหรือซื้อหาอาหารตั้งแต่ประมาณตีสามตีสี่  ตลาดจะวายในเวลาประมาณแปดโมงเช้า  นานกว่านี้ไม่มีเพราะ ขวายแล้ว (สายแล้ว)  จากนั้นก็จะนำไปหุงหาอาหารกัน (ไม่เกี่ยวกับพวกที่เดินทางมาไกลนะครับ) อาหารมื้อนี้เรียกว่า ข้าวงาย (ข้าวเช้า)   กลางวันไม่มีกาด จะมีอีกทีก็ประมาณสามสี่โมงเย็นขึ้นไป เรียกว่า กาดแลง (ตลาดเย็น)   กาดแลงจะมีความต่างไปเล็กน้อย เพราะจะมีอาหารสำเร็จรูปมาขายมากกว่าตลาดเช้า   

ผมชอบเดินทั้งสองตลาด ไม่ได้ต้องการจะซื้ออะไรเป็นพิเศษหรอกครับ  ขับรถผ่านก็จะขอแวะสักหน่อย เิดินดูอย่างรวดเร็วว่ามีอะไรแปลกๆบ้าง ของอร่อยๆ (อร่อยจริงๆ) ด้วยฝีมือชาวบ้านอยู่ในกาดพวกนี้เองแหละครับ  แต่ที่ชอบเป็นพิเศษ คือ กาดเช้า ผมจะไปเดินตั้งแต่ประมาณตีห้าครึ่ง จะได้ไม่ต้องรีบร้อน เพราะกว่าจะเริ่มกิจกรรมใดๆของกลุ่มคนที่มาด้วยกันก็มักจะต้องเป็นประมาณหลังแปดโมงเช้าไปแล้ว     ผมชอบเพราะมีเวลาสามารถจะพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหลายในแทบจะทุกเรื่อง ได้ข้อมูลชั้นดีของวิถีไทยเฉพาะถิ่นตรงๆ  ได้เห็นผักหญ้าชนิดต่างๆ ได้รู้ว่าเขาเอาไปทำกินอย่างไร ฯลฯ ได้รู้สภาพของชีวิต วิถีการดำรงชีพประจำวัน แทบจะถ่องแท้และไม่มีอะไรมาเคลือบแคลง

ตลาดท้องถิ่นนี้แหละครับ คือแหล่งข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญมากในทุกเรื่อง      ไม่ว่าจะเป็นตลาดของประเทศใดๆก็ตาม ผมไม่ละเว้นเลย ได้ทั้งปรัชญาในการครองชีวิตและสภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัฐนั้นๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 511  เมื่อ 26 ม.ค. 13, 20:17

ฟื้นจากไข้แล้วครับ งอมไปเลย ตรวจสอบตามหมู่คนรู้จักกัน ได้พบว่ามีเป็นกันมาก ลักษณะอาการคล้ายๆกัน อยู่ดีๆก็ครั่นเนื้อครั่นตัว คืนแรกก็ไข้ค่อนข้างสูงเลย พอหมดฤทธิ์ยาก็เริ่มจับใหม่เลย ใกล้ๆจะ 24 ชม.แล้วนั่นแหละ ระยะการจับไข้จึงจะเริ่มห่างขึ้นและความร้อนจึงจะเริ่มจะลดลง

ทำให้นึกว่า เมื่อเดินทางไปต่างถิ่นนั้น ผู้ใดอย่าได้เจ็บป่วยอะไรใดๆเลยนะครับ  คนส่วนมากจะรู้ตัวล่วงหน้าประมาณสองสามเดือนว่าอาจจะต้องเดินทางไกลไปต่างถิ่น และรู้วันเวลาที่แน่นอนไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนที่จะต้องเดินทาง    ก็พยายามทำร่างกายให้สมบูรณ์ นอนให้พอเพียง กินให้พอดี ทำใจให้สบาย จัดการเรื่องภาระหรือวันนัดที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาของการเดินทางให้เรียบร้อย  เริ่มหยับจับคัดเสื้อผ้าของใช้ที่คิดว่าจะเอาไปได้แล้ว ฟันเป็นเรื่องใหญ่ไปทำการตรวจสุขภาพฟันเสียล่วงหน้า เตรียมยาประจำตัวให้พร้อม และเกินพอไปสัก 2-3 วัน    หากเป็นยาที่ซื้อเอง ก็ควรจะต้องเป็นยาที่อยู่ในซองบรรจุแยกเป็นเม็ดๆ มีชื่อตัวยาและรายละเิีอียด ฯลฯ พิมพ์อยู่บนซองบรรจุนั้นๆ (อย่าลืมดูวันหมดอายุด้วยนะครับ)     หากเป็นของโรงพยายาล ก็เอาทั้งซองที่เขาจัดมานั้นไปเลย      เรื่องยานี้อย่าทำเป็นเล่นไปนะครับ ครั้งหนึ่งในบางประเทศถึงขนาดถือว่าเป็นฐานของความผิดประการหนึ่งในการเข้าเมืองเลย   

ลองนึกถึงคำต่างๆที่จะต้องใช้ในการเล่าอธิบายความเจ็บป่วยของตัวเองให้คุณหมอฟังดูนะครับ ว่าจะพอไหวใหม     สิ่งที่เกิดจริงๆก็คือ ทั้งคนไข้และหมอช่วยต้องกันเดาเพื่อจะได้หาสมุหฐานของโรคได้ถูกต้อง  ข็อมูลถูกโฉลกกัน ยาก็ปิ๊ง เดี๋ยวเดียวหาย      มันก็พอจะมีวิธีการแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้   มนุษย์มีจุดอ่อนทางโรคาพยาธิประจำตนทุกคน ซึ่งเป็นอาการที่เรารู้กับตัวเราเองว่าเป็นอย่างไร เกิดบ่อยๆเพียงใด  ไปหาหมอบ่อยเพียงใด   บางเรื่องก็เป็นอาการประจำตัวเรา มิใช่ที่คุณหมอจะเรียกว่าเป็นโรคประจำตัว  เอาเป็นว่าไปหาหมอก็ขอทราบชื่อโรคเป็นภาษาอังกฤษด้วย  อธิบายคุณหมอหน่อยก็แล้วกันว่าอยากจะทราบไปทำไม ว่าเผื่อเิกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วนในระหว่างการเดินทางจะได้บอกเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เขาถูก 

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 512  เมื่อ 26 ม.ค. 13, 20:40

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เช้าๆหนาว กลางวันร้อนแดดจัด   ทำให้ป่วยไข้ได้ง่ายค่ะ 
คิดว่าคุณตั้งคงหายดีแล้ว   ขอต้อนรับกลับมาเล่าเรื่องการเดินทางต่อไป


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 513  เมื่อ 26 ม.ค. 13, 21:30

ในฐานะผู้ติดตามอ่าน ได้ความรู้มากมาย ขอให้หายป่วยโดยเร็วนะคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 514  เมื่อ 27 ม.ค. 13, 19:04

ขอบพระคุณมากครับ และโดยเฉพาะสำหรับดอกไม้สีสวยฉ่ำสดใส  ดูแล้วเจริญตาเจริญใจยิ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 515  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 18:46

มาติดตามต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 516  เมื่อ 01 ก.พ. 13, 20:13

กลับไปเรื่องช้อบปิ้งต่ออีกหน่อยครับ

ผมชอบเดินดูสินค้าตามร้านในเมืองเล็กต่างๆ  ไม่เข้าข่ายการช้อบปิ้งนะครับ จะเป็นลักษณะของการเดินชมสินค้ามากกว่า  ทั้งที่เป็นร้านเล็กๆคูหาเดียวไปจนกระทั่งที่เราเรียกว่าห้างสรรพสินค้าดังของจังหวัด  ซึ่งก็มักจะลงเอยด้วยการซื้อของบางอย่างเสมอ

เหตุผลสำคัญ คือ
เรื่องแรก  เครื่องใช้ดีๆรุ่นเก่าที่แข็งแรงทนทาน ฝีมือปราณีต ยังคงพอมีตกค้างขายอยู่ตามร้านเหล่านี้ในต่างจังหวัด ไม่ต้องไปให้ไกลมากหรอกครับ ออกไปแถวห้าแยกปากเกร็ด ก็ยังพอมีอยู่บ้างแล้ว จังหวัดใกล้ๆกรุงเทพฯมีทั้งนั้น  ต่างจังหวัดไกลๆตามอำเภอต่างๆไม่ต้องพูดถึง มีมากมายเลยทีเดียว   
เรื่องที่สอง คนต่างจังหวัดก็อยากมีความทันสมัยเหมือนคนกรุงเทพฯเหมือนกัน ดังนั้น บรรดาเซลแมนหรือเจ้าของร้านหรือห้างสรรพสินค้าก็จะพยายามเลือกสรรสินค้า สั่งมาเข้าร้านให้มีค่อนข้างจะครบเหมือนที่คนกรุงเขาใช้กัน  เราก็สบายซิครับ อยู่กรุงเทพฯต้องไปควานหาว่าซื้อได้ที่ใหน ร้านในต่างจังหวัดเขาเลือกมาแล้ว รวบรวมให้เราแล้ว  แถมไอ้ที่ตกรุ่น ขายไม่ออกเพราะคนต่างจังหวัดเขาไม่สนใจจะใช้มัน จะด้วยเพราะราคาหรือไม่ถูกใจ ไม่ถูกกับวิถีชีวิตของตน ใดๆก็ตาม หลายอย่างเป็นของดีๆทั้งนั้นเลย   ความสุขก็อยู่ตรงนี้แหละครับ 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 517  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 19:27

สถานที่ช้อบปิ้งที่เรารู้จักหรือเขาพาเราไปนั้น อาจจะไม่มีของที่เราประสงค์จะหาซื้อได้  ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องควานหาเองด้วยการถามเจ้าหน้าที่โรงแรมหรือคนอื่นๆ แล้วก็ถามวิธีการไปด้วย ส่วนมากเราก็จะประหยัดไม่อยากเสียค่าแท็กซี่ จะเดินก็ไกล ก็คงต้องใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ  ตรงนี้เอง การเดินทางของเราก็จะเริ่มสนุก มีชีวิตชีวามากขึ้น ได้ผจญความตื่นเต้นเล็กๆน้อยๆ และกำลังเริ่มก้าวไปไต่บนเส้นระหว่าง tourist กับ traveler

ระบบรถขนส่งสาธารณะของแต่ละประเทศมีความต่างกันเป็นธรรมดา รถเมล์ในสหรัฐฯจอดรับคนที่สี่แยกไฟแดงได้ แต่ในในแคนาดาแล้ว ปรกติจะไม่ทำ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ในญี่ปุ่น ไม่มีคำว่าจอดนอกป้าย จะต้องจอดในเขตป้ายแล้วจึงเปิดประตู เหล่านี้เป็นต้น เรื่องป้ายจอดป้ายขึ้นนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญมากนัก ระบบคล้ายๆกัน สังเกตเพียงเล็กน้อยก็พอจะรู้ เช่น ม้านั่งบ้าง เพิงหลังคาบ้าง หรือกล่องกระจกใสบ้าง  ที่ไม่ค่อยจะรู้จริงๆก็คือ ระบบตั๋ว และระบบการต่อรถ (รถต่อเรือ รถรางต่อรถ ฯลฯ) จะได้กล่าวถึงต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 518  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 21:20

คนไทยไปต่างประเทศทีไร  สิ่งที่ขาดไม่ได้คือของฝากเล็กๆน้อยๆเอากลับมาฝากคนในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน ญาติฯลฯ  ไม่มีอะไรติดมือมาเสียเลยก็เหมือนคนใจดำ   ทั้งๆบางทีก็รู้ว่าฝากไปเขาก็อาจจะไม่ใช้ แต่ก็ต้องฝากตามมารยา     ยิ่งเป็นคนกว้างขวางมากเท่าใด  ก็ต้องฝากคนรอบตัวมากเท่านั้น ทำให้ของฝากกินเนื้อที่ในกระเป๋าไปแยะ   หอบหิ้วกันตัวโก่งทีเดียวตอนขากลับ  เจอน้ำหนักเกินเข้า  แทบไม่คุ้มเงินค่าของ

บางทีถ้าไม่ใช่ของเฉพาะตัวมากๆ ที่หาได้เฉพาะในประเทศนั้น      ดิฉันกลับมาซื้อของในกรุงเทพฝากเสียเลยรู้แล้วรู้รอด   จะเอาน้ำหอม เครื่องสำอาง ผ้าพันคอ  ปากกา ห่วงกุญแจ กระเป๋าสตางค์ ฯลฯ ของเรามีหมดในศูนย์การค้าของเรานี่แหละ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 519  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 18:51

ระบบการชำระค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนนั้น มีหนึ่งเดียว คือ จ่ายก่อนขึ้น และตามปรกติ ค่าโดยสารจะขึ้นอยู่กับจำนวนสถานีที่จะเดินทาง    แต่ของระบบขนส่งสาธารณะทั่วๆไป เกือบทั้งหมดจะเป็นขึ้นแล้วค่อยจ่าย ซึ่งก็จะมีทั้งแบบราคาเดียวตลอดสาย หรือราคาตามระยะทาง 

ดูไม่ค่อยจะเป็นเรื่องยุ่งอะไรเลย  มันก็พอมีให้ได้ต้องเผชิญปัญหาเหมือนกัน   

สำหรับระบบขนส่งมวลชนนั้น หากลงก่อนถึงหรือลงเลยสถานีที่ได้จ่ายค่าโดยสารไว้ จะออกตามระบบปรกติที่เขาออกกันไม่ได้ เครื่องกั้นจะไม่ยอม เราต้องไปปรับค่าโดยสารให้ถูกต้องตามระยะทางที่ห้องบริการเสียก่อน จึงจะออกจากสถานีได้ ลงก่อนอาจได้หรือไม่ได้เงินที่จ่ายเกิน แต่ลงเลยต้องจ่ายเพิ่มแน่ๆ    ผมเข้าใจว่าในระบบคงจะต้องมีการเสียค่าปรับด้วย แต่ก็ไม่เคยเห็นโดนกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าส่วนมากจะเลยไปเพียงสถานี สองสถานีเท่านั้น แสดงถึงความไม่ได้ตั้งใจจะโกง หากเลยไปแทบจะตลอดสายคงจะโดนแน่ๆเพราะเป็นการแสดงความจงใจที่จะไม่ซื่อ     
ดูก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับ แม้แต่บางทีเราไม่เจอคนเลย เจอแต่ตู้ที่ใช้สำหรับหารปรับค่าโดยสารให้ถูกต้องตามระยะทางก็ตาม 

สำหรับระบบขนส่งสาธารธะทั่วๆไปนั้น ดังกล่าวแล้วว่า ส่วนมากจะเป็นขึ้นก่อนจ่าย  แต่มันมีหลากหลายรูปแบบ
ขอเรียงเรื่องให้ดีก่อนจะเขียนต่อครับ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 520  เมื่อ 05 ก.พ. 13, 20:32

แบบแรกขึ้นทางประตูหน้ารถ  ลงได้ทั้งทางประตูหน้าหรือประตูหลัง

แบบนี้มีความต่างกันในรายละเอียดสองสามเรื่อง คือ
 
หากเราไม่เห็นกล่องแก้วทรงสี่เหลี่ยมใสๆวางอยู่บนแท่นข้างคนขับ ก็มีสองทางที่จะเสียค่าโดยสาร คือ ขึ้นไปจ่ายที่คนขับรถ หรือไม่ก็ต้องไปหาที่ๆเขาขายตั๋ว ซึ่งมักจะเป็นบูทหรือร้านคูหาเล็กๆที่ขายบุหรี่และหนังสือพิมพ์
 
หากแลเห็นกล่องที่ว่านี้  อันนี้ทราบไว้เลยว่า จะต้องใช้เหรียญหยอดลงในกล่องแก้วนั้น ในราคาที่พอดีกับค่าตั๋วเท่านั้น ไม่มีการทอนเงินเด็ดขาด แต่หากหยอดขาด ตอนขาลง คนขับเขาจะพอจำได้ ก็จะไม่เปิดประตูหลังให้ลง แต่จะให้เดินมาหยอดเพิ่มจำนวนที่ขาดไป   

บางทีเราอาจจะเห็นคนขับรถฉีกตั๋วให้ผู้โดยสารบางคนเมื่อได้ชำระค่าโดยสารแล้ว  มันคือตั๋วสำหรับต่อรถคันอื่นหรือต่อเรือ ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะการเดินทางที่ไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้น จะเก็บไว้เอามาใช้ตอนขากลับบ้านไม่ได้

ระบบการเก็บตั๋วแบบรถประจำทางของไทยเราก็มี เคยเห็นแต่เฉพาะประเทศในเอเซีย ในสิงค์โปร์ใช้วิธีเคาะราวจับ เป็นร่องรอยทำให้รู้สึกสากมือเมื่อจับราว
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 521  เมื่อ 05 ก.พ. 13, 21:18

เรื่องขึ้นรถเมล์นี้แม้คนในประเทศนั้นก็ต้องคอยสังเกตเพราะต่างเมืองต่างระบบ บางแห่งต้องมีเหรียญเงินพอดีใส่ตู้กระจก (จะเขียนว่า Exact change only) บางแห่งคนขับจะแตกธนบัตร์เป็นเหรียญเงินให้ โดยเขามีที่จ่ายเหรียญ (coin dispenser) ติดอยู่ตรงข้างตู้กระจก แล้วผู้โดยสารหยอดเงินเอง (ผมว่าอันนี้เขาทำกันคนชับไม่ซื่อ) มีหลายแห่งที่ต่อไปขึ้นอีกสายได้ อาจแบบขึ้นรถใต้ดินแล้วไปต่อรถเมล์ บางแห่งต้องแถมเงินหน่อยแต่ยังถูกกว่าซื้อสองทอด บางแห่งต่อได้ฟรี เพียงแต่ยื่นมือขอ คนขับก็ออกใบต่อเส้นทาง (transfer) ให้ ใบพวกนี้จะระบุช่วงเวลาใช้ ไม่ใช่ว่าระหว่างต่อไปช้อปปิ้งได้

ผมเป็นบ้านนอกไปเที่ยวญี่ปุ่น ขึ้นรถด่วนจากโตเกียวไปเกียวโต เอาตั๋วเสียบไว้หลังที่นั่งข้างหน้าแบบทำในอเมริกา (เวลานายตรวจมาจะได้ไม่ต้องค้น ถ้าหลับเขาก็ไม่ต้องกวน) ลืมเก็บตั๋วตอนลงที่เกียวโต มารู้ตัวตอนลงไปยืนชานชาลาแล้ว จะกลับไปบนรถก็คิดว่าคงติดรถไปแน่ๆเพราะตอนผ่านเมืองโอซาก้า (พลเมืองขนาดชิคาโก) เขาหยุดแค่ ๑ นาทีพอดี เลยเดินออกจากชานชาลาไม่ได้ คนเก็บตั๋วส่งไปที่ตู้มีเขียนว่า Fare adjustment  (ทั้งสถานีมีภาษาอังกฤษป้ายนี้ป้ายเดียว คงมีบ้านนอกแบบผมหลายคน)  บังเอิญมีตั๋วขากลับก็ยื่นให้เขาดู เขาเขียนอะไรลงในเศษกระดาษให้ผมเอาไปยื่นให้คนเก็บตั๋ว ถึงออกได้ คิดว่าคงเขียนว่า อนุญาตให้คนเซิ่อนี้ผ่านได้
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 522  เมื่อ 05 ก.พ. 13, 22:17

เคยไปขึ้นรถเมล์ที่เมืองโมดินา อิตาลีครับ  ที่นั่นจะต้องเตรียมเงินให้พอดีกับค่าตั๋วไปหยอดซื้อจากตู้ขายบนรถเลย ถ้าเงินไม่พอดีก็จ่ายเกินได้ แต่เครื่องไม่ทอนให้ ซื้อแล้วตั๋วรถเมล์จะเป็นแบบระบุเวลาไว้ เช่นหนึ่งชั่วโมงครึ่งหลังซื้อตั๋ว ระหว่างนั้นเราจะนั่งรถเมล์กี่ต่อ กี่สาย ขึ้นลงกี่รอบก็ไม่มีใครว่า ขอแค่อย่าให้เวลาหมดก็แล้วกัน ผมซื้อตั๋วนั่งจากสถานีรถไฟ แวะลงซื้ออาหารจีน ขึ้นรถเมล์ต่อกลับโรงแรมซื้อตั๋วเที่ยวเดียวไม่มีปัญหา ผมชมเมืองโดยวิธีซื้อตั๋ว ขอ bus map ให้พอรู้ว่าสายไหนไปไหนต่อที่ไหน แล้วนั่งชมเมืองไปเรื่อยๆ เปลี่ยนสายไปคันโน้นคันนี้บ้างสนุกดีครับ


ที่ยุโรปหลายๆ ประเทศหลายๆ เมืองจะใช้ระบบแบบนี้กันเพราะรถราเค้าไม่ติด รถเมล์มาตรงเวลา ถ้าเราจะนั่งไกลไปหลายต่อก็จ่ายค่าตั๋วแพงหน่อยก็จะได้เวลาเพิ่ม


ตอนขึ้นใหม่ๆ ก็สงสัยว่าแล้วแบบนี้จะซื้อตั๋วทำไม เพราะคนขับก็ไม่รับรู้ว่าเรามีตั๋วหรือไม่มี ซักพักก็มีนายตรวจขึ้นมาตรวจ  ใครไม่มีตั๋วก็จะโดนปรับกันตอนนั้นเลย คันที่ผมนั่งมีพวกที่โดนปรับหลายคนเหมือนกัน แต่นั่งวันอื่นๆ ไม่เคยเจอนายตรวจอีกเลย  ได้ยินว่าในบางประเทศเช่นแถวเยอรมันไม่มีนายตรวจเลยด้วยซ้ำ เพราะคนเค้าซื่อสัตย์กว่ามาก


แต่ในประเทศอังกฤษ ถ้าไม่มีตั๋วเดือนโดยทั่วไปก็จะซื้อตั๋วที่คนขับรถครับ บอกว่าจะไปลงไหนคนขับก็จะบอกเรทมา เราจ่ายไปเค้าก็ให้ตั๋วทอนตังค์ให้ คนขับเป็นทั้งคนขับทั้งกระเป๋าไปด้วย เวลาขึ้นรถต้องขึ้นทางหน้ารถ ลงกลางรถเป็นธรรมเนียม เวลาคนขึ้นเยอะๆ ก็ต้องรอนานหน่อยกว่าคนขับจะขายตั๋วเสร็จออกรถได้ แต่ในเมืองใหญ่เช่นลอนดอนราคาตั๋วอาจตายตัวเลยและผู้คนจะนิยมซื้อเป็นบัตรโดยสารแบบเติมเงินที่ใช้ได้ทั้งรถเมล์รถไฟใต้ดิน ขึ้นรถก็เอาบัตรไปทาบที่เครื่องอ่านมันก็หักค่าตั๋วจากบัตรเราเอง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 523  เมื่อ 06 ก.พ. 13, 18:18

ระบบ transfer ต่อรถ ต่อเรือ ที่คุณหมอศานติได้ขยายความมานั้น (ใช้ใบ transfer)   สายหนึ่งของพัฒนาการได้ไปเป็นระบบจะต่อรถเรืออย่างไรก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลาที่กำหนดดังที่คุณประกอบกล่าวถึง  แล้วก็พัฒนาการอีกสายหนึ่ง คือ จ่ายครั้งเดียว เดินทางได้ทั้งวัน แบบนี้ก็มีครับ

แบบจ่ายครั้งเดียวใช้ได้ทั้งวันนี้ เขาทำได้ด้วยเหตุหลายประการคือ รัฐมีพื้นฐานทางนโยบายแห่งรัฐไปในทางรัฐสวัสดิการและสังคมนิยม (อ่อนๆ) ประชาชนมีความซื่อสัตย์เกือบเต็มร้อย ประชาชนมีความเข้าใจและเคร่งครััดปฏิบัติในเรื่องสิทธิและหน้าที่เป็นอย่างดี   แม้ภาพในองค์รวมจะซื่อสัตย์อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคนชาติอื่นมาอยู่ร่วมอาศัยในเมือง ก็จะมีคนที่ไม่ซื่อรวมอยู่ด้วย จึงต้องมีนายตรวจเืหมือนกัน  นายตรวจพวกนี้แต่งตัวธรรมดา ไม่มีเครื่องแบบใดๆ ขึ้นรถมาเหมือนผู้โดยสารธรรมดา พอรถออกก็จะเอาตรามาเสียบที่หน้าอก ขอดูตั๋ว สุภาพมาก แล้วก็ไม่ทำให้ผู้ที่ถูกจับอับอายด้วย พอรถจอดป้ายก็ขอให้คนที่ถูกจับลงป้ายไปพร้อมๆกับ  ครับลงไปรับใบสั่งปรับ ให้ส่งเงินค่าปรับด้วยการโอนเงินหรือสั่งจ่ายผ่านทางธนาคาร   ผมอยู่มาสี่ปีเคยเห็นคนถูกจับครั้งเดียวเท่านั้น 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 524  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 17:45

มีระบบเสียค่าโดยสารอีกแบบหนึ่ง เป็นระบบขึ้นทางประตูด้านหลัง ลงทางประตูด้านหน้า  เป็นระบบคิดค่าโดยสารตามระยะทาง (คิดเป็นโซน)   ระบบแบบนี้นักท่องเที่ยวมักจะหลุดกันและต้องชำระค่าโดยสารเต็มระยะเส้นทางการเดินรถสายนั้น   

ที่ข้างบันใดทางขึ้นเขาจะมีกล่องตั๋วที่จะมีกระดาษตั๋วยื่นมาให้เราฉีกเก็บไว้ พอจะลงก็เดินไปด้านหน้า ยื่นตั๋วให้คนขับพร้อมเงินค่าโดยสาร  ระบบตั๋วประเภทนี้ ที่ด้านหน้าของรถจะมีแป้นแสดงตัวเลขเป็นช่องๆบอกค่าโดยสาร   ผมเองก็ไม่เข้าใจดีพอในการอ่านค่าโดยสารตามแป้นแสดงราคานี้   รู้สึกว่าแต่ละช่องของแป้นนี้หมายถึงป้ายหรือโซนที่เราขึ้นรถ เมื่อเปลียนโซนหรือระยะทางแต่ละช่องก็จะปรับตัวเลขไปเรื่อยๆ   หมายความว่า เมื่อเราขึ้นรถ (และฉีกตั๋วติดมือไปด้วยแล้ว) เรายังจะต้องดูและจำตำแหน่งของช่องในป้ายแสดงราคานั้นด้วย เมื่อเราจะลงก็เพียงดูในราคาค่าโดยสารในช่องที่เราขึ้นรถนั้น   จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า เคยเจอระบบประเภทที่ไม่ให้จ่ายกับคนขับรถ แต่ให้ใช้วิธีหยอดเหรียญในกล่องเก็บค่าโดยสาร ก็ประเภทไม่มีการทอนเหมือนกัน   ค่อนข้างจะยุ่งยากดีครับ  ผมโดนประเภทต้องจ่ายเต็มตลอดเส้นทางมาสองสามหน ลืมสังเกตและไม่ได้ฉีกตั่วตอนขาขึ้นรถ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 33 34 [35] 36 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง