เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 171900 เก็บตกมาจากการเดินทาง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 480  เมื่อ 11 ม.ค. 13, 09:36

กำลังสงสัยเหมือนกันค่ะ   ว่า อเมริกาเลิกผลิตสินค้าเองแล้วหรือ   เวลาเดินดูในห้างสรรพสินค้า  เดินๆดูเสื้อผ้าและของใช้ประจำวันทั้งหลาย ได้รับคำบอกเล่าว่าผลิตในจีนเสียเกือบ 100%    ยิ่งพวกสินค้ากระจุกกระจิกเช่นของที่ระลึกหรือปากกาดินสอ ที่จะซื้อกลับมาเป็นของฝากคนทางบ้าน  รับรองว่าหาซื้อได้ที่บ้านเราทั้งหมด  ไม่ต้องใส่กระเป๋าเดินทางมาให้หนัก    แม้แต่สินค้ายี่ห้อวอลท์ ดิสนีย์ ประทับรูปตัวการ์ตูนหรา  กลับมาบ้านเรา  ก็เจอขายอยู่แถวตลาดนัดกลางแจ้งเสียด้วยซ้ำ   
ถ้าบอกว่าเป็นของเลียนแบบ ก็รู้สึกว่าจะไม่ต่างจากของจริงอยู่ดี    เพราะพวกนี้เป็นของฉาบฉวยไม่คงทน   ซื้อปลอมหรือจริงก็ใช้งานได้พอๆกัน   ต่างกันที่ราคา ว่าของเลียนแบบราคาถูกกว่ามากค่ะ  เป็นธรรมดา

สมัยดิฉันไปเรียน สินค้าเสื้อผ้า made in Korea ตีตลาดอยู่ในตอนนั้น   มาถึงเดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นจีน   และมีหลายรายการที่จ้างผลิตในไทยนี่เอง   แม้ว่าผลิตส่งให้บริษัททางโน้นโดยตรง ก็ไม่วายหลุดรอดมาขายหลบๆแถวตลาดเล็กๆอย่างคุณตั้งว่า   มีคำอธิบายว่าเป็นของมีตำหนินิดหน่อยบ้าง ผลิตเกินโควต้ามาบ้าง    ถ้าใครตาดีหรือดวงดีก็ได้สินค้ามียี่ห้อไปใส่ในราคาถูก   ยิ่งถ้ามีพรรคพวกเป็นเจ้าของโรงงานผลิตละก็ไม่ต้องห่วงเลยเชียว

เพื่อนคนไทยที่อยู่อเมริกาชอบสินค้าอเมริกันว่าคงทนกว่าของไทย     อาจจะเป็นได้สำหรับรถยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า (อย่างหลังนี้ก็ไม่ได้ผลิตในอเมริกาอยู่ดี) เพราะการควบคุมมาตรฐานของเขาเข้มงวดกว่าของเรา      แต่ไฟฟ้าของเขา 110  โวลต์ ของเรา 220  ถ้าเอามาต้องใส่ adapter หรือไปปรับให้เป็น 220  ก็เพิ่มความยุ่งยากขึ้นนิดหน่อยอีกนั่นแหละ   ดิฉันเป็นคนไม่ชอบซื้อสินค้าไฟฟ้า เพราะที่บ้านใช้ไม่กี่อย่างเท่าที่จำเป็น   ล้วนแต่หาได้ในประเทศไทยก็เลยไม่เคยซื้อของพวกนี้   

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 481  เมื่อ 11 ม.ค. 13, 09:37

บางทีก็รู้สึกว่าคนอเมริกันเขาเลิกค้าขายรายย่อยกันแล้ว     ในเมืองเล็กที่ไปอยู่  คนทั้งเมืองทำงานกินเงินเดือนไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง   ร้านเล็กๆส่วนตัวแทบไม่มีเหลือให้เห็น    เวลาขับรถไปจอดในย่านธุรกิจ     มองเห็นร้านเล็กๆปิดร้างกันระนาว   เหลือแต่แฟรนไชส์สาขาเท่านั้นที่ยังเปิดอยู่ได้   
ผิดกับเมื่อสมัยเป็นนักเรียน   ร้านรวงริมถนนใกล้มหาวิทยาลัยล้วนแต่เป็นผู้ค้าขายรายย่อยกันทั้งนั้น   กลับไปอีกครั้ง ร้านเล็กเหล่านี้หายไปหมด    ย่านธุรกิจกลางเมืองปิดร้างเป็นแถวๆ   นายกเทศมนตรีพยายามระดมกำลังเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น   ตอนนี้เงินดอลล่าร์อ่อน เงินบาทแข็ง ก็พิสูจน์ได้ถึงเศรษฐกิจของยักษ์ใหญ่ว่ายังเดินอยู่บนปากเหว     โอบาม่าพยายามเท่าไหร่ก็ยังไม่กระเตื้องอย่างที่หวัง 
พอกลับมาบ้านเรา เห็นรถเข็นขายอาหาร  แผงเสื้อผ้าและของใช้  คับคั่งอยู่ริมถนน  ล้วนแต่เป็นผู้ประกอบการค้ารายเล็กๆ ยังเปิดกันอยู่เต็มไปหมดทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด    ก็เลยใจชื้นขึ้นมาหน่อยค่ะ
ถ้าเดินทางท่องเที่ยว  ไปเที่ยวขึ้นเหนือขึ้นอีสานลงใต้ในตอนนี้ดีกว่า 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 482  เมื่อ 11 ม.ค. 13, 19:44

คุณเทาชมพูกำลังสงสัยว่า อเมริกากำลังเลิกผลิตสินค้าเองแล้วหรือ

พอมีคำตอบที่พอจะทราบให้อยู่บ้างครับ
 
ประเทศที่เป็นประเทศอุสาหกรรมมานานแล้วนั้น บรรดาสินค้าที่ผลิต (และเทคโนโลยีที่ใช้) ได้ถูกนำไปผลิตในประเทศที่เริ่มมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นระบบ ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมด้วยเหตุผลต่างๆ (ค่าแรง ความล้าสมัยของเครื่องจักร อุปกรณ์ เทคโนโลยี การไปลงทุน ภาษี ฯลฯ) และรวมทั้งประเทศอื่นๆต่างก็รุมผลิตสินค้า (ในราคาและมาตรฐานที่รับได้) ส่งเข้าไปขายแข่งขัน เรื่องเหล่านี้ทราบกันดีอยู่แล้ว    แล้วประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายจะเป็นอย่างไร สินค้าอุตสาหกรรมถูกตีตลาด แข่งขันไม่ได้  โรงงานอุตสาหกรรมบางอย่างต้องปิดตัว เลิกกิจการ หรือทำธุรกิจเดิมในรูปแบบใหม่     จึงได้คิดใหม่กันว่าทำไมไม่ผันตัวเองจากการที่ต้องไปยุ่งอยู่กับการต้อง operate ระบบการผลิตทั้งหมดให้ปวดหัว ไปเป็นการใช้สมองคิดแล้วให้คนอื่นเขาทำ   ซึ่งก็คือ การผันและก้าวไปการทำธุรกิจบนฐานของสินค้าที่มีนวัตกรรม แล้วจ้างเขาผลิต   (จึงเป็นที่มาของสินค้าจากจีนที่ดูจะแฝงด้วยแนวคิดแปลกๆ ซึ่งเป็นสินค้าประเภท CD ที่มีการแปลงโฉมมาจากการจ้างให้ทำต้นแบบบ้าง การผลิตบ้าง ของบรรดานักคิดอเมริกันชนและคนชาติอื่นๆทั้งหลาย)

ภาคการอุตสาหกรรมและนักลงทุนอิสระของอเมริกา คนและบริษัทในประเทศอุตสาหกรรมหลักของยุโรป และนโยบายของญี่ปุ่นเอง ก็คิดแบบนี้ละครับ  ญี่ปุ่นเองก็เป็นแหล่งผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับประเทศอื่นเหมือนกัน 






     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 483  เมื่อ 11 ม.ค. 13, 20:15

ก็อยากจะถามคุณตั้งเสียให้หายสงสัยเรื่องธุรกิจการผลิตของอเมริกานี่ละค่ะ    เพราะเคยถามเพื่อนอเมริกันที่มาเที่ยวเมืองไทยแล้วเขาตอบไม่ได้
การผันและก้าวไปการทำธุรกิจบนฐานของสินค้าที่มีนวัตกรรม แล้วจ้างเขาผลิต   (จึงเป็นที่มาของสินค้าจากจีนที่ดูจะแฝงด้วยแนวคิดแปลกๆ ซึ่งเป็นสินค้าประเภท CD ที่มีการแปลงโฉมมาจากการจ้างให้ทำต้นแบบบ้าง การผลิตบ้าง ของบรรดานักคิดอเมริกันชนและคนชาติอื่นๆทั้งหลาย)

ภาคการอุตสาหกรรมและนักลงทุนอิสระของอเมริกา คนและบริษัทในประเทศอุตสาหกรรมหลักของยุโรป และนโยบายของญี่ปุ่นเอง ก็คิดแบบนี้ละครับ  ญี่ปุ่นเองก็เป็นแหล่งผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับประเทศอื่นเหมือนกัน     
คือดิฉันไม่ได้สงสัยเรื่องเทคโนโลยีการผลิต เพราะรู้ว่าอเมริกามีเทคโนโลยีสูง    แต่สงสัยว่าการไปจ้างผลิตในประเทศอื่น  ทำให้แรงงานอเมริกันตกงานกันไปเท่าไหร่    และที่สำคัญคือ คนค้าคนขายระดับเล็กๆทำไมเหมือนกับล้มหายตายจากไปหมดแล้ว  อย่างน้อยก็ในเมืองที่ดิฉันอยู่

เทียบง่ายๆว่าถ้านาย ก. อยากจะค้าขายเอง  แต่มีต้นทุนน้อย  ก็สามารถเริ่มตั้งแต่รถเข็นขายอาหาร  ขายลูกชิ้นปิ้งก็ได้ ก๋วยเตี๋ยวก็ได้  มีรายได้เลี้ยงครอบครัว   ก่อนขยับขยายขึ้นไปเป็นเซ้งแผงในตลาด ต่อไปก็เปิดร้านขาย  แต่ถ้าเป็นในเมืองที่ดิฉันอยู่   คนแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว   สมัยไปเรียนยังจำได้ว่ามีร้านซักแห้ง  ร้านหนังสือเล็กๆ  ร้านขายสินค้าที่เป็นห้องเดียวเปิดอยู่ทั่วไปตามถนน   มีมินิมาร์ทเล็กๆ ที่เจ้าของดำเนินกิจการเองอยู่ใกล้แคมปัสของมหาวิทยาลัย   หน้าหนาวเราก็เดินข้ามสนามของตึกเรียนไปซื้อผักผลไม้และเนื้อสดที่นั่นใส่ถุงหอบกลับมา

แต่พอย้อนกลับไปเยือนอีกครั้ง   ร้านพวกนี้หายไปหมด  มินิมาร์ทของเอกชนกลายเป็น 7-11 ร้านซักแห้งไม่มีแล้ว   ร้านหนังสือก็ไม่เหลือ  ร้านอาหารมีแต่ฟาสฟู้ดของแม็ค เบอร์เกอร์คิง และยี่ห้ออื่นๆที่มีสาขาอยู่หลายเมือง  ร้านอาหารที่รู้จักก็เลิกกิจการไปหมด 
 แม้แต่บ้านเช่าซึ่งเมื่อก่อนเป็นของคุณตาคุณยายเจ้าของบ้านเปิดให้นักศึกษามาเช่าอยู่ชั้นใต้ดิน หรือชั้นสองของบ้าน   ตอนนี้มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์มาซื้อบ้านเก่าๆพวกนั้นไปปรับปรุงใหม่แล้วให้เช่าทั้งหลัง   ไม่มีบ้านแบ่งเช่าอีกแล้ว 

คนในเมืองเขาทำอะไรกิน   ได้คำตอบว่าเป็นพวกนั่งโต๊ะกินเงินเดือน   ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองใหญ่แต่มาซื้อบ้านอยู่ในเมืองเล็กเพราะราคาถูกกว่า   ยอมขับรถไปกลับเอา  น้ำมันเขาถูกกว่าบ้านเราเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ     แสดงว่าธุรกิจส่วนตัวเล็กๆ ตายไปหมดแล้วเหลือแต่ธุรกิจใหญ่ๆ   
เราจะเดินตามรอยอย่างเขาหรือเปล่าคะ  เดี๋ยวนี้ชาวบ้านก็ไม่เลี้ยงหมู ไม่เลี้ยงไก่กันเองอีกแล้ว  ทำนาก็หาคนทำยาก หนุ่มสาวเข้าโรงงานกันหมด   ก็ยังมีอาหารนี่แหละที่ยังมีเจ้าเล็กๆทำกันเองมาก
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 484  เมื่อ 11 ม.ค. 13, 21:21

แต่พอย้อนกลับไปเยือนอีกครั้ง   ร้านพวกนี้หายไปหมด  มินิมาร์ทของเอกชนกลายเป็น 7-11 ร้านซักแห้งไม่มีแล้ว   ร้านหนังสือก็ไม่เหลือ  ร้านอาหารมีแต่ฟาสฟู้ดของแม็ค เบอร์เกอร์คิง และยี่ห้ออื่นๆที่มีสาขาอยู่หลายเมือง  ร้านอาหารที่รู้จักก็เลิกกิจการไปหมด  


คนในเมืองเขาทำอะไรกิน   ได้คำตอบว่าเป็นพวกนั่งโต๊ะกินเงินเดือน   ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองใหญ่แต่มาซื้อบ้านอยู่ในเมืองเล็กเพราะราคาถูกกว่า   ยอมขับรถไปกลับเอา  น้ำมันเขาถูกกว่าบ้านเราเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ     แสดงว่าธุรกิจส่วนตัวเล็กๆ ตายไปหมดแล้วเหลือแต่ธุรกิจใหญ่ๆ    
เราจะเดินตามรอยอย่างเขาหรือเปล่าคะ  เดี๋ยวนี้ชาวบ้านก็ไม่เลี้ยงหมู ไม่เลี้ยงไก่กันเองอีกแล้ว  ทำนาก็หาคนทำยาก หนุ่มสาวเข้าโรงงานกันหมด   ก็ยังมีอาหารนี่แหละที่ยังมีเจ้าเล็กๆทำกันเองมาก

ฮิฮิ ไม่ได้ถูกถามแต่ขอแสดงความเห็นครับ

ปัจจุบันร้านรวงเล็กๆ ที่ล้มหายตายจากไปก็เพราะว่าสู้ราคาเจ้าใหญ่ๆ ไม่ได้  เจ้าใหญ่ๆ นั้นสามารถสั่งสินค้าได้ทีละล็อตใหญ่ๆ มีอำนาจต่อรองมากกว่า  ทำให้มีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำกว่ามากจึงสามารถขายในราคาที่ถูกกว่าได้ในขณะที่ร้านย่อยๆ ของอาโกสู้ราคาไม่ได้ เพราะแม้จะขายแพงกว่า แต่กำไรต่อหน่วยยังน้อยกว่าพวกเจ้าใหญ่    แม้แต่ร้านเล็กๆ ที่เป็นสาขาเช่น 7-11 แต่ละสาขาไม่ได้จัดหาสินค้าเอง ทำให้ต้นทุนต่ำกว่าร้านอาโกอาแปะมาก   ส่วนผู้บริโภคยังไงก็ต้องเลือกร้านราคาถูกกว่า ที่จะยอมจ่ายแพงเพื่อไม่ให้เจ้าใหญ่ผูกขาดคงมีไม่ที่คนที่กล้าทำ


ร้าน fastfood ก็เช่นกัน เจ้าใหญ่ๆ มีการผลิตแบบโรงงาน และผู้บริโภคเองส่วนนึงกินพราะความเคยชิน ไม่กล้าเสี่ยงลองของใหม่ๆ มากนัก เน้นชัวร์แต่กินได้มากกว่า ดังนั้นแฟรนไชส์หลายเจ้าจึงครองตลาด เช่นสุกี้หรืออาหารญี่ปุ่นในไทย  เจ้าตลาดไม่ได้อร่อยที่สุด แต่ติดตลาดเพราะมีสาขามากที่สุด มวลชนเคยชินที่สุด ไปที่ไหนก็มาตรฐานเหมือนกัน  คนไม่ชอบเสี่ยงไม่ชอบลองจะชอบแบบนี้มาก  คนแบบนี้มีเยอะด้วย ดังนั้นนักลงทุนแทนที่จะเปิดร้านใหม่มาแข่ง สู้กำเงินไปซื้อแฟรนไชส์ แม้กำไรอาจไม่สูงสุด แต่ความเสี่ยงต่ำกว่า เราเลยเห็นพวกนี้เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ดับรายเล็กๆ ไปเรื่อยๆ   ขนาดตลาดระดับล่างอย่างผัดกะเพรา อาหารพื้นๆ เจ้าใหญ่ทำเป็นอาหารแช่แข็งไว้อุ่นกินขายในร้านสะดวกซื้อสู้เลย  ดีว่ารสชาติยังไม่ผ่านนัก


การผลิตทุกอย่างมีแนวโน้มที่จะไปทาง mass มากขึ้น ทั้งหมูทั้งไก่  ตลาดที่รายเล็กๆ ผลิตเองน้อยๆ มักเป็นแค่ตลาดทางเลือกที่สู้ราคาไม่ได้ และคุณภาพก็อาจจะสู้ไม่ได้ด้วยแม้จะเป็นสินค้าเกษตรก็ตาม ดังนั้นแนวโน้มอนาคตคนส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะทำงานเป็นลูกจ้างมากกว่าจะเป็นเจ้าของกิจการเองแล้ว แม้มีที่ดินมีแรงงาน ก็อาจทำได้แค่เป็นการรับจ้างรายใหญ่ผู้กุมตลาดผลิตของ  นี่คือผลเสียอย่างหนึ่งของระบบทุนนิยม   นานๆ อาจจะมีใครซักคนเห็นช่องว่างทางการตลาดกระโดดออกมาบุกเบิกอะไรใหม่ๆ แต่สุดท้ายก็จะไปสู่ความพยายามครอบครองตลาดแทน


แต่แม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง คนส่วนใหญ่ก็จะต้องหันไปทำงานในภาคที่เกี่ยวข้องมากขึ้นด้วย ในขณะที่ตลาดแรงงานแบบเก่าๆ หมดไป แต่ก็จะทดแทนด้วยตลาดแรงงานแบบใหม่ๆ ที่ต้องตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองตลาดแบบใหม่  เดี๋ยวนี้เราเลยได้ยินอาชีพแปลกๆ มากขึ้น เช่นนักโลจิสติกส์   นักวิเคราะห์ระบบ   นักสิ่งแวดล้อม   นักฯลฯ  เพียงแต่อาชีพเหล่านี้ต้องใช้ทักษะและความรู้มากขึ้น ซึ่งก็จะไปเพิ่มความต้องการแรงงานด้านการศึกษา ด้านอื่นๆ เป็นทอดๆ ไปอีก   ส่วนแรงงานระดับล่างบางอย่างที่ไม่อาจทดแทนด้วยเครื่องจักรหรือระบบได้ก็ยังคงมีอยู่ครับ


นี่ยังไม่นับผลกระทบกับการซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ทำให้ตลาดของร้านใหญ่ๆ มีพนักงานขาย มีโชว์รูมหายไป  แต่ทำให้กิจการด้านขนส่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นแทน ดังนั้นแม้บางอาชีพจะหายไป แต่จะมีอาชีพใหม่มาทดแทนครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 485  เมื่อ 11 ม.ค. 13, 21:43

อืม์  ก็เป็นคำถามที่น่าคิด  ผมคงไม่สามารถตอบให้หายข้อสงสัยได้  แต่ก็พอมีที่จะเล่าอธิบายได้บ้างครับ เป็นเรื่องที่ได้อ่านมาบ้าง ได้ฟังมาบ้าง ได้ถามและได้คำตอบมาบ้าง ได้มาจากการประชุมบ้าง เอามาประมวลสรุปนะครับ ตัวผมเองไม่มีความรู้และเจนจัดในเรื่องเหล่านี้เลยครับ

สภาพก็คล้ายๆกับที่เกิดขึ้นในประเทศในยุโรป ซึ่งมีพื้นฐานของการคิดในการบริหารจัดการด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นหลักใหญ่ๆคล้ายๆกัน

ขอเวลาเรียงเรื่องหน่อยนะครับ

บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 486  เมื่อ 11 ม.ค. 13, 21:58

ดังนั้นแม้จะเปลี่ยนไปจ้างคนอื่นผลิต แต่อเมริกาหรือญี่ปุ่นก็จะมีตลาดแรงงานใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการแรงงานที่เปลี่ยนไป รวมถึงตลาดภายในของตัวเองที่ยังมี โรงงานต่างๆ ยังมี เพียงแต่การผลิตระดับ mass อาจจะย้ายฐานไปที่อื่นเท่านั้นแต่ไม่ใช่ทั้งหมด     ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงแบบนี้แต่ละคนต้องปรับตัวเยอะ ใครปรับตัวไม่ได้ก็จะสูญพันธุ์ไปตามทฤษฎีของดาร์วินครับ ประเทศพัฒนาแล้วก็มีพวกไม่ปรับตัวเยอะเหมือนกัน พวกนี้ก็เกาะกินสวัสดิการรัฐไปเรื่อยๆ  ทำให้ระบบเศรษฐกิจอุ้ยอ้ายเป็นส่วนเกินของสังคมไป  ข้อดีคือทำให้ประเทศอื่นๆ สามารถพัฒนาตามมาได้ทัน


บางประเทศเน้นด้านการคิดค้นนวัตกรรม เช่นแถวเกาหลี คิดได้แล้วไปจ้างจีนผลิต  จีนเองก็น่ากลัว เพราะอีกไม่นานจะคิดนวัตกรรมเองแถมพลิตเองได้ในราคาถูก ดีว่าการเมืองกับวัฒธรรมยังเป็นตัวจำกัดความก้าวหน้าตรงนี้อยู่


บางประเทศแม้ไม่ผลิตสินค้าเอง แต่ผันตัวเองไปเน้นนวัตกรรมด้านอื่น  เช่นเป็นศูนย์กลางทางการเงินบ้าง  ศูนย์กลางตลาด   ศูนย์กลางแฟชั่น เป็นนายหน้าบ้างก็มี  เอาง่ายๆ กระเป๋าแอร์เมสใบละล้านกว่า ต้นทุนจริงคงไม่กี่ตังค์  แต่สามารถผลิตนวัตกรรมด้านภาพลักษณ์เอามาขายไฮโซแถวไทยหรือที่อื่นๆ ทั่วโลกได้ บางคนมีเป็นสิบๆ ใบ  สินค้านวัตกรรมนี่มูลค่าเพิ่มมันเยอะจริงๆ นี่ทำให้บางประเทศแม้ฐานการผลิตจะย้ายไปแล้ว แต่เค้ายังรวยได้อยู่




แต่บางประเทศเน้นรับจ้างผลิต  ไม่เคยสนใจเรื่องนวัตกรรม แม้ปัจจุบันจะยังหลั่นล้ากับการรับจ้างผลิตได้อยู่ แต่ค่าแรงไม่ได้ถูกแล้ว ต่อไปจะเจอปัญหาแรงงานราคาถูกจากที่อื่นที่เริ่มเปิดตัวขึ้นมาเรื่อยๆ มาตีตลาด ถ้าไม่รีบสำนึกปรับตัวน่ากลัวว่าจะทรุดตัวยาวแน่ๆ อีกไม่นานชาติในแอฟริกาน่าจะเริ่มๆ มาเป็นคู่แข่งตลาดแรงงานราคาถูกแถวจีนอินเดียแล้ว   โชคดีที่การเมืองแถวนั้นมันยังย่ำแย่  เลยทำให้พัฒนาช้า    


แต่ถ้ามองเรื่องโลจิสติกส์ ผมว่าแถวแอฟริกาหรือแม้แต่อินเดียจะได้เปรียบแถวเอเชียมาก เพราะไปตรงไหนๆ ของโลกก็ใกล้กว่าทั้งนั้น ลดระยะเวลาขนส่งและต้นทุนได้บาน  เพียงแต่ระบบการเมือง การศึกษา และข้อจำกัดทางวัฒนธรรมทำให้พวกนี้ยังพัฒนาได้ช้าอยู่   ตอนนี้บางประเทศแถวๆ ตะวันออกหลายๆ ที่จึงยังหลั่นล้าอยู่ได้  แต่การเมืองของประเทศเหล่านั้นก็กำลังทำลายตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน  บ๊ะ วันนี้เผลอกินดีหมีมาแน่ๆ เลย


ง่า ท่านอาจารย์เทาชมพูมีกระเป๋าหลุยส์ หรืแอร์เมสกี่ใบครับ   แอบหลอกถาม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 487  เมื่อ 12 ม.ค. 13, 11:04

^
ถามผิดคนแล้วค่ะ      ยิ้ม
เห็นของแบรนด์เนมตามร้านทีไร สงสัยทุกทีว่าต้นทุนการผลิตคิดเป็นกี่ % ของราคาขาย   บวกลบคูณหารแล้วน่าจะไม่ถึง 5 % มั้ง (หรืออาจจะมีแค่ 1 %  ตกใจ  ) ที่เหลือเป็นนวัตกรรมด้านภาพลักษณ์

รอคุณตั้งเรียงเรื่องอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 488  เมื่อ 13 ม.ค. 13, 20:42

ที่คุณประกอบเล่ามานั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เิกิดสภาพการณ์ตามที่คุณเทาชมพูได้เห็นมา
 
ในเมืองไทยก็ได้เริ่มเกิดสภาพเช่นนี้แล้วเหมือนกันนะครับ กิจการขนาดใหญ่ เจ้าของธุรกิจที่มีฐานะต่างๆดี ต่างก็พยายามขยายกิจการไปเป็นเจ้าของครอบคลุมระบบการผลิตและการขายให้ครบวงจร ไล่ซื้อ ไล่ฮุบ ไล่ทุบ จนธุรกิจรายย่อยที่เป็นระบบเศรษฐกิจพื้นฐานของการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในระดับชุมชนต้องล้มระเนระนาดไป      เจ้าของที่นารายใหญ่ที่เคยให้คนเช่าที่นาทำนาก็เปลี่ยนไปเป็นคนทำธุรกิจทำนาเสียเอง ไม่ต้องออกแรง ใช้วิธีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยโดยการจ้าง ตั้งแต่ไถนาไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต  ชาวนาซึ่งแต่เดิมเช่าที่นาเพื่อทำข้าวไว้กินและขายส่วนเกินเอาเงินมาใช้สอยสำหรับความเป็นอยู่ของครอบครัวและโอกาสของลูกหลานในการรำ่เรียนหนังสือ ต้องเปลี่ยนวิถ๊ชีวิตไปเป็นการหากินรับจ้างทั่วไปเพื่อหาเงินมาซื้อข้าวแทน  ผมลงไปใช้ชีวิตร่วมอยู่ในสังคมของเขามาประมาณ 5 ปี พอจะสัมผัสและทราบเรื่องราวเหล่านี้พอควร  เคยคิดว่าก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะพยายามตั้งเป็นกระทู้ขึ้นมา   

วกกลับเข้าเรื่องครับ  และคงจะไม่ลงไปในรายละเอียดมากนัก  จะกลายเป็นอีกกระทู้หนึ่งไป     

ผมจะขอใช้คำว่า SME สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจและร้านค้าเล็กๆนะครับ ไม่ใช้ในความหมายตามคำจำกัดความของทางราชการและในเชิงนโยบาย (ซึ่ง SME มีขนาดของธุรกิจครอบคลุมไปได้ถึงระดับมากกว่า 98% ของธุรกิจต่างๆทั่วประเทศ)
   
SME โดยสภาพแท้ๆของเขาก็คือ เป็นอาชีพอิสระ มีทุนน้อย มีความชำนาญเฉพาะทาง มีความสามารถในการแข่งขันจำกัดอยู่ในวงค่อนข้างเล็ก (เฉพาะถิ่น) ธุรกิจค่อนข้างจะอ่อนแอและปรับตัวได้ไม่มากเพื่อให้อยู่รอดได้ในระบบและโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อยู่ในระบบฐานภาษีของรัฐ และส่งเสียงได้ไม่ดังเท่าผู้ประกอบการรายใหญ่
 
องค์ประกอบที่ทำให้เขาอยู่ไม่ได้และคิดว่าต้องเลิกกิจการนั้นมีมากมาย ที่จะขอกล่าวถึงมีอยู่สองสามเรื่อง
เรื่องแรกคือ    การเข้าถึงแหล่งทุน   แม้ว่าด้วยความชำนาญเฉพาะทางของเขาจะเห็นว่า มีช่องทางที่จะต่อสู้และทำให้อยู่รอดได้อย่างไรในสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป แต่เขาก็ไม่มีทุนและแหล่งทุนที่จะสนับสนุน   ธุรกิจรายใหญ่ระดมทุนได้จากระบบตลาดหลักทรัพย์ แต่ธุรกิจระดับเล็กต้องใช้วิธีกู้ และจะต้องกู้ด้วยการมีหลักทรัพย์ค้ำประกันอีกด้วย จะใช้แผนธุรกิจกู้ก็ยากนัก 
เรื่องที่สองคือ   เขาจะต้องเสียภาษีตามกฏหมายในกติกาเดียวกันกับรายใหญ่ ทั้งวิธีการและเงื่อนไขในการลดหย่อน   รายใหญ่มีเรื่องและวิธีการลดหย่อนภาษีได้มากตามที่พอรู้ๆกันอยู่ รายเล็กแทบจะไม่มีโอกาสเลย
เรื่องที่สามคือ   ธุรกิจรายเล็กเหล่านี้มีภาระภาษีทางสังคมพอๆกับรายใหญ่  ซึ่งแม้จะมีขนาดที่ต่างกัน แต่ในเชิงของอัตราเปรียบเทียบระหว่างรายได้กับรายจ่ายจะต่างกันและมีผลต่างกัน
เรื่องที่สี่คือ  เกี่ยวกับระบบประกันสังคม   ระหว่างการพยายามต่อสู้ให้อยู่รอดกับการเลิกกิจการ แล้วเข้าไปอยู่ในระบบประกันสังคม  หยุดกิจการออกมาเป็นผู้ไม่มีงานทำ  ด้วยเคยเป็นผู้ที่เสียภาษีให้กับรัฐอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อเลิกกิจการก็จะได้รับเงินจากระบบการประกันสังคม   ไม่มากไม่น้อยแต่ก็พอจะใช้ชีวิตพอสุขสบาย เสรี ไม่ต้องปวดหัวเรื่องธุรกิจและการต่อสู้ใดๆ

ต้องคิดหนัก ปวดหัวทุกวัน กับการออกมาอยู่ด้วยเงินประกันสังคม ไม่ต้องรับผิดชอบไม่ต้องขวนขวายให้มากความมากเรื่อง ก็เป็นเรื่องน่าคิดเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ระบบประกันสังคมก็เป็นระเบิดเวลาของภาครัฐอยู่เหมือนกัน         
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 489  เมื่อ 13 ม.ค. 13, 20:52

ดีค่ะคุณตั้ง  เรื่องปลาเล็กถูกปลาใหญ่ไล่ฮุบเป็นเรื่องที่ตั้่งกระทู้ใหม่ได้สบายๆ

แถวบ้านของดิฉันก็มองเห็นปลาตัวใหญ่เข้ามาว่ายวนเวียนอยู่ในระยะปีหลังๆนี้      เมื่อก่อนในซอยมีร้านของชำเล็กๆ 2 ร้าน  เมื่อเรามาปลูกบ้านอยู่ใหม่ๆ   เขาเอาผักผลไม้สดจากตลาดมาวางขาย  ให้ลูกค้าเดินมาซื้อได้ง่ายๆไม่ต้องเปลืองน้ำมันรถ     
แต่เดี๋ยวนี้เลิกไปทั้ง 2 ร้านแล้ว   คนขายก็แก่ชราลูกๆโตขึ้นไปทำงานอื่นกันหมด       ปัจจุบัน มีร้านสะดวกซื้อมาตั้งแทน 2 ร้านด้วยกัน  ลูกค้าอุดหนุนกันแน่นหนาทีเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 490  เมื่อ 14 ม.ค. 13, 20:20

คำถามว่า เลิกกิจการแล้วไปทำอะไร  ก็พอมีคำตอบอยู่บ้างเหมือนกันครับ

เรื่องหนึ่งแน่ๆก็คือ ไปนอนกินเบี้ยจากระบบประกันสังคม  ลดสถานภาพจากอยู่ดีกินดีไปเป็นพอมีพอใช้ แล้วก็ทำกิจกรรมหารายได้อื่นๆเพิ่มเติมอีกสักหน่อยให้เป็นสภาพอยู่อย่างเพียงพอ 
ระบบประกันสังคมในแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน  พอจะยกตัวอย่างของประเทศออสเตรียได้ว่า เช่น หากคุณทำงานต่อเนื่องมา 6 เดือนแล้ว ตกงานหรือหยุดทำงาน คุณก็จะได้เงินประกันสังคมใช้ไปอีก 6 เดือน ในช่วงนี้จากนั้นคุณจะต้องหางานทำให้ได้    ออสเตรียเป็นประเทศบนฐานของสังคมนิยมและรัฐสวัสดิการ เมื่อคุณมีลูก รัฐจะให้เงินช่วยเหลือการเลี้ยงดูลูกด้วยในระยะเวลาหนึ่ง ลูกคุณจะเรียนฟรีไปตลอดจนถึงระดับปริญญาตรี เหล่านี้เป็นต้น  ดูดีนะครับ แต่ก็ไม่ง่ายนักอย่างที่คิดเหมือนกัน       
ในสหรัฐฯ คนที่สมัครไปเป็นทหารรับใช้ประเทศ เมื่อหมดวาระแล้วจะได้เงินบำนาญในระดับหนึ่งไปตลอดชีวิต มากพออยู่ได้เหมือนกัน  สำหรับนายทหารสัญญาบัตร เมื่อถึงอายุหนึ่งแล้วไม่ได้ยศตามระดับที่กำหนดก็ต้องออกจากราชการไปรับบำนาญ พวกนี้ก็จะมีเงินพื้นฐานสำหรับการดำรงชีพในระดับที่ดีพอควรเลยทีเดียว พวกมีอาชีพทางด้านการแพทย์ หมอฟัน ฯลฯ ได้เลิกทำงานไปมากก็ด้วยเหตุว่า ทำต่อไปทำไม ต้องรับผิดชอบสูง สู้ออกมาเป็นคนตกงานง่ายกว่า ได้รับประกันสังคมก็สูงอยู่ได้พอสบายเลยทีเดียว 

อาชีพเสริมของคนเหล่านี้ ก็คือการหารายได้เพิ่มให้มากขึ้นด้วยการเปิดร้านทำธุรกิจเล็กๆน้อยๆ  ขาดทุนก็เลิก ก็ยังมีเงินฐานที่พอจะเอาตัวอยู่รอดได้  ตนเองหรือแม่บ้าน ก็ยังสามารถเลือกทำงานแบบครึ่งวันได้อีก  ไม่เป็น full time job แต่เป็นลักษณะของ contract เป็นช่วงๆ (เช่น ทำงานเฉพาะช่วงเช้า หรือเฉพาะช่วงบ่าย)  ผู้เป็นนายจ้างก็ชอบ เพราะไม่ต้องยุ่งยากมากกับการจ้างแบบ full time ที่มีต้องมีภาระตามกฎหมายอื่นๆมากมาย     ในญี่ปุ่นในช่วงหลังจากวิกฤติในทศวรรษปี 1990 จนปัจจุบัน ก็เริ่มเกิดภาพเช่นนี้เหมือนกัน

คงอธิบายให้ความกระจ่างพอได้นะครับ  (เท่าที่พอจะมีความรู้และได้รับรู้มาครับ อิอิ...)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 491  เมื่อ 14 ม.ค. 13, 20:31

สมัยเรียนมีเพื่อนร่วมชั้นคนหนึ่งเป็นทหารมาก่อนปลดประจำการ   แกก็เที่ยวลงวิชาไปเรื่อย ไม่ยอมจบสักที     ดิฉันแปลกใจว่าทำไม ในเมื่อใครๆก็อยากเก็บวิชาให้หมดทั้งนั้น จะได้จบๆกันไป     เพื่อนอีกคนบอกว่าแกเรียนฟรี รัฐจ่ายเงินให้เป็นผลจากเคยประจำการ   แกก็เลยเรียนเป็นร้อยวิชาแล้ว(มั้ง)    ไม่รู้ว่าเขาเป็นยังไงต่อไป เพราะเมื่อดิฉันเรียนจบแล้ว แกยังลงทะเบียนวิชานั้นวิชานี้ต่อไปอีก

เรื่องสวัสดิการในสหรัฐอเมริกา น่าจะเป็นปัญหาแบบดินพอกหางหมู    เท่าที่รู้จากเพื่อนๆที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่นคือมีคนงานจำนวนมาก พอใจจะตกงานมากกว่าทำงาน    เพราะได้เงินสวัสดิการ  ยิ่งมีลูกมากยิ่งได้จากสวัสดิการที่รัฐให้แก่เด็กๆด้วย     กลายเป็นว่าคนทำงานต้องเสียภาษีมาเลี้ยงคนไม่ทำงาน
ตอนนี้อเมริกามีปัญหาเศรษฐกิจทรุดหนัก     ก็กลายเป็นปัญหาที่ยังสะสมกันต่อไปอีก   รู้แค่นี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 492  เมื่อ 14 ม.ค. 13, 20:58

ครับ

นี่แหละครับที่ได้มีการเรียกกันว่าระเบิดเวลาของระบบ    เข้าใจว่า เริ่มได้เห็นภาพกันครั้งแรกในสวิสเซอร์แลนด์ จากงานวิจัยทางวิชาการในช่วงปลายศตวรรษ (1999) ก่อนเข้าศควรรษใหม่ (2000)  จากนั้นก็เห็นภาพกันเป็นไฟลามทุ่งในยุโรป     เขาว่า โดยนัยง่ายๆ ก่อนโน้นนั้น อาศัยภาษีจากคนทำงาน 2 คนเพื่อเลี้ยงคนแก่และคนในระบบประกันสังคม 1 คน  พอเข้าช่วงศตวรรษใหม่ ได้พบว่าจะต้องใช้ภาษีจากคนทำงานประมาณ 4 คน และมีแนวโน้มว่ากำลังจะต้องเป็น 6 คนเพื่อเลี้ยง 1 คน

คิดว่า คงจะได้มีการวิจัยในลักษณะนี้บ้างแล้วในไทย  ไม่ว่าจะในระดับวิทยานิพนธ์ของ ป.โท  ป.เอก หรือของบรรดา อ.ทั้งหลายในสถาบันต่างๆ 

บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 493  เมื่อ 15 ม.ค. 13, 17:42

แวะกลับมาเล่าเรื่องร้านรวงที่ปรับตัวสู้กับวิถีตลาดแบบใหม่ๆ ไม่ไหว


วันนี้เพิ่งอ่านข่าวว่าร้าน Jessops ซึ่งเป็นร้านขายกล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ที่น่าจะมีสาขามากที่สุดในอังกฤษ มีสาขา 187 สาขาทั่งประเทศปิดตัวลงไปแล้วหลังเปิดกิจการตั้งแต่ปี 1935  ก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือน ร้าน Comet เป็นร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ตั้งแต่กล้องถ่ายรูปยันตู้เย็น มีสาขาหลายร้อยแห่งในอังกฤษก็เพิ่งปิดตัวไป  ร้านเหล่านี้เป็นร้านประเภท high-street คือมีสาขาตั้งอยู่ตามย่านชุมชนหรือ shopping mall ต่างๆ มีพนักงานขาย ทำให้ต้องแบกรับตุ้นทุนค่าจ้างพนักงานและสถานที่ค่อนข้างมาก สินค้าที่ขายจึงกดราคาลงมากไม่ได้ แม้จะมีการขายสินค้าทาง online ด้วย แต่ต้นทุนรวมทั้งกิจการก็ยังสูง แม้จะมีชื่อเสียงความเชื่อถือที่สั่งสมมานาน แต่ในที่สุดก็ไปไม่รอด


ตอนนี้วิธีการซื้อของของผู้คนเปลี่ยนไป  คนในอังกฤษจะเลือกไปตามร้านเหล่านี้ พูดคุยซักถามรายละเอียดจากพนักงานขาย แต่จะไม่ยังซื้อ พอตัดสินใจได้แล้วว่าจะเอารุ่นไหน ยี่ห้อไหน ก็จะกลับบ้านไปหาร้าน online ที่ให้ราคาหรือเงื่อนไขดีที่สุดแทน  กลายเป็นว่าร้านใหญ่ๆ จ้างพนักงานเพื่อคอยให้ข้อมูลลูกค้าไปซื้อร้านอื่นแทนซะงั้น  


ร้าน online หลายแห่งไม่มีหน้าร้าน ไม่มีต้นทุนพนักงานและสถานที่เท่าร้านใหญ่สาขาเยอะทำให้สามารถแข่งขันด้านราคาได้ดีกว่า  ร้านใหญ่ๆ ที่เดิมเน้นขยายสาขาเพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้บริโภควันนี้โลก online ทำให้ความสะดวกนี้ไม่ใช่ข้อได้เปรียบอีกต่อไป กลับกลายเป็นข้อจำกัดไปซะอีก  ก็น่าเห็นใจพนักงานเหล่านั้น  เป็นผมก็ยังมองไม่ออกเหมือนกันว่าถ้าผมเป็นเจ้าของร้านพวกนี้ผมจะปรับตัวแข่งกับตลาดที่เปลี่ยนไปอย่างไร


นอกจากเรื่องวิธีการซื้อขายที่เปลี่ยนไป วิธีชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนไปด้วย จากเดิมเราจะถ่ายรูปเราต้องซื้อกล้องถ่ายรูปโดยเฉพาะเท่านั้น แต่ปัจจุบันกล้องถ่ายรูปกลายเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานหนึ่งของอุปกรณ์พกพาเช่นโทรศัพท์ smartphone หรือ tablet ไปแล้ว  ความต้องการซื้อกล้องของคนก็น้อยลง  มีแต่คนที่คิดแต่จะถ่ายรูปจริงๆ จังๆ เน้นคุณภาพเท่านั้นที่ยังจะซื้อกล้องตัวใหญ่ๆ เลนส์แพงๆ อยู่ แต่คนทั่วไปที่ไม่ต้องเน้นภาพคุณภาพสูงไม่จำเป็นต้องใช้กล้องพวกนี้แล้ว  ตลาดอุปกรณ์เฉพาะทางจึงหดตัวลงเหลือแต่สำหรับโปร  แต่ตลาดของอุปกรณ์ที่ทำอะไรได้หลากหลายในตัวเดียวขยายตัวมากขึ้น


ผมซื้อ notebook จาก Comet ต่อประกันเพิ่มเป็น 3 ปี ซื้อกล้องจาก Jessops ต่อประกันเป็น 3 ปีเช่นกัน วันนี้ประกันยังไม่หมดเลยแต่ทั้ง 2 ร้านเจ๊งไปแล้ว  โชคร้ายจริงๆ  ลังเล  ลังเล  ลังเล  ร้องไห้  ร้องไห้  ร้องไห้
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 494  เมื่อ 15 ม.ค. 13, 18:40

^

คุณประกอบแวะเข้ามาเล่าเรื่อง  ทำให้เห็นภาพของผลกระทบในวงกว้างของสภาพการณ์ที่เรียกกันว่า Globalization ได้ชัดเจนเลยครับ  ขนาดร้านที่มีกิจการเปิดมานานและมีประสพการณ์มาอย่างยาวนาน รู้จักตลาดและเส้นสนกลในเป็นอย่างดี มีทั้งความรู้และเท่าทันในเทคโนโลยต่างๆ แถมยังอยู่ในซีกโลกที่มีสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีแบบนั้น ยังปรับตัวเองได้ไ่ม่รอด   

แล้วบรรดาธุรกิจของคนไทยทั่วไปและคนทำมาหากินที่มีความรู้ไม่จัดเจน ตามโลกแห่งความเป็นจริงไม่ทัน ด้วยจำกัดด้วยข้อมูลทางสื่อและฝ่ายรัฐ ได้รับฟังแต่เรื่องที่เป็นความฝันกรอกหูอยู่ทุกวัน ไม่มีส่วนหรือช่องทางหรือโอกาสที่จะยื่นมือเข้าไปถึงและร่วมอยู่ในกระบวนการด้วย   แล้วจะเป็นอย่างไรหนอ ฮืม   อะไรคือภาคปฎิบัติและรูปธรรมที่จะต้องดำเนินการในการปรับโครงสร้างการผลิต อะไรคือภาคปฏิบัติและรูปธรรมที่จะต้องทำและร่วมอยู่ในกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน   เศร้า   เห็นแต่ดีใจกับตัวเลขที่เขาเข้ามาลงทุนในกิจการที่แข่งกับ SME ของเรา  ได้เปรียบทั้งด้านภาษี เงินทุน เทคโนโลยี และสิทธิประโยชน์อื่นๆ   ธุรกิจของเราก็มีแต่จะหดตัวลง ส่วนแบ่งในตลาดลดลง จากทีพอขยายได้เป็นระดับประเทศ ก็ลดลงเป็นระดับภาค ลดลงไปจนเป็นระดับจังหวัดก็ยังไม่รอด    ได้ทีก็เลยขอบ่นเสียหน่อย  พอแล้วครับ
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง