เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 172100 เก็บตกมาจากการเดินทาง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 420  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 19:08

ถ้าต้องหากันด้วยระบบนี้  เสียค่าแทกซี่มากกว่านี้สัก ๒ เท่าดิฉันก็ยอมค่ะ   


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 421  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 19:35

ระบบการจัดที่อยู่ที่เป็น block ของญี่ปุ่นนี้ ผมเห็นว่าเป็นการผสมผสานกันในระหว่างแนวคิดการจัดผังเมืองแต่โบราณของจีน ซึ่งจะจัดให้ตัวปราสาทราชวังของผู้ปกครองอยู่เป็นศูนย์กลาง แล้วแบ่งออกเป็นตาตะรางสี่เหลี่ยมล้อมรอบเป็น block จำนวน 8 block (8 ทิศ)  กับแนวคิดของญี่ปุ่นที่ผังเมืองเป็นลักษณะขยายออกไปเป็นวงกลมล้อมรอบ
เมืองเก่าๆของญี่ปุ่น เช่น นารา หรือเกียวโตจะเป็นผังเมืองแบบของจีน ยกเว้นในฮอกไกโดที่มีผังเมืองในลักษณะเป็น block เหมือนกัน แต่เป็นไปเนื่องมาจากอิทธิพลของคนในชาติตะวันตกที่มาติดต่อทำมาค้าขายในอดีต   สำหรับเมืองใหญ่ๆในอิทธิพลความคิดของญี่ปุ่นเองนั้น จะมีถนนสายหลักที่เดินทางมุ่งเข้าสู่ตัวปราสาทราชวังหรือที่อยู่ของผู้ทรงอำนาจครองเมือง การตัดซอยถนนเชื่อมกันจึงมีลักษณะเป็นใยแมลงมุม (เหมือนกับเมืองเก่าๆทั้งหลายในเอเซีย เช่น ฮานอย และเมืองเก่าๆในอิตาลี หรือแม้กระทั่งเมืองหลักที่อยู่ในต่างจังหวัดของไทยเราเอง)    ชื่อถนนของญี่ปุ่นจึงมีเฉพาะเส้นทางสายหลักที่ใช้เดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางของเมือง
 
ลักษณะถนนที่เป็นลักษณะของใยแมลงมุมในญี่ปุ่นนี้ (และที่อื่นๆในโลก) ทำให้เกิดเป็น block รูปสามเหลี่ยม  ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้เราเกิดการหลงทั้งทิศและทิศทางได้โดยง่ายมากๆ     หากมีโอกาสนั่งรถไฟชินกันเซนของญี่ปุ่นลองมองออกไปทางหน้าต่าง จะเห็นว่า ถนนแทบจะทุกเส้นที่ทางรถไฟตัดผ่าน จะเป็นลักษณะทะแยงมุม แล้วจะเห็นที่ถนนแยกออกไปจากถนนหลักเป็นลักษณะก้างปลาหรือขนนก  หลงทิศหลงทางได้ง่ายจริงๆครับ    

  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 422  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 19:45

คุณเทาชมพูว่า ยอมเสียค่าแท็กซี่ 2 เท่าก็ยอม
 
ทำให้นึกถึงอีกเรื่องหนึ่ง 

เมื่อเห็นญี่ปุ่นโฆษณาหรือบอกว่าบ้าน หรืออาคาร หรือสถานที่นั้นๆ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟด้วยระยะเดินประมาณ 2 นาที หรือ....  หรือจะกี่นาทีก็ตาม
 
ท่านพอจะทราบมาตรฐานการวัดหรือไม่ครับ ฮืม ลองเดากันดู    อีกสักพักจะเฉลยคำตอบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 423  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 20:04

รู้แต่ว่าคนญี่ปุ่นเดินเร็วมากค่ะ   คนไทยเรียกว่าจ้ำไม่เหลียวหลัง      เคยเดินที่สถานีรถใต้ดิน  ถ้าหากว่าเดินแบบไทยเดิน  ญี่ปุ่นที่สตาร์ทพร้อมกัน ก็จะทิ้งช่วงห่างจากเราไปจนต้องวิ่งกระหืดกระหอบตาม
2 นาทีญี่ปุ่นเห็นจะ 5 นาทีไทยมั้งคะ  เดาเอา


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 424  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 21:00

ถูกต้องด้วยพื้นฐานครับ

คำตอบที่ทราบมา คือ ระยะทางที่ผู้หญิงปรกติคนหนึ่ง ที่แต่งเสื่อผ้าชุดไปทำงาน ใส่รองเท้าส้นสูงตามปรกติ (คงจะเป็นส้นสูงระหว่าง 1 - 1 1/2) นิ้ว) เดินใน 1 นาที ซึ่งจะเป็นระยะทางประมาณ 80 เมตร
     
ตัวผมเองยังคิดว่าตนเองยังไม่น่าจะรอดเลย  มันเกือบจะเป็นกึ่งวิ่งกี่งเดินแล้วครับ ซึ่งเป็นวิถีการเดินตามปรกติของคนญี่ปุ่นเหมือนกับที่คุณเทาชมพูสังเกตหรือได้พบเห็นมา
   
หากมีโอกาสก็ลองสังเกตดูครับ คนญี่ปุ่นพอรับคำแล้วพูดว่า ไฮ้ แล้ว เขาจะเริ่มยกแขน งอข้อศอกสองข้างยกมือขึ้นเทียมหน้าอก แล้วเตะเท้าออกไปเริ่มเหมือนกับนักวิ่งออกสตาร์ตวิ่งเลย เป็นอากัปกริยาอย่างหนึ่งที่จะเห็นได้เป็นปรกติทั่วไป

คราวนี้ก็พอจะประมาณระยะทางได้แล้วนะครับว่า หากคนญี่ปุ่นบอกว่าเดินประมาณ 3 นาที ก็จะหมายถึงระยะทางประมาณ กว่าสองสนามฟุตบอลล์ หรือประมาณ 200 เมตรกว่าๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 425  เมื่อ 09 ธ.ค. 12, 21:27

คนญี่ปุ่นขยันขันแข็ง บวกกับอากาศหนาวเย็น   เดินแกมวิ่งได้สบาย  ไม่เหมือนเดินในเมืองร้อนอย่างบ้านเรา    ถ้าเดินริมถนนกรุงเทพอย่างญี่ปุ่นเดินในโตเกียว  โดยไม่หยุดเลยเป็นเวลาสัก ๒๐ นาทีญี่ปุ่น   คนไทยอาจเป็นลมหน้ามืดไปเลยก็ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 426  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 19:50

^
เรื่องเดินแกมวิ่งนี้เป็นอุปนิสัยประจำของคนญี่ปุ่นในญี่ปุ่นจริงๆ

ต่อไปอีกนิดครับ
ในญี่ปุ่นนั้น เมื่อเกิดฝนตก (ซึ่งจะไม่ใช่ตกจั้กๆแบบบ้านเรา) เราจะเห็นผู้หญิงญี่ปุ่นกระทำอยู่ 2 ลักษณะเมื่อต้องเิดินผ่าฝน คือ เอากระเป๋าถือยกเหนือหัวเพื่อบังฝน กับเอากระเป๋าถือกอดไว้ที่หน้าอก    พอจะทราบเหตุผลใหมครับว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 

เลยขอเลยเถิดไปถึงศัพท์ที่ใช้ในการอธิบายหรือเรียกลักษณะความต่างของที่ฝนตก คงพอจะบอกถึงความแตกต่างได้นะครับ  คือคำว่า  mist,  precipitation, rainy, rain, heavy rain, shower, storm, thunder storm  ในภาษาไทยก็ดูพอจะมีคำเรียกที่ตรงกันอยู่กับคำเหล่านี้     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 427  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 20:08

เคยไปญี่ปุ่นตอนหน้าฝน   เห็นเขามีร่มติดมือกันเกือบทุกคน  เวลาเข้าไปในห้างร้านสรรพสินค้า ข้างประตูมีที่ให้เสียบร่ม  ไม่ต้องถือเข้าไปให้เกะกะ   พอจะกลับออกไปก็แวะหยิบร่มกลับไปด้วย
ท่าเอากระเป๋าบังหัวกับกอดไว้แนบอก ที่คุณตั้งถาม ดิฉันยังไม่เคยเห็น     เอากระเป๋าบังหัวก็คงจะกันเม็ดฝนลงหัว   นักเรียนไทยก็ทำเหมือนกัน  ส่วนกอดไว้กับอก เดาว่าคงไม่ให้ฝนสาดเปียกเสื้อ  ซึ่งจะทำให้ชื้นเป็นหวัดง่ายละมังคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 428  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 20:37

คำตอบ

ที่เอากระเป๋ากอดไว้ที่หน้าอกนั้น เพราะว่าเป็นกระเป๋าแบรนด์ราคาแพงมากครับ ที่อุตส่าห์ไปยืนเข้าแถวรอเพื่อจะได้เข้าไปซื้อกันตามเมืองใหญ่ที่ไปท่องเที่ยวกัน

เรื่องของร่มก็น่าสนใจเหมือนกัน แล้วค่อยเล่าต่อครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 429  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 20:47

เคยไปญี่ปุ่นตอนหน้าฝน   เห็นเขามีร่มติดมือกันเกือบทุกคน

ร่มจึงเป็นของที่คนญี่ปุ่นลืมทิ้งไว้บนรถไฟฟ้าเป็นอันดับหนึ่ง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 430  เมื่อ 10 ธ.ค. 12, 21:27

คุณเพ็ญชมพูคงเคยไปเดินฝ่าฝนญี่ปุ่นมาแล้ว  ยิ้มเท่ห์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 431  เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 08:33

เคยฝ่าทั้งฝนและหิมะ

ที่ญี่ปุ่นฝนมักตกปรอย ๆ (precipitation ?) ไม่ค่อยตกจั๊ก ๆ (heavy rain ?) อย่างที่คุณตั้งว่า

หิมะในโตเกียวก็ตกไม่ค่อยหนักเท่าไร ไม่เหมือนรอบนอก ๆ เมือง

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 432  เมื่อ 11 ธ.ค. 12, 19:41

ประชากรญี่ปุ่นมีเกือบๆ 130 ล้านคน   เคยมีการประมาณกันว่า คนญี่ปุ่นแต่ละคนจะซื้อร่มไม่น้อยกว่า 2 คันต่อคนต่อปี ซึ่งหมายความว่าตลาดญี่ปุ่นมีความต้องการร่มไม่น้อยกว่า 100 ล้านคันต่อปี  เป็นตลาดที่น่าสนใจนะครับ 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 433  เมื่อ 12 ธ.ค. 12, 18:05

ร่มที่เราใช้กันนี้ คงจะพอแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้กันแดด กับกับกันฝน  และก็คงจะแยกออกไปได้เป็น 3 ชนิดตามลักษณะของก้านร่ม คือ ก้านยาวเต็มตัว ย่อสองท่อน และย่อสามท่อน

ร่มสีสวยๆมักจะเป็นร่มกันแดด จะมีขนาดไม่กว้าง ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายผู้ซื้อใช้เป็นหลัก จึงมีน้ำนักเบา และมักจะเป็นแบบก้านสามท่อน พับใส่กระเป็าถือได้  วัสดุที่ใช้จะบางและเบาน้ำซึมผ่านได้      ร่มกันฝนมักจะมีสีดำและสีกรมท่า มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ก้านร่มท่อนเดียวหรือสองท่อน ค่อนข้างจะแข็งแรงและมีน้ำหนัก (เนื่องจากต้องรับแรงลมด้วย) วัสดุจะเป็นประเภทที่กันน้ำได้ค่อนข้างดี (มองไม่ทะลุ)

เล่ามาแบบเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน  แท้จริงแล้วจะบอกเล่าในสองสามเรื่อง คือ  ในสังคมนานาชาตินั้น เขาค่อนข้างจะแบ่งแยกกันชัดเจนว่าของผู้ชายใช้หรือของผู้หญิงใช้ และควรจะเลือกใช้ให้ถูกกาลเทศะอีกด้วย   เรื่องที่สองคือ เป็นปรกติและมารยาททั่วไปที่จะไม่เอาร่มที่เปียกน้ำฝนในเข้าไปในอาคารสถานที่ใดๆ จึงมีที่สำหรับใส่ร่มไว้ที่หน้าประตูทางเข้าอาคาร กรณีเป็นห้างใหญ่ๆ เขาก็จะมีถุงพลาสติกให้สวมร่มเพื่อเอาติดตัวไปด้วย  และเรื่องที่สาม เป็นเรื่องต่อเนื่องของเรื่องที่สอง ทำให้เราคงจะต้องคิดเหมือนกันว่าจะซื้อร่มราคาแพงหรือราคาถูกมาใช้ เนื่องจากมีโอกาสทั้งการหยิบสลับกันหรือหายไป และรวมทั้งการลืมของเราด้วย

ฝนในบ้านเรานั้น ก่อนจะตกมักจะมีอากาศอบอ้าว ตกแล้วก็เย็นชื่นใจขึ้นมานิดหน่อย ต่างกับฝนที่ตกในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นหรือที่มีหิมะตกในฤดูหนาว ฝนในประเทศเหล่านี้จะตกในช่วงเริ่มต่อเข้าฤดูหนาว หลังฝนตกแล้วจะรู้สึกอากาศเย็นมาก เป็นเรื่องที่จะต้องระวังในการแต่งกายและเลือกใช้เสื้อผ้าให้มาก จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากๆ         
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 434  เมื่อ 12 ธ.ค. 12, 18:39

เอาภาพมาประกอบค่ะ
ร่มกันฝน กับร่มกันแดด    ร่มกันแดดของเชียงใหม่ เป็นสินค้าขึ้นชื่อในสมัยก่อน   ทำจากกระดาษ 
เอาไว้กันแดดอย่างเดียว ไม่กันฝน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 27 28 [29] 30 31 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง