เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 172184 เก็บตกมาจากการเดินทาง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 05:56

แค่เครื่องบินเปลี่ยนระดับ ยังไม่ทันร่อนลง ดิฉันก็ปวดจี๊ดในหูแล้วค่ะ   แต่ไม่มาก พอทนได้   เขาว่าวิธีแก้คือเคี้ยวหมากฝรั่ง 
ถ้าใครทราบวิธีดีกว่านี้ช่วยบอกคุณพวงแก้วด้วยนะคะ

สิ่งที่คุณประกอบเจอ น่าจะเป็นว่าต.ม.ฝรั่งเศสคือด่านตัวจริงก่อนเข้าอิตาลี    เหมือนดิฉันเจอด่านต.ม.ที่ LA  พอผ่านได้  บินต่อไปรัฐอื่นก็ไม่ต้องประทับตราวีซ่าอีกแล้ว   แต่ว่าต้องไปผ่าน security อยู่นั่นเอง    เข้มงวดมากน้อยขึ้นกับสนามบินว่าใหญ่เล็กแค่ไหน 
สนามบินเล็กๆอย่าง Ontario ในคาลิฟอร์เนีย  ตรวจแป๊บเดียวจบ     คงเป็นเพราะไว้ใจได้ว่าผู้ก่อการร้ายไม่โฉบมาแถวนี้แน่

เครื่องบินในประเทศของอเมริกามีทั้งลำเล็กและลำใหญ่  ราคาต่างกัน   ลำใหญ่อย่างของ United Airlines บินผ่านหลายรัฐ  แวะรับผู้โดยสารเยอะ  ระดับการบินก็สูงหน่อยและกินเวลาเร็วกว่าเครื่องบินเล็ก   บินเรียบกว่า อย่างที่คุณตั้งเล่าเพราะบินในระดับความสูงเกินหมื่นฟุต     นั่งเครื่องมายังไม่ทันจะชมวิวได้ทั่วถึงเลย  กัปตันประกาศว่าอีก 10 นาทีถึงที่หมายแล้ว

เคยนั่งเครื่องบินเล็กของ Frontier มีทั้งดีและเสีย   ส่วนดีคือเขาบินต่ำค่ะ  มองลงไปชมทิวทัศน์บนเทือกเขาร็อคกี้ได้จุใจ  ปีนั้นไปถึงในฤดูใบไม้ร่วง  มองเห็นดงแอสเพนสีทองใกล้ๆ กระจายตัวอยู่ในหุบเขาสวยงามมาก    เลยเหมือนได้ของแถม  นั่งเครื่องชมยอดเขาฟรีไม่เสียเงิน
แต่ส่วนเสียคือ เครื่องบินบินต่ำ  ก็ต้องบินขึ้นๆลงๆ ตามยอดเขา    เปลี่ยนระดับตลอด  นักบินนั้นฟังจากเสียงผ่านลำโพงคงจะหนุ่มมาก พูดจาขี้เล่นกับผู้โดยสาร ซ้ำผาดโผนสมวัยหนุ่ม   
แกดึงเครื่องบินขึ้นบ้าง ลดต่ำแบบโฉบลงสู่หุบเขาบ้าง    ยิ่งเวลาใกล้จะลงสนามบินด้วยแล้วแกก็บอกว่า ท่านผู้โดยสารครับ กระผมจะพาชมวิวของสนามบินให้ทั่วถึงนะขอรับ   ว่าแล้วก็ควงเครื่องบินร่อนเป็นวงกลม เอียงปีกแฉลบลงมา มองเห็นพื้นดินตะแคงขึ้นมาข้างปีกให้เมาเล่น  ก่อนจะลงรันเวย์ล้อกระแทกพื้นดังตึง ผู้โดยสารหัวสั่นหัวคลอนส่งท้าย 
แต่ว่าปลอดภัยดีทุกอย่างค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 05:58

นี่คือรูปถ่ายทางหน้าต่างเครื่องบินจากเครื่อง UA   ระหว่างนั่งเครื่องจาก  Ontario ในคาลิฟอร์เนีย  มุ่งหน้าข้ามเทือกเขา  แต่คงไม่ใช่ร็อคกี้ น่าจะผ่านอริโซน่าหรือเนวาดา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 06:01

รูปซ้ายบนที่เห็นขาวๆคือหิมะบนยอดเขา  ไม่ละลายแม้แต่เข้าฤดูร้อนแล้ว  
รูปที่สองกับสามคือภูเขาหิน น่าจะในอริโซน่าหรือเนวาดา  ยังไม่ได้ไปเปิดแผนที่ดูว่าข้ามรัฐไหนมาบ้าง    เป็นหินอะไรแบบไหนไม่มีความรู้  ต้องยกให้คุณตั้งค่ะ
ส่วนรูปที่สี่คือถนนตัดเข้าไปในหมู่บ้านบนภูเขา   พวกบ้านฟาร์มในชนบท เขาอยู่กันแบบนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 06:07

พอพ้นจากเทือกเขาลงสู่ที่ราบ   เมืองก็เริ่มมีให้เห็น หนาตาขึ้นทุกที  จากเมืองเล็กมาเป็นเมืองใหญ่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 06:09

ภาพสุดท้ายนี้ก่อนถึงสนามบินค่ะ
สนามบินของรัฐนี้ ไม่ได้อยู่ในเมืองอย่างนิวยอร์คหรือแอลเอ   แต่ว่าไปตั้งอยู่ในทุ่งชานเมืองห่างจากตึกรามบ้านช่องไปไกลมาก  เวลาเครื่องจะลง ก็เลยต้องผ่านชนบทชานเมืองไปก่อน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 10:05


สิ่งที่กลัวกว่าการขึ้นเครื่องบินคือ เรื่องการปวดแก้วหูอย่างแรง จะได้ว่าเคยเดินทางด้วยเครื่องบินเล็กในประเทศ ตอนเครื่องร่อนลง

รู้สึกปวดหูอย่างรุนแรง พยายามหายใจเข้าแล้วกลั้นลมหายใจเพื่อช่วยลดความเจ็บปวด รู้สึกเหมือนมีลมออกหู (ทั้งที่ไม่ได้โกรธจัด)

รู้สึกดีขึ้นแป้บหนึ่ง แล้วก็เป็นอีก กว่าเรื่องจะจอด ก็เล่นเอาปวดในหูมาก แต่พอเครื่องนิ่งแล้วอาการก็หายไป ....รู้สึกขยาดกับเครื่องบินในประเทศมากคะ

ขอถามท่านผู้รู้ มีใครเป็นอย่างนี้บ้าง และควรจะแก้ปัญหาแรงกดดันที่แตกต่างนี้อย่างไรคะ

          ประสบปัญหานี้เช่นกัน ครับ

                    (ท่อ) Eustachian Tube Dysfunction

http://www.rcot.org/data_detail.php?op=knowledge&id=139

           วิธีแก้ไขที่ได้ผลดีที่ทำอยู่คือ การใช้ยาพ่นจมูกที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือด (topical decongestant
เช่น ephedrine, oxymetazoline) ก่อนการขึ้น-ลงเครื่องบิน เมื่อจมูกไม่คัด ท่อ ET ไม่มีปัญหา
การทำงานบกพร่อง ก็ไม่เกิดอาการปวดหู(รุนแรง) ครับ

            ยาพ่นจมูกให้โล่งนี้ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 5 วัน เพราะจะมี rebound จากโล่งๆ
กลับมีอาการคัดจมูกได้ ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 12:41

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาหูอื้อเวลาเครื่องบินเปลี่ยนระดับการบินเหมือนกันครับ

ทางแก้แบบไม่ต้องใช้ยามีอยู่หลายวิธี แต่อาจจะเสียบุคคลิกบ้างนะครับ
1. กลืนน้ำลายบ่อยๆ วิธีนี้ได้ผลไม่ดีมากนัก เพราะกลืนจนไม่รู้จะกลืนอะไร ลืมไปซะงั้น ผลคือหูอื้อเหมือนเดิม
2. เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือลูกอม วิธีนี้จะว่าไปก็เป็นพัฒนาการของวิธีแรกนั่นแหละครับ แต่เท่าที่ลองมา ดูเหมือนหมากฝรั่งจะให้ผลดีกว่าลูกอมครับ เพราะขากรรไกรต้องขับบ่อยๆ ช่วยปรับความดันในตัว แต่ข้อเสียคือกินแล้วปากหวาน ไม่ใช่ว่าพูดเพราะน่าฟังนะครับ แต่บางคน(เช่นผม)รำคาญกับสถานการณ์เช่นนี้ ต้องรีบหาน้ำดื่มมาล้างปาก ทำให้ไม่อยากใช้วิธีนี้เท่าไหร่
3. เคลียร์หู วิธีนี้เป็นวิธีของนักดำน้ำ มีเพื่อนนักดำน้ำมาสอนผม วิธีนี้เสียบุคคลิกอยู๋บ้าง ต้องปิดปากให้สนิท เอามือบีบจมูกไว้แล้ว หายใจออกแรงๆให้ลมไปดันออกหูเพื่อปรับแรงดัน วิธีนี้ต้องทำเป็นระยะๆ อย่าปล่อยให้หูอื้อหนักๆแล้วค่อยทำ เพราะบางทีไม่ได้ผล จะทรมานมากครับ
4. อ้าปากให้กว้างที่สุดค้างเอาไว้ วิธีนี้เสียบุคคลิกอย่างแรง แต่ได้ผลดีมาก โดยมากผมจะใช้เวลาเครื่องขึ้นหรือลง โดยเฉพาะกับสายการบินบางสาย (เช่นพวกโลว์คอสต์) ที่ชอบใช้วิธีดำดิ่งลงจอดประหนึ่งจะดำลงทิ้งระเบิด ช่วงเวลาที่เขาลดระดับแรงๆนี้ ถ้าใช้วิธีเคลียร์หูคงต้องทำทุก 5 วินาทีถึงจะเคลียร์ทัน ดังนั้นวิธีอ้าปากกว้างนี่แหละจะเหมาะที่สุดในสถานการณ์นี้ครับ อ้อ... อย่าลืมเอามือปิดปากเสียด้วยนะครับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 12:48

^


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 15:15

           อ่านที่คุณม้าเขียนแนะนำวิธีปฏิบัติแล้ว เหนื่อยแทน และ ทำแล้วอาจไม่ได้ผลถ้าหากเป็นมาก
           ขอบอกว่า จากประสบการณ์ที่ต้องปวดหูอย่างทรมานยาวนานบนเครื่อง กลืนน้ำลาย
ก็แล้ว เคลียร์หูก็แล้ว ไม่ได้ผล
           การใช้ยาพ่นจมูกคือทางเลือกที่ดีที่สุด สะดวก สบาย ง่ายดาย ได้ผลชะงัดจนติดใจ ครับ  


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 22:06

อาการหูอื้อจากการเปลี่ยนความกดดันของอากาศด้วยความรวดเร็วนี้ จะเกิดขึ้นอย่างค่อนข้างจะรุนแรงกับคนที่มีอาการภูมิแพ้ที่แสดงอาการออกมาทางน้ำมูกน้ำตาไหล

ครั้งหนึ่งในช่วงที่ต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน ผมเป็นหวัด มีน้ำมูก ปวดหูแทบตายเลยครับ ต่อไปคงจะต้องลองยาพ่นจมูกเพื่อลดการขยายตัวของหลอดเลือดในโพรงจมูกตามที่คุณ SILA แนะนำครับ

ตามปรกติ เครื่องบินที่บินในระดับสูงจะต้องมีการปรับความดันของอากาศภายในห้องโดยสาร ซึ่งส่วนมากก็จะปรับให้เป็นความดันไม่เกินที่ระดับความสูงเหนือพื้นดินประมาณ 8,000 ฟุต หากปรับไปที่ระดับสูงกว่านี้ ปริมาณอากาศก็จะเบาบางเกินไปทำให้ปวดหัว การปรับความดันในห้องผู้โดยสารเป็นระบบอัตโนมัติ และเข้าใจว่านักบินก็สามารถที่จะแทรกเข้าไปทำการปรับแต่งเองได้

การไต่ระดับหรือลดระดับของเครื่องบินด้วยความรวดเร็วย่อมทำให้เกิดอาการหูอื้อเป็นธรรมดา  ดังนั้น การขับเครื่องบินเพื่อให้ผู้โดยสารมีความรู้สึกสะบาย จึงเป็นศิลป (art) อย่างหนึ่ง กัปตันที่มีฝีมือดีๆจะเป็นผู้ที่มีความเข้าใจถึงศิลปต่างๆในการบินเป็นอย่างดี และจะใช้ฝีมือของตนผสมผสานไปกับระบบการบินแบบอัตโนมัติของเครื่อง อย่่างหนึ่งที่ทราบก็คือ การปรับความดันภายในเครื่องนั้นอาศัยเครื่องยนต์ของเครื่องบิน เมื่อใดที่กัปตันเบาเครื่องเพื่อลดระดับร่อนลงโดยไม่มีการเร่งเครื่องเป็นช่วงๆ  แทบจะบอกได้เลยครับว่า ทุกคนจะมีอาการหูอื้อแน่นอน

เท่าที่เคยสนทนากับนักบินมา นักบินหลายคนไม่มีศิลปในการขับเครื่องบิน ทุกอย่างที่กระทำไปเป็นไปตามขั้นตอนในทันที ไม่รู้จังหวะที่จะทำให้นุ่มนวลขึ้น  เหมือนการขับรถยนต์ คนขับบางคนขับรถในบริเวณทางโค้งไปมาโดยที่ผู้โดยสารไม่มีอาการเมา แต่บางคนก็ขับแบบเหวี่ยงไปมาอย่างรุนแรง ทำให้ผู้โดยสารเมาไปตามๆกัน

   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 04:06

เห็นจะต้องเชียร์สายการบินของประเทศเราไว้ตรงนี้โดยไม่มีค่าโฆษณา  ว่ากัปตันแต่ละเที่ยวที่เจอมา ขึ้นลงได้นิ่มนวลมากค่ะ   เวลาร่อนลงก็นิ่ม   ไม่เคยปวดแก้วหูมากมาย แค่จี๊ดๆนิดหน่อย  พอลงมาถึงพื้นดินก็หาย   

เคยนั่งสายการบินของประเทศหนึ่งในเอเชีย (ที่พวกเราไม่ค่อยจะได้นั่งกันนัก  แต่ไม่มีทางเลี่ยงเพราะคราวนั้นไปทัวร์)  พอลงพี่แกพาล้อกระแทกรันเวย์ดังโครมใหญ่  ผู้โดยสารแทบกระดอนจากเก้าอี้  จากนั้นก็วิ่งตามรันเวย์พาพวกเราหัวสั่นหัวคลอนกันไปจนนึกว่าจะพุ่งออกไปทุ่งนาเสียแล้ว
จึงมีโอกาสเปรียบเทียบกันว่า อ้อ ศิลปะการขับเครื่องบินของแต่ละคนไม่เหมือนกันแฮะ   ไม่ใช่ว่ามีเครื่องบินรุ่นเดียวกัน ชนิดเดียวกันแล้วจะทำให้การบินเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 21:41

ดิฉันไม่รู้สึกเจ็บหูมากจนทนไม่ไหว ถ้าใช้เครื่องของการบินไทยที่บินระหว่างประเทศ

คงเป็นเพราะเครื่องมีนาดใหญ่กว่า และการปรับสภาพภายในห้องโดยสารเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

และการบินก็ดี  เสียแต่ไม่มีอุปกรณ์ให้ผ่อนคลายระหว่างการเดินทาง เลยน่าเบื่อมาก....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 07:34

เพิ่งมารู้เรื่องยาพ่นจมูกว่าช่วยอาการปวดหูได้จากคุณ SILA นี่แหละค่ะ  คุณพวงแก้วมีทางออกแล้วนะคะ  จะได้บรรเทาความทรมานจากอาการปวดหูได้

ปัญหาหญ้าปากคอกอีกอย่างของการเดินทาง แต่เกิดขึ้นได้ คือพลาดเที่ยวบิน
ควรไปถึงสนามบินก่อนเวลาเดินทาง อย่างน้อย 2 ชั่วโมงค่ะ   อย่าประมาทว่าโอ๊ยแค่นี้เอง    เพราะเราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่าสนามบินที่จะไปคิวตรวจหนังสือเดินทาง กับคิวเช็คความปลอดภัยมันยาวเหยียดหรือสั้นนิดเดียว      อย่างสุวรรณภูมินี่ละค่ะ บางทีคิวที่จะผ่านด่านยาวเหยียดเป็นงูกินหาง    สนามบินใหญ่ๆบางแห่งคนแห่กันไปมากในชั่วโมงนั้น  ด่านตรวจ security ก็เข้มงวด  กว่าจะหลุดออกไปได้ก็เหนื่อย  หรือเจ้าหน้าที่เกิดสงสัยเรียกตัวตรวจสอบซ้ำ เสียเวลาไปมากกว่าที่คิด ก็แทบประสาทกินเหมือนกัน

ครั้งหนึ่งเคยไปสัมมนาปฏิบัติการหรือ workshop ที่บาหลี    ไปขึ้นเครื่องช้ามาก (เป็นความผิดของตัวเองที่ออกจากบ้านช้า และรถติดตามเคยของกรุงเทพ)  วิ่งขึ้นเครื่องทันก็จริง  แต่กระเป๋าเดินทางโหลดไม่ทัน     กลายเป็นส่งไปอินเดียแทน    ก็เลยไปถึงบาหลีแต่ตัว
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 15:33

         นอกจากเหตุการณ์ เดินทางถึงที่หมาย(บาหลี)แต่ตัวที่อาจารย์เล่าแล้ว

           สิ่งที่น่าวิตกกังวลอีกอย่างหนึ่งก็คือ กระเป๋า หรือเงินทอง ของมีค่าหายไป
ระหว่างการเดินทาง

           เพื่อนเดินทางไปลาวด้วยสายการบินแห่งชาติเรา แล้วกระเป๋าหายได้ค่ารับผิดชอบ
หกพันบาท ซึ่งไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

            ส่วนข่าวนี้ เหตุเกิดเมื่อพ.ค. ปีนี้ ที่สนามบิน Heathrow

            Kim Kardashian  American reality TV star กล่าวหาว่าพนักงานของ
British Airways ขโมยของมีค่าจากกระเป๋าเดินทางของเธอ หนึ่งในนั้นคือแว่นกันแดด
ที่บิดาได้มอบให้เธอก่อนเสียชีวิต

            สนามบินนี้ในอดีตเคยถูกเรียกว่า Thiefrow ในช่วง 1980s มาแล้ว เพราะเกิดเหตุขโมย
ของจากกระเป๋าผดส. หลายครั้ง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 15:41

               นอกจากพนักงานแล้ว ยังมี ผู้โดยสารขโมย อีกด้วย ครับ
เคยอ่านพบจากหนังสือพิมพ์ ไม่นานมากนัก 

            เนื้อหาบอกว่า เป็นสายการบินไทยเที่ยวบินนอกประเทศ พนักงานกระซิบบอกผู้โดยสาร
ที่คุ้นเคยว่ามีผู้ต้องสงสัยในเที่ยวบินนี้ แต่ก็ไม่ได้มีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษแต่อย่างใด ยังคงให้บริการ
ผู้โดยสารตามปกติตลอดเส้นทาง
            จนกระทั่งเมื่อถึงจุดหมาย ปรากฏว่า กัปตันให้ผดส.ทุกคนอยู่ในเครื่องต่อไปก่อน
สักครู่จึงมีตำรวจขึ้นมาตรวจค้นและจับตัวขโมยที่แฝงตัวเป็นผดส. ในเที่ยวบินนั้นได้

            ส่วนข่าวนี้ เป็นของฝรั่งเศส เหตุเกิดเมื่อสองปีก่อน ครับ

            โฆษกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สนามบิน ชาร์ล เดอ โกล กล่าวว่าคดีนี้กำลังอยู่ในระหว่างการสืบสวน
หลังจากเว็บไซต์ เลอ ฟิกาโร่ รายงานข่าวที่ผู้โดยสารชั้นบิสซิเนส คลาส 5 ราย ถูกล้วงกระเป๋าขณะหลับ
รวมจำนวนเงินที่สูญหายราว 4,000 ยูโร (191,000 บาท)

          เลอ ฟิกาโร่ อ้างคำพูดของผู้เสียหายรายหนึ่งที่เล่าว่าเที่ยวบินนี้ออกจาก โตเกียว นาริตะ เวลา 22.00 น.
และผู้โดยสารมักจะหลับสนิทก่อนที่จะถึง ปารีส ในเวลา 4.00 น.
          ขณะที่โฆษกหญิงของสายการบินแอร์ ฟรานซ์ บอกว่าการที่ผู้โดยสารหลายรายแจ้งเหตุถูกขโมยพร้อมๆกันนี้
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก อย่างไรก็ตาม โฆษกหญิงกล่าวว่า สายการบินมีหน้าที่รับผิดชอบกระเป๋าของผู้โดยสาร
ขณะที่ผู้โดยสารก็ต้องดูแลรับผิดชอบของมีค่าที่ติดตัวในขณะเดินทางเองด้วย   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง