เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 53930 การพระศพ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 01:07

วังบางขุนพรหม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 01:35

ชะตากรรมของสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์ฯ เป็นเรื่องน่าเศร้าเรื่องหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย    เพราะเรื่องต่างๆที่เข้ามากระทบกระเทือนมิได้เกิดจากพระองค์เองแม้แต่น้อย   เป็นผลจากการกระทำของบุคคลภายนอกทั้งสิ้น
อย่างในสมัยรัชกาลที่ ๖  เมื่อเยอรมันเรืองอำนาจ จนก่อสงครามโลกครั้งที่ ๑   ก็ทรงถูกเพ่งเล็งว่ามีกลุ่มถือหางเยอรมันจะหนุนพระองค์ท่านขึ้นเป็นใหญ่   เอาเข้าจริงก็ไม่มีอะไรในกอไผ่   แต่ก็ทรงถูกระแวงและถูกจับตาอยู่นาน

ชะตากรรมทางการเมืองเมื่อปี ๒๔๗๕ ก็เป็นอีกเรื่องที่บุคคลภายนอกก่อขึ้นโดยตรง    มิหนำซ้ำผู้ลงมือก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากผู้ที่ทรงชุบเลี้ยงไว้วางพระทัยมาเอง     แต่ถึงกระนั้น เมื่อเสด็จลี้ภัยจากสยามไป   เวลาที่เหลือจากนั้นก็ทรงสร้างสรรค์งานคีตศิลป์และวรรณศิลป์ไว้เป็นสมบัติของชาติอีกมากด้วยกัน

ขอพูดทางด้านดนตรีก่อนค่ะ
เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์โปรดดนตรีไทยมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์  ทรงซออู้ร่วมบรรเลงดนตรีมาตั้งแต่พระชนม์น้อยนิดเดียว  ก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาในทวีปยุโรปเสียอีก
ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษและเยอรมัน ได้ทรงใช้เวลาว่างศึกษาดนตรีเป็นส่วนพระองค์  จนแตกฉานถึงขั้นอ่านเขียนโน้ตสากล และแยกเสียงประสานดนตรีได้
หลังจากทรงศึกษาจบวิชาทหารในประเทศเยอรมันแล้ว เสด็จกลับมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๖   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงไปควบคุมงานที่กระทรวงทหารเรือ    จึงทรงปรับปรุงกองแตรวง และวงดนตรีไทยของกองทัพเรือ จนรุ่งเรื่อง  โปรดฯให้ จางวางทั่ว  พาทยโกศล และนางเจริญ  พาทยโกศล เข้าไปเป็นครูต่อทางเพลงทั้งบรรเลงและทางร้องเป็นประจำ    ส่วนพระองค์เองก็ทรงแยกเสียงประสานประทานแก่กองแตรวงทหารเรือ  ทำให้วงดนตรีของกองทัพเรือ ได้ทางดนตรีของบ้านฝั่งธนบุรีของบ้านจางวางทั่วไปทั้งหมด  และยังคงใช้บรรเลงขับร้องมาจนทุกวันนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 01:37

  เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ทรงมีนายทหารมหาดเล็กที่มีความรู้ทางดนตรีชื่อ เรือตรีสุทธ์  ศรีชญา (ต่อมาย้ายไปรับราชการในกองทัพบก ได้เป็นพันตรีหลวงประสานดุริยางค์)  เป็นผู้รับกระแสรับสั่งลงมาจัดการทั้งหมด เข้าใจว่าในปลายรัชกาลที่ ๕  ได้ทรงนิพนธ์เพลงฝรั่งขึ้นหลายเพลง อาทิ เพลงวอลซ์ประชุมพล เพลงจังหวะโปลก้า ชื่อมณฑาทอง เพลงมาร์ชบริพัตร เพลงวอลซ์เมขลา วอลซ์ปลื้มจิต แต่ไม่ทราบวันเดือนปีที่ทรงไว้แน่นอน

    และแล้ว ก็มาถึงเพลงไทยเดิมสำคัญที่สุดเพลงหนึ่งในพระประวัติ  คือ แขกมอญบางขุนพรหม ที่นักดนตรีไทยเดิมย่อมจะรู้จักกันดี
    ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๒ เสด็จไปควบคุมงานก่อสร้างพระราชวังบ้านปืน จังหวัดเพชรบุรี   ระหว่างที่ควบคุมการก่อสร้างนั้น
ได้ทรงนิพนธ์เพลงแขกมอญบางขุนพรหมขึ้น โดยทรงบอกทำนองเพลงประทานให้เรือโทขุนประสานดุริยางค์ (สุทธิ์) จดลงเป็นโน้ตสากลไว้จนครบเป็นเพลงเถา เมื่อเสด็จกลับมา ได้ประทานให้กองแตรวงทหารเรือบรรเลงเป็นปฐมฤกษ์ โดยมีนางเจริญ  พาทยโกศล
เป็นผู้เลือกบทและสร้างทางขับร้อง   นางเจริญจึงเป็นผู้ขับร้องเพลงนี้เป็นคนแรก
     สำหรับทางบรรเลงปี่พาทย์นั้น จางวางทั่วเป็นผู้ปรับทางจากโน้ตสากลทางแตรวง มาบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์และมโหรี
   
     ถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๑  วงดนตรีวังบางขุนพรหมได้บันทึกแผ่นเสียงไว้กับห้างสุธาดิลกเป็นแผ่นเสียงตราพาโลโฟน มีเพลงแขกมอญบางขุนพรหม เพลงตับมโหรีของเก่าหลายตับ เช่น เพลงตับพระนาละ เพลงตับนางลอย ตับนาคบาศก์ และตับพรหมมาศตร์  ตับแม่งู เพลงสมโภชน์พระเศวตคชเดชดิลก (ช้างเผือกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ฯลฯ )ที่สำคัญได้ประชันวงกับวงดนตรีวังอื่นๆ อาทิ วงวังบูรพาภิรมย์  วงวังบางคอแหลม วงหลวง ฯลฯ ดังปรากฏบันทึกการประชันในปี พ.ศ. ๒๔๖๖  และที่วังลดาวัลย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓     
   
     โน้ตต้นฉบับเพลงแขกมอญบางขุนพรหมทางที่หนึ่ง  ซึ่งยังไม่ได้ใส่เสียงประสานอย่างสมบูรณ์นั้น ยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่กองดุริยางค์ทหารเรือ จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๔  เรือเอกสราญ  เรืองณรงค์ได้นำมาบรรเลงในงานบันทึกเสียงฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี พระชนมายุ (บันทึกเสียงที่ศาลาดุสิดาลัย)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 01:38

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 06:37

จากเวปของกองดุริยางค์ทหารเรือ


ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพัฒนาการทหาร ให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศจึงทรงสนับสนุนให้มีวงดนตรีเพื่อการเดินสวนสนามของทหาร ตามแบบตะวันตกและในปีพ.ศ.๒๔๒๑ได้มีการก่อตั้งหน่วยดุริยางค์ของทหารเรียกว่า"กรมแตรมะรีน"เป็นแตรวงสำหรับทหารเรือฝ่ายบกของกรมแตรมะรีน มิได้มีหน้าที่บรรเลงให้หน่วยของทหารเรือฝ่ายบกอย่างเดียว ยังได้บรรเลงบนเรือรบในพิธีการสำคัญเช่น เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ครั้งแรกเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีเมื่อ ปีพ.ศ.๒๔๔๐ การไปราชการในครั้งนั้นได้มี "ร้อยเอกฟุสโก"เป็นผู้บังคับบัญชากองดุริยางค์ทหารเรือ

ได้มีการบรรจุในอัตรากำลังของกองทัพเรือเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ มีชื่อว่า "กองแตร" ขึ้นการบังคับบัญชากับกรมทหารเรือฝ่ายบกมีเรือเอกหลวงพิมลเสนี ผู้บังคับกองแตร ซึ่งในขณะนั้น จอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็น ผู้บัญชาการกรมทหารเรือพระองค์ทรงโปรดการดนตรีและสนพระทัยวงดนตรีทหารเรือมากได้ทรงวางรากฐานในด้านต่างๆจนทำให้กองแตรเจริญก้าวหน้า และพัฒนาขึ้นอย่างมากเป็นผลมาถึงปัจจุบันทรงนิพนธ์เพลงไทยไว้หลายเพลง ทรงกำหนดหลักสูตรการศึกษาวิชาการดนตรี เรียกว่า"วิชาการแตร" เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ ซึ่งนับว่าดนตรีของทหารเรือ ได้เจริญขึ้นอย่างมากสมดังพระประสงค์ของพระองค์ท่าน ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งวงดุริยางค์ มีชื่อว่า "วงเครื่องสายฝรั่งหลวง"สังกัดกรมมหรสพ กระทรวงวัง หลังจากนั้นมาวงดนตรี ประเภทวงดุริยางค์เริ่มเป็นที่สนใจของคนไทยทั่วไป ในปีพ.ศ.๒๔๗๘ วงดนตรีของทหารเรือ ซึ่งเดิม ชื่อว่า "กองแตร" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "หมวดดุริยางค์ทหารเรือ" ขึ้นการบังคับบัญชา กับสถานีทหารเรือกรุงเทพมีการขยายอัตรากำลังพลเพิ่มขึ้นแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๒ส่วนคือ แผนกแตรวง และแผนกซอวงซึ่งแผนกซอวงก็คือวงดุริยางค์ราชนาวี

กองดุริยางค์ทหารเรือได้พัฒนาปรับปรุงให้เจริญก้าวหน้า ตลอดเวลาทั้งในด้านองค์บุคคลและองค์วัตถุได้จัดตั้งโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ เพื่อรับบุคคลพลเรือนเข้ามารับการฝึกหัดเป็นนักดนตรีทหารเรือต่อมาสามารถจัด วงดุริยางค์ซิมโฟนี่ แสดงในรูปแบบคอนเสิร์ตเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๒ และจัดตั้งวงดนตรีไทยเดิม วงหัสดนตรีนักร้องประสานเสียง เพื่อปฏิบัติภารกิจทั้งในงาน พระราชพิธี รัฐพิธี และงานบรรเลงต่างๆ จนได้รับคำชมเชย และสร้างชื่อเสียงให้กองทัพเรือ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 06:50

บางตอนจาก บันทึกความทรงจำบางเรื่อง ของ หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม บริพัตร ในทูลกระหม่อมบริพัตร


เหตุที่ข้าพเจ้าคิดจดความจำนี้ขึ้น เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้เชิญพระศพทูนหม่อมมาจากเกาะชวา ตั้งพระศพที่พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ถึงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๑ กองทัพเรือได้บำเพ็ญกุศลถวาย เป็นเวลาที่ข้าพเจ้าสบาย จึงได้ไปในงานพิธีนี้ด้วย เมื่อได้เห็นนายทหารเรือทั้งกองขึ้นไปบนพระที่นั่ง ก็ไม่รู้จักใครเลยสักคนเดียว ข้าพเจ้าขอบใจมากที่กองทัพเรือยังไม่ลืมทูนหม่อม แต่รู้สึกเศร้าใจอย่างไรพิกล เมื่อเสร็จพิธีกุศลแล้ว หลวงสินธุ์สงครามชัย แม่ทัพเรือ ได้ถามลูกชายว่าทูนหม่อมได้ทรงทำการสิ่งใดในทหารเรือบ้าง ลูกชายบอกว่า "ถามแม่คงจะตอบได้ดี" หลวงสินธุ์ฯ จึงได้ลุกมาหาและสอบถามข้าพเจ้าถึงเรื่องทูนหม่อมทรงงานสิ่งใดระหว่างทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ข้าพเจ้ากำลังตื้นตันไปด้วยความเศร้าเลยบอกปฏิเสธไปว่าไม่ทราบ เขาได้ถามถึงเรื่องเพลงต่างๆ ที่ทรงแต่งประทานแตรวงทหารเรือ หลวงสินธุ์ฯ ได้ถามถึงร่าง ข้าพเจ้าได้ตอบว่าไม่มี หลวงสินธุ์ฯ ได้พูดต่อไปว่าคงจะสูญหายตอนสงคราม ภายหลังข้าพเจ้าฟังวิทยุ ได้ยินแตรทหารเรือบรรเลงเพลงแขกมอญบางขุนพรหม และดอกไม้ไทรที่ทูนหม่อมทรงแต่ง หลวงสินธุ์ฯ คงจะไม่ทราบว่าเป็นเพลงของทูนหม่อม หลวงสินธุ์ฯ คนนี้ข้าพเจ้าเคยเห็นครั้งแรกเมื่อพระยาราชวังสันพี่ชายพาไปทูลลาทูนหม่อมเพื่อไปศึกษาวิชาทหารเรือยังต่างประเทศ และครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๒ ที่ได้เห็นและได้พูดด้วย หลวงสินธุ์ฯ ปรารภว่าจะพิมพ์หนังสือแจกในงานถวายพระเพลิงพระศพทูนหม่อม ข้าพเจ้าแนะนำให้วานพระยาศราภัยฯ แต่งจะได้เรื่องละเอียดดี เพราะเขาทำงานใกล้ชิดกับทูนหม่อมอยู่หลายปีตลอด จนออกจากทหารเรือ

ภายหลังข้าพเจ้ามานึกเสียใจที่ได้ปฏิเสธหลวงสินธุ์ฯ ไป เพระแท้จริงเรื่องที่เสด็จไปทรงงานทหารเรือ บัดนี้ไม่มีใครค่อยทราบกันแล้วว่าได้ทรงทำอะไรบ้าง เพราะผู้ที่ทำงานร่วมกันกับท่านครั้งนั้นก็เป็นคนผู้ใหญ่ทั้งนั้น เวลานี้ก็ล่วงลับไปหมดแล้ว เมื่อแรกเสด็จไปทรงงานพระชันษายังไม่เต็ม ๒๓ ปี ข้าพเจ้าอายุ ๑๗ ปีเศษ ผู้ที่ทำงานร่วมกับท่านมามากคือ มหาแสง นนทสุต (พระแสงสิทธิการ) ซึ่งเป็นเสมียนประจำพระองค์ ภายหลังได้เป็นนายเวร เป็นผู้ร่างคำสั่งและข้อบังคับต่างๆ บัดนี้ก็ถึงแก่กรรมไปแล้ว

ฯลฯ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 08:36

     หม่อมเจ้าประสงค์สม พระชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงอยู่ในราชสกุลไชยันต์  เป็นพระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  หม่อมมารดาคือหม่อมกลีบ ชูกะวิโรจน์
    ทรงมีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระบิดาและมารดา 2 องค์ คือ
    หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงษ์ ไชยันต์ (2426-2483) เสกสมรสกับ หม่อมหลวงคลอง สนิทวงศ์
    หม่อเจ้าหญิงประดับศักดิ์ ไชยันต์ (2434-2526)

   ทรงมีพระโอรสและธิดา 8 พระองค์ ซึ่งพระโอรสและธิดาทุกพระองค์แรกประสูติเป็น หม่อมเจ้า และได้รับการยกขึ้นเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทุกพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ

    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต (5 ธันวาคม พ.ศ. 2447 - 15 กันยายน พ.ศ. 2502) เสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล)
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงศิริรัตนบุษบง (4 มกราคม พ.ศ. 2449 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวงษ์วิจิตร (16 มีนาคม พ.ศ. 2450 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพิสิฐสบสมัย (21 กันยายน พ.ศ. 2451 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517) เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจุไรรัตนศิริมาน (21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) เสกสมรสกับ พลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทรกานตมณี (24 กันยายน พ.ศ. 2455 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงน้อง (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2462)
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปรียชาติสุขุมพันธุ์ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2463 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465)

หม่อมเจ้าพูนพิสมัยทรงบันทึกว่าหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร มีพระพลานามัยไม่สมบูรณ์  ประชวรอยู่เป็นประจำ  แต่ก็มีพระชันยายืนยาวถึง 70 ปี    สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499  


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 09:12

ขออนุญาตจบเรื่องทหารเรือ

ทุกวันที่ ๒๙ มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันประสูติของทูลกระหม่อม กองทัพเรือจะจัดงานวันบริพัตรขึ้นทุกปี เพื่อเทิดพระเกียรติ และเพื่อเป็นการสำนึกในพระกรุณาธิคุณของพระองค์ โดยปกติจะจัด ณ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ในระหวางที่ทูลกระหม่อมบริพัตรทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือเป็นเวลาประมาณ ๑๗ ปีนั้น พระองค์ได้ทรงวางรากฐานแห่งความเจริญด้านต่างๆให้กองทัพเรือในปัจจุบัน เช่น การจัดระเบียบราชการใน ทร. การจัดทำข้อบังคับสำหรับทหารเรือ การจัดตั้งโรงเรียนนายเรือ สร้างอู่ต่อเรือ จัดให้มีพระธรรมนูญศาลทหารเรือและกรมพระธรรมนูญทหารเรือ ปรับปรุงการสหโภชน์และตั้งโรงเรียนสูทกรรม กองดุริยาค์ทหารเรือ ตั้งคลังแสงทหารเรือ ปรับปรุงการแพทย์ทหารเรือให้เจริญ สนับสนุนการก่อตั้งราชนาวิกสภา กำหนดรูปแบบริ้วกระบวนเรือพระราชพิธี ปรับปรุงบทเห่เรือ และสร้างเรือพระราชพิธีขึ้นใหม่ เป็นต้น
 
จากการที่ทูลกระหม่อมบริพัตรทรงวางรากฐานแห่งความเจริญด้านการศึกษาให้กับนายทหารเรือไว้อย่างสำคัญดังกล่าวแล้ว เมื่อกองทัพเรือได้จัดตั้งสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง เพื่อฝึกและให้การศึกษาด้านวิทยาการทหารเรือแก่นายทหารชั้นสัญญาบัตร สอดคล้องกับพระกิจที่ทรงกระทำต่อทหารเรือในอดีต กองทัพเรือจึงพิจารณาให้ประดิษฐานพระอนุสาวรีย์ของจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตไว้ ณ สถานที่แห่งนั้น





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 12:51

     หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475   ประเทศต่างๆทั้งใกล้และไกลสยาม  กลายเป็นที่ประทับของเจ้านายสยาม ทั้งแบบชั่วคราวและถาวร  เพื่อลี้ภัยการเมือง   
พ.ศ. 2480   พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ทรงตัดสินพระทัยพาพระธิดาไปรับการรักษาพระพลานามัยในประเทศอังกฤษ    แต่ก่อนหน้านั้น    ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซียเพื่อให้ทรงคุ้นเคยกับการเดินทางไปต่างประเทศ อีกทั้งเพื่อเฝ้าเยี่ยมสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จฯ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ด้วย
   ทั้งสองพระองค์เสด็จถึงเมืองบันดุง  เพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ณ ที่นั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและพระธิดา ได้ทรงจัดการรับเสด็จอย่างสมพระเกียรติ ทั้งยังทรงนำเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ และพระนางเจ้าสุวัทนา ไปทอดพระเนตรสถานที่ต่างๆ ในเมืองบันดุงด้วยพระองค์เอง
    พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองศ์เจ้าศิริรัตนบุษบง พระธิดา ได้ทรงบันทึกถึงเหตุการณ์ตอนนี้ ไว้ว่า
        “สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา เคยได้เฝ้าพ่อบ้างแล้วที่กรุงเทพฯ      ครั้งนี้สนิทสนมมากทรงเกาะพระพาหาพ่ออยู่เรื่อย
ดูเหมือนจะทรงรู้สึกว่าขาดพ่อ ฝ่ายพ่อก็ทรงสงสาร  และรับสั่งว่าสงสารพ่อที่ไม่ทันเห็นลูกโต”
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 13:12

รูปหมู่งานแซยิดจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ บันดุง อินโดนิเซีย


บันทึกการเข้า
somchaisuriya
อสุรผัด
*
ตอบ: 51



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 19:25

เข้ามาอ่านแล้วได้รับความรู้มากเลยครับ

ขอบพระคุณมากๆ เลยครับ  ยิงฟันยิ้ม

ปล.ยังตามอ่านกระทู้  ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในสี่ทหารเสือคณะราษฎร์ ตั้งแต่เช้า ยังไม่จบเลยครับ
บันทึกการเข้า

เป็นภารโรงอยู่ที่ www.cameraeyes.net
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 20:09

ยินดีครับ

ขอบคุณมากที่แจ้งให้ทราบ
บันทึกการเข้า
somchaisuriya
อสุรผัด
*
ตอบ: 51



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 17:03

ยินดีครับ

ขอบคุณมากที่แจ้งให้ทราบ

เพิ่งอ่านกระทู้ พระยาทรงฯ จบวันนี้ครับ สนุกและได้ความรู้มากครับ

ว่าจะขอไล่กระทู้ของคุณ Navarat ที่มีโพสต์ไว้อีกนะครับ

ขอบพระคุณมากครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

เป็นภารโรงอยู่ที่ www.cameraeyes.net
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 13:32

ไปดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้ง  เพราะระหว่างไปหาหนังสือเล่มหนึ่งจะมาตั้งกระทู้  ก็กลับไปเจออีกเล่มหนึ่ง  (เหตุการณ์แบบนี้เกิดเป็นประจำ)
หนังสือเล่มที่เจอโดยบังเอิญ  มีพระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร     เรื่อง "ชีวิตลำเค็ญที่บันดุง  ประเทศอินโดนีเซีย"อยู่ในเล่มด้วย
ในนั้นเล่าถึงอาการประชวรและสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ไว้ค่อนข้างละเอียด  จึงขอนำมาลงในกระทู้นี้สำหรับผู้สนใจค่ะ

พ่อไม่ทรงสบายกระเสาะกระแสะมานานแล้ว   ในตอนที่ญี่ปุ่นยึดครองนี้(หมายถึงยึดครองอินโดนีเซีย) ประชวรมากด้วยโรคพระหทัยหลายครั้ง    และมีโรคไตพิการอีกด้วย    ระหว่างนี้หมอไม่ค่อยมี   เพราะถูกจับเข้าแค้มป์   ยาหายากด้วย แต่ไม่ถึงขาดแคลนทีเดียว     พ่อนั้นแม้จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างดีที่สุดแล้ว   ก็สู้โรคไม่ไหว   และสิ้นพระชนม์ลงในระยะที่อินโดนีเซียอยู่ใต้อำนาจญี่ปุ่นนี้เอง    เป็นอันว่าท่านไม่ต้องผจญกับชีวิตลำบากยากแค้น  ตอนที่ชาวอินโดนีเซียลุกขึ้นต่อสู้เพื่ออิสรภาพนั้นเลย   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 13:56

  เมื่อพ่อสิ้นพระชนม์แล้ว   พวกเรายิ่งเศร้า และรู้สึกว้าเหว่ขึ้นอีกเพียงไร  ผู้อ่านคงพอเดาได้    ฉะนั้นจึงจะไม่พรรณนาให้ยาวความ    แต่มีข้อที่น่าชื่นใจอยู่อย่างหนึ่งที่ในการเชิญพระศพไปฝังนั้น     งานได้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติที่สุดสำหรับเวลาตกยากในเวลานั้น    ท่านชาย(หมายถึงพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์) ยังมีอายุน้อยเพียง ๒๐ ปีเท่านั้น   แต่ได้แสดงความสามารถในการเป็นลูกชายของครอบครัวได้อย่างดี   ท่านชายและท่านน้อย(หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์) ช่วยกันไปหาที่สำหรับบรรจุพระศพ   และเลยตกลงกันว่าจะเชิญไปบรรจุที่ฝังศพสำหรับฝรั่ง  ซึ่งศพศศิพรรณ(ม.ร.ว.ศศิพรรณ สวัสดิวัตน์  พระธิดาในพระองค์เจ้าจันทรกานตมณีและหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ )บรรจุอยู่ที่นั่นแล้ว  แต่คนละทางกัน
ที่ฝังศพนี้เป็นธรรมเนียมของเขาที่จะขายเนื้อที่ให้พอเฉพาะฝังแต่ละศพเท่านั้น     และเมื่อศพฝังอยู่ในที่นั้นๆครบ ๒๐ ปีแล้วก็ต้องถูกขุดขึ้น   เอาไปฝังรวมๆกันไว้ทางอื่น   เพื่อให้มีที่พอสำหรับศพที่มาใหม่ต่อไป     เราเห็นกันว่าถ้าจะซื้อที่เพียงแต่เฉพาะเช่นนั้น   ที่บรรจุพระศพพ่อจะไม่งาม    และต่อไปอาจมีศพใครมาฝังเคียงข้างอยู่ก็ได้      พวกเราคนไทยในเวลานั้นมีอยู่ราว ๒๐ คน จึงเลยขอซื้อที่ฝังศพเตรียมไว้สำหรับ ๒๐ คน  แล้วใช้ที่ทั้งหมดสำหรับพระศพพ่อพระองค์เดียว    จึงมีเนื้อที่กว้างขวางพองาม   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง