เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20
  พิมพ์  
อ่าน: 166124 รูปถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4-5
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 27 มี.ค. 14, 16:12

เราพบรูปถ่ายมุมเดียวกันอีกชิ้นในแฟ้มผลงานของวิลเฮล์ม เบอร์เจอร์ ซึ่งชวนให้ประหลาดใจ เพราะคนสองคนทำงานห่างกันหลายปีแต่สร้างรูปที่ละม้ายคล้ายกันออกมาได้ ที่สำคัญรูปของเบอร์เจอร์ยังมีความคมชัดเหนือว่าภาพพิมพ์ของทอมสันเข้าไปอีก ชัดเจนสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ถ่ายไว้ก่อนเบอร์เจอร์จะเข้ามาบางกอกในพ.ศ. ๒๔๑๒ เสียอีก
 
ขั้นแรก เรามาเปรียบเทียบก่อนว่ารูปใหนถ่ายก่อนหลังกว่ากัน ข้อนี้ง่าย เพราะโครงหลังคาวัดราชประดิษฐ์นั้น ชี้ว่ายังไม่เห็นในรูปของทอมสัน แสดงว่าถ่ายไว้ก่อน ก็็ตรงตามลำดับเวลา ในเมื่อทอมสันเข้ามาเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๐๘ เบอร์เจอร์เข้ามาหลังจากนั้นอีกสี่ปี อาคารที่ก่อสร้างอยู่ริมน้ำก็ยืนยันเช่นนั้น ในรูปทอมสัน เพิ่งจะก่อผนัง มาถึงรูปเบอร์เจอร์ได้ฉาบผนังปูนเห็นเป็นสีขาวไปทั้งผืน
 
แต่ที่แปลกก็คือ รูปของเบอร์เจอร์นั้นถ่ายไว้ก่อนปีที่ทอมสันจะเข้ามาเสียอีก รูปของทอมสันซึ่งเก่ากว่า ก็จะยิ่งถ่ายไว้ก่อนทอมสันเข้ามา มากยิ่งขึ้นไปอีกเรากล้ายืนยันเช่นนั้น ก็จากหลักฐานหลายประการ
 
เราทราบกันแล้วว่า รูปในแฟ้มเบอร์เจอร์ เป็นส่วนหนึ่งของภาพมุมกว้างแม่น้ำเจ้าพระยา กับปรากฏการณ์เรือสำเภาร้อยลำ อันเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๗ สอดคล้องกับสภาพหลังคาวัดราชประดิษฐข้างต้น วัดนี้สร้างเสร็จอย่างรวดเร็วในเวลาไม่ถึงปี คือทรงซื้อที่สวนกาแฟของหลวงเมื่อพ.ศ. ๒๔๐๗ โปรดให้พระยาราชสงคราม (ทองสุก) เป็นแม่กองดำเนินการก่อสร้าง ในวันศุกร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด จุลศักราช ๑๒๒๖ ตรงกับวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๐๗ ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ ๗ เดือนจึงแล้วเสร็จ มีการฉลองวัดพร้อมทั้งเจ้าอาวาสใหม่ในปีรุ่งขึ้น ๒๔๐๘ รูปที่เห็นการสร้างโครงหลังคาพระอุโบสถ จึงน่าจะถ่ายระหว่างการก่อสร้าง แปลว่าก่อนทอมสันเข้ามาหนึ่งปี และก่อนเบอร์เจอร์ห้าปี
 
ภาพพิมพ์ของทอมสันยิ่งเก่ากว่ารูปเรือร้อยลำเข้าไปอีก เพราะถ่ายไว้ตั้งแต่ยังไม่ได้มีการสร้างวัด อย่างน้อยก็ยังไม่เห็นโครงสร้างอาคาร และตึกสองชั้นริมน้ำก็ยังไม่ได้ฉาบปูน แต่ที่น่าประหลาดใจกว่านั้นก็คือ เขาเป็นเจ้าของรูปที่สามารถต่อกันเป็นภาพมุมกว้างได้ ไม่ยักต่อ เก็บไว้เฉย ๆ จนตายไป จะบอกว่าเขาถ่ายไม่เป็นเห็นจะไม่ได้ เพราะเราพบภาพมุมกว้างอังกอร์วัดขนาดสามตอนต่อกันเป็น หลักฐานปรากฏอยู่ และเขายังเคยส่งรูปชุดบางกอกนี้ไปให้หนังสือพิมพ์ Illustrate London News ตีพิมพ์ โดยต่อกันเป็นภาพมุมกว้างด้วย แต่ไม่ต่อให้ครบขาดไปสองชิ้น นั่นอาจจะหมายความว่าเขา มิได้สนใจเรื่องนี้สักเท่าใดกระมัง ถ้างั้นเขาจะถ่ายมาทำไมล่ะ มันไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ เลยยิ่งกว่านั้น คำอธิบายรูปที่เราพบที่สถาบันเวลคัมนั้น ก็ชวนสงสัย เพราะผิดปกติวิสัยของคนที่ถ่ายรูป มาเอง จะบอกอะไรผิด ๆ เพี้ยน ๆ อย่างนั้น โดยที่เรารู้อีกด้วยว่า ทอมสันมีฐานวิชาการอย่างดี เขาไม่ใช่ช่างภาพที่หลง ๆ ลืม ๆ เลอะ ๆ เทอะ ๆ เว้นแต่จะจงใจ หรือไม่รู้จริง ๆ เป็นต้นว่า เขาอธิบายรูปพระเมรุรัชกาลที่ ๔ ว่า The cremation pyre of the 1st King of Siam, King Mongkut, son (Brir ?)ซึ่งอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง หรือเรียกพระที่นั่งสุทไธสวรย์ว่า The Kings Buddhist temple คือเรียกพระที่นั่งเป็นวัด และเขาจะมีรูปเมรุรัชกาลที่ ๔ ได้อย่างไร ในเมื่อขณะนั้น (พ.ศ. ๒๔๑๒) เขาหากินอยู่ที่ลอนดอนแล้วข้อน่าสงสัยอย่าง ยิ่งก็คือ คนอื่น ๆ มีรูปของทอมสันได้อย่างไร ถ้าไม่ได้ซื้อจากมือของเขา อย่างเช่นนางแอนนา ใช้รูปที่ตรงกันถึงหก-เจ็ดชิ้น โดยที่นางออกจากบางกอกก็ตรงไปสหรัฐ จะมีเวลาที่ใหนไปแวะซื้อรูปจากทอมสันที่ลอนดอน เช่นเดียวกันสุภาพบุรุษฝรั่งเศสและอเมริกันก็ใช้รูปเหล่านี้ เชื่อได้ยากเช่นกันว่าจะซื้อจากมือทอมสันเพราะเข้ามาหลังถึงสองสามปี คนเหล่านี้ควรจะได้รูปทั้งหลายจากแหล่งเดียวกันคือที่บางกอก ซึ่งทุกคนล้วนแวะมา และมีบางคนได้รูปที่สวยงามกว่าที่ทอมสันครอบครองอีกเสียด้วย

สุดท้าย ทอมสันเข้าไปถ่ายรูปในเขมรอยู่ ๔ เดือน ได้รูปมา ๖๐ ชิ้น ซึ่งเท่ากับกล่องไม้สามกล่อง แต่เราพบรูปที่ไมใช่เขมรเฉพาะที่ถ่ายสยามและบางกอกก็มากมายใกล้เคียงกัน  แปลว่าเขาผลาญกระจกไปกับการถ่ายรูปนอกเป้าหมายเสียครึ่ง ๆ คิดอย่างไรก็ไม่สมเหตุสมผล
 
สุดท้ายของสุดท้าย ทอมสันยังปล่อยไก่ฝูงใหญ่ เมื่อเขาวิจารณ์นางแอนนาที่อธิบายพระรูปโสกันต์ว่าเป็นเจ้าหญิง ในเมื่อเป็นพระราชพิธีของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ที่เป็นเจ้าชาย เรื่องเหลือเชื่อก็คืองานนี้ นางแอนนาถูก ทอมสันที่อ้างว่าเป็นช่างภาพ กลับจำรูปตัวเองไม่ได้ นี่ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าทอมสันจะถ่ายรูปที่อยู่ในคลังสะสมของเขาทุกชิ้น
 
เราลองมาสันนิษฐานดู ทอมสันเข้ามาบางกอก วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๐๘ วันที่๒๗ มกราคม ๒๔๐๙ เข้าเขมร ระหว่างนั้นจะถ่ายรูปได้สักเท่าใด ในเมื่อต้องสงวนกระจกไปใช้ในป่าดงเขมร เสร็จงานก็ขนของกลับอังกฤษ ใครจะไปทราบว่าทอมสันจะไม่แวะเรือนแพของนายจิตซึ่งมีโฆษณาลงในหนังสือพิมพ์บางกอก รีคอร์เดอร์ ตั้งแต่สามปีก่อนว่ามีรูปจำหน่ายมากมาย ใคร ๆ ที่ฉลาดก็คงกว้านซื้อรูปถ่ายของนายจิตติดตัวไปด้วย ถ้าฉลาดยิ่งขึ้นก็อาจจะขอก๊อปปี้กระจกไปด้วย
 
เมื่อกลับถึงบ้านเกิดเมืองนอน ใครจะไปสืบรู้ได้ว่า รูปใหนใครถ่าย กว่าจะมีคนรู้ ก็ผ่านไปกว่าร้อยปีแล้ว

คุณพิพัฒน์เองก็เคยเป็นชาวเรือนไทยท่านหนึ่ง

ชาวเรือนไทยท่านอื่นมีความเห็นด้วยหรือแตกต่างจากคุณพิพัฒน์ประการใดบ้างหนอ



 
บันทึกการเข้า
ไตรวุธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 27 มี.ค. 14, 19:23

พระเมรุมาศที่ปรากฏในรูปชุดนี้ถ้าตรงกับปีพ.ศ.ที่ระบุคือ พ.ศ.2408-2409 ก็น่าจะเป็นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 28 มี.ค. 14, 10:28

ภาพพระเมรุมาศในชุดนี้มีอยู่ ๒ ภาพ บรรยายว่า The cremation pyre of the 1st King of Siam, King Mongkut, son (Brir ?)   ภาพซ้ายบอกว่าถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๐๙ ส่วนภาพทางขวาบอกว่าถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐  โดย John Thomson ทั้ง ๒ ภาพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 28 มี.ค. 14, 10:42

ภาพพระเมรุมาศทางซ้ายมือ จากหนังสือ "พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์" โดย ศาสตราจารย์ น.อ.สมภพ ภิรมย์ ร.น. ราชบัณฑิต  ส่วนภาพพระเมรุมาศทางขวามือ จากหนังสือ "สมุดภาพสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์" คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จัดพิมพ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ จัดทำโดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำบรรยายยืนยันว่าเป็น พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ท้องสนามหลวง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๒

เขาจะมีรูปเมรุรัชกาลที่ ๔ ได้อย่างไร ในเมื่อขณะนั้น (พ.ศ. ๒๔๑๒) เขาหากินอยู่ที่ลอนดอน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 28 มี.ค. 14, 11:53

ดังนั้น

ภาพนี้ถ้าไม่ใช่เป็นฝีมือของ J. Thomson  จะเป็นของ F. Chit หรือเปล่าหนอ  ฮืม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 28 มี.ค. 14, 14:26

ไม่ใช่ ทอมป์สันหรอกครับ เพราะทอมป์สันออกจากกรุงสยามก่อนที่รัชกาลที่ ๔ จะสิ้นพระชนม์ ดังนั้นช่างภาพหลวงชาวไทย ก็มี นายโหมด กับ ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (F. Chit)
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 28 มี.ค. 14, 17:27

เคยอ่านผ่านว่าภาพนี้นายโหมด อมาตยกุล เป็นผู้ถ่าย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 29 มี.ค. 14, 14:55

เคยอ่านผ่านว่าภาพนี้นายโหมด อมาตยกุล เป็นผู้ถ่าย

น่าจะเป็นภาพนี้ซึ่งมีบันทึกว่า พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เป็นผู้ถ่าย  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 29 มี.ค. 14, 15:25

ขอบคุณครับคุณเพ็ญชมพู สำหรับความกระจ่าง

ผมเคยอ่านผ่านๆน่าจะเป็นบทความของคุณอเนก นาวิกมูล

แต่สำหรับภาพก็จำไม่ได้ว่าภาพไหนแน่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 29 มี.ค. 14, 19:16

รูปถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕
ห้องเครื่องในพระบรมมหาราชวัง  สตรีในภาพคือเจ้าจอมก๊ก อ. ค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 29 มี.ค. 14, 19:17

เจ้าจอมกับกล้องถ่ายรูป


บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 03 เม.ย. 14, 15:18

ตามมาอ่านอีกตามเคยเจ้าค่ะ อิฉันชอบภาพสตรีนุ่งโจงแต่งกายอย่างเก่าจะเอาไปแต่งตาม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
คนดีอยู่ไหนจ๊ะ?
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 04 ธ.ค. 15, 14:29

ไม่รู้ท่านเจ้าจอม กำลังทำอาหารอะไรอยู่นะครับเพราะเห็นมีการย่างไฟและข้างๆท่านเห็นถุงใส่ของเป็นตัวภาษาอังกฤษ Co**** อะไรสักอย่างครับ

มองเพลิน ๆ ไปเจอซ้ายมือของภาพมีเด็กนั่งอยู่ถึงกับสะดุ้งโหยง ใจหาบแว๊บ ไม่นึกว่าจะมีคนนั่งแอบอยู่ตรงนั้น คือเนียนไปกับภาพมาก อิอิ
บันทึกการเข้า
ไตรวุธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 10:18

ข่าวยูเนสโกประกาศ “ฟิล์มกระจก-ภาพต้นฉบับ” ยุค ร.4-6 เป็นมรดกความทรงจำโลกชิ้นที่ 5 ของไทย ในเวปมีรูปไฟล์ขนาดใหญ่สวยงามโหลดได้เลย

http://www.unesco.org/new/en/communication-and-information/resources/multimedia/photo-galleries/preservation-of-documentary-heritage/memory-of-the-world-nominations-2016-2017/thailand-the-royal-photographic-glass-plate-negatives-and-original-prints-collection/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 10:38

สุดยอดเลยค่ะ ขอบคุณคุณไตรวุธมาก
ภาพนี้ไม่เคยเห็น   มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ในภาพด้วยใช่ไหมคะ
ใครพอจะอธิบายได้บ้างคะ ขอบคุณล่วงหน้า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.101 วินาที กับ 20 คำสั่ง