เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20
  พิมพ์  
อ่าน: 165577 รูปถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4-5
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 10:46

สุดยอดเลยค่ะ ขอบคุณคุณไตรวุธมาก
ภาพนี้ไม่เคยเห็น   มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ในภาพด้วยใช่ไหมคะ
ใครพอจะอธิบายได้บ้างคะ



ภาพของเหตุการณ์ขณะเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถ่ายรูปเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.คลี่ สุทัศน์) เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นพระยาแรกนาในปีพุทธศักราช ๒๔๔๗ สถานที่ทรงบันทึกภาพนี้ คือด้านหลังพระที่นั่งอภิเษกดุสิต ภายในบริเวณพระราชวังดุสิตที่เห็นต้นไม้ร่มครึ้มอยู่ทางซ้ายมือนั้น ถัดไปอีกนิดหนึ่ง จะเป็นคลองร่องไม้หอม แลมีสะพานข้ามเชื่อมต่อไปยังพระที่นั่งวิมานเมฆอันเป็นพระฐานที่ประทับในเวลานั้น ส่วนทางด้านหน้าพระที่นั่งอภิเษกดุสิตอันเป็นสนามกว้างใหญ่ ใช้เป็นสถานที่สำหรับแรกนา หรือที่เรียกเต็มยศว่า “พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” เหมือนที่ทำปัจจุบัน ณ ท้องสนามหลวงนี่เอง

https://siamhistories.wordpress.com/ทรงฉายรูป-เรื่องราวที่
 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 18:22

ดูจากภาพข้างบนเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกรน่าจะเป็นพระยายืนชิงช้ามากกว่าครับ
เพราะถ้าเป็นพระยาแรกนามือขวาจะต้องถือปฏักซึ่งเป็นเครื่องยศของพระยาแรกนาด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 18:42

คุณวีมีมีความเห็นเช่นเดียวกับคุณหนุ่มสยาม

ผมอยากทราบว่าในรูปนี้ ทำอะไรกัน ที่ไหน และ มีใครบ้างครับ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำกับงานชักรูปที่พระราชวังสวนดุสิตครับ ในคราวพระยายืนชิงช้า (ม.ร.ว. คลี่ สุทัศน์) เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๗ ครับ

ครั้นเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๔๘ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๕๑ และปีระกา พ.ศ. ๒๔๕๒ เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ป่วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกให้เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกรเป็นพระยาแรกนาขวัญ การซึ่งได้ตำแหน่งพระยาแรกนาขวัญเช่นนี้ ไม่เป็นหน้าที่ซึ่งนำความยินดีมาให้แต่ฝ่ายเดียว เพราะถ้าฝนแล้ง ผู้แรกนามักถูกและเคยถูกราษฎรชาวนาติโทษต่าง ๆ พระยาแรกนาต้องรับผิดชอบอย่างนี้ตั้งแต่รัชกาลก่อน ๆ มา จนเข้าใจกันดี เมื่อถึงเวลาจะแรกนา ผู้ใดเป็นพระยาแรกนาขวัญต้องขวนขวายไปบูชา และขอพรต่อววัตถุและผู้ซึ่งตนนับถือ เพื่อจะให้เกิดผลไพบูลย์แก่การไร่นาตลอดปีนั้น เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกรนับได้ว่า เป็นผู้เคราะห์ดีในหน้าที่ที่กล่าวมานี้ผู้ ๑ ด้วยทุก ๆ ปีที่ท่านเป็นพระยาแรกนา เป็นปีที่ไม่ขาดแคลนในการไร่นาเลยสักปีเดียว

จากหนังสือ "คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก"
พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

http://guru.sanook.com/3882/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 08 ธ.ค. 17, 20:57

รายนาม พระยาผู้ยืนชิงช้า ในสมัยรัชกาลที่ ๕

๑.พระยาสีหราชเดโชชัย (พิณ) ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑
๒.พระยาสีหราชฤทธิไกร (บัว รัตโนบล) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๑๒
๓.พระยาราชสุภาวดี (เพ็ง เพ็ญกุล) ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง)
๔.พระยามหาอำมาตยาธิบดี (มั่ง สนธิรัตน์) ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔(ภายหลังเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์)
๕.พระยามหาอำมาตยาธิบดี (ชื่นกัลยาณมิตร) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕
๖.พระยาธรรมสารนิติ (พลับ อมาตยกุล) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖
๗.พระยาราชวรานุกูล (บุญรอด กัลยาณมิตร) ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗
๘.พระยาสาปนกิจโกศล(โหมด อมาตยกุล) ปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘
๙.พระยาศรีสหเทพ (หรุ่น ศรีเพ็ญ) ปีชวดพ.ศ.๒๔๑(ภายหลังเป็นพระยามหาอำมาตยาธิบดี)
๑๐.พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก โชติกพุกกณะ) ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐
๑๑.พระยาจ่าแสนบดี (เดช) ปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑
๑๒.พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (เผือก เศวตนันทน์) ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๒๒
๑๓.พระยานานาพิธภาษี (โต บุนนาค) ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๒๓
๑๔.พระยารัตนโกษา (จีน จารุจินดา) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๒๔(ภายหลังเป็นพระยา เพชรพิชัย)
๑๕.พระยาราชวรานุกูล (เวก บุณยรัตนพันธุ์) ปีมะเมียพ.ศ. ๒๔๒๕(ภายหลังเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช)
๑๖.พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียร โชติกเสถียร) ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๒๖
๑๗.พระยามนตีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๒๗
๑๘.พระยาอยุชิตชาญชัย (พึ่ง สุวรรณทัต) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘
๑๙.พระยามณเฑียรบาล (คง สโรบล) ปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙
๒๐.พระยาธรรมสารนิติ (ตาด อมาตยกุล) ปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐
๒๑.พระยาเกษตรรักษา (นิล กมลานนท์) ปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๑
๒๒.พระยาอิศรานุภาพ (เอี่ยม บุนนาค) ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๓๒
๒๓.พระยามหามนตรี (เวก ยมาภัย) ปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ (ภายหลังเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์)
๒๔.พระยาสีหราชเดโชชัย (โต บุนนาค) ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์)
๒๕.พระยาพิชัยบุรินทรา (ฉ่ำ บุนนาค) ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยากลาโหมราชเสนา)
๒๖.พระยาไกรโกศา (เทศ ภูมิรัตน) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๓๖
๒๗.พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์)
๒๘.พระยาวุฒิการบดี (ม.ร.ว.คลี่ สุทัศน์) ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร)
๒๙.พระยาราชวรานุกูล (อ่วม) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๙
๓๐.พระยาศรีพิพัฒน์ (หงส์ สุจริตกุล) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๔๐ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาศิริรัตนมนตรี)
๓๑.พระยาเพชรพิชัย (สิงโต) ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑
๓๒.พระยาอนุชิตชาญชัย (ทองคำ สีหอุไร) ปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาสีหราชฤทธิไกร)
๓๓.พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยะศิริ) ปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓(ภายหลังเป็นเจ้าพระยามหาอำมาตยาธิบดี)
๓๔.พระยาทิพยโกษา (หมาโต โชติกเสถียร) ปีฉลู พ.ศ.๒๔๔๔
๓๕.พระยาอภัยรณฤทธิ์(บุตร บุณยรัตน์พันธ์) ปีขาล พ.ศ.๒๔๔๕
๓๖.พระยาเทพอรชุน(เจ๊ก จารุจินดา) ปีเถาะ พ.ศ.๒๔๔๖
๓๗.พระยาอนุชิตชาญชัย(สาย สิงหเสนี) ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗
๓๘.พระยาประสิทธิ์ศัลยการ (สะอาด สิงหเสนี) ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๔๘(ภายหลังเป็นพระยาสิงหเสนี)
๓๙.พระยาบำเรอภักดิ์(เจิม อมาตยกุล) ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๙
๔๐.พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง(ม.ร.ว.ลบ สุทัศน์) ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๕๐(ภายหลังเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา)
๔๑.พระยาสีหราชเดโชชัย(ม.ร.ว.อรุณ ฉัตรกุล) ปีวอก พ.ศ. ๒๔๕๑ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต)
๔๒.พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ปีระกา พ.ศ. ๒๔๕๒ (ภายหลังเป็นเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี)

https://www.facebook.com/ktu.in.th/photos/a.131366020275121.31984.105280842883639/613617022050016/
บันทึกการเข้า
ราชประชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 10



ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 25 ธ.ค. 17, 23:40

ผลโหลดไฟล์ต้นฉบับจากเว็ปมาลองต่อดู (ไฟล์พาโนรามาต้นฉบับ https://www.dropbox.com/s/1nafg8ed86ah7kf/Jonh%20thomson.jpg?dl=0) สังเกตุเห็นว่ามีชื่อ Thomson อยู่บนหลังคาวัดด้วย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 26 ธ.ค. 17, 08:31

เรื่องนี้ได้ถกไว้บ้างแล้ว ได้ข้อสรุปว่าน่าจะเป็นผลงานของหลวงอัคนีนฤมิตร (ฟรานซิส จิตร)

ไม่ใช่ฝีมือ John Thomson ครับเนื่องจากภาพที่ถ่ายที่ Zoom เข้าไปนั้นวัดราชประดิษฐ์ยังไม่สร้างเลย (แต่ John Thomson เข้ามาหลังการฉลองวัดราชประดิษฐ์ ต้องเห็นหลังคาโบสถ์วัด) แล้ว John Thomson ได้ภาพเหล่านี้มาได้อย่างไร  ฮืม

คุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพร ได้ให้คำตอบไว้ในการบรรยาย ณ แกเลอรี่ริมคลอง วันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ หัวข้อเรื่อง

"การแอบอ้างผลงานของ มิศฟะรันซิสจิต โดยช่างภาพระดับโลก"


บันทึกการเข้า
ราชประชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 10



ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 26 ธ.ค. 17, 09:45

คือผมสงสัยครับอาจารย์ ว่าทำไมคุณปู่จอร์นต้องไปเขียนชื่อไว้ตรงนั้น หรือสมัยนั้นเค้าลงชื่อกันแบบนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 26 ธ.ค. 17, 18:13

เมื่อกลับภาพเป็นเนกาทีฟก็จะได้ภาพประมาณนี้ การลงชื่อมีความเป็นศิลปะ จึงเลือกที่จะลงชื่อตามเส้นแนวหลังคา เหมาะที่สุดมีเส้นบังคับหัวท้ายให้ด้วย


บันทึกการเข้า
ไตรวุธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 17:56

ขออนุญาตสอบถามท่านอาจารย์ทั้งหลายว่าท่านในรูปนี้ใช่เจ้าจอมก๊กออรึเปล่าครับรู้สึกคุ้นๆแต่ท่านออกจะสูงวัยขึ้น

บันทึกการเข้า
ไตรวุธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 18:02

ส่วนรูปนี้ในรูประบุเป็นพระนางเจ้าสุวัทนาแต่พระพักตร์ออกจะเหมือนพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีมากกว่าไม่ทราบว่าผมเข้าใจผิดหรือถูกครับ

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 18:28

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงฉายพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ครับ
บันทึกการเข้า
ไตรวุธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 20:57

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงฉายพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ครับ

ขอขอบคุณมากๆครับคุณV_Mee ที่ไขข้อสงสัยให้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 21:10

ขออนุญาตสอบถามท่านอาจารย์ทั้งหลายว่าท่านในรูปนี้ใช่เจ้าจอมก๊กออรึเปล่าครับรู้สึกคุ้นๆแต่ท่านออกจะสูงวัยขึ้น

จากซ้าย  เจ้าจอมเอิบ, เจ้าจอมอาบ, เจ้าจอมเอื้อน และเจ้าจอมเอี่ยม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 27 ธ.ค. 17, 21:22

ภาพนี้ประดับอยู่บนผนังเรือนเจ้าจอมเอี่ยม อยู่ภายในบริเวณที่เรียกว่า สวนนอก ด้านหลังติดคลองสามเสน และวัดโบสถ์ (สามเสน) เป็นที่พระราชทานให้กับเจ้าจอมก๊กออทั้งสี่ท่าน

ภาพจาก https://web.facebook.com/pg/YonRoySathapat/photos/?tab=album&album_id=1474857686119473


บันทึกการเข้า
ไตรวุธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 28 ธ.ค. 17, 21:16

ขอบพระคุณท่านอาจารย์เพ็ญชมพูมากๆครับลำพังหาข้อมูลด้วยตัวเองโดยพื้นฐานความรู้น้อยมันประหนึ่งคลำทางในความมืดก็เลยต้องมาหาคำตอบที่ถูกต้องในนี้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง