เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 41044 คำที่มีความหมายตรงกับ ๑-๑๐
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
 เมื่อ 28 พ.ค. 12, 08:56

ผมอาจตังหัวข้อกระทู้สับสนไปนิดนะครับ แต่ก็อยากทราบว่า
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ มีคำไหนที่มีความหมายตรงกับเลขพวกนี้บ้างครับ  อย่างเช่น เบญจ แปลว่า ๕  และ  ไตร,ตรี แปลว่า ๓ แล้วเลขที่เหลือจะมีคำไหนที่ความหมายตรงกันครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 09:05

คุณหลวงตอบไว้ถึง ๑,๐๐๐

ในภาษาบาลี จะแบ่งตัวเลขออกเป็น ๒ ประเภท คือ เลขจำนวนนับ เรียกว่า  ปกติสังขยา  และเลขลำดับที่  เรียกว่า  ปูรณสังขยา
เลขจำนวนนับในภาษาบาลีมีดังนี้
1 เอก 2 ทฺวิ 3 ติ 4 จตุ 5 ปญฺจ 6 ฉ 7 สตฺต 8 อฏฺฐ 9 นว 10 ทส 11 เอกาทส 12 ทฺวาทส/พารส 13 เตรส 14 จตุทฺทส/จุทฺทส 15 ปญฺจทส/ปณฺณรส
16 โสฬส 17 สตฺตรส 18 อฏฺฐารส  19 เอกูนวีสติ/อูนวีส 20 วีส/วีสติ......
เลขจำนวนนับภาษาบาลี 1-98 เป็นคำคุณศัพท์ ส่วน 100 สต 1000 สหสฺส เป็นคำนาม

เมื่อจะประกอบเป็นตัวเลขมากกว่า 100 ขึ้นไปต้องประกอบศัพท์
อย่างที่คุณจิรัฏฐ์ถามว่า 125 ปี จะเรียกว่าอะไร นั้น
ต้องแยกเป็น 25 + 100
25 คือ ปญฺจวีสติ หรือ ปญฺจวีส (ที่ไทยมาแผลงใช้เป็น เบญจเพส นั่นแหละ)
100 คือ สต
เอา ปญฺจวีส + อุตฺตร/อธิก + สต เป็น ปญฺจวีสุตฺตรสต หรือ ปญฺจวีสาธิกสต
แปลตามพยัญชนะว่า ร้อยยิ่งด้วยยี่สิบห้า ( ปญฺจวีสาย อุตฺตรํ/อธิกํ สตํ)
ถ้าจะแผลงให้เป็นไทยอย่างเบญจเพส ก็จะได้ว่า เบญจเพโสดรสตะ หรือ เบญจเพสาธิกสตะ รู้สึกว่า คำหลังจะฟังดูดีกว่านะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 09:12

ถึงอสงไขย

๑     เอก                   ๑๑     เอกาทศ
๒     โท ทวิ               ๑๒     ทวาทศ   พารส
๓     ติ ตรี ไตร           ๑๓     เตรส
๔    จตุ จัตวา             ๑๔     จตุทศ
๕    ปัญจ เบญจ          ๑๕     ปัญจทศ, ปัณรส
๖     ฉ                    ๑๖      โสฬส
๗    สัตต สัปต            ๑๗     สัตตรส
๘    อัฏฺฐ                 ๑๘     อัฏฺฐารส
๙    นว  นพ  เนาว       ๑๙     เอกูนวีสติ
๑๐  ทศ                   ๒๐     วีส วีสติ เพส

http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=685

ต่อไปจนถึงสิบล้าน (โกฏิ)
 
http://th.wikibooks.org/wiki/ภาษาบาลี/คุณนาม

ต่อจากโกฏิ

ร้อยแสนโกฏิ             ปโกฏิ  
ร้อยแสนปโกฏิ           โกฏิปโกฏิ  
ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ      นนุต  
ร้อยแสนนนุต             นินนนุต
ร้อยแสนนินนุต           อักโขภินี  
ร้อยแสนอักโขภินี        พินทะ
ร้อยแสนพินทะ           อัพภูทะ  
ร้อยแสนอัพภูทะ         นิรพุทะ
ร้อยแสนนิรพุทะ          อหนะ
ร้อยแสนอหนะ            อพพะ
ร้อยแสนอพพะ           อฏฏะ
ร้อยแสนอฏฏะ           โสคันธิกะ
ร้อยแสนโสคันธิกะ       อุปละ
ร้อยแสนอุปละ            กมุมะ
ร้อยแสนกมุมะ            ปทุมะ  
ร้อยแสนปทุมะ            ปุณฑริกะ
ร้อยแสนปุณฑริกะ       อกถาน
ร้อยแสนอกถาน          มหากถาน
ร้อยแสนมหากถาน      อสงไขย

http://th.wikipedia.org/wiki/อสงไขย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 11:17

ขอโทษนะครับแล้วเลข ๖  ฉ  แล้วจะอ่านว่าอย่างไรครับ 
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 11:22

เลข๑๐   ทศ       อ่านว่า ทะ-สะ
เลข๑๑   เอกาทศ  อ่านว่า เอ-กา-ทะ-สะ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 11:30

ขอโทษนะครับแล้วเลข ๖  ฉ  แล้วจะอ่านว่าอย่างไรครับ 

อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ อธิบายไว้ดังนี้

คำว่า ฉ ต้องอ่านว่า ฉะ แปลว่า หก คำนี้ค่อนข้างมีปัญหา เพราะบางคนไม่กล้าอ่านว่า "ฉะ" เลยอ่านเป็น "ฉอ" บ้าง "ฉ้อ" บ้าง เพราะอย่างในหนังสือเวสสันดรชาดก กัญฑ์ "ฉกษัตริย์" ก็อ่านเป็น "ฉ้อ-กะ-สัด, ฉอ-กะ-สัด" หรือคำว่า "ฉทาศาลา" ก็อ่านเป็น "ฉ้อ-ทาน-นะ-สา-ลา" แต่ในกรณีที่เป็นศัพท์ย่อยของมาตราในกฎหมาย ต้องอ่านว่า "ฉะ" เพื่อจะได้เข้าชุดกับคำอื่น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 11:48

ขอโทษนะครับแล้วเลข ๖  ฉ  แล้วจะอ่านว่าอย่างไรครับ 

สมัยก่อน ท่านอ่านว่า ฉ้อ เช่นว่า มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ฉกษัตริย์  
โบราณท่านอ่านออกเสียงว่า ฉ้อกะสัด  บางทีก็เขียนว่า ฉ้อกษัตริย์ ก็มี
หรือ โรงทานหกแห่งที่พระเจ้าแผ่นดิน โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งในคราวมีงานพระราชพิธี
เรียกว่า โรงฉ้อทาน  

อันที่จริงถ้าอ่านตามหลักบาลี ควรอ่านออกเสียงว่า ฉะ เช่น ฉกามาพจร
อ่านว่า ฉะกามาพะจอน  แต่ถ้าอ่านแบบไทยท่านเลี่ยงเสียง ฉะ เพราะในภาษาไทย
ฉะ ความหมายไม่ดี  แต่ก็แปลกใจว่า ทำไมอ่านว่า ฉอ  อาจจะออกเสียงยากกระมัง
เพราะเป็นคำสมาส ถ้าเสียง ฉ่อ ก็ดูเหน่อแปร่งเป็นมอญไป  ฉ้อ ดูจะออกเสียงง่าย
แม้ความหมายจะไม่ดีก็ตาม  คำนี้ จึงออกเสียงว่า ฉ้อกามาพจร ก็ได้เหมือนกัน

อันที่จริงไม่ใช่ว่า ฉ  จะใช้ว่า ฉัฏฐ ก็ได้ เหมือนกัน  (สันสกฤต ว่า ษัษ ษัฏ ษัฑ )
บันทึกการเข้า
Paramet
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 21:53

ไม่น่าเชื่อเลยว่าคนโบราณจะมีการคำนวน รวมถึงการเรียกชื่อของตัวเลขที่มากมายขนาดนี้ ขนาดรากศัพท์ของภาษาอังกฤษยังมีคำไม่ถึงอสงไขยเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 08:53

ชื่อจริงของคุณกุ๊ก คือ google มาจากคำว่า "googol" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่มหาศาลที่สุดที่มนุษย์ (ฝรั่ง) รู้จัก มีค่าเท่ากับ ๑๐๑๐๐ (เลข ๑ แล้วตามด้วยเลข ๐ อีก ๑๐๐)

คำนี้ถูกกำหนดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ โดย Milton Sirotta เด็กชายอายุ ๙ ขวบ หลานของ Edward Kasner นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวความคิดนี้ให้เป็นที่รู้จักในหนังสือ Mathematics and the Imagination (คณิตศาสตร์กับจินตนาการ)

แม้นจำนวน "googol" จะดูมากมายมหาศาลเพียงใด แต่ก็ยังน้อยกว่าจำนวน  "อสงไขย" ใน # ๒ ซึ่งสามารถเขียนเป็นตัวเลขได้ว่า ๑๐๑๔๐ (เลข ๑ แล้วตามด้วยเลข ๐ ต่อท้ายทั้งหมด ๑๔๐ ตัว)

มีเลขศูนย์ต่อท้ายมากกว่าถึง ๔๐ ตัว

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ก.ค. 12, 12:40

ลองเทียบเคียงระหว่างภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน ผมคิดว่ามีส่วนคล้ายกันหลายประการ เรียนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ

 เอก-Ein (one)
   ทฺวิ-Zwei (two)
   ไตร-Drei (three)
    จตุ-Vier (four)
  ปญฺจ-Fünf (five)
     ฉ-Sechs (six)
 สตฺต- Sieben (seven)
  อฏฺฐ-Acht (eight)
    นว-Neun (nine)
   ทส-Zehn (ten)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 ก.ค. 12, 13:12

ภาษาบาลี สันสกฤต ละติน อังกฤษ เยอรมัน และภาษาที่ใช้ในยุโรปหลาย ๆ ภาษา ล้วนมีต้นกำเนิดเดียวกันคือ ภาษาอินโดยุโรเปียน

ภาษาอินโดยุโรเปียนแบ่งเป็นกิ่งใหญ่ ๆ ได้ ๒ กิ่งคือ Centum languages และ Satem languages

คุณสุจิตราลองพิจารณาดูว่าแต่ละภาษาอยู่กิ่งไหน

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง