เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 50588 เวิ้งนครเขษม เวิ้งนครสนุก
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 20:07

ตำแหน่ง "โรงหนังนิวนครสนุก"

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 10:47

หากตามแผนที่ อยู่ตรงนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 21:41

ตอนเล็กๆเคยตามผู้ใหญ่เข้าไปในเวิ้งนาครเขษม  เวลาท่านไปดูของเก่า   เพราะเวิ้ง(เรียกกันสั้นๆแบบนี้) เป็นแหล่งขายของเก่าที่มีทั้งของไทยและจีน     ไม่มีใครไปเวิ้งเพื่อจะไปดูสินค้าอย่างอื่นนอกจากของเก่าพวกนี้    มีร้านขายที่ตั้งเก้าอี้ฝังมุกแบบจีน  แจกันกระเบื้องแบบจีน   ของไทยก็มีพวกโต๊ะเก้าอี้ไม้ดำ   คันฉ่อง อะไรพวกนี้  แน่นไปหมดทั้งร้าน
เศรษฐีใหม่ทั้งหลายในยุคโน้น   มักนิยมแต่งห้องด้วยเครื่องมุกอลังการ   ถ้าใส่เข้าไปจนเต็มห้องเพื่อโชว์ ก็จะถูกเยาะหยันว่า "แต่งห้องเหมือนเวิ้ง"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 22:03

ที่เวิ้งนาครเขษมมีร้านขายของเก่าอยู่หลายร้าน มีร้านเก่าแก่อยู่ร้านหนึ่ง เป็นของคนจีนชื่อฮง ซึ่งเล่นของเก่าเป็นทุนเดิม แวะเวียนตามวังเจ้านายต่าง ๆ ซึ่งเจ้านายเหล่านี้ล้วนซื้อขายแลกเปลี่ยนของเก่ากัน มีหม่อมเจ้าชิดชนก กฤษดากร, หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร, รวมทั้งคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ (เจ้าของเมืองโบราณ) ต่างเป็นลูกค้าจีนฮงกันอย่างหัวบันไดไม่แห้ง จีนฮงได้รับเกียรติจากสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พร้อมเจ้าชายเฮนดริกพระสวามี ได้เสด็จมาเยือนเวิ้งนาครเขษม เพื่อมาซื้อของเก่า ซึ่งท่านโปรดการรื้อค้นไปตามกล่องต่าง ๆ เป็นพวกงานกระเบื้องเซรามิคยังความปลาบปลื้มมิรู้หาย


หม่อมเจ้าภาณุพันธ์ยุคลเมื่อจะจัดพระที่นั่งใหม่ ก็ได้มาแวะเยี่ยมเยียนจีนฮงให้หาของต่าง ๆ ไปจัดตกแต่งวัง และเลือกหาของได้อย่างถูกใจ ดังนั้นเวิ้งนาครเขษมจึงเป็นแหล่งของนักสะสมของเก่าที่ผลัดหมุนเวียนเข้ามา นอกจากนี้นายห้างเต็กเฮงหยู ก็ชอบและหลงไหลวัตถุโบราณก็เป็นลูกค้าที่ไล่ล่าของเก่าไม่น้อยหน้าท่านอื่น ๆ ท่านมีเครื่องปั้นดินเผา เซรามิคโบราณอยู่มากมาย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 10:45



        คุณฮงเป็นผู้มีอัธยาศัยของพ่อค้าเต็มตัว         ใครจะมาดูสินค้ากี่รอบก็มิได้กีดกันดูหมิ่น

ว่าจะสามารถซื้อสินค้าได้หรือไม่

สมัยหนึ่งได้ไปแวะที่ร้านในริเวอร์ซิตี้ทุกวันเสาร์บ่าย  หลังจากทำสวนแล้ว   แต่งตัวขมุกขมอม

แต่ก็ได้การต้อนรับเสมอหน้ากันกับลูกค้าระดับที่คุณหนุ่มเล่า

เครื่องเงินที่เก็บไว้ในห้องหลังก็แสนงดงาม  ฝีมือประณีตอ่อนละเอียด  ก็ได้ดูทุกชิ้น

เท่าที่จำได้ไม่เคยซื้อของจากเฒ่าแก่ฮงเลย    แต่ไปที่น้่นเป็นหลายปี

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 10:52

เจอในเวปมุสลิมเชียงใหม่ดอทเน็ต เอารูปโรงหนังแห่งแรกของประเทศไทยมาลงไว้ และบรรยายภาพตามนี้

โรงหนังโรงแรกสุดของสยาม...ชื่อว่าโรงหนังญี่ปุ่น
ที่เวิ้งวัดตึก.... ปัจจุบันคือเวิ้งนาครเขษม
ถือเป็นโรงหนัง ถาวรโรงแรกของประเทศไทย  หลังจากที่มีการจัดฉายหนังกันภายในกระโจมชั่วคราว

โรงนี้เปิดฉายหนังในปี 2448  เมื่อรื้อถอนออกแล้ว ก็มีการสร้างโรงหนัง"นาครเขษม"ขึ้นมาแทน


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 มิ.ย. 12, 20:35

ไปท่อมๆ เดินไป เดินมา ที่เิ้วิ้งนาครเขษมอยู่หลายรอบ หาว่าโรงหนังนาครเขษมจะอยู่ตรงตำแหน่งไหนในเวิ้ง ก็ประมาณไม่ได้ว่าจะอยู่ตรงไหน

แต่กลับมาพบข้อมูลของ "โรงหนังญี่ปุ่น" จึงฝากเรื่องไว้ให้ท่านผู้ชำนาญการ ได้ลองทำการพิกัดตำแหน่งโรงหนังในแผนที่ ดังนี้

"เราพิเคราะห์ดูการเล่นที่เก็บค่าดูแก่หรือไม่เก็บ ดังเช่นกานเล่นตามบ่อนเบี้ยและตามงานชาวบ้าน แต่บรรดาที่เล่นอยู่ในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ นอกจากการเล่นในงานของพระราชาแล้ว ทุกวันนี้ต้องจัดว่าหนังภาพยนต์ของบริษัทชาติยี่ปุ่นที่เล่นอยู่ที่ตำบลหว่างที่ว่างหลังตึกแถวบ้านพระยาอภัยรณฤทธิ์ หรือหลังตึกแถวที่ตรงกับบ่อนเบี้ยสพานดำรงค์สถิตย์ ที่ได้ตั้งเล่นมาช้านานแล้วนั้น เปนมีคนไปดูได้ผลมากยิ่งกว่าทุกๆ แห่งหมด ..."

หนังสือพิมพ์รายวัน "บางกอกไตมส์" ฉบับประจำวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙)

และประกอบกับความเห็นที่ ๗ ของคุณ NAVARAT.C

".. หนังโรงใหม่ซื่งตั้งอยู่ใกล้กับหนังยี่ปุ่นโรงเก่า ตำบลน่าวัดตึก ได้เปิดโรงลงมือเล่นเปนครั้งแรกเมื่อคืนวันเสาร์ที่ ๑ เดือนนี้ ก็เผอิญเกิดเอกซิเดนขึ้นอย่างร้ายแรง คือเมื่อเวลายามเศษหนังกำลังลงมือฉายอยู่นั้น จะเปนด้วยเหตุอย่างไรไม่ทราบ ไฟฟ้าจึงได้เกิดลุกไหม้ขึ้นที่เครื่องในห้องเล็กสำหรับฉายหนัง แต่เมื่อเกิดไฟลุกขึ้นนั้น ประมาณครู่เดียวก็ดับ ... หนังโรงนี้ฝาโรงล้วนทำด้วยสังกะสี ..."

หนังสือพิมพ์รายวัน "บางกอกไตมส์" ฉบับประจำวันที่ ๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒)

(คัดลอกจากหนังสือ "หนังสือชื่อสยามสนุกข่าว" รวบรวมโดย ปียกนิฏฐ์ หงษ์ทอง พ.ศ. ๒๕๓๑)

จะหมายถึงโรงหนัง "นิยมไทย" ที่คุณ NAVARAT  C. กล่าวถึงในความเห็นที่ ๓ หรือไม่?
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 มิ.ย. 12, 22:26

เรือนเจ้าพระยาอภัยรณฤทธิ์

                   เจ้าพระยาอภัยรณฤทธิ์ ขุนนางในส่วนกรมพระนครบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้สร้างบ้านหลังนี้โดยเน้นถึง ทัศนียภาพและความงดงามของงานสถาปัตยกรรม อาคารหลังนี้ยังคงมีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็นตั้งแต่แรกสร้างจวบจนถึงปัจจุบันแก่ผู้พบเห็นตั้งแต่แรกสร้างจวบจนถึงปัจจุบัน

 ภาพจากเวป สำนักวิทยบริการ ม.ราชภัฏสวนดุสิต


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 มิ.ย. 12, 11:33

เรือนเจ้าพระยาอภัยรณฤทธิ์

                   เจ้าพระยาอภัยรณฤทธิ์ ขุนนางในส่วนกรมพระนครบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้สร้างบ้านหลังนี้โดยเน้นถึง ทัศนียภาพและความงดงามของงานสถาปัตยกรรม อาคารหลังนี้ยังคงมีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็นตั้งแต่แรกสร้างจวบจนถึงปัจจุบันแก่ผู้พบเห็นตั้งแต่แรกสร้างจวบจนถึงปัจจุบัน

 ภาพจากเวป สำนักวิทยบริการ ม.ราชภัฏสวนดุสิต

เจ้าพระยาอภัยรณฤทธิ์ ขุนนางในส่วนกรมพระนครบาล เป็นเจ้าของอาคารหลังนี้ คาดว่าสร้างในราชรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพื้นที่บริเวณโดยรอบของอาคารนี้รายล้อมด้วยอาคารบ้านเรือนของเหล่าขุนนางและข้าราชบริพาร ต่อมาในราวปี 2482 เรือนหลังนี้จึงตกอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ และได้ให้สมาคมชาวอุบลราชธานีเช่าเป็นที่ทำการอาคารสำนักงาน จนถึงปัจจุบัน


(ที่ตั้ง: ซอยสงวนสุข แขวงพญาไท เขตดุสิต กรุงเทพฯ)
http://www.crownproperty.or.th/cpad/vtr_6.php
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 มิ.ย. 12, 12:08

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7898406/K7898406.html


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 มิ.ย. 12, 12:34

เรือนเจ้าพระยาอภัยรณฤทธิ์

                   เจ้าพระยาอภัยรณฤทธิ์ ขุนนางในส่วนกรมพระนครบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้สร้างบ้านหลังนี้โดยเน้นถึง ทัศนียภาพและความงดงามของงานสถาปัตยกรรม อาคารหลังนี้ยังคงมีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็นตั้งแต่แรกสร้างจวบจนถึงปัจจุบันแก่ผู้พบเห็นตั้งแต่แรกสร้างจวบจนถึงปัจจุบัน

 ภาพจากเวป สำนักวิทยบริการ ม.ราชภัฏสวนดุสิต

เจ้าพระยาอภัยรณฤทธิ์ ขุนนางในส่วนกรมพระนครบาล เป็นเจ้าของอาคารหลังนี้ คาดว่าสร้างในราชรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพื้นที่บริเวณโดยรอบของอาคารนี้รายล้อมด้วยอาคารบ้านเรือนของเหล่าขุนนางและข้าราชบริพาร ต่อมาในราวปี 2482 เรือนหลังนี้จึงตกอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ และได้ให้สมาคมชาวอุบลราชธานีเช่าเป็นที่ทำการอาคารสำนักงาน จนถึงปัจจุบัน


(ที่ตั้ง: ซอยสงวนสุข แขวงพญาไท เขตดุสิต กรุงเทพฯ)
http://www.crownproperty.or.th/cpad/vtr_6.php


สับสน      ฮืม   ฮืม    ฮืม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 มิ.ย. 12, 13:30

บ้านตามรูปเขียนและรูปถ่ายเป็นคนละหลังกัน


คนละเจ้าพระยาอภัยฯหรือเปล่า?
ว่าแต่ว่า ชวนออกนอกเรื่องนาครสนุกกับนาครเขษมแล้วหรือครับ?
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 มิ.ย. 12, 13:45


"บ้านสงวนสุข"

เป็นบ้านของ คุณหญิงทรามสงวน อมาตยกุล กับ พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ถวิล อมาตยกุล)

สร้างสมัยรัชกาลที่ ๖ ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 02 มิ.ย. 12, 14:55

จำได้ว่ามีแผนที่เยาวราชอยู่ระวางหนึ่ง จึงคลี่เผยออกดู ปรากฎว่าเขียนไว้เมื่อ พ.ศ. 2444 (ร.ศ. 120) จึงจัดสแกนในส่วนของวัดตึกและเวิ้งวัดตึกมาให้ลุงไก่ดูเป็นเบื้องต้นดูลักษณะภูมิประเทศ

ที่ดินในเวิ้งวัดตึก ปัจจุบันคือเวิ้งนาครเขษม ซึ่งที่ดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้รับพระราชทานผืนดินเวิ้งนาครเขษมเป็นมรดกจากรัชกาลที่ 5

ซึ่งในแผนที่เป็นที่หลวงพื้นที่สี่เหลี่ยมอยู่ระหว่างถนนเยาวราชและถนนเจริญกรุง มีบ้านที่อาศัยดังนี้

- พระยาศรีสรราชภักดี
- พระยาเกษมศุขการี
- หลวงบดีนีนนิกร
- หลวงจำนงค์ยุทธกิจ
- นายสุก
- มะฮะหมัดยูซูป
- จีนยวน

ส่วนวัดตึกหันหน้าออกถนนจักรวรรดิ์ จรดคลองวัดสามปลื้มด้านใต้ ริมถนนเจริญกรุงมีบ้านอาศัยดังนี้
- พระยาอร่ามมณเฑียร
- เขียนมารดาร้อยโทชุ่ม
- นายอ้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 02 มิ.ย. 12, 15:01

ยกแผนที่ระวาง พ.ศ. 2453 เข้ามาเทียบเวลาระยะห่างกัน 9 ปี บ้านเมืองได้เจริญก้าวหน้าไปมาก ตึกแถวริมถนนได้ถูกก่อสร้างขึ้นมากแล้ว ตัวเวิ้งนาครเขษมอยู่ที่พื้นที่ขอบสีแดง ส่วนริมถนนหน้าวัดตึกก็สร้างอาคารเรือนแถวปิดล้อมวัด

ในเวิ้งนาครเขษมจะเห็นพื้นที่โล่งด้านในอยู่ 3 หย่อม นอกนั้นเป็นห้องแถว


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.104 วินาที กับ 19 คำสั่ง